โพควา โปรดักชั่น

โพควา โปรดักชั่น โพควา โปรดักชั่น
"มิติใหม่ของสังคมชาติพันธุ์"
สนใจประเด็นวัฒนธรรม เศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม และปรัชญา
(16)

โพควา เป็นภาษาปกาเกอะญอแปลว่าลูกชาย
เราเป็นนักสื่อสารที่สนใจประเด็นชาติพันธุ์ ภูมิปัญญา สิ่งแวดล้อม ตลอดจนองค์ความรู้ในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ ที่ต้องการสื่อสารสังคมให้เกิดความเข้าใจ ยอมรับ และเคารพในสิทธิความเป็นมนุษย์อย่างเท่าเทียม
เราทำงานด้วยความสนใจ หากมีกองทุนที่ศึกษา และสนใจในประเด็นเดียวกัน เรายินดีที่จะร่วมงานเพื่อขับเคลื่อนงานด้านการสื่อสารไปพร้อมกับการเติบโตของ "โพควา" ต้าบลึ

PEOPLE: LA LA POR ดอกไม้ส่องแสง แบรนด์ผ้าทอกี่เอว โดยเยาวชนผู้ตัดสินใจกลับสู่บ้านเกิดRotate x โพควา โปรดักชั่นหากต้องกลั...
22/01/2024

PEOPLE: LA LA POR ดอกไม้ส่องแสง แบรนด์ผ้าทอกี่เอว โดยเยาวชนผู้ตัดสินใจกลับสู่บ้านเกิด

Rotate x โพควา โปรดักชั่น
หากต้องกลับบ้านในวันนี้ เราจะกลับไปทำอะไร
ไปเยียมคนที่บ้าน ไปพักผ่อน ไปใช้เวลาระหว่างหางานใหม่ หรือจะกลับไปอยู่ คำถามต่อมาคือ ในบ้านของเรามีอาชีพอะไรให้เราได้ทำบ้าง และชวนนึกภาพไปไกลถึงชนบทห่างไกล คุณคิดว่า เมื่อคุณกลับบ้าน คุณจะประกอบอาชีพอะไร?
ในบทความนี้ โพควา ชวนมาคุยกับผู้ร่วมสร้างแบรนด์ LA LA POR ดอกไม้ส่องแสง แบรนด์ผ้าทอกี่เอว ของหญิงสาวเยาวชนจากบ้านปะน้อยปู่ ต.แม่อุสุ อ.ท่าสองยาง จ.ตาก เมื่อเธอตั้งใจกลับบ้านหลังเรียนจบจากเมืองกรุง ในวันที่ยังไม่รู้จะทำอาชีพอะไร
#แนะนำตัว
สวัสดีค่ะ ชื่อนางสาวอาภรณ์ สองยางเจริญสุข (แมะ)
บ้านเกิดและเติบโตมาจากชุมชนบ้านปะน้อยปู่ ต.แม่อุสุ อ.ท่าสองยาง จ.ตาก หลังจากเรียนจบ วิทยาลัยโพธิวิชชาลัย สาขาการจัดการภูมิวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ แมะมีความสนใจและกำลังเรียนรู้ภูมิปัญญาการทอผ้ากี่เอวที่ย้อมจากสีธรรมชาติของชนเผ่าปกาเกอะญอ ในชุมชนของตนเอง และกำลังทำแบรนด์ LALAPOR/ลาลาพอ ที่มีความหมายว่า “ดอกไม้ที่คอยส่องแสง” เป้าหมายของการทำแบรนด์นี้ขึ้นเพื่อเป็นแรงดาลใจให้ชาติพันธุ์คนรุ่นใหม่กลับมาพัฒนาชุมชนและสร้างความภาคภูมิใจในวิถีวัฒนธรรมของตนเอง

#อะไรคือแรงบัลดาลใจของการเริ่มทำแบรนด์
แมะเล่าว่าเธอมองมองเห็นถึงความไม่ต่อเนื่องของผู้คนในชุมชน โดยเฉพาะการศึกษา ที่มองว่าเยาวชนในชุมชนได้อยู่ในชุมชนในช่วงเวลาสั้น ๆ เนื่องจากในชุมชนมีโรงเรียนถึงระดับประถมตอนปลาย ดังนั้นเด็กและเยาวชนจะได้อยู่ในชุมชนเต็มที่แค่ช่วงเวลานี้

ประกอบกับความเปลี่ยนแปลงด้านอาชีพ ที่ตอนนี้หลายบ้านจำเป็นต้องเปลี่ยนอาชีพเข้าสู่พืชเชิงเดี่ยว เนื่องข้อจำกัดด้านเศรษฐกิจ ค่าครองชีพ และต้นทุนการศึกษาของลูกหลาน ส่งผลต่อระบบนิเวศของชุมชน แหล่งอาหารชุมชนก็น้อยลงและข้าวโพดเริ่มคืบคลานเข้าใกล้ป่าต้นน้ำมากขึ้น ซึ่งเป็นความเสี่ยงที่อาจจจะเกิดขึ้นกับชุมชนในอนาคต
เมื่อเห็นความท้าทาย จึงเกิดแรงบันดาลใจ
แมะเล่าต่อว่า จากการเข้าพื้นที่ชุมชนอื่น ๆ ในระหว่างเรียน แล้วเห็นการทำงานร่วมการของคนในชุมชนที่มีทั้งรุ่นใหญ่ รุ่นใหม่ รุ่นเด็ก ที่คอยช่วยกันทำงานในชุมชนของตัวเพื่อปกป้องคุ้มครองสิทธิและชุมชนของตัวเองอย่างสามัคคีกัน
มันจึงเกิดคำถามบ่อยครั้งว่าทำไมชุมชนเราไม่มีพื้นที่แบบนี้เลย
เรามองเห็นความงามของพื้นที่ผู้คนในชุมชนตัวเอง มีความรู้สึกภูมิใจที่ได้เกิดและเติบโตมาในพื้นที่แห่งนี้.

#เห็นโอกาส
เธอเล่าถึง โอกาส ว่า การที่เราได้มีโอกาสไปเรียนมาและได้เจอผู้คนที่เห็นคุณค่าในเรื่องของวิถีชีวิต ประเพณี วัฒนธรรม ของชนเผ่าพื้นเมือง เราเองในฐานะเยาวชนในชุมชนคนหนึ่งที่มีเคารพต่อวิถีภูมิปัญญาที่มีการสืบทอดต่อ ๆ การมาอย่างยาวนาน อยากกลับมาต่อยอดให้เกิดพื้นที่การทำงานร่วมโดยใช้ภูมิปัญญาในการเชื่อมผู้คนในพื้นที่แห่งนี้ เกิดพื้นที่เรียนรู้ การถ่ายทอด สืบสานภูมิปัญญาการทอผ้าให้กับเด็ก เยาวชน ตลอดจนสร้างความภาคภูมิใจและสร้างปฏิสัมพันธ์ที่ดีให้กับคนในชุมชนต่อไป

#ถ้าไม่มีแบรนด์ LALAPOR มันจะเกิดอะไรขึ้น
เธอเล่าด้วยความสัตย์จริงว่า ก็คงไม่ได้กลับมาทำงานที่บ้านคงเป็นเด็กทั่วไปที่ไปทำงานในเมืองไม่ได้มีปฏิสัมพันธ์กับผู้คนในชุมชนสักเท่าไหร่ ชุมชนตนเองก็คงมีการพัฒนาไปตามโครงสร้างงานพัฒนาของรัฐไทย..

#เป้าหมายของเราคืออะไร
การกลับไปอยู่บ้านให้รอดได้อย่างไร…เป็นการเริ่มต้นตั้งคำถาม…เริ่มต้นคิดหาแนวทางการทำงานให้กับตนเอง โดยมองหาสิ่งที่อยู่รอบตัวมาต่อยอดให้เกิดเป็นกิจกรรม สร้างงาน สร้างคน ให้เกิดการเรียนรู้ เข้าใจ และเห็นคุณค่าในสิ่งที่ตนเองและชุมชนมี เพื่อนำสิ่งเหล่านี้มาทำให้เกิดมูลค่าสร้างรายได้เลี้ยงตนเองและเกิดรายได้หมุนเวียนในชุมชน
ปัจจุบัน แมะ และเพื่อนเยาวชนผลิตผ้าทอกี่เอว เช่น ประเป๋า ย่าม หมวก เครื่องประดับ ทั้งหมดเป็น Handmade ทำมือด้วยความละเอียดทุกขั้นตอน ตั้งแต่ย้อมสีจนถึงการลงปักลวดราย กลายเป็นผลิตภัณ์ของแบรนด์ LA LA POR และในวันที่ 27-28 มกราคมนี้ แมะและเพื่อนจากชุมชน จะนำแบรนด์ LA LA POR มาให้เราได้ลองเรียน ลองทำ ลองรู้ วิธีการทำรวมถึงแลกเปลี่ยนไอเดียของคนกล้าที่จะกลับบ้านในวันที่ยังไม่มีอาชีพอะไรรองรับ
ภาพ/เรื่อง: ทินภัทร ภัทรเกียรติทวี
โพควา โปรดักชั่น
ชวนมาร่วมกับเราและมา "อ่อเส๊อะเกอะเม - กินข้าวด้วยกันกับเรา"ที่เชียงใหม่
ในงาน The Rotate Festival : เทศกาลหมุนเวียนชีวิตชนเผ่าพื้นเมือง
พบกันในวันที่ 27-28 มกราคม 2024
สถานที่:ลานกว้างใน Get Farmily-เกษตรกรในสวนเพื่อน จ.เชียงใหม่
เวลา 16.00 - 21.00น.

20/01/2024

The Rotate Festival คึ-ฉึ่ย เทศกาลหมุนเวียนชีวิตชนเผ่าพื้นเมือง..
ชวนมาร่วมกับเราและมา "อ่อเส๊อะเกอะเม - กินข้าวด้วยกันกับเรา"ที่เชียงใหม่
ในงาน The Rotate Festival : เทศกาลหมุนเวียนชีวิตชนเผ่าพื้นเมือง
พบกันในวันที่ 27-28 มกราคม 2024
สถานที่:ลานกว้างใน Get Farmily-เกษตรกรในสวนเพื่อน จ.เชียงใหม่
เวลา 16.00 - 21.00น.

PEOPLE: ไร่หมุนเวียน ปกาเกอะญอเรียกว่า “คึ ฉึ่ย” เป็นวิถีดั้งเดิมของคนพื้นที่สูง"คึ ฉึ่ย" เป็นภาษาปกาเกอะญอ ที่ใช้เรียกร...
19/01/2024

PEOPLE: ไร่หมุนเวียน ปกาเกอะญอเรียกว่า “คึ ฉึ่ย” เป็นวิถีดั้งเดิมของคนพื้นที่สูง
"คึ ฉึ่ย" เป็นภาษาปกาเกอะญอ ที่ใช้เรียกระบบการผลิตแบบไร่หมุนเวียน คำว่า คึ แปลว่า ไร่หมุนเวียน (ปีที่เพาะปลูก) ฉึ่ย เป็นไร่เหล่า ที่พักฟื้น อย่างน้อย 7 ปี แต่วิถีบนพื้นที่สูงนี้ น้อยคนนักที่จะเดินทางมาถึงและมีเวลามากพอที่จะเรียนรู้เพื่อทำความเข้าใจ ด้วยระยะทางที่แสนไกล ถนนยากลำบาก ทุกอย่างเป็นอุปสรรค์สำหรับคนนอกที่เดินทางเข้าไปในพื้นที่ดังกล่าว
แต่ก็มีบ้างที่เดินทางมาถึง แต่มีเวลาเพียงน้อยนิดที่ได้เห็นวิถีวัฒนธรรมและระบบการผลิตบนพื้นที่สูง ของกลุ่มชาวเขา โดยเฉพาะการฟันไร่ ซึ่งเป็นการเปิดพื้นที่ไร่เหล่า ที่พักฟื้นครบระยะเวลา 7 ปี มีลักษณะป่าสมบูรณ์ด้วยแร่ธาตุ เหมาะแก่การผลิต (สาเหตุที่ต้องทำไร่หมุนเวียน เพราะเป็นเกษตรภาคบังคับบนพื้นที่สูง เพื่อสร้างแหล่งอาหาร และต้องรักษาสมดุล เพราะระบบนี้อ่อนไหวต่อความเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศ)การมาพบเห็นเพียงชั่วขณะ และตัดสินว่าเป็นการทำลายป่า และสร้างโหมดการรับรู้ทางสังคมว่า นี่คือสาเหตุของการทำลายป่า กลายเป็นมายาคติทางสังคมที่ฝังรากลึกมายาวนาน นับตั้งแต่ พ.ศ. 2502 ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจฉบับที่ 1 แต่มีความพยายามที่จะรื้อถอนอคติแต่เต็มไปด้วยข้อจำกัดในการสื่อสาร
วันนี้ โพควา มีโอกาสมา คุยกับ ดร.ประเสริฐ ตระการศุภกร ผู้อำนวยการสมาคมปกาเกอะญอเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (PASD) ซึ่งเป็นผู้ดำเนินการหลักและขับเคลื่อนให้เกิด The Rotate Fistival เทศกาลหมุนเวียนชีวิตชนเผ่าพื้นเมือง ที่จะจัดขึ้นในวันที่ 27-28 มกราคม 2567 ที่ จ.เชียงใหม่นี้ ถึงแนวคิดของเทศกาล

ดร.ประเสริฐ กล่าวว่า ไร่หมุนเวียน ปกาเกอะญอเรียกว่า “คึ ฉึ่ย” เป็นวิถีดั้งเดิมจริง ๆ เพราะว่าคนบนพื้นที่สูงใช้ เพราะสอดคล้องเหมาะสมกับระบบนิเวศที่เป็นป่า เป็นเขา มีทั้งองค์ความรู้ ภูมิปัญญา มีวิถีวัฒนธรรม ยกตัวอย่างการนับเดือน จะนับจากการเริ่มผลิต จนถึงการเก็บเกี่ยว ตั้งแต่ ตะเล ทีคุ ทีแพะ จนครบวงจรในรอบปี ก่อเกิดทั้งเรื่องอัตลักษณ์ เกิดทั้งเรื่องของความภาคภูมิใจ และเกิดทั้งเรื่องความเชี่ยวชาญ การมีองค์ความรู้ภูมิปัญญาในการเกษตรด้านนี้
และได้อธิบายถึงต้นตอของมายาคติ ว่า
ประมาณปี พ.ศ. 2502 เกิดแผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติฉบับที่ 1
การสร้างคำว่า “ชาวเขา” ขึ้นมา อธิบายว่าเป็นปัญหา

1. เมื่อชาวเขาอยู่ในป่า และทำไร่หมุนเวียน ซึ่งเขาใช้คำว่า “ไร่เลื่อนลอย” ซึ่งเป็นเหตุของการทำลายป่า

2. สมัยนั้นมีเรื่องฝิ่น ก่อน ปี พ.ศ. 2500 ฝิ่นเป็นที่นิยมและเป็นสินค้าที่ถูกต้องตามกฏหมาย ตั้งแต่แผนพัฒนาเศรษฐกิจฉบับที่ 1 สร้างกฎหมายใหม่ ฝิ่น เป็นเรื่องผิดกฎหมาย ชาวเขาปลูกฝิ่น

3. เกี่ยวข้องกับเรื่องความมั่นคง ช่วงนั้นมีกระแสการช่วงชิงประชาชนในลัทธิการเมืองที่เป็นคอมมิวนิสต์ กับทุนนิยม และในฝ่ายของประเทศไทย เอนเอียงไปในทางทุนนิมยมมากกว่า เพราะฉะนั้น ใช้กระบวนการนี้แหละ ชาวเขาเมื่ออยู่ในป่า ล่อแหลมต่อการเป็นคอมมิวนิสต์ และกลายเป็นภัยต่อความมั่นคง
เพราะฉะนั้นสังคมไทยจะเข้าใจว่า คำว่า “ชาวเขา” เป็นกลุ่มที่มีปัญหาและสร้างปัญหาเรื่องของการทำลายป่า การที่จะรือถอนมายาคติที่ฝังอย่างลึกซึ้ง มันค่อนข้างจะยาก
เมื่อเป็นแบบนี้ ผมคิดว่าเป็นเรื่องที่ท้าทายมากสำหรับ PASD ที่ยืนยันที่จะประคับประคอง ปกปักและรักษา กลุ่มคนที่ทำไร่หมุนเวียน “ปว่า หม่า เอาะ คึ โพ” คนที่ทำไร่หมุนเวียนจะอยู่ต่อไปได้อย่างไร
เราพูดกันอย่างชัดเจนว่าระบบนี้เป็นกลไก พูดได้เลยว่าเป็นกลไกที่ดีที่สุดในการจัดการทรัพยากรและความหลากหลายทางชีวภาพ มีทั้งองค์ความรู้ มีทั้งภูมิปัญญา มีทั้งจิตวิญญาณอยู่ในตัว เมื่อเป็นแบบนี้ สิ่งที่เราต้องสื่อสาร และวันนี้เราพูดถึง การสื่อสารผ่าน The Rotate ดร.ประเสริฐ กล่าวปิดท้าย...
The Rotate เป็นพื้นที่การสื่อสารที่สร้างสรรค์วิธีการด้วยการชวนเพื่อนในวัฒนธรรมนำผลิภัณธุ์ชุมชนมา Work Shop ทั้งอาหาร กาแฟ ผ้าทอ รวมถึงดนตรีจากศิลปิน และอื่น ๆ อีกมากมาย โดยมีชุมชนกะเหรี่ยง ปกาเกอะญอและโพล่งเข้าร่วมกว่า 22 ชุมชน ทั่วประเทศ
ภาพ เรื่อง : ทินภัทร ภัทรเกียรติทวี
โพควา โปรดักชั่น
ชวนมาร่วมกับเราและมา "อ่อเส๊อะเกอะเม - กินข้าวด้วยกันกับเรา"ที่เชียงใหม่
ในงาน The Rotate Festival : เทศกาลหมุนเวียนชีวิตชนเผ่าพื้นเมือง
พบกันในวันที่ 27-28 มกราคม 2024
สถานที่:ลานกว้างใน Get Farmily-เกษตรกรในสวนเพื่อน จ.เชียงใหม่
เวลา 16.00 - 21.00น.

Multiverse of Indigenous: จาก กะเนอมื่อ สู่ เช ซู โม่ [Che So Mo] แบรนด์ชุมชนท้องถิ่นที่บอกเล่าวิถีอัตลักษณ์ชนเผ่าพื้นเม...
16/01/2024

Multiverse of Indigenous: จาก กะเนอมื่อ สู่ เช ซู โม่ [Che So Mo] แบรนด์ชุมชนท้องถิ่นที่บอกเล่าวิถีอัตลักษณ์ชนเผ่าพื้นเมือง
โพควา โปรดักชั่น x

ในแต่ละวัฒนธรรมจะมีคำหรือภาษาถิ่นเพื่อเรียกวัตถุหรือสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ โดยการใช้คำเรียกที่สะท้อนถึงวิธีคิด โลกทัศน์ ต่อการดำรงอยู่ของผู้คน ในบทความนี้ชวนมารู้จักกับ จักรวาลวิทยาผ่านภาษา คำว่า "กะเนอมื่อ"ของชนเผ่าพื้นเมือง ปกาเกอะญอ
กะเนอมื่อ เป็นภาษาปกาเกอะญอ ที่ใช้เรียกพื้นที่ป่าที่ไม่ผลัดใบ หรือพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความอุดสมบูรณ์ ซึ่งตรงกับนิยามของภาษาไทยว่า "ป่าดงดิบ" โดยการเรียกชื่อสิ่งต่าง ๆ ของธรรมชาติ มักใช้มนุษย์เป็นแหล่งของคำหรือภาษา เช่น การเรียก ป่าดงดิบว่า เป็นป่าผู้หญิง เพราะมีลักษณะชุมชื่น ไม่ผลัดไป ซึ่งสอดคล้องกับปรัชญาของ การเป็นผู้หญิง หรือความเป็นแม่ ว่าเป็นผู้ที่เสียสละ ต้องรับความเจ็บปวดจากการตั้งท้อง และต้องคอยดูแลลูกเป็นหลักจนเติบใหญ่ ดังต้นไม้ที่แผ่ร่มเงาให้กับสรรพสิ่งน้อยใหญ่ให้งอกงาม[อ่านเพิ่มเติมในบทความเรื่องIDENTITY: ผู้หญิงกับบทบาท "ความเป็นแม่แห่งเผ่าพันธุ์" ในวัฒนธรรมปกาเกอะญอ] นอกจากนี้ยังสะท้อนถึงการจัดการภูมิวัฒนธรรมที่สอดรับกับระบบนิเวศสิ่งแวดล้อม
กะเนอมื่อ 60 กว่าไร่ ที่บ้านห้วยอีค่าง ต.แม่วิน อ.แม่วาง จ.เชียงใหม่ เป็นพื้นที่ที่ชุมชนร่วมกันดูแลรักษา นำโดย หน่อแอริ ทุ่งเมืองทอง ผู้ใหญ่บ้านห้วยอีค่าง หรือแม่หลวงหน่อแอริ สตรีชนเผ่าพื้นเมือง โดยแม่หลวงเล่าว่า กะเนอมือ เป็นป่าดงดิบ ที่มีการร่วมดูแล ร่วมรักษา และร่วมใช้ประโยชน์ โดยการนำจารีตเป็นกรอบในการปฏิบัติและสร้างสำนึกร่วมในการรักษาผืนป่าแห่งนี้ไว้
กะเนอมื่อผืนนี้เป็นป่าแห่งวิตวิญญาณของเด็กด้วย เพราะเป็นป่าสะดือของชุมชน มีการจัดการทรัพยากรป่าไม้ และใช้ประโยชน์พัฒนาเศรษฐกิจชุมชน โดยการเก็บหาของป่า พืชพัก และสิ่งสำคัญคือ เป็นแหล่งวัตถุดิบของการย้อมสีธรรมชาติ ซึ่งเป็นหัวใจหลักของแบรนด์ "Che So Mo " แบรนด์ชุมชนที่ทำเรื่องผาย้อมสีจากธรรมชาติ ซึ่งมาจากผืนป่าแห่งนี้ เป็นการต่อยอดภูมิปัญญาและสร้างเศรษฐกิจสีเขียว ที่เกื้อกูล หมุนเวียน เคลื่อนวิถีให้อยู่ร่วมสมัย
ในวันที่ 27-28 มกราคม 2567 นี้ เราจะได้เห็น แบรนด์ Che So Mo ที่นำวัตถุดิบมาจาก กะเนอมื่อ มาสร้างสรรค์สีสันและลวดลายผ้าให้เราได้ชมผลิตภัณฑ์และเรื่องราวการเดินทางของผืนป่า จาก กะเนอมื่อ สู่ ซะซะมู แบรนด์ชุมชนท้องถิ่น แบรนด์ที่บอกกับชุมชนว่า ยังมีโอกสา ยังมีความหวัง และบอกกับสังคมว่า นี่คืออัตลักษณ์ชนเผ่าพื้นเมืองที่สามารถอยู่ร่วมกับผืนป่าได้ และพิสูจน์มาแล้วกว่า 400 ปี
Multiverse of Indigenous พหุจักวาลชนเผ่าพื้นเมือง มองสรรพสิ่งบนความเชื่อว่า ทุกสรรพสิ่งล้วนมีเจ้าของ มนุษย์เป็นเพียงผู้ดำรงและอาศัยอยู่เพียงชั่วขณะ และสอนลูกหลานว่า จงเรียนรู้ที่จะอยู่ร่วมกับธรรมชาติ เพราะธรรมชาติยิ่งใหญ่กว่ามนุษย์ ที่โลกเดือด โลกกำลังร้องไห้ คือผลการกระทำของเหล่ามนุษย์ผู้อหังกาคิดว่าตนเหนือธรรมชาติ แต่ธรรมชาติได้แสดงให้เห็น ผ่าน ปรากฏการณ์น้ำท่วม โลกร้อน แผ่นดินไหว หรือโลกที่กำลังเดือดอยู่ในตอนนี้ว่า เราอาจจะคิดผิด และหากมนุษย์ไม่รบกวนธรรมชาติเกินไป โลกจะสงบสุข
มีปรัชญาของชาวกะเหรี่ยงสอนลูกหลานว่า
"มนุษย์กินยังไม่ครบ รู้ยังไม่หมด" ขอให้ผู้อ่านลองแปลความหมายนี้กันครับ

ภาพ เรื่อง : ทินภัทร ภัทรเกียรติทวี
โพควา โปรดักชั่น

ชวนมาร่วมกับเราและมา "อ่อเส๊อะเกอะเม - กินข้าวด้วยกันกับเรา"ที่เชียงใหม่
ในงาน The Rotate Festival : เทศกาลหมุนเวียนชีวิตชนเผ่าพื้นเมือง
พบกันในวันที่ 27-28 มกราคม 2024
สถานที่:ลานกว้างใน Get Farmily-เกษตรกรในสวนเพื่อน จ.เชียงใหม่
เวลา 16.00 - 21.00น.

Festival: คึฉึ่ย เทศกาลหมุนเวียนชีวิตชนเผ่าพื้นเมืองไร่หมุนเวียน คืออะไร?เกี่ยวข้องและสำคัญต่อระบบสังคมวัฒนธรรมชนเผ่าพื้...
15/01/2024

Festival: คึฉึ่ย เทศกาลหมุนเวียนชีวิตชนเผ่าพื้นเมือง
ไร่หมุนเวียน คืออะไร?
เกี่ยวข้องและสำคัญต่อระบบสังคมวัฒนธรรมชนเผ่าพื้นเมืองอย่างไร?
สัมพันธ์กับระบบนิเวศบนพื้นที่สูงและการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs)ด้านไหนอย่างไร?
และเป็นบ่อเกิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์จากท้องถิ่นโดยเยาวชนคนรุ่นใหม่อย่างไร?
และทั้งหมดนี้ คนปกาเกอะญอบอกกำลังจะออกอะไร?
ในนิทรรศการ"The Rotate Festival : เทศกาลหมุนเวียนชีวิตชนเผ่าพื้นเมือง" ชวนชาวปกาเกอะญอกว่า 12 ชุมชน จาก 7 จังหวัด และ 17 นักเขียน ทั้งหมดเป็นชาวปกาเกอะญอที่มาร่วมกันคิด และออกแบบเทศกาลนี้ เพื่อบอกเล่าวิถีอัตลักษณ์ สร้างกระบวนทัศน์ใหม่ชนเผ่าพื้นเมือง
และเป็นครั้งแรกกับการเปิดตัว The Rotate ที่เป็นพื้นที่สื่อสารของคนในชุมชนปกาเกอะญอและชนเผ่าพื้นเมือง ในการเล่าเรื่องราวในชุมชนผ่านกิจกรรมในงาน รวมถึงการเฉลิมฉลอง "หนี่ซอโข่ - ปีใหม่กะเหรี่ยง" ใน The Rotate Festival ไปกับพวกเรา
ในงานจะได้พบกับคนทำงานจริงในชุมชน แลกเปลี่ยน พูดคุย พบปะ
การรวบรวมผลผลิตจากไร่หมุนเวียนจากทั่วประเทศที่มารังสรรค์ใน “ครัวกะเหรี่ยง”
นิทรรศการ Workshop และสินค้าจากแบรนด์ชุมชนใน “The Rotate Market”
และ Mini Concert จากศิลปินกะเหรี่ยง และอื่นๆอีกมากมายและหลากหลาย
ชวนมาร่วมกับเราและมา "อ่อเส๊อะเกอะเม - กินข้าวด้วยกันกับเรา"ที่เชียงใหม่
ในงาน The Rotate Festival : เทศกาลหมุนเวียนชีวิตชนเผ่าพื้นเมือง
พบกันในวันที่ 27-28 มกราคม 2024
สถานที่:ลานกว้างใน Get Farmily-เกษตรกรในสวนเพื่อน จ.เชียงใหม่
เวลา 16.00 - 21.00น.

แล้วมาพบกันครับ
โพควา โปรดักชั่น

PHOTO EASSAY: ภูมิปัญหาการสร้างสรรค์เมนูจากวัตถุดิบท้องถิ่นมองดูรอบบ้าน แล้วให้คิด 1 เมนู เมนูแรกที่ทำได้เลยคือ?หลายคนอา...
11/01/2024

PHOTO EASSAY: ภูมิปัญหาการสร้างสรรค์เมนูจากวัตถุดิบท้องถิ่น
มองดูรอบบ้าน แล้วให้คิด 1 เมนู เมนูแรกที่ทำได้เลยคือ?
หลายคนอาจมีเมนูในใจที่มองรอบบ้านแล้วทำได้ทันที บางคนอาจต้องรอวัตถุดิบหรือออกไปซื้อ?
โพควา โปรดักชั่น x Rotate เดินทางมาที่บ้านห้วยอีค่าง ต.แม่วิน อ.แม่วาง จ.เชียงใหม่ ที่นี่เป็นชุมชนปกาเกอะญอมีอายุราวกว่า 400 ปี และได้รับคำอธิบายถึงที่มาของชื่อ "ห้วยอีค่าง" จากแม่หลวงหน่อแอริ ทุ่งเมืองทอง ผู้ใหญ่บ้านแห่งนี้ว่า จริงๆแล้ว ถูกแปลมาจากชื่อปกาเกอะญอ คำว่า "ตะซวคีะ" ซึ่งแปลว่าอีค่าง เพราะตอนนั้น ตะแซะ จะลงมากินน้ำในลำห้วยและพบเยอะมาก ชาวบ้านเรียกว่า "ตะซวะคี" ซึ่งแปลว่า ขุนน้ำอีค่าง
ด้วยบริบทชุมชมที่อยู่กับป่า มีการดูแล รักษา ตามวิถีจารีต จึงทำให้ป่าอยู่คู่ชุมชนเรื่อยมาเกือบ 500 ปี สิ่งหนึ่งที่ถูกสั่งสมจนกลายเป็นภูมิปัญญาคือ วัฒนธรรมอาหารของที่นี่ บ้านห้วยอีค่าง มีทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ มีพื้นที่ป่าธรรมชาติกว่า 6,000 ไร่ มีความหลากหลายพันธุ์พืชกว่า 275 ชนิด และเพาะปลูกพืชท้องถิ่นไว้ใช้ประโยชน์ในพื้นที่ทำการเกษตรและบริเวณครัวเรือนกว่า 98 ชนิด จนได้รับการสถาปนาว่า "เป็นชุมชนต้นแบบธนาคารอาหารชมุชน" Foodbank บนพื้นที่สูง
วัตถุดิบหลักทั้งหมดที่นำมาสร้างสรรคเมนูอาหารมาจากริมรั้วขอบบ้านและผืนป่า เช่น ปลา มะเขือเทศ มะแขว่น พริก ผักชีหัวใหญ่ ผักกาดน้ำปู(เศรฐกิจชุมชน) และอืนๆ มาสาธิตการทำอาหารให้พวกเราได้ชิม เพื่อจะคัดสรรค์ 5 เมนู เตรียมมาแสดงและให้ผู้ร่วมงานชิมในงาน TheRotate หมุนเวียนเพื่อเปลี่นโลก ที่ Get Farmily-เกษตรกรในสวนเพื่อน จ.เชียงใหม่ วันที่ 27-28 มกราคม 2567 นี้ โดยวัตถุดิบล้วนมาเรื่องราวที่เชื่อมโยงกับวิถี ผืนป่า และวัฒนธรรมในวิถี โดยเฉพาะผ้าทอ เป็นภูมิปัญญาสร้างสรรค์เมนูอาหารจากวัตถุดิบพื้นบ้านแห่งบ้านห้วยอีค่างแห่งนี้
ผม และทีมงานได้ชิมแล้ว ถึงกับร้อง....อร่อยมาก และบางเมนูจะถูกนำมาสร้างสรรค์ในงานผงอเพื่อนที่ร่วมงานได้มาดู และลองทำอีกด้วย แล้วมาพบกันครับ

ภาพ:เรื่อง ทินภัทร ภัทรเกียรติทวี
โพควา โปรดักชั่น

#หมุนเวียนเปลี่ยนโลก #โพควาโปรดักชั่น #อัตลักษณ์ #ชาติพันธุ์
วันที่ 27-28 มกราคม 2567 มีกิจกรรมชื่อ TheRotate หมุนเวียนเพื่อเปลี่นโลก ที่ Get Farmily-เกษตรกรในสวนเพื่อน จ.เชียงใหม่

มาเยือนแม่หลวง หน่อแอริ แห่งบ้านห้วยอีค่าง อ.แม่วางจ.เชียงใหม่ สตรีนักต่อสู้เพื่อสิทธิสตรีชนเผ่าพื้นเมือง และการก้าวสู่ผ...
10/01/2024

มาเยือนแม่หลวง หน่อแอริ แห่งบ้านห้วยอีค่าง อ.แม่วางจ.เชียงใหม่ สตรีนักต่อสู้เพื่อสิทธิสตรีชนเผ่าพื้นเมือง และการก้าวสู่ผู้นำชุมชน ในฐานะผู้ใหญ่บ้านแห่งนี้

Multiverse of Ethnic: จักรวาลวิทยาชาติพันธุ์ ทำไมคนกะเหรี่ยงจึงมีพิธีกรรมเยอะแยะมากมาย ทุกครั้งที่ทำพิธีกรรม เนื้อหาสาระ...
07/01/2024

Multiverse of Ethnic: จักรวาลวิทยาชาติพันธุ์

ทำไมคนกะเหรี่ยงจึงมีพิธีกรรมเยอะแยะมากมาย
ทุกครั้งที่ทำพิธีกรรม เนื้อหาสาระ มีอะไร และสำคัญอย่างไรต่อชีวิตและเผ่าพันธ์ ชวนสำรวจและทำความเข้าใจแนวคิดเบื้องหลังของปฏิบัติการทางวัฒนธรรม ผ่านการทำพิธีบนบานก่อนหยอดข้าวไร่กันครับ ลุยยย

"ทุกสรรพสิ่งล้วนมีเจ้าของ"
เราต่างเป็นมนุษย์ที่อาศัยอยู่ในโลก(Physical)ใบเดียวกัน แต่มนุษย์ในโลกมีความแตกต่างหลากหลาย ทั้งวัฒนธรรม ประเพณี ความเชื่อ ที่ถูกผลิขึ้นมาเพื่อเป็นวิถีปฏิบัติ แบบแผน และสืบทอดต่อกันมา ตามภูมิวัฒนธรรมและภูมิสังคมนั้น ๆ ดังนั้นจึงทำให้เรามองวัตถุ หรือปรากฏการณ์บางอย่าง จึงได้ผลลัพธ์ที่ต่างกันตามโลกทัศน์ของเผ่าพันธ์ เช่น "เรื่องต้นไม้" บางวัฒนธรรมมองว่า เป็นต้นไม้ คือ ทรัพยากรธรรมชาติทีมีมูลค่าสามารถสร้างเศรษฐกิจได้ แต่ในบางวัฒนธรรมก็มองว่า ต้นไม้ คือ จิตวิญญาณของของมนุษย์ เช่น ปกาเกอะญอ ที่มีป่าสะดือ เป็นพื้นที่ป่าจิตวิญญาณ เป็นต้น
Multiverse of Ethnic หรือจักวาลวิทยาชาติพันธุ์ เป็นโลกทัศน์ของกลุ่มชาติพันธุ์ที่มีต่อโลกเชิงกายภาพ โดยมีความเชื่อโยงกับเรื่องเล่า "กำเนิิดมนุษย์บนโลก (อ่านเพิ่มเติมในงานวิจัย แนบลิงค์ด้านล่าง)"ซึ่งเป็นเสมือนเข็มทิศชีวิตของการปฏิบัติตนของเผ่าพันธุ์ ในวัฒนธรรมกะเหรียง ซึ่งเป็นกลุ่มชาติพันธุ์และเป็นชนเผ่าพื้นเมือง ผ่านพฤติกรรมและการแสดงต่อสิ่งแวดล้อม
การทำไร่หมุนเวียนของชาวกะเหรี่ยง เป็นแนวคิดเรื่อง "ต้าทีต้าตอ" หรือ เจ้าที่เจ้าทาง ซึ่งเป็นเทพแห่งสรรพสิ่ง ที่คอยปกป้องดูแลการเกิด แก่ เจ็บ ตาย ของมนุษย์ ที่ผูกโยงกับธรรมชาติ เช่น เด็กจะเติบโตได้ต้องมีเทพแห่งป่าคอยดูแลวิญญาณไม่ให้ถูกผีมาจับทำให้ป่วย นั่นก็คือ ป่าเดปอทูที่พ่อของเด็กนำสะดือไปแบวนไว้ เป็นต้น ดังนั้นทุกสรรพส่ิงล้วนมีเจ้าของ แม้กระทั่งการใช้ที่ดินทำไร่หมุนเวียน
ต้องสื่อสารกับเจ้าแห่งสรรพสิ่ง ในการขอใช้ที่ดิน ต้องอัญเชิญวิญาณในไร่เหล่าออก เพราะจะมีการฟันไม้และเผาไร่ จะทำให้เจ้าที่เจ็บป่วยและลงโทษมนุษย์ ซึ่งตลอดกระบวนการทำไร่ จึงห้อมล้อมไปด้วยพิธีกรรม ที่สื่อสารกับสิ่งเหนือธรรมชาติตลอดปี ด้วยโลกทัศน์ "ทุกสรรพสิ่งล้วรมีเจ้าของ มนุษย์เป็นเพียงผู้อาศัยและดำรงอยู่เพียงชั่วขณะ" จงอย่าทำให้เจ้าแห่งธรรมชาติ หรือ สรรพสิ่ง สูญสิ้นเพียงเพราะความต้องการของมนุษย์เรา
ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดของจักรพันธ์ เพียรพนัสสัก (2543) ที่ได้จำแนกความเชื่อของชาวกะเหรี่ยงได้ 3 กลุ่ม คือ 1. ความเชื่อความสัมพันธ์ระหว่างคนกับคน 2. ความเชื่อความสัมพันธ์ระหว่างคนกับธรรมชาติ 3.ความเชื่อความสัมพันธ์ระหว่างคนกับสิ่งเหนือธรรมชาติ โดยกระบวนการทำไร่หมุนเวียนอยู่ครบทั้ง 3 กลุ่ม แต่ภาพที่ถ่ายนี้ อยู่ในกลุ่มที่ 3 เป็นพิธีกรรมสื่อสารกับสิ่งเหนือธรรมชาติ หรือดิวกับเทพแห่งสรรพสิ่ง โดยมีเครื่องเซ่น เป็นข้าว ไก่ เหล้า เป็นองค์ประกอบ ในการเพาะปลูกไร่หมุนเวียน
ภาพพิธีกรรมการขออนุญาตต่อสิ่งเหนือธรรมชาติก่อนการหยอดข้าวไร่ ของบ้านสบลาน ต.สะเมิง จ.เชียงใหม่ เมื่อฤดูฝนปี 2563 โดยมีพาตี่ตาแยะ หรือ ตาแยะ ยอดฉัตรมิ่งบุญ ปราชญ์ชุมชนชาวปกาเกอะญอทำพิธีดังกล่าว เพื่อขออญาตและบนบานให้ผลผลิตในปีนั้นออกมาเพียงพอต่อการดำรงชีพทั้งปี และเมื่อถึงฤดูเก็บเกี่ยวต้องมาประกอบพิธีกรรมขอบคุณ และพิธีกรรมอัญเชิญสรรพสิ่งกลับสู่พื้นที่ ซึ่งไร่หมุนเวียนจะถูกพักฟื้นเป็นไร่เหล่า และกลับมาทำอีกครั้งเมื่อครบเวลาที่กำหนดคือ 7 ปี
แม้ว่าเราจะอยู่ในสิ่งแวดล้อมเดียวกัน มีน้ำ ป่า เขา สรรพสัตว์ แต่ในจักรวาลวิทยาชาติพันธุ์มองสิ่งเหล่านี้แตกต่างกันไป ซึ่งเป็นการให้คุณค่า ความหมาย ต่อสรรพชีวิตและสรรพสิ่งแตกต่างกัน ต่อมาเกิดองค์ความรู้ในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ ทรัพยากรมนุษย์ เพื่ออยู่ร่วมกับเพื่อนมนุษย์ที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรม ขณะเดียวกันทั่วโลกมีชนเผ่าพื้นเมืองมากกว่า 5,000 เผ่า กระจายอยู่มากกว่า 90 ประเทศ ประชาชนกว่า 370 ล้านคน หมายความว่า อาจมีจักวาลวิทยาทั่วโลกมากกว่า 5,000 จักรวาล
ภาพ/เรื่อง: ทินภัทร ภัทรเกียรติทวี
โพควา โปรดักชั่น
อ้างอิง
1. จักรพันธ์ เพียรพนัสสัก. ภูมิปัญญาชาวบ้านในพิธีกรรมของชุมชนกะเหรี่ยง. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต (สาขาวิชาการศึกษานอกระบบ) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2543.
2. AMNESTY.ชนเผ่าพื้นเมือง.2567 [ออนไลน์]

#หมุนเวียนเปลี่ยนโลก #โพควาโปรดักชั่น #อัตลักษณ์ #ชาติพันธุ์
วันที่ 27-28 มกราคม 2567 มีกิจกรรมชื่อ TheRotate หมุนเวียนเพื่อเปลี่นโลก ที่ Get Farmily-เกษตรกรในสวนเพื่อน จ.เชียงใหม่

IDENTITY: ผู้หญิงกับบทบาท "ความเป็นแม่แห่งเผ่าพันธุ์" ในวัฒนธรรมปกาเกอะญอเมื่อ ผู้หญิงที่เป็นแม่ ตาย ห้องครัวจะถูกรื้อเพ...
06/01/2024

IDENTITY: ผู้หญิงกับบทบาท "ความเป็นแม่แห่งเผ่าพันธุ์" ในวัฒนธรรมปกาเกอะญอ
เมื่อ ผู้หญิงที่เป็นแม่ ตาย ห้องครัวจะถูกรื้อเพื่อแสดงถึงการให้เกียรติแก่ "ความเป็นแม่" เนื่องจากห้องครัวกะเหรี่ยง จะเป็นทั้งที่เกิด(ทำคลอด) ที่อยู่(วงน้ำชา หรือการทำอาหาร) ที่แก่(จะเป็นที่นอนพักของวัยชรา) และที่ตาย(จะมีการประกอบพิธีกรรมในห้องครัว) ซึ่งเป็นสอดคล้องกับสถาปัตยกรรมการสร้างบ้านที่ออกแบบด้วยคติชน ความเชื่อ และ Function ของบ้าน ซึ่งสะท้อนถึงบทบาทและบารมีผู้หญิงเป็นอย่างดี
นอกจากบทบาทในบ้านแล้ว ในไร่ ซึ่งเป็นระบบการผลิตแบบไร่หมุนเวียน ผู้หญิงยังมีบทบาทอยู่ในทุกกระบวนการ ตั้งแต่การเสียงทายพื้นที่ การเก็บรักษาเมล็ดพันธ์ การสร้างองค์ความรู้ในการจัดการและรักษาผืนดิน ตลอดจนการถ่ายถอดเรื่องราวผ่านสัญลักษณ์ต่าง ๆ เช่น ผ้าทอ ย่าม และอื่น ๆ
ประเสริฐ ตระการศุภกร และคณะ (2557) ศึกษาเรื่อง ความหลากหลายพันธุ์พืช ไร่หมุนเวียนและผู้หญิง ความเป็นหนึ่งที่สืบทอดความคงอยู่ของความหลากหลายพันธุ์พืช ภายใต้โครงการจัดการสิ่งแวดล้อมและไร่หมุนเวียน พบว่า
ในการจัดการกระบวนการปลูกพืชในไร่หมุนเวียนนั้นผู้หญิงกะเหรี่ยงเป็นผู้ที่ดูแลตั้งแต่กระบวนการผลิตไปจนถึงเก็บเกี่ยว การเชี่ยวชาญและมีความรู้เกี่ยวกับเมล็ดพันธุ์ทำให้รู้ว่า พืชแบบนี้ควรปลูกดินแบบไหนจึงจะเหมาะสม เช่น หัวมันต่างๆ ควรปลูกในดินที่จอมปลวกจึงจะเหมาะสมและเติบโตได้ดีที่สุด เป็นต้น ระบบของไร่หมุนเวียนและองค์ความรู้ของผู้หญิงทำให้ก่อเกิดเป็นแหล่งผลิตความหลากหลายของพันธุ์พืชนานาชนิด เป็นแหล่งรักษาพันธุ์พืชผ่านกระบวนการปลูกอย่างต่อเนื่อง หรือ ธนาคารพันธุ์พืช (Seed bank) นอกจากนี้ยังมีกระบวนการแลกเปลี่ยนพันธุ์พืชระหว่างหมู่บ้าน แลกเปลี่ยนวิธีการปลูก การดูแลรักษา ปัญหาในการปลูก รวมถึงวิธีป้องกันต่างๆ ซึ่งทำให้กระบวนการคงอยู่ของความหลากหลายพันธุ์พืชยังคงดำเนินต่อไป
การส่งต่อและสืบทอดเจตนารมณ์ผ่านคำสอนบทลำนำใจความว่า “ชีวิตจะอดอยากยากแค้นแค่ไหน จะสามารถอยู่รอดได้หากรักษาความหลากหลายทางพันธุ์พืชเข้าไว้ กล่าวคือ ความอยู่รอดของพันธุ์พืชย่อมนำไปสู่ความอยู่รอดของผู้คน” โดยการส่งต่อและสืบทอดความรู้ยังกระทำผ่านวิถีรอบปีในการทำไร่หมุนเวียน เสมือนเป็นวิถีปฏิบัติของการทำไร่หมุนเวียนไปพร้อมๆ กับการสืบทอดความรู้และเจตนารมณ์ของการดูแลรักษาไร่และพันธุ์พืชให้คงอยู่ได้ผ่านปฏิบัติการ โดยเริ่มจากเดือน “เตอะเล” อยู่ในช่วงมกราคมคาดเกี่ยวกับเดือนกุมภาพันธ์ เดือนนี้ผู้ชายจะใช้ช่วงเวลาเหล่านี้สร้างบ้าน หรือซ่อมแซมบ้านใหม่ ผู้หญิงจะปั่นฝ้าย ย้อมผ้า ไว้สำหรับใช้ตลอดปี
ต่อมารัฐบาลประกาศให้วิถีภูมิปัญญาการทำไร่หมุนเวียนของชาวกะเหรี่ยง หรือ “คึฉื่ย” เป็นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมประจำปี 2556
ภาพไร่หมุนเวียนที่ปรากฏ ถ่ายที่บ้านห้วยปูลิง อ.เมือง จ.แม่ฮ่องสอน เมื่อ ปี 2563 ซึ่งเป็นไร่หมุนเวียนที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ซึ่งหมายความว่า มีระบบการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่ดีควบคู่กันไป ซึ่งเป็นระบบที่ทำให้ป่าสมบูรณ์ สอดคล้องกับข้อมูลสถิติป่าไม้ของจังหวัดแม่ฮ่องสอน ที่พบว่า มีพื้นที่ป่ามากที่สุดในประเทศไทย ซึ่งมีพื้นที่ป่าไม้ถึงร้อยละ 85.51 รองลงมาอันดับที่ 2 คือ “ตาก” ร้อยละ 71.98 และอันดับที่ 3 คือ “อุทัยธานี” ร้อยละ 51.43
ภาพ/เรื่อง ทินภัทร ภัทรเกียรติทวี
โพควา โปรดักชั่น
อ้างอิง
ประเสริฐ ตระการศุภกร และคณะ (2557). ความหลากหลายพันธุ์พืช ไร่หมุนเวียนและผู้หญิง ความเป็นหนึ่งที่สืบทอดความคงอยู่ของความหลากหลายพันธุ์พืช ภายใต้โครงการจัดการสิ่งแวดล้อมและไร่หมุนเวียน

#หมุนเวียนเปลี่ยนโลก #โพควาโปรดักชั่น #อัตลักษณ์ #ชาติพันธุ์

วันที่ 27-28 มกราคม 2567 นี้ โพควา โปรดักชั่น ร่วมกับ The Rotate มีกิจกรรมชื่อ TheRotate หมุนเวียนเพื่อเปลี่นโลก ที่ Get Farmily-เกษตรกรในสวนเพื่อน จ.เชียงใหม่

Identity: อัตลักษณ์ปกาเกอะญอในบทเพลงกล่าวถึง "ไร่หมุนเวียน"มีเพลงใดของศิลปินปกาเกอะญอที่กล่าวถึงไร่หมุนเวียน?วันนี้โพควา...
05/01/2024

Identity: อัตลักษณ์ปกาเกอะญอในบทเพลงกล่าวถึง "ไร่หมุนเวียน"
มีเพลงใดของศิลปินปกาเกอะญอที่กล่าวถึงไร่หมุนเวียน?
วันนี้โพควา จะชวนมาฟังเพลงหนึ่งทมี่กล่าวถึงไร่หมุนเวียนของศิลปินปกาเกอะญอ

"ไร่...ข้าวบนภูเขา เหมือนยอดอ่อนของพุ่มไม้
ให้ความอิ่มเอมแก่ชีวิตคนภู ผ่านกาลเวลาไปเจ็ดขวบปี
ไร่ซาก ตื่นฟื้นเป็นผืนป่าใหญ่ สั่งสมความอุดมไว้เต็มอก”

คือเนื้อหาในบทเพลง ของศิลปิน ชิ สุวิชาน หรือ ผศ.ดร.สุวิชาน พัฒนาไพรวัลย์ ที่ได้ประพันธ์เพลงชื่อ เพลง: ไร่หมุนเวียนบนภูเขา เมื่อปี 2550
ในบทเพลง ไร่หมุนเวียนบนภูเขามีเนื้อหากล่าวถึง การสร้างความเข้าใจต่อวิถีชีวิต โดยเฉพาะระบบเกษตรแบบไร่หมุนเวียน ซึ่งเป็นระบบเกษตรที่เกื้อกูลต่อนิเวศทางธรรมชาติ อันมีความเชื่อจารีตเชื่อมโยงสัมพันธ์ในการบริหารจัดการทรัพยากร ไร่หมุนเวียนเป็นแหล่งความมั่นคงทางอาหาร มีการเปิดพื้นที่ ตัด ฟัน เผา หว่าน เกี่ยว และหมุนเวียนในพื้นที่ 7 แปลง 7 ปี เพื่อทำกินเสร็จในปีนั้น ๆ จะถูกปล่อยไว้ให้เป็นไร่ซาก เป็นที่อยู่ เป็นแหล่งอาหารของสัตว์ป่า และป่าจะฟื้นคืนกลับมาสมบูรณ์อีกครั้งเมื่อครบ 7 ปี และจะกลับมาทำกินในแปลงนี้อีกครั้ง
เพลงนี้ทำหน้าที่สื่อสารอัตลักษณ์ชาวกะเหรี่ยงทำไร่หมุนเวียน หาใช่ไร่เลื่อนลอย หรือการทำลายป่าอย่างถูกกล่าวว่า ซึ่งมายาคติชาติพันธุ์ถูกสร้างขึ้นพร้อมกับกระบวนการสร้างรัฐ-ชาติ ที่ดำเนินภายใต้แนวคิด การจำแนกแยกพวก (exclusion) และลัทธิชาตินิยมส่งผลให้เกิดคนกลุ่มใหญ่ของประเทศ และคนกลุ่มน้อยที่ไม่ใช่คนไทย (the non-Thai) ที่มีสถานภาพเป็นคนชายขอบของสังคมไทยเรื่อยมา เกิดการแบ่งดินแดน
แต่ขณะเดียวกันก็กีดกันสังคมและวัฒนธรรมที่แตกต่างให้เป็นชายขอบ หรือเป็นอื่น กลุ่มคนเหล่านี้จึงถูกกระทำเรื่อยมา ปฏิบัติการเชิงอำนาจของวาทกรรมการจำแนกแยกพวกในมิติต่าง ๆ ของสังคมไทย ตราบจนถึงทุกวันนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเป็นเครื่องมือของรัฐเพื่อสร้างความชอบธรรมในการใช้กำลังเข้าจัดการปัญหาบางอย่าง เช่น ความมั่นคง ปัญหายาเสพติด และปัญหาการทำลายทรัพยากรธรรมชาติ เป็นต้น..
นอกจากนี้ยังมีอีกหลายเพลงในผลงานเพลงของชิ สุวิชาน และศิลปินชาวกะเหรี่ยงที่พยายามนำเสนออัตลักษณ์จากมุมมองของคนในวัฒนธรรม และเมื่อแฟนเพจเห็นภาพไร่หมุนเวียน มีความทรงจำหรือนึกถึงบรรยากาศอย่างไรบ้าง เล่าสู่กันฟังหน่อยครับ
ภาพ/เรื่อง: ทินภัทร ภัทรเกียรติทวี
โพควา​โปรดักชั่น

อ้างอิง
1. สุริชัย หวันแก้ว.(2550).คนชายขอบจากความคิดสู่ความจริง. กรุงเทพฯ: บริษัทแอคทีฟ พริ้นท์ จำกัด, ทินภัทร ภัทรเกียรติทวี (2566) วิทยานิพนธ์.อัตลักษณ์ปกาเกอะญอในบทเพลงของศิลปิน กรณีศึกษา สุวิชาน พัฒนาไพรวัลย์ ณัฐวุฒิ ธุระวร และบัญชา มุแฮ. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่,

Article: 3 ยุคสำคัญ ของการการพัฒนาความเป็นชาติพันธุ์กะเหรี่ยงในประเทศไทย"ชาวป่า ชาวเขา ชาวไทยภูเขา ชาติพันธุ์ ชนเผ่าพื้น...
05/01/2024

Article: 3 ยุคสำคัญ ของการการพัฒนาความเป็นชาติพันธุ์กะเหรี่ยงในประเทศไทย


"ชาวป่า ชาวเขา ชาวไทยภูเขา ชาติพันธุ์ ชนเผ่าพื้นเมือง" คุณผู้อ่านเคยคุ้นกับคำเหล่านี้บ้างไหมครับ?

คำเหล่านี้เกิดขึ้นเพื่อบอกเล่าหรืออธิบายอัตลักษณ์ของกลุ่มชาติพันธุ์บนพื้นที่สูง และมีการเปลี่ยนคำ หรือ "วาทกรรม" (Discourse) โดยกลุ่มผู้มีอำนาจเหนือกว่าวัฒนธรรมอื่น ซึ่งหมายถึงรัฐ อย่างไรก็ตาม วาทกรรมในแต่ละยุคสมัยนำมาซึ่งปฏิบัติการบางอย่างเชิงพื้นที่ เช่น "วาทกรรมชาวเขา" มักจะมีคำนิยามตามท้ายมา เช่น ทำลายป่า ค้ายาเสพติด หรือเป็นภัยต่อความมั่นคง ซึ่งนิยามเหล่านี้เป็นการสนับสนุนปฏิบัติบางอย่างของรัฐต่อการจัดการทรัพยากรเชิงพื้นที่ อย่างไรก็ตามยุคหลังมีการต่อรองอำนาจการเมืองเชิงอัตลักษณ์ ด้วยการนิยามคำเรียกของกลุ่มชาติพันธุ์ตนเอง หรือ อธิบายวิถีวัฒนธรรมของตนเอง เช่น ชาวกะเหรี่ยงพื้นที่สูง มีวิถีทำไร่หมุนเวียน ไม่ใช่ไร่เลื่อนลอย หรือ ชาวเขาอยู่และเรียนรู้วัฒนธรรมคนกับป่า หาใช่การทำลาย
มีงานศึกษาของ ของ ขวัญชีวัน บัวแดง (2546) เรื่อง ศาสนาและอัตลักษณ์ของกลุ่มชาติพันธุ์ ศึกษากรณีกลุ่มชนกะเหรี่ยง ในประเทศไทย และประเทศพม่า
พบการแบ่งยุคการพัฒนาความเป็นชาติพันธุ์กะเหรี่ยงในประเทศไทย ได้ 3 ยุค คือ ยุคที่ 1 การพัฒนาโดยอิสระจากรัฐ กะเหรี่ยงในไทยส่วนใหญ่กระจัดกระจายตามป่าเขาและมีการปกครองเบ็ดเสร็จในหมู่บ้าน แต่มีสายสัมพันธ์กับกษัตริย์ไทย ในบางท้องถิ่นและกะเหรี่ยงอาจจะรวมตัวกันในระดับที่กว้างกว่าหมู่บ้าน ผ่านความเชื่อและพิธีกรรม "ลัทธิฤาษี" ทำให้ความเชื่อและพิธีกรรมเป็นกลไกในการรวมกะเหรี่ยงอย่างหลวม ๆ ในบางท้องถิ่น แต่ไม่ชัดเจนว่ามีการรวมกลุ่ม และสร้างอัตลักษณ์ชาติพันธุ์ที่ชัดเจน ผู้เขียนเรียกยุคนี้ว่า ยุคจารีต คือ เป็นยุคที่หัวเมืองมีกบัตริย์ ยังไม่มีขอบเขตพื้นที่ปกครองที่ชัดเจน เพียงแต่เป็นอิทธิพลของเจ้าเมืองและสำนึกของเหล่าบ้านเมืองรับรู้เรื่องพรมแดน
ยุคที่ 2 ความเป็นชาวเขา ในทศวรรษของ 2500 ผู้เขียนใช้คำว่า ยุคหลังสงครามเย็น ซึ่งเป็นช่วงเวลาหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่รัฐบาลไทยเริ่มให้ความสนใจกับกลุ่มชาติพันธุ์ที่อยู่บนพื้นที่สูงและรวมเรียกว่า "ชาวเขา" กะเหรี่ยงก็เป็นกลุ่มหนึ่งที่ถูกเรียกว่า "ชาวเขา" และถูกมองว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับ "การปลูกฝิ่น" และ "การทำไร่เลื่อนลอย" เป็นภัยต่อความมั่นคงทางการเมือง และเศรษฐกิจในรัฐ
ยุคที่ 3 ความเป็นชาติพันธุ์กะเหรี่ยง ในทศวรรษของ 2530 ภาพลักษณ์กะเหรี่ยงเปลี่ยนไป ผู้เขียนเรียกยุคนี้ว่า ยุคอัตลักษณ์ใหม่ เพราะเริ่มถูกมองว่าแตกต่างจากกลุ่มอื่น ในแง่ที่ว่ายอมรับนับถือพุทธศาสนา และกะเหรี่ยง เองก็สร้างตัวตนให้เด่นชัด ในเรื่องการทำไร่หมุนเวียน และการอนุรักษ์ป่า เผยแพร่โดยผู้นำกะเหรี่ยง และสื่อมวลชนมากขึ้น นับตั้งแต่ยุคนี้เป็นต้นมา การเข้าถึงการศึกษาของชาวกะเหรี่ยงมีจำนวนมากขึ้น อักทั้งพัฒนาการเรื่องเทคโนโลยีด้านการศึกษา การสื่อสารเข้ามาสู่ชุมชน จึงเกิดขบวนการสื่อสารจากภายในวัฒนธรรม (Emic) ผ่านรูปแบบดนตรี และการศึกษาวิจัยมากขึ้น จนกระทั่งมีการปรับคำเรียกตัวเองที่สอดรับกับวิถีวัฒนธรรม และศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ เช่น ปกาเกอะญอ แปลว่า คน หรือคำว่าชาติพันธุ์ ที่อธิบายเรื่องสำนึกทางอัตลักษณ์ของกลุ่มวัฒนธรรม และคำว่าชนเผ่าพื้นเมือง เพื่ออธิบายเรื่องการเป็นชนดั้งเดิมในดินแดนก่อนมีการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรม อำนาจ เช่น การอยู่ก่อนการประกาศเป็นพื้นที่อุทยานแห่งชาติ ดังนั้นชุมชนจึงควรจะมีสิทธิ์ชอบธรรมในการดำรงวิถีอัตลักษณ์และสืบทอดเผ่าพันธุ์
วันที่ 27-28 มกราคม 2567 นี้ โพควา โปรดักชั่น ร่วมกับ The Rotage มีกิจกรรมชื่อ TheRotate หมุนเวียนเพื่อเปลี่นโลก ที่ Get Farmily-เกษตรกรในสวนเพื่อน จ.เชียงใหม่ชวนเพื่อนมาร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และเสริมศักยภาพของชุมชนและคนรุ่นใหม่ชาติพันธุ์ผ่านกิจกรรมต่าง ๆ มากมาย พบกันครับ
อ้างอิง:
ขวัญชีวัน บัวแดง. ศาสนาและอัตลักษณ์ของกลุ่มชาติพันธุ์: กรณีศึกษากลุ่มชุมชนกะเหรี่ยงในประเทศไทยและประเทศพม่า. สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2546.

ภาพ/เรื่อง: ทินภัทร ภัทรเกียรติทวี
โพควา โปรดักชั่น

#โพควาโปรดักชั่น #หมุนเวียนเพื่อเปลี่ยนโลก

HAPPY NEW YEAR 2024สวัสดีปีใหม่สากลครับเป็นปีแห่งความงอกงามทางการศึกษาที่บักบั่นมาจนถึงฤดูกาลผลิบานขอบคุณทุกแรงสนับสนุนท...
01/01/2024

HAPPY NEW YEAR 2024
สวัสดีปีใหม่สากลครับ
เป็นปีแห่งความงอกงามทางการศึกษาที่บักบั่นมาจนถึงฤดูกาลผลิบาน
ขอบคุณทุกแรงสนับสนุนที่ส่งถึงโพควา โปรดักชั่น เพจที่ตั้งใจสร้างภูมิทัศน์สื่อชาติพันธุ์ด้วยมุมมองคนในวัฒนธรรม เส้นทางอีกยาวไกล แต่โพควา ไม่เคยหยุดเดิน
ปีใหม่นี้ มีเรื่องดีมาบอกถึงแฟนเพจครับ 29-30 มกราคมนี้ โพควา จะเข้ารับปริญญามหาบัณฑิต คณะการสื่อสารทวลชน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ใครมีโอกาสมาแถวนี้แวะเวียนมาพบปะ พูดคุยกันได้ครับ
อย่างไรก็ตาม เพจนี้จะยังคงทำตามความตั้งใจเหมือนเดิม เพิ่มเติมคือหาแนวทางขอทุนมาพัฒนาการสื่อสารครับผม
โอะชะโอะเคร
โพควา โปรดักชั่น

Article: ปรากฏการณ์การศึกษาของเยาวชนอาข่าในสายตานักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ บทความเรื่อง "ปัจจัยด้านการศึกษาในเยาวชนชา...
25/12/2023

Article: ปรากฏการณ์การศึกษาของเยาวชนอาข่าในสายตานักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
บทความเรื่อง "ปัจจัยด้านการศึกษาในเยาวชนชาวอาข่า กับการพัฒนาคุณภาพชีวิตของกลุ่มชาติพันธุ์" จากนักศึกษาสาขานวัตกรรมการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการผังเมือง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ที่ลงพื้นที่ทำวิจัยและได้พบปรากฏการณ์การศึกษาของกลุ่มชาติพันธุ์อาข่า และตั้งคำถามต่อสังคม บทความนี้จึงสะท้อนความเหลื่อมล้ำที่ส่งผลต่อการศึกษาของเยาวชน ในฐานะพลังทางปัญญาของการพัฒฯาประเทศ
“มากกว่าชุมชนหรือกลุ่มคน แต่คือ รากฐานวิถีชีวิตและเศรษฐกิจที่หาที่ไหนไม่ได้” ชาติพันธุ์เป็นคำที่มีความหมายถึง กลุ่มคนที่มีวิถีชีวิต ความเป็นอยู่ รวมถึงวัฒนธรรมและประเพณี ที่หล่อหลอมให้เกิดเป็นกลุ่มชุมชนใดกลุ่มชุมชนหนึ่ง ในประเทศไทยประกอบด้วยกลุ่มชาติพันธุ์มากกว่า 60 กลุ่ม ความหลากหลายเหล่านี้ ผสมผสานอยู่ร่วมกันอย่างมีเอกลักษณ์ และเป็นเสน่ห์อย่างหนึ่งของประเทศไทย อย่างไรก็ตามต้องยอมรับว่าที่ใดที่มีความแตกต่างที่นั่นย่อมมีปัญหาความเหลื่อมล้ำ การจะลดปัญหาเหล่านี้ และพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ของกลุ่มชาติพันธุ์ ในมุมมองของนักพัฒนารุ่นใหม่ของกลุ่มชาติพันธุ์ชาวอาข่าระบุว่า ปัจจัยด้านการศึกษายังคงอยู่ในลำดับแรกที่จะทำให้ลดความเหลื่อมล้ำในสังคมและสร้างรากฐานรอยยิ้มที่สำคัญที่เด็กทุกคนควรได้รับรวมไปถึง เยาวชนกลุ่มชาติพันธุ์
ชุมชนอาข่าเป็นชุมชนเก่าแก่ ที่มีวิถีชีวิตและประเพณีความเป็นอยู่ของตัวเองมาตั้งแต่ในสมัยรัชกาลที่ 5 โดยส่วนใหญ่จะอาศัยในภาคเหนือเป็นหลัก และกระจายตัวอยู่มากในจังหวัดเชียงราย ด้วยชาวอาข่ามีเชื้อสายจีนทำให้มีความขยันเป็นทุนเดิม ผสมผสานกับบริบทที่ตั้งที่มีความสูงจากน้ำทะเลมากกว่า 1,000 เมตร รวมถึงปัจจัยอื่น ๆ จึงส่งเสริมให้ปัจจุบันชุมชนอาข่าเป็นชุมชนที่ขึ้นชื่อทางด้านการปลูกชาและกาแฟ มีสายพันธุ์ชนิดกาแฟและชาเป็นของตนเอง รวมไปถึงมีบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญเป็นอย่างมาก จนได้รับการรับรองจากเวทีระดับโลกอย่าง The World Green Tea Contest
คุณลี-อายุ จือปา ผู้ก่อตั้งแบรนด์ akha-ama coffee ซึ่งเป็นผู้ที่นำกาแฟเข้าประกวดในองค์กรระดับโลกอย่าง องค์กรกาแฟชนิดพิเศษของโลก และได้รับเลือกเป็นหนึ่งในแบรนด์กาแฟจากทั่วโลก เพื่อใช้ในเวทีการชิมกาแฟนานาชาติ ได้ให้สัมภาษณ์ว่า ในระยะแรกของการเปิดร้านนั้น กาแฟอาข่าไม่ได้รับการตอบรับที่ดีนัก เนื่องจากเป็นกาแฟจากกลุ่มชาติพันธุ์จึงอาจทำให้ผู้ซื้อไม่มั่นใจในสินค้า และด้วยเหตุนี้จึงได้ตัดสินใจนำกาแฟไปประกวดเพื่อเป็นเครื่องการันตีคุณภาพของกาแฟชาวอาข่า ในทางกลับกันกว่าจะก้าวผ่านจุดนี้มาได้ค่อนข้างยากลำบากด้วยยุคสมัย
แต่ในตอนนี้เทคโนโลยีค่อนข้างไปไกลมาก การที่เยาวชนชาวอาข่าได้เรียนรู้และสามารถที่จะเข้าถึงการศึกษาเป็นเรื่องที่ดีต่อชุมชน การผสมผสานระหว่างเทคโนโลยีและวิถีวัฒนธรรมอาข่า จะช่วยเป็นแรงขับเคลื่อนชาวชาติพันธุ์ทุกกลุ่มให้เกิดอาชีพที่มั่นคง คุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น และจะไม่ใช่แค่ในอาข่าเท่านั้น แต่รวมไปถึงทุกชาติพันธุ์ควรจะได้รับการศึกษาที่ดีและเข้าถึงง่าย
ขณะเดียวกัน คุณ กัลยา เชอมื่อ ผู้ดูแลองค์กร Seed Journey ได้กล่าวไว้ว่า ชุมชนชาวอาข่า ล้วนมีวัตถุดิบที่เป็นที่ต้องการเนื่องจากสภาพอากาศที่ปลูกได้ พื้นที่เราค่อนข้างแตกต่างและเป็นเรื่องที่ดี ไม่ใช่แค่ชาและกาแฟ รวมไปถึงเรามีสมุนไพรที่เป็นที่ต้องการและราคาสูงในตลาด แต่เนื่องจากชาวพื้นที่เราไม่ได้มีความรู้หรือเงินทุนในการวิจัยมากนักทำให้การต่อยอดที่เราควรจะได้ทำแบบเต็มที่กลับต้องปล่อยโอกาสนี้ไปและให้คนอื่นเข้ามาทำแทน
ดังนั้นรายได้ที่ควรจะมั่นคงมันเลยหายไปจากหมู่บ้าน เด็กๆเริ่มไปศึกษาที่อื่นและ ทำงานในตัวเมืองหรือไปทำในต่างประเทศเพื่อมีรายได้ที่มั่นคงจึงค่อยกลับมาในหมู่บ้านในวัยกลางคน สังเกตได้เลยว่าหมู่บ้านไม่ค่อยมีวัยหนุ่มสาวมากนัก จึงเป็นเรื่องน่าเสียดายที่ต้องพูดกันตามตรงว่า การศึกษาเป็นรากฐานของเยาวชนที่จะทำให้พวกเขามีคุณภาพชีวิตและเติบโตไปทางที่ควรจะเป็นตามช่วงวัย แต่กลุ่มชาติพันธุ์ยังขาดปัจจัยตรงนั้นเพราะสังคมเรามีความเลื่อมล้ำอยู่มาก
การจากบ้านมาเรียนตั้งแต่ 5 ชวบเป็นเรื่องที่ทำใจยากของครอบครัวที่มีลูกน้อย แต่เป็นเรื่องที่ต้องทำใจให้ชินสำหรับกลุ่มชนชาวชาติพันธุ์ สัมภาษณ์จากหัวหน้ากลุ่มเยาวชน โดย คุณ สุวรรณี บุญยืนกุล บอกเล่าถึงการศึกษาในชุมชนอาข่าว่าเป็นเรื่องไกลตัวค่อนข้างมาก แม้ในปัจจุบันการเดินทางจะสะดวกขึ้น แต่ก็คงไม่เท่ากับเยาวชนในเมือง การเรียนหนังสือในแต่ละครั้ง เด็กทุกคนต้องเดินทางไปเองและมักจะมาพร้อมกับค่าเดินทางเสมอ นั่นทำให้เด็กหลายๆคนในชุมชนต้องเลือกที่จะทิ้งครอบครัวไปตั้งแต่อายุยังน้อยเพื่อหาโอกาสให้ตนเอง ความสัมพันธ์ทางครอบครัวจึงไม่แน่นแฟ้นเหมือนเด็กคนอื่น ๆ จะส่งผลกระทบถึงตอนโต จึงเป็นสาเหตุว่าทำไมเราถึงต้องการให้มีการศึกษาที่มั่นคง และเข้าถึงง่ายต่อเด็ก ๆ กลุ่มชาติพันธุ์
การตลาดที่จะนำมาพัฒนาต่อเพื่อสร้างสังคมเศรษฐกิจใหม่ เป็นโอกาสที่ชาวอาข่าอาจจะต้องเผชิญในอนาคต แต่ช้ากว่าที่อื่น คุณหัสดิน เม่อแล เจ้าของโรงงาน RAI-DIN DEE บอกถึง Demand ความต้องการผลผลิตจากวัตถุดิบบนดอยอาข่าของต่างประเทศ ไม่ว่าจะเป็น จีน และ ญี่ปุ่นเอง ในขณะที่ประเทศไทยยังไม่เป็นที่รู้จัก เนื่องจากขาดความรู้ทางด้านการตลาดเข้ามาส่งเสริม การตลาดมีมูลค่าที่สูงมาก
อย่างเช่น กาแฟในแม่จันทร์ใต้เมื่อแบรนด์ akha-ama coffee เป็นที่รู้จัก มีคนเข้ามาขอซื้อกาแฟเพิ่มขึ้นหลายตันต่อเดือน นั้นจึงเป็นเหตุผลว่าทำไมการตลาดถึงสำคัญและการศึกษาจึงจำเป็น เพราะเมื่อเรามีความรู้มากพอ เราจะสามารถต่อยอดได้ เหมือนที่ตอนนี้กลุ่มเยาวชนอาข่าสามารถที่จะสื่อสารภาษาอังกฤษได้ จึงทำหน้าที่เป็นไกด์ สร้างรายได้ให้แก่ชุมชนและอนุรักษ์วัฒนธรรมไปพร้อม ๆ กันได้
จากบทสัมภาษณ์ที่กล่าวมาข้างต้น บุคคลทั้ง 4 เป็นบุคคลที่มีศักยภาพ และเป็นหนึ่งในเยาวชนที่ประสบความสำเร็จและกลับมาต่อยอดในชุมชนอาข่าให้เกิดเป็นธุรกิจแบบใหม่ในชุมชนรวมไปถึงผสมผสานเอกลักษณ์ที่เข้ากับวิถีชีวิตความเป็นชาวอาข่า แต่ก็ยังมีเยาวชนที่ไม่ได้มีโอกาสเหมือนพวกเขามากนักเนื่องจากความเลื่อมล้ำที่เห็นได้ชัดในสังคมไทย
แม้ว่ากลุ่มชาติพันธุ์ที่ในพื้นที่จะมีวัตถุดิบที่ดีและเป็นเอกลักษณ์ประจำถิ่นสร้างมูลค่าทั้งชุมชนและประเทศไทยได้ในอนาคต สวนทางกับการศึกษาของเยาวชนในท้องถิ่นที่จะเป็นแรงสำคัญในการต่อยอดวัตถุดิบและเอกลักษณ์วิถีประเพณีในชุมชนของตนเอง นั้นจึงเป็นสาเหตุว่าทำไมรัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องถึงต้องตระหนักถึงการเข้าถึงการศึกษาในพื้นที่ห่างไกล คนทุกคนโดยเฉพาะเยาวชนคนรุ่นใหม่ควรได้รับโอกาสในการศึกษาซึ่งจะเป็นสิ่งที่ต่อยอดและพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีในการเติบโตเป็นบุคคลที่พร้อมจะเป็นอนาคตของชาติได้ต่อไป
ภาพ/เรื่องนส.วิชิดา แสงสว่าง
การศึกษานี้เป็นส่วนหนึ่งของรายวิชา rd417 Architectural theories and concepts 3
สาขานวัตกรรมการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการผังเมือง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
บรรณาธิการ
ทินภัทร ภัทรเกียริตทวี
โพควาโปรดักชั่น

ที่อยู่

Chiang Mai
50000

เบอร์โทรศัพท์

+66833304866

เว็บไซต์

แจ้งเตือน

รับทราบข่าวสารและโปรโมชั่นของ โพควา โปรดักชั่นผ่านทางอีเมล์ของคุณ เราจะเก็บข้อมูลของคุณเป็นความลับ คุณสามารถกดยกเลิกการติดตามได้ตลอดเวลา

ติดต่อ ธุรกิจของเรา

ส่งข้อความของคุณถึง โพควา โปรดักชั่น:

วิดีโอทั้งหมด

แชร์

โพควา โปรดักชั่น

“โพควา คือ มิติใหม่ของสังคมชาติพันธุ์”

โพควา คือ หนุ่มปกาเกอะญอ ที่สนใจเรื่องชาติพันธุ์ “ความเป็นกะเหรี่ยง” มิติเศรษฐกิจ วัฒนธรรม สังคม

เติบโตมาจากการผลิตสารคดีไทรทัศน์ และเริ่มสร้างแพลตฟอร์มของตัวเอง

facebook: https://www.facebook.com/POKHWA.PRODUCTION/

ตำแหน่งใกล้เคียง บริษัท สื่อ


บริษัทด้านสื่อ/ข่าวสาร อื่นๆใน Chiang Mai

แสดงผลทั้งหมด

คุณอาจจะชอบ