MIMS Doctor Thailand

MIMS Doctor Thailand - Drug information
- Continuing medical education
- Connecting healthcare communities Log on to www.mims.com today!
(3)

Asia's one-stop drug resource, delivering officially approved drug information to medical professionals in Asia Pacific. Disclaimer: The information posted on this webpage is intended for medical professionals. Any information provided is not intended to serve as a substitute for clinical judgement and should not be relied upon solely for final treatment decisions. You are advised that approved dr

ug information differs from country to country and the information may not be applicable outside of the country or region it is indicated for. If you are not a medical professional, you should note that this website does not provide professional medical advice and is not intended to replace personal consultation with a qualified physician.

[CPE 2 หน่วยกิต] บทความวิชาการเพื่อการศึกษาต่อเนื่อง เรื่อง แนวทางการดูแลรักษาปลายประสาทอักเสบจากโรคเบาหวานสำหรับเภสัชกร...
02/10/2024

[CPE 2 หน่วยกิต] บทความวิชาการเพื่อการศึกษาต่อเนื่อง เรื่อง แนวทางการดูแลรักษาปลายประสาทอักเสบจากโรคเบาหวานสำหรับเภสัชกร

รศ. ดร. ภก.เนติ สุขสมบูรณ์

เภสัชกรมีบทบาทสำคัญในการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคปลายประสาทอักเสบจากเบาหวาน (diabetic peripheral neuropathy; DPN) มีการจัดทำแนวทางการจัดการโรค DPN จากฉันทามติของผู้เชี่ยวชาญจากสหสาขาวิชาชีพ ประกอบด้วย 5 ประเด็น ได้แก่ การกำหนดเป้าหมายการรักษา การประเมินอาการเบื้องต้น การวางแผนการรักษา บทบาทการใช้วิตามินบี 1, 6 และ 12 ชนิดรวมมีผลส่งเสริมร่วมกันในการรักษา (synergistic effect) และแนวทางให้คำแนะนำวิธีการรักษาทั้งการใช้ยาและไม่ใช้ยา เพื่อให้เภสัชกรนำไปปฏิบัติได้อย่างมีประสิทธิภาพ
📝💁‍♀️ อ่านบทความและทำข้อสอบเก็บหน่วยกิตได้ที่ https://qr.mimsit.net/pg-cpe-article-neurobion-dpn/

#โรคปลายประสาทอักเสบจากโรคเบาหวาน #โรคเบาหวาน

MIMS 🔴 Empowering Healthcare Communities to Improve Patient Outcome

ผู้วิจัยได้พัฒนาอัลกอริทึมปัญญาประดิษฐ์ (artificial intelligence; AI) ให้สามารถสร้างคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (ECG) ชนิด 3 ขั้ว (2...
01/10/2024

ผู้วิจัยได้พัฒนาอัลกอริทึมปัญญาประดิษฐ์ (artificial intelligence; AI) ให้สามารถสร้างคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (ECG) ชนิด 3 ขั้ว (2 limb + 1 precordial; I-II-V3) จากรูปแบบเดิม 12 ขั้ว ซึ่งทำให้การตรวจประเมินหัวใจทำได้สะดวกและรวดเร็วมากยิ่งขึ้น

จากการประเมินทางคลินิกพบว่า ECG 3 ขั้ว สามารถตรวจพบลักษณะที่สอดคล้องกับภาวะหัวใจขาดเลือด (myocardial infarction; MI) ได้ไม่ต่างจาก ECG 12 ขั้ว ขณะที่ความแม่นยำในตรวจพบภาวะ ST-segment elevation MI (STEMI) จาก ECG 3 ขั้ว และ ECG 12 ขั้ว เท่ากับ 81.4% และ 84.6% ตามลำดับ

ผู้วิจัยชี้ “เทคโนโลยีนี้จะเปิดโอกาสให้ผู้ป่วยเข้าถึงเทคโนโลยีการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจที่มีคุณภาพสูงและสะดวกรวดเร็วขึ้น ซึ่งจะช่วยลดต้นทุนและเพิ่มความปลอดภัยของผู้ป่วย รวมถึงช่วยลดความยุ่งยากและเวลาที่ผู้เชี่ยวชาญใช้ติดตั้งอุปกรณ์และการตรวจสอบความถูกต้องแม่นยำของเครื่องมืออีกด้วย”

อ่านบทความฉบับเต็ม: Link ในคอมเมนต์ใต้โพสต์



MIMS 🔴 Empowering Healthcare Communities to Improve Patient Outcome

รวมงานประชุมใหญ่ที่น่าสนใจทั้งในไทยและต่างประเทศ 📅🇹🇭🌏    Thai & International Q4 Conference Calendar (Sep-Nov 2024)25-29...
27/09/2024

รวมงานประชุมใหญ่ที่น่าสนใจทั้งในไทยและต่างประเทศ 📅🇹🇭🌏
Thai & International Q4 Conference Calendar (Sep-Nov 2024)

25-29 September
🔴 The European Academy of Dermatology & Venereology (EADV) Congress
Netherlands
https://eadv.org/congress

27-29 September
🔴 งานประชุมวิชาการ สาขาวิชาวักกะวิทยา ศิริราชพยาบาล และมูลนิธิโรคไตแห่งประเทศไทย
Improving CKD Care: Practice Changing Update 2024
Bangkok
https://www.nephrothai.org/

28-29 September
🔴 การประชุมวิชาการ Introduction to pediatric pulmonology 2024
สมาคมโรคระบบหายใจและเวชบำบัดวิกฤตในเด็กฯ
Bangkok
https://thaipedlung.org/html/Home

7-11 October
🟡 การอบรมระยะสั้นอายุรศาสตร์ในเวชปฏิบัติ ครั้งที่ 25 Emergency Medicine
Bangkok
https://www.pmkmedicine.com/index.php/seminar/view_detail/82

11-14 October
🟡 การประชุมใหญ่วิชาการประจำปี ครั้งที่ 50 สมาคมโรคติดเชื้อแห่งประเทศไทย
Chonburi, Thailand
https://idthai.org/Contents/Views/?d=!65!14!!1010

12-14 October
🟡 การประชุมวิชาการกลางปี 2567 สมาคมประสาทวิทยาแห่งประเทศไทย
Neurological Consultation
Chiang Mai, Thailand
http://www.neurothai.org/content.php?id=536

15-17 October
🟡 The Royal College of Obstetricians & Gynecologists (RCOG) World Congress
Muscat, Oman
https://www.rcog.org.uk/careers-and- training/training/courses-and-events/rcog- world-congress/rcog-world-congress-2024

16-19 October
🟡 IDWeek 2024
Los Angeles, US
https://idweek.org

17-20 October
🟡 International Society of Paediatric Oncology (SIOP) Congress
Hawaii, US
https://siop-congress.org

23-27 October
🟡 The American Society of Nephrology Kidney Week 2024
San Diego, US
https://www.asn-online.org/ education/kidneyweek

24-28 October
🟡 The American College of Allergy, Asthma & Immunology (ACAAI) Annual Scientific Meeting
Boston, US
https://annualmeeting.acaai.org/ index.cfm

3 November
🔵 การประชุมวิชาการ 10th CHEST DAY KKU PULMONARY AND CRITICAL CARE IN CLINICAL PRACTICE
Khon Kaen, Thailand
https://kku.world/wkhml

7-8 November
🔵 งานประชุมวิชาการ Nephrology BAH: Bridging Academic to Healthcare Management
Bangkok
https://www.nephrothai.org/

11-15 November
🔵 งานประชุมวิชาการประจำปี Siriraj Pediatric Annual Meeting 2024
ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราช
Bangkok
https://www2.si.mahidol.ac.th/sirirajconference/event/sm/content/3312/TH/32705

16-17 November
🔵 การประชุมวิชาการ ประจำปี 2567
The 7th Vajira Cardiology Conference
Cardiology Through the Ages: Navigating the Past, Present, and Future
Prachinburi, Thailand
https://cimjournal.com/cvm-conferpr/vajira-cardiology/

21-22 November
🔵 การประชุมวิชาการ The 13th Pediatric GI Days สมาคมกุมารเวชศาสตร์ทางเดินอาหารและตับแห่งประเทศไทย
The Journey of Common GI and Liver Issues from Everyday Care to Expert Solutions
Bangkok
https://pedgi.onvirtual-meeting.com/home.php

29-30 November
🔵 การประชุมวิชาการประจำปี ครั้งที่ 12
GI PMK Gastroenterology & Hepatology Board Review Course
Bangkok
https://www.facebook.com/GIPMK

MIMS 🔴 Empowering Healthcare Communities to Improve Patient Outcome

ขอเชิญเข้าชม Virtual Booth เพื่อการเรียนรู้สำหรับเภสัชกร “P&G Health Academy” พบกับเนื้อหาที่น่าสนใจเกี่ยวกับการดูแลรักษ...
25/09/2024

ขอเชิญเข้าชม Virtual Booth เพื่อการเรียนรู้สำหรับเภสัชกร “P&G Health Academy”

พบกับเนื้อหาที่น่าสนใจเกี่ยวกับการดูแลรักษาโรคปลายประสาทอักเสบจากโรคเบาหวาน และการบรรเทาอาการจากโรคทางเดินหายใจส่วนบนสำหรับเภสัชกร ในรูปแบบบทความและวิดีโอบรรยาย ที่ท่านสามารถเลือกชมและดาวน์โหลด e-document ได้ตามความต้องการ

💁‍♂️ เยี่ยมชม VIRTUAL BOOTH ได้ที่ https://qr.mimsit.net/pg-virtuallobby-mimsfb-2024/

#เภสัชกร #โรคหวัด #โรคเบาหวาน #โรคปลายประสาทอักเสบจากโรคเบาหวาน ***r

MIMS 🔴 Empowering Healthcare Communities to Improve Patient Outcome

ลงทะเบียนรับวารสาร MIMS Doctor ฉบับล่าสุดฟรี❗จำนวนจำกัดสำหรับ..แฟนเพจ 100 คนแรกเท่านั้น(สงวนสิทธิ์สำหรับบุคลากรทางการแพท...
23/09/2024

ลงทะเบียนรับวารสาร MIMS Doctor ฉบับล่าสุดฟรี❗
จำนวนจำกัดสำหรับ..แฟนเพจ 100 คนแรกเท่านั้น
(สงวนสิทธิ์สำหรับบุคลากรทางการแพทย์)

🔴 Highlight Content:
อัปเดต PAD guideline สิ่งที่แพทย์ควรรู้ อะไรใหม่? อะไรเปลี่ยน?

🔴 Thailand Focus
- Lymphoma and Updated Guidelines for Diagnosis and Treatment
- Heart Failure and Updated Guidelines: What’s New in 2024
- 13 โรคอัลไซเมอร์ การคัดกรองและการรักษาในปัจจุบัน

🔴 Conference Coverage
Conference on Retroviruses and Opportunistic Infections (CROI 2024) • March 3-6
- 30 การให้ ART เร็วขึ้นทำให้เข้าสู่ ART-free remission ได้เร็วขึ้นในเด็ก

🔴 News Bites
- ข้อมูลจากการศึกษาระยะยาวสนับสนุนการใช้วัคซีน TAK-003 ในโรคไข้เลือดออก
- ยา abatacept อาจช่วยลดความเสี่ยงของการเกิด rheumatoid arthritis ในผู้ที่มีความเสี่ยงได้
- ยา aprocitentan ได้รับอนุมัติจาก FDA สำหรับรักษา uncontrolled hypertension
- ยา denosumab สำหรับรักษาโรคกระดูกพรุนแสดงศักยภาพในการลดความเสี่ยงการเกิดโรคเบาหวาน

ลงทะเบียน: https://medcomms.mimsit.net/mims_doctor_th_registration/
(สงวนสิทธิ์สำหรับบุคลากรทางการแพทย์)

MIMS 🔴 Empowering Healthcare Communities to Improve Patient Outcome

หญิงที่มีภาวะรังไข่ถูกกระตุ้นมากเกิน (ovarian hyperstimulation syndrome; OHSS) มีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อนจากตั...
19/09/2024

หญิงที่มีภาวะรังไข่ถูกกระตุ้นมากเกิน (ovarian hyperstimulation syndrome; OHSS) มีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อนจากตั้งครรภ์ ได้แก่

🩸 postpartum haemorrhage
👶🏻 macrosomia (large birthweight)
🫁 neonatal respiratory distress syndrome
🧠 intraventricular haemorrhage

OHSS เป็นภาวะแทรกซ้อนที่เกิดจากการเหนี่ยวนำการตกไข่ (ovulation induction) โดยอาจเกิดกับหญิงที่รับประทานยาฮอร์โมนเพื่อการเจริญพันธุ์หรือยาฮอร์โมนแบบฉีด ภาวะ OHSS ส่วนใหญ่อาการไม่รุนแรง (เช่น คลื่นไส้อาเจียน ปวดท้อง ท้องเสีย) แต่ในรายที่มีอาการรุนแรงอาจต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลและอาจเป็นอันตรายถึงชีวิต (เช่น ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ ภาวะไตวายเฉียบพลัน ภาวะลิ่มเลือดอุดตัน)

การศึกษาแบบย้อนหลัง ซึ่งวิเคราะห์ข้อมูลการตั้งครรภ์และการคลอดบุตรโดยอาศัยฐานข้อมูลจาก Korean National Health Insurance (KNHI) และ National Health Screening Program for Infants and Children (NHSP-IC) จำนวนผู้เข้าร่วมการศึกษารวม 2,565,461 ราย พบว่าภาวะ OHSS ส่งผลเพิ่มความเสี่ยงการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากตั้งครรภ์

👨‍⚕️ ผู้วิจัยกล่าว “ผลลัพธ์จากงานวิจัยชี้ให้เห็นถึงความสำคัญในการศึกษาผลกระทบในระยะยาวของ OHSS โดยเฉพาะเมื่ออุบัติการณ์ของ intraventricular haemorrhage ในกลุ่ม OHSS สูงกว่ากลุ่มที่ไม่มีภาวะ OHSS อย่างมีนัยสำคัญ”

อ่านบทความฉบับเต็ม: Link ในคอมเมนต์ใต้โพสต์



MIMS 🔴 Empowering Healthcare Communities to Improve Patient Outcome

📢 “WHO ประกาศให้ Mpox กลายเป็นภาวะฉุกเฉินทางด้านสาธารณสุขระหว่างประเทศอีกครั้ง” (14 สิงหาคม 2567)🐵 ฝีดาษลิง คือ โรคติดต่...
03/09/2024

📢 “WHO ประกาศให้ Mpox กลายเป็นภาวะฉุกเฉินทางด้านสาธารณสุขระหว่างประเทศอีกครั้ง” (14 สิงหาคม 2567)

🐵 ฝีดาษลิง คือ โรคติดต่อที่เกิดจากไวรัส monkeypox (Mpox) ซึ่งจัดอยู่ในกลุ่มเดียวกับไวรัสโรคฝีดาษหรือโรคไข้ทรพิษ (Orthopoxvirus) Mpox จำแนกได้เป็น 2 สายพันธุ์ คือ clade I และ clade II ปัจจุบันประเทศไทยพบผู้ป่วยติดเชื้อ Mpox สายพันธุ์ clade Ib แล้ว 1 ราย (กรมควบคุมโรค, 22 สิงหาคม 2567)

Mpox มักแสดงอาการภายใน 1–21 วันหลังได้รับเชื้อ โดยอาการแสดงทั่วไปของ Mpox ได้แก่ ผื่นหรือตุ่มเล็ก ๆ ตามผิวหนัง ไข้ ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยตามร่างกาย ปวดหลัง ไม่มีแรง เจ็บคอ และต่อมน้ำเหลืองโต

Mpox ติดต่อผ่านการสัมผัสผิวหนังหรือสารคัดหลั่งของสัตว์หรือคนที่ติดเชื้อ หรือวัตถุที่ปนเปื้อนเชื้อ ดังนั้น การล้างมือด้วยสบู่ สวมหน้ากากอนามัย หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับสัตว์ป่วยหรือผู้มีประวัติเสี่ยง รวมถึงการไม่ใช้สิ่งของร่วมกับผู้อื่น จึงเป็นหนึ่งในวิธีป้องกันการติดเชื้อ Mpox ได้

การรับวัคซีน Mpox ก่อนสัมผัสเชื้อสามารถป้องกันการติดเชื้อได้ กลุ่มเสี่ยงที่ควรได้รับวัคซีน ได้แก่ บุคลากรสาธารณสุขแนวหน้า ผู้มีประวัติสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วยติดเชื้อ กลุ่มชายรักชาย ผู้ที่มีคู่นอนหลายคน รวมไปถึงกลุ่ม s*x workers

เป้าหมายของการรักษา Mpox ได้แก่ การรักษาผื่นหรือตุ่ม ลดไข้ บรรเทาอาการปวด และป้องกันอาการแทรกซ้อน นอกจากนี้ การได้รับวัคซีนภายใน 4–14 วันหลังการได้รับเชื้อ (หากยังไม่แสดงอาการ) อาจช่วยป้องกันการเกิดโรคได้

#ฝีดาษลิง

โรคหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้น (OSA) ภัยร้ายในยามหลับ 🌙 💤“ไม่ใช่แค่รบกวนคนนอนข้าง ๆ แต่การนอนกรนอาจเป็นเรื่องใหญ่กว่าท...
24/08/2024

โรคหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้น (OSA) ภัยร้ายในยามหลับ 🌙 💤

“ไม่ใช่แค่รบกวนคนนอนข้าง ๆ แต่การนอนกรนอาจเป็นเรื่องใหญ่กว่าที่คิด”

👨‍⚕️ โรคหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้น หรือ Obstructive Sleep Apnea (OSA) เป็นภาวะที่ทางเดินหายใจส่วนต้นมีการอุดกั้นบางส่วนหรือทั้งหมด ส่งผลให้ระดับความเข้มข้นออกซิเจนในเลือดลดลงจนต้องสะดุ้งตื่นจากการนอนหลับ การรบกวนนี้ทำให้วงจรการนอนไม่มีประสิทธิภาพ จึงมักพบอาการ เช่น กรน ตื่นบ่อย หลับไม่สนิท หายใจเฮือก และง่วงตอนกลางวัน หากไม่ได้รับการรักษา OSA อาจนำไปสู่การเจ็บป่วยและมีความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตได้

บางครั้ง OSA ก็ยากที่จะตรวจพบเนื่องจากส่วนใหญ่ไม่แสดงอาการ เช่น ไม่รู้สึกง่วงอย่างรุนแรงหรือเหนื่อยล้าในช่วงกลางวัน ดังนั้นการวินิจฉัย OSA จึงมักใช้ polysomnography (PSG) เป็นการตรวจมาตรฐาน ซึ่งประกอบไปด้วยขั้ว EEG, ขั้ว ECG, เซนเซอร์ EMG, เครื่องวัดระดับออกซิเจน, เครื่องตรวจจับอุณหภูมิและเซนเซอร์วัดแรงดัน และเข็มขัด respiratory impedance plethysmography

👨‍⚕️ เมื่อได้รับการวินิจฉัยว่าเป็น OSA ผู้ป่วยอาจได้รับคำแนะนำหรือการรักษาดังต่อไปนี้ การปรับแนวทางการดำเนินชีวิต, การรักษาโรคที่ผู้ป่วยเป็นอยู่ เช่น โรคอ้วน, การจัดท่าขณะนอน, การบำบัดด้วยเครื่องอัดอากาศแรงดันบวก (CPAP), การใช้อุปกรณ์ในช่องปากเพื่อรักษาอาการนอนกรน, หรือการผ่าตัด โดยแนวทางในการรักษาขึ้นอยู่กับอาการของผู้ป่วยและการพิจารณาของแพทย์



MIMS 🔴 Empowering Healthcare Communities to Improve Patient Outcome

MIMS Pharmacy Patient Counselling Guide (Thailand 2024) ออกแล้ว ❗ แหล่งข้อมูลที่เป็นประโยชน์สําหรับ  #ร้านยา ซึ่งประกอบด...
22/08/2024

MIMS Pharmacy Patient Counselling Guide (Thailand 2024) ออกแล้ว ❗ แหล่งข้อมูลที่เป็นประโยชน์สําหรับ #ร้านยา ซึ่งประกอบด้วย

1. หมวดโรคหรืออาการป่วย Health Topics Section ที่พบบ่อยในร้านยา นําเสนอในรูปแผนภูมิ การวินิจฉัย คําแนะนําสําหรับผู้ป่วย ทางเลือกในการรักษา การส่งต่อแพทย์เมื่อจําเป็น และ ผลิตภัณฑ์ที่ใช้รักษา

2. หมวดข้อมูลเฉพาะของยา Quick Find Guide เป็นข้อมูลสําคัญที่เกี่ยวกับการใช้ยา ได้แก่ ดัชนีคําย่อทางการแพทย์และเภสัชวิทยา Abbreviation Index ดัชนีการจัดหมวดหมู่ยาตามกลุ่มการรักษา Pharmacological Class Index

3. หมวดข้อมูลยาและผลิตภัณฑ์ทางสุขภาพ Product Section

4. รายชื่อผู้ผลิตและผู้จัดจําหน่าย Company Directory

5. ดัชนีรายชื่อทางการค้าและชื่อสามัญของยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพ Brand & Generic Name Index

หรือสามารถหาข้อมูลผลิตภัณฑ์ที่สมบูรณ์มากขึ้นได้ที่ MIMS Website หรือ MIMS Mobile app

--------------------------------------------------------

แจกฟรี❗😲 [หมดแล้ว] สำหรับแฟนเพจเภสัชสายร้านยา (มูลค่า 500 บาท) 📘

"อยากได้ยินความคิดเห็นจากเภสัชกรร้านยา! ช่วงนี้เทรนด์การให้คำปรึกษาผู้ป่วยเป็นอย่างไรบ้าง? ร่วมแบ่งปันประสบการณ์ ความรู้และไอเดียดีๆ ในคอมเมนต์ คำตอบที่โดนใจทีมงานที่สุด จะได้รับคู่มือการให้คำปรึกษาผู้ป่วย MIMS Pharmacy Patient Counselling Guide ฟรี!" (มี 20 เล่มเท่านั้น)

(ขอสงวนสิทธิ์สำหรับบุคลากรทางการแพทย์)

MIMS 🔴 Empowering Healthcare Communities to Improve Patient Outcome
#เภสัชกร #เภสัชกรร้านยา #ร้านยา

“เมื่อการกำหนดเพศอาจซับซ้อนกว่าที่คิด” ⚧️♀️♂️DSD (disorders of s*x development) คือ กลุ่มโรคเกี่ยวกับความผิดปกติของพัฒนา...
09/08/2024

“เมื่อการกำหนดเพศอาจซับซ้อนกว่าที่คิด” ⚧️♀️♂️

DSD (disorders of s*x development) คือ กลุ่มโรคเกี่ยวกับความผิดปกติของพัฒนาการทางเพศ ทำให้เกิดความไม่ตรงกันระหว่างโครโมโซมเพศ อวัยวะสืบพันธุ์ (g***d) และอวัยวะเพศ (genitalia)

โดยปกติทารกจะมีพัฒนาการของระบบสืบพันธุ์และอวัยวะเพศตั้งแต่อยู่ในครรภ์ ซึ่งมีรูปแบบพัฒนาการที่แน่นอน

พัฒนาการทางเพศแบ่งออกเป็น 2 ระยะ คือ
1. การกำหนดเพศที่ควบคุมโดยโครโมโซมเพศและรหัสพันธุกรรม
2. พัฒนาการทางเพศที่ควบคุมโดยฮอร์โมนเพศร่วมกับรหัสพันธุกรรม ซึ่งจะทำให้พัฒนาการทางเพศนี้เป็นไปอย่างสมบูรณ์ มีลักษณะเพศตรงกับโครโมโซมเพศ

“โครโมโซมเพศทำหน้าที่กำหนด g***ds ซึ่ง g***ds จะผลิตฮอร์โมนเพศออกมาควบคุมการสร้าง genitalia ภายในและภายนอกร่างกายให้สอดคล้องกับ g***ds และโครโมโซมเพศ”

กลุ่มโรค DSD จึงมีความหลากหลายเนื่องจากความผิดปกติเกิดได้ทั้งในระดับโครโมโซมเพศ, ขั้นตอนการพัฒนา g***ds และ genitalia รวมไปถึงการแสดงออกของลักษณะทางเพศรอง (เช่น การโตของลูกกระเดือกในเพศชาย การเจริญเติบโตของเต้านมในเพศหญิง เป็นต้น)

ตัวอย่างโรค DSD เช่น 45X Turner syndrome, complete g***dal dysgenesis และ g***dal dysgenesia เป็นต้น

ที่มา: ดูต่อในคอมเมนต์
*x

MIMS 🔴 Empowering Healthcare Communities to Improve Patient Outcome

งานวิจัยจากสถาบันโรคผิวหนังแห่งชาติ ประเทศสิงคโปร์ ศึกษาข้อมูลผู้ป่วย OPD โรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง (Atopic Dermatitis; AD) ...
17/07/2024

งานวิจัยจากสถาบันโรคผิวหนังแห่งชาติ ประเทศสิงคโปร์ ศึกษาข้อมูลผู้ป่วย OPD โรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง (Atopic Dermatitis; AD) จำนวน 1,440,844 ราย 👥 ร่วมกับข้อมูลคุณภาพอากาศและปัจจัยทางสภาพภูมิอากาศ 🌧 พบว่า ความเข้มข้นของฝุ่นละอองขนาดเล็ก (fine particulate matter; PM) ที่เพิ่มขึ้น สัมพันธ์กับจำนวน OPD visit ผู้ป่วยโรค AD ที่เพิ่มขึ้น ขณะที่ปริมาณฝนส่งผลต่อจำนวน visit ของผู้ป่วยด้วยแนวโน้มที่ต่างออกไป คือ ปริมาณฝนที่เพิ่มขึ้น (เกินค่า median) เล็กน้อยนั้น เพิ่มจำนวน visit ของผู้ป่วย แต่ปริมาณฝนที่สูงมาก (มากกว่า 25 mm) กลับส่งผลตรงกันข้าม

ผลการศึกษานี้สอดคล้องกับผลจากงานวิจัยอื่น ๆ ที่ชี้ว่าฝุ่น PM2.5 และ PM10 อาจทำให้อาการของโรค AD แย่ลงหรือกำเริบขึ้นได้ อนุภาคของมลพิษในอากาศส่งผลกระทบต่อผิวหนังได้ 2 ประการ คือ
1. ทำลายโปรตีนสำคัญ ทำให้ผิวหนังเปราะบางมากยิ่งขึ้น
2. กระตุ้นการอักเสบ ซึ่งจะยิ่งทำให้อาการผื่น (eczema) แย่ลง

นอกจากนี้ ผิวหนังที่สัมผัสกับฝุ่น PM มีแนวโน้มที่เชื้อ S. aureus ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการกระตุ้นวงจรของโรค AD มีจำนวนมากขึ้น

ผู้วิจัยชี้ "การเปลี่ยนแปลงของปริมาณฝุ่นและฝนตามฤดูกาล อาจนำมาใช้เป็นสัญญาณเตือนให้บุคลากรทางการแพทย์เตรียมพร้อมรับมือกับจำนวนผู้ป่วยโรค AD ที่อาจเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ ยังสามารถช่วยกำหนดช่วงเวลาที่เหมาะสมสำหรับการรณรงค์ป้องกัน เพื่อลดผลกระทบต่อสุขภาพที่เกี่ยวข้อง"



ที่มา: Mailepessov D, et al. Sci Rep. 2024;14(1). doi:10.1038/s41598-024-60712-4.

MIMS 🔴 Empowering Healthcare Communities to Improve Patient Outcome

📢อัปเดตแนวทางการจัดการโรค peripheral artery disease (PAD) ปี 2024 โดย ACC/AHA ร่วมกับอีก 9 สมาคม💡Highlights คำแนะนำที่มี...
06/07/2024

📢อัปเดตแนวทางการจัดการโรค peripheral artery disease (PAD) ปี 2024 โดย ACC/AHA ร่วมกับอีก 9 สมาคม

💡Highlights คำแนะนำที่มีการปรับปรุงหรือเพิ่มเติมจาก guideline เดิม (2016 ACC/AHA)

1. การจำแนกผู้ป่วย PAD เป็น 4 subset ตามการประเมินทางคลินิก ซึ่งจะช่วยกำหนดการตรวจวินิจฉัย การรักษา และความเร่งด่วนในการจัดการผู้ป่วยแต่ละราย ได้แก่
• asymptomatic PAD ที่อาจมี functional impairment
• chronic symptomatic PAD ที่รวมถึงอาการปวดขา (claudication)
• โรค chronic limb-threatening ischemia (CLTI)
• โรค acute limb ischemia (ALI)

2. การนิยาม ‘risk amplifiers’ ปัจจัยที่จะยิ่งเพิ่มโอกาสการเกิด major cardiovascular event (MACE) และ major adverse limb event (MALE) ซึ่งได้แก่ การเป็นโรคเบาหวาน / การสูบบุหรี่ / ผู้ป่วยสูงอายุ / การมีภาวะซึมเศร้า

3. คำแนะนำการใช้ antiplatelet และ antithrombotic
• การใช้ single antiplatelet therapy มีความเหมาะสมในผู้ป่วย asymptomatic PAD ช่วยลดความเสี่ยงของ MACE
• แนะนำการใช้ rivaroxaban (2.5 mg bid) ร่วมกับ aspirin (81 mg OD) เพื่อลดความเสี่ยงของ MACE และ MALE ในผู้ป่วย symptomatic PAD รวมถึงผู้ที่เคยรักษาด้วย endovascular หรือ surgical revascularization [1A]

4. การรักษาด้วยยาลดไขมันและยาลดความดันโลหิต
• แนะนำการใช้ high-intensity statin เพื่อลดระดับ LDL-C ลง ≥50% [1A]
• พิจารณาการใช้ PCSK9i และ ezetimibe เพิ่มเติมในผู้ป่วยที่ใช้ statin ขนาดสูงสุดที่ทนได้แล้วแต่ยังมีระดับ LDL-C ≥70 mg/dL
• แนะนำการควบคุมความดันโลหิตต่ำกว่า 130/80 mmHg
• แนะนำการเลิกบุหรี่และหลีกเลี่ยงการสูดควันบุหรี่ (second-hand smoking)

5. โรคเบาหวานกับ PAD
• การใช้ยากลุ่ม GLP-1 RAs (liraglutide/ semaglutide) และยากลุ่ม SGLT2i (canagliflozin/ dapagliflozin/ empagliflozin) ช่วยลดความเสี่ยงของ MACE ในผู้ป่วยได้ [1A] โดยปรับแผนการรักษาเป็นไปตามผู้ป่วยแต่ละราย

“แนวทางนี้เน้นย้ำความสำคัญของการติดตามผลการรักษาในระยะยาว โดยการมุ่งเน้นที่การลดความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือด และความเสี่ยงต่อภาวะที่เกี่ยวข้องกับปลายขา การร่วมมือซึ่งกันและกันเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยยกระดับการรักษา PAD” กล่าวโดย Dr Heather Gornik ประธานคณะกรรมการร่างแนวทาง

🧐 อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมในคอมเมนต์...

MIMS 🔴 Empowering Healthcare Communities to Improve Patient Outcome

การรักษาด้วยยา piperacillin-tazobactam ในผู้ป่วยสงสัยภาวะ sepsis ที่ยังไม่แน่ชัดว่าติดเชื้อแบคทีเรียชนิด anaerobic อาจเพ...
28/06/2024

การรักษาด้วยยา piperacillin-tazobactam ในผู้ป่วยสงสัยภาวะ sepsis ที่ยังไม่แน่ชัดว่าติดเชื้อแบคทีเรียชนิด anaerobic อาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตและการมีภาวะอวัยวะล้มเหลว (organ dysfunction) นานขึ้น เมื่อเทียบกับยา cefepime ตามการศึกษาย้อนหลังในผู้ป่วยผู้ใหญ่ 7,569 ราย โดย 4,523 รายได้รับยา vancomycin กับ piperacillin-tazobactam และ 3,046 รายได้รับยา vancomycin กับ cefepime

ผลการศึกษาพบว่ายา piperacillin-tazobactam สัมพันธ์กับอัตราการเสียชีวิตที่เพิ่มขึ้น 5% (95% CI, 1.9–8.1) ภายในระยะเวลา 90 วัน นอกจากนี้ผู้ป่วยที่ได้รับยา piperacillin-tazobactam มีจำนวนวันที่ไม่เกิดภาวะอวัยวะล้มเหลวลดลง 2.1 วัน (95% CI, 1.4–2.7) จำนวนวันที่ไม่ต้องใช้เครื่องช่วยหายใจน้อยลง 1.1 วัน (95% CI, 0.57–1.62) และจำนวนวันที่ไม่ต้องใช้ยากระตุ้นความดันโลหิต 1.5 วัน (95% CI, 1.01–2.01) ข้อมูลนี้ชี้ให้เห็นว่าการใช้ empirical antibiotics ที่ครอบคลุมเชื้อชนิด anaerobic ในผู้ป่วยภาวะ sepsis อาจเป็นอันตรายได้

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่คอมเมนต์… ⬇️



MIMS 🔴 Empowering Healthcare Communities to Improve Patient Outcome

17/06/2024

เชียงใหม่: พบกับ MIMS ในงาน HA Regional Forum Chiang Mai 2024! ️📍 18-19 มิถุนายน ศูนย์ประชุมนานาชาติดิเอ็มเพลส เชียงใหม่

😍 สัมผัส MIMS Integrated: โซลูชันการจัดการยาที่ครบวงจร ช่วยให้การบริหารจัดการยาง่ายขึ้น ลดความเสี่ยงจากการเกิดความคลาดเคลื่อนทางยา ยกระดับการบริการด้านสุขภาพด้วยระบบสนับสนุนการตัดสินใจทางคลินิกแบบบูรณาการ

😍 พบกับฟีเจอร์:
- การผสานการทำงานอย่างราบรื่น: เชื่อมต่อ MIMS CDS เข้ากับแพลตฟอร์มที่มีอยู่ของคุณได้อย่างง่ายดาย
- การปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง: เข้าถึงข้อมูลยาอย่างแม่นยำ และเป็นปัจจุบันที่สุด
- การแมปข้อมูลที่แม่นยำและความมีความจำเพาะ: ใช้ประโยชน์จากการแมปยาที่แม่นยำเพื่อโซลูชันที่ปรับแต่งได้
- ยกระดับประสบการณ์ของผู้ใช้: เสริมพลังให้ผู้เชี่ยวชาญด้านการดูแลสุขภาพด้วยข้อมูลยาที่สามารถนำไปปฏิบัติได้

พิเศษ! 😲 รับฟรี MIMS Doctor Magazine สำหรับผู้ที่มาร่วมงาน

สำหรับผู้ที่ไม่สะดวกเข้าร่วมงาน 🧐 สามารถอ่านข้อมูลรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับ MIMS Integrated ได้ที่: https://cds.mims.com/

MIMS 🔴 Empowering Healthcare Communities to Improve Patient Outcome
www.mims.com

เลือดแต่ละถุง ก่อนจะถึงผู้ป่วย🩸✅ ต้องผ่านการตรวจสอบอะไรบ้าง?การให้เลือดแก่ผู้ป่วยนั้น มีความเสี่ยงการเกิดเหตุการณ์ไม่พึง...
07/06/2024

เลือดแต่ละถุง ก่อนจะถึงผู้ป่วย🩸✅ ต้องผ่านการตรวจสอบอะไรบ้าง?

การให้เลือดแก่ผู้ป่วยนั้น มีความเสี่ยงการเกิดเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ได้ซึ่งรวมถึงการติดเชื้อ การตรวจคัดกรองเชื้อในเลือดบริจาคจึงเป็นขั้นตอนที่สำคัญที่สุดขั้นตอนหนึ่ง การตรวจคัดกรองการติดเชื้อจากเลือดบริจาคในประเทศไทย มีดังนี้
✅ HBsAg
✅ anti-HCV
✅ anti-HIV-1/HIV-2
✅ HIV-1 p24 antigen
✅ serological test for syphilis

เมื่อเลือดบริจาคผ่านการตรวจคัดกรองเชื้อและเตรียมเป็นผลิตภัณฑ์เลือดชนิดต่าง ๆ จะมีการสุ่มตรวจสอบและนำมาทดสอบตามมาตรฐานการควบคุมคุณภาพ โดยวิธีการทดสอบคุณภาพส่วนประกอบเลือด ครอบคลุมการทดสอบด้านกายภาพ เคมี และจุลชีววิทยา ดังนี้

🔎 การตรวจสอบด้วยสายตา เช่น ความสมบูรณ์ของถุงบรรจุ, สีของส่วนประกอบเลือด, ก้อนเลือด (clot) และ aggregations เป็นต้น
🔎 การตรวจสอบปริมาตรของส่วนประกอบเลือด
🔎 การตรวจค่า hematocrit, hemoglobin และปริมาณเซลล์ต่าง ๆ
การวัดค่า pH ของเกล็ดเลือด (platelet): ควรมีค่า ไม่ต่ำกว่า 6.2
🔎 การวัดค่าเปอร์เซ็นต์การแตกของเม็ดเลือดแดง (%hemolysis) และ %red blood cell recovery
🔎 การทดสอบหาจุลชีพปนเปื้อน (bacterial contamination)

การควบคุมคุณภาพมีความจำเป็นและสำคัญในการผลิตส่วนประกอบเลือด เพื่อให้เกิดเป็นผลิตภัณฑ์เลือดที่มีคุณภาพและปลอดภัยที่สุดสำหรับผู้ป่วย โดยหน่วยงานธนาคารเลือดในประเทศไทยมีขั้นตอนการจัดการที่รัดกุมและเป็นไปตามมาตรฐาน ช่วยสร้างความมั่นใจแก่ทั้งผู้บริจาคและผู้ป่วยที่ต้องรับเลือด

ที่มา:
1. ปาริชาติ เพิ่มพิกุล. วารสารโลหิตวิทยาและเวชศาสตร์บริการโลหิต. 2005;15(3):141-144.
2. ฐิติพร ภาคภูมิพงศ์. วารสารโลหิตวิทยาและเวชศาสตร์บริการโลหิต. 2010;10(3):205-209.



MIMS 🔴 Empowering Healthcare Communities to Improve Patient Outcome
www.mims.com

ผลการศึกษาที่นำเสนอในงาน AAAAI 2024 ชี้ว่า ยา epinephrine รูปแบบยาผงสำหรับพ่นจมูก (preservative-free nasal powder) มีควา...
24/05/2024

ผลการศึกษาที่นำเสนอในงาน AAAAI 2024 ชี้ว่า ยา epinephrine รูปแบบยาผงสำหรับพ่นจมูก (preservative-free nasal powder) มีความคงตัวที่เหนือกว่าและมีระดับยาในเลือดที่ไม่แตกต่างจากยา epinephrine รูปแบบฉีด (autoinjector) ทำให้ยารูปแบบใหม่นี้อาจเป็นทางเลือกในการรักษาที่มีประสิทธิภาพสำหรับผู้ป่วยที่มีภาวะ anaphylaxis

การศึกษาแบบ cross-over ในอาสาสมัครสุขภาพดี 40 คน ทำการประเมิน bioavailability และ hemodynamic response ของยา epinephrine รูปแบบยาผงสำหรับพ่นจมูก 4 ตำรับ ขนาด 1 มก. เทียบกับยารูปแบบฉีด ขนาด 0.3 มก.

ยา epinephrine รูปแบบใหม่นี้ ได้รับการพัฒนาตำรับด้วยผงยาแบบ amorphous โดยวิธี spray-drying ถูกประเมินความคงตัวภายใต้สภาวะเร่ง ผลพบว่ามีความคงตัวที่ดีเมื่อเปรียบเทียบกับยารูปแบบฉีด

ผลการประเมิน bioavailability พบว่า ยารูปแบบผงถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกายอย่างรวดเร็ว โดยมีระดับยาในเลือดที่ใกล้เคียงกับยารูปแบบฉีดภายในเวลา 5–10 นาที และยารูปแบบทั้งสองมี Cmax และ AUC0-20min รวมถึงมีผลต่อ hemodynamic response ใกล้เคียงกัน แต่ยารูปแบบผงทำให้ความดันโลหิตสูงกว่าเล็กน้อย

ผู้วิจัยกล่าว แม้ว่าตำรับยาผงสำหรับพ่นจมูกนี้ยังอยู่ระหว่างการพัฒนา แต่หากได้รับอนุมัติให้ใช้ จะเป็นการเพิ่มทางเลือกในการจัดการภาวะ anaphylaxis ที่มีความสะดวก มีความคงตัวที่ดี ออกฤทธิ์ได้เร็ว และช่วยแก้ไขข้อจำกัดในการใช้ยาฉีด เช่น การกลัวเข็มที่อาจเป็นอุปสรรคทำให้ได้รับยาช้าลง

ดูเนื้อหาทั้งหมด คลิก https://qr.mimsit.net/fb-mimsdoctor-epinephrine-preservative-free-nasal-powder/



MIMS 🔴 Empowering Healthcare Communities to Improve Patient Outcome
www.mims.com

จัดการโรคหวัดอย่างไร❓ ให้ปลอดภัย ไม่ต้องใช้ยาหลายขนานโรคหวัดเป็นโรคที่มีอาการหลากหลาย, 85% ของผู้ป่วยโรคหวัดจะมีอาการอย่...
15/05/2024

จัดการโรคหวัดอย่างไร❓ ให้ปลอดภัย ไม่ต้องใช้ยาหลายขนาน

โรคหวัดเป็นโรคที่มีอาการหลากหลาย, 85% ของผู้ป่วยโรคหวัดจะมีอาการอย่างน้อย 1 อาการ
ได้แก่ น้ำมูกไหล ไอ คัดจมูก เป็นต้น อาการเหล่านี้รบกวนการนอนหรืออาจทำให้โรคประจำตัวแย่ลง

💊 การใช้ยารักษาอาการหวัดที่มีอาการหลากหลาย อาจต้องใช้ยาร่วมกันหลายขนาน
เสี่ยงต่อการได้รับยาซ้ำซ้อนหรือได้รับยาเกินขนาด อีกทั้งเพิ่มโอกาสการเกิดอาการข้างเคียงจากยา 🙁

♨️ การใช้ aromatic v***r ที่มีส่วนประกอบของ เมนทอล การบูร ยูคาลิปตัส รูปแบบยาทาขี้ผึ้งหรือใช้การสูดดมไอน้ำร้อน พบว่ามีประสิทธิภาพในการควบคุมอาการหวัดหลากหลายอาการ ✅ ลดการใช้ยาร่วมกันหลายขนาน ✅ ผู้ป่วยมีความปลอดภัย

❓aromatic v***r รูปแบบยาทาขี้ผึ้ง ควรหรือไม่ควรทาบริเวณใดบ้าง
❓aromatic v***r ชนิดใช้สูดดมไอน้ำร้อน มีขั้นตอนอย่างไร

💡รายละเอียดและคำแนะนำการใช้ aromatic v***r จากผู้เชี่ยวชาญ และตัวอย่างกรณีศึกษา รอคุณอยู่! อ่านต่อที่ https://qr.mimsit.net/fb-mimsdoctor-medu-pg-common-cold-management/

03/05/2024

A 20-year nested case–control study in China has shown sequential and temporal changes in biomarkers 6–18 years before diagnosis of Alzheimer’s disease (AD). Accelerated changes in cerebrospinal fluid (CSF) biomarkers were found after the onset of cognitive impairment, followed by plateaus at AD diagnosis. (อ่านต่อในคอมเมนต์)

From all of us at MIMS Thailand, we wish you a Happy Songkran filled with joy and good health! 🌺💦 สวัสดีปีใหม่ไทย ขอให้ท...
13/04/2024

From all of us at MIMS Thailand, we wish you a Happy Songkran filled with joy and good health! 🌺💦 สวัสดีปีใหม่ไทย ขอให้ท่านและครอบครัวมีความสุข สดชื่น และสุขภาพแข็งแรงตลอดปี

✍️ ลงทะเบียนรับวารสาร MIMS Doctor ฉบับล่าสุดฟรี ❗️ จำนวนจำกัดสำหรับแฟนเพจ 150 คนแรกเท่านั้นที่: https://qr.mimsit.net/mimsdoctormagazine_mar2024_fb/

🔴 Highlight Content:
- พลิกโฉมการรักษายาเดี่ยว ดีต่อใจ! หลักฐานใหม่สนับสนุน ticagrelor monotherapy ภายใน 1 เดือน หลังจากได้รับ DAPT ในผู้ป่วย ACS

👉 Thailand Focus:
- การรักษาโรคไตเรื้อรังและการชะลอการเสื่อมของไต
- การจัดการกับโรคอ้วนในผู้ป่วยโรคหัวใจและเมแทบอลิก
- เผชิญหน้าสู้กับโรคติดเชื้อแบคทีเรียดื้อยาหลายขนาน
- สิ่งสำคัญที่ต้องรู้และอัปเดตแนวทางการรักษาอาการนอนไม่หลับ

👉 Conference Coverage:
- บทเรียนของผู้เชี่ยวชาญจากการระบาดของ COVID-19 และการฉีดวัคซีน COVID-19
- ยา nintedanib มีประสิทธิภาพและความปลอดภัยเพียงพอหรือไม่ หากเริ่มให้ในผู้ป่วย early-stage IPF?
- สมรภูมิของ stents: ยิ่งบางยิ่งดีจริงหรือ?

👉 News Bites:
- น้ำหนักที่ลดลงจากยา tirzepatide อาจเพิ่มขึ้นหลังจากหยุดยา
- ผลดีและเสียของการลด LDL-C

MIMS 🔴 Empowering Healthcare Communities to Improve Patient Outcome
www.mims.com

📢 The First Real-World Evaluation of a Novel RSV Antibody “ยา nirsevimab” ยาใหม่ในกลุ่ม long-acting human recombinant mo...
18/03/2024

📢 The First Real-World Evaluation of a Novel RSV Antibody

“ยา nirsevimab” ยาใหม่ในกลุ่ม long-acting human recombinant monoclonal antibody สำหรับป้องกัน RSV ในทารก มีประสิทธิภาพสูงในฤดูกาลระบาดแรก รายงานโดยศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคติดต่อแห่งสหรัฐอเมริกา (CDC)

✅ ทารกแรกเกิดที่ได้รับยา nirsevimab มีโอกาสป่วยรุนแรงจากการติดเชื้อ RSV ลดลง 90%

✅ การศึกษานี้นับเป็นการรายงาน real-world effectiveness ของยา nirsevimab เป็นครั้งแรกหลังจากได้รับขึ้นทะเบียนโดย U.S. FDA เมื่อเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 2023 สำหรับป้องกันโรคระบบทางเดินหายใจส่วนล่างจากเชื้อ RSV ในทารกแรกเกิดและทารกที่กำลังเข้าสู่ฤดูกาลระบาดครั้งแรก

การศึกษาติดตามผู้ป่วยทารกอายุ

รวมงานประชุมใหญ่น่าสนใจจากไทยและทั่วโลก 🌏 📅  March – June 2024.รายละเอียดเพิ่มเติม อ่านต่อที่คอมเมนต์ใต้โพสต์..MIMS 🔴 Em...
08/03/2024

รวมงานประชุมใหญ่น่าสนใจจากไทยและทั่วโลก 🌏 📅 March – June 2024
.รายละเอียดเพิ่มเติม อ่านต่อที่คอมเมนต์ใต้โพสต์..
MIMS 🔴 Empowering Healthcare Communities to Improve Patient Outcome
www.mims.com

ทำอย่างไร❓ ถ้าไม่อยากให้เส้นประสาทไปถึงจุด “Point of no return” โรคปลายประสาทอักเสบเป็นภาวะแทรกซ้อนที่พบได้บ่อยในโรคเบาห...
01/03/2024

ทำอย่างไร❓ ถ้าไม่อยากให้เส้นประสาทไปถึงจุด “Point of no return”

โรคปลายประสาทอักเสบเป็นภาวะแทรกซ้อนที่พบได้บ่อยในโรคเบาหวานโดยเฉพาะเมื่ออายุเพิ่มขึ้น ทั้งยังก่อให้เกิดการเสียชีวิตได้ใน 5 ปีจากการตัดขาที่ปัจจุบันพบอัตราสูงถึง 57% การวินิจฉัยได้เร็วร่วมกับให้การรักษาอย่างมีประสิทธิภาพโดยเฉพาะการให้วิตามินบี 1-6-12 อย่างทันท่วงทีนั้น มีบทบาทสำคัญเพื่อป้องกันไม่ให้เส้นประสาทเกิดภาวะที่ไม่สามารถฟื้นฟูได้ เรียกว่า “point of no return”

เมื่อไหร่ที่ต้องให้ “วิตามิน” professionals ก็มักมีข้อสงสัยเหล่านี้ตามมา
🤔 มี evidence support หรือไม่? ว่าให้แล้วได้ประโยชน์
🤔 ต้องให้วิตามินบี 1-6-12 ในผู้ป่วยโรคปลายประสาทอักเสบทุกรายไหม?
🤔 ให้วิตามินบี 1-6-12 ในขนาดท่าไร? เพื่อให้เห็นผลการรักษา
🤔 ต้องให้ตลอดไปหรือให้ระยะเวลาสั้นๆ? ติดตาม toxicity อย่างไร? เพราะความปลอดภัยของผู้ป่วยเป็นสิ่งสำคัญ

ทุกคำถามเรามีคำตอบมาให้ จากประสบการณ์ของผู้เชี่ยวชาญพร้อมตัวอย่างกรณีศึกษา
ถ้าพร้อมแล้ว! คลิกเลย https://education.mims.com/th/course/1254

MIMS 🔴 Empowering Healthcare Communities to Improve Patient Outcome
www.mims.com

How Fast Should We Correct Severe Hyponatremia?การ correct hyponatremia เร็วเกินไปอาจส่งผลให้เกิด osmotic demyelination ...
03/01/2024

How Fast Should We Correct Severe Hyponatremia?

การ correct hyponatremia เร็วเกินไปอาจส่งผลให้เกิด osmotic demyelination syndrome (ODS) แต่ถ้า correct ช้าเกินไปอาจส่งผลให้ผู้ป่วยนอนโรงพยาบาลนานขึ้นและเพิ่มอัตราการเสียชีวิตได้เช่นกัน

ข้อมูลจาก cohort study ในผู้ป่วย 3,274 ราย ที่มี severe hyponatremia (

Cheers to a healthier 2024! ** As we ring in the new year, MIMS Thailand reaffirms our commitment to empowering healthca...
01/01/2024

Cheers to a healthier 2024! ** As we ring in the new year, MIMS Thailand reaffirms our commitment to empowering healthcare communities and improving patient outcomes.

Together, we can build a stronger, healthier future for Thailand. Here's to more knowledge, collaboration, and success in the new year! ✨

From the bottom of our hearts ❤️, thank you for being part of our journey. We wish you a year filled with health, happiness, and everything you shine brightly in! ✨

ส่งท้ายปีกับ.. MIMS Specialty Editions เล่มใหม่ล่าสุด! 📘👍MIMS Family Medicine Disease Management Guidelines 😲📘 [หมดแล้ว]...
30/12/2023

ส่งท้ายปีกับ.. MIMS Specialty Editions เล่มใหม่ล่าสุด! 📘👍
MIMS Family Medicine Disease Management Guidelines

😲📘 [หมดแล้ว] แจกฟรีแบบรูปเล่ม (มูลค่า 500 บาท) จำนวนจำกัดสำหรับแฟนเพจ
กติกา:
- พิมพ์ใต้โพสต์นี้ บอกเหตุผล.. คุณคิดว่าหนังสือเล่มนี้มีดีอย่างไร? หรือ ทำไมคุณถึงติดตาม MIMS Doctor Thailand page
- แฟนเพจผู้โชคดีที่เขียนได้โดนใจแอดมินมากที่สุดจะได้รับการติดต่อกลับ พร้อมจัดส่งหนังสือให้ฟรี

📩 ฉบับ e-book ดาวน์โหลดฟรีที่: https://bit.ly/MIMS_MSMG_TH (สงวนสิทธิ์สำหรับบุคลากรทางการแพทย์เท่านั้น)



MIMS 🔴 Empowering Healthcare Communities to Improve Patient Outcome
www.mims.com

ที่อยู่

88 The Parq Building, 10th Floor, Unit 10E01-02, Ratchadapisek Road, Khlong Toei, Khlong Toei
Bangkok
10110

เวลาทำการ

จันทร์ 09:00 - 17:00
อังคาร 09:00 - 17:00
พุธ 09:00 - 17:00
พฤหัสบดี 09:00 - 17:00
ศุกร์ 09:00 - 17:00

เบอร์โทรศัพท์

+6621143655

เว็บไซต์

แจ้งเตือน

รับทราบข่าวสารและโปรโมชั่นของ MIMS Doctor Thailandผ่านทางอีเมล์ของคุณ เราจะเก็บข้อมูลของคุณเป็นความลับ คุณสามารถกดยกเลิกการติดตามได้ตลอดเวลา

ติดต่อ ธุรกิจของเรา

ส่งข้อความของคุณถึง MIMS Doctor Thailand:

วิดีโอทั้งหมด

แชร์

ตำแหน่งใกล้เคียง บริษัท สื่อ


เว็บไซต์ข่าวและสื่อ อื่นๆใน Bangkok

แสดงผลทั้งหมด