16/07/2020
ประวัติศาสตร์ของน้ำที่เราคุ้นเคย
โบราณคดีของน้ำว่าว
สมมติเรานั่งๆอยู่แล้วเจ้าน้ำนี่ก็พุ่งออกมา หลักฐานชิ้นนี้ จะพาเราค่อยๆย้อนกลับไปดูความเป็นมนุษย์ และการสร้างวัฒนธรรมของมนุษย์เราผ่านน้ำสีขาวขุ่นในกำมือเราได้อย่างไร
10 ปีก่อน ข้อมูลการแพทย์ ปี 2010-2011 น้ำอสุจิมีฤทธิ์ “ผ่อนคลายอารมณ์”
น้ำอสุจิมีฤทธิ์เป็นยาต้านความซึมเศร้าสำหรับผู้หญิง คือ หญิงที่ได้รับน้ำอสุจิผ่านช่องคลอดมีโอกาสเสี่ยงต่อภาวะซึมเศร้าที่น้อยกว่า เพราะในน้ำอสุจิมีสารประกอบที่สามารถเปลี่ยนอารมณ์ความรู้สึกได้เช่น เอ็นดอร์ฟิน, estrone, prolactin, oxytocin, thyrotropin-releasing hormone, และเซโรโทนิน แต่ประโยชน์ที่พบที่เกิดจากสารประกอบเหล่านี้ พบแต่ในงานวิจัยเกี่ยวกับการดูดซึมผ่านช่องคลอดเท่านั้น [อ่านเพิ่มเติมได้ในลิงค์ https://www.psychologytoday.com/intl/blog/all-about-sex/201101/attention-ladies-semen-is-antidepressant]
ดังนั้น ทางปากหรือทางอื่นๆจะไม่ทำให้ “คลายความรู้สึก” ได้เท่าการดูดซึมสารผ่านช่องคลอดนั่นเอง
--------------------------------------------
40 ปีก่อน ทศวรรษ 1980 ต้นทางของยุคโพสต์โมเดิร์น น้ำว่าว=ฟิน
ในวัฒนธรรมหนังโป๊ญี่ปุ่น “Bu***ke” หรือการแตกใส่หน้า คือวิถีการแสดงออกที่ใช้ “น้ำว่าว” เป็นสื่อของภาวะการถึงจุดสุดยอดของฝ่ายชาย เพราะหนังโป๊ญี่ปุ่นมักห้ามแสดงอวัยวะเพศให้เห็นชัดเจนในภาพยนตร์ AV น้ำว่าวที่ราดรดลงบนจุดที่น่าสนใจ จึงกลายเป็นวัฒนธรรมในวิถีของหนัง AV ญี่ปุ่นร่วมสมัยขึ้นมา โดยการทำ Bu***ke ปรากฏขึ้นครั้งแรกในช่วงทศวรรษที่ 1980 ในหนัง AV ญี่ปุ่นและแพร่หลายไปสู่ทางตะวันตกโดยเฉพาะในอเมริกา (อติภพ ภัทรเดชไพศาล, 2013) [อ่านเพิ่มเติมได้ในลิงค์เลย https://www.facebook.com/339932452789371/photos/a.339977102784906/408848625897753/?type=1&theater]
--------------------------------------------
105 ปีก่อน ช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 ค.ศ.1914-1918 น้ำอสุจิ=อุปกรณ์ของสายลับ
เพื่อการส่งจดหมายลับในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 ราวปีค.ศ.1915 สายลับอังกฤษพยายามสร้าง “หมึกล่องหน” จากส่วนผสมต่างๆมากมาย สุดท้ายค้นพบว่า “น้ำว่าว” นี่แหละ เป็นหมึกล่องหนที่ฉมังนัก เพราะตรวจจับไม่ได้ด้วยสารไอโอไดน์ แต่ข้อเสียคือ ต้องคั้นสดนะถึงจะดี ไม่งั้นถ้าใช้แบบสต๊อกเก็บไว้ในขวดแล้ว จดหมายมันจะเหม็นอ่ะ (Michael Smith, 2011) [อ่านเพิ่มเติมได้ในลิงค์เลย https://gizmodo.com/british-spies-used-semen-as-invisible-ink-during-wwi-1614656875]
ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 น้ำว่าว(ของสายลับอังกฤษ)จึงเป็นมากกว่าน้ำแห่งความสุขธรรมดาทั่วไป แต่เป็นอุปกรณ์ไฮเทคของสายลับแบบเจมส์บอนด์ยุคบุกเบิกเลยทีเดียว
--------------------------------------------
1,618 ปีก่อน ราวพ.ศ.945 “กายทั้งสิ้นเป็นฐานของน้ำอสุจิ”
คัมภีร์อรรถกถา หรือหนังสือภาคเสริมของพระไตรปิฎกที่รวมคำอธิบายเกี่ยวกับพระไตรปิฎกเอาไว้ เวอร์ชั่นทุกวันนี้เป็น ver.ของพระพุทธโฆสะ ที่เป็นคนแปลจากภาษาสิงหลเป็นภาษาบาลีในปีพ.ศ.945 (เทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี, 2524) [ใครสนใจเรื่องคัมภีร์อรรถกถาไปตามอ่านต่อในวิทยานิพนธ์ป.โทของสมเด็จพระเทพฯได้ครับ]
ในอรรถกถา พูดถึง “น้ำอสุจิ” ในแง่มุมมที่น่าสนใจ แทนที่น้ำอสุจิจะแค่ออกมาจากจู๋ แต่ดันออกมาจากทั่วร่างได้เลย !?!
“…จริงอย่างนั้น น้ำสมภพ (น้ำอสุจิ) ย่อมไหลออกทางหมวกหู (ขอบหูตอนบน) ทั้งสองของช้างทั้งหลาย ที่ถูกความกลัดกลุ้มด้วยราคะครอบงำแล้ว, และพระเจ้ามหาเสนะผู้ทรงกลัดกลุ้มด้วยราคะ ไม่ทรงสามารถจะอดทนกำลังน้ำสมภพได้ จึงรับสั่งให้ผ่าต้นพระพาหุ (แขน) ด้วยมีด ทรงแสดงน้ำสมภพซึ่งไหลออกทางปากแผล ฉะนั้นแล…” (พระไตรปิฎก ฉบับมหามกุฏ (ภาษาไทย) เล่มที่ 3 พระวินัยปิฎกเล่มที่ 1 ภาค 3 มหาวิภังค์ ปฐมภาค หน้าที่ 100-101)
ทีนี้ สำหรับพระภิกษุของพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาท การจงใจทำน้ำอสุจิให้เคลื่อนเป็นอาบัติหนักคืออาบัติสังฆาทิเสส ซึ่งอธิบายเพิ่มขึ้นว่าเป็น "กิริยาที่ทำให้เคลื่อนจากฐาน" ส่วนในคัมภีร์ชั้นอรรถกถาสรุปว่า "กายทั้งสิ้น" เป็น "ฐาน" (คือเป็นที่อยู่ของน้ำอสุจิ) ดังนั้น คัมภีร์พุทธศาสนาเถรวาทชั้นอรรถกถาจึงบอกเป็นนัยว่า น้ำอสุจิอาจจะไหลออกจากส่วนใดของร่างกายก็ได้ เพราะกายทั้งสิ้นเป็น "ฐาน" ของน้ำอสุจิ
แถมยังมีการกำหนด Shading สีของน้ำอสุจิไว้มากถึง 10 สี 10 โทน ได้แก่ (1) อสุจิสีเขียว (2) อสุจิสีเหลือง (3) อสุจิสีแดง (4) อสุจิสีขาว (5) อสุจิสีเหมือนเปรียง (6) อสุจิสีเหมือนน้ำท่า (น้ำในแม่น้ำลำคลอง) (7) อสุจิสีเหมือนน้ำมัน (8) อสุจิสีเหมือนนมสด (9) อสุจิสีเหมือนนมส้ม (10) อสุจิสีเหมือนเนยใส (พระไตรปิฎก ฉบับมหาจุฬา (ภาษาไทย) เล่มที่ 1 พระวินัยปิฎกเล่มที่ 1 มหาวิภังค์ ภาค 1 หน้าที่ 252 ข้อ 237)
ว้าวเลย !?!
หากตีความในเชิงวัฒนธรรมศึกษาแบบโพสโมเดิร์นหน่อย นี่ก็จัดเป็น Bio-power รูปแบบหนึ่ง ที่น้ำอสุจิกลายเป็นสิ่งซึ่งถูกใช้ในการร่างกฎควบคุมในทางวัฒนธรรมของผู้ปฏิบัติในวิถีวัฒนธรรมนี้
--------------------------------------------
ประมาณ 2,386 ปีก่อน อริสโตเติลบอกว่า “น้ำว่าวคือสารอันอุดมโภชนาการที่ผู้ชายเท่านั้นจะผลิตได้”
"น้ำอสุจิเป็นการขับสารอาหารออก หรือจะพูดให้ชัดกว่านี้ก็คือ เป็นการขับส่วนที่สมบูรณ์ที่สุดของอาหารออกมา" (Salmon, 1998 และ Sumathipala, 2004)
ดังนั้น สำหรับชาวกรีกโบราณ วัยรุ่นชายควรหลั่งน้ำว่าวให้น้อย จะได้โตไวๆ ไม่งั้นถ้าไปหลั่งมากก่อนโตเต็มไว จะทำให้โตได้ไม่สมบูรณ์
อริสโตเติลยังบอกอีกว่า การที่เวลาน้ำแตกแล้วเราตามัว เห็นทีวีซ่าๆ เป็นเพราะน้ำอสุจินั้นมาจากรอบดวงตายังไงล่ะ ซึ่งทฤษฎีน้ำว่าวมาจากตาของอริสโตเติลนี้ คงได้อิทธิพลความคิดจากปีทากอรัสที่มีชีวิตอยู่ก่อนหน้าอริสโตเติลย้อนปีอีกร้อยกว่าปี เพราะปีทากอรัสบอกว่า
"น้ำอสุจิเป็นหยดหนึ่งของสมอง (τὸ δε σπέρμα εἶναι σταγόνα ἐγκέφαλου) (Smith, Justin E. H., 2006)
น้ำพวกนี้มันคงมาจากแถวๆหัวอ่ะ
ทฤษฎีน้ำว่าวมีคุณค่าทางสารอาหารเพื่อการเจริญเติบโตของร่างกาย และเป็นวัตถุดิบสำคัญจากสมองของมนุษย์ คงเป็นแนวคิดที่ทำให้ในสมัยกรีกโบราณเอง การชักว่าวและการร่วมเพศ อาจมีกฎเกณฑ์และขนบวิถีที่ไม่ได้ “ฟรีเซ็กซ์” กันอย่างที่คนสมัยหลังตีความจากภาพโป๊ต่างๆก็เป็นได้
--------------------------------------------
ราว 4,600 ปีก่อน หยก=น้ำว่าวมังกร I น้ำอสุจิ=แก่นพลังหยิน ครึ่งหนึ่งของทวิลักษณ์แห่งเต๋า
คนจีนโบราณ มีความเชื่อกันว่า หยก เป็นน้ำอสุจิของมังกรที่แห้งแข็งกลายเป็นหิน ในขณะที่มโนทัศน์แบบชี่กง มองว่า น้ำอสุจิ คือ หยาดแห่งพลังหยิน 精子 (jīng zǐ แปลโดยบทว่า ธาตุของหยิน) แถมยังมีสุภาษิต “一滴精,十滴血” (yì dī jīng, shí dī xuè, แปลโดยบทว่า น้ำอสุจิหยดหนึ่งมีค่าเท่ากับเลือดสิบหยด) แสดงให้เห็นว่า คนจีนโบราณมองว่าน้ำอสุจิเป็นสิ่งสำคัญของร่างกาย ชี่กงบอกว่า พลังลมปราณจะส่งไปทางอวัยวะเพศเมื่อเกิดอารมณ์ทางเพศ การถึงจุดสุดยอดและการหลั่งน้ำอสุจิจะเป็นการปล่อยพลังเหล่านั้นไปจากร่างกาย ถ้าปล่อยออกไป ก็เท่ากับปล่อยพลัง ดังนั้น หากเราตีความคนจีนโบราณผ่านแนวคิดนี้ ผู้ฝึกชี่กงในอดีตอาจไม่ชักว่าวเลยก็เป็นได้
--------------------------------------------
แนวคิดน้ำว่าว=น้ำแห่งพลัง คงมาจากการสังเกตว่า พฤติกรรมการสอดใส่จนกระทั่งน้ำแตกระหว่างมนุษย์ชาย-หญิง ก่อให้เกิดมนุษย์คนใหม่ขึ้นมาได้ และเห็นว่า วัตถุดิบสำคัญที่ขาดไม่ได้เลยก็คือ น้ำอสุจิ จึงกลายเป็นแนวคิดว่า น้ำที่หลังออกไปตอนเสียวๆนี่แหละ ต้องเป็นน้ำวิเศษ และมีพลังอะไรซักอย่างแน่ๆ
แนวคิดแบบนี้ คงมีมาตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์แล้ว อันเนื่องมาจากการสังเกตของมนุษย์เองนี่แหละ พอเริ่มก่อร่างอารยธรรมและถ่ายทอดความรู้ ภูมิปัญญาและมุมมองต่อน้ำว่าวที่ออกมาจากจู๋ จึงค่อยๆพัฒนาขึ้นไปเรื่อยๆ แตกต่างกันออกไปเรื่อยๆ และส่งผลให้เกิดรูปแบบวัฒนธรรมทางเพศของแต่ละวัฒนธรรมขึ้นมา เช่น จีนโบราณเชื่อว่าเป็นพลังหยิน, ชาวกรีกโบราณเชื่อว่าเป็นสารทำให้โต, ชาวคริสต์เชื่อว่าเป็นน้ำศักดิ์สิทธิ์ที่ต้องหลั่งภายในมดลูกเท่านั้นไม่งั้นบาป เป็นต้น ในขณะเดียวกัน แนวคิดและความเชื่อที่แตกต่างเหล่านี้ ก็ก่อรูปแบบของวัฒนธรรม พิธีกรรม เกี่ยวกับน้ำว่าวที่แตกต่างกันออกไป
น้ำว่าว=น้ำแห่งพลัง ยังเป็น concept พื้นฐานในกลุ่มชนเผ่าหลายๆเผ่า แม้ในปัจจุบันก็ยังมีวิถีวัฒนธรรมอันเนื่องมาจากความเชื่อเกี่ยวกับพลังของน้ำว่าว เช่น ในวัฒนธรรมของคนบาหลีบางเผ่าเชื่อว่า น้ำอสุจิคือ “น้ำนมแห่งความเมตตา” ที่ผู้ชายต้องตอบแทนเพศแม่กลับคืนไป หรือในอีกหลายๆเผ่า เชื่อว่า น้ำอสุจิเป็นภาชนะของความเป็นชายที่สามารถส่งต่อให้กันได้ (Hyena, 1999 และ Robert T. Francoeur, Raymond J. Noonan, 2004) เช่น มีหลายชนเผ่าเลยในปาปัวนิวกินี รวมทั้งชาว Sambia และชาว Etoro เชื่อว่า น้ำอสุจิช่วยทำให้เด็กหนุ่มกลายเป็นชายเต็มตัว จึงเกิดพิธีกรรมการกินน้ำอสุจิจากผู้อาวุโสของเผ่าผ่านการ oral เป็นต้น
หรือขยับมาหน่อย ราว 100 ปีก่อน น้ำว่าวเคยเป็น หมึกล่องหน อุปกรณ์สายลับแห่งหน่วย MI6 ของอังกฤษในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1
หรือในช่วง 40 ปีมานี้ ข้อห้ามในการเซนเซอร์เครื่องเพศในอุตสาหกรรมหนังโป๊ของญี่ปุ่น ทำให้เกิดวัฒนธรรมการแตกใส่หน้า หรือ “ราดหน้า” (Bu***ke) ที่ใช้น้ำว่าวเป็นสัญลักษณ์ของการเสร็จสมอารมณ์หมายของฝ่ายชายแบบฟินๆบนหน้าของดาราสาวสวย
หรือในช่วงไม่เกิน 10 ปีมานี้ เกิดความรู้ว่า น้ำว่าวมีฤทธิ์ทางวิทยาศาสตร์ในการผ่อนคลายอารมณ์ของฝ่ายหญิงได้ด้วย เป็นต้น
สำหรับชีวิตคนเมืองในปัจจุบัน น้ำว่าว อาจหลงเหลือความหมายในเชิงวัฒนธรรม-ความเชื่ออยู่บ้าง แต่มุมมองส่วนใหญ่ของคนเมือง น้ำว่าวคงไม่ได้เป็นอะไรมากไปกว่าคราบบนกระดาษทิชชู่ ร่องรอยของความสนุกและความบันเทิงของร่างกาย
แต่ก็ลืมไม่ได้หรอกว่า
ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมของเผ่าพันธุ์เราก็ล้วนเป็นไป ด้วยน้ำสีขาวขุ่นในกำมือเรานี่เอง
--------------------------------------------
อ้างอิง
Bering, Jesse (2010). "An Ode to the Many Evolved Virtues of Human Semen". Scientific American.
เทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี, สมเด็จพระ. ทศบารมีในพุทธศาสนาเถรวาท. วิทยานิพนธ์ปริญาอักษรศาสตร์มหาบัณฑิต ภาควิชาภาษาตะวันออก บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,2524. 184 หน้า. (อัดสำเนา)
พระไตรปิฎก ฉบับมหามกุฏ (ภาษาไทย) เล่มที่ 3 พระวินัยปิฎกเล่มที่ 1 ภาค 3 มหาวิภังค์ ปฐมภาค หน้าที่ 100-101
พระไตรปิฎก ฉบับมหาจุฬา (ภาษาไทย) เล่มที่ 1 พระวินัยปิฎกเล่มที่ 1 มหาวิภังค์ ภาค 1 หน้าที่ 252 ข้อ 237
Salmon, J.B. (1998). Thinking Men: Masculinity and Its Self-representation in the Classical Tradition. Routledge. p. 158.
Sumathipala, A. (2004). "Culture-bound syndromes: The story of dhat syndrome". The British Journal of Psychiatry. 184 (3): 200. doi:10.1192/bjp.184.3.200. PMID 14990517
Smith, Justin E. H. (2006). The Problem of Animal Generation in Early Modern Philosophy. Montreal: Concordia University. p. 5. ISBN 978-0-511-21763-0.
Sharp, Geraldine. (2017). A Trail of Semen Down Through the Ages: The Missing Link in Theories of Male Superiority.
Robert T. Francoeur, Raymond J. Noonan (2004) The Continuum Complete International Encyclopedia of Sexuality p.819
Hank Hyena. (1999). Semen Warriors Of New Guinea. September 16, 1999.