Good AfterGreen พื้นที่แห่งสาระและสื่อสร้างสรรค์ เพื่อทุกวันที่เต็มไปด้วยพลังงานดี ๆ ของทุกคน

ถ้าใครเคยได้ดูภาพยนตร์ Under Paris อาจจะคุ้นหน้าคุ้นตาเจ้ากองขยะในมหาสมุทรกันบ้าง แล้วถ้าหากกองขยะในมหาสมุทรมีการรวมตัวก...
04/09/2024

ถ้าใครเคยได้ดูภาพยนตร์ Under Paris อาจจะคุ้นหน้าคุ้นตาเจ้ากองขยะในมหาสมุทรกันบ้าง แล้วถ้าหากกองขยะในมหาสมุทรมีการรวมตัวกันจนกลายเป็นขยะขนาดใหญ่อยู่ในมหาสมุทรจะเกิดอะไรขึ้น

จะพาทุกท่านไปสำรวจแพขยะขนาดใหญ่ที่สุดในโลกอย่าง #แพขยะแปซิฟิก เราอาจจะเคยได้ยินคำที่ว่า “สสารไม่มีวันหายไปจากโลก” ขยะที่เกิดจากกิจกรรมของมนุษย์ก็เช่นกัน เมื่อขยะถูกทิ้งลงสู่แม่น้ำลำคลองสุดท้ายก็ออกไปยังทะเลและมหาสมุทร มีการคาดการณ์ว่าในแต่ละปีขยะพลาสติกที่ไหลลงสู่มหาสมุทรมีปริมาณ 1.15 ถึง 2.41 ล้านตัน ซึ่งขยะเหล่านี้ครึ่งหนึ่งมีความหนาแน่นน้อยกว่าน้ำ ทำให้ตัวมันไม่จมลงเมื่อไหลลงสู่ทะเล และในมหาสมุทรมีกระแสน้ำหมุนวนที่เรียกว่า “Gyres” กระแสน้ำวนขนาดใหญ่จะดึงวัตถุต่าง ๆ ขยะ อุปกรณ์ตกปลา และเศษซากในทะเลมารวมกันทำให้เกิด #แพขยะ ขึ้น พบ Gyres ในมหาสมุทร 5 แห่ง ได้แก่ หนึ่งแห่งอยู่ในมหาสมุทรอินเดีย สองแห่งอยู่ในมหาสมุทรแอตแลนติก และสองแห่งอยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิก

แพขยะมหาสมุทรแปซิฟิก (Great Pacific Garbage Patch: GPGP) เป็นแหล่งสะสมขยะพลาสติกนอกชายฝั่งที่ใหญ่ที่สุดจากทั้งหมด 5 แห่งของมหาสมุทรทั่วโลก แพขยะนี้ตั้งอยู่กึ่งกลางระหว่างฮาวายและแคลิฟอร์เนีย สำหรับขนาดของแพขยะนี้ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 1.6 ล้านตารางกิโลเมตรหรือมีขนาดใหญ่เป็น 3 เท่าของประเทศไทย

คาดว่ามวลของพลาสติกในแพขยะแปซิฟิกอยู่ที่ประมาณ 100,000 ตัน พลาสติกส่วนใหญ่ที่เก็บกู้ได้ทำจากโพลีเอทิลีน (PE) หรือโพลีโพรพิลีน (PP) มีขนาดตั้งแต่ชิ้นเล็ก ๆ ไปจนถึงวัตถุขนาดใหญ่และอวนจับปลา แม้พลาสติกส่วนใหญ่ที่พบจะมีขนาดมากกว่า 5 มิลลิเมตร แต่เมื่อพลาสติกสัมผัสกับ แสงแดด คลื่น สิ่งมีชีวิตในทะเล และการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิ จะเกิดการเสื่อมสลายได้เป็นไมโครพลาสติกลอยอยู่ที่ผิวน้ำ แต่ก็สามารถอยู่ใต้น้ำหรือลึกลงไปถึงพื้นมหาสมุทรได้อีกด้วยเมื่อพลาสติกมีขนาดเล็กลงเป็นไมโครพลาสติกจะกำจัดออกได้ยากและสัตว์ทะเลมักเข้าใจผิดว่าเป็นอาหาร

ถึงแม้แพขยะจะอยู่ห่างไกลจากพื้นที่ที่มนุษย์อาศัยอยู่ แต่สามารถส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม สิ่งมีชีวิตในทะเล และมนุษย์ได้ ตัวอย่างผลกระทบของแพขยะได้แก่

สัตว์ทะเลอาจถูกจับและบาดเจ็บหรืออาจตายได้ในเศษซากบางประเภท เช่น อวนจับปลา สายรัดกระเป๋า ห่วงยาง หูหิ้วถุงพลาสติก ปลา นกทะเล และสัตว์ทะเลอื่น ๆ อาจกินพลาสติก โดยไม่ได้ตั้งใจและอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพของสัตว์ได้

สาหร่าย หอยทะเล ปู หรือสิ่งมีชีวิตชนิดอื่น ๆ สามารถเกาะติดเศษซากขยะและถูกพัดพาข้ามมหาสมุทรไปได้ หากสิ่งมีชีวิตชนิดดังกล่าวรุกรานและสามารถตั้งรกรากและเติบโตในสภาพแวดล้อมใหม่ สิ่งมีชีวิตดังกล่าวอาจแย่งชิงหรือเข้ามาแทนที่สิ่งมีชีวิตพื้นเมืองจนมากเกินไปส่งผลให้ระบบนิเวศเสียหาย

มนุษย์สามารถได้รับสารเคมีในพลาสติกหรือไมโครพลาสติกจากกระบวนการที่เรียกว่าการสะสมทางชีวภาพ (bioaccumulation) เมื่อสัตว์ที่กินพลาสติกกลายเป็นเหยื่อจะส่งต่อพลาสติกไปยังผู้ล่าและผ่านห่วงโซ่อาหารซึ่งรวมถึงมนุษย์ด้วย

ผลกระทบด้านเศรษฐกิจ พบว่าค่าใช้จ่ายทางเศรษฐกิจต่อปีที่เกิดจากพลาสติกในทะเลอยู่ที่ประมาณ 6,000-19,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ค่าใช้จ่ายดังกล่าวเกิดจากผลกระทบต่อการท่องเที่ยว การประมง การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ และการทำความสะอาดของรัฐบาล

ดังนั้นมาตรการในการจำกัดขยะและป้องกันการทิ้งพลาสติกลงสู่แม่น้ำน่าจะเป็นการลงทุนที่คุ้มค่ากว่าการจัดการกับผลที่ตามมาเมื่อขยะได้ถูกปล่อยออกสู่ทะเลแล้ว




อ้างอิง
https://theoceancleanup.com/great-pacific-garbage-patch/
https://marinedebris.noaa.gov/discover-marine-debris/garbage-patches
https://www.scientificamerican.com/article/surprising-creatures-lurk-in-the-great-pacific-garbage-patch/
https://eos.org/articles/in-the-great-pacific-garbage-patch-new-marine-ecosystems-are-flourishing

ติดตามช่องทางอื่น ๆ ได้ที่
💚TikTok : tiktok.com/
💚Instagram : instagram.com/goodaftergreen/

เมลเบิร์น เมืองที่ได้ชื่อว่ากาแฟติดอันดับโลกจนได้รับรางวัลว่าเป็น “The world's best coffee” แต่รู้หรือไม่ว่าออสเตรเลียสร...
29/08/2024

เมลเบิร์น เมืองที่ได้ชื่อว่ากาแฟติดอันดับโลกจนได้รับรางวัลว่าเป็น “The world's best coffee” แต่รู้หรือไม่ว่าออสเตรเลียสร้างขยะจากกากกาแฟได้ประมาณ 75,000 ตันต่อปี และจากสถิติทั่วโลกมีขยะจากกากกาแฟกว่าอีกหลาย 10 ล้านตันต่อปีที่ปลายทางจะถูกส่งไปย่อยสลายในหลุมฝังกลบขยะ ซึ่งกระบวนการย่อยสลายก่อให้เกิดก๊าซมีเทนและก๊าซเรือนกระจกสู่ชั้นบรรยากาศ

ทีมนักวิจัยจากมหาวิทยาลัย RMIT ในเมลเบิร์น จึงได้คิดค้นวิธีนำขยะเหล่านี้มาใช้ให้กลายเป็นทรัพยากรที่มีค่าสำหรับอุตสาหกรรมก่อสร้าง โดยนำกากกาแฟมาผสมแทนทรายเพื่อผลิตเป็น “คอนกรีตกาแฟ”

นวัตกรรมใหม่นี้ เกิดจากการนำกากกาแฟที่ใช้แล้วไปแปรรูปเป็น “ถ่านชีวภาพ” หรือไบโอชาร์ (Biochar)
โดยผ่านกระบวนการเผาในความร้อนสูง ที่อุณหภูมิ 350 องศาโดยไม่ใช้ออกซิเจน เป็นกระบวนการที่เรียกว่าไพโรไลซิส (Pyrolysis) เพื่อตรึงคาร์บอนไดออกไซด์เอาไว้ ไม่ให้ปล่อยออกสู่บรรยากาศได้อีกนั่นเอง​ ซึ่งไบโอชาร์สามารถทดแทนทรายในคอนกรีตได้มากถึง 15% และยังช่วยทำให้คอนกรีตแข็งแรงขึ้น 30% ยิ่งไปกว่านั้น คอนกรีตกาแฟนี้ยังใช้เป็นวัสดุดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ได้ถึง 2 tonCO₂/ton ด้วยโครงสร้างที่เป็นรูพรุน และมีพื้นที่ผิวสูง ทำให้สามารถดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์เก็บไว้ในโครงสร้างที่มีรูพรุนได้

การก่อสร้างด้วยคอนกรีตกาแฟถือเป็นการทำงานเพื่อโลก เกิดประโยชน์มากมายต่อชุมชน ช่วยประหยัดต้นทุนในการก่อสร้างได้ ที่สำคัญคือลดขยะลงหลุมฝังกลบและสร้างระบบเศรษฐกิจหมุนเวียนเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น

ปัจจุบัน RMIT กำลังทดลองใช้วัสดุอินทรีย์ชนิดต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น กิ่งไม้ ซังข้าวโพด หรือเศษวัสดุเหลือทิ้งจากการเกษตรอื่น ๆ มาใช้ในการผลิต โดยไบโอชาร์แต่ละชนิดที่ผลิตจากวัสดุอินทรีย์แตกต่างกันจะมีองค์ประกอบไม่เหมือนกัน ทั้งด้านปริมาณคาร์บอน ขนาดอนุภาคและการดูดซับ ซึ่งสามารถเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของคอนกรีตได้หลายวิธี เรียกได้ว่าเป็นนวัตกรรมอัพไซเคิล (Upcycle) วัสดุเหลือใช้เข้ากับวัสดุก่อสร้างในอุตสาหกรรมก่อสร้างที่น่าจับตามอง



อ้างอิง
https://www.rmit.edu.au/news/all-news/2024/may/coffee-footpath-trial
https://www.thesenior.com.au/story/8640541/rmit-trials-footpaths-made-with-coffee-concrete-biochar/

ติดตามช่องทางอื่น ๆ ได้ที่
💚TikTok : tiktok.com/
💚Instagram : instagram.com/goodaftergreen/

Good AfterGreen ชวนมาทำความรู้จักสถาบันวิจัยขนาดใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของยุโรป โดยมีพนักงานประมาณ 2,200 คน จาก 75 ประเทศทั่...
28/08/2024

Good AfterGreen ชวนมาทำความรู้จักสถาบันวิจัยขนาดใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของยุโรป โดยมีพนักงานประมาณ 2,200 คน จาก 75 ประเทศทั่วโลก

สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และอุตสาหกรรมแห่งนอร์เวย์ (Stiftelsen for Industriell og Teknisk Forskning) หรือ SINTEF มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่ประเทศนอร์เวย์ เป็นหนึ่งในองค์กรวิจัยอิสระที่ครอบคลุมการวิจัยและนวัตกรรมด้านเทคโนโลยีและสังคมศาสตร์ SINTEF เป็นองค์กรไม่แสวงหากำไรและเงินรายได้ทั้งหมดจะถูกนำไปลงทุนในอุปกรณ์ทางวิทยาศาสตร์ ทักษะ และความเชี่ยวชาญ

SINTEF ประกอบด้วยสถาบันวิจัย 6 แห่ง ซึ่งแต่ละแห่งมุ่งเน้นในหัวข้อเฉพาะ ได้แก่ ชุมชน การวิจัยด้านพลังงาน อุตสาหกรรม การผลิต มหาสมุทรและดิจิทัล นอกจากเรื่องของงานวิจัยแล้วยังเป็นเจ้าของบริษัทสตาร์ตอัปและองค์กรอื่น ๆ อีกด้วย

สถาบันวิจัยนี้รวบรวมผู้เชี่ยวชาญจากสหสาขาวิชาชีพทำให้การบริการของสถาบันมีความหลากหลายตามความต้องการของลูกค้ากลุ่มต่าง ๆ ตั้งแต่บริษัทขนาดเล็ก สตาร์ตอัปไปจนถึงอุตสาหกรรมขนาดใหญ่และองค์กรภาครัฐ

สำหรับประเทศไทยนั้น SINTEF ได้จัดการประชุมระดับภูมิภาคว่าด้วยการจัดการพลาสติกในมหาสมุทรให้กลายเป็นโอกาสในเศรษฐกิจหมุนเวียน หรือ The Ocean Plastic Turned into an Opportunity in Circular Economy (OPTOCE) Regional Forum” เมื่อปี 2565 ที่กรุงเทพมหานครฯ

และล่าสุด ร่วมมือกับ บริษัท อินทรี อีโคไซเคิล ทำการศึกษาศักยภาพของกระบวนการนำพลาสติกที่ไม่สามารถรีไซเคิลได้มาเผาร่วมในเตาปูนซีเมนต์ โดยนำขยะพลาสติกที่ได้มาใช้เป็นเชื้อเพลิงทดแทนในกระบวนการผลิตปูนซีเมนต์ จากผลการศึกษาจะเห็นว่าอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ของไทยมีศักยภาพในการช่วยแก้ไขปัญหาขยะพลาสติกที่ไม่สามารถรีไซเคิลได้ ซึ่งเป็นส่วนสำคัญของการรั่วไหลของขยะลงสู่มหาสมุทร


#เทคโนโลยี #วิทยาศาสตร์

อ้างอิง
https://www.sintef.no/en
https://european-digital-innovation-hubs.ec.europa.eu/edih-catalogue/sintef
https://www.greennetworkthailand.com/optoce
https://www.siamcitycement.com/thailand/inseeecocycle/th/media/detail/insee-ecocycle-collaborates-with-sintef-to-propose-solutions-for-reducing-ocean-plastic-pollution

ติดตามช่องทางอื่น ๆ ได้ที่
💚TikTok : tiktok.com/
💚Instagram : instagram.com/goodaftergreen/

Good AfterGreen ขอเป็นหนึ่งกำลังสำคัญที่ช่วยผลักดันประเทศไทยสู่การเป็นสังคมแห่งความยั่งยืน ด้วยการบอกต่อกิจกรรมดี ๆ ที่ใ...
27/08/2024

Good AfterGreen ขอเป็นหนึ่งกำลังสำคัญที่ช่วยผลักดันประเทศไทยสู่การเป็นสังคมแห่งความยั่งยืน ด้วยการบอกต่อกิจกรรมดี ๆ ที่ใครรู้ตัวว่าใส่ใจอนาคตของทุกชีวิตห้ามพลาด!

ขอเชิญชวน ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของงาน
♻️ Environmental and Waste Management Expo 2024
งานแสดงสินค้าและสัมมนาด้านสิ่งแวดล้อม และการจัดการของเสีย ♻️

นำโดยเหล่าผู้ประกอบการ..ด้านสิ่งแวดล้อมแนวหน้าของเมืองไทย
ชูธีม “ร่วมขับเคลื่อนสู่โลกที่ดีกว่า Episode 2 : Future We Care” เพื่อก้าวไปสู่กรีนอินดัสทรี

📆 วันที่ 13 - 15 พฤศจิกายน 2567
🕘 เวลา 09.00-18.00 น.
📌 อาคาร 5-6 อิมแพ็ค เมืองทองธานี
ลงทะเบียนเข้าชมฟรี : https://enwastexpo.com/th/visitor-registration-web

📲 รายละเอียดเพิ่มเติม
Facebook : Enwastexpo - Environmental and Waste Management Expo
Website : https://enwastexpo.com

#การจัดการสิ่งแวดล้อมและขยะ

แผน REPowerEU ได้รับการนำเสนอโดยคณะกรรมาธิการยุโรปเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม 2022 หลังจากการรุกรานยูเครนของรัสเซีย เพื่อตอบส...
23/08/2024

แผน REPowerEU ได้รับการนำเสนอโดยคณะกรรมาธิการยุโรปเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม 2022 หลังจากการรุกรานยูเครนของรัสเซีย เพื่อตอบสนองต่อผลที่ตามมาที่เกิดขึ้นแล้วและจะเกิดขึ้นในตลาดพลังงาน

สำหรับจุดประสงค์ของ REPowerEU คือการกำหนดกลยุทธ์ที่มุ่งหมายเพื่อยุติการพึ่งพาเชื้อเพลิงฟอสซิลของรัสเซียของสหภาพยุโรป และในขณะเดียวกันก็ต่อสู้กับวิกฤตสภาพอากาศ เป้าหมายเหล่านี้จะบรรลุผลได้ด้วยการดำเนินการเสริมหลายประการ ได้แก่

💚 การประหยัดพลังงาน คณะกรรมาธิการจะเผยแพร่คำแนะนำชุดหนึ่งเกี่ยวกับวิธีที่ประชาชนและธุรกิจสามารถลดความต้องการก๊าซและน้ำมันลงได้ร้อยละ 5 (ประมาณ 13 พันล้านลูกบาศก์เมตรสำหรับก๊าซ และ 16 ล้านตันเทียบเท่าน้ำมัน)
💚 การกระจายแหล่งจ่ายและสนับสนุนพันธมิตรระหว่างประเทศของสหภาพยุโรป
💚 เร่งการปรับใช้พลังงานหมุนเวียน เพิ่มสัดส่วนของพลังงานหมุนเวียนในพลังงานที่สหภาพยุโรปบริโภคเป็น 45% ในปี 2030 โดยภายในปี 2030 เดนมาร์ก ออสเตรีย และเอสโตเนีย ตั้งเป้าหมายการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนให้ได้ 100% ขณะที่เยอรมนี โปรตุเกส และไอร์แลนด์ตั้งเป้าหมายไว้ที่ 80%
💚 ลดการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลในภาคอุตสาหกรรมและการขนส่ง
💚 ส่งเสริมการลงทุนอย่างชาญฉลาด



อ้างอิง
https://ec.europa.eu/commission/presscorner/detail/en/IP_22_3131

ติดตามช่องทางอื่น ๆ ได้ที่
💚TikTok : tiktok.com/
💚Instagram : instagram.com/goodaftergreen/

พลังงานหมุนเวียน เช่น พลังงานแสงอาทิตย์ มีบทบาทสำคัญในการเปลี่ยนผ่านสู่โลกที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและยั่งยืนยิ่งขึ้น รว...
21/08/2024

พลังงานหมุนเวียน เช่น พลังงานแสงอาทิตย์ มีบทบาทสำคัญในการเปลี่ยนผ่านสู่โลกที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและยั่งยืนยิ่งขึ้น รวมถึงในอุตสาหกรรมยานยนต์ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา “รถยนต์พลังงานแสงอาทิตย์” Solar Electric Vehicle (SEV) ได้กลายเป็นการลงทุนครั้งใหญ่ของอุตสาหกรรม เนื่องจากเป็นวิธีการนำเสนอทางเลือกที่มีประสิทธิภาพและไม่ก่อมลพิษสำหรับการเดินทางที่ยั่งยืน

ระบบปฏิบัติการและกลไกขับเคลื่อนของรถยนต์พลังงานแสงอาทิตย์นั้นคล้ายคลึงกับรถยนต์ไฟฟ้ามาก โดยพลังงานไฟฟ้ามาจากการรับรังสีดวงอาทิตย์ผ่านโซลาร์เซลล์ที่สามารถเปลี่ยนแสงอาทิตย์ให้เป็นไฟฟ้า ซึ่งจะส่งพลังงานให้กับเครื่องยนต์เพื่อขับเคลื่อนหรือเก็บไว้ในแบตเตอรี่

รถยนต์พลังงานแสงอาทิตย์ เป็นทางเลือกที่มีข้อดีมากมายในการบรรลุการเดินทางที่ยั่งยืนและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม 100% ไม่ว่าจะเป็น
💚 การปล่อยคาร์บอนเป็นศูนย์
💚 ไม่มีค่าเชื้อเพลิง
💚 รักษาทรัพยากรธรรมชาติ
💚 การขับขี่ที่สะดวกสบาย

มาดูกันว่า รถยนต์ไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ มีรุ่นใดบ้างที่กำลังผลิตออกมาจำหน่ายในตลาดโลก



อ้างอิง
https://www.repsol.com/en/energy-and-the-future/sustainable-mobility/solar-cars/index.cshtml

ติดตามช่องทางอื่น ๆ ได้ที่
💚TikTok : tiktok.com/
💚Facebook : facebook.com/goodaftergreen

ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมากลุ่มประเทศในสหภาพยุโรป (European Union; EU) ต้องรับมือกับวิกฤตการณ์ต่างๆ ความมั่นคงทางด้านพลังงา...
20/08/2024

ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมากลุ่มประเทศในสหภาพยุโรป (European Union; EU) ต้องรับมือกับวิกฤตการณ์ต่างๆ ความมั่นคงทางด้านพลังงานก็เป็นอีกหนึ่งบททดสอบ เนื่องจากรัสเซียเป็นผู้ส่งออกน้ำมันอันดับ 2 ของโลก และส่งออกก๊าซธรรมชาติ อันดับ 1 ของโลก สหภาพยุโรปต้องพึ่งพาการนำเข้าพลังงานจากรัสเซียในสัดส่วนที่สูง โดยนำเข้าก๊าซธรรมชาติสัดส่วน 40% น้ำมัน 27% และถ่านหิน 46% จากสถานการณ์รัสเซีย-ยูเครน ส่งผลให้ยุโรปต้องออกกฎหมายและมาตรการต่าง ๆ เพื่อลดการพึ่งพาพลังงานจากรัสเซีย

ประเทศเล็กๆ ที่อยู่ชายแดนรัสเซียอย่าง #เอสโตเนีย มีแผนอย่างไรที่จะทำให้บรรุลเป้าหมายการผลิตไฟฟ้าโดยใช้พลังงานหมุนเวียน 100% ให้ได้ภายในปี 2030

ข้อมูลจาก Estonia’s National Energy and Climate Plan for 2030 พบว่า เป้าหมายการใช้พลังงานไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน 100% ภายในปี 2030 มีการวางทิศของนโยบายไว้ โดยมุ่งเน้นเพิ่มปริมาณการผลิตพลังงานลม (ฟาร์มลมบนบกและนอกชายฝั่ง) และพลังงานแสงอาทิตย์ รวมถึงระบบกักเก็บพลังงานจะต้องถูกนำมาใช้

ในปัจจุบันพลังงานหมุนเวียนคิดเป็น 31% ของการบริโภคไฟฟ้าของเอสโตเนีย มีการคาดการณ์ว่าการผลิตพลังงานลมจะเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าภายในปี 2025 และเพิ่มขึ้นเป็นสามเท่าภายในปี 2027 และประเทศเอสโตเนียยังมีแผนในการสร้างฟาร์มลมนอกชายฝั่ง ซึ่งคาดว่าจะเริ่มดำเนินการได้ระหว่างปี 2030 ถึง 2033 สำหรับพลังงานแสงอาทิตย์ในปัจจุบันสามารถผลิตไฟฟ้าได้ถึง 800 เมกะวัตต์ (MW) และมีแผนที่จะเพิ่มเป็น 2 เท่าภายใน 6 ปีข้างหน้า

ปัจจัยที่ช่วยให้การเพิ่มการผลิตพลังงานไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนสามารถเป็นได้อีกอย่างคือการลดลงอย่างมากของราคาเทคโนโลยีในภาคส่วนพลังงานหมุนเวียน ราคาเทคโนโลยีการจัดเก็บพลังงานลดลง 8 เท่า ในขณะที่ต้นทุนเทคโนโลยีลมนอกชายฝั่งลดลง 3 เท่าในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา การลดต้นทุนเหล่านี้ช่วยเพิ่มความเป็นไปได้และความน่าดึงดูดใจของการลงทุนด้านพลังงานหมุนเวียนได้อย่างมาก

และสุดท้ายการสนับสนุนด้านงบประมาณจากภาครัฐ โดยเอสโตเนียได้จัดสรรเงิน 155 ล้านยูโรสำหรับการลงทุนในโครงข่ายไฟฟ้าจนถึงปี 2027 นอกจากนี้ ประเทศยังอยู่ระหว่างการจัดทำโครงข่ายไฟฟ้าให้สอดคล้องกับเครือข่ายของยุโรปภายในต้นปี 2025 เพื่อให้แน่ใจว่าการบูรณาการและการทำงานร่วมกันภายในภูมิทัศน์ด้านพลังงานของยุโรปโดยรวมจะเป็นไปอย่างราบรื่น




อ้างอิง
https://investinestonia.com/estonia-sets-its-sights-on-100-renewable-energy-by-2030
https://commission.europa.eu/system/files/2023-08/Estonia_Draft_Updated_NECP_2021-2030_en_1.pdf
https://sopitootsipargid.ee/en/avaleht
https://www.erc.or.th/th/energy-articles/2838

ติดตามช่องทางอื่น ๆ ได้ที่
💚TikTok : tiktok.com/
💚Facebook : facebook.com/goodaftergreen

‘ความยั่งยืน’ วาระสำคัญระดับโลก ที่โครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (United Nations Environment Programme:UNEP) และองค์...
16/08/2024

‘ความยั่งยืน’ วาระสำคัญระดับโลก ที่โครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (United Nations Environment Programme:UNEP) และองค์การการท่องเที่ยวโลกแห่งสหประชาชาติ (United Nations World Tourism Organization:UNWTO) ได้ให้คำจำกัดความของการ ‘ท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน’ ว่าเป็น "การท่องเที่ยวที่คำนึงถึงผลกระทบทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมในปัจจุบันและอนาคตอย่างเต็มที่ โดยตอบสนองความต้องการของผู้คน อุตสาหกรรม สิ่งแวดล้อม และชุมชน" ซึ่งเป็นสิ่งที่ทุกคนมีส่วนร่วมในการสร้างการเปลี่ยนแปลงและพาประเทศไทยเป็นหนึ่งในจุดหมายของความยั่งยืนได้

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ร่วมกับ The Cloud และเครือข่ายพันธมิตรด้านการท่องเที่ยวยั่งยืน ชวนทุกคนออกเดินทางอย่างรับผิดชอบและเปิดเป็นพื้นที่ในการพบปะแลกเปลี่ยนประสบการณ์ใหม่ร่วมกัน โดยบอกเล่าเรื่องราวความหมายและคุณค่าของการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนที่มีต่อผู้คน ชุมชน และสิ่งแวดล้อม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความตระหนักรู้และการมีส่วนร่วมให้ทุกคนเห็นความสำคัญของการอนุรักษ์ธรรมชาติและวัฒนธรรมท้องถิ่น รวมถึงสนับสนุนผู้ประกอบการที่มีความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคมอย่างจริงจัง ซึ่งจะเป็นจุดเริ่มต้นก้าวสำคัญในการสร้างการเปลี่ยนแปลงเชิงบวกต่ออุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทยต่อไปในอนาคต”

กับงาน Amazing Green Fest 2024
โดยจะมีการแบ่งพื้นที่กิจกรรมออกเป็น 6 โซน ซึ่งสะท้อนมิติต่างๆ
แห่งการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน โดยประกอบไปด้วย
💚 โซนที่ 1 : Green Tourism ข้อมูลการท่องเที่ยว สร้างแรงบันดาลใจให้การเดินทางอย่างรับผิดชอบ
💚 โซนที่ 2 : Green Business รวบรวมธุรกิจท่องเที่ยวยั่งยืนหลากหลายหมวดหมู่
💚 โซนที่ 3 : Green Learning ฟังเรื่องราวการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนผ่านเวทีเสวนากว่า 20 หัวข้อ
💚 โซนที่ 4 : Green Food ร้านอาหารทั่วไทย ตั้งแต่เมนูท้องถิ่นอร่อย ๆ ไปจนถึงร้าน fine dining
💚 โซนที่ 5 : Green Playground เวิร์กช็อปเรียนรู้เรื่องความยั่งยืนแบบง่าย ๆ สำหรับนักเดินทางตัวจิ๋ว
💚 โซนที่ 6 : The Cloud Sharing Space พื้นที่แลกเปลี่ยนเรื่องราวและไอเดียการเดินทางกับคนคอเดียวกัน

วันที่ 15 - 18 สิงหาคม 2567 เวลา 10.00 - 20.00 น.
ณ พารากอน ฮอลล์ ชั้น 5 สยามพารากอน

มาร่วมเป็นส่วนหนึ่งของเทศกาลท่องเที่ยวไทย ที่ให้ความสำคัญกับเรื่องความยั่งยืนในหลากหลายมิติ
ติดตามรายละเอียดเทศกาล Amazing Green Fest 2024 ได้ที่ Facebook : Amazing Green Fest



อ้างอิง
thai.tourismthailand.org/Articles/amazing-green-fest

ติดตามช่องทางอื่น ๆ ได้ที่
💚TikTok : tiktok.com/
💚Instagram : instagram.com/goodaftergreen

“พลังงานไฮโดรเจน” (Hydrogen, H2) เกิดจากการแยกโมเลกุลของน้ำออกเป็นไฮโดรเจน และ ออกซิเจนโดยเชื้อเพลิงที่นำมาใช้ในกระบวนกา...
15/08/2024

“พลังงานไฮโดรเจน” (Hydrogen, H2) เกิดจากการแยกโมเลกุลของน้ำออกเป็นไฮโดรเจน และ ออกซิเจนโดยเชื้อเพลิงที่นำมาใช้ในกระบวนการผลิตพลังงานไฮโดรเจนในปัจจุบันมาจาก 3 แหล่งหลัก คือ 1.จากเชื้อเพลิงฟอสซิล 2. จากแหล่งพลังงานหมุนเวียน 3. จากพลังงานนิวเคลียร์

อย่างไรก็ดี การพัฒนาพลังงานไฮโดรเจนที่ผ่านมายังคงมีข้อจำกัดหลัก ๆ อยู่ 3 ประการ นั่นคือ 1. ไฮโดรเจนเป็นสิ่งที่จัดเก็บและขนส่งยาก 2. การผลิตไฮโดรเจนด้วยเชื้อเพลิงสะอาด ใช้ต้นทุนสูง 3. ต้องใช้เทคโนโลยีขั้นสูงในการนำไปประยุกต์ใช้กับงานที่ใช้พลังงานดั้งเดิม

ล่าสุด วิศวกรมหาวิทยาลัย Massachusetts Institute of Technology (MIT) ได้พัฒนาวิธีการผลิตเชื้อเพลิงไฮโดรเจนที่รวดเร็วและยั่งยืนโดยใช้กระป๋องอลูมิเนียม น้ำทะเล และกากกาแฟ โดยค้นพบว่าเมื่ออะลูมิเนียมบริสุทธิ์จากกระป๋องโซดาสัมผัสและผสมกับน้ำทะเล สารละลายจะมีฟองขึ้นเกิดเป็นไฮโดรเจนตามธรรมชาติ ซึ่งเป็นก๊าซที่สามารถนำไปใช้เป็นพลังงานให้กับเครื่องยนต์หรือเซลล์เชื้อเพลิงได้โดยไม่ก่อให้เกิดการปล่อยคาร์บอน ยิ่งไปกว่านั้น ปฏิกิริยานี้สามารถเร่งให้ไฮโดรเจนก่อตัวเร็วขึ้นได้ โดยการเติมสารกระตุ้น นั่นคือ “คาเฟอีน” จากกากกาแฟ ทีมวิจัยได้ค้นพบว่าอิมิดาโซลซึ่งเป็นส่วนประกอบสำคัญของคาเฟอีนมีโมเลกุลที่สามารถทะลุผ่านอะลูมิเนียมได้อย่างดี จนสามารถกระตุ้นปฏิกิริยากับน้ำทะเลเพื่อสร้างไฮโดรเจน ในปริมาณที่เท่ากันได้ภายใน 5 นาที จากเดิม 2 ชั่วโมง โดยไม่ใช้สารกระตุ้นเพิ่มเติม

สิ่งที่น่าสนใจคือ นักวิจัยกำลังพัฒนาเครื่องปฏิกรณ์ขนาดเล็กที่สามารถผลิตเชื้อเพลิงไฮโดรเจนบนเรือเดินทะเล เพื่อให้ต่อจากนี้เรือจะขนเพียงแค่เม็ดอะลูมิเนียม (รีไซเคิลจากกระป๋องโซดาเก่าและผลิตภัณฑ์อะลูมิเนียมอื่น ๆ) และกากกาแฟเพียงเล็กน้อยพร้อมกับน้ำทะเล ผสมผ่านเครื่องปฏิกรณ์ ผลิตเป็นเชื้อเพลิงขับเคลื่อนหรือสร้างกระแสไฟฟ้าได้มากตามต้องการ

ขั้นตอนต่อไปคือการคิดหาวิธีผลิตก๊าซไฮโดรเจนที่มีประสิทธิภาพและยั่งยืน เพื่อใช้เชื้อเพลิงนี้กับรถบรรทุก รถไฟ และอาจรวมถึงเครื่องบิน ให้พลังงานแก่เครื่องยนต์และเซลล์เชื้อเพลิงได้โดยไม่ก่อให้เกิดการปล่อยมลพิษที่ทำให้โลกร้อน ติดตามกันต่อไปว่านวัตกรรมนี้จะพัฒนาก้าวหน้าและกลายเป็นวิถีปฏิบัติจริงได้เมื่อใด

#พลังงานสะอาด #นวัตกรรมเพื่ออนาคต #พลังงานไฮโดรเจน

อ้างอิง
news.mit.edu/2024/recipe-for-zero-emissions-fuel-with-cans-seawater-caffeine-0725
https://interestingengineering.com/energy/mit-hydrogen-fuel-soda-seawater

ติดตามช่องทางอื่น ๆ ได้ที่
💚TikTok : tiktok.com/
💚Instagram : instagram.com/goodaftergreen

หนึ่งในเทรนด์ที่น่าสนใจขณะนี้ ที่น่าจะสร้างแรงบันดาลใจให้กับวงการพลังงานสะอาดของประเทศไทย คือ เทรนด์การติดแผงโซลาร์เซลล์...
13/08/2024

หนึ่งในเทรนด์ที่น่าสนใจขณะนี้ ที่น่าจะสร้างแรงบันดาลใจให้กับวงการพลังงานสะอาดของประเทศไทย คือ เทรนด์การติดแผงโซลาร์เซลล์บนระเบียงของชาวเยอรมัน

ใช่แล้ว! โซลาร์เซลล์สำหรับครัวเรือนในวันนี้ ไม่จำเป็นที่จะต้องติดบนหลังคาบ้านเสมอไป

สิ่งนี้สอดคล้องกับความเป็นจริงที่ว่า ไม่ใช่ทุกคนที่จะมีที่อยู่อาศัยในรูปแบบบ้าน หรือมีหลังคาขนาดใหญ่ ที่จะพร้อมรองรับแผงโซลาร์เซลล์บนหลังคา ในขณะที่น่าจะมีคนในสังคม ที่อยากเป็นส่วนหนึ่งของการเปลี่ยนผ่านสู่วิถีแห่งพลังงานหมุนเวียนอยู่ไม่น้อย

ประเทศเยอรมนีนั้น ถือเป็นประเทศแรก ๆ ในยุโรป ที่ลงทุนในนวัตกรรมการผลิตพลังงานไฟฟ้าจากโซลาร์เซลล์หรือแหล่งพลังงานจากแสงอาทิตย์ โดยในปัจจุบันยังครองตำแหน่งแชมป์ผู้ผลิตพลังงานไฟฟ้าจากโซลาร์เซลล์สูงที่สุดในยุโรปอีกด้วย

เมื่อเริ่มก่อน จึงไม่น่าแปลกใจ ที่วัฒนธรรมการใช้โซลาร์เซลล์ในประเทศจะแพร่หลายและแข็งแกร่งมาก ทั้งสำหรับภาคโครงสร้างพื้นฐาน ภาคเอกชน ไปจนถึงภาคครัวเรือนของประเทศ ไม่ว่าจะเป็น ติดบนทางด่วน รางรถไฟ ที่จอดรถ หลังคารถ สุสาน และที่กำลังบูมคือ บริเวณระเบียงอาคารที่พักอาศัย

โซลาร์เซลล์สำหรับระเบียงบ้าน นั้นมีขนาดแผงเล็กกว่า และผลิตกระแสไฟฟ้าได้ต่ำกว่าโซลาร์เซลล์แบบติดหลังคา (ราว ๆ 10% ของแผงบนหลังคาเท่านั้น) แต่นวัตกรรมนี้ได้สร้างการเข้าถึงของประชาชนผู้สนับสนุนพลังงานหมุนเวียนในวงกว้างมากขึ้น ด้วยขนาดและต้นทุนที่ตอบโจทย์ ทำให้เรื่องของโซลาร์เซลล์เป็นสิ่งที่ผู้บริโภคจับต้องได้มากขึ้นเรื่อย ๆ

นอกจากนี้ สิ่งที่สอดรับนวัตกรรมทางเลือกที่ตอบโจทย์ผู้บริโภคมากขึ้นในเยอรมนี คือนโยบายสนับสนุนการติดตั้งโซลาร์เซลล์จากภาครัฐที่มีมาแต่ไหนแต่ไร เช่น มาตรการยกเว้นภาษี ประชาชนชาวเยอรมันจึงตัดสินใจลงทุนติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ได้ไม่ยาก

#พลังงานสะอาด

อ้างอิง
https://www.euronews.com/green/2024/07/23/solar-balconies-are-booming-in-germany-heres-what-you-need-to-know-about-the-popular-home-

ติดตามช่องทางอื่น ๆ ได้ที่
💚TikTok : tiktok.com/
💚Instagram : instagram.com/goodaftergreen

ทำให้แม่น้ำแซนสะอาดจนว่ายได้ ความท้าทายของ Olympics Paris 2024วนกลับมาแล้วกับมหกรรมกีฬาระดับโลก Olympic Games 2024 ที่จั...
02/08/2024

ทำให้แม่น้ำแซนสะอาดจนว่ายได้ ความท้าทายของ Olympics Paris 2024

วนกลับมาแล้วกับมหกรรมกีฬาระดับโลก Olympic Games 2024 ที่จัดขึ้นที่เมือง #ปารีส ประเทศ #ฝรั่งเศส ปีนี้เจ้าภาพจัดใหญ่จัดเต็มด้วยการเปลี่ยนจากการจัดพิธีเปิดในสเตเดียมมาเป็นแบบกลางแจ้งและกลางแม่น้ำแซน (Seine River) นอกจากพิธีเปิดที่เล่นใหญ่กลางแม่น้ำแล้ว อีกงานสำคัญ คือ การแข่งขันไตรกีฬา ว่ายน้ำมาราธอน และพาราไตรกีฬา ที่จะให้นักกีฬาลงไปว่ายน้ำในแม่น้ำแซนแห่งนี้

เมื่อมีการประกาศออกมาว่าทางการจะให้ใช้แม่น้ำแซนในการแข่งขันกีฬาก็เกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์ตามมา รวมถึงความกังวลเกี่ยวกับความสะอาด คุณภาพน้ำในแม่น้ำ และผลกระทบต่อสุขภาพของนักกีฬาผู้เข้าร่วมการแข่ง โพสต์นี้เราจะพาไปดูว่าเมืองปารีสวางแผนปรับปรุงคุณภาพในแม่น้ำแซนอย่างไร และสุดท้ายแล้วน้ำจะสะอาดพอให้คนลงไปว่ายได้จริงหรือการแข่งขันจะต้องย้ายไปจัดที่อื่นกันนะ

การว่ายน้ำในแม่น้ำแซนเป็นเรื่องผิดกฎหมายตั้งแต่ปี 1923 เนื่องจากมลพิษและของเสียจากอุตสาหกรรมทำให้แม่น้ำแซนปนเปื้อน เช่นเดียวกับเมืองเก่าหลาย ๆ แห่งทั่วโลก ปารีสมีระบบท่อระบายน้ำรวม ซึ่งหมายความว่าน้ำเสียและน้ำฝนจะไหลผ่านท่อเดียวกัน โดยท่อเหล่านี้สามารถระบายน้ำได้เต็มความจุเมื่อฝนตกหนักเป็นเวลานาน ในท้ายที่สุดน้ำทั้งหมดนี้จะไหลลงสู่แม่น้ำแซนแทนที่จะเป็นโรงบำบัดน้ำเสีย

จากพาดหัวข่าวหลายสำนักบอกว่า รัฐบาลฝรั่งเศสทุ่มงบประมาณถึง 1.4 พันล้านยูโรเพื่อทำให้น้ำในแม่น้ำมีคุณภาพพอที่จะให้คนลงไปว่ายได้ มีการก่อสร้าง Bassin d'Austerlitz โรงบำบัดน้ำเสียแห่งใหม่ที่ตะวันออกเฉียงใต้ของเมืองใกล้กับ Austerlitz Train Station โดยถังเก็บน้ำนี้มีความจุ 50 ล้านลิตรหรือเทียบเท่ากับสระว่ายน้ำขนาดโอลิมปิกจำนวน 20 สระ เพื่อรองรับน้ำฝนให้มากขึ้นป้องกันไม่ให้ระบบระบายน้ำเสียของปารีสล้นจนเกินไป รวมถึงน้ำเสียที่มีการปนเปื้อนจะได้ไม่ไหลลงสู่แม่น้ำ

สำหรับน้ำเสียที่รวบรวมได้จะถูกบำบัดในโรงบำบัดน้ำเสียก่อนจะปล่อยลงสู่แม่น้ำแซนอีกครั้ง นอกจากนี้ยังสามารถเพิ่มน้ำสำรองลงในแม่น้ำได้ในช่วงฤดูแล้งของฤดูร้อนเมื่อระดับน้ำของแม่น้ำแซนต่ำ แต่การจะสร้างถังคอนกรีตขนาดใหญ่เพื่อรองรับน้ำปริมาณมหาศาลขนาดนี้ก็มีความท้าทายเช่นกัน เพราะสภาพดินในบริเวณที่ทำการก่อสร้างนั้นประกอบไปด้วยดินเหนียวเป็นส่วนใหญ่ การดูดซับน้ำในระยะยาวอาจทำให้เกิดการบวมตัวและปริมาณดินใต้ตัวอาคารที่เพิ่มขึ้นอาจดันให้ฐานของโครงสร้างเกิดความเสียหายได้

เพื่อป้องกันความเสียหายต่อฐานรากจึงมีการใช้เทคโนโลยี Pecavoid® มาวางเป็นชั้นระหว่างคอนกรีตกับพื้นดิน โดยเมื่อชั้นดินดูดซับน้ำจนเกิดการขยายตัวและดันมายังฐานของโครงสร้าง เมื่อถึงแรงดันสูงสุดที่กำหนดไว้ พื้นในชั้นของ Pecavoid® จะยุบตัวและเกิดช่องว่าง ทำให้ไม่เกิดการเคลื่อนตัวของชั้นคอนกรีต นอกจากความท้าทายด้านโครงสร้างของถังเก็บน้ำแล้ว ยังมีการสร้างอุโมงค์ยาว 600 เมตรที่มีเส้นผ่านศูนย์กลาง 2.50 เมตร ซึ่งเชื่อมระหว่างถังเก็บน้ำกับแม่น้ำ

ทีนี้จะรู้ได้อย่างไรว่าน้ำสะอาดพอสำหรับการแข่งขัน ตาม World Triathlon’s water safety guidelines กำหนดไว้ว่าคณะผู้จัดการแข่งขันต้องทำการตรวจวิเคราะห์คุณภาพน้ำที่จะใช้สำหรับการว่ายน้ำจาก 3 บริเวณที่แตกต่างกัน โดยผลที่แย่ที่สุดจะเป็นตัวตัดสินว่าสามารถจัดการแข่งขันว่ายน้ำได้หรือไม่ ช่วงเวลาที่ทำการตรวจวิเคราะห์คุณภาพน้ำได้แก่ 2 เดือนก่อนการแข่งขัน, 7 วันก่อนการแข่งขันและ วันแรกของการแข่งขัน

ค่าพารามิเตอร์และเกณฑ์ที่ใช้บ่งบอกคุณภาพน้ำคือ ค่า pH อยู่ระหว่าง 6 – 9, แบคทีเรียกลุ่ม Enterococci ต้องไม่เกิน 200 ufc/100ml, แบคทีเรีย Escherichia coli ต้องไม่เกิน 500 ufc/100ml และหากมีการสังเกตพบสาหร่ายสีน้ำเงินแกมเขียว (Blue-Green Algae) ต้องมีการตรวจวัดปริมาณ โดยต้องมีค่าไม่เกิน 100,000 cells/ml

ล่าสุด การแข่งขันไตรกีฬาต้องเลื่อนการแข่งขันจากเดิมที่จัดวันที่ 30 กรกฎาคม เนื่องจากฝนที่ตกลงมาส่งผลต่อให้ปริมาณของแบคทีเรียเพิ่มจำนวนเกินกว่าค่าที่กำหนดซึ่งอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพของนักกีฬา การแข่งขันได้เลื่อนมาจัดวันที่ 31 กรกฎาคม หลังจากที่ระดับแบคทีเรียลดลงอยู่ในระดับที่ World Triathlon กำหนด โดยการแข่งขันเริ่มจากไตรกีฬาหญิงและไตรกีฬาชาย ตามลำดับ

จะเห็นว่า โปรเจกต์ทำความสะอาดแม่น้ำแซนให้พร้อมสำหรับโอลิมปิกต้องลุ้นจนวันสุดท้ายจริง ๆ แต่ความพยายามนี้ก็ไม่สูญเปล่าเพราะหลังจากนี้ทางเมืองปารีสก็มีแนวคิดในเรื่องการเปิดให้ประชาชนใช้แม่น้ำในการทำกิจกรรมต่าง ๆ และโปรเจกต์นี้ก็อาจจะเป็นต้นแบบให้หลาย ๆ เมืองในโลกที่มีปัญหามลพิษทางน้ำเนื่องจากการใช้ระบบท่อน้ำรวมนำไปต่อยอดเพื่อทำความสะอาดแม่น้ำต่อไปก็ได้




อ้างอิง
https://olympics.com/en/paris-2024
https://missioncapitale.paris.fr/reportage-n80/bassin-dausterlitz
https://www.maxfrank.com/intl-en/projects/entries/bassin-dAusterlitz-paris-FR.php
https://www.triathlon.org/uploads/docs/World_Triathlon_Water_Quality_Statement+Matrix1.pdf

ติดตามช่องทางอื่น ๆ ได้ที่
💚TikTok : tiktok.com/
💚Instagram : instagram.com/goodaftergreen

เหตุผลที่ทำให้ “สกอตแลนด์” เป็นดินแดนแห่งพลังงานทดแทน เพราะมีการใช้พลังงานหมุนเวียนจากธรรมชาติมาผลิตกระแสไฟฟ้าเป็นหลัก เ...
30/07/2024

เหตุผลที่ทำให้ “สกอตแลนด์” เป็นดินแดนแห่งพลังงานทดแทน เพราะมีการใช้พลังงานหมุนเวียนจากธรรมชาติมาผลิตกระแสไฟฟ้าเป็นหลัก เช่น พลังงานลม (Wind Power), พลังงานคลื่นสมุทร ( Wave Power), พลังงานจากกระแสน้ำขึ้น-น้ำลง (Tidal Power) พร้อมวางแผนนำเอาพลังงานทางเลือกอื่น ๆ มาใช้ทดแทนให้เกิดความยั่งยืน ตามเป้าหมายภายในปี 2030 ที่จะทำให้ 50% ของการบริโภคพลังงานทั้งหมดในสกอตแลนด์เกิดจากแหล่งพลังงานหมุนเวียนและลดการปล่อยคาร์บอนในระบบพลังงานให้เป็นศูนย์ภายในปี 2050

แต่การหาแหล่งพลังงานทางเลือกใหม่ เพื่อลดใช้พลังงานเชื้อเพลิงจากฟอสซิลเป็นความท้าทายของผู้พัฒนาเทคโนโลยีในยุคปัจจุบัน อีกทั้ง บ้านเรือนส่วนใหญ่ในสกอตแลนด์ยังคงใช้ฮีตเตอร์ทำความร้อนจากหม้อไอน้ำในหน้าหนาว นักวิจัยจาก University of Edinburgh จึงได้พัฒนาระบบทำความร้อนภายในบ้านที่ปล่อยคาร์บอนต่ำ ผ่านการใช้งานเทคโนโลยีที่ชื่อว่า ใช้พลังงานจากน้ำทะเลและแหล่งน้ำอื่น ๆ ทดแทนการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล เพื่อทำความร้อนสำหรับใช้ในอาคารและครัวเรือน

แน่นอนว่า หัวใจหลักในการทำความร้อนของ ฮีตเตอร์ ก็คือ ระบบปั๊มความร้อน (Heat Pumps) ซึ่งทำหน้าที่ถ่ายเทพลังงานความร้อนจากตัวกลางหนึ่งไปยังอีกตัวกลางหนึ่ง ตัวอย่างที่พบเห็นในชีวิตประจำวันอย่าง ตู้เย็น ที่มีการนำความร้อนจากอากาศภายในตู้เย็นออกมาสู่ด้านนอก ทำให้ด้านในของตู้เย็นมีอุณหภูมิต่ำกว่าภายนอกจนสามารถเก็บรักษาอาหารไว้ได้ แต่ “อากาศ” เป็นตัวกลางที่รักษาพลังงานความร้อนได้ไม่ค่อยดีนัก เมื่อเปรียบเทียบกับ “น้ำ” ตัวกลางที่สามารถสะสมพลังงานความร้อนได้ดีกว่าอากาศ

บริษัท SeaWarm สตาร์ทอัปจาก University of Edinburgh ได้นำเสนอแหล่งพลังงานที่น่าสนใจ เก็บพลังงานความร้อนได้มากถึง 3,400 เท่าของปริมาตรของอากาศที่เท่ากัน ใช้งานปั๊มความร้อนจากแหล่งน้ำ (Water Source Heat Pumps; WSHPs) เก็บความร้อนจากแหล่งน้ำ เช่น มหาสมุทร แม่น้ำ ทะเลสาบ หรือแหล่งน้ำใต้ดินและเหมืองแร่ โดยปั๊มนี้สามารถตั้งได้ไกลสุดถึง 500 เมตร (1,640 ฟุต) จากแหล่งน้ำ

รวมถึงแลกเปลี่ยนความร้อน ด้วยเทคโนโลยี HotTwist ที่ออกแบบมาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการดึงความร้อนจากน้ำให้ได้มากที่สุด ภายในถังน้ำประกอบไปด้วยท่อรูปเกลียวที่มี Glycol (ของเหลวอินทรีย์ประเภทหนึ่ง นิยมใช้เป็นสารหล่อเย็นและสารป้องกันการแข็งตัวของน้ำ) อยู่ด้านใน ความร้อนจากน้ำจะถูกดูดซับโดย Glycol จากนั้นจะถูกอัดเข้าไปในปั๊มเพื่อเพิ่มอุณหภูมิให้สูงขึ้น เมื่อ Glycol มีอุณหภูมิสูงขึ้นแล้วจะสามารถนำไปใช้ในการทำให้ตัวอาคารอบอุ่นขึ้นได้โดยใช้เครื่องทำความร้อนหรือระบบทำความร้อนใต้พื้น หลังจากที่ Glycol เย็นลงแล้วจะถูกส่งกลับเข้าสู่เครื่องแลกเปลี่ยนความร้อนอีกครั้งเพื่อเริ่มต้นให้ความร้อนใหม่อีกครั้ง

การทดลองประสิทธิภาพของระบบทำความร้อนของ SeaWarm ทำการทดลองในพื้นที่จริง ได้แก่ พิพิธภัณฑ์ เรือนกระจก และที่ดินจัดสรรในค่ายทหารเรือเก่า โดยใช้ปั๊มความร้อน 13 kW และ เครื่องทำความร้อน 12 ตัว เพื่อทำความร้อนให้ตึกขนาด 140 ตร.ม. ให้ได้อุณหภูมิ 25 °C ระบบทำความร้อนนี้สามารถผลิตพลังงานความร้อนได้ 4 เท่าของพลังงานไฟฟ้าที่ใช้ในการบีบอัด Glycol และผลการทดลองในพิพิธภัณฑ์ พบว่าสามารถลดค่าไฟฟ้าได้ถึง 75%

ข้อดีของระบบทำความร้อนนี้ คือ สามารถรักษาอุณหภูมิให้คงที่ได้ตลอดทั้งปีแม้มีการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศในแต่ละฤดู เมื่อเปรียบเทียบกับระบบที่ใช้อากาศหรือความร้อนใต้ดิน ผู้พัฒนากล่าวว่า การเปลี่ยนจากการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลมาใช้พลังงานน้ำเป็นการอนุรักษ์ทรัพยากรที่ยั่งยืน

ถึงแม้ว่าเทคโนโลยีนี้จะไม่สามารถใช้งานได้ทุกพื้นที่เนื่องจากต้องการแหล่งน้ำในการสร้างพลังงาน แต่จะเห็นว่าเป็นเทคโนโลยีที่น่าสนใจในการหาแหล่งของพลังงานใหม่เพื่อทดแทนพลังงานเชื้อเพลิงจากฟอสซิลที่ปลดปล่อยคาร์บอนออกสู่สิ่งแวดล้อมในปริมาณมาก

#สกอตแลนด์ #พลังงานทดแทน

อ้างอิง:
https://www.sea-warm.co.uk
https://newatlas.com/energy/seawarm-thermal-energy-water-heat
https://www.ribaj.com/products/water-source-heat-pumps-on-trial-in-scotland-seawarm

ติดตามช่องทางอื่น ๆ ได้ที่
💚TikTok : tiktok.com/
💚Instagram : instagram.com/goodaftergreen

กีฬาแห่งมวลมนุษย์ชาติมาถึงอีกครั้ง ปารีสโอลิมปิก 2024 จัดขึ้นระหว่างวันที่ 26 กรกฏาคม - 11 สิงหาคม 2024 ผู้จัดงานให้ความ...
25/07/2024

กีฬาแห่งมวลมนุษย์ชาติมาถึงอีกครั้ง ปารีสโอลิมปิก 2024 จัดขึ้นระหว่างวันที่ 26 กรกฏาคม - 11 สิงหาคม 2024

ผู้จัดงานให้ความสำคัญเรื่องความยั่งยืน เช่น QR code ใช้เป็นบัตรผ่านแทนตั๋วกระดาษ อาหารที่มาจากพืชเพื่อเป็นทางเลือก การใช้สถานที่แข่งขันที่มีอยู่แล้วมากกว่าที่จะสร้างขึ้นมาใหม่ สถานที่จัดการแข่งขันยังใช้ระบบโซลาร์เซลล์ต่อกับระบบโครงข่ายไฟฟ้าและใช้พลังงานหมุนเวียน

Forbes รายงานว่านวัตกรรมสีเขียวที่โดดเด่นสำหรับโอลิมปิก 2024 มีทั้งหมด 5 อย่างด้วยกัน ได้แก่

1. เหรียญรางวัล
เหรียญรางวัลบรรจุเหล็กแท้จากหอไอเฟลที่สร้างเมื่อปี 1889 เมื่อมีการปรับปรุงหอไอเฟลเหล็กจากหอนำเอาออกมาเก็บไว้เพื่อทำเป็นเหรียญแห่งชัยชนะและนำไปบรรจุไว้ตรงกลางของเหรียญเพื่อเน้นย้ำเรื่องเศรษฐกิจหมุนเวียน

สำหรับทองและเงินของเหรียญรางวัลมาจากวัสดุรีไซเคิลที่ได้รับการรับรองจากสถาบันอัญมณี ส่วนเหรียญทองแดงมาจากคอปเปอร์ ดีบุก และสังกะสีรีไซเคิลจากโรงงานผลิตหรียญกษาปณ์แห่งกรุงปารีส

2. ห้องพักนักกีฬา
หมู่บ้านนักกีฬาเป็นอีกหนึ่งสัญลักษณ์ของโอลิมปิกจึงเป็นสถานที่ที่สามารถแสดงการรักษ์สิ่งแวดล้อมและการสำนึกในสังคมได้

เฟอร์นิเจอร์ในห้องพักนักกีฬาต่างใช้วัสดุที่รักษ์สิ่งแวดล้อม เช่น เตียงทำจากกระดาษแข็ง โต๊ะกาแฟทำจากไม้ขนไก่ เบาะนั่งทำจากผ้าร่มชูชีพรีไซเคิล เก้าอี้ทำจากฝาขวดรีไซเคิล และโซฟาทำจากเหล็กกั้น

สำหรับหมู่บ้านนักกีฬาเมื่อการแข่งขันเสร็จแล้วจะเป็นที่อยู่อาศัย 2,500 ยูนิต หอพักนักเรียน โรงแรม สวนสาธารณะ สำนักงาน และร้านค้าต่อไปในอนาคต

3. คืนชีวิตใหม่ให้กับเครื่องใช้
ข้าวของเครื่องใช้สำหรับนักกีฬามีทั้งหมดประมาณ 620,000 ชิ้น สิ่งของเหล่านี้รวมทั้งไม้แขวนเสื้อ 180,000 อัน เตียงและตู้ข้างเตียง 160,000 หลัง ที่แขวนกระดาษทิชชู 6,000 ชิ้น ไมโครเวฟ 14,000 เครื่อง แปรงขัดห้องน้ำ 7,000 อัน และร่มกันแดด 2,200 คัน

เมื่อนักกีฬาใช้งานสิ่งของต่าง ๆ ในโอลิมปิกเสร็จแล้วจะนำไปจำหน่ายซ้ำ บริจาค และซ่อมแซมใหม่ เช่น ฟูกที่นอนจำนวน 16,000 หลังและหมอนจะนำไปบริจาคให้กับผู้ด้อยโอกาสรวมทั้งโรงเรียนบัลเล่ต์ปารีสโอเปร่า

4. ทุ่นลอยน้ำรักษ์หญ้าทะเล
การแข่งเรือโอลิมปิก 2024 จัดขึ้นที่อุทยานแห่งชาติกาลองก์ เมืองมาร์เซย สถานที่แห่งนี้ยังเป็นแหล่งอนุรักษ์หญ้าทะเลชื่อว่า Posidonia oceanica ซึ่งเปรียบเสมือนปอดแห่งเมดิเตอร์เรเนียน หญ้าทะเลพื้นที่ 2.5 เอเคอร์สามารถซึมซับคาร์บอนไดออกไซด์ได้เท่ากับพื้นที่ป่าดิบชื้น 37 เอเคอร์

เมื่อจะต้องมีการแข่งขันเรือในบริเวณนี้ ผู้จัดงานจึงใช้ทุ่นลอยน้ำภูมิศาสตร์แทนทุนแบบดั้งเดิมที่จะต้องใช้สมอปักลงไปในผืนทะเลและเป็นอันตรายต่อหญ้าทะเลได้ ทุนลอยน้ำใหม่มีลักษณะคล้ายโดรนซึ่งได้ผ่านทดสอบในการแข่งขันเรือมาแล้ว

5. เรือไฟฟ้า
พิธีเปิดโอลิมปิก 2024 ไม่ได้จัดที่สเตเดียมแต่จัดขึ้นที่แม่น้ำแซนแทนเพื่อเป็นประวัติศาสตร์ใหม่ของพิธีเปิด ในระหว่างพิธีเปิดจะมีเรือ 30 ลำที่ใช้ใบพายไฟฟ้า ท่าเรือ Hapopa Port สนับสนุนการชาร์ตไฟฟ้าให้กับท่าเรื่อง Parison Port ทั้งหมด 78 จุด การใช้เส้นทางเรือจะแสดงให้เห็นว่าการสัญจรทางน้ำเป็นอีกหนึ่งวิธีที่สร้างเมืองยั่งยืนได้ในอนาคต

ปารีสโอลิมปิกไม่ได้แสดงถึงกีฬาของมวลมนุษย์ชาติเท่านั้น แต่แสดงให้เห็นว่าสิ่งแวดล้อมเป็นเรื่องสำคัญที่จะทำให้มนุษยชาติคงอยู่ด้วยเช่นกัน

#โอลิมปิก2567 #ประเทศฝรั่งเศส

ข้อมูลอ้างอิง
www.forbes.com/sites/clairepoolesp/2024/07/19/five-innovative-ways-the-paris-2024-olympics-are-going-green

ติดตามช่องทางอื่น ๆ ได้ที่
💚TikTok : tiktok.com/
💚Instagram : instagram.com/goodaftergreen

ที่อยู่

Bangkok
10310

เวลาทำการ

จันทร์ 09:00 - 17:00
อังคาร 09:00 - 17:00
พุธ 09:00 - 17:00
พฤหัสบดี 09:00 - 17:00
ศุกร์ 09:00 - 17:00

เว็บไซต์

แจ้งเตือน

รับทราบข่าวสารและโปรโมชั่นของ Good AfterGreenผ่านทางอีเมล์ของคุณ เราจะเก็บข้อมูลของคุณเป็นความลับ คุณสามารถกดยกเลิกการติดตามได้ตลอดเวลา

ติดต่อ ธุรกิจของเรา

ส่งข้อความของคุณถึง Good AfterGreen:

วิดีโอทั้งหมด

แชร์

ตำแหน่งใกล้เคียง บริษัท สื่อ


เว็บไซต์ข่าวและสื่อ อื่นๆใน Bangkok

แสดงผลทั้งหมด