GreenNews Professional Green Perspectives สำนักข่าวสิ่งแวดล้อมกรีนนิวส์ (GreenNews)
ชมรมนักข่าวสิ่งแวดล้อม
สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย

  ทส.เปิดแถลงข่าว เสนอใช้  #แร่โพแทช- #แร่หายาก  #สร้างเศรษฐกิจ 165 ล้านล้านบาท”ระบุ “ #ศักยภาพแร่โพแทช ที่มีสามารถสร้าง...
12/06/2024

ทส.เปิดแถลงข่าว เสนอใช้ #แร่โพแทช- #แร่หายาก #สร้างเศรษฐกิจ 165 ล้านล้านบาท”
ระบุ “ #ศักยภาพแร่โพแทช ที่มีสามารถสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจ 161 ล้านล้านบาท ขณะ # #ศักยภาพแร่หายาก สามารถสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจราว 4.40 ล้านล้านบาท”
โดยระบุแหล่งอ้างอิงว่า “ผลการสำรวจของ #กรมทรัพยากรธรณี” ทั้งนี้ ไม่มีการเปิดเผยรายละเอียดการสำรวจ ทั้งระเบียบวิธีและช่วงเวลาที่สำรวจแต่อย่างใด
มีข้อสังเกตุว่า การแถลงครั้งนี้ระบุถึงแหล่งศักยภาพโพแทชที่น่าสนใจ ๑๐ แหล่ง ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ว่ามีปริมาณทรัพยากรแร่โพแทชอย่างน้อย “10,000 ล้านตัน” มากกว่าตัวเลขประมาณการ "7,400 ล้านตัน" ที่ #กระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยสาธารณะในปี 2559
อ่านต่อ https://greennews.agency/?p=38044

  กมธ.ที่ดินฯ เตรียมเสนอกรมอุทยานทบทวน “แก้ร่างกฎหมายฯ ที่กำลังจะประกาศใช้ ให้กลุ่มชาติพันธุ์ชนเผ่าดั้งเดิมทำไร่หมุนเวีย...
12/06/2024

กมธ.ที่ดินฯ เตรียมเสนอกรมอุทยานทบทวน “แก้ร่างกฎหมายฯ ที่กำลังจะประกาศใช้ ให้กลุ่มชาติพันธุ์ชนเผ่าดั้งเดิมทำไร่หมุนเวียนได้-สำรวจพื้นที่ไร่หมุนเวียนตกสำรวจทั้งประเทศ” หลัง 3 ชุมชนกะเหรี่ยงแก่งกระจานยื่นหนังสือเรียกร้องวันนี้
วันนี้ (12 มิ.ย. 2567) ตัวแทนจากชาวกะเหรี่ยงชุมชน #ห้วยกระซู่ #ห้วยหินเพลิง และ #สาริกา ต. #ยางน้ำกลัดเหนือ อ. #หนองหญ้าปล้อง จ. #เพชรบุรี เดินทางมายื่นหนังสือต่อคณะกรรมาธิการ (กมธ.) การที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพื่อขอให้คณะกรรมาธิการฯ ช่วยแก้ปัญหาความเดือดร้อนที่จะเกิดจากร่างพระราชกฤษฎีกา (พ.ร.ฎ.) กำหนดโครงการอนุรักษ์และดูแลทรัพยากรในเขตอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. .... ของ #กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ที่กำลังจะประกาศใช้ โดยมีพูนศักดิ์ จันทร์จำปี ประธานคณะกมธ. เลาฟั้ง บัณฑิตเทอดสกุล เลขานุการคณะกมธ. ร่วมกันรับหนังสือ
“พวกเราเป็นกลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยงดั้งเดิมที่อยู่อาศัยและทำกินในป่าแก่งกระจานด้วยการทำเกษตรกรรมเพื่อยังชีพตามวิถีทำกินแบบไร่หมุนเวียน ร่าง พ.ร.ฎ. นี้จะส่งผลกระทบต่อการดำรงอยู่ของวิถีชีวิตดั้งเดิมของชุมชนกะเหรี่ยงโดยตรง เนื่องจากกฎหมายดังกล่าวมีข้อจำกัดที่ทำให้ชาวกะเหรี่ยงจากทั้ง 3 ชุมชนไม่สามารถใช้ประโยชน์ที่ดินในรูปแบบไร่หมุนเวียนได้ ถึงแม้ใน พ.ร.บ.อุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2562 จะมีบทบัญญัติเพิ่มเติมรับรองวิถีทำกินแบบดั้งเดิมแล้วก็ตาม
โดยกฎหมายฉบับดังกล่าวจะให้สิทธิที่อยู่อาศัยและทำกินชั่วคราว 20 ปี ครอบครัวละไม่เกิน 20 ไร่ และที่ดินที่ได้ต้องทำกินทุกแปลงอย่างต่อเนื่อง ห้ามละเว้นทำกินมากกว่า 1 ปี หากละเว้นจะเสียสิทธิ เงื่อนไขเช่นนี้ไม่สามารถดำเนินการได้ในวิถีการทำไร่หมุนเวียน
เราจึงขอให้คณะกมธ. ช่วยเหลือโดยให้ #กรมอุทยานฯ พิจารณาเพิ่มเติมเงื่อนไขให้สามารถใช้ประโยชน์ที่ดินในรูปแบบไร่หมุนเวียนของคนกะเหรี่ยงตามวิถีเดิมได้ เพราะเดิมกำหนดไว้เฉพาะให้สิทธิแก่ผู้ยากไร้ทั่วไปและเป็นโครงการเพื่อการอนุรักษ์ที่ดินอุทยานเท่านั้น
โครงการอนุรักษ์ไม่ควรมีแต่เรื่องให้สิทธิผู้ยากไร้อย่างเดียวแต่ควรให้สิทธิและคุ้มครองกลุ่มชนเผ่าดั้งเดิมที่ทำกินตามวิถีเดิมควบคู่กัน โดยเฉพาะข้อเรียกร้องที่ชัดเจนคือรัฐกำลังจะออกระเบียบเกี่ยวกับการไม่เอาโทษในการใช้ประโยชน์ทรัพยากร หากใช้เพื่อเลี้ยงชีพเลี้ยงชีพตามปกติธุระ ควรเขียนให้ชัดเจนลงไปด้วยว่าปกติธุระของชนเผ่าดั้งเดิม คือการทำไร่หมุนเวียน” แสงชัย รัตนเสรีวงษ์ ตัวแทนชาวกะเหรี่ยงจาก 3 ชุมชนกล่าว
“คณะกมธ.มีการประชุมเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าวให้กับพี่น้องกลุ่มชาติพันธ์ุหลายกลุ่ม โดยได้ข้อสรุปคือจะต้องดำเนินการแก้ไขข้อกฎหมายโดยเฉพาะในส่วนของพ.ร.บ.อุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2562 ขณะนี้กมธ.ได้ดำเนินการร่างหนังสือข้อเสนอแนะและปัญหาของประชาชนเกี่ยวกับการบังคับใช้กฎหมายฉบับนี้เสร็จเรียบร้อยแล้ว และจะเร่งดำเนินการยื่นให้กับสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาและกรมอุทยานฯ เพื่อดำเนินการแก้ไขนิยามและรายละเอียดการทำไร่หมุนเวียนต่อไป” พูนศักดิ์ กล่าว
“ขณะนี้กรมอุทยานฯ ได้จัดทำร่างกฏหมายเสร็จแล้ว และส่งไปให้คณะกรรมการกฤษฎีกาเพื่อตรวจสอบแล้ว เมื่อวานนี้ได้รับทราบว่าคณะรัฐมนตรีให้ขยายระยะเวลาออกไปก่อน ดังนั้นเรื่องนี้ยังอยู่ในวิสัยของกรมอุทยานฯ และคณะกรรมการกฤษฎีกาในการทบทวนร่างกฎหมาย ซึ่งมี 2 ประเด็นใหญ่ ๆ คือ
1. การพิจารณาการระบุคำว่าไร่หมุนเวียนไว้ด้วย เพื่อทำให้มีกฎหมายที่คุ้มครองพื้นที่ไร่หมุนเวียน แม้ว่าในกฎหมายลำดับรองจะระบุเอาไว้อยู่แต่ว่าใช้คำแปลงรวมซึ่งประชาชนกังวลว่าคำว่าแปลงรวมอาจจะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงการใช้พื้นที่ซึ่งจะกระทบต่อวิถีชีวิตของชาวกะเหรี่ยงที่ทำไร่หมุนเวียน เพราะไร่หมุนเวียนมีอัตลักษณ์เฉพาะและมีความมั่นคง หากเปลี่ยนจากไร่หมุนเวียนไปเป็นไร่ถาวรหรืออย่างอื่นอาจกระทบต่อวิถีชีวิตของชาวกะเหรี่ยง
2. กรมอุทยานฯ ต้องดำเนินการสำรวจพื้นที่ไร่หมุนเวียนทั่วประเทศไทยที่ยังมีปัญหาตกหล่นอยู่ กรมอุทยานฯ ต้องดำเนินการทบทวนเรื่องนี้ ซึ่ง กมธ. มีมติที่จะทำหนังสือไปยังกรมอุทยานฯ และคณะกรรมการกฤษฎีกาเพื่อทบทวนบรรจุคำว่า “ไร่หมุนเวียน” เอาไว้ในกฎหมายลำดับรองเพื่อนำไปสู่การคุ้มครองวิถีชีวิตของกลุ่มชาติพันธ์ุ” เลาฟั้ง กล่าว

  เครือข่ายค้านเหมืองโพแทชโคราชประกาศจัดงานบุญ ระหว่างรอคำสัญญา “ปิดเหมือง–ตั้งคณะทำงานสอบข้อเท็จจริงที่มีชาวบ้านร่วมครึ...
12/06/2024

เครือข่ายค้านเหมืองโพแทชโคราชประกาศจัดงานบุญ ระหว่างรอคำสัญญา “ปิดเหมือง–ตั้งคณะทำงานสอบข้อเท็จจริงที่มีชาวบ้านร่วมครึ่งหนึ่ง-ทำอีไอเอใหม่” ของผู้ว่าโคราชฯ คนใหม่เป็นจริง
“งาน "สืบชะตาฝาย ไหว้พ่อจันทร์ดุ ครบรอบ 1 ปี ทุบแท่น ปิดเหมืองโปแตช" กำหนดจัดขึ้นในวันที่ 16 มิ.ย. 2567 ที่บ้านสระขี้ตุ่น-สระสมบูรณ์ ต. #หนองบัวตะเกลียด อ. #ด่านขุนทด จ. #นครราชสีมา เวลา 09.00 น. เป็นต้นไป
เพื่อร่วมรำลึกถึงวันทุบแท่นเหมืองแร่โพแตชซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้ชาวบ้านสระขี้ตุ่นและบ้านสระสมบูรณ์ เข้ามารวมพลังกับบ้านหนองไทรเพื่อร่วมกันต่อสู้คัดค้านเหมืองแร่โพแตช และร่วมประกาศเจตนารมณ์ให้บริษัทเหมืองแร่โพแตชรับรู้ว่าชาวบ้านจาก 3 ตำบล ( #หนองบัวตะเกียด #หนองไทร และ #โนนเมืองพัฒนา) ไม่เอาบริษัทเหมืองแร่โพแตชที่ไม่มีความรับผิดชอบต่อสังคม” #กลุ่มฅนรักษ์บ้านเกิดด่านขุนทด เปิดเผยวันนี้ (12 มิ.ย. 2567)
ในงานจะมีกิจกรรมไหว้พ่อจันทร์ดุที่ตั้งอยู่บริเวณริมฝายน้ำของหมู่บ้านซึ่งเป็นเจ้าที่เจ้าทางที่คนในหมู่บ้านให้ความเคารพนับถือและเชื่อว่าคอยปกป้องรักษาหมู่บ้านให้ชาวบ้านได้อยู่เย็นเป็นสุขปราศจากภัยอันตรายหรือสิ่งชั่วร้าย รำวงบวงสรวง ทำบุญถวายอาหารเพลแด่พระสงฆ์ ก่อนที่จะปิดด้วยกิจกรรมอ่านคำประกาศเรียกร้องให้บริษัทต้องปิดเหมืองแร่โพแทชทันที
กลุ่มฅนรักษ์บ้านเกิดด่านขุนทดเป็นการรวมตัวกันของชาวบ้านจาก ต.หนองไทร ต.หนองบัวตะเกียด และต.โนนเมืองพัฒน อ.ด่านขุนทด จ.นครราชสีมา เพื่อคัดค้านโครงการเหมืองแร่โพแทชด่านขุนทดของ บริษัท ไทยคาลิ จำกัด ซึ่งตั้งอยู่ที่ ต.หนองไทร อ.ด่านขุนทด จ.นครราชสีมา กำลังการผลิต 100,000 ตัน/ปี ครอบคลุมพื้นที่รวม 9,005 ไร่ 1 งาน 63 ตารางวา โดยได้รับประทานบัตร 25 ปี เริ่มตั้งแต่วันที่ 7 ก.ค. 2558
ถึงแม้ว่าจนถึงปัจจุบันเหมืองฯ จะไม่สามารถขุดแร่ขึ้นมาได้เลย แต่จากการขุดเจาะอุโมงค์เพื่อสำรวจชั้นหินแร่ใต้ดินก็ทำให้ชาวบ้านใกล้เคียงประสบกับปัญหาน้ำเค็มที่บริษัทไม่สามารถจัดการได้จนเกิดการกัดเซาะบ้านเรือนและสร้างผลกระทบกับพื้นที่ทำการเกษตรของชาวบ้าน
จากผลกระทบที่เกิดขึ้นทำให้กลุ่มฅนรักษ์บ้านเกิดฯ เคลื่อนไหวเพื่อคัดค้านเหมืองแร่มาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่การชุมนุมคัดค้าน ยื่นหนังสือต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมถึงการเข้าไปรื้อถอนแท่นขุดเจาะแห่งใหม่ที่บริษัทเตรียมไว้สำหรับดำเนินการขุดเจาะสำรวจแร่โพแตชเนื่องจากกังวลว่าจะก่อให้เกิดปัญหาเหมือนที่เคยเกิดขึ้นมาก่อนหน้านี้
สำหรับความคืบหน้าล่าสุดของการแก้ปัญหาความเดือดร้อน กรณี “ #เหมืองโพแทชด่านขุนทด” 27 พ.ค. 2567 ที่ผ่านมา กลุ่มฅนรักษ์บ้านเกิดฯ ได้บรรลุข้อตกลง 5 ข้อ กับ ชัยวัฒน์ ชื่นโกสุม ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมาคนใหม่ ซึ่งมีสาระสำคัญคือให้หน่วยงานที่มีอำนาจเข้ามายุติการดำเนินการที่เกี่ยวข้องกับเหมืองฯ ทั้งหมด ตรวจสอบผลกระทบที่เกิดขึ้นจากเหมืองฯ ตั้งคณะทำงานตรวจสอบโดยมีตัวแทนชาวบ้านร่วมครึ่งหนึ่ง และจัดทำรายงานอีไอเอโครงการฯ ใหม่ทั้งหมด ทั้งนี้ ยังคงไม่มีรายงานอย่างเป็นทางการ ถึงความคืบหน้าถึงการดำเนินการตามข้อตกลงดังกล่าว

  “กลุ่มชายชุดดำบุกไร่หมุนเวียนเชียงรายเป็นเจ้าหน้าที่ป่าไม้จริง-เข้าไปเพื่อตรวจสอบการเปลี่ยนแปลงสภาพป่า-ผิดที่ไม่แจ้งชุ...
12/06/2024

“กลุ่มชายชุดดำบุกไร่หมุนเวียนเชียงรายเป็นเจ้าหน้าที่ป่าไม้จริง-เข้าไปเพื่อตรวจสอบการเปลี่ยนแปลงสภาพป่า-ผิดที่ไม่แจ้งชุมชนก่อนเข้าไป–กำลังตั้งคณะกรรมการสอบ “ทำเกินกว่าเหตุ?”–จะถูกลงโทษถ้าผิดจริง” ป่าใม้เชียงรายชี้แจง
ด้านชาวบ้านยันให้หน่วยงานรับผิดชอบหาทางออก “ไม่ให้เกิดซ้ำอีก” -ไม่ใช่แค่ 3 เจ้าหน้าที่ออกมาขอโทษ – เรียกร้อง “ให้มีตัวแทนชาวบ้านร่วมในคณะกรรมการสอบฯ”
สืบเนื่องจากกรณีมีการบุกรุกพื้นที่ไร่หมุนเวียนและทำลายทรัพย์สินของชาวกระเหรี่ยง #บ้านห้วยหินลาดใน ต. #บ้านโป่ง อ. #เวียงป่าเป้า จ. #เชียงราย โดยกลุ่มชายใส่ชุดสีดำ-ใส่ผ้าคลุมหน้า 3 คน เมื่อ 4 มิ.ย. 2567 ที่ผ่านมา และชาวบ้านตั้งข้อสงสัยว่ากลุ่มผู้บุกรุกดังกล่าวเป็นเจ้าหน้าที่ป่าไม้ วันนี้ (12 มิ.ย. 2567) สำนักงานป่าไม้สำนักจัดการทรัพยากรป่าไม้ที่ 2 (เชียงราย) ได้ส่งตัวแทนเข้ามาชี้แจงข้อเท็จจริงต่อกรณีดังกล่าวต่อชาวบ้านในพื้นที่
“เหตุการณ์ในวันที่ 4 มิ.ย. มีการส่งเจ้าหน้าที่เข้าไปตรวจสอบในพื้นที่ชุมชนบ้านห้วยหินลาดในจริง โดยได้รับมอบหมายสั่งการจากผม ซึ่งการเข้าไปตรวจสอบของเจ้าหน้าที่ดังกล่าวเป็นภารกิจที่ได้รับมอบหมายมาจากกรมป่าไม้เพื่อให้ตรวจสอบข้อมูลการเปลี่ยนแปลงสภาพพื้นที่ป่าเนื่องจากได้รับข้อมูลจากภาพถ่ายทางดาวเทียมว่าในพื้นที่จังหวัดเชียงรายพบการเปลี่ยนแปลงสภาพป่าทางหน่วยงานจึงต้องเข้าไปตรวจสอบ เพื่อดูว่าพื้นที่ดังกล่าวมีการเปลี่ยนแปลงสภาพป่าจริงหรือไม่ ซึ่งถ้าตรวจสอบแล้วว่าพื้นท่ีดังกล่าวไม่ใช่พื้นที่ที่มีการบุกรุกป่าเราก็ใส่ข้อมูลไปว่าเป็นพื้นท่ีไร่หมุนเวียนหรือพื้นที่ทำกินเดิม
จากการตรวจสอบของเจ้าหน้าที่พบว่าพื้นที่บ้านห้วยหินลาดในเป็นพื้นที่ไร่หมุนเวียนจริง เพราะฉะนั้นอยากให้พี่น้องไม่ต้องกังวลและสบายใจได้ ผมยืนยันว่ากระบวนการตรวจสอบของเรามีประสิทธิภาพใช้ข้อมูลแผนที่จากดาวเทียมตั้งแต่ปี 2545 เพราะฉะนั้นไม่มีข้อผิดพลาดแน่นอน ต่อจากนี้ไม่ต้องกังวลว่าพื้นที่ที่ทำกินมานานจะถูกระบุว่าเป็นการบุกรุกป่า” คงศักดิ์ สร้อยเสนา หัวหน้าหน่วยป้องกันรักษาป่าที่ ชร.3 (แม่เจดีย์ใหม่) ชี้แจง
คงศักดิ์ ยอมรับว่าการดำเนินการที่ผ่านมาถือว่ามีความบกพร่องที่ไม่ได้แจ้งข้อมูลการเข้าไปในพื้นที่ต่อผู้นำชุมชน และกล่าวว่าต่อจากนี้ถ้าจะต้องเข้าไปในพื้นที่เพื่อตรวจสอบจะประสานกับผู้นำชุมชนก่อน แต่ถ้ามีข้อมูลชัดเจนแล้วว่าพื้นที่ไหนเป็นพื้นที่ท่ีมีการบุกรุกจริงก็มีความจำเป็นที่จะต้องบุกเข้าไปตรวจสอบเลย
สำหรับกรณีที่ชาวบ้านกล่าวว่าเจ้าหน้าที่ทำเกินกว่าเหตุนั้น หัวหน้าหน่วยป้องกันรักษาป่าที่ ชร.3 (แม่เจดีย์ใหม่) กล่าวว่า ถ้าเจ้าหน้าที่กระทำเกินหน้าที่จริงก็จะต้องได้รับโทษตามกฎหมาย โดย #สำนักงานป่าไม้สำนักจัดการทรัพยากรป่าไม้ที่ 2 ( #เชียงราย) ได้ตั้งคณะกรรมการเพื่อสอบสวนในเรื่องนี้แล้ว และในช่วงบ่ายวันนี้ตัวแทนจากคณะกรรมการก็จะเข้ามาตรวจสอบในพื้นที่เลย
อย่างไรก็ตามหลังจากการรับฟังคำชี้แจงชาวบ้านยังคงมีความกังวลว่าคณะกรรมการที่จะตรวจสอบนั้นจะมีชาวบ้านเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งหรือไม่เนื่องจากยังไม่มีความชัดเจนออกมา และยังคงไม่มีความมั่นใจว่าหลังจากนี้จะไม่เกิดเหตุการณ์ในลักษณะนี้เกิดขึ้นอีก
“เราไม่ต้องการให้ 3 คนนั้นออกมาขอโทษ แต่อยากให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องออกมารับผิดชอบมากกว่านี้ และมีแนวทางว่าจะจัดการอย่างไรไม่ให้มีเจ้าหน้าที่ทำเกินกว่าเหตุอีกต่อไปเพราะถ้าไม่มีการทำอะไรก็จะมีเหตุการณ์แบบนี้เกิดขึ้นอีก” ตัวแทนชาวบ้านกล่าว

  Beach for life จี้คณะกรรมการสิทธิฯ เพิกถอนรายงานตรวจสอบกรณีที่ดินปากบารา สตูล ชี้ รายงานมีข้อมูลไม่ครบถ้วน-พื้นที่อยู่...
11/06/2024

Beach for life จี้คณะกรรมการสิทธิฯ เพิกถอนรายงานตรวจสอบกรณีที่ดินปากบารา สตูล ชี้ รายงานมีข้อมูลไม่ครบถ้วน-พื้นที่อยู่ระหว่างการตรวจสอบตามระเบียบมหาดไทย กสม. รับจะเสนอให้ระงับรายงานพร้อมเข้าตรวจสอบใหม่
วันนี้ (11 มิ.ย. 2567) ตัวแทนจากกลุ่มอนุรักษ์ชายหาด Beach for life นำโดย อภิศักดิ์ ทัศนี และอธิวัฒน์ เส้งคุ่ย เดินทางมายัง #สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เพื่อขอให้ #คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ( #กสม.) เพิกถอนรายงานผลการตรวจสอบกรณีเอกชนอ้างสิทธิในการถือครองที่ดินชายหาดและก่อสร้างสิ่งปลูกสร้างรุกล้ำชายหาดปากบารา ในพื้นที่อำเภอละงู จังหวัดสตูล ของ กสม.
เนื่องจากกลุ่มฯ มองว่ารายงานดังกล่าวยังมีความคาดเคลื่อนกับข้อเท็จจริง และในการทำรายงานฉบับนี้ กสม. ไม่ได้นำสาระสำคัญทั้ง รายงานของกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งที่ระบุว่าพื้นที่ดังกล่าวมีสภาพเป็นทะเลและไม่มีร่องรอยการทำประโยชน์มา 47 ปี รายงานของสำนักงานเจ้าท่าส่วนภูมิภาคสาขาสตูล และภาพถ่ายจาก Google Street view มาพิจารณา
นอกจากนั้นปัจจุบันพื้นที่ดังกล่าวยังอยู่ระหว่างการตรวจสอบข้อเท็จจริงจากคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงตามระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการสอบสวนเกี่ยวกับการบุกรุกที่หรือทางสาธารณประโยชน์ พ.ศ. 2534 ซึ่งยังไม่ได้ข้อยุติ
“จะติดตามเรื่องนี้และหยิบยกให้มีการระงับรายงานดังกล่าวเพื่อตรวจสอบข้อเท็จจริงใหม่โดยจะมีการลงพื้นที่ในวันที่ 15 มิ.ย. 2567 นี้” ศยามล ไกยูรวงศ์ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ กล่าวหลังจากรับเรื่องและเข้าร่วมหารือกับ
“ผลการตรวจสอบกรณีที่ดินหาดปากบาราของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติฉบับนี้สะท้อนความไม่รอบคอบในการทำงานและขาดสาระสำคัญที่เป็นประโยชน์ต่อการคุ้มครองสิทธิชุมชนและสิทธิมนุษยชน ซึ่งเป็นหน้าที่ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติที่ต้องดำเนินการตรวจสอบในกรณีที่กระทบต่อสิทธิมนุษยชนอย่างรอบคอบที่สุด” อธิวัฒน์ กล่าว
กรณีนี้สืบเนื่องมาจากการออกเอกสารสิทธิ น.ส.3 ก. บนชายหาดปากบารา ต. #ปากน้ำ อ. #ละงู จ. #สตูล จาก #สำนักงานที่ดินจังหวัดสตูล ให้กับเอกชนรายหนึ่ง ทำให้ประชาชนในพื้นที่และกลุ่ม Beach for life ตั้งข้อสังเกตว่าการออกเอกสารสิทธิดังกล่าวทำได้อย่างไรเนื่องจากชายหาดปากบาราเป็นหาดสาธารณะที่ประชาชนใช้ร่วมกันมาโดยตลอด
จนนำมาสู่การยื่นเรื่องร้องเรียนต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งกรมเจ้าท่าและกรมที่ดิน ของกลุ่ม Beach for life เพื่อเรียกร้องให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการเพิกถอนเอกสารสิทธิ์ดังกล่าว

  ครม. เห็นชอบเสนอศูนย์ศึกษาธรรมชาติบางปู สมุทรปราการ ขึ้นทะเบียน “อุทยานมรดกอาเซียน” ในฐานะ “พื้นที่ที่มีระบบนิเวศตามธร...
11/06/2024

ครม. เห็นชอบเสนอศูนย์ศึกษาธรรมชาติบางปู สมุทรปราการ ขึ้นทะเบียน “อุทยานมรดกอาเซียน” ในฐานะ “พื้นที่ที่มีระบบนิเวศตามธรรมชาติหนึ่งเดียวที่อยู่ท่ามกลางเมืองที่กำลังเติบโตทางอุตสาหกรรม”
#ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีวันนี้ (11 มิ.ย. 2567) มีมติเห็นชอบให้เสนอ “ #ศูนย์ศึกษาธรรมชาติกองทัพบก (บางปู) เฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษา มหาราชินี จังหวัดสมุทรปราการ” ขึ้นทะเบียนเป็น “ #อุทยานมรดกแห่งอาเซียน (ASEAN Heritage Park: AHP)”
และมอบหมายให้ #สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) นำเสนอ (ร่าง) เอกสารการเสนอขึ้นทะเบียนเป็นอุทยานมรดกแห่งอาเซียนเสนอต่อศูนย์อาเซียนว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ (ASEAN Centre for Biodiversity: ACB) เพื่อดำเนินการตามกระบวนการของอาเซียนต่อไป
โดย #สผ. จะจัดส่งเอกสารนำเสนอพื้นที่อุทยานมรดกแห่งอาเซียนให้ ACB ( #เลขานุการคณะกรรมการอุทยานมรดกแห่งอาเซียน) เพื่อส่งเอกสารนำเสนอให้แก่คณะผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบและประเมินพื้นที่ และเสนอคณะทำงานอาเซียนด้านการอนุรักษ์ธรรมชาติและความหลากหลายทางชีวภาพพิจารณาก่อนนำเข้าที่ประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสอาเซียนด้านสิ่งแวดล้อมและที่ประชุมระดับรัฐมนตรีอาเซียนด้านสิ่งแวดล้อม เพื่อให้การรับรองการขึ้นทะเบียนอุทยานมรดกแห่งอาเซียน
“การเสนอศูนย์ศึกษาธรรมชาติกองทัพบก ( #บางปู)ฯ ขึ้นทะเบียนเป็นอุทยานมรดกแห่งอาเซียนเป็นการส่งเสริมการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของประเทศไทยให้มีความยั่งยืน
พื้นที่ดังกล่าวเป็นพื้นที่ที่มีระบบนิเวศตามธรรมชาติหนึ่งเดียวที่อยู่ท่ามกลางเมืองที่กำลังเติบโตทางอุตสาหกรรม ซึ่งยังคงความสมบูรณ์ทางนิเวศ (Ecological Completeness) มีความหลากหลายทางชีวภาพ ควรค่าแก่การอนุรักษ์ ตลอดจนสามารถให้ประโยชน์เชิงสังคมและวัฒนธรรม
รวมถึงเป็นแหล่งศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติป่าชายเลน ระบบพื้นที่ชุ่มน้ำในเมือง เครือข่ายนกน้ำอพยพ และแนวกันชนที่ช่วยลดผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ คลื่นลม และอิทธิพลจากน้ำทะเลควบคู่ไปด้วย” รัดเกล้า อินทวงศ์ สุวรรณคีรี #รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าว
“ศูนย์ศึกษาธรรมชาติกองทัพบก (บางปู) เฉลิมพระเกียรติ ๗๒ พรรษา มหาราชินี จัดตั้งปี พ.ศ. 2548 ตั้งอยู่ภายในบริเวณกองอำนวยการสถานพักผ่อน กรมพลาธิการทหารบก ด้วยความร่วมมือของกองทัพบก และ WWF ประเทศไทย สนับสนุนโดย บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด
มีวัตถุประสงค์ เพื่อเฉลิมพระเกียรติในวโรกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษาครบรอบ 72 พรรษา แห่งองค์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิตต์ พระบรมราชินีนาถ เพื่ออนุรักษ์พื้นที่ป่าชายเลน ในพื้นที่ป่าชายเลนดั้งเดิม และปลูกเสริมเพื่อเพิ่มพื้นที่ป่าใหม่ในพื้นที่อ่าวไทยตอนใน และเพื่อการใช้ประโยชน์ทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน โดยเฉพาะอย่างยิ่งทางด้านการศึกษาธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้แก่เยาวชนและผู้ที่สนใจทั่วไป
สถานตากอากาศบางปู พื้นที่ 639 ไร่ ประกอบด้วย พื้นที่ป่าชายเลน นากุ้งเก่า ร้านอาหาร บ้านพัก และพื้นที่ศูนย์ศึกษาธรรมชาติฯ 338 ไร่ เป็นพื้นที่อนุรักษ์ ประกอบด้วยระบบนิเวศสำคัญ 3 แบบ คือที่ลุ่มน้ำเค็ม 24 ไร่ (7%) หาดโคลน 64 ไร่ (19%) ป่าชายเลน 250 ไร่ (74 %) ซึ่งเป็นป่าชายเลนบริเวณชายฝั่ง 10 % และบริเวณด้านหลังชายฝั่ง 64 %
พื้นที่มีความหลากหลายของพืชที่มีการบันทึกไว้ ทั้งหมด 66 ชนิด โดยพืชที่พบมากที่สุด คือ แสมทะเล แสมยาว และโกงกาง ด้านความหลากหลายของสัตว์ มีนกมากกว่า 300 ชนิดพันธ์ (ในฤดูกาลอพยพ) ปลา 21 ชนิด สัตว์เลื้อยคลาน 18 ชนิด สัตว์ขาปล้อง 381 ชนิด” สผ. ระบุ
การขึ้นทะเบียนอุทยานมรดกอาเซียน (ASEAN Heritage Park) อยู่ภายใต้กรอบความร่วมมือของประชาคมสังคมและวัฒนธรรมแห่งอาเซียน ซึ่งเกิดจากการลงนามในปฏิญญาอาเซียนว่าด้วยอุทยานมรดกอาเซียน (ASEAN Declaration on Heritage Parks) เมื่อ 18 ธันวาคม 2546 ในการประชุมรัฐมนตรีสิ่งแวดล้อม ASEAN ที่กรุงย่างกุ้ง เมียนมา
ปัจจุบันมีพื้นที่คุ้มครองที่ได้รับการรับรองเป็นอุทยานมรดกอาเซียนรวม 51 แห่ง โดยประเทศไทยมีพื้นที่ที่ได้รับการรับรองเป็นอุทยานมรดกแห่งอาเซียนจำนวน 9 แห่ง คือ อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ อุทยานแห่งชาติตะรุเตา กลุ่มอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์ หมู่เกาะสิมิลันและอ่าวพังงา กลุ่มป่าแก่งกระจาน (ประกอบด้วย อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน อุทยานแห่งชาติกุยบุรี และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าแม่น้ำภาชี) อุทยานแห่งชาติหาดเจ้าไหม-เขตห้ามล่าสัตว์ป่าหมู่เกาะลิบง อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะอ่างทอง อุทยานแห่งชาติเขาสก เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียว-อุทยานแห่งชาติน้ำหนาว และอุทยานแห่งชาติภูกระดึง

  กรมอุทยานฯ จัดเวทีระดมสมอง “ถอดบทเรียน การจัดการฝุ่นพิษ PM2.5 - ไฟป่า ภาครัฐ ฤดูฝุ่น 2567” เบื้องต้นเผย “สถานการณ์โดยร...
11/06/2024

กรมอุทยานฯ จัดเวทีระดมสมอง “ถอดบทเรียน การจัดการฝุ่นพิษ PM2.5 - ไฟป่า ภาครัฐ ฤดูฝุ่น 2567” เบื้องต้นเผย “สถานการณ์โดยรวมดีขึ้น เมื่อเทียบกับปีก่อน - จุดความร้อนลด 29% - พื้นที่เผาไหม้ลด 43%”
เวทีถอดบทเรียนดังกล่าวจัดขึ้นภายใต้ “โครงการสัมมนาการถอดบทเรียน (After Action Review : AAR) ในการแก้ไขปัญหาไฟป่า หมอกควัน และฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 #กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567” กำหนดใช้เวลา 3 วัน (11-13 มิ.ย. 2567) ให้ข้าราชการและเจ้าหน้าที่ในสังกัดที่ปฏิบัติงานด้านไฟป่าทั่วประเทศ เข้าร่วมจำนวน 150 คน ร่วมระดมสมอง และมีการเสวนาความร่วมมือในการแก้ไขปัญหาไฟป่าจากบุคลากรภายนอก ผู้แทนจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นักวิชาการกรมควบคุมมลพิษ นักวิชาการอิสระ ผู้นำชุมชน และผู้แทนจากเครือข่าย อส.อส. ด้วย
“ที่ผ่านมา พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ #รองนายกรัฐมนตรี และ #รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้มีแนวทางการดำเนินงานในส่วนของพื้นที่ป่า มุ่งเป้าการเตรียมความพร้อมการควบคุมพื้นที่เสี่ยงต่อการเผา 11 ป่าอนุรักษ์ 10 ป่าสงวนแห่งชาติที่มีพื้นที่เผาไหม้สูงสุด โดยเฉพาะพื้นที่ 17 จังหวัดภาคเหนือ และจังหวัดกาญจนบุรี
ซึ่งมาตรการป้องกันไฟป่าให้เน้นย้ำการตรึงพื้นที่ รวมถึงมุ่งเน้นการทำงานแบบบูรณาการในพื้นที่ป่าอนุรักษ์ (Single Command) ประกอบกับการใช้งบกลางในดำเนินการโครงการโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน ตามติ ครม. เมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2567 ที่ได้อนุมัติงบประมาณดำเนินการตั้งจุดเฝ้าระวังป้องกันไฟป่าในพื้นที่ป่อนุรักษ์ที่มีพื้นที่เผาไหม้สูงในท้องที่ภาคเหนือ และ จ.กาญจนบุรี รวมทั้งสิ้น 93 พื้นที่อนุรักษ์ 1,582 จุด โดยจ้างราษฎรจุดละ 3 คน ตั้งแต่วันที่ 16 มีนาคม - 31 พฤษภาคม 2567
ส่งผลให้สถานการณ์ไฟป่าในปี 2567 (1 ต.ค. - 31 พ.ค.) เปรียบเทียบกับปี 2566 ในห้วงเวลาเดียวกันในพื้นที่ป่าอนุรักษ์ มีสถานการณ์ดีขึ้น คือ จุด Hotspot ลดลงจำนวน 20,247 จุด คิดเป็น 28.77% และพื้นที่เผาไหม้ลดลง 5,538,951 ไร่ คิดเป็น 43.38%
การสัมมนาในครั้งนี้จัดขึ้นเพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ดำเนินกิจกรรม การแก้ไขปัญหาไฟป่า หมอกควันและฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 ตลอดจนถึงการถอดบทเรียนการดำเนินงานที่ผ่านมาร่วมกันจากทุกภาคส่วนพร้อมนำไปปรับใช้เป็นแนวทางในภารกิจการแก้ไขปัญหาไฟป่า หมอกควัน และฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 ของแต่ละหน่วยงานต่อไป” อรรถพล เจริญชันษา อธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช กล่าว

  “จับลิงได้ทะลุเป้า-กรงขังไม่พอ-ยังไม่มีการตัดสินใจ จะชะลอการจับรองบหรือจับต่อ” ชะตากรรมยุทธการแก้ปัญหาลิงป่วนเมืองลพบุ...
11/06/2024

“จับลิงได้ทะลุเป้า-กรงขังไม่พอ-ยังไม่มีการตัดสินใจ จะชะลอการจับรองบหรือจับต่อ” ชะตากรรมยุทธการแก้ปัญหาลิงป่วนเมืองลพบุรี #กระทรวงทรัพยากรฯ- #กรมอุทยาน “หากไม่ต่อเนื่อง ที่ทำมาทั้งหมดอาจสูญเปล่า” #นายกเทศมนตรีฯ เตือน
สืบเนื่องจากนโยบายของ #รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม พัชรวาท วงษ์สุวรรษ ที่สั่งจัดตั้ง #ศูนย์ปฏิบัติการจับลิงลพบุรี เพื่อแก้ปัญหาลิงในจังหวัดที่สร้างความเดือดร้อนให้คนในพื้นที่มาอย่างยาวนานด้วยการจับและเคลื่อนย้ายลิงเข้าศูนย์พักพิงลิงโพธิ์เก้าต้น อ.เมือง จ.ลพบุรี ซึ่งคาดว่าจะสามารถแก้ไขปัญหาที่เกิดจากลิงในพื้นที่เมืองเก่าลพบุรีที่คาดว่าจะมีจำนวนประมาณ 2,500 ตัว ได้
หลังจากกรมอุทยานฯ ร่วมกับหน่วยงานในพื้นที่เริ่มปฏิบัติการจับลิงในล็อตที่ 2 ตั้งแต่ 5-15 มิ.ย. 2567 โดยตั้งเป้าไว้ 800 ตัว วันนี้ (11 มิ.ย. 2567) สุทธิพงษ์ แกมทับทิม ผู้อำนวยการส่วนอนุรักษ์สัตว์ป่า สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 1 สาขาสระบุรี รายงานผลการดำเนินการดักจับลิงบริเวณว่าตั้งแต่วันที่ 5 มิ.ย. 2567 เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบันสามารถจับได้แล้ว 816 ตัว ซึ่งถ้ารวมกับล็อตแรกที่จับเมื่อ 24-28 พ.ค. ที่สามารถจับลิงได้ทั้งหมด 288 ตัว จะทำให้รวมยอดลิงที่จับได้อยู่ที่ 1,104 ตัว
“จากจำนวนลิงที่จับได้ถือว่าทะลุเป้าที่วางไว้ 10 วัน ที่จะต้องได้ 800-1,000 ตัว ทำให้ทีมสัตวแพทย์ในโรงพยาบาลสนามต้องทำงานกันอย่างหนักโดยตอนนี้มีจำนวนลิงหลายตัวที่ถูกส่งเข้ามารอคิวเพื่อทำประวัติก่อนส่งเข้าบ้านหลังใหม่” สุทธิพงษ์ กล่าว
“ปัญหาใหญ่ในขณะนี้ คือ ลิงที่จับมาได้มีจำนวนมากกว่า 1,000 ตัวแล้วซึ่งถือว่าเกินศักยภาพที่ #สถานอนุบาลสัตว์เทศบาลเมืองลพบุรี จะรองรับได้ ทำให้อาจต้องมีการชะลอการจับลิงไว้ก่อน ซึ่งทางเทศบาลฯ จะต้องปรึกษากับกรมอุทยานฯ อีกครั้ง
นอกจากนั้นจะต้องมีการเร่งสร้างกรงเพิ่มซึ่งอยู่ระหว่างการรองบระมาณจากรัฐบาลจำนวนกว่า 26-27 ล้านบาท ซึ่งหากมีกรงสำรองก็จะไม่เดือดร้อนโดยสามารถทยอยทำต่อเนื่องก็ได้” จำเริญ สละชีพ นายกเทศมนตรีเมืองลพบุรี ให้สัมภาษณ์ไทยพีบีเอส
#นายกเทศมนตรีเมืองลพบุรี กล่าวว่าอย่างไรก็ตามหากดำเนินการจับลิงล่าช้าหรือไม่ต่อเนื่องก็อาจจะทำให้ลิงจากพระปรางค์สามยอด ศาลพระกาฬ ขยายอาณาเขตมาอยู่ที่ตึกแทนอาจจะทำให้การแก้ปัญหานั้นสูญเปล่า เพราะฉะนั้นเมื่อจับลิงตึกเสร็จต้องรีบไปจับลิงที่ศาลพระกาฬ พระปรางค์สามยอดโดยเร็ว ซึ่งกรงสำรองที่ยังขาดอยู่ก็อาจจะเป็นปัญหาได้

  ชาวบ้าน 2 ชุมชุมสะเมิง  #เชียงใหม่ ยื่นค้านประกาศอุทยานออบขาน ชี้ “ยังทับพื้นที่ชุมชนไม่ต่ำกว่า 2,000 ไร่-หวั่นกระทบวิ...
10/06/2024

ชาวบ้าน 2 ชุมชุมสะเมิง #เชียงใหม่ ยื่นค้านประกาศอุทยานออบขาน ชี้ “ยังทับพื้นที่ชุมชนไม่ต่ำกว่า 2,000 ไร่-หวั่นกระทบวิถีชีวิต-ซ้ำเติมปัญหาปากท้อง” หัวหน้าอุทยานฯ ยอมรับไม่มีอำนาจตัดสินใจ-จะนำเรียนฝ่ายนโยบาย
#มูลนิธิพัฒนาภาคเหนือ เปิดเผยว่า วันนี้ (10 มิ.ย. 2567) #หัวหน้าอุทยานแห่งชาติออบขาน (เตรียมการ) รวมพล พานิกร พร้อมคณะได้เข้าร่วมเวทีประชุมในชุมชนบ้านแม่สาบ ม.1 และชุมชนบ้านทรายมูล ม.5 ต. #สะเมิงใต้ อ. #สะเมิง จ. #เชียงใหม่ เพื่อชี้แจงแนวเขตและกระบวนการประกาศอุทยานแห่งชาติออบขาน (เตรียมการ) โดยการประชุมที่ชุมชนบ้านแม่สาบมีชาวบ้านเข้าร่วมประชุมราว 200 คน รวมถึงชาวบ้านทรายมูลราว 150 คน และมีผู้แทนจาก #ขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม ( #พีมูฟ) ร่วมแลกเปลี่ยนและสังเกตการณ์
ชาวบ้านจากทั้ง 2 หมู่บ้านได้แสดงความกังวลว่าการประกาศเขตอุทยานจะส่งผลกระทบต่อวิถีการทำกินในพื้นที่และซ้ำเติมปัญหาปากท้อง นอกจากนั้นแนวเขตการเตรียมการประกาศอุทยานฯ ก็ไม่ตรงกับที่เดินสำรวจร่วมกันกับชาวบ้านและยังมีเนื้อที่ทับซ้อนกับพื้นที่ชุมชนไม่ต่ำกว่า 2,039 ไร่
ในช่วงท้ายของเวทีประชุมชาวบ้านผู้เข้าร่วมประชุมทั้งหมดของทั้ง 2 หมู่บ้าน มีมติเอกฉันท์ ไม่เห็นด้วยที่จะให้มีการประกาศอุทยานฯ ทับพื้นที่ชุมชน และได้ยื่นหนังสือยืนยันข้อเรียกร้องขอกันพื้นที่การเตรียมการประกาศอุทยานฯ ออกจากพื้นที่ชุมชนทันที
“เรายืนยันว่าเราไม่ได้คัดค้านการประกาศอุทยานแห่งชาติออบขาน แต่เรายืนยันให้กันพื้นที่การเตรียมการประกาศอุทยานฯ ออกก่อน เพื่อปกป้องสิทธิในการจัดการที่ดินและทรัพยากรที่ได้รับการสืบทอดส่งต่อมาจากบรรพชนเพื่อคนรุ่นเราและลูกหลานเพื่อให้เรายังสามารถดำเนินวิถีชีวิตได้อย่างปกติสุข” หนังสือเรียกร้องระบุ
ทั้งนี้หัวหน้าอุทยานฯ กล่าวว่าตนไม่มีอำนาจในการตัดสินใจว่าจะกันพื้นที่ออกได้หรือไม่ จึงจะรับทุกข้อห่วงกังวลและข้อเรียกร้องไปนำเรียนฝ่ายนโยบายต่อไป
“เจ้าหน้าที่อุทยานฯ ทุกท่านมีเงินเดือนกิน มีค่าตอบแทน แต่พี่น้องประชาชนเราไม่มีค่าตอบแทน เราต้องหากินกับป่า เราไม่ได้มาบุกรุก มาตัดไม้ทำลายป่า บ้านแม่สาบเรานี้มีพื้นที่ทำกินแค่ไม่กี่ไร่ ทำนา ทำข้าวกินยังชีพ ส่วนหนึ่งก็ต้องมาหากินของป่า มาเอาปลาจากอ่างเก็บน้ำมากิน เอาเห็ด เอาหน่อไม้ เอาพืชผักในป่า แล้วคิดดูว่าพอภัยแล้งมาเราขาดแคลนน้ำในไร่ในสวน ภัยแล้งซ้ำเติมเราทุกปี แล้วอุทยานฯ ยังจะมาเอาไปเป็นอุทยานฯ อีก มาซ้ำเติมพี่น้องปกระชาชนบ้านแม่สาบ แล้วจะให้ประชาชนเอาอะไรมาอยู่มากิน” สมัคร สาธุเม #ชาวบ้านแม่สาบ ม.1 ต.สะเมิงใต้ อ.สะเมิง จ.เชียงใหม่ กล่าว
“เรื่องการเดินสำรวจแนวเขตพี่น้องให้ความร่วมมือกับอุทยานฯ มาตลอด และยืนยันว่าขอให้กันพื้นที่ชุมชนออกไป ไม่ใช่สำรวจเพื่อขอให้ประกาศอุทยานฯ แต่ปัญหาคืออุทยานฯ ไม่เอาข้อมูลมาแจ้งต่อชาวบ้านเลย ถ้าเราไม่ไปยื่นหนังสือ เวทีวันนี้จะไม่เกิดขึ้น เราไปเห็นแผนที่ทีเดียวที่อำเภอวันที่จัดเวทีรับฟังความคิดเห็นขั้นสุดท้าย หมายความว่าอุทยานฯ ไม่จริงใจกับชาวบ้านแต่แรก” วิศรุต ศรีจันทร์ จากพีมูฟกล่าว
“ข้อกังวลของชาวบ้านยังเป็นเพียงข้อกังวล และกฎหมายอุทยานฯ ฉบับใหม่ได้เปิดช่องให้ชาวบ้านสามารถอยู่กับป่าได้แล้ว
ป่าที่ท่านชี้คือป่าของกรมป่าไม้ ไม่ใช่ที่ของเรา มันเป็นที่ของประเทศไทย ถ้าเป็นที่ของพี่น้องมันก็เป็นโฉนดไปแล้ว เราต้องเข้าใจหลักกฎหมาย ส่วนเรื่องเป็นพื้นที่ต้นน้ำนั้น ก็เพราะมันเป็นต้นน้ำลำธารมันจึงต้องมีอุทยานฯ มาช่วยควบคุมพื้นที่เพื่อดูแลให้มากขึ้น พื้นที่ที่อุดมสมบูรณ์ควรจะเป็นพื้นที่ป่าของทุกคน พอเป็นอุทยานฯ เคยใช้แบบไหน ก็ใช้ได้แบบเดิม ถ้าจะโดนจับก็โดนตั้งแต่เป็นพื้นที่เตรียมการแล้วเพราะเรามีอำนาจแต่เราไม่ทำ” หัวหน้าอุทยานฯ กล่าว
กระบวนการเตรียมการประกาศอุทยานแห่งชาติออบขานนั้นเริ่มต้นเมื่อปี 2532 แต่ไม่สามารถประกาศได้เนื่องจากการคัดค้านของชุมชนที่เดือดร้อนจากการถูกแนวเขตอุทยานฯ ทับที่ทำกิน ปัจจุบันมีพื้นที่ที่กรมอุทยานฯ เตรียมการประกาศรวม 141,756.26 ไร่ ซึ่งได้ผ่านกระบวนการรับฟังความคิดเห็นของผู้มีส่วนได้เสียในระดับอำเภอไปแล้ว 18 ต.ค. 2566 ไปแล้ว จนผ่านที่ประชุมคณะกรรมการอุทยานแห่งชาติ (โดยกันพื้นที่ราว 24,000 ไร่ของ 2 หมู่บ้านกระเหรี่ยงที่ยังไม่มีข้อสรุปเรื่องแนวเขตที่ตกลงกันได้ออก)
ล่าสุด หลังการเปิดเผยแผนที่ของกรมอุทยานฯ ชาวบ้านในพื้นที่พบว่า แนวเขตอุทยานเตรียมประกาศ ยังทับที่ทำกินของชาวบ้านอีก 2 หมู่บ้านดังกล่าว รวมพื้นที่ไม่ต่ำกว่า 2,000 ไร่ จึงนำมาสู่การลงพื้นที่เพื่อพยายามหาข้อยุติของทั้งสองฝ่าย และตามด้วยยื่นคัดค้านจากชาวบ้านดังกล่าว

  ศาลอาญา (รัชดา) นัดฟังคำสั่ง “จะรับฟ้องหรือไม่” พรุ่งนี้ กรณีบริษัท สมานฉันท์กรับใหญ่ จำกัด ยื่นฟ้อง “หมิ่นประมาทโดยกา...
10/06/2024

ศาลอาญา (รัชดา) นัดฟังคำสั่ง “จะรับฟ้องหรือไม่” พรุ่งนี้ กรณีบริษัท สมานฉันท์กรับใหญ่ จำกัด ยื่นฟ้อง “หมิ่นประมาทโดยการโฆษณา” ชาวบ้านกลุ่มคัดค้านสร้างโรงน้ำตาล-โรงไฟฟ้า ทุ่งกุลา ร้อยเอ็ด เครือข่ายชาวบ้านชี้ “ส่อฟ้องปิดปาก”
“สืบเนื่องจากกรณีที่ เกียรติศักดิ์ แก้วพิลา จาก #เครือข่ายคนฮักทุ่งกุลา ถูกบริษัท #สมานฉันท์กรับใหญ่ จำกัดฟ้องในข้อหาหมิ่นประมาทโดยการโฆษณาตามมาตรา 90 326 328 ของประมวลกฎหมายอาญา และบริษัทฯ มีคำขอท้ายฟ้องให้จำเลยโฆษณาคำพิพากษาทั้งหมดในหนังสือพิมพ์ 2 ฉบับ ฉบับละ 4 ครั้ง ภายในกำหนดเวลา 1 เดือน โดยให้จำเลยเป็นผู้ชำระค่าโฆษณา
#ศาลอาญารัชดา นัดฟังคำสั่งว่าจะรับฟ้องหรือไม่ฟ้องคดีในวันพรุ่งนี้ (11 มิ.ย. 2567) เวลา 09.00 น.
ในกรณีนี้ เป็นที่น่าสังเกตว่าทั้งผู้ถูกฟ้องและบริษัทเอกชนที่ทำการฟ้องก็มีสำนักงานตั้งอยู่ในพื้นที่จังหวัดร้อยเอ็ดเช่นกัน แต่บริษัทฯ กลับเลือกที่จะฟ้องคดีที่ศาลอาญา (รัชดา) ณ #กรุงเทพมหานคร ทำให้เกียรติศักดิ์ต้องเดินทางไปกลับกว่า 800 กิโลเมตร เพื่อเดินทางมาต่อสู้คดีทำให้เกิดภาระและความยุ่งยาก” เครือข่ายคนฮักทุ่งกุลา เปิดเผย วันนี้ (10 มิ.ย.2567)
“เกียรติศักดิ์ใช้สิทธิต่อสู้คดีเพื่อปกป้องปกป้องพื้นที่และวิถีชีวิตการปลูกข้าวหอมมะลิของคนทุ่งกุลา รวมทั้งปกป้องสิ่งแวดล้อมและสุขภาพอันถือว่าเป็นการปกป้องประโยชน์สาธารณะ
การฟ้องในครั้งนี้จึงเป็นรูปแบบหนึ่งของการฟ้องเพื่อจำกัดการแสดงความคิดเห็นหรือการมีส่วนร่วมของจำเลย” จันทร์จิรา จันทร์แผ้ว ทนายความชาวบ้านกล่าว
คดีนี้สืบเนื่องจากการเคลื่อนไหวคัดค้าน “ #โครงการโรงงานผลิตน้ำตาลจากอ้อย และ #โรงงานผลิตไฟฟ้าชีวมวล ( #ชานอ้อย)” ของชาวบ้านในพื้นที่ อ. #ปทุมรัตต์ จ. #ร้อยเอ็ด ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเกษตรกรปลูกข้าวหอมมะลิ ที่รวมตัวกันในนาม “เครือข่ายคนฮักทุ่งกุลา อ.ปทุมรัตต์ จ.ร้อยเอ็ด” ด้วยหวั่นผลกระทบโครงการที่จะเกิดในพื้น ทั้งด้านมลพิษ ฝุ่นละออง สภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงไป การแย่งชิงน้ำในการทำเกษตร รวมถึงอุบัติเหตุจากรถบรรทุกขนาดใหญ่หรือถนนที่เกิดความเสียหายจากการบรรทุกหนัก ฯลฯ
โดยเครือข่ายฯ ได้แสดงออกเพื่อคัดค้านโครงการดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง ทั้งชุมนุมคัดค้านเวทีรับฟังความเห็นเพื่อประกอบการจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม (EIA) ทั้ง 3 ครั้ง ชุมนุมค้านหน้าบริษัทฯ รวมทั้งการยื่นหนังสือคัดค้านต่อ #ผู้ว่าราชการจังหวัดร้อยเอ็ด เป็นต้น
ทั้งนี้ โรงงานผลิตน้ำตาลจากอ้อยมีแผนจะตั้งที่ ต.โนนสวรรค์ อ.ปทุมรัตน์ จ.ร้อยเอ็ด โดยมีกำลังผลิต 24,000 ตันต่อวัน และโรงงานผลิตไฟฟ้าชีวมวล (ชานอ้อย) ที่ตั้งอยู่ในบริเวณเดียวกัน กำลังผลิตติดตั้ง 32 เมกะวัตต์ โดยจะผลิตไอน้ำและไฟฟ้าเพื่อใช้ในกิจกรรมของโรงงานผลิตน้ำตาลเท่านั้น ซึ่งโรงงานทั้ง 2 โรงงาน เป็นของบริษัท สมานฉันท์กรับใหญ่ จำกัด ที่ตั้งขึ้นโดย บริษัท น้ำตาลบ้านโป่ง จำกัด ปัจจุบันโครงการอยู่ในขั้นตอนการจัดทำรายงานประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA)

  ชาวบ้าน-อบต.งิม พะเยา ยื่นธรรมนัส เรียกร้องให้แก้ปัญหา “โดนยึดที่ดินไม่เป็นธรรมจากนโยบายทวงคืนผืนป่า”“ให้รัฐมนตรีธรรมน...
10/06/2024

ชาวบ้าน-อบต.งิม พะเยา ยื่นธรรมนัส เรียกร้องให้แก้ปัญหา “โดนยึดที่ดินไม่เป็นธรรมจากนโยบายทวงคืนผืนป่า”
“ให้รัฐมนตรีธรรมนัสและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องออกสำรวจและตรวจสอบพื้นที่ทำกินของชาวบ้านในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าดอยผาช้างใหม่ และคืนพื้นที่ทำกินให้แก่ชาวบ้านโดยเร็ว เพื่อสร้างความเป็นธรรมและความเสมอภาคในชุมชนต่อไป”
กัญญาณัฐ สุทธวงค์ #นายกเทศมนตรีตำบลงิม อ.ปง จ.พะเยา เปิดเผยถึงข้อเรียกร้อง ที่อบต.และตัวแทนชาวบ้านที่ได้รับความเดือดร้อน ได้ยื่นต่อ ธรรมนัส พรหมเผ่า #รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ผ่านบุญสิงห์ วรินทร์รักษ์ ที่ปรึกษารมว.เกษตรฯ ที่เดินทางมาเป็นตัวแทนร่วมเปิดโครงการส่งเสริมการเปลี่ยนเมล็ดข้าว ปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 วันนี้ (10 มิ.ย. 2567) ที่อาคารอเนกประสงค์โรงเรียนเทศบาลตําบลงิม
“ความเดือนร้อนที่เกิดขึ้นเริ่มต้นตั้งแต่ปี 2559 จาก #นโยบายทวงคืนผืนป่า โดยมีบุคลกล่าวอ้างว่าเป็นหัวหน้าทวงคืนผืนป่ามาประสานงานกับชาวบ้านในพื้นที่โดยมีข้อความสำคัญคือให้ชาวบ้านที่มีที่ดินทำกินไม่เกิน 25 ไร่มาเซ็นชื่อเพื่อไม่ไห้ถูกยึดท่ีดินทำกิน
ชาวบ้านในพื้นที่ก็หลงเชื่อและยินยอมเซ็นเนื่องจากไม่มีชาวบ้านคนใดถือครองที่ดินเกิน 25 ไร่ ด้วยส่วนมากถือครองที่ดินไม่เกิน 10 ไร่ และชาวบ้านยืนยันว่าได้ทำกินมาก่อนปี 2545
ตอนนี้บางรายที่เซ็นชื่อไปนั้นไม่เหลือที่ดินทำกินเลยแต่ยังมีภาระและหนี้สินที่ต้องรับผิดชอบอยู่ บางรายที่มีความจำเป็นจะต้องเข้าไปทำกินในพื้นที่นั้นเพราะไม่มีทางเลือกก็โดนจับกุมดำเนินคดีไป ซึ่งส่วนใหญ่ชาวบ้านในพื้นที่ ต.งิม เป็นครอบครัวยากจน
จึงขอให้ทางรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรฯ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งให้การช่วยเหลือ” นายกเทศมนตรีตำบลงิม กล่าว
นโยบายทวงคืนผืนป่า เป็นหนึ่งในนโยบายธงของรัฐบาลประยุทธ์ ดำเนินกการโดยการออกคำสั่ง คสช.ฉบับที่ 64/2557 เรื่อง การปราบปรามและการหยุดยั้งการบุกรุกทรัพยากรป่าไม้ ในปี 2557 มีจุดมุ่งหมายเพื่อเพิ่มพื่นที่สีเขียวในประเทศไทย
นโยบายดังกล่าวได้เพิ่มความขัดแย้งระหว่างชาวบ้านกับรัฐอย่างต่อเนื่องในหลากหลายมิติ ในปี 2565 หรือ 8 ปีหลังประกาศใช้นโยบายฯ ปรากฏว่ามีจำนวนคดีที่เก่ียวข้องกับนโยบายดังกล่าวไม่น้อยกว่า 46,000 คดี

  บอร์ดชาติ EEC อนุมัติร่างแผนสิ่งแวดล้อมอีอีซี - รับทราบความคืบหน้า 4 เมกะโปรเจกต์ EEC “รถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน...
10/06/2024

บอร์ดชาติ EEC อนุมัติร่างแผนสิ่งแวดล้อมอีอีซี - รับทราบความคืบหน้า 4 เมกะโปรเจกต์ EEC “รถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน - สนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออก - ท่าเรือแหลมฉบังเฟส3 - ท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุดเฟส3”
ที่ประชุม #คณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ( #กพอ.) ครั้งที่ 3/2567 วันนี้ (10 มิ.ย. 2567) ซึ่งมี ภูมิธรรม เวชยชัย #รองนายกรัฐมนตรี และ #รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เป็นประธาน ได้อนุมัติ (ร่าง) #แผนสิ่งแวดล้อมในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก พ.ศ. 2566–2570
ร่างดังกล่าวมีจุดประสงค์เพื่อส่งเสริมการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมให้สอดคล้องกับการพัฒนาเมืองและชุมชนได้อย่างต่อเนื่อง สร้างสมดุลให้โครงการพัฒนาต่าง ๆ สามารถดูแลสิ่งแวดล้อมและชุมชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสนับสนุนให้เกิดการลงทุนธุรกิจที่ยั่งยืนในพื้นที่อีอีซี ประกอบด้วย 4 ยุทธศาสตร์ดังนี้
1. การจัดการของเสียและมลพิษสิ่งแวดล้อม ที่มีกลยุทธ์สำคัญในการเพิ่มประสิทธิภาพระบบการจัดการน้ำเสีย ของเสีย เฝ้าระวังการจัดการมลพิษจากแหล่งกำเนิดและในสิ่งแวดล้อม จำนวน 31 โครงการ อาทิ โครงการก่อสร้างระบบรวมรวมและบำบัดน้ำเสียในพื้นที่เขตควบคุมมลพิษ จังหวัดระยอง โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการขยะมูลฝอย อำเภอแกลง
2. การอนุรักษ์ ฟื้นฟู ดูแลรักษา และใช้ประโยชน์ทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน กลยุทธ์สำคัญ เช่น การจัดการทรัพยากรและการใช้ประโยชน์ที่ดิน การจัดการทรัพยากรน้ำอย่างยั่งยืน จำนวน 65 โครงการ อาทิ โครงการอนุรักษ์ฟื้นฟูแก้มลิงคลองบางไผ่ โครงการอนุรักษ์ฟื้นฟูแหล่งน้ำพร้อมระบบกระจายน้ำเกาะแสมสาร
3. การส่งเสริมการดำรงชีวิตและดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน เพื่อสนับสนุนการดำเนินธุรกิจที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม รองรับ และปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและภัยพิบัติ จำนวน 40 โครงการ อาทิ โครงการปรับปรุงภูมิทัศน์รอบชายหาดบ้านอำเภอ จังหวัดชลบุรี โครงการขับเคลื่อนสู่ Net Zero EEC สนับสนุนการลงทุนที่เป็นมิตรต่อสภาพภูมิอากาศ
4. การเสริมความเข้มแข็งแก่ภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง เพื่อพัฒนาเครื่องมือและนวัตกรรมเพื่อสนับสนุนการบริการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จำนวน 54 โครงการ อาทิ โครงการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตที่สะอาดสำหรับอุตสาหกรรมเทคโนโลยีชีวภาพ เป็นต้น
โดยมอบหมายให้ #สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก นำเสนอต่อ #คณะรัฐมนตรี ต่อไป
นอกจากนี้ ที่ประชุมได้รับทราบรายงานความก้าวหน้า 4 โครงสร้างพัฒนาพื้นฐานหลักในพื้นที่ อีอีซี ซึ่งเป็นโครงการร่วมลงทุนรัฐ-เอกชน (PPP) ได้แก่

1. #โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน ปัจจุบันการรถไฟแห่งประเทศไทยและเอกชนคู่สัญญา ตกลงรับมอบพื้นที่ก่อสร้างและเจรจาหลักการแก้ไขปัญหาได้ข้อยุติแล้วอยู่ระหว่างเตรียมนำเสนอ กพอ.
โดยคาดว่าจะเสนอ ครม. ได้ภายในเดือน ก.ค. 2567 และเริ่มงานก่อสร้างภายใน ธ.ค. 2567
2. #โครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออก ความก้าวหน้าในส่วนภาครัฐ กองทัพเรือได้ออกประกาศเชิญชวนยื่นข้อเสนองานจ้างก่อสร้างทางวิ่งที่ 2 และทางขับสนามบินอู่ตะเภา เป็นที่เรียบร้อย และคาดว่าจะพิจารณาข้อเสนอทางเทคนิค ได้ภายในเดือน มิ.ย. 2567 และก่อสร้างแล้วเสร็จภายในปี 2571 ทั้งนี้คาดว่าสนามบินอู่ตะเภาฯ จะเปิดให้บริการภายในปี 2572
3. #โครงการพัฒนาท่าเรือแหลมฉบัง ระยะที่ 3 ในส่วนท่าเทียบเรือ F งานก่อสร้างทางทะเล มีความก้าวหน้าในภาพรวม 29.02% โดยพื้นที่ถมทะเล 1 และ 2 ได้ดำเนินการถมแล้วเสร็จ ส่วนพื้นที่ถมทะเล 3 อยู่ระหว่างดำเนินการถม คาดว่าจะเปิดดำเนินการท่าเทียบเรือ F1 ได้ภายในปี 2570
4. #โครงการพัฒนาท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุด ระยะที่ 3 โดยท่าเรือมาบตาพุด ระยะที่ 3 ช่วงที่ 1 คาดว่าจะแล้วเสร็จในปี 2570

ที่อยู่

31/1 พหลโยธิน 35 ถ. พหลโยธิน แขวงลาดยาว เขตจตุจักร
Bangkok
10900

เบอร์โทรศัพท์

+66636822895

เว็บไซต์

แจ้งเตือน

รับทราบข่าวสารและโปรโมชั่นของ GreenNewsผ่านทางอีเมล์ของคุณ เราจะเก็บข้อมูลของคุณเป็นความลับ คุณสามารถกดยกเลิกการติดตามได้ตลอดเวลา

ติดต่อ ธุรกิจของเรา

ส่งข้อความของคุณถึง GreenNews:

วิดีโอทั้งหมด

แชร์

ตำแหน่งใกล้เคียง บริษัท สื่อ


Bangkok บริษัท สื่ออื่นๆ

แสดงผลทั้งหมด

คุณอาจจะชอบ