วิกฤตหนี้ครัวเรือน กับทางออกฉุกเฉินของผู้ประสบภัยทางการเงิน - เดชรัต สุขกำเนิด
สถานการณ์ #หนี้ครัวเรือน ของคนไทยอยู่ในภาวะที่น่าเป็นห่วง เมื่อสัดส่วนหนี้ครัวเรือนแตะที่ระดับ 80 เปอร์เซ็นต์ของ GDP ตั้งแต่ช่วงเหตุการณ์รัฐประหาร 2557 เป็นต้นมา จนถึงช่วงการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 หนี้ครัวเรือนพุ่งสูงขึ้นถึง 90 เปอร์เซ็นต์ของ GDP สะท้อนถึงความไม่สมดุลของรายได้และหนี้สินในภาคครัวเรือน ซึ่งกระทบต่อการเติบโตของเศรษฐกิจในระยะยาว
เดชรัต สุขกำเนิด ผู้อำนวยการศูนย์นโยบายเพื่ออนาคต (Think Forward Center) ให้ความเห็นต่อมาตรการแก้ปัญหาหนี้ครัวเรือนของรัฐบาลและธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ว่าเป็นสิ่งที่ต้องเร่งดำเนินการโดยด่วน ที่สำคัญต้องหาทางออกร่วมกันทั้งฝ่ายลูกหนี้และเจ้าหนี้ ตามหลักการให้สินเชื่ออย่างรับผิดชอบและเป็นธรรม (Responsible Lending)
work - life บาลานซ์แบบใดในสังคมกระหายความสำเร็จ - นัยนา สุขพึ่ง
“คนรุ่นเราต้องตะเกียกตะกายไปหาสิ่งที่สังคมหรือค่านิยมเขาบอกเรามาว่านั่นคือ ‘ความสำเร็จ’ โดยที่ละเลยสิ่งที่เป็นความสุข ความพอใจ สิ่งที่เรารู้สึกว่าเราชื่นอกชื่นใจหาไม่เจอด้วยซ้ำไป อายุขนาดนี้แล้วเราชื่นอกชื่นใจเรื่องอะไร ลืมไปแล้ว…”
ส่วนหนึ่งจากการพูดคุยกับ นัยนา สุภาพึ่ง ภายใต้กรอบเรื่อง glass ceiling ที่บางทีอาจจะไม่ใช่แค่เรื่องเพศ แต่กลับคือทุกเรื่องที่ครอบงำเราอยู่ อย่างเช่น การที่เห็นว่าเราจะต้องประสบความสำเร็จ แต่เรื่องที่เราจะต้องประสบความสำเร็จทำให้เราลดทอนเวลาที่เราควรจะเยียวยาหรือดูแลตัวเองไป
บางคนต้องอดทนมากที่จะเสียสละเวลาแห่งความสุขของตัวเอง ทั้งหมดเพื่อ ‘ความสำเร็จ’ ตามที่สังคม ครอบครัว หรือคนส่วนใหญ่บอกว่านี่คือความสำเร็จ แล้วเราเองก็บอกว่านี่คือความสุข
ท่าทีกองทัพไทย อยู่ฝั่งไหนในความขัดแย้งเมียนมา
วิกฤตการณ์สงครามกลางเมียนมา ล้วนส่งผลกระทบต่อประเทศไทยในหลายด้านอย่างปฎิเสธไม่ได้ การดำเนินนโยบายการต่างประเทศที่เป็นเนื้อเดียวกับ 'นโยบายด้านความมั่นคง' ทำให้ 'กองทัพไทย' เป็นคีย์สำคัญที่จะเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของการแก้ไขวิกฤตการณ์ในครั้งนี้
ผศ.ดร.ลลิตา หาญวงษ์ อาจารย์ผู้เชี่ยวด้านประวัติศาสตร์เมียนมาแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ชี้ให้เห็นว่า ความสัมพันธ์ระหว่างกองทัพไทยและกองทัพเมียนมาอยู่ในเกณฑ์ที่ดีมาก มีกรอบความร่วมมือตามแนวชายแดนเมียนมามากมาย ถึงกับเรียกได้ว่ากองทัพไทย 'รู้เรื่องเมียนมา' ดีที่สุด
หากรัฐบาลพร้อมด้วยกองทัพไทยและกองทัพบกที่ดูแลพื้นที่ตามแนวชายแดน มีความกระตือรือร้นมากขึ้น บูรณาการหน่วยงานความมั่นคง ก็อาจได้เห็นอะไรใหม่ๆ ในการเข้าไปแก้ปัญหาวิกฤตนี้ตามแนวชายแดน
หลังจากเป็นประเด็นทวงถามกันมาหลายวัน ล่าสุดวันที่ 24 กันยายน 2567 ราชกิจจานุเบกษาเผยแพร่ พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ 24) พ.ศ. 2567 หรือกฎหมาย #สมรสเท่าเทียม เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ซึ่งจะมีผลบังคับใช้ในอีก 120 วันหลังประกาศ
‘วาดดาว’ ชุมาพร แต่งเกลี้ยง (วาดดาว bangkok pride) นักกิจกรรมผู้มีส่วนสำคัญในการผลักดันร่างกฎหมายดังกล่าว เชิญชวนคู่รัก LGBTQIAN+ จดทะเบียนสมรสพร้อมกันในวันที่กฎหมายมีผลบังคับใช้ เพื่อจารึกหน้าประวัติศาสตร์ร่วมกัน
ตลาดซีรีส์ Y: เกาหลีรุกหนัก แล้วรัฐไทยจะทำอะไร
หากประเทศเกาหลีซึ่งเป็นที่รู้จักกันดีว่าเรื่องเพศยังไม่เปิดกว้างเท่าไรนัก อยากเข้ามาตีตลาดทำซีรีส์ประเภท boy’s love ธัญวัจน์ กมลวงศ์วัฒน์ สส. พรรคประชาชน มองว่านี่คือการเข้ามาแชร์กำไรในอุตสาหกรรมที่มีเม็ดเงินมหาศาล ซึ่งเกาหลีมีทรัพยากรและศักยภาพเพียงพอที่จะเข้ามาร่วมวงทำซีรีส์วายจริงจัง สิ่งสำคัญคือซีรีส์ไทยและรัฐไทยจะทำอะไรต่อไป
“soft power ติดปากแค่คนไทย แต่ไม่ได้ติดใจต่างประเทศ”
ธัญวัจน์ กมลวงศ์วัฒน์ สส. พรรคประชาชน ชวนคุยถึงอุตสาหกรรมซีรีส์วายที่รัฐอยากผลักดันให้เป็นอีกหนึ่งซอฟต์พาวเวอร์ของประเทศ พร้อมกับเน้นย้ำว่าที่ผ่านมาอุตสาหกรรมนี้ดิ้นรนจนประสบความสำเร็จด้วยตัวเอง ซึ่งจนกระทั่งขณะนี้รัฐยังไม่มีแผนอย่างชัดเจนว่าจะผลักดันอย่างไร
ซ้ายไม่จริง/ขวาไม่แท้ ขวาจัดมาแน่แล้วจะแก้กันอย่างไร?
ซ้ายไม่จริง/ขวาไม่แท้
ขวาจัดมาแน่แล้วจะแก้กันอย่างไร?
การเมืองฝรั่งเศสไม่ได้ซ้ายหัน เพราะพรรคฝ่ายซ้ายชนะการเลือกตั้ง แต่คลื่น 'ขวาจัด' มันซึมลึกในการเมืองฝรั่งเศส รอแค่วันชนะการเลือกตั้งแบบถล่มทลายเท่านั้น
ปิยะบุตร แสงกนกกุล เลขาธิการคณะก้าวหน้า สะท้อนเบื้องลึกการเมืองฝรั่งเศส ในวันที่ การเมืองสายกลาง และการเมืองแบบซ้าย ไม่ตอบโจทย์ ทำเกิดช่องว่างที่ 'ขวาจัด' กวาดพื้นที่เก็บคะแนนเสียงได้เพิ่มมากขึ้น สุดท้ายจะทำอย่างไร เมื่อกระแสขวาจัดเติบโตเช่นนี้ พรรคการเมืองต่างๆ เริ่มถอนตัวจากอุดมการณ์รากฐาน ไปสู่พรรคการเมืองที่ต้องชนะการเลือกตั้ง เพื่อให้ได้เป็นรัฐบาล
"เห้ย! ประเทศนี้เป็นอะไรวะ ตกลงไอ้ 1 เปอร์เซ็นต์ นี่มันจะอยู่กันไปอย่างนี้เรื่อยๆ เหรอ"
"พรรคอนาคตใหม่จนถึงก้าวไกล คือปฏิกิริยาของสภาพสังคมไทยตั้งแต่รัฐประหาร 49"
ปิยบุตร แสงกนกกุล เลขาธิการคณะก้าวหน้า มองวงจรอุบาทว์การเมืองไทยที่บีบบังคับให้ต้องเล่นเกมแบบเดิมๆ ทำให้พรรคอุดมการณ์ไม่สามารถเติบโตได้ แม้จะได้คะแนนเสียงอันดับ 1 จากการเลือกตั้ง แต่กลับไม่ได้รับใบอนุญาตจากชนชั้นนำที่มีเพียง 1 เปอร์เซ็นต์
#ยุบพรรคก้าวไกล #ศาลรัฐธรรมนูญ
กระดูกแข็งแค่ไหน จะก้าวใหม่ หรืออนาคตไกล เวลาเป็นเครื่องพิสูจน์
บทเรียนจากการยุบพรรคอนาคตใหม่ จนมาถึงการตัดสินคดียุบพรรคก้าวไกล สำหรับปิยบุตร แสงกนกกุล มองว่า หากการยุบพรรคเกิดขึ้นจริง นี่จะเป็นบทพิสูจน์ของการก่อร่างสร้างพรรคใหม่ภายใต้อุดมการณ์ ยุทธศาสตร์ และฐานมวลชน ซึ่งสะท้อนถึงความแข็งแกร่งของกระดูกสันหลังพรรค
#ก้าวไกล
ปิยบุตร แสงกนกกุล "พรรคการเมืองคืออะไร"
พรรคการเมืองในความหมายของปิยบุตร แสงกนกกุล คือ หนึ่ง-พรรคอุดมการณ์ สอง-พรรคยุทธศาสตร์ สาม-พรรคมวลชน
3 องค์ประกอบนี้ คือกระดูกสันหลังที่ทำให้พรรคอนาคตใหม่และพรรคก้าวไกลดำรงอยู่ต่อไป ไม่ว่าจะถูกยุบกี่ครั้งกี่หนก็ตาม
#ก้าวไกล
7 สิงหา ชี้ชะตาก้าวไกล ยุบหรือไม่ก็ 'ไปกันต่อ'
การตัดสินคดียุบพรรคก้าวไกล มองได้ 2 แง่มุม คือ มุมกฎหมายและมุมการเมือง ซึ่งหากเป็นกรณีหลังย่อมคาดการณ์ได้ไม่ยากว่า พรรคก้าวไกลมีโอกาสถูกยุบพรรคสูง
แต่ท้ายที่สุด ในความเห็นของ ปิยบุตร แสงกนกกุล เลขาธิการคณะก้าวหน้า เชื่อมั่นว่า ไม่ว่าพรรคจะถูกยุบอีกสักกี่ครั้ง สายธารความคิดและอุดมการณ์พรรคจะยังคงยืนเด่นโดยท้าทาย
#ก้าวไกล
ถ้า #ก้าวไกล ถูกยุบ นี่จะเป็นบทพิสูจน์ของการสร้างพรรค