National Geographic Thailand

National Geographic Thailand National Geographic ฉบับภาษาไทย "เพราะชีวิตคือความอยากรู้" ในเครือ Amarin Media & Event

ช่องทางการสมัครสมาชิกและสั่งซื้อนิตยสารฉบับปัจจุบัน / ฉบับย้อนหลัง
1.สมัครสมาชิก(สำหรับอ่านเอง) และ สั่งซื้อนิตยสาร : https://bit.ly/3LZ9wlp
2.สมัครสมาชิกอุปถัมภ์(สำหรับบริจาค) : https://bit.ly/3LX2e1i
3.Line : -member
4.E-mail : [email protected]
5.เบอร์โทร 02-423-9999 กด 2

“ เพลงเศร้า ” ทำให้เรา “รู้สึกดี” – เพลงใดไร้ซึ่งอารมณ์ เราก็เพลิดเพลินน้อยลงตลอดเวลาที่ผ่านมา นักวิทยาศาสตร์สงสัยมาตลอด...
15/12/2024

“ เพลงเศร้า ” ทำให้เรา “รู้สึกดี” – เพลงใดไร้ซึ่งอารมณ์ เราก็เพลิดเพลินน้อยลง
ตลอดเวลาที่ผ่านมา นักวิทยาศาสตร์สงสัยมาตลอดว่าทำไมเพลงฮิตติดชาร์ตส่วนใหญ่ “มักเป็น เพลงเศร้า”
คำบรรยายถึงอารมณ์เชิงลบในบทเพลงเหล่านี้ได้สร้างความรู้สึกเศร้าใจให้กับหลายคน แต่ผู้ฟังเหล่านั้นก็รายงานว่า พวกเขารู้สึกมีความสุขและเพลิดเพลินไปด้วยเหมือนกัน
ซึ่งเป็นสิ่งที่นักวิทยาศาสตร์ได้ยินแล้วต่างก็รู้สึกขัดแย้งอยู่ในใจว่า ‘มันเป็นไปได้อย่างไรกัน’ แต่งานวิจัยล่าสุดชี้ให้เห็นว่าความรู้สึกของผู้ฟังนั้นเป็นจริง
“คำอธิบายประการหนึ่งคือ การได้สัมผัสกับอารมณ์ที่หลากหลายในสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัยไม่มากก็น้อย สามารถช่วยให้เราเรียนรู้วิธีจัดการกับสิ่งที่เราเผชิญในโลกนี้”
[ อ่านต่อที่ https://ngthai.com/science/64208/sad-song-feel-good ]
#เพลงเศร้า #เพลงฮิต #อกหัก #อารมณ์

ถ้ามนุษย์เข้าใจได้ว่าวาฬคิดอะไรอยู่ และท้ายที่สุดจะรวมถึงความรู้สึกนึกคิดของสัตว์อื่นๆ ด้วย นั่นอาจเป็นแรงบันดาลใจให้เกิ...
14/12/2024

ถ้ามนุษย์เข้าใจได้ว่าวาฬคิดอะไรอยู่ และท้ายที่สุดจะรวมถึงความรู้สึกนึกคิดของสัตว์อื่นๆ ด้วย นั่นอาจเป็นแรงบันดาลใจให้เกิดความพยายามในการอนุรักษ์มากขึ้น
อ่านต่อที่ https://ngthai.com/environment/75607/ai-nature/
เดือนพฤษภาคม ปี 2020 ปรัตยุษา ศาร์มา กำลังคร่ำเคร่งวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อเตรียมเข้าประชุมกับทีมวิจัยที่สถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ หรือเอ็มไอที ด้วยความหวังจะหารูปแบบให้พบ นี่ไม่ใช่แค่ชุดข้อมูลทั่วไป แต่เป็นชุดข้อมูลที่ได้รับการพิสูจน์แล้วว่ายังถอดรหัสไม่ออก มันประกอบด้วยเสียงร้องแหลม เสียงคลิกรัวๆ ที่วาฬหัวทุยใช้สื่อสารกัน รวมหลายชั่วโมงจากการเก็บรวบรวมกว่าสิบปี
ศาร์มาเป็นส่วนหนึ่งของโครงการริเริ่มแปลภาษาสัตว์ทะเลเลี้ยงลูกด้วยนม หรือเซติ (Cetacean Translation Initiative: CETI) ซึ่งเป็นการพยายามทำความเข้าใจ “สิ่งที่วาฬพูด” ตามที่ทีมวิจัยบอก เป้าหมายนั้นตรงไปตรงมา แต่ยากอย่างเหลือเชื่อ เพราะเซติต้องการแปลการสื่อสารที่ไม่ใช่ของมนุษย์ ศาร์มากับสมาชิกในทีมจึงหาโปรแกรมปัญญาประดิษฐ์เบื้องต้นมาช่วยจัดระเบียบเงื่อนงำทางเสียงที่มีอยู่ด้วยวิธีใหม่ๆ
เซติหวังว่า ถ้ามนุษย์เข้าใจได้ว่าวาฬคิดอะไรอยู่ และท้ายที่สุดจะรวมถึงความรู้สึกนึกคิดของสัตว์อื่นๆ ด้วย นั่นอาจเป็นแรงบันดาลใจให้เกิดความพยายามในการอนุรักษ์มากขึ้น
โครงการเซติเริ่มขึ้นเมื่อเจ็ดปีก่อนที่สถาบันแรดคลิฟฟ์ มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ขณะที่เดวิด กรูเบอร์ นักชีววิทยาทางทะเลและนักสำรวจของเนชั่นแนล จีโอกราฟฟิก ฟังสื่อบันทึกเสียงวาฬหัวทุยอยู่ในห้องทำงาน และชาฟี โกลด์วัสเซอร์ นักวิทยาการคอมพิวเตอร์ ผ่านมาได้ยินเสียงคลิกเข้าพอดี จึงแวะห้องทำงานของกรูเบอร์ เพื่อถามว่านั่นคือเสียงอะไร คำตอบทำให้เกิดแรงบันดาลใจอย่างใหม่ ตอนนั้นเพื่อนร่วมงานหลายคนของโกลด์วัสเซอร์ใช้การเรียนรู้ของจักรกลพยายามพัฒนาการแปลภาษาของมนุษย์แล้ว ทำไมไม่ใช้วิธีเดียวกันกับวาฬ?

ช่วงเดือนกันยายนของทุก ๆ ปี นกในอเมริกาตอนเหนือกว่าพันล้านตัวจะอพยพย้ายถิ่นหนีความหนาวเย็นไปอาศัยอยู่ทางซีกโลกใต้ ปรากฏก...
13/12/2024

ช่วงเดือนกันยายนของทุก ๆ ปี นกในอเมริกาตอนเหนือกว่าพันล้านตัวจะอพยพย้ายถิ่นหนีความหนาวเย็นไปอาศัยอยู่ทางซีกโลกใต้ ปรากฏการณ์นี้ยิ่งใหญ่เกินกว่าที่มนุษย์จะเข้าใจได้อย่างถ่องแท้ อย่างไรก็ตาม ล่าสุดมีงานวิจัยที่เหมือนเปิดประตูสู่ความเข้าใจพฤติกรรมนกเผยแพร่ ผลการบันทึกจากแหล่งอพยพทั้งหมดห้าแหล่งในแถบภูมิภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภูมิภาคทะเลสาบใหญ่ของสหรัฐอเมริกาแสดงให้เห็นว่านกต่างชนิดพันธุ์ก็สามารถสร้างความสัมพันธ์ที่ยั่งยืนในฤดูอพยพได้
นอกเหนือจากนี้ ผลการวิจัยยังเผยว่าความสัมพันธ์ระหว่างนกมีความลึกซึ้งในเชิงนิเวศอย่างมาก แต่ความสัมพันธ์เหล่านี้กำลังถูกรุกรานโดยผลกระทบต่าง ๆ ที่เกิดจากมนุษย์ เช่นการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
.
นักวิทยาศาสตร์ให้ความสนใจกับความสัมพันธ์ที่ซ่อนอยู่ในกลุ่มนกอพยพมาโดยตลอด และวิจัยล่าสุดนี้ก็ได้ใช้ข้อมูลจากการติดตาม Songbirds หรือก็คือนกจำพวกหนึ่งที่มีเสียงไพเราะ จำนวน 50 ชนิดพันธุ์ ซึ่งถูกบันทึกมาเป็นระยะเวลากว่า 23 ปี เพื่อไขปริศนาเกี่ยวกับเครือข่ายทางสังคมอันซับซ้อนของนก
อ่านเรื่องราวทั้งหมดได้ที่ https://ngthai.com/wildlife/75588/bird-migration-social-relationship/
#นก #นกอพยพ

ในปี 2013 นักวิทยาศาสตร์ได้ถ่ายภาพวาฬหลังค่อมตัวผู้ตัวหนึ่ง นอกอ่าวทริบูกา (Tribugá) บนชายฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิกของโคลอมเบี...
13/12/2024

ในปี 2013 นักวิทยาศาสตร์ได้ถ่ายภาพวาฬหลังค่อมตัวผู้ตัวหนึ่ง นอกอ่าวทริบูกา (Tribugá) บนชายฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิกของโคลอมเบีย และก็สามารถถ่ายภาพมันได้อีกครั้งในปี 2017 ที่บาฮีอาซาลาโน (Bahía Solano) นอกชายฝั่งโคลอมเบียในมหาสมุทรแปซิฟิก ที่ห่างจากจุดพบเห็นครั้งแรกประมาณ 78 กิโลเมตรเท่านั้น ซึ่งเป็นเรื่องปกติอย่างมากที่จะพบเห็นวาฬหลังค่อมในบริเวณเดิม ๆ
แต่แล้วในปี 2022 วาฬตัวนี้ก็ปรากฏขึ้นอีกครั้งที่ไม่ใช่ที่เดิม แต่เป็นนอกชายฝั่งแซนซิบาร์ในมหาสมุทรอินเดีย ห่างจากจุดที่พบเห็นครั้งแรกกว่า 13,046 กิโลเมตรอย่างไม่มีใครคาดคิด
การเดินทางครั้งนี้มีเรื่องผิดปกติซ่อนอยู่ เนื่องจากโดยทั่วไปแล้ววาฬหลังค่อม (Megaptera novaeangliae) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่อพยพจากแหล่งเพาะพันธุ์เขตร้อน ไปยังแหล่งหากินที่หนาวเย็นตามฤดูกาลเป็นระยะทางเฉลี่ย 8,000 กิโลเมตรในแนวเหนือ-ใต้
ทว่าวาฬตัวนี้นี้กลับเดินทางในแนวตะวันออก-ตะวันตกแทนและเป็นระยะทางที่ไกลกว่าระยะทางปกติเกือบ 2 เท่า ถือเป็นครั้งแรกที่มีการพบว่าวาฬมีการเปลี่ยนแหล่งใช้ชีวิตปกติของมันระหว่างมหาสมุทรแปซิฟิกและมหาสมุทรอินเดีย ซึ่งนักวิทยาศาสตจร์ก็ตั้งสมุติฐานของการอพยพที่ผิดปกติของวาฬตัวนี้ไว้ 2 อย่าง
หนึ่งก็คือ การเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศกำลังเปลี่ยนแปลงการกระจายของแหล่งอาหาร รวมถึงความอุดมสมบูรณ์ในมหาสมุทร ทำให้วาฬต้องเดินทางไกลขึ้นเพื่อมองหาอาหารของพวกมันใหม่
และอีกแนวคิดหนึ่งก็คือวาฬอาจกำลังสำรวจแหล่งเพาะพันธุ์ใหม่ ๆ เนื่องจากมีประชากรวาฬเพิ่มขึ้นจากความพยายามด้านอนุรักษ์ทั่วโลก ทำให้วาฬอาจต้องการผสมพันธุ์กับกลุ่มประชากรใหม่ ๆ
อ่านเรื่องราวทั้งหมดได้ที่ https://ngthai.com/wildlife/75619/humpback-whale-makes-record-journey/
#วาฬ #วาฬหลังค่อม

ออสเตรเลียทำ ‘ไวรัสอันตราย’ ที่มีอัตราการเสียชีวิตสูงมากหลุดหลายร้อยขวด ถือเป็นหนึ่งเหตุการณ์ละเมิดระเบียบความปลอดภัยทาง...
12/12/2024

ออสเตรเลียทำ ‘ไวรัสอันตราย’ ที่มีอัตราการเสียชีวิตสูงมากหลุดหลายร้อยขวด ถือเป็นหนึ่งเหตุการณ์ละเมิดระเบียบความปลอดภัยทางชีวภาพครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ และการที่ตัวอย่างไวรัสสูญหายนี้อาจสร้างผลกระทบร้ายแรงได้หรือไม่?
อ่านต่อที่ https://ngthai.com/science/75601/queensland-lab-missing-virus/
รายงานข่าวระบุว่า จากการตรวจสอบไวรัสที่สูญหาย พบว่าเกือบ 100 ขวดเป็นไวรัสเฮนดรา (Hendra virus) ซึ่งถือเป็นไวรัสร้ายแรงอย่างมาก โดยไวรัสชนิดนี้ได้รับการค้นพบครั้งแรกในช่วงกลางทศวรรษ 1990 หลักจากที่ทำให้ม้าหลายตัวติดเชื้อและเสียชีวิตในเวลาต่อมาที่ประเทศออสเตรเลีย และมีมนุษย์เพียงไม่กี่คนที่ติดเชื้อนี้จากม้า ทว่าผู้ที่ติดเชื้อเหล่านั้นมีอัตราการเสียชีวิตสูงมาก
“ไวรัสเฮนดรามีอัตราการเสียชีวิตในมนุษย์อยู่ที่ 57% และส่งผลกระทบร้ายแรงต่อผู้ติดเชื้อ รวมถึงม้าในพื้นที่ที่ไวรัสระบาด” ไรน่า เพลาวไรท์ (Raina Plowright) ศาสตราจารย์จากภาควิชาสาธารณสุขและระบบนิเวศของวิทยาลัยสัตว์แพทย์ มหาวิทยาลัยคอร์เนลล์ กล่าว
อย่างไรก็ตามผู้เชี่ยวชาญอย่าง ดร.จอห์น เจอราร์ด (John Gerrard) หัวหน้าเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ได้กล่าวว่าแม้จะดูเป็นเหตุการณ์ที่ร้ายแรง แต่อีกด้านก็เชื่อว่าเกิดความเสี่ยงต่อชุมชนในระดับต่ำ
“ไม่มีการตรวจพบกรณีไวรัสเฮนดราหรือลิสซาไวรัสในมนุษย์ที่ควีนส์แลนด์ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมาเลย และไม่มีรายงานการติดเชื้อฮันตาไวรัสในมนุษย์ที่ออสเตรเลียเลยเช่นกัน” เขากล่าว
เช่นเดียวกับทางนายนิโคลส์ ซึ่งเน้นย้ำว่า การสืบสวนถึงตัวอย่างไวรัสที่หายไปนี้เป็นหนึ่งในความสำคัญอันดับต้น ๆ ที่ต้องจัดการอย่างเร่งด่วน และเป็นหนึ่งในข้อกังวลอย่างแน่นอน กระนั้นก็ยังเชื่อว่าไวรัสเหล่านี้จะไม่กลายเป็นอาวุธชีวภาพอย่างแน่นอน

“สวัสดีครับ ผมขอให้ข้อมูลการค้นพบกะท่างน้ำชนิดใหม่ของโลก” ข้อความสั้น ๆ ที่น่าตื่นเต้นจาก รศ.ดร.ปรวีร์ พรหมโชติ ปรากฏบนก...
11/12/2024

“สวัสดีครับ ผมขอให้ข้อมูลการค้นพบกะท่างน้ำชนิดใหม่ของโลก”
ข้อความสั้น ๆ ที่น่าตื่นเต้นจาก รศ.ดร.ปรวีร์ พรหมโชติ ปรากฏบนกล่องข้อความของเราเมื่อเดือนที่แล้ว พร้อมกับภาพถ่ายของกะท่างน้ำ สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกสีส้ม ๆ ดำ ๆ ที่ละม้ายคล้ายจิ้งจก ตุ๊กแก และซาลาแมนเดอร์ ผสมรวมกัน
สำหรับคนทั่วไป การพบกะท่างน้ำสักตัวอาจไม่ใช่เรื่องน่าตื่นเต้นเท่าไรนัก แต่สำหรับรศ.ดร.ปรวีร์ พรหมโชติ อาจารย์ประจำภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้อุทิศชีวิตให้กับการศึกษากะท่างน้ำในประเทศไทย นี่คือช่วงเวลาแห่งความสำเร็จครั้งสำคัญ
รศ.ดร.ปรวีร์ พรหมโชติ เป็นที่รู้จักกันดีในแวดวงชีววิทยาในฐานะ ‘นักวิจัยกะท่างน้ำไทย’ ความหลงไหลในกะท่างน้ำของเขา เริ่มต้นขึ้นสมัยที่เขายังเป็นนิสิต เมื่อเขาพบความแตกต่างของกะท่างน้ำที่เจอในพระตำหนักภูพิงคราชนิเวศน์กับกะท่างน้ำหิมาลัยและสามารถระบุได้ว่าไม่น่าจะใช่ชนิดเดียวกัน นับจากนั้นเป็นต้นมาความสนใจในสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกโดยเฉพาะกะท่างน้ำก็ไม่เคยจางหายอีกเลย
ตลอดหลายปีที่ผ่านมา เขาและเพื่อนร่วมทีมวิจัยได้ค้นพบกะท่างน้ำสายพันธุ์ใหม่มาแล้ว 6 ชนิด ซึ่งแต่ละชนิดก็มีเอกลักษณ์และความพิเศษเฉพาะตัว ไม่ว่าจะเป็น กะท่างน้ำดอยภูคา ที่ตั้งชื่อเพื่อเป็นเกียรติแก่อุทยานแห่งชาติดอยภูคา หรือกะท่างน้ำอุ้มผางที่ลำตัวมีสีคล้ำ แต่ปลายหางสีส้มสดใส
แต่เรื่องราวของ ‘กะท่างน้ำดอยสอยมาลัย’ ที่เพิ่งค้นพบล่าสุดนี้พิเศษกว่าตัวไหน ๆ และเราก็อยากเล่าให้คุณฟังถึงการค้นพบครั้งนี้
อ่านเรื่องราวทั้งหมด https://ngthai.com/wildlife/75463/new-newt-discoverd-by-drpomchote/
#กะท่างน้ำ #กะท่างน้ำดอยสอยมาลัย #ภาวะโลกร้อน

งานวิจัยใหม่เผยให้เห็นว่าหัวใจมีระบบประสาทที่ซับซ้อนเป็นของตัวเอง หรือที่เรียกว่า ‘สมองขนาดเล็ก’ ซึ่งสามารถควบคุมการเต้น...
11/12/2024

งานวิจัยใหม่เผยให้เห็นว่าหัวใจมีระบบประสาทที่ซับซ้อนเป็นของตัวเอง หรือที่เรียกว่า ‘สมองขนาดเล็ก’ ซึ่งสามารถควบคุมการเต้นของหัวใจได้โดยไม่ขึ้นกับสมอง นั่นเป็นเหตุผลที่ว่าทำไมอวัยวะสำคัญชิ้นนี้ถึงเต้น ได้ด้วยตัวเองเมื่ออยู่นอกร่างกาย
อ่านต่อที่ https://ngthai.com/science/75574/heart-brain-system/
หลายครั้งที่ภาพยนตร์หรือแม้แต่ภาพจริงเผยให้เห็นว่าหัวใจของเรายังคงเต้นอยู่แม้จะถูกตัดออกมาจากร่างกายแล้ว ซึ่งอาจดูเหมือนเป็นเรื่องปกติที่เกิดขึ้นได้ทั่วไป ถึงเช่นนั้นก็ยังเกิดคำถามที่ว่า แล้วหัวใจยังคงทำงานอยู่ได้อย่างไร ทั้งที่ไม่ได้เชื่อมต่อกับระบบประสาทในร่างกายแล้ว?’
ที่ผ่านมานักวิทยาศาสตร์เชื่อกันว่า หัวใจนั้นจะได้รับการควบคุมจาก ‘ระบบประสาทอัตโนมัติ’ เพียงอย่างเดียว ซึ่งเป็นสัญญาณที่ส่งตรงมาจากสมองผ่านเข้าไปยังเครือข่ายประสาทง่าย ๆ ในเนื้อหัวใจให้ทำงานตามปกติ อย่างไรก็ตาม งานวิจัยใหม่จากสถาบันคาโรลินสกา (Karolinska Institute) และมหาวิทยาลัยโคลัมเบียซึ่งเพิ่งเผยแพร่บนวารสาร Nature Communications ได้แสดงให้เห็นว่าหัวใจของเรามีความซับซ้อนกว่าที่คิดด้วย ‘สมองเล็ก ๆ ส่วนตัว’ และนี่อาจทำเราเข้าใจความผิดปกติของหัวใจได้ดีขึ้น
“สมองเล็ก ๆ นี้มีบทบาทสำคัญในการรักษาและควบคุมอัตราการเต้นของหัวใจ คล้ายกับที่สมองควบคุมการทำงานจังหวะต่าง ๆ เช่นการเคลื่อนไหวและการหายใจ” คอนสแตนตินอส แอมพาทซิส (Konstantinos Ampatzis) นักวิจัยหลักและอาจารย์ประจำภาควิชาประสาทวิทยาของสถาบันคาโรลินสกา ประเทศสวีเดน กล่าว
ทีมวิจัยได้ทำการศึกษาหัวใจของปลาม้าลาย (zebrafish) ซึ่งเป็นสัตว์ทดลองที่มีความคล้ายคลึงกันอย่างมากทั้งในด้านอัตราการเต้นและระบบการทำงานโดยรวมของหัวใจในมนุษย์ ทำให้มันเป็นตัวอย่างที่ดีในการเรียนรู้เกี่ยวกับหัวใจในมุมมองอื่น ๆ
ในขณะที่ทำแผนที่องค์ประกอบต่าง ๆ ของอวัยวะนี้ไม่ว่าจะเป็นการจัดระเบียบและการทำงานของเซลล์ประสาทภายในเนื้อเยื่อ ผ่านการผสมผสานวิธีต่าง ๆ เช่น การจัดลำดับอาร์เอ็นเอ (RNA) ของเซลล์เดี่ยว กายวิภาคของอวัยวะ และการใช้เทคนิคทางไฟฟ้า ทีมนักวิทยาศาสตร์ก็ต้องพบกับความน่าประหลาดใจ
พวกเขาพบว่าในหัวใจนั้นมีเซลล์ประสาทอยู่มากมายและหลายประเภทอย่างคาดไม่ถึง ซึ่งต่างก็ทำหน้าที่ของตัวเองไม่เหมือนกัน รวมถึงการควบคุมจังหวะการเต้นของหัวใจที่มีคุณสมบัติเหมือนเครื่องกระตุ้นหัวใจที่ไม่ต้องการสัญญาณจากสมอง กล่าวอย่างง่าย หัวใจมีระบบประสาทควบคุมของตัวเอง

วันที่ 7 ธันวาคม 2567 ที่อัฒจันทร์กลาง สวนเบญจกิติ กรุงเทพมหานคร  National Geographic ภาษาไทย ร่วมสำรวจกิจกรรม ‘ดูดาวกลา...
10/12/2024

วันที่ 7 ธันวาคม 2567 ที่อัฒจันทร์กลาง สวนเบญจกิติ กรุงเทพมหานคร National Geographic ภาษาไทย ร่วมสำรวจกิจกรรม ‘ดูดาวกลางกรุง’ Starry Night over Bangkok 2024 จัดโดยกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดยสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) กรุงเทพมหานคร และหน่วยงานพันธมิตร
โดยในงานมีประชาชนจำนวนมากกว่า 15,000 คน ร่วมเดินทางมาร่วมชมความสวยงามของท้องฟ้ายามค่ำคืน นับเป็นการกลับมาอีกครั้งของกิจกรรมดูดาวในกรุงเทพมหานครที่ทุกคนรอคอย ซึ่งทุกคนสามารถร่วมเรียนรู้การดูดาวอย่างง่าย ๆ ผ่าน Appication บนมือถือ และชมความสวนงามของวัตถุบนท้องฟ้ายามค่ำคืนง่าย ๆ ด้วยตาเปล่า กล้องสองตา และกล้องโทรทรรศน์มากกว่า 100 ตัว
ซึ่งความพิเศษของกิจกรรมในปีนี้คือ ตรงกับคืนที่มีปรากฏการณ์ “ดาวพฤหัสบดีใกล้โลกที่สุดในรอบปี” ดาวพฤหัสบดีจะปรากฏสว่างเด่นทางทิศตะวันออก ตั้งแต่ช่วงหัวค่ำ หากสังเกตการณ์ผ่านกล้องโทรทรรศน์ ซึ่งเราสามารถชมลวดลายของแถบเมฆ และพายุ รวมถึงจุดแดงใหญ่ และดวงจันทร์กาลิเลียนทั้ง 4 ดวงของดาวพฤหัสบดีได้
https://ngthai.com/news-activity/75553/starry-night-over-bangkok-2024/
#ดูดาว #ดูดาวกลางกรุง

นักวิจัยได้คิดค้นวิธีการส่งยาเข้าสู่ระบบทางเดินอาหาร ผ่านแคปซูลส่งยาที่ได้รับแรงบันดาลใจมาจากการพ่นหมึกของเซฟาโลพอดอ่านต...
10/12/2024

นักวิจัยได้คิดค้นวิธีการส่งยาเข้าสู่ระบบทางเดินอาหาร ผ่านแคปซูลส่งยาที่ได้รับแรงบันดาลใจมาจากการพ่นหมึกของเซฟาโลพอด
อ่านต่อที่ https://ngthai.com/science/75566/squid-inspired-pills-replace-injections/
การโดนฉีดยาไม่ใช่เรื่องสนุกและอาจเป็นสิ่งน่ากลัวสำหรับใครบางคน โดยเฉพาะผู้ป่วยที่ต้องฉีดยาทุกวันเพื่อบรรเทาโรค และแม้พวกเขาอยากจะหลีกเลี่ยงการโดนฉีดยาแค่ไหน แต่มันก็เป็นเรื่องยาก เพราะยาบางตัวอย่างอินซูลินจะสูญเสียประสิทธิภาพหากเลือกวิธีการรับประทาน
แต่ตอนนี้นักวิจัยได้พัฒนาวิธีการใหม่ ซึ่งอาจเป็นทางเลือกทดแทนการฉีดสารเหล่านี้เข้าสู่ร่างกายผ่านเข็มฉีดยา โดยพวกเขาคิดค้นแคปซูลส่งยา ที่สามารถปล่อยสารที่ต้องการเข้าสู่เนื้อเยื่อกระเพาะอาหารโดยตรง
นักวิทยาศาสตร์จากสถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ (MIT) โรงพยาบาลบริกแฮมและสตรี และบริษัทเภสัชกรรม Novo Nordisk ให้ข้อมูลว่า การค้นพบในครั้งนี้พวกเขาได้รับแรงบันดาลใจจากสัตว์ประเภทเซฟาโลพอด เช่น หมึกกล้วย, หมึกสาย, หมึกกระดอง ที่สามารถพ่นหมึกออกมาได้
วารสาร Nature ตีพิมพ์ผลการศึกษา โดยระบุว่า แคปซูลส่งยานี้ จะใช้เครื่องพ่นหมึก ซึ่งจำลองวิธีการมาจากการพ่นหมึกของเซฟาโลพอด ที่ทำหน้าที่ควบคุมความดันและทิศทางในการยิงหมึก เพื่อ “พ่น” ยาเข้าไปในเนื้อเยื่อของบริเวณที่ต้องการ ตามรายงานของ Singularity Hub
นักวิจัยได้เสนอวิธีเลียนแบบการพ่นยา 2 วิธี โดยใช้คาร์บอนไดออกไซด์อัดหรือสปริงขดแน่น เพื่อสร้างแรงที่จำเป็นในการผลักดันยาเหลวออกจากแคปซูล ก๊าซหรือสปริงจะถูกเก็บไว้ในสถานะอัดโดยตัวกระตุ้นคาร์โบไฮเดรต ซึ่งได้รับการออกแบบให้ละลายเมื่อสัมผัสกับความชื้นหรือสภาพแวดล้อมที่มีกรด เช่น กระเพาะอาหาร เมื่อตัวกระตุ้นละลาย ก๊าซหรือสปริงจะขยายตัว ส่งผลให้ยาเหลวพุ่งออกจากแคปซูล
ส่วนวิธีที่ 2 จะเป็นแคปซูลส่งยา ที่สามารถเดินทางไปยังส่วนต่าง ๆ ของระบบย่อยอาหารที่ต้องการให้ยาดูดซึม แคปซูลยาที่ว่านี้ จะมีก้นแบนและโดมสูง เมื่อมันเดินทางไปยังจุดที่ต้องการ มันจะวางตัวบนพื้นผิวเยื่อและฉีดยาลงไป โดยแคปซูลนี้จะมีขนาดประมาณผลบลูเบอร์รี่และสามารถบรรจุยาได้ 80 ไมโครลิตร
“อุปกรณ์นวัตกรรมเหล่านี้ สามารถพายาเข้าสู่ลำไส้โดยไม่ต้องใช้เข็ม การทำงานของนวัตกรรมนี้เลียนแบบการพ่นยาของ ปลาหมึกและปลาหมึกยักษ์ แนวคิดนี้ถูกคิดขึ้น เพื่อกระจายยาในระบบทางเดินอาหาร คล้ายกับการฉีดยาเข้าไปในลำไส้โดยตรง จึงมั่นใจได้ว่ายาจะถูกดูดซึมได้มากขึ้นก่อนที่ร่างกายจะขับออกมา” รายงานระบุ

“เมื่อเปลวไฟลุกท่วมอาสนวิหารนอเทรอดามในค่ำคืนวันที่ 15 เมษายน 2019 นั่นไม่ใช่แค่ไฟไหม้ครั้งใหญ่ แต่เป็นการเริ่มต้นการต่อ...
09/12/2024

“เมื่อเปลวไฟลุกท่วมอาสนวิหารนอเทรอดามในค่ำคืนวันที่ 15 เมษายน 2019 นั่นไม่ใช่แค่ไฟไหม้ครั้งใหญ่ แต่เป็นการเริ่มต้นการต่อสู้ครั้งสำคัญเพื่อปกป้องมรดกอันล้ำค่าของมนุษยชาติ”
หลังจาก 5 ปีแห่งการรอคอย วันนี้อาสนวิหารนอเทรอดามแห่งปารีส (Notre-Dame de Paris) กลับมาเปิดประตูต้อนรับผู้คนอย่างเป็นทางการอีกครั้ง ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของประวัติศาสตร์ ผ่าน Saving Notre Dame สารคดีพิเศษจาก National Geographic
ที่จะพาคุณไปพบกับเบื้องหลังภารกิจเร่งด่วนใน 365 วันแรก ของการกอบกู้อาสนวิหารไม่ให้พังทลาย ติดตามการทำงานของเหล่านักดับเพลิง วิศวกร สถาปนิก และผู้เชี่ยวชาญ ที่ต้องทุ่มเทท้ังกายและใจ ทำงานแข่งกับเวลา เพื่อรักษาสถาปัตยกรรมโกธิคอายุ 850 ปีให้รอดพ้นจากการพังทลาย พร้อมเผยให้เห็นความท้าทายและอุปสรรคที่ไม่มีใครคาดคิด ในการกอบกู้อาสนวิหารที่เป็นดั่งหัวใจของกรุงปารีส
#มหาวิหารนอเทรอดาม #ปารีส #ฝรั่งเศส

Saving Notre Dame documents the immediate aftermath of the devastating fire and the first-year efforts to save the cathedral from collapsing.Saving Notre Dam...

[ BRANDED CONTENT FOR TRUE ]การลดลงของพื้นที่ป่าก่อให้เกิดผลกระทบมากมายทั้งทางตรงและทางอ้อม หนึ่งในนั้นคือ ‘ปัญหาความขัด...
09/12/2024

[ BRANDED CONTENT FOR TRUE ]
การลดลงของพื้นที่ป่าก่อให้เกิดผลกระทบมากมายทั้งทางตรงและทางอ้อม หนึ่งในนั้นคือ ‘ปัญหาความขัดแย้งระหว่างคนกับช้าง (Human-Elephant Conflict: HEC)’ ที่เกิดขึ้นในหลายพื้นที่ทั่วโลก
เมื่อพื้นที่ป่าหดหาย แหล่งอาหารของช้างป่าก็ลดน้อยลงตาม พวกเขาจึงต้องออกหาอาหารไกลขึ้น ล่วงเลยเข้ามาถึงพื้นที่อยู่อาศัยและเกษตรกรรมของมนุษย์ ก่อให้เกิดความขัดแย้งอยู่บ่อยครั้ง จนเป็นที่มาของความร่วมมือระหว่าง ทรู คอร์ปอเรชั่น กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช และ WWF-ประเทศไทย ในการขับเคลื่อนโครงการเฝ้าระวังช้างป่า ด้วยระบบเตือนภัยล่วงหน้า True Smart Early Warning System (TSEWS) ในเขตพื้นที่อุทยานแห่งชาติกุยบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ พร้อมทั้งเตรียมขยายผลไปยังพื้นที่กลุ่มป่าตะวันออก (ป่ารอยต่อ 5 จังหวัด) และกลุ่มป่าที่ได้รับผลกระทบช้างป่าบุกรุกทั่วประเทศ

ความร่วมมือระหว่าง ขับเคลื่อนโครงการเฝ้าระวังช้างป่า ด้วยระบบเตือนภัยล่วงหน้า True Smart Early Warning System (TSEWS) คอยเฝ้าระว.....

นักวิทยาศาสตร์เตือน! หากโลกไม่สามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ มหาสมุทรอาร์กติกอาจกลายเป็นพื้นที่ไร้น้ำแข็งภายในปี 2027...
09/12/2024

นักวิทยาศาสตร์เตือน! หากโลกไม่สามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ มหาสมุทรอาร์กติกอาจกลายเป็นพื้นที่ไร้น้ำแข็งภายในปี 2027
อเล็กซานดรา จาห์น (Alexandra Jahn) นักอุตุนิยมวิทยาจากมหาวิทยาลัยโคโลราโด กล่าวว่า แม้ว่าการที่มหาสมุทรอาร์กติกปราศจากน้ำแข็งอาจไม่ได้ทำให้สถานการณ์ของโลกเปลี่ยนแปลงทันที แต่ก็เป็นสัญญาณที่ชัดเจนว่าการกระทำของมนุษย์ได้เปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติจากการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
น้ำแข็งในทะเลมีบทบาทสำคัญในการควบคุมอุณหภูมิของมหาสมุทรและอากาศ ช่วยรักษาที่อยู่อาศัยของสัตว์ทะเล ช่วยขับเคลื่อนกระแสน้ำในมหาสมุทรเพื่อหมุนเวียนความร้อนและสารอาหารทั่วโลก รวมไปถึงช่วยสะท้อนพลังงานบางส่วนจากดวงอาทิตย์กลับสู่อวกาศ
อ่านเรื่องราวทั้งหมดได้ที่ https://ngthai.com/environment/75510/arctic-ice-could-melt-by-2027/
#อาร์กติก #น้ำแข็งละลาย #ภาวะโลกร้อน

ร่วมขับเคลื่อนนวัตกรรม AI ของประเทศไทยสู่ระดับโลก กับงาน Engineering & Innovation Summit 2024 ในวันที่ 13 ธันวาคม 2567 ณ...
09/12/2024

ร่วมขับเคลื่อนนวัตกรรม AI ของประเทศไทยสู่ระดับโลก กับงาน Engineering & Innovation Summit 2024 ในวันที่ 13 ธันวาคม 2567 ณ ห้อง Ballroom 2, The Ritz-Carlton Bangkok
งานนี้เปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมได้เรียนรู้และพูดคุยกับผู้เชี่ยวชาญระดับแนวหน้าด้าน AI ในหลากหลายหัวข้อ ทั้งยังมีพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ระหว่างมหาวิทยาลัยทั้งหมด 9 แห่ง ทั้งนี้กิจกรรมไฮไลท์ภายในงาน มีการนำเสนอ 4 หัวข้อสำคัญ ซึ่งครอบคลุมความท้าทายและโอกาสใหม่ในด้าน AI ได้แก่
📌 โครงสร้างพื้นฐานด้านการพัฒนา AI (AI Foundation & Infrastructure)
📌 AI และเมืองอัจฉริยะ (Smart City)
📌 เทคโนโลยี AI และสุขภาพ (Digital Health)
📌 AI & เทคโนโลยีสร้างสรรค์ (Creative Technology)
Engineering & Innovation Summit 2024 จัดต่อเนื่องเป็นครั้งที่ 2 โดย สถาบันวิศวกรรมปัญญาประดิษฐ์ (AI Engineering Institute; AIEI) ร่วมมือกับมหาวิทยาลัยชั้นนำของประเทศไทย นำโดย มหาวิทยาลัยซีเอ็มเคแอล, สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง, มหาวิทยาลัยมหิดล, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และมหาวิทยาลัยขอนแก่น จัดงาน AI Engineering & ซึ่งมีเป้าหมายหลักเพื่อผลักดันประเทศไทย สู่การเป็นผู้นำระดับโลกด้าน AI
(หมายเหตุ : ทุกกิจกรรมบรรยายเป็นภาษาอังกฤษ)

ทะเลน้อย หรือ อุทยานนกน้ำทะเลน้อย คือทะเลสาบน้ำจืดที่มีเนื้อที่ผืนน้ำประมาณ 17,500 ไร่ มีความกว้างประมาณ 5 กิโลเมตร ยาวป...
08/12/2024

ทะเลน้อย หรือ อุทยานนกน้ำทะเลน้อย คือทะเลสาบน้ำจืดที่มีเนื้อที่ผืนน้ำประมาณ 17,500 ไร่ มีความกว้างประมาณ 5 กิโลเมตร ยาวประมาณ 6 กิโลเมตร ตั้งอยู่ตำบลนางตุง และตำบลทะเลน้อย อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง โดยพื้นที่ชุ่มน้ำแห่งนี้ถือว่ามีความสำคัญระหว่างประเทศ ในฐานะแรมซาร์ไซต์ (Ramsar site) แห่งแรกของประเทศไทย โดยบทบาทสำคัญในระบบนิเวศพื้นที่ชุ่มน้ำทะเลน้อยแห่งนี้คือการเป็นนิเวศบริการหล่อเลี้ยงวิถีชีวิตผู้คนกว่า 50,000 คน
ทะเลน้อย ยังเป็นพื้นที่ซึ่งมีระบบนิเวศที่หลากหลายและอุดมสมบูรณ์ ซึ่งการเลี้ยงควายปลักและระบบนิเวศในพื้นที่ชุ่มน้ำทะเลน้อย จ.พัทลุง เป็นระบบการทำการเกษตร (ปศุสัตว์) ที่สืบทอดมายาวนานมากกว่า 250 ปี ที่มีเอกลักษณ์โดดเด่นอยู่ที่การอยู่ร่วมกันของชุมชนกับธรรมชาติ การปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ วิวัฒนาการของทำการเกษตรอย่างยั่งยืน และการอนุรักษ์ระบบนิเวศให้สมดุล จนเมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน 2565 องค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (Food and Agriculture Organization: FAO) ได้ประกาศรับรองพื้นที่ทะเลน้อยเป็นมรดกทางการเกษตรโลก
อ่านต่อที่ https://ngthai.com/environment/75491/thale-noi-phatthalung/

เรื่องราวของออกซิเจนมืด (Dark Oxygen) เริ่มที่การถูกค้นพบโดยศาสตราจารย์แอนดรูว์ สวีตแมน ผู้นำทีมวิจัยจากสมาคมวิทยาศาสตร์...
07/12/2024

เรื่องราวของออกซิเจนมืด (Dark Oxygen) เริ่มที่การถูกค้นพบโดยศาสตราจารย์แอนดรูว์ สวีตแมน ผู้นำทีมวิจัยจากสมาคมวิทยาศาสตร์ทางทะเลแห่งสกอตแลนด์ และทีมงานตั้งแต่ปี 2013 พวกเขาพบก้อนหินสีดำปริศนาในก้นทะเลลึกกว่า 4,000 เมตร แต่ช่วงแรก แอนดรูว์ ไม่ได้สนใจก้อนโลหะเหล่านี้ เนื่องจากพวกเขาถูกสอนมาว่า ออกซิเจนที่มนุษย์หายใจกว่า 50% มาจากมหาสมุทร ซึ่งมาจากการสังเคราะห์ด้วยแสงจากพืชทะเลเท่านั้น
ต่อมา มีนักวิทยาศาสตร์ตั้งสมมติฐานว่า ก้อนโลหะเหล่านี้สามารถผลิตออกซิเจนได้เหมือนแบตเตอรี่ จึงนำมาสู่การทดลองในห้องทดลอง โดยมีการเก็บตัวอย่างก้อนโลหะขนาดเท่าๆ กับหัวมันฝรั่งจำนวนหนึ่งมาศึกษาและวัดแรงดันไฟฟ้าในหินแต่ละก้อน ก่อนจะพบว่า แต่ละก้อนมีแรงดันไฟฟ้าพอๆ กับถ่านขนาด AA ซึ่งแรงดันไฟฟ้านั้นมากพอที่จะแยกโมเลกุลนํ้าทะเลออกเป็นไฮโดรเจนและออกซิเจนได้ เป็นที่มาของการผลิตออกซิเจนในหินใต้ทะเล
สิ่งที่น่าสนใจหลังการค้นพบ ออกซิเจนมืด ในมหาสมุทรแปซิฟิก คือ การเกิดก๊าซออกซิเจนที่ไม่ได้มาจากสิ่งมีชีวิตตามข้อสันนิษฐานดั้งเดิมทางวิทยาศาสตร์ ที่ว่า ก๊าซออกซิเจน เกิดจากการสังเคราะห์ด้วยแสง (Photosynthesis) ในแพลงก์ตอนพืช (Phytoplankton) อย่างไซยาโนแบคทีเรีย (Cyanobacteria) หรือสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงินซึ่งเป็นแหล่งผลิตออกซิเจนสำคัญของโลกในยุคเริ่มแรก
ทว่า ออกซิเจนมืด มีกระบวนการที่ต่างออกไป กับการสร้างออกซิเจนจากปฏิกิริยาไฟฟ้าเคมี ซึ่งกระบวนการนี้ถูกขับเคลื่อนโดยประจุไฟฟ้าที่เกิดขึ้นเนื่องจากความแตกต่างของศักย์ไฟฟ้าบนพื้นผิวของก้อนเนื้อ ซึ่งปัจจุบันมหาสมุทรกำลังเผชิญกับการขาดออกซิเจน มีภาวะทะเลเป็นกรด ซึ่งเป็นผลกระทบจากโลกร้อน
อ่านต่อที่ https://ngthai.com/science/75482/dark-oxygen-environmental-restore/

หนึ่งสิ่งที่ตามมาหลังเหตุภัยธรรมชาติอย่างไฟไหม้ป่า พายุเฮอริเคนหรือน้ำท่วม ก็คือ “เรื่องลี้ลับ” ในกลุ่มพื้นที่ที่ได้รับผ...
06/12/2024

หนึ่งสิ่งที่ตามมาหลังเหตุภัยธรรมชาติอย่างไฟไหม้ป่า พายุเฮอริเคนหรือน้ำท่วม ก็คือ “เรื่องลี้ลับ” ในกลุ่มพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากภัยพิบัติ เรื่องสยองขวัญเหล่านี้เป็นเสมือนบาดแผลทางใจที่ภัยธรรมชาติได้ทิ้งเอาไว้
ความเศร้าโศกจากการสูญเสียบุคคลอันเป็นที่รักมีผลกระทบต่อความรู้สึกนึกคิดของคนเราอย่างมาก นักจิตแพทย์ชี้แนะว่าการเผชิญประสบการณ์ลึกลับเหนือธรรมชาติอาจเป็นตัวสะท้อนถึงวิธีที่ผู้คนรับมือกับความสูญเสีย เห็นได้จากการที่ยอดสมาชิก Spiritualists’ National Union องค์กรการกุศลที่เชื่อว่าคนอยู่สามารถติดต่อคนตายได้ เพิ่มขึ้นถึง 325 เปอร์เซ็นต์ในช่วงเดือนแรกของการกักตัวเพื่อควบคุมโรคโควิด 19 ในสหราชอาณาจักร
ผู้รอดชีวิตหลายรายจากเหตุไฟไหม้ป่าเกาะเมาวี น้ำท่วมที่ลิเบีย แผ่นดินไหวและสึนามิในโทโฮกุต่างประสบพบเจอกับเหตุการณ์แปลกประหลาดที่หาคำอธิบายไม่ได้ ในช่วงการระบาดของโควิด 19 ยอดผู้ใช้บริการไล่วิญญาณและสืบสวนเรื่องเหนือธรรมชาติก็พุ่งสูงเช่นกัน
ในเมื่อภัยพิบัติไม่อาจหายไป คำถามที่ตามมาก็คือ ความเชื่อในเรื่องผีจะเพิ่มขึ้นหรือไม่
อ่านเรื่องราวทั้งหมดได้ที่ https://ngthai.com/science/75457/ghostly-sightings-natural-disasters/

#เรื่องผี #ผี #ความเศร้า #ภัยธรรมชาติ

ชาวโคลวิส (Clovis) เป็นชนพื้นเมืองที่ไม่ค่อยคุ้นหูคนไทยมากนัก แต่พวกเขาเป็นมนุษย์กลุ่มแรกที่เข้ามาตั้งถิ่นฐานในภูมิภาคอเ...
06/12/2024

ชาวโคลวิส (Clovis) เป็นชนพื้นเมืองที่ไม่ค่อยคุ้นหูคนไทยมากนัก แต่พวกเขาเป็นมนุษย์กลุ่มแรกที่เข้ามาตั้งถิ่นฐานในภูมิภาคอเมริกาเหนือเมื่อประมาณ 23,000 ปีก่อน
ตามรายงานใหม่ที่เผยแพร่บนวารสาร Science Advances เผยให้เห็นว่าพวกเขาคือนักล่าแมมมอธตัวยง และดูเหมือนว่าพวกเขาจะชื่นชอบเนื้อแมมมอธมากกว่าสัตว์ตัวเล็กอื่น ๆ
ในการศึกษาใหม่นี้ ทีมวิจัยได้ทำการวิเคราะห์ทางเคมีของกระดูกเด็กชายวัย 18 เดือนที่มีชื่อว่า Anzick-1 โดยเขามีชีวิตอยู่เมื่อประมาณ 13,000 ปีก่อน โดยมุ่งเน้นไปที่การศึกษาไอโซโทปของธาตุคาร์บอนและไนโตรเจนบางชนิดที่เกิดจากการกระสมตัวของอาหารในกระดูก
และเนื่องจากเด็กชายยังอยู่ในวัยที่ดื่มนมแม่ ดังนั้นค่าไอโซโทปดังกล่าว จึงสะท้อนถึงวิถีการกินอาหารของแม่ นักวิทยาศาสตร์เปรียบเทียบผลที่ได้กับแหล่งอาหารต่าง ๆ ซึ่งเผยให้เห็นอาหารชนิดหนึ่งที่ชัดเจนมากนั่นคือ ‘แมมมอธ’ ซึ่งมีสัดส่วนมากถึงร้อยละ 40 จากอาหารทั้งหมดมากกว่ากวางเอลก์ ไบซัน และอูฐที่สูญพันธุ์ไปแล้วอย่าง ‘คาเมลโลป’ เสียอีก
อ่านเรื่องราวทั้งหมดได้ที่ https://ngthai.com/history/75500/colvis-love-to-eat-mammoth/
#มนุษย์โบราณ #แมมมอธ

จนถึงวันนี้หลายจังหวัดในภาคใต้โดยเฉพาะพื้นที่ชายฝั่งด้านอ่าวไทย กำลังเผชิญกับฝนที่ตกหนักและน้ำท่วมครั้งรุนแรงในรอบหลายปี...
05/12/2024

จนถึงวันนี้หลายจังหวัดในภาคใต้โดยเฉพาะพื้นที่ชายฝั่งด้านอ่าวไทย กำลังเผชิญกับฝนที่ตกหนักและน้ำท่วมครั้งรุนแรงในรอบหลายปี และเหตุการณ์ฝนตกหนักจนน้ำท่วมครั้งนี้ มีความคล้ายคลึงกับเหตุอุทกภัยครั้งใหญ่ในพื้นที่ทางภาคใต้ของไทยในปี 2554 โดยเฉพาะสถานการณ์ฝนทิ้งช่วง และเกิดฝนตกหนักมาอย่างต่อเนื่องมากกว่า 10 วัน
ผศ.ดร.สมพร ช่วยอารีย์ อาจารย์ประจำคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ซึ่งติดตามสถานการณ์ที่เกิดขึ้นนี้มาตลอด อธิบายว่า ขณะนี้เป็นช่วงเปลี่ยนผ่านจากภาวะ “เอลนีโญ” สู่ภาวะปกติ และกำลังจะเข้าสู่ “ลานีญา” ซึ่งเห็นได้จากเกิดพายุไต้ฝุ่นขนาดใหญ่พัดเข้ามาจากทะเลจีนใต้ โดยที่อิทธิพลของพายุทำให้เกิดอุทกภัยในช่วงต้นปีและกลางปีจนทำให้เกิดน้ำท่วมในหลายพื้นที่จากภาคเหนือ
“ปริมาณฝนไม่ได้มากกว่าปกติ แต่สังเกตว่าฝนรอบนี้มาช้า และตกต่อเนื่องนานหลายวัน ทำให้ปริมาณฝนในช่วงสั้นๆนี้มีจำนวนมาก เปรียบได้กับว่าหากตกเฉลี่ยทั้งฤดูปริมาณฝนต่อวันจะไม่ได้มากขนาดนี้และสามารถจัดการได้ แต่เมื่อมาตกในช่วงพฤศจิกายนจึงทำให้ปริมาณน้ำในพื้นที่มากเป็นพิเศษ”
ตลอดระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมา ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศปรากฏเห็นชัดมากขึ้นเรื่อย ๆ และความสุดขั้วของลมฟ้าอากาศมีแนวโน้มที่จะเกิดผลกระทบกับวิถีชีวิตของผู้คนบ่อยครั้งขึ้นและทวีความรุนแรงมากขึ้น
รายงานจาก Intergovernmental Panel on Climate Change (IPCC) ในปี 2021 พบว่าสภาวะสุดขั้วของลมฟ้าอากาศ ทั้งอุณหภูมิสุดขั้ว ภัยแล้งรุนแรง สภาวะฝนสุดขั้ว และพายุหมุนเขตร้อนรุนแรง มีแนวโน้มที่จะเกิดบ่อยครั้งขึ้นและทวีความรุนแรงมากขึ้นตามการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิพื้นผิวโลกเฉลี่ยหรือตามสภาวะโลกร้อน และหากไม่ดำเนินการเพื่อรับมือและแก้ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอย่างเร่งด่วน ผู้คนทั่วโลกกว่า 216 ล้านคนอาจต้องโยกย้ายถิ่นฐานภายในประเทศภายในปี ค.ศ. 2050
ตัวอย่างจากผลกระทบของสภาวะสุดขั้วของดินฟ้าอากาศ รายงานข้างต้นระบุว่า อาจก่อให้เกิดความตึงเครียดทั้งในพื้นที่รับและส่งผู้อพยพ ตัวอย่างเช่น ผู้ที่เคยประกอบอาชีพทางการเกษตรหรือประมงที่อาจย้ายเข้าเมืองเพื่อหางานทำ ทำให้พื้นที่เมืองต้องรองรับประชากรมากเกินศักยภาพที่มี โดยมี 6 ภูมิภาคทั่วโลก1 ที่เป็นพื้นที่ที่มีแนวโน้มสูงที่จะประสบปัญหาการโยกย้ายถิ่นฐานภายในประเทศที่มีผลมาจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
อ่านต่อที่ https://ngthai.com/environment/75442/floods-in-southern-thailand/

ที่อยู่

บมจ. อมรินทร์ พรินติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง 378 ถนนชัยพฤกษ์ เขตตลิ่งชัน
Bangkok
10170

เวลาทำการ

จันทร์ 09:00 - 18:00
อังคาร 09:00 - 18:00
พุธ 09:00 - 18:00
พฤหัสบดี 09:00 - 18:00
ศุกร์ 09:00 - 18:00

เบอร์โทรศัพท์

+6624229999

เว็บไซต์

แจ้งเตือน

รับทราบข่าวสารและโปรโมชั่นของ National Geographic Thailandผ่านทางอีเมล์ของคุณ เราจะเก็บข้อมูลของคุณเป็นความลับ คุณสามารถกดยกเลิกการติดตามได้ตลอดเวลา

ติดต่อ ธุรกิจของเรา

ส่งข้อความของคุณถึง National Geographic Thailand:

วิดีโอทั้งหมด

แชร์

ประเภท

ตำแหน่งใกล้เคียง บริษัท สื่อ

  • Amarin HOW-TO

    Amarin HOW-TO

    บริษัทอมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด 378 ถนนชัยพฤกษ์ (บรมราชชนนี) เขตตลิ่งชัน
  • Living ASEAN

    Living ASEAN

    Ame Imaginative Company Limited
  • บ้านและสวน ExplorersClub

    บ้านและสวน ExplorersClub

    Ame Imaginative Company Limited. 378 Chaiyapruek Road
  • Praew Wedding

    Praew Wedding

    Ame Imaginative Company Limited. 378 Chaiyaphruk Road
  • นิตยสารแพรว

    นิตยสารแพรว

    ถนนชัยพฤกษ์ เขตตลิ่งชัน
  • Sudsapda

    Sudsapda

    Ame Imaginative Company Limited. 378 Chaiyaphruk Road

นิตยสาร อื่นๆใน Bangkok

แสดงผลทั้งหมด