The101.world The101.world I creative knowledge media for social change
(110)

The101.world คือสื่อความรู้สร้างสรรค์ (creative knowledge media) ของทีมงาน The 101 Percent เราพยายามทำสื่อความรู้สร้างสรรค์ที่มีแก่นชีวิตและความคิด ดังนี้

- เป็นสื่อที่ชวนสังคมตั้งคำถามที่ ‘ใช่’ ในเรื่องสำคัญต่อชีวิต และมีส่วนร่วมในการกำหนดวาระสาธารณะ วาทกรรมสาธารณะ และข้อถกเถียงสาธารณะในสังคม

- เป็นสื่อที่บอกเล่าเบื้องลึกเบื้องหลังของสถานการณ์การเมือง เศรษฐกิจ และสังคมวัฒนธรรม ที่ประชาชนกำลังใ

ห้ความสนใจ อย่างครบถ้วน รอบด้าน ถูกต้อง ลึกซึ้ง แตกต่าง และน่าเชื่อถือ

- เป็นสื่อที่มองวัฒนธรรมรอบตัวและไลฟ์สไตล์ในแง่มุมใหม่ที่ไม่มีใครเคยมอง เท่าทันโลกร่วมสมัย และมองเห็นมิติเชิงสังคม เศรษฐกิจ และการเมืองที่ทำงานอยู่เบื้องหลังวัฒนธรรมรอบตัวและไลฟ์สไตล์ร่วมสมัย

- เป็นสื่อที่เชื่อม ‘โลกความรู้’ เข้ากับ ‘โลกความคิดสร้างสรรค์’ นำเสนอความรู้พื้นฐานด้านต่างๆ ที่สำคัญอย่างมีความคิดสร้างสรรค์ และเผยแพร่สู่สาธารณะให้เข้าถึงผู้คนวงกว้างที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ทั้งในโลกออนไลน์และออฟไลน์

- เป็นสื่อที่ทำหน้าที่ด้วยความเป็นมืออาชีพ กล่าวคือ มีความเป็นอิสระ ตรงไปตรงมา เปิดกว้างทางความคิดเห็น เชื่อมั่นในความหลากหลาย มีความสมดุลและรอบด้าน มีความรับผิดชอบ คำนึงถึงประโยชน์สาธารณะ และเชื่อมั่นในสิทธิเสรีภาพ

- เป็นสื่อที่ร่วมสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ และร่วมเป็นพลังแห่งการเปลี่ยนแปลงสังคมให้ดีขึ้นบนฐานความรู้

- เป็นสื่อที่ทำหน้าที่ ‘สื่อสาร’ ความรู้สู่สังคม โดยใช้ช่องทางทุกรูปแบบที่เหมาะสม ไม่ว่าจะเป็นสื่อออนไลน์ ออฟไลน์ สื่อมัลติมีเดีย สื่อกระดาษ หรือการร่วมแลกเปลี่ยนระหว่างผู้คนด้วยวิธีต่างๆ เพื่อให้เกิดการปะทะสังสรรค์ทางความคิดที่ไม่สิ้นสุด

มะเดี่ยว-ชูเกียรติ ศักดิ์วีระกุล ให้สัมภาษณ์ว่ามีแผนอยากสร้างภาคต่อของ ‘ตาคลี เจเนซิส’ (2024) -หนังยาวลำดับล่าสุดของเขาท...
03/09/2024

มะเดี่ยว-ชูเกียรติ ศักดิ์วีระกุล ให้สัมภาษณ์ว่ามีแผนอยากสร้างภาคต่อของ ‘ตาคลี เจเนซิส’ (2024) -หนังยาวลำดับล่าสุดของเขาที่ยังไม่ได้ออกฉายด้วยซ้ำ- ทั้งยังย้ำว่าถึงอย่างไรก็ “คงต้องรอผลตอบรับมาก่อน” แต่ก็ต้องเจอกระแสความคิดเห็นมากมาย ไม่ว่าจะ เอาภาคแรกให้รอดก่อนไหม, พูดโปรโมตหนังน่าหมั่นไส้ หรือ ทำหรือไม่ทำก็ไม่เสียตังค์ไปดูอยู่ดี
อะไรกัน ทำไมแค่คนทำหนังไทยสักคนวาดฝันใหญ่ หรือทะเยอทะยานอยากทำงานอีกสักเรื่องสองเรื่อง ถึงต้องถูก 'ขัดขา' หรือไปไกลถึงการ 'หยามหมิ่น' กันขนาดนี้
อ่านบทความได้ที่ : https://www.the101.world/its-hard-being-thai-filmmakers/
"จะบอกว่าหนังไทยทำให้ผิดหวังมาแล้วหลายต่อหลายครั้งจนไม่เกิดความไว้เนื้อเชื่อใจกันก็ฟังขึ้น เข้าใจได้ที่บ่อยครั้งกำเงินใบสีแดงไปซื้อตั๋วที่แพงกว่าค่าอาหารมื้อหนึ่งๆ เพื่อจะพบว่าหนังไม่ถูกปาก, รู้สึกว่าโปรดักชันไม่ดี หรือแม้แต่ไม่ถูกจริต ฯลฯ แต่มันใช่ความผิดของคนทำหนังจริงๆ หรือ"
"ทั้งหมดนี้ไม่ได้หมายความว่าหนังไทยจะวิพากษ์วิจารณ์อะไรไม่ได้เลย ตรงกันข้าม การวิพากษ์วิจารณ์นั้นถือเป็นสิ่งที่สมควรเกิดขึ้นแล้วในงานทุกประเภท หากแต่มันย่อมต้องวางอยู่บนมาตรฐานเดียวกันกับเมื่อเรามองหนังที่มาจากทิศอื่นๆ ของโลก รวมทั้งมันควรมาหลังจากที่เราได้ดูหนังเต็มแล้ว เพราะการวิจารณ์หนังโดยอ้างอิงแค่ตัวอย่างหนังความยาวไม่ถึงห้านาทีก็นับว่าใจร้ายไปไม่น้อย"
"การจะทำหนังไทยเองก็มีข้อจำกัดมากมายทั้งที่มองเห็นและไม่เห็น ทำหนังที่ว่าด้วยความเชื่อก็ถูกเซ็นเซอร์หรือถูกกลุ่มคนรักศาสนาเพ่งเล็ง ทำหนังว่าด้วยอาชีพใดอาชีพหนึ่งที่มีพฤติกรรมชวนกังขา ก็ต้องเจอเจ้าของอาชีพนั้นมาร้องเรียน"
"เราเรียกร้องภาพยนตร์ไทยที่มอบกลิ่นใหม่รสใหม่ให้เรา แต่เราก็หวาดหวั่นเกินกว่าจะกำเงินออกไปดู แน่แท้ว่าเงินค่าตั๋ว -หากไม่นับส่วนลดอื่นๆ ที่ก็ต้องผ่านการช่วงชิงหรือเสี่ยงโชค- แทบจะแพงกว่าค่าแรงขั้นต่ำต่อวัน"
"แต่มันก็ไม่ใช่ความผิดที่มาจากคนทำหนัง สิ่งที่เราควรตั้งคำถามคือการตั้งราคาค่าตั๋วของโรงภาพยนตร์ที่ทำให้หลายคนไม่กล้า ‘แลก’ หรือแม้แต่การให้รอบฉายหนังไทยที่โรงมัลติเพล็กซ์บางแห่งก็จำกัดไว้ให้หนังไทยในเครือตัวเอง หรือไม่ก็มอบรอบฉายให้หนังไทยที่มี ‘รสชาติใหม่ๆ’ เพียงน้อยนิด"
เรื่อง: พิมพ์ชนก พุกสุข

"เมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา บทความชิ้นหนึ่งใน The Economist พาดหัวได้เตะตาว่า เหล่าลูกท่านหลานเธอแห่งเอเชียกำลังสบายปีกบน...
03/09/2024

"เมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา บทความชิ้นหนึ่งใน The Economist พาดหัวได้เตะตาว่า เหล่าลูกท่านหลานเธอแห่งเอเชียกำลังสบายปีกบนเวทีการเมือง ส่วนเมื่อปลายเดือนสิงหาคมก็มีบทความใน Financial Times ต้อนรับ แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรีไทย เข้ารวมกลุ่มผู้นำลูกท่านหลานเธอแห่งเอเชีย"
"เหล่าลูกท่านหลานเธอมีศัพท์แสงเฉพาะซึ่งเป็นที่นิยมในมวลชนอินเทอร์เน็ตว่า 'nepo baby' ซึ่งขึ้นแท่นศัพท์ฮิตติดชาร์ตนับตั้งแต่ปี 2022 เป็นต้นมาจวบจนปัจจุบัน คำว่า nepo ในชื่อดังกล่าวมาจาก nepotism ที่มีนิยามอย่างกว้างว่าการเลือกที่รักมักที่ชังโดยเอื้อประโยชน์ให้พวกพ้องและเครือญาติ ส่วนคำว่า nepo baby เป็นคำเรียกรวมๆ ของเหล่าคนรุ่นใหม่เส้นสายดีที่หลายคนก้าวไปได้ไกลในหน้าที่การงานเพราะพ่อแม่โด่งดังหรือประสบความสำเร็จ โดยส่วนใหญ่มักจะอยู่ในแวดวงหรืออุตสาหกรรมเดียวกันกับพ่อแม่"
"ปฏิเสธไม่ได้ว่าลูกท่านหลานเธอบางคนเติบโตตามความฝันที่อยากเป็นเหมือนพ่อแม่มาตั้งแต่เด็ก ลูกในบ้านนักการเมืองก็ย่อมใฝ่ฝันอยากเป็นนักเมือง ลูกในบ้านดาราก็วาดหวังว่าวันหนึ่งจะได้โด่งดังเหมือนพ่อแม่ แน่นอนครับว่าบางคนมีพรสวรรค์โดดเด่นที่เมื่อผนวกกับสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมก็พร้อมจะเติบโตเปล่งประกาย ขณะที่ลูกท่านหลานเธอบางคนไร้ความสามารถ แต่ก้าวเข้าเป็นดาวเด่นในวงการได้ด้วย ‘แรงดัน’ ของพ่อแม่ล้วนๆ"
"ดังนั้น เราอย่าเพิ่งด่วนตัดสินว่าเขาหรือเธอ ‘เหมาะสม’ กับตำแหน่งหรือไม่ แต่ต้องให้เวลาเป็นเครื่องพิสูจน์"
คอลัมน์ Curious Economist เดือนนี้ รพีพัฒน์ อิงคสิทธิ์ ชวนอ่านงานวิจัยว่าด้วยการสืบทอดอำนาจของตระกูลการเมืองและตระกูลธุรกิจสู่รุ่นลูกหลาน ว่าส่งผลต่อเศรษฐกิจของประเทศและธุรกิจนั้นๆ อย่างไร
อ่านได้ที่ https://www.the101.world/nepo-baby-curious-economist/
ภาพประกอบ: จิราภรณ์ บุญเย็น

02/09/2024

101 One-on-One Ep.339 – ถอดมายาคติน้ำท่วมใหญ่ มองไปให้ไกลกว่าปี 54 กับ ภาณุ ตรัยเวช

สถานการณ์น้ำท่วมหนักในหลายพื้นที่กำลังสร้างความหวาดวิตกว่าจะเกิดวิกฤติซ้ำรอยปี 54 แต่อย่างไรก็ดี บทเรียนจากมหาอุทกภัยปี 54 อาจไม่สามารถใช้เทียบเป็นมาตรฐานปรากฏการณ์น้ำท่วมใหญ่ได้เสมอไป ความเข้าใจผิดที่ถูกผลิตซ้ำ ไม่อาจนำไปสู่ทางแก้ปัญหา รัฐต้องใช้โมเดลบริหารจัดการน้ำอย่างไรจึงจะไม่ผิดฝาผิดตัว?
101 ชวน ภาณุ ตรัยเวช อาจารย์ประจำภาควิชาวิทยาศาสตร์พื้นพิภพ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มาพูดคุยถึงแนวทางในการรับมือวิกฤติน้ำท่วมที่เกิดขึ้น
ดำเนินรายการโดย ปาณิส โพธิ์ศรีวังชัย
จันทร์ที่ 2 กันยายน 2567 เวลา 19.00 น. ทุกแพลตฟอร์มของ The101.world

“ผู้อ่านคงเคยได้ยินประโยคที่ว่า คนเราตายสองครั้ง ครั้งแรกตอนคุณหยุดหายใจ ครั้งที่สองตอนไม่มีใครกล่าวชื่อคุณอีกแล้ว แต่สำ...
02/09/2024

“ผู้อ่านคงเคยได้ยินประโยคที่ว่า คนเราตายสองครั้ง ครั้งแรกตอนคุณหยุดหายใจ ครั้งที่สองตอนไม่มีใครกล่าวชื่อคุณอีกแล้ว แต่สำหรับคนอย่างชัยวัฒน์ การตายที่น่ากลัวกว่านั้น หมายถึงวันที่ผู้คนเลิกให้ค่าปรัชญาการเมือง”
ความเข้าใจต่อปรัชญาการเมืองแบบใดที่หล่อหลอม 'ชัยวัฒน์ สถาอานันท์' ให้ ‘ศรัทธา’ ในปฏิบัติการทางการเมืองที่ไม่ใช้ความรุนแรง ดุลยภาพ จาตุรงคกุล ชวนมองมรดกทางความคิดของชัยวัฒน์จากมุมมองคนสอนปรัชญาการเมือง
อ่านได้ที่: https://www.the101.world/between-philosophy-and-faith/
“ไม่สำคัญหรอกว่า ผู้เขียนกับชัยวัฒน์มีความเห็นพ้องต้องกันมากแค่ไหน หรือต่างมีความรักต่อกันและกันในรูปแบบใด สิ่งที่สำคัญกว่า คือ ทำไมเราทั้งคู่ต่างรักและศรัทธาในสิ่งที่เรียกว่า ‘ปรัชญาการเมือง’ เหมือนกัน ตรงนี้ต่างหากที่ทำให้ผู้เขียนประสงค์ที่จะเขียนเกี่ยวกับชัยวัฒน์ด้วยประเด็นปรัชญาการเมืองจากมุมที่ไกลออกไป โดยตระหนักในความสำคัญของการ ‘สานต่อ’ การสอนปรัชญาการเมือง (บนเส้นทางของผู้เขียนเอง) ในคณะที่ชัยวัฒน์ผูกพันและสอนมานานับทศวรรษ”
“ในวันที่การเมืองเป็นพิษและทุกอย่างดูสิ้นหวังไปเสียทั้งหมด ชัยวัฒน์ก็ยังศรัทธาในความเป็นมนุษย์ และตราบใดที่ไม่หมดรักในปัญญา ความคาดหวังที่จะเห็นมนุษย์ธรรมดาใช้ปรัชญาเป็นเชื้อเพลิงจุดประกายไฟแห่งความหวังจะยังคงอยู่”
“น่าสนใจว่า ชัยวัฒน์ปรารถนาให้ปรัชญาการเมืองเป็นเรื่องของทุกคน ไม่ใช่แค่ของ ‘ผู้รู้’ ‘ผู้มากรู้’ หรือ ‘ผู้ปกครองที่มากรู้’ ปรัชญาการเมืองเป็นมากกว่าเรื่องเฉพาะบุคคล และแท้จริงแล้วการไม่ใช้ความรุนแรงทางการเมืองเป็นความรับผิดชอบของทั้งภาครัฐและภาคประชาชน”
“เราไม่ควรสับสนว่าเหตุใดชัยวัฒน์ถึงสามารถเคร่งครัดกับหลักคำสอนทางศาสนาพร้อมๆ กับการเป็นนักปรัชญา ซึ่งอันที่จริง ความรักของพระองค์นับว่าเป็นต้นแบบของความรักที่ไร้เงื่อนไขและขีดจำกัด ฉะนั้น หากศรัทธาในพระองค์ โดยที่ปัจเจกมิอาจ(มีทาง)รู้ด้วยซ้ำว่าพระองค์นั้นมีอยู่จริงหรือไม่ การศรัทธาในปัญญาและเพื่อนมนุษย์ก็ไม่น่าใช่เรื่องยากหรือเป็นไปไม่ได้เสียทีเดียว”
“ผู้เขียนยังคงเข้าใจเหมือนกับชัยวัฒน์ว่า ‘ปรัชญาเป็นเรื่องของทุกคน’ และขับเคลื่อนด้วยความใฝ่รู้มากกว่าการยืนหยัดว่าความรู้ของตนจริงแท้ที่สุด อีกทั้งในโลกที่นับวันปัญหาการครอบงำและความแตกแยกทวีคูณหนักหน่วงมากขึ้นเรื่อยๆ เราทั้งคู่ยังคงมีจุดร่วมตรงกันที่ไม่เคยละทิ้งความเชื่อว่า ปรัชญาสามารถสร้างทางเลือกที่เหมาะสมเพื่อเชื่อมโยงกับการแก้ปัญหาเหล่านี้ในสังคมได้ โดยที่ทางออกหรือการได้มาซึ่งทางออกนั้นไม่จำเป็นต้องเหมือนกันก็ได้”
เรียบเรียง: แอนนา ปิยะพร
ภาพประกอบ: พิรุฬพร นามมูลน้อย

นายแพทย์ประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์ ชวนคิดต่อจากงานวิจัย ‘ระบบสวัสดิการเด็กเล็กเพื่ออนาคต’ โดยคิด for คิดส์ เมื่อเห็นว่าหน้า...
02/09/2024

นายแพทย์ประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์ ชวนคิดต่อจากงานวิจัย ‘ระบบสวัสดิการเด็กเล็กเพื่ออนาคต’ โดยคิด for คิดส์ เมื่อเห็นว่าหน้าที่ดูแลเด็กส่วนใหญ่ควรอยู่ที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
“เรื่องน่าเป็นห่วงคืองานวิจัยบอกเรื่องที่เรารู้อยู่แล้วมาช้านาน ปัญหาของบ้านเราคือรู้ทั้งรู้แต่ไม่มีการเปลี่ยนแปลง

“เช่น รู้ว่าการลงทุนในเด็กเล็กดีที่สุดต่ออนาคต กับรู้ว่าช่วงเวลาทองของการลงทุนคือสามขวบปีแรก รู้อีกด้วยว่าถ้าเราลงทุนวันนี้จะเห็นผลใน 15-20 ปี แต่เราก็ปล่อยให้เด็กไทยและพ่อแม่ไทยผจญชะตากรรมกันเอาเองรุ่นต่อรุ่นมานานแสนนาน”
อ่านได้ที่: https://www.the101.world/decentralization-8/
“เป็นที่รู้อีกเช่นกันว่าองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นผู้รับผิดชอบศูนย์เด็กเล็กทั่วประเทศ ปัญหาก็เป็นที่รู้กันอีกด้วยว่าขาดงบประมาณและบุคลากร แล้วก็รู้กันอีกด้วยว่าเงินของส่วนท้องถิ่นหายไปทางใดบ้าง”
“ลำพังศูนย์เด็กเล็กขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไม่เพียงพอ มีข้อเสนอให้ขยายหน้าที่และความรับผิดชอบเรื่องพัฒนาการเด็กเล็กออกไปโดยรอบในทุกบริบทด้วย …ผู้วิจัยให้ตัวเลขที่ชัดเจนแล้วว่าเราต้องการคนดูแลเด็กเล็กเพิ่ม 200,000 คน นี่เป็นจำนวนที่ไม่มากเลย มากไม่มากขึ้นกับวิสัยทัศน์ผู้บริหารประเทศว่าเห็นอะไรสำคัญกว่าอะไร”
ภาพประกอบ: จิราภรณ์ บุญเย็น

เป็นอีกครั้งที่ศาลรัฐธรรมนูญเขย่าการเมืองไทยหลังมีคำวินิจฉัยชี้ขาดสองคดีสำคัญ ทั้งกรณียุบอดีตพรรคก้าวไกลและกรณีวินิจฉัยใ...
02/09/2024

เป็นอีกครั้งที่ศาลรัฐธรรมนูญเขย่าการเมืองไทยหลังมีคำวินิจฉัยชี้ขาดสองคดีสำคัญ ทั้งกรณียุบอดีตพรรคก้าวไกลและกรณีวินิจฉัยให้ เศรษฐา ทวีสิน พ้นเก้าอี้นายกรัฐมนตรี เหตุการณ์ทั้งหมดนี้สะท้อนว่ากลไกนิติสงครามยังคงทำงานอย่างไม่มีสัญญาณสิ้นสุด
ท่ามกลางสถานการณ์ที่ตุลาการมีท่าทีคล้ายยึดอำนาจอธิปไตยจากทั้งฝ่ายบริหารและนิติบัญญัติ ทางออกและวิธีรักษาสมดุลความสัมพันธ์ระหว่างอำนาจอธิปไตยทั้งสามคืออะไร ท้ายที่สุดแล้ว ศาลรัฐธรรมนูญยังมีความจำเป็นอยู่หรือไม่
101 ชวน จาตุรนต์ ฉายแสง สส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย และ รศ.ดร.มุนินทร์ พงศาปาน อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มาร่วมพูดคุยถึงดุลอำนาจทางการเมืองของกระบวนการตุลาการภิวัตน์ที่ส่งผลกระทบต่อการบริหารราชการแผ่นดิน
อ่านได้ที่: https://www.the101.world/munin-and-chaturon-interview/
“เป็นไปได้อย่างไรที่แค่มีข้อโต้แย้งหรือข้อสงสัยต่อตัวบุคคลก็ทำให้ต้องพ้นจากตำแหน่ง ในช่วงเวลาเดียวกันที่ศาลรัฐธรรมนูญขยายอำนาจเข้าไปตีความและตรวจสอบการกระทำทางนิติบัญญัติบางอย่างที่เราไม่เคยพบเจอกันมาก่อน”

“ผมมองว่าสิ่งที่น่ากังวลมาก ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายนิติบัญญัติหรือฝ่ายบริหาร นี่เป็นสถานการณ์ที่พร้อมจะก่อให้เกิดความวุ่นวายทางการเมืองได้ตลอดเวลา อยู่ที่ว่าใครจะอาศัยจังหวะในการคว้าความได้เปรียบทางการเมืองได้”

- รศ.ดร.มุนินทร์ พงศาปาน
“การเสนอนโยบายของพรรคการเมืองเป็นสิ่งที่พรรคการเมืองพึงกระทำ กฎหมายรัฐธรรมนูญเขียนไว้ชัดเจนว่าการทำงานของ สส. เป็นเอกสิทธิ์ แต่นี่เป็นครั้งแรกที่ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาเนื้อหาของกฎหมายที่เสนอ พอบอกว่าการเสนอนโยบายเป็นเรื่องผิดด้วย ก็กระทบต่อระบบพรรคการเมืองและการทำหน้าที่ของฝ่ายนิติบัญญัติ นี่ถือเป็นเรื่องใหญ่

"ทางออกหลักคือเราต้องแก้รัฐธรรมนูญอย่างที่หลายพรรคการเมืองเสนอเรื่อยมา ต้องจัดความสัมพันธ์ใหม่ให้ตรวจสอบ ถ่วงดุล และเป็นอิสระจากกัน รวมถึงเสนอให้ทำสภาร่างรัฐธรรมนูญ (สสร.) เพื่อประสิทธิภาพและความโปร่งใสในการแก้กฎหมาย”

- จาตุรนต์ ฉายแสง

:::::: 101 Editor’s Pick ::::::น้ำท่วม - โลกเดือด : บทเรียนเมื่อธรรมชาติส่งสัญญาณช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา ประชาชนหลายจังหวัด...
01/09/2024

:::::: 101 Editor’s Pick ::::::
น้ำท่วม - โลกเดือด : บทเรียนเมื่อธรรมชาติส่งสัญญาณ
ช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา ประชาชนหลายจังหวัดในภาคเหนือต้องเผชิญกับมวลน้ำมหาศาลที่ไหลบ่าเข้าบ้านเรือนและพื้นที่การเกษตร มวลน้ำสร้างความเสียหายต่อทั้งชีวิตและทรัพย์สิน ข้อมูลจากกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยระบุว่ามีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 22 ราย และมีประชาชนได้รับผลกระทบอย่างน้อย 30,000 ครัวเรือน
นอกจากข้อกังวลว่าน้ำท่วมปีนี้จะหนักเท่าปี 2554 หรือไม่ อีกประเด็นสำคัญที่ควรถกเถียงกันคือทางออกปัญหาน้ำท่วมระยะยาวควรเป็นอย่างไร รวมถึงคำถามว่าการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศข้องเกี่ยวกับเหตุน้ำท่วมทุกวันนี้มากน้อยแค่ไหน 101 ชวนอ่านงานว่าด้วยเรื่อง ‘น้ำท่วม’ และ ‘โลกรวน’ สองประเด็นที่สัมพันธ์และไม่อาจแยกขาดจากกัน
::: บทเรียนน้ำท่วมอีสานครั้งใหญ่ เกี่ยวอะไรกับการแก้รัฐธรรมนูญ :::
ณัชปกร นามเมือง เขียนถึงวิกฤตน้ำท่วมอีสานที่สะท้อนให้เห็นความล้มเหลวในการรับมือและแก้ปัญหาจากภาครัฐ ซึ่งหัวใจสำคัญอยู่ที่วิกฤตรัฐธรรมนูญฉบับ 2560 เสียเอง
https://www.the101.world/crisis-of-flood-and-constitution/
::: น้ำท่วมกับ 'โคก หนอง นา': เก็บน้ำไว้ใช้ ทำได้จริงหรือ :::
เอกศาสตร์ สรรพช่าง เขียนถึง การจัดการพื้นที่การเกษตรตามโคก หนอง นา โมเดล ที่ไม่สามารถแก้ไขปัญหาการทำเกษตรอย่างเป็นระบบได้จริง และอาจเป็นได้เพียงอุดมคติสำหรับผู้มีทุนทรัพย์ที่ใฝ่หาชีวิตชนบท
https://www.the101.world/knok-nong-na-model/
::: ‘อดอยากปากจมน้ำ’ ชีวิตในอนาคตอันใกล้ (ฉาก 1) :::
นิติ ภวัครพันธุ์ เล่าถึงการแก้ปัญหาเมืองจมน้ำอย่างยั่งยืนของเนเธอร์แลนด์ ไม่ว่าจะเป็นการสร้างประตูกั้นน้ำขนาดยักษ์, การออกแบบบ้านเรือน ไปจนถึงการคิดค้นเทคโนโลยีใหม่ๆ เพื่อรองรับปัญหาที่อาจะเกิดขึ้นในอนาคต
https://www.the101.world/effect-of-party-dissolution/
::: ไทยต้องสูญเสียอะไรบ้าง หากการแก้ปัญหาโลกรวนยังไปไม่ถึงไหน? :::
101 PUB ชวนสำรวจผลกระทบและความสูญเสียของ ‘วิกฤตโลกรวน’ ที่กำลังฉายชัดขึ้นเรื่อยๆ ในประเทศไทย พร้อมประเมินความพร้อมของแผนและนโยบายรับมือของไทยต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
https://www.the101.world/thailand-climate-policy/
::: เพราะอากาศเปลี่ยนแปลงบ่อย: ตีโจทย์ยุคโลกเดือดอย่างไรเพื่ออยู่ร่วมให้ได้-ไปต่อให้เป็น :::
ชวนตีโจทย์วิจัยและนโยบายเพื่อรับมือ 'โลกเดือด' ผ่านข้อถกเถียงทางวิทยาศาสตร์ แนวคิดใหม่ว่าด้วยการผลิตอาหาร และความยุติธรรม
https://www.the101.world/global-boiling/

:::::: 101 This week ::::::อ่านไฮไลต์ผลงานเด่นที่เผยแพร่ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาของ The101.world และพลาดไม่ได้กับผลงานสื่อ...
01/09/2024

:::::: 101 This week ::::::
อ่านไฮไลต์ผลงานเด่นที่เผยแพร่ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาของ The101.world และพลาดไม่ได้กับผลงานสื่อหลากรสที่จะช่วยให้คุณติดตามการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมไทยได้สนุกมากขึ้น
::: เรื่องเล่าชายชุดดำ ปริศนาปี ’53 และชะตากรรมของกิตติศักดิ์ :::
ชายคนนี้คือตัวละคร ‘ชายชุดดำ’ ผู้ก่อความรุนแรงปี 2553 ในเรื่องเล่าของฝ่ายรัฐมา 10 ปี สุดท้ายทุกคดีถูกยกฟ้อง
https://www.the101.world/mystery-of-the-2010-black-shirts/
::: ‘กลับไม่ได้ ไปไม่ถึง’ บทบาทไทยในวิกฤตพม่า :::
สุภลักษณ์ กาญจนขุนดี วิเคราะห์แนวทางและบทบาทของไทยในการแก้ไขวิกฤตการณ์ทางการเมืองในพม่า ในสมัยรัฐบาลเศรษฐา ถอดบทเรียนจากรัฐบาลชุดก่อน เพื่อส่งต่อแนวทางที่ดีกว่าเดิมให้รัฐบาลชุดใหม่
https://www.the101.world/thai-roles-toward-myanmar/
::: The Boys season 4 (2024) เสียดสีการเมืองอเมริกา-ล้อเลียนฝั่งขวา-หัวร่อใส่ภาวะไร้ค่าของคนขาว :::
ซีรีส์ The Boys ซีซั่น 4 (2024) ที่ออกฉายเมื่อกลางปีที่ผ่านมา ถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่า ‘การเมือง’ มากไปนิด… คำถามคือไอ้เจ้าซีรีส์ที่พูดถึงซูเปอร์ฮีโร่จอมโฉดที่หวังอยากเข้าไปมีบทบาทในกองทัพนี่ มันไม่การเมืองตั้งแต่เมื่อไหร่กัน!
https://www.the101.world/the-boys-season-4-2024/
::: จากการปฏิวัติฝรั่งเศส สู่ต้นกำเนิดอาหารระดับมิชลินสตาร์ :::
คอลัมน์ สารกันเบื่อ เอกศาสตร์ สรรพช่าง ชวนย้อนดูประวัติศาสตร์การปฏิวัติฝรั่งเศสที่นำมาสู่การเปลี่ยนแปลงด้านอาหารและวงการธุรกิจร้านอาหาร
https://www.the101.world/french-revolution-michelin-star-food/
::: หนามของความจน :::
คอลัมน์ ‘Phenomenon’ สัปดาห์นี้ โตมร ศุขปรีชา ชวนสะท้อนคิดเรื่องบ้านหลังคาสังกะสีที่ติดแอร์ในภาพยนตร์ ‘วิมานหนาม’ และตั้งคำถามถึง ‘หนาม’ ของความจน ว่าส่งผลอย่างไรต่อการตัดสินใจในชีวิต
https://www.the101.world/thorn-of-poverty/
อ่านผลงานใหม่ทั้งหมดในสัปดาห์ที่ผ่านมาของ The101.world ได้ที่
https://mailchi.mp/f0430b3cc603/101-this-week-12828798

101 In Focus EP.242: ‘ฝาย-เขื่อน’ แก้ได้ทุกปัญหา?ปัญหาน้ำท่วมกลับมาเยือนประเทศไทยอีกครั้งและผลกระทบเริ่มกินวงกว้างรุนแรง...
30/08/2024

101 In Focus EP.242: ‘ฝาย-เขื่อน’ แก้ได้ทุกปัญหา?
ปัญหาน้ำท่วมกลับมาเยือนประเทศไทยอีกครั้งและผลกระทบเริ่มกินวงกว้างรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ
ข้อถกเถียงหนึ่งในแวดวงการเมืองคือเรื่องการจัดสรรงบประมาณสร้างฝาย คำถามใหญ่คือฝายเป็นวิธีการที่ดีที่สุดในการบริหารจัดการน้ำหรือไม่ ปัญหาน้ำท่วมน้ำแล้งแก้ได้ด้วยฝายเท่านั้นหรือ หากเป็นเช่นนั้นทำไมประเทศไทยยังมีปัญหาการบริหารทรัพยากรน้ำอยู่ ในเมื่อเรามีฝายและเขื่อนจำนวนนับไม่ถ้วน
101 In Focus สัปดาห์นี้ชวนหาคำตอบว่าฝายเป็นยาสามัญประจำบ้านแก้ปัญหาน้ำจริงหรือไม่ ทิศทางนโยบายบริหารจัดการน้ำของภาครัฐกำลังหลงทางอย่างไร และอะไรเป็นปัญหาใหญ่ที่ทำให้เรารับมือน้ำท่วมได้ไม่ดีเท่าที่ควร
ดำเนินรายการโดย วจนา วรรลยางกูร บรรณาธิการ The101.world และปาณิส โพธิ์ศรีวังชัย บรรณาธิการอาวุโส The101.world
……………….
ติดตามรายการได้ที่
Spotify
https://open.spotify.com/episode/54xoOUQccSSRPfmy4YUa6l?si=04pLIAccTziOAnpp1TzEUA
Soundcloud
https://soundcloud.com/the101world/101infocus-ep242
Apple Podcast
https://podcasts.apple.com/th/podcast/101-podcast/id1413595477
Website
https://www.the101.world/101-in-focus-ep-242/
……………….
อ่านเพิ่มเติม
- เมื่อฝายไม่ใช่ยาสามัญประจำบ้าน แต่รัฐบาลกำลังปูพรมสร้างฝายทั่วประเทศ
https://www.the101.world/check-dam/
- “ภาคอีสานถูกกระทำจากนโยบาย” สันติภาพ ศิริวัฒนไพบูลย์: ทรัพย์ในดิน สินในน้ำที่คนอีสานไม่เคยเป็นเจ้าของ
https://www.the101.world/santiparp-interview/
- บทเรียนน้ำท่วมอีสานครั้งใหญ่ เกี่ยวอะไรกับการแก้รัฐธรรมนูญ
https://www.the101.world/crisis-of-flood-and-constitution/

30/08/2024

ก่อนร่างงบประมาณ 2568 จะเข้าสภาฯ วาระ 2 — 101 ชวนไปดู 5 ประเด็นน่าสนใจของร่างงบประมาณนี้กัน

‘เล่าเทคโนโลยีให้สนุก นำเสนอนวัตกรรมให้ใกล้ตัว’ คุยความท้าทายใหม่ของข่าวไอที กับ ซู่ชิง-จิตต์สุภา ฉินในวันนี้ที่โลกเทคโน...
30/08/2024

‘เล่าเทคโนโลยีให้สนุก นำเสนอนวัตกรรมให้ใกล้ตัว’ คุยความท้าทายใหม่ของข่าวไอที กับ ซู่ชิง-จิตต์สุภา ฉิน
ในวันนี้ที่โลกเทคโนโลยีก้าวหน้าอย่างมาก สื่อมวลชนที่ทำงานเกี่ยวกับข่าวสารด้านเทคโนโลยีก็ต้องรุดหน้าด้วยเช่นกัน หากกล่าวถึงหนึ่งในสื่อมวลชนที่นำเสนอข่าวเกี่ยวกับ ‘เทคโนโลยี’ มาอย่างยาวนาน เชื่อว่าหลายคนต่างนึกถึงและรู้จักชื่อของ ซู่ชิง-จิตต์สุภา ฉิน เป็นอย่างดี
PRESSCAST EP.47 ชวนฟังประสบการณ์การทำงานด้านสื่อมวลชนจากซู่ชิง-จิตต์สุภา ฉิน ตั้งแต่วันแรกจนถึงปัจจุบัน พร้อมทั้งความท้าทายใหม่ๆ ที่สื่อด้านเทคโนโลยีต้องเผชิญ ตลอดจนมุมมองของเธอต่อคำที่หลายคนเรียกเธอว่า ‘นางฟ้าไอที’ และเรื่องราวอื่นๆ อีกมากมาย
ดำเนินรายการโดย ศุภวิชญ์ ศิริสวัสดิ์วัฒนา
รับฟังได้ที่
Youtube
https://youtu.be/6kpMB0aTOL8?si=8IXoYil9k93D4r5w
Spotify:
https://open.spotify.com/episode/7Hclb1YFNoUemaNb95Mc9b?si=B_BLMIBdQuO4m8t9HTgx7g
Soundcloud:
https://on.soundcloud.com/VtwUkr66qQHjutiY7
Apple Podcast:
https://podcasts.apple.com/th/podcast/%E0%B9%80%E0%B8%A5-%E0%B8%B2%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%84%E0%B9%82%E0%B8%99%E0%B9%82%E0%B8%A5%E0%B8%A2-%E0%B9%83%E0%B8%AB-%E0%B8%AA%E0%B8%99-%E0%B8%81-%E0%B8%99%E0%B8%B3%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B8%99%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%A7-%E0%B8%95%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B9%83%E0%B8%AB-%E0%B9%83%E0%B8%81%E0%B8%A5-%E0%B8%95-%E0%B8%A7-%E0%B8%81-%E0%B8%9A-%E0%B8%8B/id1413595477?i=1000667228337
Website:
https://www.the101.world/presscast-ep-47/

คอลัมน์ 'Phenomenon' สัปดาห์นี้ โตมร ศุขปรีชา สะท้อนคิดเรื่องบ้านหลังคาสังกะสีติดแอร์และการกระทำที่อาจดูไม่สมเหตุสมผลของ...
30/08/2024

คอลัมน์ 'Phenomenon' สัปดาห์นี้ โตมร ศุขปรีชา สะท้อนคิดเรื่องบ้านหลังคาสังกะสีติดแอร์และการกระทำที่อาจดูไม่สมเหตุสมผลของตัวละครในภาพยนตร์ 'วิมานหนาม' (2024) ชวนตั้งคำถามว่าทำไมคนจนจึงมักตัดสินใจทำสิ่งที่ดูแปลกประหลาดในสายตาคนที่รวยกว่า?
อ่านได้ที่: https://www.the101.world/thorn-of-poverty/
“ไม่ใช่ความบังเอิญแน่ๆ ที่บ้านหลังหลักบนเนินสูงในภาพยนตร์เรื่อง ‘วิมานหนาม’ (2024) จะมุงหลังคาสังกะสี - และติดแอร์”
“ความ ‘ไม่สมจริง’ ของบ้านหลังคาสังกะสีติดแอร์ก็คือ - ถ้าเราคิดว่าบ้านหลังคาสังกะสีเป็นบ้านของ ‘คนจน’ (อย่างน้อยก็ไม่ได้ร่ำรวยมากพอจะใช้วัสดุอื่น) มันก็ไม่น่าจะ ‘เข้าคู่’ กับการ ‘ติดแอร์’ ไปได้ … มันจึงไม่ make sense เอาเสียเลย ที่หนังจะแสดงภาพบ้านสังกะสีติดแอร์!”
“ใน ‘วิมานหนาม’ นั้น มีการกระทำหลายอย่างที่ทำให้เราเห็นว่าตัวละครตัดสินใจทำอะไรต่อมิอะไรแปลกๆ จนหลายคนต้องตั้งคำถามว่า การทำอย่างนั้นมัน ‘คุ้ม’ ด้วยหรือ”
“ความ ‘ไม่เป็นเหตุเป็นผล’ ทำนองนี้นี่แหละครับ ทำให้ผมนึกถึงงานวิจัยจำนวนไม่น้อยทีเดียว ที่บอกว่า ‘ความจน’ คือสาเหตุที่ทำให้ ‘คนจน’ ตัดสินใจทำสิ่งที่แลดูแปลกประหลาดในสายตาของคนที่มีฐานะและ ‘ทางเลือก’ ในชีวิตมากกว่า”
“'ความยากจนที่เกิดขึ้นในวัยเด็ก' (child poverty) นั้น ไม่ได้ส่งผลแค่เรื่องความคิดจิตใจของเราในช่วงสั้นๆ เท่านั้น แต่ ‘สำนึกยากจน’ จะส่งผลต่อ ‘รูปแบบการตัดสินใจ’ ของคนเราไปชั่วชีวิต คนที่ ‘อยู่ในความยากจน’ มักตัดสินใจโดยมุ่งเน้นไปที่การรับมือกับสถานการณ์ที่ยากลำบาก ‘ในปัจจุบัน’ หรือเพื่อแก้ปัญหาเฉพาะหน้ามากกว่าจะคิดไปถึงเป้าหมายในอนาคต”
“เพราะสำหรับคนจำนวนมากที่อยู่ในความยากจน ทางเลือกของพวกเขาที่หลายคนเห็นว่า ‘แย่’ สำหรับพวกเขา อาจไม่ได้ ‘แย่’ เสมอไป แต่คือการปรับตัวให้เข้ากับ ‘ข้อจำกัด’ ของชีวิตที่มีทรัพยากรน้อยมาก”
ภาพประกอบ: ณัฐพล อุปฮาด

"จนถึงตอนที่เขียนต้นฉบับอยู่นี้คือช่วงปลายเดือนสิงหาคม 2567 ซึ่งเป็นครึ่งค่อนปีที่เราผ่านการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่...
30/08/2024

"จนถึงตอนที่เขียนต้นฉบับอยู่นี้คือช่วงปลายเดือนสิงหาคม 2567 ซึ่งเป็นครึ่งค่อนปีที่เราผ่านการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) ไปแล้ว 9 แห่ง"
ณัฐกร วิทิตานนท์ วิเคราะห์ผลการเลือกตั้งนายก อบจ. ที่ผ่านมาว่าการชิงลาออกนั้นสามารถสร้างความได้เปรียบจริงหรือไม่ และยังมีอะไรที่น่าจับตา
อ่านได้ที่: https://www.the101.world/pao-election-2024-nuttakorn/
"คนเดิมที่ยังคงลงสมัครอีกครั้งสามารถชนะได้ 4 จาก 6 คน พลาดเพียง 2 คนที่ปทุมธานีกับที่ชัยภูมิ สืบเนื่องจากสองปัจจัยสำคัญนั่นคือ มีการแข่งขันสูง และฐานคะแนนเดิมถูกแบ่ง กรณีปทุมธานีมีผู้สมัคร 4 คน หนึ่งในนั้นเป็นอดีตสมาชิกสภาฯ ซึ่งเป็นกลุ่มเดียวกับอดีตนายกฯ ส่วนชัยภูมินั้นมีผู้สมัครถึง 5 คน สองคนซึ่งมีความเชื่อมโยงกับพรรคเดียวกันจึงต้องลงแข่งกันเอง"
"ดังนั้น การเลือกตั้งที่ผ่านมาจึงมีนายกฯ หน้าใหม่จริงๆ กล่าวคือบุคคลที่ไม่เคยผ่านงานการเมืองท้องถิ่นมาก่อนเลยสองคนเท่านั้น คนหนึ่งเป็นอดีตผู้ว่าราชการจังหวัดเลย อีกคนเป็นภรรยา สส.จังหวัดชัยภูมิ เขต 3 พรรคภูมิใจไทย แม้ว่าจะได้ชื่อว่าคนหน้าใหม่ แต่ยังจำต้องพึ่งพาฐานเสียงของนักการเมืองในพื้นที่อย่างมิต้องสงสัย"
ภาพประกอบ: จิราภรณ์ บุญเย็น

29/08/2024

‘การเมืองไม่มีมิตรแท้และศัตรูถาวร’ ยังคงเป็นประโยคที่ใช้ได้อยู่ทุกยุคทุกสมัย เมื่อความขัดแย้งอันยาวนานระหว่าง ‘เพื่อไทย-ประชาธิปัตย์’ กำลังจะปิดฉากลง ภายหลังพรรคสีฟ้าถูกเทียบเชิญให้เข้าร่วมรัฐบาลแพทองธาร
แต่ก็เกิดคำถามตามมาว่า ‘เพื่อไทย’ มีความจำเป็นมากขนาดไหนถึงต้องเดินเกมแบบนี้ เพราะต่อให้ไม่ดึง ‘ประชาธิปัตย์’ มาเสริมทัพ เสถียรภาพของรัฐบาลก็ยังมั่นคงอยู่ดี จึงน่าจับตาต่อไปว่า สิ่งที่ต้องแลกมาจะได้คุ้มเสียหรือไม่?
พบกับ “ค.การเมือง” รายการวิเคราะห์การเมืองไทยกับ ใบตองแห้ง-อธึกกิต แสวงสุข และสุภลักษณ์ กาญจนขุนดี สองคอการเมือง สื่อมวลชนรุ่นเก๋าที่คร่ำหวอดในสนามข่าวมาหลายทศวรรษ
ชวนคุยโดย สมคิด พุทธศรี บรรณาธิการบริหาร The101.world
ทุกวันพฤหัสบดี เวลาสองทุ่มตรง ทาง 101 ทุกแพลตฟอร์ม
#คอการเมือง #เพื่อไทย #ประชาธิปัตย์

อรอนงค์ ทิพย์พิมล เขียนถึงการเฉลิมฉลองวันชาติอินโดนีเซียที่ 'นูซันตารา' เมืองหลวงแห่งใหม่ ซึ่งนำมาสู่เสียงวิพากษ์วิจารณ์...
29/08/2024

อรอนงค์ ทิพย์พิมล เขียนถึงการเฉลิมฉลองวันชาติอินโดนีเซียที่ 'นูซันตารา' เมืองหลวงแห่งใหม่ ซึ่งนำมาสู่เสียงวิพากษ์วิจารณ์ทั้งความไม่พร้อม งบประมาณบานปลาย และการสร้างเมืองใหม่ที่มีผลกระทบต่อประชาชน
อ่านได้ที่: https://www.the101.world/nusantara-indonesia/
"‘นูซันตาราใหม่ อินโดนีเซียจงเจริญ’ (Nusantara Baru, Indonesia Maju) เป็นคำขวัญสำหรับวันครบรอบ 79 ปีการประกาศเอกราชของอินโดนีเซียในวันที่ 17 สิงหาคม 2024 ความพิเศษของการเฉลิมฉลองในปีนี้คือมีการจัดงานสองแห่ง หนึ่งที่วังเอกราช (Istana Merdeka) จาการ์ตา และสองที่วังการูดา (Istana Garuda) นูซันตารา เมืองหลวงแห่งใหม่ซึ่งตั้งอยู่ที่อำเภอเปอนาจัม ปาเซอร์ อูตารา (Penajam Paser Utara) กาลิมันตันตะวันออก"
"การจัดงานรำลึกวันประกาศเอกราชที่เมืองหลวงแห่งใหม่ถูกวิพากษ์วิจารณ์จากนักวิชาการและนักวิเคราะห์การเมืองชาวอินโดนีเซียว่าเป็นการใช้งบประมาณสิ้นเปลืองเกินไป ขณะที่เมืองหลวงแห่งใหม่ยังไม่พร้อม โครงสร้างพื้นฐานยังไม่พร้อม"
"ความย้อนแย้งของการจัดพิธีที่เมืองหลวงแห่งใหม่ คือประชาชนที่อาศัยรอบเมืองหลวงใหม่กลับไม่ได้รับอนุญาตให้เข้าร่วมพิธีรำลึกวันประกาศเอกราช ประเด็นนี้ถูกประกาศจากเลขาธิการภูมิภาคของจังหวัดกาลิมันตันตะวันออก"
"มีเสียงวิพากษ์วิจารณ์จากองค์กรพัฒนาเอกชนหลายด้านว่าการสร้างเมืองหลวงใหม่ส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตของชาวบ้านในพื้นที่ ไม่ว่าจะที่ทำกินถูกรุกล้ำ การเวนคืนที่ดินและชดเชยล่าช้า สิ่งแวดล้อมที่ถูกทำลายเพื่อปรับพื้นที่รองรับการสร้างเมืองใหม่ ตลอดจนความเสื่อมถอยทางด้านประชาธิปไตยในประเทศ"
ภาพประกอบ: จิราภรณ์ บุญเย็น

ในวันที่ป่วยไข้แต่ก็ปล่อยมือไปจากการงานไม่ได้ เพราะนั่นอาจหมายถึงการสูญเสียรายได้ไปอีกก้อนหนึ่งรู้จัก work–life balance ...
29/08/2024

ในวันที่ป่วยไข้แต่ก็ปล่อยมือไปจากการงานไม่ได้ เพราะนั่นอาจหมายถึงการสูญเสียรายได้ไปอีกก้อนหนึ่ง
รู้จัก work–life balance แน่ ว่าไปก็อาจได้ยินคำนี้มาตั้งแต่เริ่มทำงานทำการด้วยซ้ำ แต่เงื่อนไขในการจะสร้างพื้นที่ชีวิตให้สมดุลย์มันก็ไม่ง่าย ยิ่งกับในยุคสมัยแห่งความไม่แน่นอน เรามองหาเบาะสำรองที่เผื่อล้มแล้วจะคอยรองรับเราไว้ในนามเงินก้อน เงินเก็บที่ทำให้เราไม่บาดเจ็บหนักนักหากพลาดไป
อ่านบทความได้ที่ : https://www.the101.world/popcapture-freelance-2015/
"ใช่ไหม ว่านี่คือชีวิตที่ยึดโยงกับการงาน กับเงินและกับทุนเป็นที่ตั้ง ด้านหนึ่งก็น่าเศร้าที่ไม่อยากไปโรงพยาบาลรัฐที่ถูกกว่าเห็นๆ แต่ใช้เวลารอคอยเนิ่นนาน คิดเลขในหัวแล้ว เวลาที่เอาไปรอหมอน่าจะหมดไปกับต้นฉบับสักชิ้น -ซึ่งหมายถึงเงินก้อนหนึ่งพอดี"
"ภาพจำต่อโรงพยาบาลช่วงวัยเด็ก คือการนั่งอยู่บนม้านั่งร้อนๆ ใต้อาคารขนาดใหญ่ของโรงพยาบาลรัฐประจำจังหวัด ข้างๆ กันเป็นคุณป้าสักคนที่ไม่รู้จักหน้าค่าตา แต่ก็ร่วมชะตากรรมเดียวกันคือรอคอย ไม่รู้ป้าคอยอะไร อาจจะคอยหมอเรียกพบ อาจจะคอยพยาบาลเรียกจ่ายยา หรืออาจแค่มาเฝ้าไข้ใครบางคน"
"บางทีความทรงจำก็เป็นเรื่องตลก หลายครั้งเราจำไม่ได้ด้วยซ้ำว่ามันเกี่ยวกับอะไร ไปโรงพยาบาลทำไม รอคอยใครที่นั่น แต่กลับจำมวลบรรยากาศและความทรมานบางอย่างของการรอคอยได้ กำซาบการต้องตื่นแต่เช้า นั่งรถจากบ้านที่อยู่ไกลลิบเพื่อเข้าตัวเมือง ผลัดกันยืนรอคอยต่อแถวที่ยาวเหยียดเหมือนไม่รู้จบ สบตาแววตาเหนื่อยๆ ของคนแปลกหน้าที่ต้องร่วมชะตากรรมเดียวกัน"
"นี่ไม่ใช่เรื่องความโลภมากหรือรักงานจนตะบี้ตะบันทำไม่ลืมหูลืมตาอะไร แต่บ่อยครั้ง จากหัวจิตหัวใจคนอยู่ในวัยสร้างตัวที่สายงานก็ไม่ได้มีรายได้มากมายเป็นกอบเป็นกำ งานไหนที่พอทำแล้วได้เงินหรือต่อยอดมันก็อยากคว้าไว้ก่อน ร่างกายจะผุจะพังยังไม่ใช่เรื่องที่ต้องจัดวางไว้เป็นลำดับความสำคัญแรก เพราะสิ่งที่น่ากลัวกว่านั้นคือสภาพอนาคตที่ไม่มีเงินประคองชีวิต"

เรื่อง: พิมพ์ชนก พุกสุข
ภาพประกอบ: ณัฐพล อุปฮาด

101 One-on-One Ep.339 – ถอดมายาคติน้ำท่วมใหญ่ มองไปให้ไกลกว่าปี 54 กับ ภาณุ ตรัยเวชสถานการณ์น้ำท่วมหนักในหลายพื้นที่กำลั...
29/08/2024

101 One-on-One Ep.339 – ถอดมายาคติน้ำท่วมใหญ่ มองไปให้ไกลกว่าปี 54 กับ ภาณุ ตรัยเวช
สถานการณ์น้ำท่วมหนักในหลายพื้นที่กำลังสร้างความหวาดวิตกว่าจะเกิดวิกฤติซ้ำรอยปี 54 แต่อย่างไรก็ดี บทเรียนจากมหาอุทกภัยปี 54 อาจไม่สามารถใช้เทียบเป็นมาตรฐานปรากฏการณ์น้ำท่วมใหญ่ได้เสมอไป ความเข้าใจผิดที่ถูกผลิตซ้ำ ไม่อาจนำไปสู่ทางแก้ปัญหา รัฐต้องใช้โมเดลบริหารจัดการน้ำอย่างไรจึงจะไม่ผิดฝาผิดตัว?
101 ชวน ภาณุ ตรัยเวช อาจารย์ประจำภาควิชาวิทยาศาสตร์พื้นพิภพ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มาพูดคุยถึงแนวทางในการรับมือวิกฤติน้ำท่วมที่เกิดขึ้น
ดำเนินรายการโดย ปาณิส โพธิ์ศรีวังชัย
จันทร์ที่ 2 กันยายน 2567 เวลา 19.00 น. ทุกแพลตฟอร์มของ The101.world

"ปัญหาความรุนแรงในจังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทยห่างหายไปจากความสนใจสาธารณะในมาเลเซียมานานพอสมควร...ความเห็นที่เป็นชิ้นเป็นอั...
29/08/2024

"ปัญหาความรุนแรงในจังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทยห่างหายไปจากความสนใจสาธารณะในมาเลเซียมานานพอสมควร...ความเห็นที่เป็นชิ้นเป็นอันจากฝั่งมาเลเซียจึงมักเป็นความเห็นของรัฐที่ไม่เคยอธิบายอะไรมาก นานๆ ทีถึงจะมีความเห็นอิสระมาให้ฟังกัน และความเห็นครั้งนี้มาจาก รามาซามี ปาลานีซามี (Prof. Dr. Ramasamy Palanisamy) อดีตนักวิชาการรัฐศาสตร์ผู้มีประสบการณ์เกี่ยวข้องกับกระบวนการสันติภาพในหลายประเทศ"
"เขาเขียนจดหมายวิพากษ์วิจารณ์จุดยืนของรัฐบาลมาเลเซียในกระบวนการเจรจาสันติภาพจังหวัดชายแดนภาคใต้ถึงหนังสือพิมพ์ออนไลน์ มาเลเซียกีนี (Malaysiakini.com) เมื่อวันที่ 4 สิงหาคมที่ผ่านมา ...ในจดหมายนี้ รามาซามีเสนอให้เปลี่ยนตัวคนกลางในการเจรจาสันติภาพ (peace process) ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทยเสียใหม่ จากรัฐบาลมาเลเซียไปเป็นผู้มีความเป็นกลางจากประเทศที่เป็นกลาง และเสนอให้เปลี่ยนสถานะการทำงานของคนกลางในการเจรจาจาก ‘ผู้อำนวยความสะดวก’ (facilitator) เป็นคนกลาง/ผู้ไกล่เกลี่ย (mediator) ให้ชัดเจน"
"รามาซามีโต้แย้งว่า การที่ชาวมลายูมุสลิมในจังหวัดชายแดนภาคใต้และชาวมลายูมุสลิมในมาเลเซียมีสายสัมพันธ์ทางศาสนาและชาติพันธุ์กัน ไม่ได้หมายความว่ารัฐบาลมาเลเซียจะมีความเหมาะสมในการเป็นคนกลางในกระบวนการสันติภาพเสมอไป...เขาบอกด้วยว่ากระบวนการสันติภาพในกรณีจังหวัดชายแดนภาคใต้จำเป็นต้องมีคนกลางที่มีพลังและมีความเป็นกลางมากกว่านี้ และการคิดใหม่ทำใหม่เรื่องกระบวนการสันติภาพของจังหวัดชายแดนภาคใต้ก็เป็นความจำเป็นเร่งด่วน"
ชวนอ่านบทวิพากษ์ถึงบทบาทของมาเลเซียในการเจรจาความขัดแย้งในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนใต้ จากบทความโดย ปรางค์ทิพย์ ดาวเรือง ที่
https://www.the101.world/malaysia-roles-in-thailand-deep.../
ภาพประกอบ: Pejabat Perdana Menteri Malaysia

"ตำรวจพบร่องรอยของนักกิจกรรมต่อต้านผู้ลี้ภัย (anti-immigration activists) นักการเมืองขวาจัดบางคน และมหาเศรษฐีเจ้าของแพลต...
29/08/2024

"ตำรวจพบร่องรอยของนักกิจกรรมต่อต้านผู้ลี้ภัย (anti-immigration activists) นักการเมืองขวาจัดบางคน และมหาเศรษฐีเจ้าของแพลตฟอร์มสื่อสังคม X (twitter) ต้องสงสัยว่ามีส่วนพัวพันการปั่นข่าวปลอมเพื่อจุดกระแสการก่อความไม่สงบ"
สมชัย สุวรรณบรรณ เขียนถึงเหตุการณ์ 'จลาจลในอังกฤษ' ที่เป็นผลมาจากการปั่นข่าวปลอมบนโลกออนไลน์ เพื่อหวังจุดกระแสต่อต้านผู้ลี้ภัย
อ่านได้ที่: https://www.the101.world/riot-in-uk-somchai/
"อดีตนักกิจกรรมการเมืองชื่อดังคนหนึ่งซึ่งต้องคดีอาญา และหลบหนีไปเกาะไซปรัสโดยใช้เป็นฐานปั่นกระแสออนไลน์จากต่างประเทศ เพื่อให้สาวกลุกขึ้นมาใช้ความรุนแรงทำร้ายคนเข้าเมืองในเขตชุมชนแต่ละแห่งของตน เฉพาะอย่างยิ่งย่านชาวมุสลิมและหอพักของกลุ่มคนที่หลบหนีมาขอลี้ภัยในสหราชอาณาจักร"
"ในช่วงจังหวะเดียวกันนั้นก็ปรากฎว่า ‘อีลอน มัสก์’ (Elon Musk) ซึ่งเป็นเจ้าของกิจการสื่อสังคม X (twitter) ช่วยปั่นกระแสข่าวปลอมอันสืบเนื่องมาจากเหตุการณ์ที่เซาท์พอร์ทว่า ‘กำลังจะเกิดสงครามกลางเมืองในสหราชอาณาจักร’ และแชร์ข่าวปลอมที่ว่านายกรัฐมนตรีเคียร์ สตาร์เมอร์ (Keir Starmer) กำลังจะเปิดค่ายกักกันที่เกาะฟอล์กแลนด์ ในหมู่เกาะแอตแลนติกใต้ และเนรเทศผู้ก่อความไม่สงบไปกักตัวที่นั่น"
ภาพประกอบ: จิราภรณ์ บุญเย็น

แบรนด์กาแฟที่เก่าแก่ของฝรั่งเศสคืออะไร? ทำไมไม่ได้เสิร์ฟในโอลิมปิกปารีส? เครื่องชงแบบ french press เกี่ยวกับฝรั่งเศสไหม?...
28/08/2024

แบรนด์กาแฟที่เก่าแก่ของฝรั่งเศสคืออะไร? ทำไมไม่ได้เสิร์ฟในโอลิมปิกปารีส? เครื่องชงแบบ french press เกี่ยวกับฝรั่งเศสไหม? เอกศาสตร์ สรรพช่าง มีคำตอบในคอลัมน์ ถุงนี้ที่เปิดชง
อ่านได้ที่ : https://www.the101.world/french-coffee-olympics-2024/
"แบรนด์กาแฟเก่าแก่ของฝรั่งเศสและเชื่อว่าคุณๆ น่าจะเคยได้ยินชื่อมาบ้าง คือ Café Richard ... ว่ากันว่าเขามีเทคนิคการคั่วกาแฟแบบดั้งเดิมของฝรั่งเศสเป็นจุดขาย จริงๆ มีแบรนด์กาแฟฝรั่งเศสที่โดดเด่นอื่นๆ ด้วย เช่น Lobodis, Carte Noire และ Malongo แต่ Café Richard ยังคงยืนหนึ่งจนถึงปัจจุบัน"
"Café Richard ก่อตั้งโดย ปิแอร์ ริชาร์ด (Pierre Richard) ในปี 1950 ต่อมาได้ตั้งเป็นบริษัท Groupe Richard ให้บริการเรื่องกาแฟ ชา อุปกรณ์การชง และจัดหาเครื่องดื่มต่างๆ เช่น ไวน์และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์อื่นๆ ช่วงหลายทศวรรษที่ผ่านมา Café Richard กลายเป็นซัพพลายเออร์ชั้นนําให้ร้านกาแฟ ร้านอาหารและโรงแรมทั่วฝรั่งเศส"
"ปัจจุบันครอบครัวริชาร์ดยังคงดูแลธุรกิจนี้อยู่ แต่น่าเสียดายที่แม้จะเป็นหนึ่งกาแฟที่คนฝรั่งเศสภูมิใจ Café Richard กลับไม่มีโอกาสได้เสิร์ฟกาแฟในฐานะความภูมิใจของชาติแก่นักกีฬาโอลิมปิกคราวนี้"
ภาพประกอบ ณัฐพล อุปฮาด

“เมื่อใดที่การยึดมั่นถือมั่นในอุดมการณ์ชัดเจนมากขึ้น ผู้คนยิ่งมีความคิดที่เป็นเหตุเป็นผลน้อยลง และเมื่อใดที่อุดมการณ์นั้...
28/08/2024

“เมื่อใดที่การยึดมั่นถือมั่นในอุดมการณ์ชัดเจนมากขึ้น ผู้คนยิ่งมีความคิดที่เป็นเหตุเป็นผลน้อยลง และเมื่อใดที่อุดมการณ์นั้นขยับเข้าใกล้เส้นของความสุดโต่ง ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายซ้ายหรือขวา ความเป็นเหตุเป็นผลที่น้อยลงจะทำให้อคติต่อฝ่ายตรงข้ามมากขึ้น อยู่ในจุดที่มีความเป็นไปได้ว่าทั้งสองฝ่ายจะใช้ความรุนแรงต่อต้านกัน”
ท่ามกลางสังคมที่คนอเมริกัน ‘แบ่งเขา-แบ่งเรา’ อย่างชัดเจน จนอาจเรียกได้ว่าสังคมอเมริกันเผชิญกับความแตกแยกมากที่สุดยุคหนึ่ง ปัจจัยชี้ชะตา ‘การเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ’ ในปี 2024 นี้ ย่อมต่างไปจากครั้งก่อนๆ ไม่นับว่านอกแผ่นดินอเมริกา สงครามและความขัดแย้งในหลายภูมิภาคก็กำลังขยายวงกว้างและยังมองไม่เห็นจุดสิ้นสุด ซึ่งมาพร้อมความคาดหวังว่ามหาอำนาจอย่างสหรัฐฯ จะมีบทบาทในการยุติความขัดแย้งเหล่านี้
ไม่ว่าผู้นำสหรัฐฯ คนต่อไปจะเป็น ‘โดนัลด์ ทรัมป์’ ตัวแทนพรรครีพับลิกัน หรือ ‘กมลา แฮร์ริส’ ตัวแทนพรรคเดโมแครต ความท้าทายเหล่านี้จะเป็นโจทย์ใหญ่ที่รอผู้นำคนใหม่แสดงฝีมือในการบริหารจัดการ
ในช่วงหาเสียงโค้งสุดท้ายของศึกเลือกตั้งสหรัฐฯ 101 ชวน ปองขวัญ สวัสดิภักดิ์ อาจารย์สาขาการระหว่างประเทศ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ วิเคราะห์การเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ 2024 อ่านพลวัตสังคมและการเมืองภายในสหรัฐฯ รวมถึงนัยต่อการเมืองโลกและผลกระทบต่อไทยว่ามีประเด็นใดที่น่าจับตามองก่อนการเลือกตั้งใหญ่มาถึง
อ่านได้ที่: https://www.the101.world/pongkwan-sawasdipakdi-interview/
“ตอนนี้สังคมอเมริกาแบ่งเป็นสองขั้วไปแล้ว ไม่ว่าสื่อจะวิเคราะห์ว่าทรัมป์เป็นภัยคุกคามต่อประชาธิปไตย หรือบอกว่าเหตุการณ์วันที่ 6 มกราฯ ได้ทำลายพัฒนาการประชาธิปไตยของสหรัฐฯ ไปมากแค่ไหน แต่ถึงอย่างไรคนที่สนับสนุนทรัมป์ก็ไม่เสพสื่อเหล่านี้อยู่แล้ว เพราะเขามองว่าสื่อที่ชูวาทกรรมแบบนี้เป็นสื่อฝ่ายซ้าย หรือต่อให้เขาเข้ามาอ่านหรือดู ก็จะมองว่าสื่อพวกนี้มีเป้าหมายบางประการที่ต้องการโจมตีทรัมป์”
“แม้ใครหลายคนจะเข้าใจว่าฝ่ายซ้ายเป็นฝ่ายที่สนับสนุนสิทธิเสรีภาพและความเท่าเทียมกัน แต่ซ้ายในอเมริกามักถูกวิจารณ์จากฝ่ายขวาว่าทำให้เสรีภาพในการแสดงออกน้อยลงจากความพยายามหล่อหลอมให้สังคมเชื่อในคุณค่าใดคุณค่าหนึ่งที่ถือว่าหัวก้าวหน้า (progressive) ซึ่งหลายครั้งเป็นไปในแนวทางค่อนข้างสุดโต่ง หรือที่สังคมเรียกว่า woke culture และสิ่งนี้มาพร้อมกับ cancel culture คือการแบนคนที่ไม่สนับสนุนคุณค่าแบบที่ตัวเองเชื่อ ประเด็นนี้ถูกวิจารณ์จากฝ่ายขวามาตลอดว่าเอาเข้าจริงฝ่ายซ้ายก็ไม่ได้สนับสนุนเสรีภาพในการพูดหรอก”
“ในช่วงที่ยังไม่ได้มีการเปลี่ยนตัวตัวแทนพรรคเดโมแครต เราจะเห็นความกลัวเป็นตัวขับเคลื่อนอารมณ์ของชาวอเมริกันจำนวนมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้สนับสนุนเดโมแครต ความกลัวจะนำไปสู่การตัดสินใจที่ไม่ได้ดำรงอยู่บนหลักของเหตุผล แต่นำไปสู่การตัดสินใจโดยใช้อารมณ์ เพื่อป้องกันไม่ให้สิ่งที่เรากลัวเกิดขึ้น ถ้าไปดูแคมเปญของทรัมป์ จะเห็นว่าเต็มไปด้วยความโกรธ ซึ่งผลลัพธ์คือการใช้วาทกรรมที่เต็มไปด้วยการป้ายสีฝั่งตรงข้ามมากขึ้น และใช้ความกลัวและโกรธนี้ดึงดูดให้คนเลือกตัวเองเพื่อป้องกันไม่ให้สิ่งที่ตัวเองเกลียดหรือกลัวเกิดขึ้นจริง”
“แต่ภายหลังจากแคมเปญของแฮร์ริสตั้งตัวได้ โทนอารมณ์ของสังคมดูจะเปลี่ยนไปในทางที่ดีมากขึ้น นั่นคือเริ่มมีอารมณ์ตื่นเต้นเข้ามาเกี่ยวข้องมากขึ้น ในกรณีนี้ ความตื่นเต้นอาจจะทำให้คนตัดสินใจมาลงคะแนนเลือกตั้งมากขึ้น จากเดิมที่อาจจะเลือกไม่มาลงคะแนนด้วยซ้ำ และถ้าดูจากโทนแคมเปญของแฮร์ริสในช่วงที่ผ่านมาและชัดเจนขึ้นจากการประชุมใหญ่เดโมแครต คือพยายามสร้างความหวังให้กับสังคมอเมริกันมากขึ้น และโจมตีทรัมป์น้อยลงกว่าที่ผ่านมา แม้ว่าทรัมป์ก็ยังเป็นประเด็นที่ถูกใช้เปรียบเทียบกับผู้สมัครของเดโมแครตตลอดเวลาก็ตาม”
“ในการเลือกตั้งครั้งนี้ ดูเหมือนว่า ‘vibe’ จะกลายเป็นสิ่งสำคัญที่คนใช้ตัดสินว่าจะชอบหรือไม่ชอบผู้สมัครคนไหน จะเห็นได้ว่าทันทีที่แฮร์ริสเป็นผู้ลงชิงตำแหน่งประธานาธิบดีของเดโมแครต และเปิดตัววอลซ์เป็นผู้ลงชิงตำแหน่งรองประธานาธิบดี โพลก็ชี้ให้เห็นแล้วว่าคะแนนนิยมของแฮร์ริสเพิ่มขึ้น และแซงทรัมป์ไปแล้วในบางรัฐ ทั้งๆ ที่ยังไม่ได้ประกาศนโยบายเลย อาจจะชี้ให้เห็นว่าคนที่เป็น swing voter หรือคนที่อยู่ตรงกลางที่ยังตัดสินใจไม่เลือกใคร อาจจะไม่ได้ถูกจูงใจโดยนโยบายทั้งหมด แต่อาจเป็นเรื่องของบุคลิกหรือ ‘vibe’ ของตัวบุคคลด้วย”
“สหรัฐฯ เป็นประเทศที่ตั้งมั่นอยู่บนค่านิยมประชาธิปไตยและสิทธิมนุษยชน เนื่องจากถือว่าเป็นอุดมการณ์ที่ให้เสรีภาพและปกป้องประชาชนจากการใช้อำนาจเกินพอดีของผู้มีอำนาจได้ดีที่สุด ดังนั้นจึงไม่แปลกใจที่เราเห็นทูตและเจ้าหน้าที่ระดับสูงของสหรัฐฯ แสดงความกังวลในกรณีศาลรัฐธรรมนูญตัดสินยุบพรรคก้าวไกล เนื่องจากชี้ให้เห็นว่าการถ่วงดุลอำนาจระหว่างตุลาการ นิติบัญญัติ และบริหารไม่เกิดขึ้นจริง ซึ่งกระทบต่อสถาบันประชาธิปไตย แต่ถ้าถามว่าจะส่งผลต่อนโยบายที่สหรัฐฯ มีต่อไทยอย่างเป็นรูปธรรมหรือไม่ เราคิดว่าน่าจะมีน้อย ยกเว้นกรณีที่ไทยมีรัฐประหาร เนื่องจากกฎหมายของสหรัฐฯ​ กำหนดไว้ชัดเจนว่าจะตัดการสนับสนุนทางการทหารกับประเทศที่มีการรัฐประหาร แต่หากสถานการณ์ภายในประเทศยังไม่มีความรุนแรงถึงขั้นมีรัฐประหาร สหรัฐฯ ก็อาจจะไม่ได้มีมาตรการในการลงโทษที่เป็นรูปธรรมขนาดนั้น”
เรื่อง: เพ็ญพิชชา มุ่งงาม
ภาพถ่าย: นิติพงษ์ การดี

ที่อยู่

Bangkok
10400

เบอร์โทรศัพท์

+6622970821

เว็บไซต์

แจ้งเตือน

รับทราบข่าวสารและโปรโมชั่นของ The101.worldผ่านทางอีเมล์ของคุณ เราจะเก็บข้อมูลของคุณเป็นความลับ คุณสามารถกดยกเลิกการติดตามได้ตลอดเวลา

ติดต่อ ธุรกิจของเรา

ส่งข้อความของคุณถึง The101.world:

วิดีโอทั้งหมด

แชร์


เว็บไซต์ข่าวและสื่อ อื่นๆใน Bangkok

แสดงผลทั้งหมด