CEO Channels CEO Channels ข่าวสั้นทันโลกธุรกิจและการลงทุน ฯลฯ เว็บไซต์ข่าวธุรกิจโลกในมือคุณ

ลองนำไปประยุกต์ใช้กับ Why us สำหรับสินค้าและบริการของแต่ละคนดูครับ 📌
24/08/2024

ลองนำไปประยุกต์ใช้กับ Why us สำหรับสินค้าและบริการของแต่ละคนดูครับ 📌

เขียน why us ไม่ได้ เตรียม why วอด..

วันก่อนผมฟังน้องจิ๊บ เสาวนีย์ ผู้ทำธุรกิจสินเชื่อกระเป๋าแบรนด์เนมอันดับหนึ่งของไทย bagforcash ในนาม jipjip money เล่าว่าทำธุรกิจอะไรยังไง และมีหน้าหนึ่งที่ฟังแล้วมั่นใจเลยจิ๊บจะไปอีกไกลและเป็นเบอร์หนึ่งในวงการนี้แน่

หน้านั้นจิ๊บขึ้นว่า why us?

โดยมีรายละเอียดประมาณว่า ที่ jipjip money รับสินค้าแบรนด์เนมได้หลากหลาย

ดอกเบี้ยต่ำ xx ต่อเดือน

วงเงินให้สูง ### ต่อสัญญา

ประเมินผลไวภายใน 45 นาที

รับเงินใน 24 ชั่วโมง

เก็บตู้นิรภัยแบบ 1 ต่อ 1

ให้วงเงินเต็มไม่หักดอก

ต่อสัญญาได้ไม่จำกัด

ถูกกฎหมาย

มีรับส่งถึงบ้าน

รักษาความลับลูกค้าสูงสุด ฯลฯ

แต่ละข้อนี่ผมถามผู้ฟังที่สนใจคือโดนทุกข้อ เป็น painpoint ที่ลูกค้าที่มีกระเป๋าแบรนด์เนมแล้วอาจจะร้อนเงินเป็นช่วงๆอยากได้หมด แต่ละข้อมาจาก insight ความต้องการของลูกค้าและเป็นจุดอ่อนของคู่แข่งที่ทำแบบสมัครเล่นทั้งสิ้น

แต่ในการที่จะเขียนแบบนี้และสัญญาแบบนี้กับลูกค้าอย่างเป็นรูปธรรมได้นั้นไม่ง่ายเลย นอกจากผ่านกระบวนการคิดและความเข้าใจลูกค้าอย่างลึกซึ้งแล้ว บางข้อต้องใช้เงินลงทุนสูง บางข้อต้องใช้ความเชี่ยวชาญที่ต้องหาต้องฝึกมา บางข้อต้องรักษา service level agreement ให้ได้ บางข้อต้องหาต้นทุนการเงินที่ต่ำให้ได้ถึงจะนำเสนอข้อเสนอแบบนั้นได้ แต่รวมๆแล้วทำให้ลูกค้าที่สนใจในบริการแบบนี้ พออ่าน jipjip money แล้วแทบจะไม่ไปที่อื่น มาใช้ก็ใช้ซ้ำ บอกต่อ ทำให้ jipjip money เติบโตอย่างรวดเร็วมาก..

…..

ที่ผมจะชวนคิดนั้นไม่ใช่เรื่อง jipjip money แต่เป็นการลองพยายามเขียน Why us ของธุรกิจตัวเองดูแบบไม่เข้าข้างตัวเอง

ปกติเวลาเราเล่าเรื่องธุรกิจเรา ไม่ว่าจะเป็นการเชิญชวนลูกค้า หรือเล่าให้นักลงทุนฟัง เรามักจะเล่าว่าธุรกิจนั้นทำอะไร ทำอย่างไรซะส่วนใหญ่ หรือไม่ก็เล่าแบบเข้าข้างที่ลูกค้าหรือนักลงทุนอาจจะไม่ได้สนใจ เช่นเล่าให้ลูกค้าฟังว่าที่นี่มีพนักงานเป็นร้อยคน อาจจะด้วยความภาคภูมิใจว่าธุรกิจเราใหญ่แต่ลูกค้าไม่ได้สนใจเพราะไม่เกี่ยวอะไรกับเขาเลย หรือที่นี่ก่อตั้งมาสามสิบปีแล้ว นักลงทุนฟังแล้วก็ยักไหล่เพราะเขาสนใจแต่ growth ตั้งมากี่ปีก็ไม่ใช่เรี่องซะหน่อย

แต่ทำไมต้องพยายามเขียน “why us” ที่ดีให้ได้ในยุคสมัยนี้

เพราะยุคนี้เป็นยุคที่ average is over การแข่งขันสูงเหลือเกิน คู่แข่งมีเต็มไปหมด ถ้าเราไม่ยกมือว่าทำไมต้องฉัน แล้วดูเด่นกว่าคนอื่นให้ได้ ลูกค้าจะไม่มีทางเห็น อาจจะแค่มองแต่ไม่เห็น

แต่การเขียน why us ก็ไม่ง่าย จะมโนนึกแต่จุดแข็งตัวเองที่ตัวเองภาคภูมิใจโดยไม่เข้าใจลูกค้าก็ไม่มีประโยชน์ แถมลูกค้าแต่ละกลุ่ม แต่ละ segment ก็อาจจะต้องเขียน why us ต่างกันด้วยซ้ำ การเขียน why us กับผู้บริโภค ก็ใช้กับนักลงทุนไม่ได้ why us กับธนาคารที่ต้องการความมั่นคงกับ investor ที่ต้องการการเติบโตก็ต่างกัน

การเข้าใจว่า “เขา”อยากฟังอะไร นั้นสำคัญกว่า “เรา”อยากพูดอะไรมาก

นอกจากนั้น การเขียน why us ก็จะทำให้เราได้ทบทวนว่าเรามีจุดแข็งจริงๆรึเปล่า มีอะไรที่โดดเด่นจริงหรือไม่ เพราะถ้าเริ่มลองเขียนแล้วไม่มั่นใจ หรือเขียนได้ข้อเดียวก็จะทำให้เราอาจจะเริ่มตระหนักได้ว่าที่ทำอยู่นั้นอาจจะไม่เพียงพอหรือล้าสมัยไปแล้ว และถ้าโดยเฉพาะคู่แข่งมี why us มากกว่าเราก็น่าจะยิ่งทำให้เราต้องทบทวนและพยายามสร้าง why us ขึ้นมาให้ได้เพิ่มเติม

แน่นอนว่า การสร้าง why us ให้ได้เพิ่มเติม ก็จะไม่ใช่สิ่งที่คิดได้ทำได้แค่ประชุมกันครึ่งวัน why us ที่ดีนั้นต้องได้มาแบบเลือดตาแทบกระเด็น บางเรื่องต้องรื้อระบบใหม่ สร้างมาตรฐานใหม่ บางเรื่องต้องใช้เวลาฝึกฝน บางเรื่องต้องลงทุนเพิ่ม หรือบางเรื่องก็ต้องไปเสาะแสวงหามา

ผมแนะนำว่าถ้าเขียน why us วันนี้ไม่ออก ก็อาจจะลองเขียน why us ในฝันว่าในมุมของลูกค้า ถ้าเรามี why us แบบนี้ซัก 5 ข้อ 10 ข้อ ก็จะโดดเด่นกว่าคู่แข่งแน่ๆ ต่อให้ในวันนี้ยังทำไม่ได้ แต่ก็จะได้มีเป้าหมายในการวางแผนและสร้างหรือทำมันขึ้นมาให้ได้จริงๆในอนาคต

การเขียน why us นี่ใช้กับคนที่เป็นพนักงานทำงานบริษัทที่ต้องต่อสู้กับเพื่อนร่วมงานที่เก่งๆ คลื่นลูกใหม่ที่กำลังมาแรงก็ได้นะครับ เพราะถ้าเราไม่สามารถบอกว่าทำไมต้องเป็นเรา ทำไมต้องใช้เราสำหรับงานที่มีเป็นลำดับต้นๆ โอกาสที่เวลาคลื่นลมแรงมาแล้วเราจะโดนพัดกระเด็นคนแรกก็มีสูง เขียนไว้วันนี้ หลายข้ออาจจะทำยังไม่ได้ แต่ก็จะรู้ได้ว่าเรายังขาดอะไรและต้องเติมหรือพัฒนาอะไรได้แน่

พอเขียนแล้วก็ควรจะให้คนอื่นดู ลองทดสอบ why us ของเราด้วยนะครับ ถ้าลองให้ลูกค้าดูแล้วเขาก็เฉยๆแสดงว่า why us นั้นยังไม่เด่นพอ ก็ต้องปรับต้องคิดกันให้คมต่อไป พอได้ why us ที่มั่นใจแล้วก็ต้องฝึกฝน พัฒนา ลงทุนกันจนทำให้โดดเด่นให้ได้ ถึงจะอยู่รอดได้ในยุคนี้โดยไม่วายวอดไปเสียก่อน

ลองเขียน why us ซักสามข้อห้าข้อกันดู เขียนได้แล้วโดนก็ดี แสดงว่าเราแข็งแรง เขียนยังไม่ออกก็ดี จะได้รู้ตัวและพยายามปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติมนะครับ

Nathan Barry รายได้ 300 ล้านบาท จากงานสอนและธุรกิจซอฟต์แวร์กรณีศึกษาชีวิตเติบโตอย่างก้าวกระโดดจากทักษะเดียวกันตั้งแต่ต้น...
08/08/2024

Nathan Barry รายได้ 300 ล้านบาท จากงานสอนและธุรกิจซอฟต์แวร์

กรณีศึกษาชีวิตเติบโตอย่างก้าวกระโดดจากทักษะเดียวกันตั้งแต่ต้นจนจบ คือ ทักษะโปรแกรมเมอร์

เริ่มจากงานประจำไปฟรีแลนซ์ จากฟรีแลนซ์ไปสู่อาชีพสอนออนไลน์ และจากอาชีพสอนออนไลน์ไปสู่ธุรกิจซอฟต์แวร์ รายได้กว่า 300 ล้านบาท 😀

#จุดเริ่มต้น

Nathan Barry เป็นโปรแกรมเมอร์ประจำบริษัทแห่งหนึ่งแต่เงินเดือนไม่พอใช้

จึงลองรับจ้างเขียนโปรแกรมหารายได้เสริม แต่เขาต้องประสบปัญหาใหญ่ในช่วงเริ่มต้น คือ หาลูกค้ายากมาก เขาจึงไปศึกษาจากเพื่อนที่มีลูกค้าล้นมือว่าทำอย่างไร

เพื่อนคนนั้นชื่อ Chris Coyier เป็นนักพัฒนาเว็บไซต์และเป็นเจ้าของเว็บไซต์ CSS-Tricks[dot]com

Chris Coyier เขียน Blog ให้ความรู้เรื่องการเขียนโปรแกรม และมีรายได้จากการให้บริการที่เกี่ยวข้อง โดยคนที่มาจ้างเขาก็คือบรรดาแฟนคลับที่วนเวียนมาอ่าน Blog บ่อย ๆ

นั่นเอง Nathan Barry จึงทำตามกลยุทธ์เดียวกัน สร้างเว็บไซต์ชื่อ nathanbarry[dot]com ให้ความรู้เรื่องการเขียนโปรแกรม เพื่อหวังจะดึงดูดลูกค้าใหม่ ๆ เข้ามาหาเขา

แต่ปัญหาใหม่ที่ตามมาก็คือไม่มีลูกค้า ดันมีแต่คนส่งข้อความมาสอบถามและขอปรึกษาปัญหาในการเขียนโปรแกรม และยังส่งผลให้ตัวของเขาเองนั้นต้องเสียเวลาอย่างมากไปกับตอบคำถามเดิม ๆ ทุกวัน

#จุดเปลี่ยน

ต่อมา Nathan Barry เกิดปิ๊งไอเดียนำคำถามมารวบรวมเป็น อีบุ๊ค เพื่อขายเสียเลย

ปรากฏว่าดันขายดีมากจนสามารถลาออกมาทำอาชีพขายความรู้อย่างจริงจังตั้งแต่ปี 2012 เป็นต้นมา

ส่งผลให้เขามีโอกาสพัฒนาผลิตภันฑ์ที่หลากหลาย ได้แก่ อีบุ๊ค, คอร์สออนไลน์, และ เมมเบอร์ชิปเว็บไซต์ โดยผลิตภัณฑ์ความรู้ของเขาจะอยู่ในหมวดสอนเขียนแอปฯ สอนสร้างเว็บไซต์ และสอนใช้โปรแกรมโฟโตช็อป เป็นต้น

ปี 2012 เป็นปีแรกที่ทำอาชีพสอนเต็มตัว สามารถสร้างรายได้จาก อีบุ๊ค สูงถึง 85,639 ดอลลาร์ หรือประมาณ 2.5 ล้านบาทเศษ

ต่อมาปี 2014 สร้างยอดขายจากหลาย ๆ Information Product รวมประมาณ 299,000 ดอลลาร์ หรือ ประมาณ 10 ล้านบาท

โดยยอดขายทั้งหมดที่เกิดขึ้นไม่เคยซื้อโฆษณาออนไลน์ใด ๆ ยอดขายทั้งหมดมาจากฐานอีเมล์ลิสต์ของคนที่เข้ามาอ่านบล็อก nathanbarry.com

#ปัจจุบัน

หลังจากปี 2014 เป็นต้นมา Nathan Barry ก็ผันตัวไปเป็นนักพัฒนาซอฟต์แวร์ โดยสร้าง Email marketing ของตนเองในนาม ConvertKit

รายงานรายได้จากการขายซอฟต์แวร์ Convert Kit ที่มีการเปิดเผยโดย Inc.com ว่าในปี 2017 จำนวน 9.5 ล้านดอลลาร์ หรือประมาณ 342 ล้านบาท และยังส่งผลให้ Nathan Barry ติดโผ Inc.’s 30 Under 30 ในปี 2018

ปัจจุบันเขายังคงโฟกัสที่ธุรกิจ Convert Kit เหมือนเดิม และอัพเดทชีวิตลงบล็อก Nathan Barry นาน ๆ ครั้ง

โดยโพสต์ล่าสุดเมื่อ เดือน มกราคม 2023 เขามาอัพเดทว่า Convert Kit สร้างรายได้ปี 2022 จำนวน 7.5 ล้านดอลล่าร์ หรือเกือบ 300 ล้านบาท 😀🎉

The Millionaire Messenger ชื่อภาษาไทย ‘ผู้ส่งสารแห่งความมั่งคั่ง’ เขียนโดย Brendon Burchard หนึ่งในนักธุรกิจ Information...
06/08/2024

The Millionaire Messenger ชื่อภาษาไทย ‘ผู้ส่งสารแห่งความมั่งคั่ง’

เขียนโดย Brendon Burchard หนึ่งในนักธุรกิจ Information business ที่มีชื่อเสียง 😀

เขาได้เขียนเล่าวิธีเปลี่ยนข้อมูลความรู้ในตัวของคุณให้กลายเป็นเงินล้าน หนังสือเล่มนี้เป็นหนึ่งในแรงบันดาลใจให้ CEO Channels กล้าที่จะนำข้อมูลความรู้ในตัวเองออกมาแพกเกจเป็นสินค้าความรู้เพื่อทำงานสอนครับ

#จุดเริ่มต้น

Brendon Burchard เกิดในครอบครัวฐานะปานกลางค่อนไปทางลำบาก

พ่อแม่ทำงานหนัก กระเบียดกระเสียนการใช้จ่าย และยังถูกสอนว่าคนรวยชั่วร้าย เงินทองเป็นของสกปรก ฯลฯ แต่ถึงแม้จะถูกสอนอย่างนั้น ส่วนตัวเขาก็ยังมีความฝันอยากจะร่ำรวยอยู่ดีครับ

Brendon Burchard เป็นคนใฝ่เรียนรู้อย่างมาก

คำว่า “ใฝ่เรียนรู้” ในที่นี้ไม่ได้หมายถึงการเรียนในระบบการศึกษาเพียงอย่างเดียว แต่รวมถึงการค้นคว้านอกตำรา เขาอ่านหนังสือที่ How-to ต่าง ๆ เยอะมาก และเข้าสัมมนาอย่างบ้าพลัง

ผลลัพธ์ที่เขาได้คือ สั่งสมข้อมูลประเภท “Self development” ที่ได้รับมาเยอะมาก และอยากนำไปเล่าให้ผู้อื่นฟังบ้าง

#ลูกค้าคนแรก

ก่อนหน้านั้น Brendon เคยทดลองโค๊ชชิ่งฟรีให้กับเพื่อนพี่น้องรอบตัวเขา และได้รับผลตอบรับที่ดี คนรอบตัวเกิด Personal transformation หรือการเปลี่ยนแปลงตัวเองไปในทางที่ดีขึ้น

แต่เขาก็ยังไม่มั่นใจพอที่จะเรียกเก็บเงินจากการสอนจนกระทั่งวันที่เขาประสบอุบัติเหตุทางรถยนต์จนคิดว่าตัวเองตายไปแล้ว แต่เมื่อได้สติว่ายังมีชีวิตอยู่ เขาจึงแหงนมองท้องฟ้าและถามตัวเองว่า

“ฉันยังมีชีวิตอยู่หรือไม่ ฉันยังมีความรักหรือไม่ ฉันยังมีคุณค่าหรือไม่?”

เมื่อคำตอบที่ได้คือ “ใช่” ทุกข้อ

เขาจึงเกิดเป็นแรงบันดาลใจว่า ชีวิตคนเราอาจตายได้ทุกขณะ แต่ในขณะที่ยังมีชีวิตอยู่ จะต้องเร่งสร้างคุณค่าให้กับโลกนี้ให้มากที่สุด และตัดสินใจก้าวสู่อาชีพโค้ชสาย “Self development” อย่างจริงจัง

เขาสร้างเว็บไซต์โค๊ชชิ่งออนไลน์ สอนสดผ่านเว็บแคม พร้อมกับเขียนหนังสือ

ด้วยความพยายามและลงมือทำงานอย่างต่อเนื่อง ให้ข้อมูลความรู้ผ่านฟรีคอนเทนต์ลงเว็บไซต์ โซเชียลมีเดีย และ Youtube ฯลฯ

ออกไปสร้างคอนเนคชั่นร่วมกับคนดังในวงการ ขยายฐานลูกค้าทีละนิด และออกผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ นำเสนอสู่ตลาด ฯลฯ

ภายในปีที่ 2 เขาเริ่มประสบผลลัพธ์แบบก้าวกระโดด และปีที่ 3 ก็เริ่มโด่งดังเป็นที่รู้จักในวงการ มีหนังสือติด Best Seller อาทิ Life’s Golden Ticket, The Charge, The Millionaire Messenger

ณ จุดนี้ เขาเป็นวิทยากรค่าตัวงานละ 25,000 เหรียญ และบัตรสัมมนาที่นั่งราคาสูงสุดแตะ 10,000 เหรียญ ฯลฯ

Fast forward มาปัจจุบัน ปี 2024, Brendon Burchard มีผู้ติดตามบน Facebook ประมาณ 5 ล้าน Followers และ YouTube ขาดอีก 3 พันจะครบ 1 ล้าน Subscribers

#สรุปข้อคิด

ประโยคเปลี่ยนชีวิตที่มีส่วนช่วยให้ผมกล้าตัดสินใจลุกขึ้นมาทำงานสอน คือ ข้อความตามภาพประกอบของโพสต์นี้ ได้แก่:

– Your life story เรื่องราวและประสบการณ์ชีวิตของคุณมีคุณค่ากับผู้อื่น

– You are here to make the different ทุกคนมีคุณสมบัติในการเปลี่ยนแปลงสังคมไปสู่สิ่งดี ๆ

– You can get paid คุณมีความชอบธรรมที่จะได้รับเงินจากความรู้ของคุณ

Content Marketing กับการขายคอร์สออนไลน์วันนี้เราจะมาต่อกับหัวข้อ Content Marketing โดยยกกรณีศึกษา แฟนเพจ Getupteacher 😀ผ...
04/08/2024

Content Marketing กับการขายคอร์สออนไลน์

วันนี้เราจะมาต่อกับหัวข้อ Content Marketing โดยยกกรณีศึกษา แฟนเพจ Getupteacher 😀

ผมเคยเข้าไปอบรมการทำ Marketing funnel เพื่อขายคอร์สออนไลน์ให้แก่ทางแบรนด์ และแบรนด์มียอดขายสะสมรวมแตะ 8 หลักจากคอร์สเดียว ด้วยงบค่าโฆษณาไม่เกิน 10%

หนึ่งในผู้อยู่เบื้องหลังการตลาดให้กับแฟนเพจ Getupteacher คือ โค้ชออย ธนาวดี

ผู้บริหารการตลาดให้กับบริษัท และเป็น Certified NLP ซึ่งเธอนำหลักจิตวิทยามาใช้ในการวิเคราะห์กลุ่มเป้าหมายอย่างจริงจัง

โค้ชออย เล่าให้ฟังว่าเจ้าของแฟนเพจจะต้องมีความเข้าใจ Pain point และ Need ของ กลุ่มเป้าหมายอย่างชัดเจนเสียก่อน จึงจะสามารถกำหนดทิศทางของคอนเทนต์บนเพจได้

และที่สำคัญ คือ Social media ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อเป็นคอมมิวนิตี้ คุณจะต้องสร้างคอมมิวนิตี้ให้สำเร็จ และรักษาบรรยากาศความเป็นชุมชน

โดย โค้ชออย แบ่งสัดส่วนดังนี้ คอนเทนต์ 80% เพื่อรักษาคนให้อยู่กับชุมชน และอีก 20% เพื่อขายของ

สรุปวิธีทำจำง่าย 4 ข้อ:

1. วิเคราะห์กลุ่มเป้าหมายแบบเจาะลึก

ทีมงาน Getupteacher ไม่ได้เริ่มต้นแฟนเพจด้วยการขายของทันที

แต่เริ่มสร้างฐานแฟนคลับและรักษาความสัมพันธ์การกลุ่มเป้าหมายอย่างเข้มข้น และมีการวิเคราะห์กลุ่มเป้าหมายแบบเจาะลึก โดยกลุ่มเป้าหมายของแฟนเพจ คือ ข้าราชการครู

ตัวอย่างการวิเคราะห์กลุ่มเป้าหมายแบบเจาะลึก:

– เข้าไปดูโปรไฟล์ของข้าราชการครูแต่ละคนว่า พวกเขาชอบโพสต์ข้อความแบบไหน ชอบเสพคอนเทนต์แบบไหนโดยสังเกตจากการแชร์คอนเทนต์มายังเฟซบุ๊คของพวกเขา

– คุณครูติดตามแฟนเพจอะไร และชอบอยู่ใน Facebook group อะไรบ้าง

– คุณครูมักสนทนาถกเถียงเรื่องอะไรบ้าง โดยสังเกตจากคอมเมนต์ต่าง ๆ

– คุณครูใช้เวลาอยู่บนฟสบุคช่วงไหน และนานแค่ไหน

เมื่อได้กลุ่มเป้าหมายที่ชัดเจนแล้ววก็ไปยังข้อ 2…

2. วางแผนโพสต์คอนเทนต์ด้วยกฏ 80/20

จากการวิเคราะห์ของทีมงาน Getupteacher พบว่า ข้าราชการครูส่วนใหญ่งานหนัก และอยู่กับเรื่องวิชาการและเอกสารค่อนข้างเยอะ

ซึ่งสรุปสั้น ๆ ว่าชีวิตคุณครูเครียดมาก คุณครูจึงไม่ต้องการเสพเนื้อหาวิชาการหรือเรื่องหนัก ๆ เพิ่มอีกแล้ว และต้องการเสพเนื้อหาบันเทิง หรือเรื่องดราม่า

เหล่านี้จึงนำมาพัฒนาเป็นแนวทางคอนเทนต์ของแฟนเพจ โดย 80% ของคอนเทนต์เป็น Value ให้กับข้าราชการครู

อีก 20% ขายสินค้า โดยในจำนวน 80% ของ Value content ยังแบ่งเป็น 4 ประเภท ได้แก่

– คอนเทนต์บันเทิงเบาสมอง มีมขำ ๆ หยอกล้อวงการครู และเหตุการณ์ดราม่าต่าง ๆ

– คอนเทนต์เล่าสตอรี่คุณครูสู้ชีวิตต่าง ๆ

– คอนเทนต์ข่าวสารวงการครู การเชิดชูคุณความดีของคุณครูต่าง ๆ

– คอนเทนต์แจกเครื่องมือการทำงานและการพัฒนาอาชีพคุณครู

โดยคอนเทนต์ประเภทที่ 1 และ 2 มีจำนวนมากที่สุด และได้รับ Engagement สูงที่สุด

นับเป็นทัพหน้าในการสร้างฐานผู้ติดตาม ส่วน 2 กลุ่มล่าง คือ ตัวรักษาความภักดีของผู้ติดตาม คือ การให้สิ่งที่เป็นสาระประโยชน์แก่พวกเขาอย่างสม่ำเสมอ

3. ใช้ Facebook Group ในการทำ List Building

เป็นที่ทราบดีว่าแฟนเพจเปิดใหม่ปั้นยากมาก ดังนั้นเมื่อเราได้ผู้ติดตามมาด้วยความยากลำบากแล้ว ก็จะต้องพาพวกเขาเข้ามาอยู่ในฟันเนิลให้จงได้

กรณีแฟนเพจ Getupteacher ใช้ Facebook Group กลุ่มปิดเป็นฟันเนิล โดยใช้ไฟล์เอกสารดาวน์โหลดที่คุณครูอยากได้เป็น Offer แจกฟรีดึงดูดให้คุณครูอยากสมัครเข้ากลุ่ม

4. ไม่ได้ปฏิเสธการซื้อโฆษณา

ทีมงานฯ ไม่ได้ปฏิเสธการซื้อโฆษณา เพราะพวกเขารู้ว่า Organic reach ของเฟซบุ๊คมีวันอ่อนกำลัง แม้โพสต์จะไวรัลแค่ไหนก็ต้องมีวันหมดกำลังการเข้าถึงในที่สุด

ดังนั้นหากเป็นโพสต์ขายสินค้าก็จะต้องซื้อโฆษณาเพื่อให้วิ่งต่อไปหลังจากการเข้าถึงแบบ Organic reach หมดกำลัง โดนจะเริ่มรันโฆษณาหลัง Organic reach ประมาณ 12 – 24 ชั่วโมง

ตัวอย่าง คอร์สสอนพับผ้าระบายนี้มี Organic reach สูงถึง 169,000 Reach 2057 แชร์ และ 77 คอมเมนต์หลังจากโพสต์ออกไปเพียง 2 ชั่วโมง

ปรากฏการณ์นี้เกิดจากการทำตามแผนที่เล่ามา ได้แก่:

วิเคราะห์กลุ่มเป้าหมาย เผยแพร่เนื้อหาที่ถูกใจกลุ่มเป้าหมาย สร้างและสะสมฐานแฟนคลับที่รักแบรนด์ของคุณ

เมื่อเหตุปัจจัยลงตัวแล้วจึงขายของครับ 😀🎉

Content Marketing คืออะไร?‘Content marketing’ เป็นหนึ่งในส่วนประกอบสำคัญของการทำ Funnel marketing โดยวันนี้จะอธิบายความส...
02/08/2024

Content Marketing คืออะไร?

‘Content marketing’ เป็นหนึ่งในส่วนประกอบสำคัญของการทำ Funnel marketing โดยวันนี้จะอธิบายความสำคัญเบื้องต้นสั้น ๆ ก่อนว่า...

- Content Marketing คืออะไร

- และแบรนด์ใช้คอนเทนต์มาร์เก็ตติ้งเพื่ออะไรเป็นส่วนใหญ่

คุณ Joe Pulizzi ผู้ก่อตั้งเว็บไซต์ Content Marketing Institute หรือ CMI และผู้เขียนหนังสือ Epic Content Marketing ให้นิยามไว้หลายความหมาย

โดยจะขอยกมาประโยคเดียวจำง่าย ๆ พร้อมแปลไทยให้เลย ดังนี้:

“กลยุทธ์การตลาดชนิดหนึ่ง ซึ่งมุ่งเน้นการผลิตและส่งมอบเนื้อหาที่ มีประโยชน์, หรือมีความเกี่ยวข้องต่อความสนใจของกลุ่มเป้าหมาย

และทำอย่างสม่ำเสมอ เพื่อดึงดูดกลุ่มเป้าหมายที่คุณวิเคราะห์มาดีแล้ว ให้เข้ามาอยู่ใน Funnel ของคุณ และเพื่อให้กลายมาเป็นลูกค้าที่ทำกำไรให้กับธุรกิจของคุณในที่สุด!”

ส่วนคำว่า ประโยชน์ ในที่นี้ไม่จำเป็นต้องเป็นสาระความรู้เสมอไป

ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับประเภทธุรกิจ และความต้องการของกลุ่มเป้าหมายที่คุณต้องการจะเจาะตลาด ดังนั้น Content marketing อาจเป็นเนื้อหาบันเทิง สนุกสนาน ตื่นเต้นเร้าใจ ก็ได้ ขึ้นอยู่กับความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย

ข้อมูลที่ CMI ทำร่วมกับ Scribble Live ในปี 2018 เผยสถิติวัตถุประสงค์ในการทำ Content marketing ของบริษัทต่าง ๆ และพบว่าบรรดาบริษัทต่าง ๆ ที่มีการทำ Content marketing เพื่อ…

87% ทำเพื่อ Lead generation

82% ทำเพื่อ Brand awareness

78% ทำเพื่อวาง Positioning ตัวเองเป็นผู้เชี่ยวชาญในตลาด หรืออีกนัยยะคือ เพื่อเป็น Influencer ในตลาด

73% ทำเพื่อ Nurture lead หรือการรักษาระดับความสัมพันธ์ของกลุ่มเป้าหมายใหม่ที่เพิ่งเข้ามาใน Funnel ก่อนที่จะพาไปสู่ Purchase Stage

60% ทำเพื่อ Sales conversion คือปิดการขายทั้ง ลูกค้าใหม่ และ ลูกค้าเก่าซื้อซ้ำ

52% ทำเพื่อรักษาความสัมพันธ์กับสมาชิกที่อยู่ใน List ให้ต่อเนื่องยาวนานต่อไป

นี่คือความสำคัญเบื้องต้นสั้น ๆ ของ Content Marketing และแบรนด์ใช้คอนเทนต์มาร์เก็ตติ้งเพื่ออะไรเป็นส่วนใหญ่ โดยโอกาสหน้าจะมาเล่ากรณีศึกษาเพิ่มเติมให้ลึกขึ้นครับ 😀🎉

Funnel Marketing หรือ Sales funnel เป็นกลยุทธ์การตลาดออนไลน์ที่นิยมมาหลายทศวรรษแล้วในต่างประเทศ 🎉และน่าจะเริ่มถูกพูดถึงม...
30/07/2024

Funnel Marketing หรือ Sales funnel เป็นกลยุทธ์การตลาดออนไลน์ที่นิยมมาหลายทศวรรษแล้วในต่างประเทศ 🎉

และน่าจะเริ่มถูกพูดถึงมากขึ้นในประเทศไทยประมาณทศวรรษเศษที่ผ่านมา แต่อย่างไรก็ดีอาจมีคนอีกจำนวนไม่น้อยยังไม่รู้ว่าคืออะไรและสำคัญอย่างไร

วันนี้ CEO Channels จะเล่าเรื่อง Funnel Marketing ให้ฟังอย่างละเอียดครับ 😀

ไปเริ่มกันที่สถิติอย่างไม่เป็นทางการที่เราสามารถพบเจอจากบทความในต่างประเทศ โดยอาจจะมีหรือยังไม่มีเอกสารงานวิจัยรับรองอย่างเป็นทางการ ได้แก่:

99% ของผู้สนใจ ที่ค้นหาสินค้าของคุณเจอทางอินเตอร์เน็ตจะยังไม่ตัดสินใจซื้อจากคุณทันที

- ซึ่งข้อนี้ถ้าพิจารณากับตัวเองแล้วก็สมเหตุสมผล เพราะน้อยคนที่เจอสินค้าจากเว็บไซต์หรือร้านค้าแรกแล้วจะตัดสินใจซื้อทันที

95% ของผู้ที่คลิก เข้าไปยังเว็บไซต์ของคุณเป็นครั้งแรกจะไม่กลับมายังเว็บไซต์ของคุณอีก

- นั่นหมายความ คุณตั้งใจสร้างเว็บไซต์ ตั้งใจผลิตบทความ SEO อย่างดีจนติดหน้าแรก และคนหาเจอแล้ว แต่ 95 ใน 100 คนจะไม่กลับเข้ามายังเว็บไซต์ของคุณซ้ำอีกเลย

Conversion rate หรืออัตราการผันจาก New visitor เป็น Buyer ผ่านเว็บไซต์ขายของออนไลน์ของคุณ มีอัตราเฉลี่ย 1.84% ถึง 3.71%

- แต่ตัวเลขนี้จะกระโดดขึ้นมาเป็น 2 เท่า! หรือประมาณ 6 – 7% ในกรณีที่ทำ Sales funnel ให้แก่ลูกค้าใหม่ และมีโอกาสพุ่งไปเป็น 60 – 70% ในกรณีขายให้แก่ลูกค้าเก่าที่อยู่ใน Funnel

เหล่านี้คือตัวเลขผลลัพธ์ที่น่าทึ่งของการทำ Sales funnel ที่ CEO Channels พอจะเป็นพยานได้ว่าตัวเลขมันอยู่ที่ประมาณนี้จริง

ทีนี้ มารู้จัก 3 คำศัพท์ก่อนไปต่อ:

ก่อนจะไปอธิบาย Funnel marketing หรือ Sales funnel จะขอแนะนำ 3 คำศัพท์ที่เกี่ยวข้องกัน ได้แก่:

1. Customer journey –

คือการสร้างเส้นทางเดินของกลุ่มเป้าหมาย จากคนแปลกหน้า ให้กลายมาเป็นคนรู้ใจ เส้นทางที่คุณสร้างให้เขาเดินนี้เองครับที่เราจะเรียกว่า Sales & marketing funnel หรือ Sales funnel

2. Lead generation –

คือการใช้กลยุทธ์ในการดึงดูด และเครื่องมือในการจัดเก็บผู้สนใจเหล่านั้นให้เขามาอยู่ในฟันเนิลของคุณอย่างเป็นรูปธรรม เพื่อจะสามารถยิงข้อความขายสินค้าไปให้พวกเขาได้โดยตรง

3. List building –

ผู้สนใจที่ถูกดึงดูดและจัดเก็บในระบบฐานข้อมูลที่คุณสร้างเอาไว้เรียกว่าการทำ List building

โดยเครื่องมือดึงดูดและจัดเก็บฐานข้อมูลผู้สนใจไว้ในระบบของคุณ อาทิ Line, Facebook messenger chatbot, และ Email marketing software หรือแม้แต่อุปกรณ์ง่าย ๆ อย่าง Google form เป็นต้น

โอเค! พร้อมแล้วก็ไปต่อเรื่อง Funnel ครับ 👇

โครงสร้าง Sales funnel บางแห่งกล่าวไว้ 4 ชั้น, บางแห่งกล่าวไว้ 5 ชั้น, หรือบางแห่งกล่าวไว้มากกว่านั้น แต่ความหมายโดยรวมจะคล้าย ๆ กัน

ดังนั้น จะขอเลือกเวอร์ชั่น 5 ชั้นเพื่อความละเอียดแต่ยังคงไว้ซึ่งความจดจำง่าย ได้แก่ Awareness, Interest, Consideration, Purchase, และ Retention

ชั้นที่ 1. Awareness

เป็นกิจกรรมเพื่อการสร้างการรับรู้การมีตัวตนของแบรนด์ ให้แก่มวลชนในพื้นที่ ๆ คุณต้องการจะเจาะตลาดรับทราบ ขั้นตอนนี้จะต้องใช้ Content marketing

ชั้นที่ 2. Interest

เป็นสเตจที่มวลชนบางส่วนในพื้นที่นั้น ๆ เริ่มแสดงความสนใจอย่างมีนัยสำคัญต่อแบรนด์ของคุณ อาทิ Follow คือการกดติดตามช่องทางสื่อออนไลน์ของแบรนด์, และ Engage คือการแสดงความเห็นบนสื่อของแบรนด์

สเตจนี้จะเกิดขึ้นได้ก็โดยอาศัยความสม่ำเสมอของ Content marketing เช่นกัน

ชั้นที่ 3. Consideration

เป็นสเตจที่กลุ่มเป้าหมายค่อนข้างแน่ใจแล้วว่าสินค้าและบริการของคุณคือสิ่งที่พวกเขามองหา และนี่คือจุดที่พวกเขาไว้วางใจพอที่จะหยิบยื่นข้อมูลส่วนตัวบางอย่าง

เช่น ชื่อ อีเมล์ เบอร์โทร หรือที่อยู่ เพื่อสมัครสมาชิกรับข่าวสารออนไลน์ หรือขอรับของ Freemium จากแบรนด์

ชั้นที่ 4. Purchase

ข้อนี้ตรงตัวเลยก็คือการตัดสินใจซื้อ หรือภาษาการตลาดอาจเรียกว่า ‘Sales Conversion’ หรือ ‘Conversion’ เฉย ๆ ก็ได้

ชั้นที่ 5. Retention

คือการซื้อซ้ำจากฐานลูกค้าเก่าใน Sales funnel ของคุณ

การสร้างรากฐาน Funnel ที่เล่าไปนี้อาจใช้ต้นทุนทางเวลาในการเตรียมงานพอสมควร โดยคุณอาจต้องเผื่อใจว่าอาจใช้เวลาอย่างน้อย 2 – 3 เดือนขึ้นไป

แต่สิ่งหนึ่งที่ผมสามารถบอกให้คุณชื่นใจได้ คือ ในวันที่ รากฐาน Funnel Marketing ของคุณเข้าที่เข้าทางแล้ว คุณมีโอกาสขายสินค้าได้ง่ายกว่า และในระยะยาวอาจมีต้นทุนค่าโฆษณาที่ลดลงเรื่อย ๆ

คุณ Paul Farris ผู้เขียนหนังสือ Marketing Metrics ได้ทำการศึกษาวิจัยและรวบรวมสถิติมาให้ดังนี้:

– กรณีขายของออนไลน์ โดยไม่ทำ Funnel marketing แต่มุ่งเน้นการซื้อโฆษณา อาจมีอัตรา Conversion rate ลูกค้าใหม่ โดยเฉลี่ยเพียง 1 – 3% (ใกล้เคียงกับข้อมูลข้างต้นที่ 1.84% ถึง 3.71%)

– กรณีขายของออนไลน์ ภายใน Funnel โดยการบรอดคาสต์ข้อความขาย อาจมีอัตรา Conversion rate ลูกค้าใหม่ โดยเฉลี่ย 6 – 7%

– และสุดท้าย กรณีขายของออนไลน์ ภายใน Funnel โดยการบรอดคาสต์ข้อความขายให้แก่กลุ่ม Repeating Customer หรือ ลูกค้าเก่า อัตรา Conversion rate อาจพุ่งไปสูงสุดได้ถึง +/-60% 😀🎉

ทบทวนหนึ่งในสาเหตุที่ผู้มีประสบการณ์และความรู้เฉพาะทางบางอย่าง แต่ยังไม่กล้าทำคอร์สออนไลน์ขาย ได้แก่… 🥲- เพราะไม่คิดว่าจ...
28/07/2024

ทบทวนหนึ่งในสาเหตุที่ผู้มีประสบการณ์และความรู้เฉพาะทางบางอย่าง แต่ยังไม่กล้าทำคอร์สออนไลน์ขาย ได้แก่… 🥲

- เพราะไม่คิดว่าจะมีใครอยากรู้เรื่องนั้น ๆ

- เพราะไม่คิดว่าจะมีใครสนใจ

- เพราะไม่คิดว่าจะขายได้

3 คำตอบนี้มีความหมายคล้ายกัน คือ ยังไม่รู้จักตลาดหรือกลุ่มเป้าหมาย

วันนี CEO Channels จะพาไปวิเคราะห์กลุ่มลูกค้า และความต้องการของตลาด โดยนำสถิติจริงของ Udemy เว็บไซต์คอร์สออนไลน์ที่ใหญ่ที่สุดในโลกมาพิจารณากันครับ

เว็บไซต์ Skillademia รายงานตัวเลขกิจกรรมที่เกิดขึ้นบนแพลทฟอร์มคอร์สออนไลน์ Udemy ตลอดปี 2022 ดังนี้:

#ภาพรวม

- Udemy มีผู้สอน จำนวน 74,000 คน

- มีคอร์สออนไลน์ จำนวน 203,000 คอร์ส

- และมีนักเรียนในระบบ จำนวน 52 ล้านบัญชี

- แต่มีเพียง 15.86% ที่เป็นคนสหรัฐอเมริกา

นั่นหมายความว่าอีกประมาณ 84% เป็นผู้เรียนที่กระจายอยู่ทั่วโลก

#หมวดหมู่คอร์สขายดี

- อันดับ 1 เทคโนโลยี มีสัดส่วนผู้ลงทะเบียนเรียน จำนวน 49.59%

- อันดับ 2 ธุรกิจ จำนวน 25.01%

- อันดับ 3 ศิลปะและดีไซน์ จำนวน 10.60%

- อันดับ 4 การศึกษา จำนวน 5.87%

- อันดับ 5 การพัฒนาตัวเอง จำนวน 5.69%

- อันดับ 6 สุขภาพและการออกกำลังกาย จำนวน 1.67%

- อันดับ 7 ไลฟ์สไตล์ จำนวน 1.53%

จากข้อมูลนี้ เมื่อนำมาประยุกต์กับประสบการณ์ส่วนตัวของผมเอง ผมจะขอยุบรวมและแจกเป็น สูตรสำเร็จหมวดหมู่ขายดีมีตลาดรองรับให้คุณจำง่าย ๆ เพียง 3 หมวดหมู่ ดังนี้

1. หมวดหมู่ How-to Make Money

จากประสบการณ์ส่วนตัวในตลาดนี้มากว่า 10 ปี หมวดหมู่ How-to Make Money เป็นหมวดหมู่ที่แทบจะรับประกันการทำเงินให้กับผู้สอน

ด้วยสาเหตุง่าย ๆ คือ ใคร ๆ ก็อยากร่ำรวย เพราะความร่ำรวยเป็นประตูไปสู่ความสุขต่าง ๆ อีกมากมายในชีวิต

ตัวอย่างคอร์สหมวดหมู่ How-to Make Money เช่นอะไรบ้าง

ได้แก่ สอนการตลาดออนไลน์, สอนขายของออนไลน์, สอนหาลูกค้าและปิดการขาย, สอนทำธุรกิจ, และสอนลงทุนในสินทรัพย์ประเภทต่าง ๆ เป็นต้น

ถึงจุดนี้ บางคนฟังแล้วอาจเกิดความไม่สบายใจเพราะเห็นว่าตนเองไม่ใช่นักธุรกิจใช่หรือไม่?

ไม่ต้องกังวล เพราะหมวดหมู่นี้ยังครอบคลุมถึงทักษะบางอย่างที่คุณมีและสามารถสอนให้ผู้อื่นทำเป็นและเอาไปใช้ประกอบอาชีพต่อไปได้

ได้แก่ สอนถ่ายภาพ, สอนถ่ายและตัดต่อวีดีโอ, สอนทำเว็บไซต์, สอนเขียนบทความและทำ Google SEO, สอนเขียนโปรแกรมต่าง ๆ ไปจนถึงสอนทำอาหาร และสอนทำขนม เป็นต้น

เหล่านี้เข้าข่าย How-to Make Money ตามรายงานหมวดหมู่คอร์สยอดนิยมบน Udemy จากรายงานของ Skillademia ในข้อที่ 1 - 4 รวมกันแล้วมีสัดส่วนสูงถึง 85%

2.หมวดหมู่ How-to Relationship & Personal Development

หมวดหมู่นี้ขอรวมเรื่อง ความสัมพันธ์ และ การพัฒนาตัวเองเข้าด้วยกัน เพราะมันมีความเชื่อมโยงถึงกันพอประมาณ

ได้แก่ การพัฒนาตัวเองมักจะส่งผลต่อความสัมพันธ์ที่ดีขึ้นกับคนรอบข้าง และความสัมพันธ์ที่ดี เช่น ความเข้ากันได้ ความอยู่ร่วมกันได้ การได้รับความรักและการยอมรับ เป็นหนึ่งในความต้องการขั้นพื้นฐานของมนุษย์

ตัวอย่างหัวข้อคอร์สสอนความสัมพันธ์ ได้แก่:

วิธีสื่อสารในสถานการณ์ต่าง ๆ, วิธีพูดในที่สาธารณะ, วิธีแก้ปัญหาความขัดแย้ง, วิธีสร้างเสน่ห์, วิธีเลี้ยงลูกวัยรุ่น, ศิลปะการเข้าสังคม, และศาสตร์และศิลป์แห่งการเป็นผู้นำ เป็นต้น

ตามรายงานหมวดหมู่คอร์สยอดนิยมบน Udemy จากรายงานของ Skillademia ในข้อที่ 5 มีสัดส่วน 5.69%

3. หมวดหมู่ How-to Health & Fitness

สุขภาพ การออกกำลังกาย และการโภชนาการ เป็นอีกหนึ่งหมวดหมู่ความรู้ที่หากดูจากจากรายงานของ Skillademia แล้วมีสัดส่วนเพียง 1.67% เท่านั้น

แต่ในชีวิตจริงเราจะพบเห็นคอร์สสอนหัวข้อเหล่านี้เรื่อย ๆ ในตลาด และยังสามารถแตกออกมาเป็นหลาย ๆ คอร์สจากผู้สอนเพียงคนเดียว

ยกตัวอย่าง แบรนด์ Fit Junctions ในเว็บไซต์ SkillLane ของไทย มีคอร์ส สุขภาพ การออกกำลังกาย การโภชนาการ รวมไปถึงพัฒนาตัวเอง รวมกันไม่น้อยกว่า 37 คอร์ส

ครอบคลุมหัวข้อ ออกกำลังกาย, ลดไขมัน, สร้างกล้ามเนื้อ, ฟาสติ้งไดเอท, คีโตไดเอท และอื่น ๆ อีกมากมาย

#สรุป

เหล่านี้ คือ ตลาด และ โอกาส ที่คนที่มีประสบการณ์ ทักษะ และความรู้เฉพาะทางจะสามารถนำไปสำรวจตัวเองว่าความรู้ของคุณเข้าข่าย 3 หมวดหมู่นี้หรือไม่

ได้แก่ How-to Make Money, How-to Relationship & Personal development, และ How-to Health & Fitness ถ้ามี นั่นหมายความว่า ความรู้ของคุณมีตลาดรองรับแล้ว! 😀🎉

OpenAI เตรียมเปิดตัว SearchGPT ข้อมูลเบื้องต้นเป็นอย่างไร ไปดูกัน 👍1/5 SearchGPT โดยคร่าวมีหน้าตาเริ่มต้นคล้ายเครื่องมือ...
26/07/2024

OpenAI เตรียมเปิดตัว SearchGPT ข้อมูลเบื้องต้นเป็นอย่างไร ไปดูกัน 👍

1/5 SearchGPT โดยคร่าวมีหน้าตาเริ่มต้นคล้ายเครื่องมือ Search engine ทั่วไป เริ่มต้นด้วยกล่องข้อความขนาดใหญ่ที่ถามผู้ใช้ว่า "What are you looking for?"

2/5 กรณี Search engine ทั่วไปเช่น Google จะแสดงผลด้วย ชื่อบทความ และ เนื้อหาประโยคแรก

หรือ ประโยคที่เจ้าของบทความเลือกมาเป็น meta description ผู้ใช้งานอาจต้องคลิกเข้าไปดูทีละบทความเพื่อหาข้อมูลที่ตรงความต้องการที่สุด

3/5 กรณี SearchGPT จะไปดึงข้อมูลที่เป็นใจความคำตอบของคำถามมาแสดงผลก่อน และมีลิงค์เกี่ยวข้องให้หาข้อมูลเพิ่มเติม

ซึ่งจริง ๆ Google search engine ก็สิ่งเหล่าทำได้ แต่ประสิทธิภาพในการแสดงผลอาจสัมพันธ์กับความเชี่ยวชาญด้าน SEO ของเจ้าของเว็บไซต์

4/5 ความหน้าสนใจที่อาจเป็นจุดเด่นของ SearchGPT คือ เราสนทนาต่อเนื่องกับเขาได้เลย

เช่นเมื่อได้ข้อมูลแรกมาแล้ว เราก็ถามข้อมูลที่เกี่ยวข้องต่อไปในระดับลึก แล้วเขาก็จะดึงข้อมูลออกมาเป็น Text information ไปจนถึง Visual information โดยเราไม่ต้องคลิกเข้าไปในเว็บไซต์

5/5 SearchGPT ตอนนี้ประกาศเป็น Waiting list และข้อมูลยังน้อย โดยเฉพาะกลไกการทำงาน และผลกระทบที่จะมีต่อ Google search engine

อย่างไรก็ดี เว็บไซต์เทคฯ The Verge มีความเห็นว่าน่าจะเป็นคู่แข่งโดยตรงกับ Perplexity ผู้ให้บริการ AI-powered answer engine มากกว่า

คลิปตัวอย่างสาธิตในคอมเมนต์ 👇

วันนี้จะมาเล่าแนวทางเอาชนะเสียงต่อต้านเล็ก ๆ ในหัว ที่อาจทำให้คุณอาจรู้สึกไม่มั่นใจที่จะสอน กลัวที่จะลุกขึ้นมาสอน ไปจนถึ...
26/07/2024

วันนี้จะมาเล่าแนวทางเอาชนะเสียงต่อต้านเล็ก ๆ ในหัว ที่อาจทำให้คุณอาจรู้สึกไม่มั่นใจที่จะสอน กลัวที่จะลุกขึ้นมาสอน ไปจนถึงกลัวการขาย และกลัวคนไม่ซื้อครับ 😀

ว่าแล้วก็ไปเข้าเรื่องกันเลย!

#เสียงต่อต้านในหัว

มีโอกาสเกิดขึ้นได้กับทุกคน เป็นเรื่องธรรมดาที่คนเราอาจมีความรู้สึกไม่มั่นใจ หรือความรู้สึกกลัวเมื่อจะต้องเริ่มต้นทำอะไรใหม่ ๆ ที่ไม่คุ้นเคย

ผู้สนใจเริ่มต้นอาชีพสอน มีโอกาสกลัวเรากลัวอะไรกันบ้าง:

1. #กลัวการสอน

กลัวที่จะเริ่มต้นสอนกันตรง ๆ เพราะเสียงต่อต้านเล็ก ๆ ในหัว อาทิ...

- ฉันยังไม่เก่ง

- ฉันยังรู้ไม่มากพอ

- ฉันสอนใครไม่ได้หรอก

- ใครจะมาเสียเงินเพื่อฟังฉันสอน เป็นต้น

เชื่อหรือไม่ว่าเสียงต่อต้านเล็ก ๆ ในหัวเหล่านี้ เกิดกับผู้ที่มีประสบการณ์ความรู้อย่างยาวนานในสายอาชีพของเขา ประมาณ 6 ถึง 7 คนใน 10 ที่มี CEO Channels โอกาสไปให้คำปรึกษาแนะนำเกี่ยวกับการทำคอร์สออนไลน์

อาการนี้เกิดจาก 2 สาเหตุหลัก ๆ เท่าที่พูดคุยและวิเคราะห์ร่วมกันมา ได้แก่:

- พวกเขาเปรียบเทียบตัวเองกับคนที่เก่งกว่าในอุตสาหกรรมนั้น ๆ

- พวกเขาอยู่กับสิ่งที่ทำนั้น ๆ นานจนเคยชิน

วิธีคลายปมทั้ง 2 ข้อนี้ ไม่ยาก วิธีคลายปมอาศัยเพียงหลักคิดเดียวก็จะแก้ได้ทั้งสองปมพร้อมกัน ดังนี้:

#โดยให้ทำความเข้าใจว่าไม่มีใครเก่งที่สุดในโลก

ความรู้บนโลกนี้มากมายมหาศาลอย่างไม่มีที่สิ้นสุด แม้แต่ความรู้ในสาขาอาชีพที่คุณทำอยู่เพียงสาขาเดียวก็ยากแล้วที่คน ๆ หนึ่งคนจะรอบรู้ทุกอย่างภายในสาขานั้นแบบ 100% เต็ม

ในชีวิตจริง สิ่งที่คุณทำได้ คือ ขวนขวายเรียนรู้และพัฒนาตัวเองไปเรื่อย ๆ ตลอดชีวิต คุณอาจรู้แง่มุมที่บุคคลที่คุณนับถือว่าเขาเก่งมาก ๆ ก็อาจยังไม่รู้ ดังนั้น คุณรู้แค่ไหนก็สอนแค่นั้น

- เพื่อให้เห็นภาพง่ายขึ้น สมมุติความรู้มี 5 ระดับ ได้แก่ ระดับ 0 ถึง 5 โดย 0 คือไม่รู้อะไรเลย และ 5 คือรู้ครบจบรอบด้าน

- หากประสบการณ์และความรู้ของคุณอยู่ระดับ 2 กลุ่มนักเรียนของคุณก็คือคนที่มีความรู้ในระดับ 0 และ 1 นั่นเอง

- หลักคิด ก็คือ สอนในเรื่องที่คุณรู้แล้วเป็นอย่างดี ให้กับคนที่รู้น้อยกว่าคุณ ส่วนความรู้ที่ยังไปไม่ถึง ก็ไม่ต้องไปแตะ จนกว่าคุณจะกลับไปศึกษาเพิ่มเติมค่อยว่ากันใหม่

2. #กลัวการขาย

การขายเป็นสิ่งที่หลายคนอาจอึดอัดใจที่จะทำ ส่วนหนึ่งอาจจะประสบการณ์ที่ได้รับหรือได้เห็นจากนักขายในอดีต

ทำให้เกิดความรู้สึกไม่ดี รู้สึกไม่อยากทำ และอาจจะกลัวประสบเหตุการณ์ไม่ดีแบบที่นักขายบางคนเคยประสบจากลูกค้า เป็นต้น

วิธีแก้ความคิดนี้ โดยให้เราเข้าใจว่าโลกใบนี้มันขับเคลื่อนด้วยการขาย การซื้อขายเกิดขึ้นทุกวัน คุณเองก็ขายของแทบจะทุกวันโดยไม่รู้ตัว

การไปกินอาหารร้านอร่อย ดูหนังสนุก ไปพักโรงแรมที่ดีมาก ๆ สิ่งแรกที่คุณทำเมื่อกลับมาเจอเพื่อนฝูงที่ทำงาน คือ คุณจะแนะนำให้เพื่อน ๆ ที่ทำงานไปใช้สินค้าและบริการเหล่านั้น

โดยเฉพาะในยุคโซเชียลมีเดียแบบนี้ พวกเราย่อมต้องเคยเขียนเชียร์ เล่าประสบการณ์ดี ๆ โพสต์รูป พร้อมแปะลิงค์แนะนำให้เพื่อน ๆ ตามไปซื้อสินค้าและบริการเหล่านั้น

เหล่านี้ล้วนมีส่วนแห่งคุณสมบัติของ ‘การขาย’ ทั้งสิ้น เพียงแต่ยังไม่ครบองค์ตรงที่คุณไม่ได้เป็นผู้รับเงินด้วยตนเอง เท่านั้นเอง

ผู้เชี่ยวชาญด้านการขายจากบทความที่ผมเคยอ่านเมื่อนานมาแล้วบอกว่าให้เราทำความเข้าใจว่า ‘การขาย’ คือการนำโอกาสดี ๆ ไปให้ลูกค้า

การที่คุณนำสินค้าและบริการที่ยอดเยี่ยมไปเสนอขายให้ถูกกลุ่มเป้าหมาย คือ การสร้างโอกาสให้พวกเขาได้ใช้สินค้าและบริการที่จะไปบำบัดทุกข์และบำรุงสุขให้ชีวิตของพวกเขาครับ

3. #กลัวคนไม่ซื้อ

ในกรณีของ Information business นั้นอาจเกิดจาก 2 สาเหตุหลัก ๆ ได้แก่ คุณอยู่กับอาชีพที่ตนเองทำนานจนเกิดความเคยชิน

จึงมองไม่เห็น ‘คุณค่า’ ในความรู้ที่คุณมี และอีกข้อ คือ คุณไม่มีข้อมูลเกี่ยวกับตลาด จึงนึกภาพไม่ออกว่า ความรู้ของคุณจะขายออกได้อย่างไร

วิธีแก้ไม่ยาก ในโอกาสหน้า CEO Channels จะมาเล่าเกี่ยวกับแนวทางการพิจารณาความต้องการของตลาดให้ฟังครับ! 😀🎉

ตอนที่แล้วเล่าภาพใหญ่ตลาด Information / Expert business ธุรกิจสายสอน ที่มีหนึ่งในคุณสมบัติที่พิเศษที่น่าสนใจ อาทิ...- ไม...
24/07/2024

ตอนที่แล้วเล่าภาพใหญ่ตลาด Information / Expert business ธุรกิจสายสอน ที่มีหนึ่งในคุณสมบัติที่พิเศษที่น่าสนใจ อาทิ...

- ไม่ต้องสต็อก
- ไม่ต้องแพ็ก
- ไม่ต้องขนส่งสินค้า

วันนี้ CEO Channels จะลงรายละเอียด 7 ประเภทสินค้าในธุรกิจนี้ ไปดูกันว่าคุณสามารถนำความรู้ในตัวเองมาทำเป็น 'Information product' ในรูปแบบใดได้บ้าง 😀

1. #หนังสือและอีบุ๊ค

เป็น Information product ที่เริ่มต้นง่าย โดยทั้งสองประเภทสามารถทำในรูปแบบ Self-publishing คือ เขียน ผลิต และจำหน่ายเอง

โดยหากทำเป็นอีบุ๊คจะมีต้นทุนต่ำมาก เขียนลง Microsoft word แล้วแปลงเป็น PDF หรือนำไปขายผ่านแพลทฟอร์มอีบุ๊คเพื่อเพิ่มการป้องกันการละเมิดลิขสิทธิ์ ก็ได้

อีบุ๊คที่เป็น How-to มีโอกาสตั้งราคาได้ค่อนข้างสูง โดยเคยมีคนตั้งราคาขายหลักพันบาท รองลงมาคือไม่เกิน 500 บาท เป็นต้น

อย่างไรก็ดี การที่หนังสือหรืออีบุ๊คจะขายออก อาจต้องอาศัย Personal branding ที่แข็งแกร่งของผู้เขียน

CEO Channels ก้าวเข้าสู่อาชีพ Information business จากการทำอีบุ๊ค โดยตอนนั้นใช้แอปพลิเคชั่น 'Gumroad' เป็นหน้าร้าน และ 'Paypal' เป็นระบบชำระเงินออนไลน์

ส่งผลให้การทำงานดังกล่าวมีความเป็นออโตเมชั่นเกือบ 100%

2. #ออดิโอบุ๊ค

ออดิโอบุ๊ค คือ หนังสือ หรือ อีบุ๊คในเวอร์ชั่นอ่านให้ฟัง สาย How-to สามารถราคาขายหลักร้อยไปจนถึงหลักพันบาทได้เช่นกัน จะขายผ่านแพทลฟอร์มออดิโอบุ๊ค หรือจะ set ระบบของตัวเองก็ได้อีกเช่นกัน

3. #คอร์สออนไลน์

คอร์สออนไลน์ จะมีการลงทุนที่สูงขึ้น ทั้งอุปกรณ์ และ เวลา เนื่องจากมีขั้นตอนการผลิตที่เริ่มซับซ้อนกว่าอีบุ๊ค แต่ก็เป็นประเภท Information product ที่ตั้งราคาสูงได้

โดยราคาเริ่มต้นหลักพันบาท ไปจนถึงหลักหมื่นบาทต่อคอร์ส ก็ยังได้ ขึ้นอยู่กับ ความ Niche ของเนื้อหา ความ Advance และชื่อเสียงของผู้สอนก็ล้วนมีผล

คอร์สออนไลน์ สามารถขายผ่านแพลทฟอร์มอีเลิร์นนิ่ง เช่น SkillLane ก็ได้ หรือจะสร้างระบบของตัวเองก็ได้ โดยการสร้างระบบของตัวเองยังแยกเป็นอีก 3 วิธี ได้แก่:

- ประยุกต์ใช้โปรแกรม Video Conference

เช่น Zoom รวมนักเรียนเข้ามาแล้วเปิดสอนสดผ่าน Zoom วิธีนี้เหมาะกับผู้เริ่มต้นที่ต้องการเน้นเริ่มต้นเร็วโดยยังไม่ต้องลงทุนกับระบบ

- สร้างโรงเรียนออนไลน์ผ่านแพลทฟอร์มสำเร็จรูป

เช่น Teachable วิธีนี้เหมาะกับผู้พร้อมลงทุนในระบบในระดับหนึ่ง เพราะมีค่าใช้จ่ายประจำในการใช้บริการแพลทฟอร์ม

- สร้างเองจากศูนย์ไปเลย

เช่น ใช้ Learndash LMS Plugin ไปเชื่อมเข้ากับ Wordpress แล้วบิวต์ขึ้นมาใหม่ทั้งเว็บด้วยตนเอง วิธีนี้เหมาะกับคนที่ทั้งมีทุน มีเวลาพอสมควร และมีความรู้การใช้ทั้งโปรแกรมเหล่านี้

4. #สัมมนาสดและเวิร์คช็อป

การเจอตัวกันสามารถเพิ่มอรรถรสในการเรียนรู้ และสามารถมีกิจกรรมร่วมกันได้อย่างมีมิติกว่าการเรียนออนไลน์

อย่างไรก็ดี สัมมนาสดและเวิร์คช็อป มักตามมาด้วยต้นทุนที่สูงกว่า เช่น ค่าเช่าห้อง ค่าอาหาร ค่าอุปกรณ์ ค่าทีมงาน เป็นต้น

การจัดสัมมานาและเวิร์คช็อปในปัจจุบันจึงมักมีราคาเริ่มต้นที่ 8 - 9 พันบาท หรืออาจเริ่มต้นที่ 1 หมื่นบาทขึ้นไป สำหรับสัมมานา 1 วัน

กรณีสัมมนาต่อเนื่อง เช่น สัปดาห์ละครั้ง เป็นเวลา 4 - 5 สัปดาห์ขึ้นไป ก็อาจมีราคาหลักแสนบาท เป็นต้น

อย่างไรก็ดี แม้จะมีราคาเริ่มต้นที่สูงกว่า Information products ทั้งหมดที่เล่าไป แต่ด้วยต้นทุนที่สูงตามไปด้วย บางครั้งอัตรากำไรจากสัมมนาสดอาจจะน้อยกว่าหากคิดเเป็นเปอร์เซ็นต์

ด้วยเหตุนี้ สัมมนาสดทั้งหลายจึงมีโอกาสที่จะทำสิ่งที่เรียกว่าการ ‘Upsell’ สินค้าในข้อต่อไปนี้...

5. #วันออนวันโค้ชชิ่ง

วันออนวันโค้ชชิ่ง คือการเข้าไปเป็นโค้ชหรือเทรนเนอร์ส่วนตัว ทุ่มเทเวลาให้นักเรียนคนนั้นเป็นการเฉพาะ เป็นเวลาต่อเนื่องตามตกลง เช่น Call วันละ 30 นาที และนัดเจอสัปดาห์ละครั้งเป็นเวลา 1 ชั่วโมง เป็นเวลา 3 เดือน เป็นต้น

ดังนั้น วันออนวันโค้ชชิ่ง จึงเป็น Information products ที่อาจมีราคาเริ่มต้นหลักแสนบาท นั่นเองครับ

6. #ที่ปรึกษา

ที่ปรึกษา เป็นอีกหนึ่ง Information products ที่คุณมีโอกาสได้จากการไปบรรยายหรือจัดสัมมานา เพราะผู้เรียนได้เจอตัวคุณเป็น ๆ

หากเขาชื่นชอบและชื่นชมความรู้ของคุณ เขาก็อาจจะอยากร่วมงานกับคุณในฐานะที่ปรึกษาและรับทำหน้าที่บางอย่างในธุรกิจของเขา ซึ่งแน่นอนครับว่าราคาเริ่มต้นก็หลักแสนบาท เช่นกัน

7. #โปรดิวเซอร์

ข้อนี้อาจจะแตกต่างจากข้ออื่น ๆ ตรงที่คุณใช้ความรู้ในธุรกิจ Information business ไปปั้น Information production ให้คนอื่น แทนการที่คุณจะทำโปรดักท์ของตัวเองแล้วแบ่งส่วนแบ่งกัน

ยกตัวอย่าง CEO Channels เคยเป็นโปรดิวเซอร์ให้ โค้ชออย เจ้าของแฟนเพจ Getupteacher ในการทำคอร์สสอนออนไลน์

หรืออีกโปรเจคหนึ่ง คือ การออกแบบคอร์สออนไลน์ให้องค์กรที่ขายสินค้าประเภทอื่นอยู่แล้ว แต่ต้องการมีคอร์สออนไลน์ไว้ทำหน้าที่เป็นสื่อ Education marketing ให้แก่กลุ่มเป้าหมายของเขาครับ 😀🎉

ที่อยู่

Sukumvit Road
Bangkok
10110

เวลาทำการ

จันทร์ 10:00 - 19:00
อังคาร 10:00 - 19:00
พุธ 10:00 - 19:00
พฤหัสบดี 10:00 - 19:00
ศุกร์ 10:00 - 19:00

เว็บไซต์

แจ้งเตือน

รับทราบข่าวสารและโปรโมชั่นของ CEO Channelsผ่านทางอีเมล์ของคุณ เราจะเก็บข้อมูลของคุณเป็นความลับ คุณสามารถกดยกเลิกการติดตามได้ตลอดเวลา

แชร์

ตำแหน่งใกล้เคียง บริษัท สื่อ


บริษัทด้านสื่อ/ข่าวสาร อื่นๆใน Bangkok

แสดงผลทั้งหมด