9เกษตร เป็นเพจเกี่ยวกับเรื่องเกษตร การปลูกพืช เทคนิคเกี่ยวกับปุ๋ย การทำสารชีวภาพ เพื่อบำรุงพืช แบบ ต่างเทคโนโลยีต่างๆ

คลับของคนพอเพียง ,เกษตรอินทรีย์,เกษตรพอเพียง,เศรษฐกิจพอเพียง,เกษตรผสมผสาน,เกษตรทฤษฎีใหม่,ปลูกพืช,เลี้ยงสัตว,ขายสินค้าเกษตร,ปุ๋ย

วิธีกำจัดเพลี้ยแป้ง(แบบออเเกนิค)1 น้ำยาล้างจานน้ำยาล้างจานมีฤทธิ์ลดแรงตึงผิว ทำให้ขี้ผึงที่เพลี้ยแป้งสร้างคลุมตัวเสียไป ...
13/10/2024

วิธีกำจัดเพลี้ยแป้ง(แบบออเเกนิค)
1 น้ำยาล้างจาน
น้ำยาล้างจานมีฤทธิ์ลดแรงตึงผิว ทำให้ขี้ผึงที่เพลี้ยแป้งสร้างคลุมตัวเสียไป และหายใจไม่ได้ โดยใช้อัตราส่วนน้ำยาล้างจาน 10 ช้อนโต๊ะต่อน้ำ 20 ลิตร หากได้ผลก็จะเห็นเพลี้ยแป้งฝ่อแห้งไป
2 พริกสด
พริก กำจัดเพลี้ย
พริกสดมีสารรบกวนระบบการดูดซึมอาหารของเพลี้ยแป้ง
หรืออาจเพิ่มความรุนแรงขึ้นอีกด้วยการผสมกับพริกสด ซึ่งมีสารรบกวนระบบการดูดซึมอาหารของเพลี้ยแป้ง ในอัตราส่วน พริกสดตำละเอียด 5 ช้อนโต๊ะ น้ำยาล้างจานชนิดไม่มีสารฟอกขาว 1 ช้อนโต๊ะ กระเทียมและหอมแดงสดอย่างละ 1 หัวใหญ่ นำไปปั่นโดยผสมน้ำบ้างเพื่อให้เข้ากัน แล้วเติมน้ำอีก 2 ลิตร หมักทิ้งไว้ 1 คืน จากนั้นนำมากรอง ก่อนนำไปใช้งาน ในกรณีที่เป็นต้นไม้ที่มีใบอ่อน อาจลองแค่บางจุดก่อน เพราะใบอ่อนอาจไหม้ได้
3 เหล้าขาว
หากสูตรเบื้องต้นยังไม่สาแก่ใจ แต่ยังกลัวสารเคมีรุนแรงอยู่ ลองใช้สูตรเหล้าขาว 2 ขวด น้ำส้มสายชู 5 % 1 ลิตร สาร EM 1 ลิตร กากน้ำตาล 1 ลิตร และน้ำสะอาด 10 ลิตร นำทั้งหมดมาผสมกันและหมักไว้นาน 10 – 15 วัน หมั่นคนไม่ให้ส่วนผสมนอนก้น และอย่าปิดฝาแน่นสนิทเพื่อให้ก๊าซที่เกิดขึ้นระบายออกได้ พอครบกำหนดแล้วให้ใช้ปริมาณ 1-5 ช้อนโต๊ะ ผสมน้ำสะอาด 5-10 ลิตร นำไปฉีดพ่นพืชผักทุก 3 วัน สลับกับพ่นปุ๋ยน้ำ หากเป็นพืชสวน พ่นทุก 3-7 วัน สลับกับการพ่นปุ๋ยน้ำ
ที่สำคัญการฉีดพ่นต้องทั่วถึง มิเช่นนั้นหากมีเพลี้ยแป้งอยู่ใต้ใบหรือเกาะซ้อนกันแน่น ก็อาจทำให้ตัวล่างรอดและขยายพันธุ์ต่อไปได้ คงต้องอาศัยความพยายามในการกำจัดต้นเหตุ ตัดเนื้อร้าย และใช้สารเคมีควบคู่กันไป จึงจะกำราบเจ้าเพลี้ยตัวน้อยให้สิ้นฤทธิ์ลงได้

ไอเดีย "ค้างปลูกผัก" ไว้ปลูกผักไม้เลื้อยในช่วงฤดูฝนที่มา ihome108.com
13/10/2024

ไอเดีย "ค้างปลูกผัก" ไว้ปลูกผักไม้เลื้อยในช่วงฤดูฝน

ที่มา ihome108.com

การปลูกผักไร้ดินบนต้นกล้วย ของดี ที่เวียดนาม เมื่อวันที่ 12-16 มีนาคม 2550 ผู้เขียนได้รับเกียรติจากมูลนิธิโครงการหลวง ให...
07/10/2024

การปลูกผักไร้ดินบนต้นกล้วย ของดี ที่เวียดนาม

เมื่อวันที่ 12-16 มีนาคม 2550 ผู้เขียนได้รับเกียรติจากมูลนิธิโครงการหลวง ให้เป็นผู้ประสานงานนำคณะเจ้าหน้าที่โครงการหลวง จำนวน 19 คน นำโดย ดร.ไพฑูรย์ พลสนะ และ อาจารย์เสียงทอง นุตาลัย ไปศึกษาดูงานด้านการปลูกผักเมืองหนาวตามมาตรฐาน UREPGAP ที่เมืองดาลัต จังหวัดลามด่ง และตลาดกลางสินค้าเกษตรเบิ่นดินห์ นครโฮจิมินห์ ประเทศเวียดนาม ในโอกาสที่ไปเยี่ยมชมการปลูกพืชผักเมืองหนาวที่ "ออการ์นิคฟาร์ม" (Organik farm) ของ ดร.เหวียน บา ฮุง (Dr.Nguyen Ba Hung) ซึ่งเป็นผู้ปลูกผักที่ได้มาตรฐาน ตามมาตรฐานของยุโรปเพียงรายเดียวในประเทศเวียดนาม คณะของเราได้รับความรู้จาก ดร.ฮุง เป็นอันมาก

ดร.ฮุง สำเร็จการศึกษาทางด้านพันธุศาสตร์จากประเทศฝรั่งเศส และมีความสนใจทางด้านการเกษตรมาก เมื่อสำเร็จการศึกษาก็ไม่ยอมไปเป็นอาจารย์สอนที่มหาวิทยาลัย หันมายึดอาชีพเป็นเกษตรกรเสียเอง ทั้งนี้ เพราะท่านมีความรักและสนใจอาชีพการเกษตร ประกอบกับท่านอยากจะช่วยเหลือเกษตรกรพี่น้องของท่านที่ยังยากจนและขาดความ รู้ทางด้านการพัฒนาเกษตรแผนใหม่ เพื่อพัฒนาให้ทันต่อสถานการณ์ของโลก ท่านได้พัฒนาฟาร์มของท่านเพื่อให้เป็นตัวอย่างแก่เกษตรกรรอบๆ ฟาร์ม โดยเริ่มพัฒนาจากสิ่งที่มีอยู่และหาได้ในท้องถิ่น แม้แต่โครงของโรงเรือนปลูกผักก็ทำด้วยไม้ไผ่ แต่ท่านก็สามารถได้มาตรฐาน UREPGAP ท่านเพาะปลูกพืชผัก ทั้งผักกินใบและผักกินผล รวมทั้งสิ้น 89 ชนิด โดยเน้นพืชผักที่เก็บเกี่ยวเมื่อมีอายุน้อยๆ และพืชผักที่มีขนาดเล็กที่เรียกว่า "เบบี้" (baby vegetable) มีเกษตรกรที่อยู่ในเครือ (Contract farmer) ของท่าน จำนวน 12 ครอบครัว โดยแต่ละครอบครัวมีพื้นที่เพาะปลูกผัก ครอบครัวละ 2 เฮกตาร์ หรือประมาณ 12 ไร่เศษ ผลิตผักต่างๆ ได้สัปดาห์ละ 5 ตัน เมล็ดพันธุ์ผักส่วนใหญ่นำเข้าจากประเทศไทยและประเทศต่างๆ ทางยุโรป เช่น ฮอลแลนด์ และฝรั่งเศส เป็นต้น

เมื่อเมล็ดพันธุ์ดีต้องนำเข้าจากต่างประเทศ จึงมีราคาแพงมากอย่างชนิดที่เรียกว่า นับเมล็ดขาย ดังนั้น ดร.ฮุง และเกษตรกรเวียดนามทั่วไปในเมืองดาลัต จึงใช้เมล็ดพันธุ์อย่างประหยัดและมีประสิทธิภาพมากที่สุด โดยใช้วิธีการตกกล้าลงในกระบะเพาะที่เป็นหลุม หลุมละ 1 เมล็ด แตกต่างจากเกษตรกรไทยของเรามาก แม้จะรู้ว่าเมล็ดพันธุ์ที่ซื้อมาแพงแต่กลับไม่สนใจแก้ปัญหา ยังคงใช้วิธีเพาะเมล็ดพันธุ์โดยการหว่านเมล็ดพันธุ์ลงในแปลงกล้า ซึ่งจะได้ต้นกล้าที่มีคุณภาพดีน้อย และมีความเสียหายค่อนข้างมาก ทั้งนี้ เพราะต้นกล้าส่วนหนึ่งจะถูกทำลายโดยด้วงหมัดผัก ซึ่งเป็นศัตรูที่สำคัญมากของผักทุกชนิด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระยะกล้า และเมื่อย้ายไปปลูกในแปลงปลูกต้นกล้าก็จะช้ำ หรือเหี่ยวเฉาหรือบางต้นอาจเน่าตายไปเลย ทำให้เกษตรกรไทยมีต้นทุนในการเพาะปลูกผักที่สูงมาก

ก่อนที่จะไปถึงการปลูกผักไร้ดินบนต้นกล้วย ใคร่ขอกล่าวถึงการเตรียมหรือการเพาะต้นกล้าเสียก่อน

ความมั่นคงที่แท้จริง
07/10/2024

ความมั่นคงที่แท้จริง

เดินทางมาไกลมากแล้ว บางทีก็นึกถึงอดีตที่เรียบง่าย..
06/10/2024

เดินทางมาไกลมากแล้ว บางทีก็นึกถึงอดีตที่เรียบง่าย..

ที่อยู่

Phra Khanong

เบอร์โทรศัพท์

+66625863686

เว็บไซต์

แจ้งเตือน

รับทราบข่าวสารและโปรโมชั่นของ 9เกษตรผ่านทางอีเมล์ของคุณ เราจะเก็บข้อมูลของคุณเป็นความลับ คุณสามารถกดยกเลิกการติดตามได้ตลอดเวลา

ติดต่อ ธุรกิจของเรา

ส่งข้อความของคุณถึง 9เกษตร:

วิดีโอทั้งหมด

แชร์

ประเภท

ตำแหน่งใกล้เคียง บริษัท สื่อ