Silpawattanatham - ศิลปวัฒนธรรม

Silpawattanatham - ศิลปวัฒนธรรม นิตยสาร-เว็บไซต์ว่าด้วยประวัติศาสตร์ ศิลปะ วัฒนธรรม ทั้งอดีต-ร่วมสมัย www.silpa-mag.com

นิตยสาร-เว็บไซต์ว่าด้วยประวัติศาสตร์ ศิลปะ วัฒนธรรม ทั้งอดีต-ร่วมสมัย www.silpa-mag.com

Twitter : https://www.twitter.com/Silpa_Mag
YouTube : https://www.youtube.com/channel/UCJjOfXgP1CUCc0XtLd-U0xw
Instagram : https://www.instagram.com/silpawattanatham
Soundcloud : https://soundcloud.com/silpawattanatham

จากการเป็นหัวเมืองมลายู อาณานิคมอังกฤษ สู่ประเทศมาเลเซีย ตัวตนของดินแดนปลายคาบสมุทร "มลายู" ในแบบเรียนไทย #มลายู  #มาเลเ...
17/01/2024

จากการเป็นหัวเมืองมลายู อาณานิคมอังกฤษ สู่ประเทศมาเลเซีย ตัวตนของดินแดนปลายคาบสมุทร "มลายู" ในแบบเรียนไทย

#มลายู #มาเลเซีย #ศิลปวัฒนธรรม

ดินแดน มลายู หรือ มาเลเซีย ปรากฏในแบบเรียนทั้งในฐานะชาติร่วมภูมิภาคและดินแดนที่มีประวัติศาสตร์ร่วมกันก.....

17/01/2024

จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ออกประกาศห้ามนำเข้าสินค้าจากจีนแดง 17 มกราคม 2502 ส่งผลกระทบผู้ใช้ยาและบริการแพทย์แผนจีนกว่า 3 ล้านคน รัฐบาลแก้ไขอย่างไร?
https://www.silpa-mag.com/history/article_99670

17/01/2024

83 ปี "ยุทธนาวีเกาะช้าง"
ทัพเรือไทยปะทะทัพเรือฝรั่งเศส บริเวณเกาะช้าง 17 ม.ค. 2484 ไทยเสียเรือรบ 3 ลำ ชีวิตทหารเรือ 36 นาย ฝรั่งเศสแทบไม่ได้รับความสูญเสียใดๆ
แต่เป็นฝ่ายล่าถอยออกไป!!?
https://www.silpa-mag.com/this-day-in-history/article_5721

17/01/2024

17 มกราคม ของทุกปีเป็น
“วันพ่อขุนรามคำแหงมหาราช”
ถือวันที่รัชกาลที่ 4 ทรงพบศิลาจารึกหลักที่ 1 เมื่อ 191 ปีที่แล้ว
https://www.silpa-mag.com/this-day-in-history/article_14628

17/01/2024

#ยี่กอฮง เจ้ามือหวยในตำนาน ที่มา #ศาลพ่อปู่เจ้ายี่กอฮง รับมือเลขเด็ดอย่างไร?
https://www.silpa-mag.com/culture/article_52740

ใครทันใช้สินค้า “สหพัฒน์” อย่าง ผงซักฟอกท้อป ผงซักฟอกช้างเผือก ผงซักฟอกเปา บ้าง? #เทียมโชควัฒนา  #สหพัฒน์    #ศิลปวัฒนธร...
16/01/2024

ใครทันใช้สินค้า “สหพัฒน์” อย่าง ผงซักฟอกท้อป ผงซักฟอกช้างเผือก ผงซักฟอกเปา บ้าง?

#เทียมโชควัฒนา #สหพัฒน์ #ศิลปวัฒนธรรม

สหพัฒน์ เปลี่ยนชื่อ จากเฮียบเซ่งเชียง เป็นบริษัท สหพัฒนพิบูล จำกัด ในปี 2495 และเป็นบริษัท สหพัฒนพิบูล จำกัด (.....

16/01/2024

#คีร์กิซสถาน อุซเบกิสถาน ฯลฯ เหตุใด "เอเชียกลาง" เต็มไปด้วยประเทศชื่อลงท้ายด้วย "-สถาน"?
ติดตามได้ที่นี่
https://www.silpa-mag.com/culture/article_122327

16/01/2024

“อโยธยา” ต้นกำเนิด “อยุธยา” เมืองเก่ากว่าสุโขทัย
เมืองอโยธยา ถือเป็นเมืองที่มีมาแต่ก่อนการสถาปนากรุงศรีอยุธยา โดยมีปฐมกษัตริย์ คือ สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 ซึ่งก็ถือว่าเป็นกษัตริย์องค์สุดท้ายของเมืองอโยธยาอีกด้วยเช่นกัน
โรคห่า คือ กาฬโรค เป็นสาเหตุที่ทำให้เมืองอโยธยาต้องล่มสลายลง ตามประวัติศาสตร์โลกร่วมสมัยกัน และก็เป็นสาเหตุในการก่อตั้งอาณาจักรกรุงศรีอยุธยา
อโยธยากลายเป็นเมืองที่ถูกทำให้หายไปจากหน้าประวัติศาสตร์ไทยฉบับชาตินิยม เนื่องด้วย อโยธยา มีอายุเก่าแก่กว่าราชธานีแห่งแรก คือ สุโขทัย
เอกสารหนึ่งที่ สุจิตต์ วงษ์เทศ ชี้ว่า มีเอกสารที่ระบุถึงการมีอยู่ของเมืองอโยธยา คือ “พระราชพงศาวดารเหนือ” ที่เป็นเอกสารมีการชำระในต้นรัตนโกสินทร์ ซึ่งเป็นที่น่าเสียดายว่า เป้นเอกสารที่เชื่อถือไม่ได้เพราะเป็นตำนานเรื่องเล่าตามประวัติศาสตร์แบบชาวบ้าน
ทำไม “อโยธยา” เมืองโบราณต้นกำเนิดกรุงศรีอยุธยาแห่งนี้ จึงเป็นเมืองที่ถูกลืมในหน้าประวัติศาสตร์ไทย
ติดตามรับชม สุจิตต์ วงษ์เทศ เล่าเรื่องเมืองอโยธยา ในแง่มุมต่างๆ ได้ในคลิปนี้
หมายเหตุ : บันทึกภาพใน “MIC Holiday Trip เมืองอโยธยา ต้นแบบกรุงรัตนโกสินทร์” จัดโดย ศูนย์ข้อมูลมติชน นำบรรยายโดย นำบรรยายโดย สุจิตต์ วงษ์เทศ เมื่อวันอาทิตย์ที่ 11 มิถุนายน 2566 ณ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

#อโยธยา #อยุธยา #พระเจ้าอู่ทอง #สุโขทัย #ประวัติศาสตร์ไทย #ศิลปวัฒนธรรม

16/01/2024

#ปาท่องโก๋ ไม่ได้มีหน้าตาแบบที่เรากินกัน แล้วตัวจริงเป็นยังไง?
https://www.silpa-mag.com/culture/article_85913

ไขทุกข้อสงสัย ยายกุย-กลิ่นหายไปไหน? ทำไมหมื่นริดขี้งอน? อ่านบทสัมภาษณ์ “ศัลยา” ผู้เขียนบทละครโทรทัศน์ “พรหมลิขิต”  #พรหม...
16/01/2024

ไขทุกข้อสงสัย ยายกุย-กลิ่นหายไปไหน? ทำไมหมื่นริดขี้งอน? อ่านบทสัมภาษณ์ “ศัลยา” ผู้เขียนบทละครโทรทัศน์ “พรหมลิขิต”

#พรหมลิขิต #ละครพรหมลิขิต #ศัลยาสุขะนิวัตติ์ #ศิลปวัฒนธรรม

สัมภาษณ์ "ศัลยา สุขะนิวัตติ์" นักเขียนบทละครโทรทัศน์ชื่อดัง เผยเบื้องหลังบทละคร "พรหมลิขิต" เป็น ซอฟต์พาวเว....

บางกอก คุนสตาเล่อ ชวนดื่มด่ำประสบการณ์ศิลปะในนิทรรศการ “Nine Plus Five Works” วิดีโออาร์ตสุดลุ่มลึกของ มิเชล โอแดร์“ในหน...
16/01/2024

บางกอก คุนสตาเล่อ ชวนดื่มด่ำประสบการณ์ศิลปะในนิทรรศการ “Nine Plus Five Works” วิดีโออาร์ตสุดลุ่มลึกของ มิเชล โอแดร์
“ในหนังของผม โลกใบนี้คือฉาก และผู้คนในโลกคือนักแสดง”
นี่คือความคิดที่ตกผลึกและนำพา “มิเชล โอแดร์” (Michel Auder) ให้โดดเด่นล้ำหน้านักสร้างงานศิลปะคนอื่น ๆ ซึ่งร่วมสมัยกับเขา ทำให้เขาเป็นศิลปินระดับตำนานผู้สร้างสรรค์วิดีโออาร์ตชื่อดังแห่งยุค 60
ในปี 2024 นี้ ผลงานจากการบันทึก การเล่นซ้ำ และการสะสม ของโอแดร์ ได้ถูกนำมาจัดแสดงใน “Nine Plus Five Works” นิทรรศการศิลปะแรกของปีนี้ ที่ บางกอก คุนสตาเล่อ อาร์ตสเปซใหม่ล่าสุดใจกลางกรุงเทพมหานคร
“Nine Plus Five Works” คือโอกาสอันดีสำหรับผู้ชื่นชอบงานศิลปะ ในการซึมซับประสบการณ์แสนวิเศษของโลกศิลปะร่วมสมัย ผ่านภาพยนตร์และวิดีโออาร์ตที่งดงามราวบทกวีและแสดงถึง “ความขบถ” ได้ในเวลาเดียวกัน จัดแสดงในประเทศไทยเป็นครั้งแรก ที่บางกอก คุนสตาเล่อ (Bangkok Kunsthalle) ด้วยการคัดสรรผลงานอันโดดเด่นและทรงอิทธิพลของ มิเชล โอแดร์ มาจัดแสดง และเปิดโอกาสให้ผู้ที่สนใจศิลปะในประเทศไทยได้มาสัมผัสประสบการณ์ความลึกซึ้งในผลงานของเขา โดยมี สเตฟาโน ราโบลลี แพนเซรา (Stefano Rabolli Pansera) เป็นภัณฑารักษ์
บางกอก คุนสตาเล่อ พื้นที่จัดแสดงงานศิลปะแห่งล่าสุด บนพื้นที่ประวัติศาสตร์ย่านเยาวราช ใจกลางกรุงเทพมหานคร ที่เปี่ยมด้วยพลังแห่งความคิดสร้างสรรค์ ทั้งยังเปิดกว้างสำหรับงานด้านภาพยนตร์ ดนตรี วิทยาศาสตร์ การเต้นรำ งานเขียนหรือวรรณกรรม สถาปัตยกรรม รวมถึงงานสร้างสรรค์ด้านอื่น ๆ
ในอดีต บางกอก คุนสตาเล่อ คืออาคารโรงพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช ที่ คุณมาริษา เจียรวนนท์ เห็นถึงคุณค่าของอาคารและศักยภาพของพื้นที่ในย่านเก่าแก่ จึงปรับปรุงและก่อตั้งเป็นศูนย์กลางการจัดนิทรรศการ งานเสวนา และการแลกเปลี่ยนของผู้คนในแวดวงศิลปะร่วมสมัยในประเทศไทย รวมถึงในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ความพิเศษคือการจัดนิทรรศการครั้งนี้ นับเป็นครั้งแรกในรอบหลายสิบปี ที่อาคารหลังนี้เปิดต้อนรับสาธารณชน
มิเชล โอแดร์ ที่แม้ปีนี้จะอยู่ในวัย 80 ปี แต่ยังกระฉับกระเฉงและเปี่ยมด้วยพลัง คือศิลปินและนักสร้างภาพยนตร์ชาวฝรั่งเศส ผู้สร้างสรรค์ผลงานเชิงทดลองและวิดีโออาร์ตตั้งแต่ทศวรรษ 1960 เป็นต้นมา โดดเด่นเรื่องการสังเกตเชิงจินตภาพ ผลงานภาพยนตร์ของเขาสะท้อนภาพเสมือนจริง ขณะเดียวกันก็มีไวยากรณ์ลึกซึ้งราวบทกวีซ่อนอยู่
โอแดร์มีชื่อเสียงจากงานภาพยนตร์ที่ไม่ได้บอกเล่าเรื่องราวตามขนบทั่วไป ไม่เล่าเรียงตามลำดับเวลา แต่เก็บภาพชีวิตของเขาและคนรอบตัวด้วยวิธีการที่ใกล้ชิด แล้วนำประสบการณ์เหล่านั้นมาประกอบสร้างด้วยชิ้นส่วนเล็ก ๆ จากสิ่งที่เขาพบเจอเอง
โอแดร์สร้างผลงานทั้งภาพยนตร์แบบเล่าเรื่องราวและแบบส่วนตัว ผลงานของเขาคือการผนวกกันระหว่างความเป็นศิลปะ สารคดี และชีวิตส่วนตัวของเขา ราวกับเขียนไดอารี่หรือบันทึกความฝัน เขาพกกล้องวิดีโอแบบพกพาติดตัวเสมอ ทำให้มีโอกาสเก็บบันทึกภาพชีวิตส่วนตัวอย่างใกล้ชิดและตรงไปตรงมา นี่คือการแหกขนบการเล่าเรื่องในวิดีโออาร์ตและภาพยนตร์ของยุคสมัยเลยก็ว่าได้
หลายสิบปีที่ผ่านมา โอแดร์สร้างสรรค์ผลงานอย่างต่อเนื่อง ใช้ฟิล์มเป็นสื่อกลางเชื่อมโยงผู้คนและโลกแบ่งปันประสบการณ์ตั้งแต่เรื่องราวธรรมดาทั่วไป จนถึงเรื่องราวพิเศษสุด ทำให้เขาตั้งคำถามเกี่ยวกับความเป็นไปของ “เวลากับความทรงจำ” ระหว่าง “ความจริงกับเรื่องแต่ง” “การสัมผัสกับการนำเสนอ” และประการสุดท้าย “เรื่องส่วนตัวกับการเปิดเผย”
ความลุ่มลึกและตรงไปตรงมานี้เองที่เป็นเสน่ห์สำคัญ ทำให้งานของโอแดร์ถูกนำไปจัดแสดงในหลากพิพิธภัณฑ์และแกลเลอรี่ทั่วโลก รวมถึงในฐานะสาธารณสมบัติของชาติ เช่น ปารีสกับมาร์เซย ฝรั่งเศส, แอนต์เวิร์ป เยอรมนี, ไมอามี สหรัฐอเมริกา ฯลฯ
ผู้สนใจสามารถเข้าร่วมชมนิทรรศการ “Nine Plus Five Works” ของ มิเชล โอแดร์ ได้ตั้งแต่วันที่ 12 มกราคม - 11 กุมภาพันธ์ 2567 ณ บางกอก คุนสตาเล่อ 599 ถนนไมตรีจิตต์ แขวงป้อมปราบ กรุงเทพฯ เปิดตั้งแต่เวลา 12.00-20.00 น.
อ่านบทความแบบเต็ม ๆ ได้ที่ : (https://www.silpa-mag.com/news/article_125662)
#บางกอกคุนสตาเล่อ #ศิลปวัฒนธรรม

รู้จักพระเจ้าชัยวรมันที่ 6 ต้นวงศ์มหิธรปุระแห่งพิมาย ผู้ที่นักวิชาการเชื่อว่าเป็น “Golden Boy”ข่าวการคืนประติมากรรมสำริด...
16/01/2024

รู้จักพระเจ้าชัยวรมันที่ 6 ต้นวงศ์มหิธรปุระแห่งพิมาย ผู้ที่นักวิชาการเชื่อว่าเป็น “Golden Boy”
ข่าวการคืนประติมากรรมสำริด “Golden Boy” รูป “พระเจ้าชัยวรมันที่ 6” ที่พิพิธภัณฑ์ศิลปะ Metropolitan ประเทศสหรัฐอเมริกา กำลังจะส่งคืนแก่ไทย ถือเป็นข่าวใหญ่ในแวดวงประวัติศาสตร์และโบราณคดีก็ว่าได้
สำหรับพระเจ้าชัยวรมันที่ 6 หรือบุคคลในประติมากรรมสำริดปิดทองทั้งองค์ จนได้รับการขนานนามว่า Golden Boy นั้น ถือเป็นปฐมกษัตริย์ของ ราชวงศ์มหิธรปุระ ผู้ปกครองอาณาจักรเขมรโบราณ ช่วงพุทธศตวรรษที่ 17 โดยมีพื้นเพอยู่ที่แถบต้นแม่น้ำมูล
พระเจ้าชัยวรมันที่ 6 เถลิงราชย์ภายหลังการสวรรคตของพระเจ้าหรรษวรมันที่ 3 กษัตริย์แห่งเมืองพระนคร แต่วงศ์มหิธรปุระไม่ใช่เครือญาติของพระเจ้าหรรษวรมันที่ 3 เข้าใจว่า พระองค์เป็นขุนนางท้องถิ่นที่ปราบดาภิเษกขึ้นเป็นกษัตริย์แห่งอาณาจักรเขมรโบราณที่เมืองมหินธรปุระ ซึ่งนักประวัติศาสตร์ลงความเห็นว่าคือ เมืองพิมาย ปัจจุบันอยู่ในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา
อย่างไรก็ตาม มีกษัตริย์อีกองค์ปกครองอยู่ที่เมืองพระนคร ช่วงนี้อาณาจักรเขมรโบราณจึงมิได้เป็นหนึ่งเดียวหรือมีเสถียรภาพนัก โดยพระเจ้าชัยวรมันที่ 6 ใช้เมืองมหิธรปุระเป็นฐานอำนาจในการทำสงครามขยายอำนาจ เพื่ออ้างสิทธิ์ในการปกครองดินแดนทั้งหมด
จารึกปราสาทพระขรรค์ กล่าวถึงวงศ์ของพระเจ้าชัยวรมันที่ 6 ว่า ทรงครองราชย์เป็นกษัตริย์แห่งอาณาจักรเขมรโบราณที่เมืองศรียโสธรปุระ ทรงมีเครือญาติที่มหิธรปุระ (พิมาย) โดยพระกนิษฐาของพระองค์ทรงมีพระราชธิดา ซึ่งเป็นพระราชมารดาของพระเจ้าสุริยวรมัน
จารึกปราสาทพนมรุ้ง 7 กล่าวถึงราชวงศ์มหิธรปุระว่า สืบสกุลมาจากพระเจ้าหิรัณยวรมันและพระนางหิรัณยลักษมี มีถิ่นฐานเดิมอยู่ที่กษิตินทราคราม ทรงมีพระราชโอรสได้เป็นกษัตริย์ปกครองอาณาจักรเขมรโบราณจำนวน 3 พระองค์ คือพระเจ้าชัยวรมันที่ 6 พระเจ้าธรณีนธรวรมันที่ 1 และพระศรียุพราช
โดยทรงมีพระราชนัดดาที่เกิดจากพระราชธิดาองค์หนึ่ง เสกสมรสกับพระเจ้ากษิตินทราทิตย์ มีพระราชโอรสที่มีอำนาจมากพระองค์หนึ่ง ได้เป็นกษัตริย์อาณาจักรเขมรโบราณ คือพระเจ้าสุริยวรมันที่ 2
จึงกล่าวได้ว่าพระเจ้าชัยวรมันที่ 6 เป็นต้นวงศ์มหิธรปุระ ราชวงศ์ของ พระเจ้าสุริยวรมันที่ 2 ผู้สามารถรวบรวมอาณาจักรเขมรโบราณเป็นปึกแผ่น และสถาปนาเมืองพระนครเป็นราชธานีอีกครั้ง แล้วสร้าง “ปราสาทนครวัด” อันยิ่งใหญ่ขึ้นที่นั่น
จึงไม่แปลกที่ปราสาทนครวัดจะได้ต้นแบบมาจาก “ปราสาทพิมาย” ในพื้นที่ซึ่งเป็นถิ่นฐานดั้งเดิมของวงศ์มหิธรปุระ
อ่านเวอร์ชันเว็บไซต์ : (https://www.silpa-mag.com/history/article_123847)
ภาพจาก : The Metropolitan Museum of Art
🎯 “ศิลปวัฒนธรรม” ชวนเปิดมิติ “Golden Boy” โบราณวัตถุสำคัญระดับทอล์ก ออฟ เดอะ ทาวน์ พร้อมเกร็ดน่ารู้ “โบราณวัตถุไทยในต่างแดน” ครอบคลุม 3 แพลตฟอร์ม ออนกราวนด์-ปรินต์-ออนไลน์ (รายละเอียดในคอมเมนต์)
📍 ประเดิมด้วยกิจกรรมออนกราวนด์ สโมสรศิลปวัฒนธรรมเสวนา "Golden Boy" วันพฤหัสบดีที่ 25 มกราคม 2567 เวลา 13.00-16.00 น. ณ ห้องประชุมอาคารข่าวสด
พบ 2 นักวิชาการ ได้แก่ ศิริพจน์ เหล่ามานะเจริญ และ ดร. ทนงศักดิ์ หาญวงษ์ ดำเนินรายการโดย เอกภัทร์ เชิดธรรมธร
เข้าร่วมกิจกรรม ฟรี! ลงทะเบียนร่วมงานได้ที่ลิงก์นี้ https://bit.ly/3vr26By
#พระเจ้าชัยวรมันที่6 #ศิลปวัฒนธรรม
______________
ติดตามช่องทางโซเชียลมีเดียของ “ศิลปวัฒนธรรม” ได้ที่
Facebook : https://www.facebook.com/SilpaWattanatham
YouTube : https://www.youtube.com/
Twitter : https://www.twitter.com/Silpa_Mag
Instagram : https://www.instagram.com/silpawattanatham
TikTok : https://www.tiktok.com/
Spotify : https://open.spotify.com/show/3OJmiFOXzprJYNzvaYJFRe

16/01/2024

“ทะเล (ตม) กรุงธนฯ” หลักฐานชี้! กรุงเทพ-ธนบุรี เคยเป็น “ทะเลตม” มาก่อน https://www.silpa-mag.com/history/article_125612

16/01/2024

แต่ก่อนคนไทย #ค่าแรง ขั้นต่ำ 12 บาท?! ส่องค่าแรง #คนไทย แต่ละยุคได้เท่าไหร่บ้าง https://www.silpa-mag.com/history/article_123532

16/01/2024

#เจ้าพระฝาง คือใคร?
กำเนิด “ชุมนุมสุดท้าย” ที่ #พระเจ้าตาก ทรงปราบ

https://www.silpa-mag.com/history/article_113158

16/01/2024

ชีวิตคนไทยช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 หลายสิ่งหลายอย่างที่เคยสะดวกสบายเกิดขัดข้องไปหมด ใช้ถ่านหุงข้าวให้รถวิ่งแทนน้ำมัน-โจรอาละวาดหนัก!!!

https://www.silpa-mag.com/history/article_11854

พิธีไหว้ครู มาจากไหน? จากคติพราหมณ์ ถึงสมัยกรมพระยาดำรงฯ และแบบพิธีราชการ ที่มา “ดอกมะเขือ-ดอกเข็ม” #วันครู  #ครู      #...
16/01/2024

พิธีไหว้ครู มาจากไหน? จากคติพราหมณ์ ถึงสมัยกรมพระยาดำรงฯ และแบบพิธีราชการ ที่มา “ดอกมะเขือ-ดอกเข็ม”

#วันครู #ครู #ศิลปวัฒนธรรม

พิธีไหว้ครู ทุกประเภทจะทำในวันพฤหัสบดีเหมือนกันหมด โดยยึดถือกันมาแต่ครั้งโบราณตามตำนานคติพราหมณ์ คือ เ.....

16/01/2024

ดำริจอมพล ป. “ผู้เป็นครูมีบุญคุณ เป็นผู้ให้แสงสว่างในชีวิตของเราทั้งหลาย ข้าพเจ้าคิดว่าวันครูควรมี” 16 ม.ค. 2500 จัด “วันครู” เป็นครั้งแรก

https://www.silpa-mag.com/this-day-in-history/article_5654

15/01/2024

เกรดแค่เรื่องรอง! กำเนิด #พลศึกษา วิชาแห่งการเสริมสร้างร่างกาย เพื่อการ "สร้างชาติ"
https://www.silpa-mag.com/history/article_89407

15/01/2024

ทำไมหลักฐานจีนเรียก #ล้านนา ว่า "อาณาจักรสนมแปดร้อย"? ทั้งยังพูดถึง "พระนางจามเทวี" กับธนูอาบยาพิษ!
https://www.silpa-mag.com/history/article_51092

15/01/2024

#กวนอู มีอาวุธประจำตัวคือ #ง้าวมังกรเขียวเสี้ยวจันทร์ จริงหรือ?
https://www.silpa-mag.com/history/article_7258

นาคี นาคา ฉบับวาไรตี้ และเกร็ดความแตกต่างของ "นาค" แต่ละจุด ที่ปราสาทพนมรุ้งผู้เขียนเคยทำงานที่อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้...
15/01/2024

นาคี นาคา ฉบับวาไรตี้ และเกร็ดความแตกต่างของ "นาค" แต่ละจุด ที่ปราสาทพนมรุ้ง
ผู้เขียนเคยทำงานที่อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง จังหวัดบุรีรัมย์ ทำให้สังเกตเห็นความผิดแผกแตกต่างของ "นาค" โดยเฉพาะนาคที่สะพานนาคราชชั้นล่าง ชั้นบน และชั้นบนด้านในของระเบียงคด ปราสาทพนมรุ้ง
การศึกษาศิลปะขอม อาศัยความแตกต่างของศิลปกรรมเป็นเครื่องกำหนดอายุ โดยเฉพาะนาค ไม่ว่าจะประดับอยู่ส่วนใดส่วนหนึ่งของโบราณสถาน เช่น นาคปลายซุ้มหน้าบัน ของศิลปะสมัยบันทายศรี-ศิลปะคลัง ครึ่งแรกของพุทธศตวรรษที่ 16 มีลักษณะเป็นหน้ากาล มีแขน 2 ข้าง คายนาคที่มีรัศมีเล็ก ๆ บนเศียรคล้าย ๆ มงกุฎเล็ก ๆ ที่ไม่ติดกันในแต่ละเศียร
นาคปลายซุ้มหน้าบันและนาคประดับทางเดิน ของศิลปะสมัยบาปวน ครึ่งหลังของพุทธศตวรรษที่ 16 เช่น ที่ปราสาทเขาพระวิหารและปราสาทเมืองต่ำ มีลักษณะเศียรเกลี้ยง ๆ คล้าย ๆ หัวงูธรรมชาติ หรืออาจจะเรียกให้จำง่าย ๆ ว่านาคหัวโล้นก็ได้
ส่วนนาคสมัยนครวัด พุทธศตวรรษที่ 17 เช่น ที่ปราสาทพิมาย และพนมรุ้ง มีลักษณะเป็นนาคแผ่พังพาน แต่ละเศียรมีเครื่องประดับเป็นรัศมีที่ติดกันตามแนวนอน และเช่นเดียวกันเพื่อให้จำได้ง่ายขึ้น ให้นึกถึงนาคสมัยนครวัด พุทธศตวรรษที่ 17 ว่า เป็นนาคที่ใส่มงกุฎแบบนางงามจักรวาลก็แล้วกัน
ผู้เขียนลองนึกเล่น ๆ ว่า หากตั้งปัญหาถามผู้ที่เคยไปชมทั้งปราสาทพิมายและปราสาทพนมรุ้งว่า นาคปลายราวสะพานนาคราชของพิมาย และพนมรุ้งมีเศียรกี่เศียร คำตอบคือ นาคพิมายมี 7 เศียร นาคพนมรุ้งมี 5 เศียร แต่หากถามว่า เพราะอะไรจึงมีจำนวนเศียรไม่เท่ากัน? ขอตอบว่า "ไม่ทราบครับ"
แต่เมื่อผู้เขียนได้สังเกตเห็นความผิดแผกแตกต่างของนาคตามที่ต่าง ๆ ณ ปราสาทพนมรุ้ง ก็ได้ตั้งเป็นข้อสมมติฐาน แล้วกำหนดให้เป็น "นาคผู้หญิง" (นาคี) และ "นาคผู้ชาย" (นาคา) เป็นการเล่นคำให้คล้องจองมากยิ่งขึ้น จึงเป็นอย่างหัวข้อเรื่องนี้
อะไรคือเหตุแห่งความผิดแผกดังกล่าว ที่นำมาสู่การกำหนดเพศ "นาค" ขึ้นมา อ่านต่อได้ที่นี่ : (https://www.silpa-mag.com/culture/article_7817)
เรื่อง : สามารถ ทรัพย์เย็น (ผู้ชำนาญการด้านโบราณคดี กรมศิลปากร)
ภาพ : นาคปลายสะพานนาคราชชั้นใน สมัยนครวัด ปราสาทเขาพนมรุ้ง (นาคผู้ชาย)
🎯 “ศิลปวัฒนธรรม” ชวนเปิดมิติ “Golden Boy” โบราณวัตถุสำคัญระดับทอล์ก ออฟ เดอะ ทาวน์ พร้อมเกร็ดน่ารู้ “โบราณวัตถุไทยในต่างแดน” ครอบคลุม 3 แพลตฟอร์ม ออนกราวนด์-ปรินต์-ออนไลน์ (รายละเอียดในคอมเมนต์)
📍 ประเดิมด้วยกิจกรรมออนกราวนด์ สโมสรศิลปวัฒนธรรมเสวนา "Golden Boy" วันพฤหัสบดีที่ 25 มกราคม 2567 เวลา 13.00-16.00 น. ณ ห้องประชุมอาคารข่าวสด
พบ 2 นักวิชาการ ได้แก่ ศิริพจน์ เหล่ามานะเจริญ และ ดร. ทนงศักดิ์ หาญวงษ์ ดำเนินรายการโดย เอกภัทร์ เชิดธรรมธร
เข้าร่วมกิจกรรม ฟรี! ลงทะเบียนร่วมงานได้ที่ลิงก์นี้ https://bit.ly/3vr26By
#นาค #ปราสาทพนมรุ้ง #ศิลปวัฒนธรรม
______________
ติดตามช่องทางโซเชียลมีเดียของ “ศิลปวัฒนธรรม” ได้ที่
Facebook : https://www.facebook.com/SilpaWattanatham
YouTube : https://www.youtube.com/
Twitter : https://www.twitter.com/Silpa_Mag
Instagram : https://www.instagram.com/silpawattanatham
TikTok : https://www.tiktok.com/
Spotify : https://open.spotify.com/show/3OJmiFOXzprJYNzvaYJFRe

“สถิตมหาสีมาราม” ท้ายชื่อวัดราชประดิษฐฯ มาจากไหน แล้ว “มหาสีมา” กับ “สีมา” ต่างกันอย่างไร #สถิตมหาสีมาราม  #วัดราชประดิษ...
15/01/2024

“สถิตมหาสีมาราม” ท้ายชื่อวัดราชประดิษฐฯ มาจากไหน แล้ว “มหาสีมา” กับ “สีมา” ต่างกันอย่างไร

#สถิตมหาสีมาราม #วัดราชประดิษฐฯ #ศิลปวัฒนธรรม

สถิตมหาสีมาราม ท้ายนามวัดราชประดิษฐฯ บอกถึงสีมาเขตของพระอารามแห่งนี้ว่า “มหาสีมา” ซึ่งรัชกาลที่ 4 โปรดเก.....

15/01/2024

#ไต้หวัน มีที่มาจากไหน? ย้อนดูพัฒนาการ จากเกาะแหล่งประมง-โจรสลัด สู่ดินแดนอุตสาหกรรม-ประชาธิปไตย
https://www.silpa-mag.com/history/article_48092

มติชนก้าวสู่ปีที่ 47 สำหรับสมาชิกนิตยสาร ลดสูงสุดถึง 25%📍 เพียง 7 วันเท่านั้น (9-15 ม.ค.2567)👨🏻‍💻 สมัคร 2 ปกเป็นต้นไป ลด...
15/01/2024

มติชนก้าวสู่ปีที่ 47
สำหรับสมาชิกนิตยสาร ลดสูงสุดถึง 25%
📍 เพียง 7 วันเท่านั้น (9-15 ม.ค.2567)

👨🏻‍💻 สมัคร 2 ปกเป็นต้นไป ลด 25%
มติชนสุดสัปดาห์+ศิลปวัฒนธรรม ราคาพิเศษ 5,290 บาท
มติชนสุดสัปดาห์+ประชาชาติธุรกิจ ราคาพิเศษ 8,190 บาท
ศิลปวัฒนธรรม+ประชาชาติธุรกิจ ราคาพิเศษ 6,200 บาท
👨🏻‍💻 สมัคร 1 ปก ลดทันที 20%
มติชนสุดสัปดาห์ ราคาพิเศษ 3,796 บาท
ศิลปวัฒนธรรม ราคาพิเศษ 1,740 บาท
นสพ.ประชาชาติธุรกิจ ราคาพิเศษ 4,680 บาท
🛒 สมัครสมาชิกนิตยสาร คลิกเลย
Web : https://bit.ly/3PHko96
Line Shop : https://bit.ly/4aMhGro

#มติชนสุดสัปดาห์ #ศิลปวัฒนธรรม #ประชาชาติธุรกิจ

ที่อยู่

12 ถนนเทศบาลนฤมาล ประชานิเวศน์ 1 แขวงลาดยาว เขตจตุจักร
Bangkok
10900

เบอร์โทรศัพท์

+6625800021

เว็บไซต์

แจ้งเตือน

รับทราบข่าวสารและโปรโมชั่นของ Silpawattanatham - ศิลปวัฒนธรรมผ่านทางอีเมล์ของคุณ เราจะเก็บข้อมูลของคุณเป็นความลับ คุณสามารถกดยกเลิกการติดตามได้ตลอดเวลา

ติดต่อ ธุรกิจของเรา

ส่งข้อความของคุณถึง Silpawattanatham - ศิลปวัฒนธรรม:

วิดีโอทั้งหมด

แชร์

ประเภท

“ศิลปวัฒนธรรม”

นิตยสารและผู้ผลิตคอนเทนต์ออนไลน์ว่าด้วยประวัติศาสตร์ ศิลปะ-วัฒนธรรมทั้งแง่มุมอดีตและร่วมสมัย ติดตามเนื้อหามากมายที่ silpa-mag.com Twitter : twitter.com/Silpa_Mag Instagram : instagram.com/silpawattanatham/ YouTube : https://www.youtube.com/channel/UCJjOfXgP1CUCc0XtLd-U0xw Soundcloud : https://soundcloud.com/silpawattanatham

ตำแหน่งใกล้เคียง บริษัท สื่อ


นิตยสาร อื่นๆใน Bangkok

แสดงผลทั้งหมด

คุณอาจจะชอบ