บ้านกล้วยออนไลน์

บ้านกล้วยออนไลน์ พื้นที่แบ่งปันความรู้ ความคิด จินตนาการ สื่อฝึกปฏิบัติของนักศึกษาคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ

บ้านกล้วยออนไลน์ พื้นที่แบ่งปันความรู้ ความคิด จินตนาการ สร้างสรรค์สังคม กว้างไกลและใกล้ชิดชาวมหาวิทยาลัยกรุงเทพทุกคน สื่อฝึกปฏิบัติของนักศึกษาคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ ที่เปลี่ยนโฉมหน้าจากสื่อสิ่งพิมพ์สู่สื่อออนไลน์พร้อมโลดแล่นบนโลกอินเทอร์เน็ต และชักชวนน้องพี่ที่รักชาวมหาวิทยาลัยกรุงเทพ มาร่วมแบ่งปันเรื่องราวที่สร้างสรรค์ มุ่งให้ความรู้ ความบันเทิง เพื่อสร้างความเปลี่ยนแปลงในเชิงบวกให้กับสังคม

We are back! กลับมาเจอกับบ้านกล้วยออนไลน์ อีกไม่นานเกินรอครับพื้นที่แบ่งปันความรู้ ความคิด จินตนาการ สร้างสรรค์สังคม สื่...
02/01/2024

We are back! กลับมาเจอกับบ้านกล้วยออนไลน์ อีกไม่นานเกินรอครับ
พื้นที่แบ่งปันความรู้ ความคิด จินตนาการ สร้างสรรค์สังคม สื่อฝึกปฏิบัติของนักศึกษา คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
ติดตามบ้านกล้วยออนไลน์ ทุกช่องทางได้ที่ https://linktr.ee/baankluayonline แล้วพบกันครับ
#บ้านกล้วยออนไลน์

19/11/2022

Flash Mob ของชาวนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ Open House BU 2022
แสดงพลังชาวนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ กับ Flash Mob ในตำนานที่สืบทอดจากรุ่นสู่รุ่น พร้อมเพลงที่สื่อสารความเป็น Nitade BU เพราะทุกสิ่งเป็นไปได้ที่นิเทศ ม.กรุงเทพ
Open House BU 2022 เทศกาลเปิดบ้านสุดสร้างสรรค์ ยกทัพโชว์ความคิดสร้างสรรค์และความสนุก จัดเต็มตั้งแต่กลางวันถึงกลางคืน Open House BU 2022, Creative Open Night เวลา 9.00-21.00 น. วันที่ 4-6 พฤศจิกายน 2565 มหาวิทยาลัยกรุงเทพ Main Campus

Digital JR Open House BU 2022 สิ่งเล็ก ๆ ที่เรียกว่ารัก งานเปิดบ้านชาววารสารศาสตร์ดิจิทัล มหาวิทยาลัยกรุงเทพอบอุ่นไปกับก...
08/11/2022

Digital JR Open House BU 2022 สิ่งเล็ก ๆ ที่เรียกว่ารัก งานเปิดบ้านชาววารสารศาสตร์ดิจิทัล มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
อบอุ่นไปกับกิจกรรมต้อนรับน้องมัธยมที่มาเยือนบ้านหลังเล็กของสาขาวารสารศาสตร์ดิจิทัล คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ เก็บบันทึกไว้เป็นภาพประทับใจ ขอบคุณน้องทุกคนที่แวะมาหากันถึงที่เลยยย~
#คณะนิเทศศาสตร์

Digital Journalism JR Open House BU 2022 งานเปิดบ้านมหาวิทยาลัยกรุงเทพ เก็บบันทึกสาขาวารสารศาสตร์ดิจิทัล คณะนิเทศศาสตร์ ...
06/11/2022

Digital Journalism JR Open House BU 2022 งานเปิดบ้านมหาวิทยาลัยกรุงเทพ
เก็บบันทึกสาขาวารสารศาสตร์ดิจิทัล คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ เปิดบ้านต้อนรับน้องมัธยม พูดคุยกับรุ่นพี่ คณาจารย์ และร่วมกิจกรรม งานจัดระหว่างวันที่ 4-6 พ.ย.2565
ขอขอบคุณภาพ รศ.วัฒณี ภูวทิศ และดร.ญาณินี เพชรานันท์ ที่มา page สาขาวารสารศาสตร์ดิจิทัล มหาวิทยาลัยกรุงเทพ

Until we meet again, baankluayonline 🥳
15/10/2022

Until we meet again, baankluayonline 🥳

พักหลังนี้คุณอาจเริ่มรู้สึกปวดหลังตา ผิวตาแห้ง หรือแม้แต่ปวดคอเจ็บแปลบ มากพอจะดึงสติให้รู้ตัวว่าเผลอจ้องจอมาหลายชั่วโมงแ...
19/09/2022

พักหลังนี้คุณอาจเริ่มรู้สึกปวดหลังตา ผิวตาแห้ง หรือแม้แต่ปวดคอเจ็บแปลบ มากพอจะดึงสติให้รู้ตัวว่าเผลอจ้องจอมาหลายชั่วโมงแล้ว ทั้งดูซีรีส์ เล่นเกม อ่านนิยายออนไลน์
เรามักไม่รู้ตัวเลยว่าเวลาผ่านไปเร็วเสียยิ่งกว่าเร็ว แต่เพราะอะไรล่ะ ทำไมแค่สื่อธรรมดาบนจอถึงสามารถตรึงความสนใจเราให้อยู่กับตรงนั้นได้นานขนาดนี้ เราจะย่อยข้อมูลให้คุณติดตามได้ง่ายเอง
ก่อนอื่นเราต้องมาทำความรู้จักเจ้า ‘โดปามีน’ ตัวละครหลักที่เล่นบทบาทสำคัญในการ ‘ติดจอ’ ของเราเสียก่อน โดปามีนคือโมเลกุลสื่อประสาทตัวหนึ่งที่จะหลั่งออกมาทุกครั้งที่เราทำอะไรสำเร็จ เพื่อย้ำเตือนสมองว่า “ที่เราทำไป ดีนะ” มอบความสุขแก่เรา ให้เราจดจำช่วงเวลาแห่งความสำเร็จนั้นไว้ และจะได้กลับมาทำอีก และการ ‘จะได้กลับมาทำอีก’ นั่นเอง ที่เป็นจุดเริ่มต้นการ ‘ติดจอ’
แล้วเจ้าโดปามีนกับการติดสื่อเกี่ยวข้องกันอย่างไร คงต้องถามกลับว่าคุณเคย ‘รู้สึกถึงความสำเร็จ’ อะไรจากการเล่นอินเตอร์เน็ต ไถโซเชียลมีเดีย หรือดูหนังดูซีรีส์หรือเปล่า ถ้าใช่ ความรู้สึกนั้นแหละคือสมองคุณที่กำลังหลั่งโดปามีน
ทั้งตอนที่เราอิ่มเอิบหลังอ่านนิยายออนไลน์จบ ตอนที่เราเล่นเกมผ่านด่านยากหิน รวมถึงตอนที่เราดูหนังถึงฉากตัวเอกปิดฉากเหล่าวายร้ายได้จั๋งหนับ มอบความสุขและความพึงใจให้ และหากเป็นไปได้ เราก็พร้อมจะทำอีก เพื่อจะได้รู้สึกดีแบบนั้นอีก
“แต่ก็เรื่องปกติไม่ใช่เหรอ เรารู้สึกพอใจก็จริง แต่ไม่ได้ถึงขั้นเสพติดนี่” คุณอาจคิดแบบนี้ในหัวตอนอ่านย่อหน้าก่อนจบ ซึ่งถูกต้องตามนั้น ไม่ได้ถึงขั้นเสพติด แต่สุดท้ายก็กลายเป็น ‘ช่องว่าง’ ให้ผู้ออกแบบสื่อเล่นกับระบบการหลั่งโดปามีน หวังจะเรียกความสนใจจากผู้บริโภคให้จ้องจอให้ได้นานที่สุด
ยกตัวอย่างเช่นเกมมือถือแนวตลาด ที่มักให้เรียงไอเทมเป็นแถวเดียวเพื่อทำลาย หรือเกม RPG ที่ชอบมอบของรางวัลให้มหาศาลเมื่อจบเควสต์ กลไกเหล่านี้นี่เองที่เรียกโดปามีนในสมองผู้เล่นให้หลั่งออกมา เมื่อเราได้รับรางวัล ไม่ว่าในรูปแบบไอเทมหรือค่าประสบการณ์ เราก็มักรู้สึกพึงใจ และพร้อมจะทำเควสต์ต่อไปหมายคว้ารางวัลเหล่านั้นมาอีก
ซึ่งผู้พัฒนาเกมล้วนรู้ดีกว่าผู้เล่นเสมอ ฉะนั้นถ้าพวกเขาต้องการให้เราจดจ่อกับเกมไปเรื่อย ตะลุยภารกิจแบบไม่หยุดหย่อน ที่เขาต้องทำก็มีเพียงมอบเควสต์ใหม่ทุกครั้งที่คุณจบเควสต์ พร้อมล่อใจด้วยของรางวัลที่มากขึ้น ในแต่ละครั้ง และการไล่ตามกลิ่นหอมหวนที่จะกระตุ้นความรู้สึก ‘พึงพอใจ’ ของเรานี่เอง ที่ทำให้เราเสพติดสื่อในที่สุด
แต่ถึงจะเสพติดขนาดไหน สุดท้ายเราก็เริ่มเบื่อ นั่นเพราะสมองเรามีสิ่งที่เรียกว่า ‘Dopamine Receptor’ ซึ่งหน้าที่ก็ตรงตามชื่อ คอยรับโดปามีนที่ถูกหลั่งให้ไหลเวียน กระตุ้นให้ร่างกายรับรู้ถึงความพึงใจ เมื่อ Receptor เหล่านี้รับโดปามีนบ่อยมากไปในช่วงเวลาหนึ่ง สมองจะตอบสนองโดยการ ‘ปิด’ Receptor บางส่วน เพื่อเตือนร่างกายว่า “โดปามีนเยอะเกินไปแล้วนะ เพลาลงบ้าง”
ฟังดูเป็นเรื่องดี แต่กับมนุษย์ยุคดิจิทัลอย่างเรากับส่งผลตรงข้าม แทนที่เราจะวางมือถือลงแล้วไปทำอย่างอื่น เรากลับทุ่มสมาธิมากกว่าเดิม เพราะเมื่อเริ่มรู้สึกว่ารางวัลที่ได้ ‘ไม่พอ’ เราก็จะทำเต็มที่เพื่อให้ได้มาเพิ่ม จนกว่าเราจะ ‘พอใจ’
ลองเริ่มก้าวเล็ก ๆ เพื่อเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมตรงนี้ด้วยการ ‘สัญญา’ กับตัวเองไว้ระหว่างเล่นมือถือ เช่น สัญญาว่าหลังดูซีรีส์ตอนนี้จบ จะลุกไปดื่มน้ำ ยืดแขนยืดขาแล้วค่อยกลับมาดูต่อ หรือสัญญาว่าหลังเล่นเกมจบตา จะออกไปเดินเล่นคลายเส้น แล้วค่อยหยิบจอยมาหวดต่อก็ยังไม่สาย แม้จะแลดูไม่มาก แต่ถือว่าเป็นแนวคิดที่ไม่เลวที่จะผละเราให้ออกจากจอ พักสายตาและสมองให้ผ่อนคลาย
เรื่อง I พงศ์พล ชาญด้วยกิจ
#อาการติดมือถือ #บ้านกล้วยออนไลน์

ความแตกต่างของช่วงวัย (Generation) หากเรียนรู้กันและกันอย่างเข้าใจก็ไม่ใช่ปัญหาเรามาเรียนรู้เรื่องราวของคนแต่ละช่วงวัย เ...
22/08/2022

ความแตกต่างของช่วงวัย (Generation) หากเรียนรู้กันและกันอย่างเข้าใจก็ไม่ใช่ปัญหา
เรามาเรียนรู้เรื่องราวของคนแต่ละช่วงวัย เขาเกิดมาในช่วงเวลาใด เติบโตมาในสังคมแบบใด ต้องเผชิญกับความเปลี่ยนแปลงในสังคมอย่างไร
ทำความรู้จักคน 7 ช่วงวัย (Generation) ที่มีความแตกต่างกันทั้งทางความคิด ความรู้สึก พฤติกรรมในการใช้ชีวิต และสังคม
#ความแตกต่างของช่วงวัย #เรียนรู้ความต่าง

03/07/2022

NEWS FOCUS I ย้อนฟังเสียงเรียกร้องอย่างมีความหวังของม๊อบชาวนา

โลกที่สวยงามของเด็กคือโลกที่เขามองเห็นตัวเอง แล้วรู้สึกว่ามันงดงาม รู้สึกเชื่อมั่นในตัวเอง เขาอยากลอง อยากรู้อะไร ได้มีโ...
28/06/2022

โลกที่สวยงามของเด็กคือโลกที่เขามองเห็นตัวเอง แล้วรู้สึกว่ามันงดงาม รู้สึกเชื่อมั่นในตัวเอง เขาอยากลอง อยากรู้อะไร ได้มีโอกาสได้ลอง ได้รู้ และได้เห็นผล ไม่ว่าผลนั้นจะเป็นอย่างไร เขาจะได้เรียนรู้และพัฒนา
โอกาสของเด็กในการเติบโตอย่างน่ามหัศจรรย์ ใช้ศักยภาพที่มีอย่างเต็มที่ ขึ้นอยู่กับการให้โอกาสในการพัฒนาจากบุคคลที่อยู่รายล้อมตัวเด็ก ภาพยนตร์สารคดีชั้นหนึ่ง (First Grade) พาไปเราเปิดโลกการเรียนรู้ที่ทำให้เห็นว่าเด็กทุกคนสามารถพัฒนาตนเองได้ ผ่านเรื่องราวของเด็กปอหนึ่ง ช่วงชั้นปีแห่งการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญในการก้าวออกไปใช้ชีวิตในโลกกว้าง เผชิญกับความคาดหวัง ปัญหา อุปสรรค และช่วงวันวัยแห่งความสนุกสนานที่อาจจะถูกพรากไปเพราะระบบการศึกษาที่ทำลายจิตวิญญาณของความเป็นเด็กที่อยากเรียนรู้ อยากทดลอง เต็มไปด้วยจินตนาการ ความคิดสร้างสรรค์ ด้วยระบบการแข่งขันเชิงวิชาการมากจนเกินไป
มาร่วมเรียนรู้ความมหัศจรรย์ในความธรรมดาของเด็กน้อยผ่านภาพยนตร์สารคดีชั้นหนึ่ง (First Grade) ที่ทำให้เราเข้าอกเข้าใจกระบวนการเรียนรู้และการเติบโตของเด็กมากยิ่งขึ้น
ชมตัวอย่างภาพยนตร์คลิก https://www.youtube.com/watch?v=nHexPp01orI
ติดตามรายละเอียดภาพยนตร์เพิ่มเติมได้ที่ Dream Sequenze
#ชั้นหนึ่ง #ชั้นหนึ่งFirstGrade

เด็กทุกคนคือนักเรียนรู้ นักสำรวจโลก นักทดลอง และนักแสวงหาประสบการณ์ พวกเขาไม่กลัวในการลองทำสิ่งใหม่ ไม่กังวลในความผิดพลา...
26/06/2022

เด็กทุกคนคือนักเรียนรู้ นักสำรวจโลก นักทดลอง และนักแสวงหาประสบการณ์ พวกเขาไม่กลัวในการลองทำสิ่งใหม่ ไม่กังวลในความผิดพลาดที่จะเกิดขึ้น อยากเรียนรู้ อยากลองทำซ้ำ และจินตนาการทุกสิ่งทุกอย่างให้กลายเป็นเรื่องน่าสนุก
วิธีการเรียนรู้ของเด็กคือความมหัศจรรย์ของโลกใบนี้ ทบทวน รื้อฟื้นความทรงจำ ออกเดินทางค้นพบความสุข ความสนุก และความเจ็บปวดของเด็กปอหนึ่งที่สะท้อนผ่านระบบการศึกษาไทย กับภาพยนตร์สารคดีชั้นหนึ่ง (First Grade) ที่พาเราเปิดโลกการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย
ชวนไปเฝ้าดูห้องเรียนของเด็กชั้นหนึ่งจากหลากหลายพื้นที่ แตกต่างหลากหลายทั้งสถานะ วิถีชีวิต ความเชื่อ ลัดเลาะรอบรั้วโรงเรียนทั้งในกรุงเทพและต่างจังหวัด เรียนรู้ชีวิตของเด็กปอหนึ่งที่ต้องรับมือกับการเผชิญโลกอันกว้างใหญ่ แบกรับความคาดหวังมากมายจากผู้ใหญ่และสังคม
โลกความจริงของการเป็นเด็กไม่ได้สวยงามเสมอไป ทว่าเราทุกคนสามารถช่วยกันสร้างโลกแห่งการเรียนรู้ที่งดงามให้กับเด็กได้ ต่อยอดจินตนาการ ชวนทำเรื่องสนุก และให้โอกาสในการเรียนรู้อย่างไม่ตัดสิน เป็นที่พักพิง หนุนใจให้เด็กน้อยรู้สึกว่าโลกใบนี้ไม่โหดร้ายจนเกินไป
ออกเดินทางสำรวจการเรียนรู้ของเด็กปอหนึ่งทั่วประเทศไทยกับภาพยนตร์สารคดีชั้นหนึ่ง (First Grade) ฉายวันนี้ ถึงวันที่ 29 มิถุนายน 2565 ที่โรงภาพยนตร์ House Samyan ชั้น 5 สามย่านมิตรทาวน์ Samyan Mitrtown เดินทางด้วยรถไฟฟ้า MRT ลงสถานีสามย่าน
ชมตัวอย่างภาพยนตร์คลิก https://www.youtube.com/watch?v=nHexPp01orI
ชมสัมภาษณ์ผู้กำกับภาพยนตร์คลิก https://www.youtube.com/watch?v=4_GK6h1ILso
เช็กรอบฉายและจองตั๋วชมภาพยนตร์คลิก https://www.housesamyan.com/site/Movie/detail/816
ติดตามรายละเอียดภาพยนตร์เพิ่มเติมได้ที่ Dream Sequenze
#ชั้นหนึ่ง #ชั้นหนึ่งFirstGrade

17/06/2022

เด็กไม่ได้ต้องการให้เราไปพัฒนาเขา แต่เขาต้องการโอกาสที่จะพัฒนาตนเอง ติดตามชมภาพยนตร์สารคดี #ชั้นหนึ่ง ได้ที่ House Samyan

“ถ้าไม่มีลูก ฉันคงลืมไปแล้วว่าโลกของเด็กมหัศจรรย์แค่ไหน นี่คือความพยายามในฐานะแม่ที่จะเข้าใจและรักษาโลกอันอัศจรรย์ของพวก...
14/06/2022

“ถ้าไม่มีลูก ฉันคงลืมไปแล้วว่าโลกของเด็กมหัศจรรย์แค่ไหน นี่คือความพยายามในฐานะแม่ที่จะเข้าใจและรักษาโลกอันอัศจรรย์ของพวกเขาไว้ - โสภาวรรณ บุญนิมิตร”
ในวันที่มีลูก เชื่อแน่ว่าพ่อแม่หลายคนคงจะตั้งความหวังที่มีต่อลูกไว้มากมาย โดยเฉพาะความคาดหวังในเรื่องการเข้าสู่ระบบการศึกษาที่จะช่วยให้ลูกมีอนาคตที่ดี ทว่าระบบการศึกษากำลังสร้างบาดแผลให้เราอยู่หรือไม่
หากมองย้อนกลับไปสู่จุดเริ่มต้นของระบบการศึกษาไทย ช่วงเปลี่ยนผ่านของการเติบโตจากเด็กปฐมวัยหรือเด็กวัยอนุบาลไปสู่การเป็นเด็กประถมศึกษาคือรอยต่อที่สำคัญ ช่วงวัยสำคัญนี้หากขาดการใส่ใจในการดูแลอาจจะสร้างบาดแผลให้กับเด็ก โดยที่ผู้ใหญ่ไม่ทันได้คิด ที่ว่างนี้คือจุดเริ่มต้นในการออกเดินทางสำรวจระบบการศึกษาไทยของภาพยนตร์สารคดี “ชั้นหนึ่ง (First Grade)” กำกับโดยครูยุ้ย-ผศ.ดร.โสภาวรรณ บุญนิมิตร อาจารย์ประจำคณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และครูเต้ย-ดร.พีรชัย เกิดสินธุ์ อาจารย์ประจำคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ สองอาจารย์ นักคิด นักวิชาการ คุณพ่อคุณแม่ของน้องแฝดอู่ข้าว-อู่น้ำ และนักทำหนังที่มีภาพยนตร์สร้างชื่ออย่างที่ว่างระหว่างสมุทร The Isthmus (2013) และ The Caved Life : ปางหนองหล่ม A Village on a Fault (2020)
เมื่อเด็กคนหนึ่งได้เกิดขึ้น พันวันแรกจากที่อยู่ในท้องแม่กินเวลายาวไปจนถึงอายุประมาณแปดขวบคือช่วงเวลาสำคัญในการเติบโตของเด็ก ทั้งการพัฒนาสมองไปจนถึงร่างกาย จิตใจ ความคิด และอารมณ์ความรู้สึก ทุกอย่างคือความแปลกใหม่ ความมหัศจรรย์ ทว่าหลายครั้งที่ผู้ใหญ่อาจหลงลืมความละเอียดอ่อนทางการเรียนรู้ของเด็กน้อย เร่งให้พวกเขาเติบโต ท่องจำ อ่านเขียน เข้าสู่ระบบการศึกษาที่มีการแข่งขัน จนอาจจะทำลายจิตวิญญาณความเป็นเด็ก การคิดสร้างสรรค์ จินตนาการอันเปราะบางที่ต้องพัฒนาอย่างค่อยเป็นค่อยไป และต้องใช้การเล่นสนุกบวกกับความรักของพ่อแม่เป็นพลังชั้นดีในการสร้างการเรียนรู้ให้กับเด็ก
การเฝ้าดูการเติบโตของเด็ก ผ่านสายตาการบอกเล่าของผู้ใหญ่ นักวิชาการ ครู อาจารย์ พ่อแม่ ทำให้เราฉุกคิดถึงประสบการณ์การเรียนรู้ช่วงวัยเด็กในวันวาน ความสุข ความสนุก แปรเปลี่ยนเป็นความกดดันที่ต้องเผชิญเมื่อเข้าสู่ระบบการศึกษาที่เข้มข้น
การเดินทางไปพบกับเด็กชั้นปอหนึ่ง จาก 8 ครอบครัว 4 จังหวัดสำคัญ ตามติดชีวิตของพวกเขา สำรวจความหลากหลาย เฝ้าสังเกตเด็กในเมือง ไปจนถึงต่างจังหวัด จากครอบครัวที่มีฐานะ มีเวลา มีความรู้ มีเงินทอง มีต้นทุนในชีวิตที่ดี ไปจนถึงครอบครัวที่ต้องดิ้นรนต่อสู้ เอาตัวรอด ท่ามกลางสภาพแวดล้อมที่เต็มไปด้วยความยากลำบาก อีกทั้งวิถีการเรียนรู้ในแต่ละพื้นที่ ซึ่งแตกต่างทางความเชื่อ มีมุมมองทางศาสนาที่ต่างกัน ก็มีวิธีการบ่มเพาะต้นกล้าน้อยให้เติบโตเป็นต้นไม้ใหญ่แตกต่างกันตามไปด้วย
การเติบโตและเรียนรู้ของเด็กคนหนึ่ง ปัจจัยสำคัญคือการให้เวลา ให้ความรัก ให้ประสบการณ์ที่ดี ให้การดูแล สร้างพื้นที่การเรียนรู้ สร้างความทรงจำที่ดีร่วมกัน เพื่อให้พวกเขาพร้อมที่จะเผชิญกับโลกกว้าง ลองผิดลองถูก รับมือกับความผิดหวัง ลุกขึ้นใหม่ และเรียนรู้ได้ด้วยตนเองตลอดชีวิต
ไม่ว่าใครก็ตามที่ได้ดูภาพยนตร์เรื่องนี้ พ่อแม่ ครู อาจารย์ หรือแม้กระทั่งคนธรรมดา เราเชื่อว่าทุกคนจะหันกลับมาทบทวนวันวานในวัยเด็ก สำรวจทั้งความสุขและความทุกข์ของร่องรอยบาดแผลที่เคยผ่านมา และไม่สร้างบาดแผลนั้นให้กับคนรุ่นหลัง มาร่วมเปิดมุมมองใหม่ในการมองเด็กน้อยด้วยสายตาของผู้ใหญ่ที่เข้าอกเข้าใจเด็กมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนที่เป็นพ่อแม่ นี่คือภาพยนตร์ที่จะทำให้พ่อแม่ได้เติบโต และเรียนรู้ไปพร้อมกับลูกด้วยเช่นกัน
ภาพยนตร์สารคดีชั้นหนึ่ง (First Grade) จัดฉายในรอบสื่อมวลชนเมื่อค่ำวันที่ 13 มิถุนายน 2565 โดยได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก ภาพยนตร์ได้รับทุนสนับสนุนจากกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ และคณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ร่วมสำรวจและสร้างการเปลี่ยนแปลงต่อระบบการศึกษาไทย กับภาพยนตร์สารคดี “ชั้นหนึ่ง (First Grade)” ได้ที่โรงภาพยนตร์ House Samyan ในวันที่ 16 มิถุนายนนี้ ติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่เพจ Dream Sequenze
รับชมตัวอย่างภาพยนตร์ https://www.youtube.com/watch?v=nHexPp01orI&t=15s
#ชั้นหนึ่ง #เด็กปอหนึ่ง #ภาพยนตร์สารคดี

โอบกอดหัวใจดวงน้อยด้วยความเข้าใจ การเรียนรู้ของเด็กคือการเติบโตมากกว่าการแข่งขัน ร่วมติดตามชมภาพยนตร์สารคดี    #ชั้นหนึ่...
14/06/2022

โอบกอดหัวใจดวงน้อยด้วยความเข้าใจ การเรียนรู้ของเด็กคือการเติบโตมากกว่าการแข่งขัน ร่วมติดตามชมภาพยนตร์สารคดี #ชั้นหนึ่ง ได้ตั้งแต่ 16 มิถุนายนนี้ที่ House Samyan

สร้างเด็กที่แข็งแกร่งง่ายกว่า ซ่อมผู้ใหญ่ที่ผุพัง
“ชั้นหนึ่ง (First Grade)” ครั้งแรกของวงการหนังไทยที่ชวนปกป้องโลกของ ‘เด็กปฐมวัย’ กับคำถามสำคัญว่าการแข่งขันในระบบการศึกษาไทย ส่งเสริมหรือทำลายความมหัศจรรย์ในตัวเด็กกันแน่?
คุณคิดว่า ‘เด็ก’ เป็นเรื่องของทุกคนในสังคม? ถ้าใช่ ภาพยนตร์สารคดีเรื่อง “ชั้นหนึ่ง (First Grade)” เป็นอีกเรื่องที่ทุกคนควรดู โดยเฉพาะกลุ่มพ่อแม่-ผู้ปกครอง-คนในแวดวงและผู้กำหนดนโยบายด้านการศึกษา ผู้กำกับภาพยนตร์เรื่องนี้เชื่อว่า ไม่มีอะไรสายเกินไปที่จะช่วยกันสร้างอนาคตของเด็ก เริ่มต้นง่ายๆ จากการเปิดใจไปดูเรื่องนี้
ถือเป็น ครั้งแรกของวงการภาพยนตร์ที่ให้ความสำคัญกับ “เด็กปฐมวัย” โดยมองว่านี่คือ ช่วงเวลาหน้าต่างแห่งโอกาส เป็นต้นทุนชีวิตสำคัญที่ต้องพัฒนาในช่วง 0-8 ปี (ตามหลักสากล) ภาพยนตร์เรื่องนี้ยังชวนคนดูตั้งคำถามว่า ที่ผ่านมาสังคมได้พรากโอกาสการพัฒนาเด็กในช่วงวัยนี้ไปมากน้อยแค่ไหน เช่น ความเชื่อของพ่อแม่หลายคน ที่ต้องการให้ลูกเข้า “โรงเรียนที่ดี” ทำให้การสอบเข้าชั้น ป.1 กลายเป็นสนามแข่งขันอันดุเดือดของเด็ก ๆ รวมถึงพ่อแม่-ผู้ปกครองด้วย แต่นี่อาจไม่ใช่ความคิด และความเชื่อที่ถูกต้อง
หลากหลายชีวิตตัวน้อย ๆ เหล่านี้กำลังย่างก้าวแรกเข้าสู่โลกของการศึกษา คำถามสำคัญคือ “การแข่งขันในระบบการศึกษาไทย ส่งเสริมหรือทำลายความมหัศจรรย์ในตัวเด็กกันแน่?” จึงอยากเชิญชวนผู้ชมทุกท่านมาค้นหาคำตอบร่วมกันว่า เราจะสร้างพื้นที่ปลอดภัยสำหรับการเรียนรู้ เพื่อส่งเสริมเด็กปฐมวัยให้เติบโตอย่างเต็มศักยภาพได้อย่างไร
โดยภาพยนต์เรื่องนี้ พยายามรวบรวม มุมมองของ พ่อแม่ ครู นักวิชาการ และผู้เชี่ยวชาญด้านการศึกษาปฐมวัย ก่อนที่จะพาคนดูไปเยี่ยมชมห้องเรียน ป.1 ของเด็กจาก 8 โรงเรียน ในต่างที่ ต่างศาสนา ต่างระบบการศึกษา เพื่อถ่ายทอดภูมิทัศน์ทางการศึกษาไทยที่ส่งอิทธิพลต่อพัฒนาการของเด็กปฐมวัย ซึ่งถือเป็นช่วงวัยที่สำคัญที่สุดในการวางรากฐานของชีวิตมนุษย์
The Active เปิดพื้นที่ประชาสัมพันธ์ให้พ่อแม่-ผู้ปกครอง-คุณครู และประชาชนที่สนใจ ร่วมกันหาคำตอบผ่านภาพยนตร์สารคดี ชั้นหนึ่ง (First Grade) ภาพยนตร์ต้องห้ามพลาด! สร้างขึ้นภายใต้การดูแลของบริษัท ดรีม ซีเควนซ์ จำกัด กำกับโดย โสภาวรรณ บุญนิมิตร และ พีรชัย เกิดสินธุ์ โดยได้รับทุนสนับสนุนจาก กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ และ Faculty of Communication Arts, Chulalongkorn University มีกำหนดฉายที่ House Samyan วันที่ 16 มิถุนายน 2565 เป็นต้นไป
📌 อ่านเพิ่มเติม https://theactive.net/news/learning-20220614/
#ชั้นหนึ่ง

08/06/2022

NEWS FOCUS I วิกฤตโควิด-19 นักศึกษาหารายได้ระหว่างเรียน เพื่อดูแลตัวเอง แบ่งเบาภาระของครอบครัว
ค่าครองชีพที่สูงขึ้น ขณะที่เศรษฐกิจยังไม่ฟื้นตัวจากวิกฤตโควิด-19 นักศึกษาที่อาศัยอยู่หอพัก ต้องดูแลตนเอง หารายได้ระหว่างเรียน ช่วยแบ่งเบาภาระของครอบครัว
ผลงานชิ้นนี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาในรายวิชา JR305 Television Journalism Workshop
#เศรษฐกิจ #วิกฤตโควิด19 #นักศึกษาหารายได้ระหว่างเรียน

05/06/2022

NEWS FOCUS I มาตรการรับมือของร้านทองท่ามกลางวิกฤตเศรษฐกิจ
ด้วยราคาทองในปัจจุบันที่พุ่งสูงขึ้นถึง 32,000 บาท ข้อมูล ณ วันที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2565 อันเป็นผลเนื่องจาก Fed กักตุนทองคำ และความกังวลของนักลงทุนถึงความระสำระส่ายของโลกที่มีต่อสงครามในภูมิภาคยุโรปตะวันออก จึงทำให้ยอดซื้อขายทองคำแท่งและรูปพรรณในช่วง 5 วันที่ผ่านมามีมูลมากสูงขึ้น 3-4 เท่า ข้อมูลโดยห้างทองออโรร่า
หากแต่ผู้ที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดคือร้านทองขนาดเล็กที่ไม่มีเงินทุนสำรองมากนัก จึงไม่สามารถรับซื้อทองในราคาปัจจุบันได้ และจำต้องปิดร้านไปชั่วคราว หนำซ้ำด้วยพิษเศรษฐกิจที่เกิดจากวิกฤตไวรัสโควิด-19 ที่ดำเนินมานานถึงสองปี ก็ทำให้ร้านทองจำนวนมากในประเทศต้องขายทองคงคลังเพื่อประคองกิจการ และมีบางร้านที่ต้องปิดกิจการไป โดยเฉพาะธุรกิจช่างทองขนาดเล็กที่หยุดกิจการไปแล้วกว่า 70% ในปี 2564 กระทบแรงงานช่างทอง 2-3 แสนคน ให้ข้อมูลโดยคุณจิตติ ตั้งสิทธิ์ภักดี นายกสมาคมค้าทองคำ
กลุ่มผู้จัดทำจึงต้องการตีแผ่มุมมองของผู้ดำเนินกิจการร้านทองในปัจจุบันว่าพวกเขามีมาตรการรับมืออย่างไรต่อมรสุมเศรษฐกิจ นอกจากพวกเขาแล้วมีใครบ้างที่ได้รับผลกระทบ และอนาคตของตลาดช่างทองจะเป็นอย่างไรในวันข้างหน้า
ผลงานชิ้นนี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาในรายวิชา JR305 Television Journalism Workshop
#ราคาทอง #เศรษฐกิจ #คณะนิเทศศาสตร์

Movement: พาเหรดสีรุ้งใจกลางกรุงเทพฯ ครั้งแรก! เฉลิมฉลอง Pride Month ภาคภูมิใจกับงาน BANGKOK NARUEMIT PRIDE 2022 ร่วมหนุ...
05/06/2022

Movement: พาเหรดสีรุ้งใจกลางกรุงเทพฯ ครั้งแรก! เฉลิมฉลอง Pride Month ภาคภูมิใจกับงาน BANGKOK NARUEMIT PRIDE 2022 ร่วมหนุนใจให้ความหวัง ความฝัน ที่จะสร้างสังคมที่ให้คุณค่ากับความเป็นมนุษย์อย่างเท่าเทียม
ทุกปีของเดือนมิถุนายน นานาประเทศจะมีการจัดขบวนเฉลิมฉลอง Pride Month หรือเดือนแห่งความภาคภูมิใจ ที่มีภาพการแสดงออกถึงความเป็นตัวเอง ความสนุกสนาน เต็มไปด้วยสีสันของเหล่าคนในชุมชนที่มีความหลากหลายทางเพศ (LGBTQIAN+) จนเป็นที่พูดถึงในหลายสื่อ
องค์กรธุรกิจก็มีส่วนร่วมในการให้พื้นที่และสนับสนุนการเคลื่อนไหวเรื่องนี้กันอย่างมากมาย ไม่ว่าจะมาในรูปแบบของสินค้าเฉดสีรุ้ง แคมเปญรณรงค์ หรือการร่วมเฉลิมฉลองในหน้าเว็บไซต์ จนความไพรด์ได้เป็นที่รู้จักกันในสากล
แท้จริงแล้วจุดเริ่มต้นของเดือนนี้แลกมาด้วยการกระทำความรุนแรงและเลือกปฏิบัติต่อกลุ่ม LGBT ในช่วงเดือนมิถุนายน ปีค.ศ.1969 ที่ย่านเกรนิชวิลเลจ แมนฮัตตัน รัฐนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกา ท่ามกลางนโยบายต่อต้านเกย์และสังคมที่ไม่เปิดรับ การออกมาเรียกร้องของกลุ่มคนที่มีความหลากหลายทางเพศถูกตอบกลับด้วยความรุนแรงจากเจ้าหน้าที่รัฐ จนเกิดเป็นเหตุจลาจลสโตนวอลล์ (Stonewall Riots)
หลังจากเหตุการณ์ครั้งนั้น นานาประเทศทั่วโลกจึงจัดงานรำลึกถึงการต่อสู้ จนพัฒนามาเป็นขบวนไพรด์พาเหรดสีรุ้งแทนความหลากหลาย ปลดปล่อยตัวตน และแสดงออกถึงความเป็นตัวเองไม่เพียงแค่กลุ่มชุมชน LGBTQIAN+ แต่ยังเป็นผู้คนที่สนับสนุนความเท่าเทียม จัดขึ้นตลอดเดือนมิถุนายนของทุกปีจนปัจจุบัน
บางกอกนฤมิตไพรด์ งานไพรด์พาเหรดอย่างเป็นทางการครั้งแรกของกรุงเทพมหานคร ที่มีแนวคิดการเดินพาเหรดสีรุ้งในเมืองไทย ซึ่งเคยเกิดขึ้นที่จังหวัดเชียงใหม่ โดยนอกจากเป็นการเฉลิมฉลองเดือนแห่งความภาคภูมิใจ แต่การเคลื่อนขบวนในครั้งนี้มีเป้าหมายเพื่อผลักดันกฎหมายสมรสเท่าเทียมภาคประชาชน กฎหมายรับรองเพศสภาพ สิทธิของเยาวชน LGBTQIAN+ ในสถานศึกษา และประเด็นความเท่าเทียมที่ประชาชนขับเคลื่อนกันมาอย่างต่อเนื่องให้ไปถึงภาครัฐ
พี่ฟ้า-พรหมศร วีระธรรมจารี หนึ่งในผู้ร่วมจัดงานแถลงการณ์งานบางกอกนฤมิตไพรด์ เปิดเผยกับเราว่างานนี้จะทำให้มุมมองต่อ LGBTQIAN+ ของสังคมได้เปลี่ยนไปในทางที่ดีขึ้น จะเห็นได้ชัดว่าสังคมค่อย ๆ มองกลุ่มคนที่มีความหลากหลายทางเพศเปลี่ยนไป งานครั้งนี้จะเป็นความหวังและการเปลี่ยนแปลงสำหรับประชาชนทุกคนในด้านกฎหมาย กฎหมายที่เท่าเทียมจะเอื้อให้ชีวิตพวกเราดีกว่าที่เป็นอยู่ได้ เป็นสังคมที่เราใฝ่ฝันหา
แนวคิดนฤมิตไพรด์คือโลกเสมือน เหมือนกับความฝัน ความหวังของพวกเราบางเรื่องยังเป็นแค่จินตนาการ แต่การเดินขบวนในครั้งนี้จะทำให้มองเห็นภาพจริงได้ชัดขึ้น เป็นการรวมตัวกันและมีคนรับฟัง ทำความฝันให้เป็นจริงขึ้นมา ความพิเศษของงานนี้คือเป็นครั้งแรกของกรุงเทพ ไม่ใช่แค่คนที่มีเพศที่หลากหลาย แต่เราพร้อมโอบรับทุกคน ไม่ว่าคุณจะเป็นใคร มาร่วมกันเฉลิมฉลองเดือนไพรด์ ร่วมเรียกร้องประเด็นสังคมไปพร้อมกัน
โดยงานบางกอกนฤมิตไพรด์ จัดขึ้นในวันที่ 5 มิถุนายน 2565 เวลา 15.00 น. เริ่มเดินขบวนจากวัดพระศรีมหาอุมาเทวี หรือวัดแขก สีลม เดินไปตามถนนเส้นสีลม ซึ่งเป็นสถานที่มีเรื่องราวและประวัติศาสตร์ของกลุ่ม LGBTQIAN+ ในกรุงเทพมหานคร และส่งต่องานนี้ไปยังจังหวัดสงขลา โดยใช้ชื่อว่าสงขลาไพรด์ เป็นการเดินขบวนไพรด์ครั้งแรกของภาคใต้ ในวันที่ 26 มิถุนายนที่จะถึงนี้
ผู้เข้าร่วมสามารถใส่ชุดที่เป็นตัวเองเข้ามาร่วมเดินขบวน ไม่จำเป็นจะต้องแต่งกายตามสี เพียงแค่เป็นชุดที่รู้สึกมั่นใจเท่านั้น สามารถติดตามข่าวสารและการประชาสัมพันธ์ได้ผ่านเฟซบุ๊กเพจ Bangkok Pride Bangkok Pride มาร่วมแสดงพลังความภาคภูมิใจไปพร้อมกัน
เรื่อง : สุธิดา บัวคอม
ภาพ : Bangkok Pride
#นฤมิตไพรด์ #บ้านกล้วย #บ้านกล้วยออนไลน์

สำรวจและเรียนรู้โลกของเด็กน้อยที่เต็มไปด้วยความคิดฝันและจินตนาการกับภาพยนตร์สารคดีชั้นหนึ่ง (First Grade)    #ชั้นหนึ่ง
04/06/2022

สำรวจและเรียนรู้โลกของเด็กน้อยที่เต็มไปด้วยความคิดฝันและจินตนาการกับภาพยนตร์สารคดีชั้นหนึ่ง (First Grade) #ชั้นหนึ่ง

บางส่วนบางตอนจาก ภาพยนตร์สารคดีขนาดยาวเรื่อง ชั้นหนึ่ง (First Grade)สนับสนุนโดย กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างส....

Movie Moment: แด่คุณคนธรรมดา อย่าลังเลเลยที่จะใช้ชีวิตธรรมดาอย่างมีความหมาย 10 ปีสุดท้ายของชีวิต คุณจะใช้อย่างไร ดื่มด่ำ...
03/06/2022

Movie Moment: แด่คุณคนธรรมดา อย่าลังเลเลยที่จะใช้ชีวิตธรรมดาอย่างมีความหมาย 10 ปีสุดท้ายของชีวิต คุณจะใช้อย่างไร
ดื่มด่ำไปกับความเรียบง่ายที่งดงามของภาพยนตร์ญี่ปุ่นเรียกน้ำตาสุดโรแมนติค The Last 10 Years (2022) สุดท้ายและตลอดไป กำกับโดย มิจิฮิโตะ ฟูจิอิ สร้างมาจากนิยายที่เขียนจากเรื่องจริงของรุกะ โคซากะ ติดอันดับเบสท์เซลเลอร์ของญี่ปุ่น
เมื่อรู้ว่าจะมีชีวิตอยู่อีกไม่นาน เพราะป่วยเป็นโรคที่ไม่มีทางรักษา มัตสิรึ (รับบทโดย นานะ โคมัตสึ) หญิงสาวที่ต้องหยุดพักความฝันไว้เพื่อรักษาตัว พยายามต่อสู้กับโรคร้าย และรอคอยว่าสักวันจะมียาที่ช่วยรักษาเธอได้ จนมาพบกับชายหนุ่ม คาซึโตะ รับบทโดย (เคนทาโร่ ซาคากุจิ) ผู้กำลังสิ้นหวังกับชีวิต หลายครั้งหลายคราที่เราอาจจะไม่เห็นคุณค่าของชีวิต พวกเขาทั้งสองพาเราออกไปใช้ชีวิตที่แสนธรรมดา ฉายภาพความอบอุ่นของครอบครัว มิตรภาพจากเพื่อนที่คอยอยู่เคียงข้าง และความงดงามของทุกฤดูกาลในประเทศญี่ปุ่น
รายละเอียดของชีวิตที่ไม่ได้ตื่นเต้นหวือหวา แต่กลับงดงามและเรียบง่าย ทั้งการตื่นเช้า กินข้าวกับครอบครัว มีเพื่อน ไปงานปาร์ตี้เลี้ยงรุ่น ฉลองปีใหม่ เรียนจบ ทำงาน ตกหลุมรัก แต่งงานและมีลูก สร้างครอบครัว เหล่านี้คือภาพของชีวิตที่แสนธรรมดา ที่ลึก ๆ แล้วหลายคนอาจจะโหยหา ท่ามกลางโลกที่สับสนวุ่นวาย
ขอแค่ใช้ชีวิตทุกวันให้มีความสุข ได้มีชีวิตอยู่ต่อไปอีกยาวนาน เพื่อได้อยู่กับคนที่รัก ได้อยู่ท่ามกลางธรรมชาติที่งดงามของฤดูกาลที่หมุนเวียนเปลี่ยนผ่าน นี่คงเป็นความฝันที่แสนธรรมดา แต่เปี่ยมไปด้วยความอบอุ่น
The Last 10 Years (2022) สุดท้ายและตลอดไป ถ่ายทอดความงดงามของทุกช่วงเวลาในชีวิตได้อย่างละเมียดละไม ความโรแมนติคที่เจือปนด้วยความหวานและความเศร้าที่อาจจะทำให้ทุกคนกลับมารักชีวิตธรรมดาของตัวเองมากยิ่งขึ้น
พบกับภาพยนตร์ญี่ปุ่นแสนละมุนที่คอหนังรักไม่ควรพลาด เนื้อหาดีงามภาพสวยได้ทุกโรงภาพยนตร์ ตั้งแต่วันที่ 2 มิถุนายน 2565 เป็นต้นไป
#สุดท้ายและตลอดไป #ภาพยนตร์ญี่ปุ่น #บ้านกล้วย #บ้านกล้วยออนไลน์

Insight: ลิปสติก สีสันแต่งเติมบนริมฝีปาก Soft Power ที่แสดงถึงความสวยงาม ความเชื่อมั่น พลังอำนาจ การตัดสินใจ และความคิดส...
07/05/2022

Insight: ลิปสติก สีสันแต่งเติมบนริมฝีปาก Soft Power ที่แสดงถึงความสวยงาม ความเชื่อมั่น พลังอำนาจ การตัดสินใจ และความคิดสร้างสรรค์ของมนุษย์
เคยสงสัยกันบ้างไหมว่า ทำไมเราถึงต้องทาลิปสติก ลองค้นดูกระเป๋าเครื่องสำอาง เชื่อแน่ว่าสาวหลายคนต้องมีลิปสติกที่พกติดตัวมากกว่าหนึ่งแท่งอย่างแน่นอน การเสริมแต่งความงามของมนุษย์มีมายาวนานตั้งแต่ยุคโบราณ โดยเฉพาะผู้หญิงที่จะใส่ใจเป็นพิเศษกับการจัดแต่ง เสริมให้ตนเองดูงดงาม เพิ่มความมั่นใจ ที่จริงในยุคโบราณย้อนไปถึงยุคเมโสโปเตเมีย สาวในยุคนั้นก็รู้จักการแต่งหน้าแล้ว เพื่อเสริมความสวยงาม ปกปิดใบหน้าที่แท้จริง และยังเป็นส่วนหนึ่งของการเข้าพิธีกรรมตามความเชื่อด้วย
ลิปสติกแท่งแรกของโลกเกิดขึ้นในศตวรรษ 18 ที่ประเทศฝรั่งเศส ผู้คนใช้การแต่งหน้าและทาลิปสติก เพื่อแสดงถึงการมีสุขภาพที่ดี ลิปสติกทำมาจากไขมันกวาง บวกด้วยน้ำมันละหุ่ง และขี้ผึ้ง ในปัจจุบันลิปสติกถูกผลิตด้วยวัตถุดิบคือสารที่ดูดกลืนแสง เรียกกันว่ารงควัตถุ ผสมผสานกับขี้ผึ้ง น้ำมัน และสารที่เพิ่มความชุ่มชื่น
ลิปสติกจึงเป็นหนึ่งองค์ประกอบสำคัญที่สามารถแปลงโฉมผู้ใช้ให้มีความสวยงามและสามารถเปลี่ยนบุคลิกของเราได้ในฉับพลันขึ้นอยู่กับสีสันที่เราเลือกใช้ ในยุคประวัติศาสตร์การเลือกทาลิปสติกเป็นการบ่งบอกสถานะทางสังคม หากเป็นชนชั้นสูงการทาลิปสติกสีแดงมีความหมายในทางบวก ขณะที่สำหรับชนชั้นล่าง การทาลิปสติกสีแดง อาจบ่งบอกความหมายด้านลบ กลายเป็นหญิงไม่ดี มีมลทิน สีสันที่ใช้จึงมีการให้ความหมายแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับการให้ความหมายของสังคม
ลิปสติกยังเป็นสินค้าสำคัญที่ทำรายได้มายาวนาน ตั้งแต่ยุคอดีตจนถึงปัจจุบัน ความนิยมในการทาลิปสติกของผู้คนไม่เคยลดลงเลย นอกจากลิปสติกสีแดงแล้ว ยังมีลิปสติกสีสันอื่นที่ถูกผลิตออกมามากมาย ลิปสติกจึงได้รับความนิยมไปในทุกวงการ มีการคิดค้นสีสันของลิปสติกออกมาใหม่อยู่ตลอดเวลา
ความมหัศจรรย์ของลิปสติกคือส่งเสริมในเชิงกายภาพ ตกแต่งริมฝีปากให้ดูงดงาม ปรับเปลี่ยนลักษณะของบุคคลได้ตามที่ต้องการ เพียงแค่เปลี่ยนสีสัน สามารถสร้างตัวตนให้กับผู้ใช้ ส่งเสริมในเรื่องจิตใจ อารมณ์ความรู้สึกจากสีสันที่เลือกใช้ ส่งเสริมในเรื่องความสัมพันธ์ ความรัก อาจจะเรียกได้ว่าเป็นการใช้อำนาจอย่างหนึ่งของผู้หญิงก็ว่าได้ มีข้อมูลจากงานวิจัยของมหาวิทยาลัยแมนเชสเตอร์บอกไว้ว่า ผู้หญิงที่ทาลิปสติกสีแดงจะได้รับความสนใจจากผู้คนรอบข้างมากกว่าปกติ โดยเฉพาะการจ้องมองจากผู้อื่นหรือเพศตรงข้าม
ในบ้านเรา ลิปสติกยังถูกเชื่อมโยงไปกับเรื่องของการมูเตลู ความเชื่อ และการเลือกสีของลิปสติกให้ถูกโฉลกกับตนเอง เปรียบได้กับการเลือกเสื้อผ้าที่ต้องใส่ตามสีของวันเช่นกัน อีกทั้งคนที่เกิดในแต่ละวันอาจจะก็มีบุคลิกแตกต่างกัน
การเลือกสีสันของลิปสติกให้เหมาะสมกับวันที่เกิดก็เป็นความเชื่อที่ช่วยส่งเสริมความสบายใจและความมั่นใจให้กับสาวที่รักความสวยความงาม เช่น คนเกิดวันอาทิตย์ ร่าเริง ร้อนแรง สดใส เหมาะกับสีแดง คนเกิดวันจันทร์ เอาใจเก่ง น่ารัก เหมาะกับสีชมพูอ่อน คนเกิดวันอังคาร มั่นใจในตัวเอง เหมาะกับสีส้ม สีน้ำตาล
ส่วนคนเกิดวันพุธ มีเสน่ห์และอ่อนไหวง่าย จะถูกโฉลกกับสีชมพู คนเกิดวันพฤหัสบดี ยึดถือคุณธรรม ก็เลือกสีลิปสติกเป็นสีส้มกับสีน้ำตาล คนเกิดวันศุกร์กับวันเสาร์ ก็เลือกได้หลายสี สีชมพู สีน้ำตาลแดง เป็นต้น อย่าลืมว่าต้องสังเกตสีผิวของตนเองด้วย จะได้เลือกได้อย่างเหมาะสม อย่างไรก็ตามสีแดงก็ยังคงเป็นสีที่ได้รับความนิยมตลอดกาล คงเคยได้ยินคำพูดที่ว่า ถ้าปากไม่แดง ไม่มีแรงเดิน
ทั้งนี้การใช้ลิปสติกเพื่อความสวยงามในสมัยนี้มีปัจจัยที่หลากหลาย เช่น ความเหมาะสมของเวลา สถานที่ กาลเทศะ โอกาส หน้าที่การงาน และผู้คนที่พบเจอ รวมไปถึงเรื่องโหราศาสตร์ที่ผูกโยงอยู่วิถีชีวิตของผู้คน ที่สำคัญจะเลือกสีของลิปสติกในแต่ละวัน ผู้ใช้ก็ต้องมีวิจารญาณในการตัดสินใจ ที่สำคัญต้องเชื่อมั่นในสีสันที่แต่งแต้มบนใบหน้าที่เราเป็นคนเลือกและตัดสินใจด้วยตนเอง
แม้ว่าตอนนี้สถานการณ์โควิด-19 ยังระบาดอยู่ และเรายังคงต้องใส่หน้ากากอนามัย หญิงสาวหลายคนก็ยังคงทาลิปสติกในสีที่ตนเองชื่นชอบ เทรนด์การแต่งหน้าภายใต้หน้ากากก็กำลังเป็นนิยม ลิปสติกจึงเป็นไอเทมสำคัญที่ขาดไม่ได้อยู่เสมอ
เรื่อง: พิมพ์ชนก โชคพิพัฒน์พร, มนสิชา แก้วอ่อน
ภาพ: Unsplash: Beautiful Free Images & Pictures www.unsplash.com
#บ้านกล้วย #บ้านกล้วยออนไลน์

World Corner: เราต่างฝันถึงโลกที่ไม่มีสงคราม ให้มันจบที่รุ่นเราได้ไหม เพราะสงครามสร้างความสูญเสีย บาดแผล ความทรงจำอันโหด...
06/05/2022

World Corner: เราต่างฝันถึงโลกที่ไม่มีสงคราม ให้มันจบที่รุ่นเราได้ไหม เพราะสงครามสร้างความสูญเสีย บาดแผล ความทรงจำอันโหดร้ายที่มวลมนุษยชาติไม่มีวันลืม
โลกเผชิญหน้ากับสงครามมาหลายครั้งหลายครา ทั้งสงครามเชิงกายภาพและสงครามทางความคิด สงครามที่ต้องใช้กำลังผู้คนในการทำลาย ทำร้ายกัน เพื่อให้ได้ในสิ่งที่ต้องการ สร้างความสูญเสียอย่างมหาศาล
เมื่อไม่นานมานี้ การประกาศสงครามของประเทศมหาอำนาจอย่างรัสเซีย ที่เข้ามารุกรานยูเครน สืบเนื่องจากปัญหาที่ทั้งสองฝ่ายสะสมมายาวนานตั้งแต่ยุคอดีต ประกอบกับเรื่องดินแดนไครเมียหรือดินแดนแห่งคาบสมุทรทะเลดำอยู่ภายใต้การปกครองของยูเครนก็ที่มีทีท่าว่าจะแยกตัวไปอยู่กับรัสเซียก็กลายเป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดการรุกของรัสเซียเข้ามาในพื้นที่ของยูเครน
ความขัดแย้งที่ยาวนานเกิดขึ้นและส่งผลกระทบไปในวงกว้าง จากการปะทะกันระหว่างสองฝ่าย สงครามนำมาซึ่งความสูญเสีย ทั้งร่างกาย จิตใจ และความสัมพันธ์ ในระดับบุคคลคือการต้องสูญเสียคนในครอบครัว พลัดพรากจากคนที่รัก ระดับประเทศ ระดับโลก คือความสูญเสียทางเศรษฐกิจ ทรัพยากร ทุกสิ่งทุกอย่างที่ถูกทำลายไปพร้อมกับเหตุการณ์รุนแรงที่เกิดขึ้น
ไม่มีใครอยากให้สงครามเกิดขึ้น ในห้วงเวลาที่ต้องต้องรับรู้เรื่องสงคราม แม้ว่าจะเกิดในที่ห่างไกล แต่ทว่ามันอาจจะบั่นทอนความรู้สึกและจิตใจของผู้คนได้ สงครามคือความเจ็บปวด โหดร้าย ที่มวลมนุษยชาติต่างเห็นตรงกันว่า ถึงเวลาแล้วที่การแก้ปัญหาด้วยสงคราม ไม่ใช่ทางออก
แล้วเมื่อไหร่ที่สงครามจะหมดไปจากโลกใบนี้ แล้วเมื่อไหร่ที่คนรุ่นหลังจากเราจะได้เติบโตในโลกที่ปราศจากสงคราม เราได้บทเรียนความสูญเสียจากสงครามมาไม่รู้กี่ครั้งต่อกี่ครั้ง นี่คงเป็นคำถามที่คนรุ่นใหม่กำลังคิด ใคร่ครวญและพยายามหาทางแก้ไข เพื่อสร้างโลกอนาคตที่ดีกว่าเดิม
เรื่อง: ธาริณ สันติวรพงศ์, สันติ แซ่ตั้ง
ภาพ: Unsplash: Beautiful Free Images & Pictures www.unsplash.com
#ให้มันจบที่รุ่นเรา #บ้านกล้วย #บ้านกล้วยออนไลน์

Inspirational Quote: โลกของศิลปะพาเราไปเรียนรู้ความงดงามของชีวิตอีกมากมาย ที่เราค้นพบว่ามีอีกหลายอย่างที่ยังไม่รู้ และรอ...
05/05/2022

Inspirational Quote: โลกของศิลปะพาเราไปเรียนรู้ความงดงามของชีวิตอีกมากมาย ที่เราค้นพบว่ามีอีกหลายอย่างที่ยังไม่รู้ และรอให้เราเดินทางไปเรียนรู้
Blue period คือมังงะซีรีส์แนวดราม่าจากประเทศญี่ปุ่น เขียนโดยอาจารย์ยามางุจิ สึบาสะ (Yamaguchi Tsubasa) ตีพิมพ์ครั้งแรกเมื่อปีค.ศ.2017 และยังคงดำเนินต่อเนื่องถึงปัจจุบัน
เรื่องราวของยางุจิ ยาโทระ (Yaguchi Yatora) เด็กหนุ่มชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 เขาเป็นนักเรียนดีเด่น ทว่ารู้สึกเหมือนมีบางอย่างขาดหายไป เพราะเขาไม่รู้ว่าแท้จริงแล้วตัวเองชอบทำสิ่งใด ดูภายนอกก็เป็นชีวิตที่ธรรมดา แต่ไร้ซึ่งความหมาย ไม่รู้ทิศทางของชีวิต จนได้มาพบกับงานศิลปะ จึงรู้ว่านี่คือสิ่งที่เขาสนใจหลงใหล และอยากจะเอาจริงเอาจังกับเส้นทางสายนี้
การฝึกฝนตนเองอย่างเข้มข้นของยาโทระจึงเริ่มต้นขึ้น เพื่อสอบแข่งขันระดับประเทศ เข้ามหาวิทยาลัยโตเกียวในสายศิลปะ การตัดสินใจครั้งนี้เป็นเรื่องที่ต้องทุ่มเททั้งแรงกายและแรงใจ โดยพื้นฐานแล้วเขาไม่มีทักษะศิลปะเลย ทุกอย่างจึงต้องเริ่มจากศูนย์ทั้งหมด
คำพูดที่แสดงถึงความใฝ่เรียนรู้ของยาโทระที่เคยพูดว่า “ตั้งแต่ได้เริ่มวาดรูป ทิวทัศน์ต่าง ๆ ที่เคยมองเห็นก็กลับแจ่มชัดได้กว่าที่ผ่านมา กระทั่งถึงขั้นรู้สึกไปว่าสิ่งที่เราเคยคิดว่าตนรู้ ที่จริงแล้วไม่ได้รู้อะไรเลย” ที่ผ่านมาเขาใช้เวลาชีวิตผ่านไปโดยที่ยังไม่ได้ทบทวนว่าแท้จริงแล้วชอบอะไร เขาเลือกเส้นทางเดินของชีวิตแบบที่สังคมคาดหวัง เขาอ่านหนังสือ ตั้งใจเรียน เพื่อสอบเข้าคณะสายวิทยาศาสตร์
จวบจนวันหนึ่งที่ได้รู้ความจริงว่าตัวเองนั้นชอบศิลปะ และได้รู้ว่าโลกทั้งใบที่เป็นเพียงสีเดียวมาตลอดนั้นสามารถมองเป็นอะไรได้หลากหลายมากมายกว่านั้น เมื่อค้นพบตัวเอง เขาเริ่มรู้สึกว่าชีวิตมีความหมาย อยากจะเรียนรู้ ทุ่มเท มุ่งมั่นไปกับเส้นทางศิลปะอย่างเต็มที่
Blue period พาเราก้าวสู่โลกของการเรียนรู้เรื่องศิลปะที่คู่ขนานไปกับการสะท้อนสังคม ตั้งคำถามกับสังคม เช่น การทำงานศิลปะถือเป็นอีกหนึ่งอาชีพที่มีคุณค่า เพราะงานวาดรูปไม่ใช่เป็นเพียงงานอดิเรก เป็นงานที่มีความสำคัญ ไม่แตกต่างจากอาชีพอื่น มังงะยังนำเสนอประเด็นเรื่องครอบครัว เพศสภาพ และบอกเล่าเรื่องราวชีวิตของวัยรุ่นที่พวกเขายังคงต้องการพื้นที่อิสระในการเรียนรู้ การทำงานศิลปะต้องใช้ทั้งใจรักและการลงมือทำ เพราะไม่มีสิ่งใดได้มาโดยง่าย ทุกอย่างต้องคิดควบคู่ไปกับการลงมือทำ เรียนรู้ อดทน และใช้เวลายาวนานในการฝึกฝนทั้งนั้น
อย่างไรก็ตาม การเข้าถึงความรู้สำหรับเราทุกคนอาจจะไม่เท่าเทียม โดยเฉพาะอย่างยิ่งความไม่เท่าเทียมทางสังคมในการเข้าถึงโอกาสทางการศึกษาที่ดี ทำให้เด็กหลายคนยิ่งต้องผลักดันตัวเอง กัดฟันพยายามเพื่อพาตัวเองไปสู่เป้าหมายที่ตั้งไว้ ทว่าสิ่งสำคัญมากกว่าการแข่งขันและการไปถึงเป้าหมายคือการเรียนรู้สิ่งที่ได้พบระหว่างทางนั้นงดงามยิ่งกว่า
เรื่อง: มนสิชา แก้วอ่อน
ภาพ: Blue Period
#มังงะญี่ปุ่น #บ้านกล้วย #บ้านกล้วยออนไลน์

Learning from song: พวกผู้ใหญ่ตอนอายุเท่าเรา พวกเขาก็เป็นแบบนี้เหมือนกัน พวกเขาต่างก็เคยทำผิดพลาดแล้วก็เติบโตชวนย้อนวันว...
04/05/2022

Learning from song: พวกผู้ใหญ่ตอนอายุเท่าเรา พวกเขาก็เป็นแบบนี้เหมือนกัน พวกเขาต่างก็เคยทำผิดพลาดแล้วก็เติบโต
ชวนย้อนวันวานมาฟังเพลง K-POP บทเพลงเกาหลี Soft Power ความหมายดี เติมพลัง สร้างแรงบันดาลใจ คลายความเหนื่อยล้า ถอดความหมายของเพลงนำไปสู่การเรียนรู้เรื่องชีวิต สังคม ความสัมพันธ์ และจิตใจที่เปราะบาง
เราคัดมาแล้ว 8 บทเพลงฮีลใจในวันที่เหนื่อยล้า ช่วยพาหัวใจให้อ่อนโยนลงกว่าเดิม ในวันที่ท้องฟ้าหม่น มาคลิกไปฟังเพลงเติมพลังใจด้วยกันเลย
#เพลงเกาหลี #เพลงเก่า #บ้านกล้วย #บ้านกล้วยออนไลน์

ที่อยู่

School Of Communication Arts, คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
Rangsit
12120

เว็บไซต์

แจ้งเตือน

รับทราบข่าวสารและโปรโมชั่นของ บ้านกล้วยออนไลน์ผ่านทางอีเมล์ของคุณ เราจะเก็บข้อมูลของคุณเป็นความลับ คุณสามารถกดยกเลิกการติดตามได้ตลอดเวลา

ติดต่อ ธุรกิจของเรา

ส่งข้อความของคุณถึง บ้านกล้วยออนไลน์:

วิดีโอทั้งหมด

แชร์

บ้านกล้วยออนไลน์

บ้านกล้วยออนไลน์ สื่อฝึกปฏิบัติของนักศึกษา สาขาวิชาวารสารศาสตร์ดิจิทัล คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ ที่เปลี่ยนโฉมหน้าจากสื่อสิ่งพิมพ์สู่สื่อออนไลน์พร้อมโลดแล่นบนโลกอินเทอร์เน็ต และชักชวนน้องพี่ที่รักชาวมหาวิทยาลัยกรุงเทพ มาร่วมแบ่งปันเรื่องราวที่สร้างสรรค์ มุ่งให้ความรู้ ความบันเทิง เพื่อสร้างความเปลี่ยนแปลงในเชิงบวกให้กับสังคม

ตำแหน่งใกล้เคียง บริษัท สื่อ


เว็บไซต์ข่าวและสื่อ อื่นๆใน Rangsit

แสดงผลทั้งหมด