Smart Economic เพจที่นำเสนอข้อมูลข่าวสารทางเศรษฐ?

19/03/2023

ชื่อ ธนาคารเครดิต สวิส วันจันทร์นี้อาจไม่มีอีกแล้ว หลัง UBS เตรียมควบรวมก่อนตลาดเปิด
ตอนนี้คนทั้งโลกกำลังจับตาไปที่สถานการณ์ของธนาคารเครดิต สวิส (Credit Suisse) ที่ตอนนี้กำลังอยู่ในช่วงเวลาสำคัญที่สุดครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์ของพวกเขา ซึ่งประวัติศาสตร์ในครั้งนี้อาจจะทำให้ชื่อธนาคารเครดิต สวิสไม่มีอยู่ในโลกอีกแล้วในวันจันทร์ที่จะถึงนี้
ธนาคารเครดิต สวิสนั้นไม่ได้เพิ่งจะมามีปัญหาในช่วงหนึ่งอาทิตย์ถึงสองอาทิตย์ที่ผ่านมา ที่จริงแล้วพวกเขามีปัญหามาสักพักใหญ่แล้ว โดยถ้าจะเอาแบบเป็นรูปธรรมสักหน่อยก็ต้องย้อนกลับไปในช่วงเดือนมีนาคม 2021
ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่บริษัทจัดการกองทุนที่ชื่อว่า Archegos Capital Management ถูกบังคับขายหุ้นเป็นมูลค่ามากกว่า 600,000 ล้านบาท ภายในวันเดียว
การขาดทุนของ Archegos อันมากมายขนาดนี้ก็เพราะพวกเขาไม่ได้ลงทุนในแบบทั่ว ๆ ไป โดยพวกเขาใช้วิธีการขอเงินกู้ หรือ Margin ไปลงทุน
แน่นอนว่าการกู้เงินมาลงทุนทำให้บริษัทสามารถสร้างผลตอบแทนได้สูงกว่าเงินทุนที่เป็นหลักประกันขั้นต่ำเป็นอย่างมากจากการขึ้นลงของราคาหุ้นในแต่ละครั้ง แต่ในทางตรงกันข้ามก็จะขาดทุนหนักเช่นกันถ้าราคาหุ้นปรับตัวลดลง
ยกตัวอย่างถ้าเรามีเงิน 100,000 บาท เราอาจขอเงินกู้ได้มากถึง 1,000,000 บาท ขณะที่ถ้าหุ้นขึ้น 5% เราจะได้มากถึง 50,000 บาทจากการที่กู้ แทนที่จะได้แค่ 5,000 บาทถ้าไม่กู้
และในกรณีของ Archegos ก็มาจากลักษณะประมาณนี้แต่เป็นราคาหุ้นปรับลง ซึ่งก็จะขาดทุนแบบรุนแรงเช่นกัน
โดยผลจากการขาดทุนของ Archegos ไม่ได้สร้างปัญหาเฉพาะแค่ตัวของพวกเขาเอง แต่ยังสร้างปัญหาไปถึงบริษัที่ปล่อยกู้ให้พวกเขาด้วยอย่าง "ธนาคารเครดิต สวิส" ที่ขาดทุนกับการปล่อยกู้ครั้งนี้ไปกว่า 190,000 ล้านบาทในปี 2021 ซึ่งตัวเลขนี้เยอะกว่ากำไรทั้งปีของพวกเขาในปี 2020 ซะอีก
ขณะที่ในปี 2021 และ 2022 พวกเขาขาดทุนทั้ง 2 ปีที่ราว 62,000 ล้านบาท และ 264,000 ล้านบาทตามลำดับ
ในวันที่ 15 มีนาคม 2023 ราคาหุ้นของ เครดิต สวิส ปรับตัวลดลงถึง 24% ใน 2 ช่วงเวลาการซื้อขายระหว่างวันเรียกว่าปรับตัวลงไปทำ ALL TIME LOW เลยทีเดียว
โดยสาเหตุที่มีการยกอ้างกันของการปรับตัวลงของราคาหุ้นในครั้งนี้มาจากการที่ทางธนาคารแห่งชาติซาอุดิอาระเบีย หรือ SNB ตัดสินใจไม่เพิ่มการช่วยเหลือทางการเพิ่มเติมอีกแล้วไม่เช่นนั้นพวกเขาจะถือหุ้นเกิน 10%
ซึ่งในความเป็นจริง SNB ทำไม่ได้อยู่แล้วเพราะมันเป็นกฎเกณฑ์ของธนาคารแห่งชาติซาอุดิอาระเบียที่มีมาต้องนานแล้ว เหตุผลนี้จึงไม่น่าใช่สำหรับแอดมิน
ในช่วงเวลาเดียวกันนายแอกแซล เลห์แมนน์ ประธานของธนาคารเครดิต สวิส ได้ออกมาเปิดเผยว่า ขณะนี้ทางธนาคารกำลังพยายามลดความเสี่ยงในเรื่องของงบดุลอยู่ พร้อมบอกเพิ่มเติมว่าทุกอย่างอยู่ในการควบคุม พร้อมบอกว่ามีอัตราส่วนเงินทุนและงบดุลที่แข็งแกร่ง
สำหรับแอดมินแล้วถ้าผู้บริหารผู้ออกมาในลักษณะนี้ให้เตรียมตัวเลยว่ามีปัญหาแน่ ซึ่งถ้าใครจำกันได้กรณีของธนาคาร SVB ผู้บริหารก็มาทรงนี้เลยก่อนธนาคารล้ม
โดยคำพูดของผู้บริหารดูจะสวนทางกับการกระทำของพวกเขาเนื่องจากทางธนาคารได้มีการชะลอการปล่อยรายงานประจำปี 2022 ของพวกเขาในช่่วงที่ผ่านมา ซึ่งที่จริงพวกเขาต้องปล่อยออกมาในช่วงระยะเวลาเดียวกับที่ทางธนาคาร SVB ล้ม
แต่ถูกทางสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ของสหรัฐโทรมาสั่งชะลอเอาไว้ก่อน และเพิ่งมาปล่อยในวันที่ 15 มีนาคม 2023 ที่ผ่านมา
ขณะที่ไตรมาส 4 ปี 2022 ธนาคารเครดิต สวิสขาดทุนมากถึง 1,400 ล้านฟรังก์สวิสซึ่งสูงกว่าคาดการณ์ พร้อมกับมีการแห่ถอนเงินเป็นมูลค่ามากกว่า 110,000 ล้านฟรังก์สวิสเลยทีเดียว ท่ามกลางข่าวการทำผิดกฎระเบียบของธนาคารและอาจจะนำไปสู่การดำเนินคดี
ในวันที่ 16 มีนาคม 2023 ทางผู้บริหารธนาคารก็ออกมาพูดว่าพวกเขาไม่จำเป็นต้องขอความช่วยเหลือใด ๆ จากภาครัฐ แต่แทบจะในวันเดียวกันรัฐบาลก็ปล่อยกู้ให้ความช่วยเหลือเรื่องสภาพคล่องกับเครดิต สวิสไปกว่า 54,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เป็นอีกครั้งที่การกระทำกับคำพูดตรงข้ามกัน
ขณะที่ในวันที่ 18 มีนาคม 2023 ทางสำนักข่าว Financial Time ได้อ้างข้อมูลจากฝ่ายบริหารของธนาคาร UBS ซึ่งเป็นหนึ่งในธนาคารยักษ์ใหญ่ของสวิตเซอร์แลนด์ว่า ตอนนี้ทาง UBS กำลังมีการเจรจาขอซื้อกิจการของ เครดิต สวิส ทั้งหมด หรือ บางส่วน พร้อมความคาดหวังจากธนาคารกลางแห่งชาติของงสวิตเซอร์แลนด์ว่า ดีลนี้ควรจบก่อนวันจันทร์ที่ตลาดจะเปิด
ตรงนี้ทำให้นาย Jim Bianco ซึ่งเป็นประธาน Bianco Research LLC บริษัทวิเคราะห์ให้สถาบันการลงทุนมองว่า สถานการณ์ของ เครดิต สวิส ดูแล้วมีทางออกอยู่แค่ 2 ทางเท่านั้นคือ 1.ให้ UBS ควบรวมกิจการไป ตรงนี้จะทำให้สถานะของ UBS ลำบากไปด้วย 2.ธนาคารกลางสวิตเซอร์แลนด์หรือองค์กรคล้ายกันอื่น ๆ เข้ายึดกิจการ แต่สุดท้ายไม่ว่าจะออกมาในรูปแบบไหนเช้าวันจันทร์นี้เราคงไม่เห็นชื่อของ เครดิต สวิส ในโลกอีกแล้ว
ขณะที่ล่าสุดในวันที่ 19 มีนาคม 2023 ทาง UBS ได้มีการขอเงินการันตีจำนวน 6,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐเพื่อเป็นต้นทุนสำหรับการดำเนินการซื้อ เครดิต สวิส จากทางภาครัฐ
#เครดิตสวิส #ระบบธนาคาร #ธนาคารล้ม

14/03/2023

SVB ล้ม จุดเริ่นต้นของปัญหา เพื่อเป้าหมาย ขยายเพดานหนี้ สู่การเร่งโละระบบเศรษฐกิจ เพื่อก้าวสู่ NWO
ถ้าจะมีสักประเทศหนึ่งบนโลกที่มักจะทำอะไรดูแล้วขัดกับตรรกะเหตุผลไปซะหมดทั้ง ๆ ที่คนบนโลกมองว่าทำแบบนี้แล้วไม่น่าจะดีแต่พวกเขาก็ยังทำ สำหรับแอดมินแล้วชื่อประเทศที่เป็นเบอร์หนึ่งในดวงใจของการทำเรื่องแบบนี้ก็คือ สหรัฐอเมริกา
อย่างเรื่องบอลลูนที่หลายคนคิดว่าเป็น UFO จนสหรัฐสอยร่วงแล้วก็กล่าวหาว่าเป็นการสอดแนมของจีน แต่ปัญหาเรื่องนี้ไม่ได้อยู่ที่บอลลูนเป็นของใคร
เพราะหลายคนตั้งคำถามว่าทำไมสหรัฐปล่อยมันลอยอยู่ต้องนานสองนานเรียกว่าแทบจะบินความประเทศสหรัฐอยู่แล้วเพิ่งจะมาตื่นตระหนกสอยมันร่วง?
รวมไปถึงการออกมาแฉของนักข่าวสายสืบสวนสอบสวนอย่างคุณซีมัวร์ เฮิร์ช ว่าแท้ที่จริงแล้ว CIA คือผู้อยู่เบื้องหลังการระเบิดท่อก๊าซนอร์ดสตรีม 2 ทั้ง ๆ ที่รัสเซียกับพวกเขาก็ไม่ได้เป็นประเทศติดกันแต่อย่างใด
หรืออย่างเรื่องสงครามยูเครนที่สหรัฐมีการอนุมัติงบประมาณมากกว่า 110,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐไปแล้วเพื่อช่วยยูเครนรบกับรัสเซีย ซึ่งสหรัฐไม่ได้อยู่ใกล้กับยูเครนแต่อย่างใด
แต่พอเป็นธนาคารซิลิคอนวัลเลย์ (Silicon Valley Bank) ซึ่งมีปัญหาในเรื่องของสภาพคล่องจากการถูกถอนเงินไม่หยุดมาตั้งแต่ก่อนวันพุธก่อนที่เราจะเห็นข่าวว่าพวกเขาขาดทุนจากการขายพันธบัตรไป 1,800 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพื่อเอาเงินมาให้ลูกค้าให้ทันต่อการถอน
ซึ่งเจ้าธนาคารซิลิคอนวัลเลย์ใหญ่เป็นอันดับ 16 ของสหรัฐมีทรัพย์สินอยู่ในบริษัทราว 2 แสนล้าน และเงินฝากอีก 175,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ แน่นอนว่าการล้มของมันกระทบความเชื่อมั่นไม่น้อย
แต่ทำไมรัฐบาลสหรัฐถึงเลือกไม่อุ้มหรือให้ความช่วยเหลือ เพราะถ้าทำก็จะช่วยให้ความมั่นใจในระบบธนาคารฟื้นตัวกลับมาได้
แต่พวกเขากลับเลือกสั่งปิดไปเลย!! และให้ความช่วยผ่าน สถาบันประกันเงินฝากอย่าง Federal Deposit Insurance Corporation หรือ FDIC
โดยช่วงแรกของการล้มทาง FDIC คุ้มครองเงินฝากไม่เกิน 250,000 ดอลลาร์สหรัฐเท่านั้น ใครมีมากกว่านั้นต้องรอการชำระทางบัญชี หรือ การนำเอาทรัพย์สินที่เหลือไปขายทอดตลาดแล้วเอาเงินกลับมาแบ่งให้
ก่อนที่หลังจากนั้นในวันที่ 13 มีนาคม 2023 จะปรับเป็นสามารถเข้าถึงเงินฝากได้แบบเต็มจำนวน
โดยการช่วยเหลือครั้งนี้ไม่ได้เอาภาษีประชาชนมาอุ้ม แต่ใช้วิธีตั้งกองทุนเสริมสภาพคล่องแทน โดยธนาคารที่ไม่มีสภาพคล่องก็มากู้เงินได้แต่ต้องเอาพันธบัตรที่มีในมือมาค้ำประกันแลกไปซึ่งจะได้เงินเต็มจำนวนตามหน้าตั๋วของพันธบัตร
คำถามต่อแล้วเอาเงินมาจากไหน คำตอบคือ กระทรวงการคลังใช้เงินของกองทุน Exchange Stabilization Fund มูลค่า 25,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐมาเป็นทุน
การเลือกใช้วิธีนี้มันทำให้อดนึกไม่ได้ว่าทำไมตอนวิกฤตปี 2008 ธนาคารยักษ์ใหญ่สามารถได้รับการช่วยเหลือได้ แต่พอเป็นธนาคาระดับท้องถิ่นตอนนี้กลับไม่ช่วย
แล้วคำถามคือหลังจากที่ลูกค้าเหล่านี้ที่ได้เงินคืน พวกเขาจะนำเงินเหล่านี้ไปฝากไว้ที่ธนาคารไหน
ใช่ธนาคารยักษ์ใหญ่รึเปล่า? เพราะว่าความเชื่อมั่นต่อธนาคารระดับกลางและท้องถิ่นได้หายไปแล้วจากเหตุการณ์นี้ ใครมันจะยังกล้าไปฝากกลุ่มธนาคารที่เสี่ยงพอ ๆ กัน เพราะฉะนั้นการเลือกะนาคารยักษ์ใหญ่จึงสมเหตุสมผลกว่าเยอะ!!
เราจำเป็นต้องเข้าใจว่าธนาคารกลางของสหรัฐนั้นมีความสามารถในการพิมพ์เงินได้อยู่ตามใจปรารถนาเท่าที่ต้อง และนับตั้งแต่วิกฤตการเงินปี 2008 เป็นต้นมา อัตราดอกเบี้ยก็ต่ำติดดินมาโดยตลอด (0-0.25%) จนสภาพคล่องล้นไปทั้งโลก
จนในปี 2022 ที่ผ่านมาภายใต้ข้ออ้าง ‘เงินเฟ้อ’ ซึ่งก็เป็นตัวเองที่สร้างมากับมือ (สร้างเพื่อมาเป็นข้ออ้างในวันนี้) FED ได้ยกอัตราดอกเบี้ยอย่างรวดเร็วและรุนแรงจาก 0-0.25% ไปสู่ 4.50-4.75%
แน่นอนว่าการทำแบบนี้มันคือการฆ่าธุรกิจที่ไม่มีกำไรเป็นชิ้นเป็นอันอยู่ได้ด้วยการกู้หนี้ยืมสินมาจ่ายหมุนไปจากต้นทุนการกู้ยืมที่สูงขึ้น
และนักลงทุนที่ลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยง รวมไปถึงใครที่ถือพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐรุ่นเก่า ๆ ก็จะเผชิญหน้ากันราคาที่ปรับตัวลดลงของพันธบัตร (Bond Price) เพื่อชดเชยอัตราผลตอบแทนที่สูงขึ้น (Bond Yield)
ซึ่งตามข่าวแล้วธนาคารซิลิคอนวัลเลย์ก็มีการลงทุนในพันธบัตรและขายขาดทุนไปกว่า 1,800 ล้านดอลลาร์สหรัฐ จากการที่เหล่าสตาร์ทอัพซึ่งเป็นลูกค้าฝากเงินของธนาคารนี้แห่ถอนเงินออกไปกันยกใหญ่ทำให้ธนาคารต้องรีบขายพันธบัตรแบบขาดทุนมหาศาลเพื่อเอาเงินมาให้ลูกค้า
วันศุกร์วันเดียวธนาคารซิลิคอนวัลเลย์โดนถอนเงินออกไปกว่า 42,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ นอกจากสาเหตุอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้นอย่างรวดเร็วแล้ว
อีกสาเหตุหนึ่งที่สำคัญของการล้มก็คือการที่ผลตอบแทนพันธบัตรระยะสั้นของสหรัฐมันสูงถึง 5% ในตอนนี้และเมื่อไปเทียบกับการฝากธนาคารที่ 0.5% มันแทบจะคนละเรื่อง
#จากแบงค์ล้มสู่การขยายเพดานหนี้
คราวนี้เราลองถอยออกมาดูภาพใหญ่กันบ้าง นาทีนี้สกุลเงินดอลลาร์สหรัฐกำลังมีปัญหาอย่างหนักเพราะความต้องการลดลงอย่างต่อเนื่อง
ปัญหาหลัก ๆ ก็มาจากการที่สหรัฐดำเนินนโยบายขาดดุลงบประมาณอย่างต่อเนื่องเฉลี่ยปีละ 1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐทุกปีมาตั้งแต่ปี 2001 ความหมายคือรัฐบาลกลางของสหรัฐใช้เงินมากกว่ารายได้ที่รับจากภาษีและด้านอื่น ๆ
พร้อมคาดการณ์ว่าปี 2024 จะขาดดุลมากถึง 1.8 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ
พร้อมกับหนี้สินรวมของประเทศที่ 31.4 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ จากข้อมูล ณ เดือนมกราคม 2023
มันเป็นคำตอบที่ชัดเจนในตัวมันเองมากว่าทำไมไม่มีใครซื้อพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐสักเท่าไรในช่วงหลัง เพราะนับวันการถือเงินดอลลาร์สหรัฐเอาไว้ก็มีแต่จะเสียเปรียบจากการเสื่อมค่าของมันผ่านการพิมพ์เงินเพื่อก่อหนี้ แบบชนิดที่ไม่คิดจะใช้คืนอยู่แล้ว
เมื่อความต้องการเงินดอลลาร์สหรัฐไม่มี แต่สหรัฐต้องการให้มันมี เพราะต้องใช้เงินเพื่อมาจ่ายดอกเบี้ยและการดำเนินงานในด้านต่าง ๆ จะทำอย่างไร
การที่ผลตอบแทนระหว่างเงินฝากและพันธบัตรระยะสั้นมันมีความต่างกันมากก็มีส่วนอย่างยิ่งในการสร้างความต้องการตรงนี้ ซึ่งก็จะสะท้อนให้เห็นผ่านผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐทุกช่วงอายุตั้งแต่หลัก 3 เดือนจนถึง 30 ปี ของวันที่ 13 มีนาคม 2023 ว่าปรับตัวลดลง
ตรงนี้เป็นสัญญาณของตลาดถึงการได้กลิ่นการกลับลำนโยบายของ FED ว่าเตรียมกลับมาเพิ่มสภาพคล่อง?
ตรงนี้เมื่อมีผู้ซื้อพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐระยะสั้นก็เท่ากับว่ามีเงินทุนให้รัฐบาลสหรัฐขยายเพดานที่กำลังถกเถียงกันอยู่ในตอนนี้ใช่รึเปล่า?
การก่อหนี้ได้ก็หมายความว่ามีเงินสนับสนุนสงครามต่อไปด้วยใช่รึเปล่า? ซึ่งมีจุดหมายอยู่ที่การล้างหนี้
และการก่อหนี้ครั้งนี้ก็จะเร่งเงินเฟ้อให้รุนแรงขึ้นไปอีกแบบชนิดที่เรียกว่าหลุดการควบคุมไปเลยใช่รึเปล่า? (Hyperinflation)
หลังจากนั้นก็จะใช้สกุลเงินดิจิทัลที่ได้สร้างรอไว้แล้ว หรือ ที่เรียกว่า CBDC มาแทนดอลลาร์สหรัฐของเก่าไปเลยใช่รึเปล่า
ทั้งหมดนี้คือเส้นทางของการทำ The Great Reset ระบบเศรษฐกิจครั้งใหญ่ของโลกที่ทาง The World Economic Forum เคยบอกไว้ใช่รึเปล่า?
โดยทั้งหมดมีจุดเริ่มต้นมาจาก ธนาคารที่ชื่อซิลิคอนวัลเลย์!!
#ซิลิคอนวัลเลย์ #ธนาคารล้ม #วิกฤตเศรษฐกิจ #ดอลลาร์สหรัฐ

21/02/2023

จาก “บัฟเฟตต์” ขาย TSMC สู่การจารกรรมข้อมูลของ ASML ในจีน เหตุการณ์เหล่านี้กำลังบอกอะไรเรา
อาทิตย์ที่แล้วมีความข่าวสำคัญมากสองตัวที่ออกมาในเวลาไล่เลี่ยกันโดยเริ่มจากวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2023 ทางสำนักข่าวฝั่งตะวันตกไม่ว่าจะเป็น Bloomberg หรือ CNBC ต่างรายงานว่าบริษัท เบิร์กเชียร์ แฮทาเวย์ จำกัด (มหาชน) ของคุณปู่นักลงทุนในตำนานอย่างวอร์เรน บัฟเฟตต์ ได้ขายหุ้นบริษัทผู้ผลิตชิปรายใหญ่ของโลกอย่าง TSMC ออกเกือบหมดพอร์ต (ประมาณ 86%) หลังซื้อมาได้แค่ 3 เดือนเท่านั้น
เรื่องนี้สร้างความสงสัยให้กับนักวิเคราะห์จำนวนมาก เพราะการทำแบบนี้ค่อนข้างจะผิดแนวทางการลงทุนของคุณวอร์เรน บัฟเฟตต์ ที่มักจะมุ่งเน้นการลงทุนระยะยาวเป็นสำคัญ
แต่เรื่องนี้สำหรับแอดมินเราคงมองภาพแค่การลงทุนไม่ได้ เพราะเรื่องของ TSMC นั้นเกี่ยวข้องกับมิติของความขัดแย้งระหว่างสหรัฐและจีนด้วย รวมไปถึงสถานการณ์เศรษฐกิจโลกที่ดูเหมือนไม่ดีนัก
อย่างที่เรารู้กันตอนนี้เศรษฐกิจโลกได้ก้าวเข้าสู่สภาวะเศรษฐกิจถดถอยไปแล้ว เราจึงได้เห็นบริษัทจำนวนมากทยอยปรับลดจำนวนของพนักงานลงอย่างมาก โดยเฉพาะกลุ่มเทคโนโลยียักษ์ใหญ่ไม่ว่าจะเป็น Facebook, Amazon, Google และ Microsoft ต่างก็ทยอยปรับลดคนทำงานลงอย่างมหาศาล
ซึ่งแน่นอนว่าการที่คนจำนวนมากต้องตกงานย่อมกระทบต่อการเติบโตของกิจกรรมทางเศรษฐกิจอย่างเลี่ยงไม่ได้ เพราะเมื่อตกงานกำลังซื้อของคนก็หดหายไป คนจะประหยัดมากขึ้นและเน้นซื้อของเฉพาะที่จำเป็นเท่านั้น
ส่วนของที่ไม่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตก็อาจจะชะลอออกไปก่อนอย่างเช่น รถยนต์, สมาร์ทโฟน, แอร์, เครื่องเล่นเกม, คอมพิวเตอร์ และโน๊ตบุ๊ค รวมไปถึงบริการต่างอย่างสตรีมมิ่งหนังและเพลง เป็นต้น
นอกจากเรื่องการตกงานของคนทั่วโลกแล้ว เรายังเผชิญหน้ากับสภาวะเงินในกระเป๋าน้อยลงจากปรากฎการณ์ ‘เงินเฟ้อ’ อีกด้วย ผ่านการเสื่อมค่าของเงินจากการพิมพ์เงินเพิ่มขึ้นมาในจำนวนมหาศาลของเหล่าธนาคารกลาง
ขณะที่ประเด็นเรื่องการกีดกันทางการค้าระหว่างสหรัฐและจีนก็รุนแรงมากขึ้นเรื่อย ๆ โดยเฉพาะด้านเทคโนโลยีที่ถือเป็นหัวใจสำคัญของระบบเศรษฐกิจยุคใหม่จากนี้ไปอีก 100 ปี
โดยมีกระดูกสันหลังสำคัญก็คือ เซมิคอนดักเตอร์ หรือ สารกึ่งตัวนำ เราจึงได้เห็นสหรัฐอเมริกาชักชวน ญี่ปุ่น และเนเธอร์แลนด์ ที่เป็นส่วนหนึ่งในห่วงโซ่อุปทานของอุตสาหกรรมให้มาร่วมวงแบนการค้าขายกับจีนด้วย
การจารกรรมข้อมูลของ ASML ในจีน คือการบอกใบ้ว่า ASML เลือกจีนเหนือสหรัฐ?
อย่างที่เรารู้กันอุตสาหกรรม เซมิคอนดักเตอร์ มีระบบห่วงโซ่อุปทานที่เชื่อมต่อและพึ่งพากันไปทั้งโลก ไม่มีใครในอุตสาหกรรมนี้สามารถทำเองได้คนเดียวทั้งหมด เพราะฉะนั้นการถูกบังคับให้เลือกข้างจึงไม่มีใครในธุรกิจนี้โอเค เพราะมันหมายถึงรายได้จำนวนมหาศาลที่หายไป
โดยเฉพาะ ASML ที่พึ่งพารายได้จากตลาดจีนมากเป็นอันดับ 3 ของพอร์ตรายได้รวมของตัวเอง การไม่มีจีนคือความเสียหายอย่างมหาศาลสำหรับพวกเขา
จีนนั้นชัดเจนมาตลอดว่าต้องการซื้อสินค้าเครื่องผลิตเซมิคอนดักเตอร์รุ่น EUV ซึ่งเป็นรุ่นระดับสูงที่สุดของ ASML (ปัจจุบันซื้อได้แต่รุ่นรองคือ DUV) และแน่นอนว่า ASML ก็อยากค้าขายกับจีน และหนึ่งในลูกค้ารายใหญ่ของ ASML ก็คือ TSMC ซึ่งเป็นผู้ผลิตชิปรายใหญ่ของโลก
โดย TSMC นั้นตั้งอยู่ในไต้หวันและนาทีนี้ต้องถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของจีน แต่ดูเหมือนสหรัฐทั้งที่รับรู้อยู่แก่ใจ แต่ในทางปฏิบัติเหมือนพวกเขายังไม่ยอมให้ไต้หวันกลับไปสู่อ้อมอกของจีนแบบง่าย ๆ
นั่นทำให้สหรัฐเตรียมย้ายสมรภูมิสงครามจากยูเครนไปสู่ไต้หวันเพื่อเดินหน้าปิดล้อมศัตรูเบอร์หนึ่งของพวกเขาอย่างจีน โดยเรื่องนี้ได้รับการยืนยันผ่านบทความที่ชื่อว่า How U.S. Grand Strategy Is Changed by Ukraine ที่ตีพิมพ์ลงนิตยสารที่ชื่อว่า Foreign Policy เมื่อวันที่ 2 สิงหาคม 2022
บทความนี้ถือเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยยืนยันแนวทางยุทธศาสตร์ที่เปลี่ยนแปลงของอเมริกาจากนี้ที่กำลังมุ่งไปสู่ฝั่งแปซิฟิกมากขึ้น ตรงนี้ทำให้แนวโน้มอุณหภูมิในภูมิภาคแถวบ้านเราคงร้อนมากขึ้นในปีนี้
และด้วยเหตุเหล่านี้รึเปล่าที่ทำให้ข่าวการการจารกรรมข้อมูลของ ASML ในจีนที่เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2023 ที่ผ่านมานั้น เหมือนเป็นการบอกใบ้ว่า ASML เลือกจีนเหนือสหรัฐ?
ในเมื่อค้าขายกับทาง TSMC ไม่ได้ เพราะหลังจากนี้ ‘ไต้หวัน’ กำลังจะกลายเป็นของจีนโดยสมบูร์แล้วรึเปล่า? (ดูจากการเทขาย TSMC ของปู่บัฟเฟตต์เหมือนรู้อะไรล่วงหน้า)
แต่ ASML ยังต้องการรายได้ตรงนี้อยู่จะทำอย่างไร?
การจารกรรมข้อมูลอาจกลายเป็นทางเลือกที่ไม่แย่? เพราะถ้าเป็นแบบนี้ก็เท่ากับ ASML ไม่ได้ค้าขายอะไรกับจีน แถมยังเป็นข้ออ้างให้ใช้บอกกับสหรัฐได้อีกด้วย
ส่วนทางการจีนกับ ASML ก็สามารถไปตกลงนอกรอบได้ในเรื่องของผลประโยชน์ และในอนาคตคงไม่แปลก ถ้าหากจะเห็นบริษัทจีนสักแห่งมี ASML เข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของผู้ถือหุ้น
เรื่อง: เอกพล มงคลพัฒนกุล
#บัฟเฟตต์ #เซมิคอนดักเตอร์ #ชิปเซ็ต

สหรัฐ ผ่าน ‘กฎหมายขายน้ำมันสำรองจากคลังยุทธศาสตร์’ ทำกำไรบนความวอดวายของคนยุโรปองค์การเพื่อความร่วมมือและการพัฒนาทางเศรษ...
28/09/2022

สหรัฐ ผ่าน ‘กฎหมายขายน้ำมันสำรองจากคลังยุทธศาสตร์’ ทำกำไรบนความวอดวายของคนยุโรป
องค์การเพื่อความร่วมมือและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ (Organisation for Economic Co-operation and Development) ได้ออกมาเตือนเมื่อวันจันทร์ 26 กันยายน 2022 ที่ผ่านมาว่า การเติบโตของเศรษฐกิจโลกในช่วงไม่กี่เดือนข้างหน้าจากนี้จะต่ำกว่าที่คาดการณ์เอาไว้เป็นอย่างมาก
เพราะโลกทั้งใบในขณะนี้กำลังเผชิญหน้ากับวิกฤตพลังงานและเงินเฟ้อที่รุนแรง ขณะที่วิกฤตกำลังเดินหน้าสะสมความรุนแรงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องซึ่งจะนำไปสู่สภาวะเศรษฐกิจถดถอยเศรษฐกิจในหลายประเทศชั้นนำของโลก โดยภาคประชาชนในกลุ่มอียูและสหรัฐกำลังจะมีชีวิตที่ยากลำบากจากต้นทุนค่าครองชีพด้านพลังงานและเงินเฟ้อที่พุ่งกระฉูด
ท่ามกลางความตึงเครียดด้านสงครามระหว่างรัสเซียกับสหรัฐและนาโต้ในประเด็นยูเครนที่ดูเหมือนสถานการณ์นาทีนี้มีแต่จะรอวันขยายตัวมากขึ้นเรื่อย ๆ พร้อมกับการเดินหน้าทำประชามติที่ Luhansk, Donetsk, Zaporizhzhia และ Kherson ซึ่งเป็นดินแดนที่รัสเซียยึดครองได้จากปฏิบัติการพิเศษทางทหาร (Special Military Operation) โดยมีเป้าหมายที่ชัดเจน คือ ปกป้องคนยูเครนที่มีเชื้อสายรัสเซียนในภูมิภาคดอนบาสส์ และทำลายกองทัพยูเครน รวมไปถึงกลุ่มทหารรับจ้างนีโอนาซี (เป็นที่เชื่อว่าการทำประชามติครั้งนี้กว่า 80% จะขอย้ายไปขึ้นกับประเทศรัสเซีย)
พร้อมกับการตัดลดการส่งพลังงานอย่างแก๊สไปสู่ยุโรป รวมไปถึงการลดกำลังการผลิตอย่างต่อเนื่องของกลุ่มผู้ผลิตน้ำมันอย่างโอเปก และกลุ่มนอกโอเปกที่นำโดยรัสเซีย ทำให้ตอนนี้สหรัฐกำลังพิจารณาแผนที่จะอนุญาตให้รัฐบาลกลางสามารถซื้อและขายน้ำมัน (Crude Oil) จากคลังน้ำมันสำรองทางยุทธศาสตร์ของประเทศเพื่อทำกำไร และนำเงินกำไรตรงนั้นมาพัฒนาโครสร้างพื้นฐานของรถยนต์ไฟฟ้า
ทาง Bloomberg รายงานว่ากฎหมายจะอยู่ภายใต้ชื่อว่า ‘Buy Low and Sell High Act’ ซึ่งจะอนุญาตให้รัฐบาลสามารถทำการซื้อหรือขายน้ำมันในคลังได้มากถึง 350 ล้านบาร์เรลเพื่อทำกำไรให้ได้มากที่สุด
ยุโรปและสหราชอาณาจักรนำเข้าน้ำมันจากรัสเซียลดลงไปสู่ 1.7 ล้านบาร์เรลต่อวันในเดือนสิงหาคม 2022 จากตัวเลขที่ 2.6 ล้านบาร์เรลต่อวันในเดือนมกราคม 2022 โดยพวกเขานำเข้าจากสหรัฐประมาณครึ่งหนึ่งจากที่หายไปของรัสเซีย
สหรัฐ กลายเป็นผู้ได้ประโยชน์สูงสุดคือ ได้ขายน้ำมันบนราคาที่ดี มีเงินไปพัฒนาประเทศบนอุตสาหกรรมใหม่ มีสงครามก็ขายอาวุธได้ด้วยแบบนี้ก็จ้างงานได้ แต่ทั้งหมดอยู่บนความวอดวายของประชาชนในสหภาพยุโรป
ที่มา : globaltimes
#พลังงาน #น้ำมัน #สหรัฐผ่านกฎหมาย #เงินเฟ้อ

ตอนนี้เราอยู่ในตลาดกระทิงของ ‘ราคาทองคำ’ ครั้งที่ 3ในรอบ 50 ปีที่ผ่านมาราคาทองมีตลาดกระทิงทั้งหมด 3 ครั้งครั้งแรกปี 1971...
28/09/2022

ตอนนี้เราอยู่ในตลาดกระทิงของ ‘ราคาทองคำ’ ครั้งที่ 3
ในรอบ 50 ปีที่ผ่านมาราคาทองมีตลาดกระทิงทั้งหมด 3 ครั้ง
ครั้งแรกปี 1971 แต่ก่อนจะไปในปี 1971 เราถอยไปดูในช่วงปี 1929-1971 กันหน่อย
ในปี 1929 ตลาดหุ้นพังครั้งใหญ่ ช่วงนั้นมีการทิ้งยูเอสดอลลาร์สหรัฐผ่านการขอแลกคือเป็น ‘ทองคำ’
ช่วงนั้นทองคำสหรัฐฯหายไปจากคลังเยอะมากจนในที่สุดต้องออกกฎหมายผ่านสภาคองเกรสที่ชื่อว่า Gold Reserve Act ในปี 1934 ซึ่งบัญญัติว่า การครอบครองทองคำเป็นการผิดกฏหมาย
ปี 1969 ราคาอยู่แถว 42 ดอลลาร์สหรัฐต่อออนซ์ หลังจากนั้น 2 ปีประธานาธิบดีริชาร์ด นิกสันได้ประกาศให้ธนาคารกลางหรือ ‘เฟด’ หยุดอ้างอิง ดอลลาร์สหรัฐกับทองคำ
แล้วดอลลาร์สหรัฐหลังจากนั้นถูกสนับสนุนด้วยอะไรรึ คำตอบก็ง่ายมากครับ ‘ความเชื่อ’
หลังจากนั้นในช่วงปี 1974 ประธานาธิบดีเจอรัลด์ ฟอร์ด ก็ได้ออกคำสั่งให้กลับมาซื้อทองคำได้สำหรับประชาชนทั่วไป แน่นอนว่าในช่วงเวลานั้นเศรษฐกิจสหรัฐก็กำลังมีปัญหาพอดีเกิดเศรษฐกิจชะงักงัน (Stagflation)
และในปี 1980 ราคาก็ขยับขึ้นไปแตะ 678 ดอลลาร์สหรัฐต่อออนซ์ สูงขึ้นมากกว่า 1,500%!!
ครั้งที่ 2 เกิดขึ้นหลังวิกฤตแฮมเบอร์เกอร์ 3 ปี ท่ามกลางเศรษฐกิจอันเปราะบางของโลก ในปี 2011 ราคาทองคำพุ่งขึ้นยืนอยู่ที่ 1,825 ดอลลาร์สหรัฐต่อออนซ์
และครั้งที่ 3 ก็คือตอนนี้ที่เรากำลังนั่งอ่านพูดคุยกันอยู่ โดยถ้าใครจำกัดได้ในช่วงต้นปี 2020 ราคาทองคำปรับขึ้นไปทะลุ 2,000 ดอลลาร์สหรัฐต่อออนซ์ มาแล้ว และปัญหาก็เดิม ๆ เศรษฐกิจอันเปราะบางจากการก่อหนี้ การพิมพ์เงินของธนาคารกลาง
พร้อมซ้ำด้วยการเปลี่ยนทางอุตสาหกรรมครั้งใหญ่ในรอบ 100 ปี
#ทองคํา #ตลาดกระทิง

รัฐบาลเกาหลีใต้เตรียมขึ้น ‘บิลค่าไฟฟ้า’ หวังลดการบริโภค!!รัฐบาลเกาหลีใต้เตรียมขึ้น ‘บิลค่าไฟฟ้า’ หวังลดการบริโภค!! หลังค...
23/09/2022

รัฐบาลเกาหลีใต้เตรียมขึ้น ‘บิลค่าไฟฟ้า’ หวังลดการบริโภค!!
รัฐบาลเกาหลีใต้เตรียมขึ้น ‘บิลค่าไฟฟ้า’ หวังลดการบริโภค!! หลังค่าเงิน วอน อ่อนสุดในรอบ 13 ปี ท่ามกลางราคาพลังงานโลกพุ่งสูง
ทำให้ตอนนี้เวลานำเข้าพลังงานและสินค้าโภคภัณฑ์ต้องใช้ วอน เยอะขึ้นในการแลก ดอลลาร์สหรัฐ เพื่อซื้อพลังงาน ตรงนี้ทำให้พวกเขาขาดทุนในด้านอัตราแลกเปลี่ยนค่อนข้างมาก
สิ่งที่นำเข้าเยอะคือ น้ำมัน และ แก๊ส และ ถ่านหิน โดย 8 เดือนแรกนำเข้าเป็นมูลค่ามากกว่า 125,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ทำให้ขาดดุลการค้าเดือนสิงหาคม 2022 ไป 9,500 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
แถมยังเจอ ราคาพลังงานโลกพุ่งสูงซ้ำดาบ 2
และดาบ 3 คือจะปล่อยให้ค่าไฟแพงมากก็ไม่ได้เพราะประชาชน 'ไม่มีเงิน' นั่นเอง
ที่มา : Bloomberg
#เกาหลีใต้ #พลังงานไฟฟ้า

ซาอุฯ บอก ยุโรป แก้ปัญหาพลังงานแบบ ‘สิ้นคิด’คุณอามิน นัสเซอร์ ประธานและซีอีโอของบริษัทน้ำมัน Saudi Aramco ซึ่งเป็นบริษัท...
21/09/2022

ซาอุฯ บอก ยุโรป แก้ปัญหาพลังงานแบบ ‘สิ้นคิด’
คุณอามิน นัสเซอร์ ประธานและซีอีโอของบริษัทน้ำมัน Saudi Aramco ซึ่งเป็นบริษัทผู้ผลิตน้ำมันรายใหญ่ที่สุดของโลกจากประเทศซาอุดิอาราเบีย ได้เตือน สหภาพยุโรปว่า วิธีการแก้ปัญหาด้านพลังงานที่พวกเขาทำอยู่ใน ‘สิ้นคิดสิ้นดี’
เพราะการแก้ปัญหาที่กำลังทำอยู่มีแต่ทำให้ปัญหามันหมักหมมเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ไม่หยุด
ตอนนี้เราต้องเข้าใจก่อนว่า ยุโรป กำลังแก้ปัญหาพลังงานในประเทศของพวกเขาด้วยการเก็บภาษีพิเศษจากบริษัทน้ำมัน ที่กำลังได้รับลาภลอย (Windfall Tax) จากกำไรที่เพิ่มขึ้นมูลค่ามหาศาล ปัญหาคือรัฐบาลยุโรปรณรงค์ให้บริษัท น้ำมัน ในตอนนี้ทำการสำรวจและขุดเจาะเพิ่ม แต่เมื่อคุณไปเอากำไรเขาผ่านภาษี แล้วใครที่ไหนมันจะลงทุนเพิ่ม เพราะการลงทุน 1 โครงการจะกินเวลาประมาณ 3-5 ปี ใช้งบประมาณมหาศาล กว่าจะดึงน้ำมันมาใช้ได้หรือขายได้ เมื่อไปเอากำไรเขาแบบนี้บริษัทน้ำมันก็ไม่ลงทุนเพิ่ม
รวมไปถึงตอนนี้รัฐบาลสหภาพยุโรปกำลังพยายามตรึงค่าไฟและก๊าสภาคคครัวเรือนที่มีผลต่อชีวิตของประชาชนต่อบิลไม่ให้สูงเกินเพดานที่กำหนด (ถ้าจำไม่ผิดจะไม่ให้ขึ้นเกิน 13% หรือ 15% ไม่แน่ใจตัวเลขเท่าไร)
แล้วส่วนต่างตรงนี้ใครจ่ายก็ รัฐบาล ครับ แต่ว่าเงินของรัฐบาลมาจากไหนก็ภาษีประชาชนนั่นเอง
แม้ โอเปก จะมีสิ่งที่เรียกว่า Spare Capacity หรือกำลังการผลิตส่วนเกิน แต่เนื่องจากที่ผ่านเหล่าชาวยุโรปและอเมริกาต่างพากันกังวล ‘โลกร้อน’ อยากให้เลิกใช้ทำให้ระยะหลังผลิตน้อยลง แต่ความต้องการยังสูง แบบนี้ก็ต้องไป Spare Capacity มาใช้ ระยะหลังก็เลยเหลือของน้อยไปด้วย
#น้ำมัน #น้ำมันโลก #น้ำมันแพง #โอเปก #ซาอุดิอาราเบีย
ที่มา : reuter
https://www.reuters.com/business/energy/capping-energy-bills-taxing-companies-not-long-term-solution-energy-crisis-2022-09-20/?fbclid=IwAR361lEawkP4Lxz1uAVAwMtwdvAOeE6fzu1y6s9E39VPBTlP_G_JUtWCt1Y

FedEx เร่งปิดออฟฟิศ 90 แห่ง กับอีก 5 สำนักงานใหญ่ รับมือเศรษฐกิจถดถอยCEO ของ FedEx อย่างคุณ Raj Subramaniam ได้ออกเผยผ่า...
21/09/2022

FedEx เร่งปิดออฟฟิศ 90 แห่ง กับอีก 5 สำนักงานใหญ่ รับมือเศรษฐกิจถดถอย
CEO ของ FedEx อย่างคุณ Raj Subramaniam ได้ออกเผยผ่านทาง CNBC ว่า ตอนนี้บริษัทเตรียมที่จะลดเที่ยวบินขนส่งสินค้า จำนวนที่จอดเครื่องบินชั่วคราว เวลาทำงานของพนักงาน ชะลอการจ้างงานออกไป พร้อมกับปิดสาขาระดับท้องถิ่นอีกกว่า 90 แห่ง รวมไปถึงออฟฟิศระดับสำนักงานอีก 5 แห่ง ซึ่งจะประหยัดงบประมาณรายจ่ายได้ราว 500 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
“ปริมาณการขนส่งทั่วโลกปรับตัวลดลง ขณะที่ตอนนี้เศรษฐกิจหภาคจะแย่มาก ๆ ในไตรมาสนี้ (Q3) และจะเป็นทั้งในระดับนานาชาติและสหรัฐอเมริกาด้วย”
รายได้ของทาง FedEx บริษัทขนส่งสัญชาติอเมริกันในไตรมาสที่ 2 นั้นออกมาต่ำกว่าคาดการณ์ที่ 23,590 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยตัวเลขจริงทำได้เพียง 23,200 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ด้านกำไรต่อหุ้นอยู่ที่ (Earnings per share) อยู่ที่ 3.44 ดอลลาร์สหรัฐต่อหุ้น เทียบกับคาดการณ์อยู่ที่ 5.14 ดอลลาร์สหรัฐต่อหุ้น
ที่มา : CNBC
#เศรษฐกิจถดถอย
https://abc7chicago.com/fedex-global-recession-express-delivery-ceo-raj-subramaniam/12237273/

FedEx warned that a global recession could be coming, as demand for packages around the world tumbles.

“Bank of America” ฟันธง น้ำมัน ยืนเหนือ 100 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรลก่อนสิ้นปีBank of America เป็น วาณิชธนกิจ ที่เคยออกมาบ...
20/09/2022

“Bank of America” ฟันธง น้ำมัน ยืนเหนือ 100 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรลก่อนสิ้นปี
Bank of America เป็น วาณิชธนกิจ ที่เคยออกมาบอกในปลายปีที่แล้วว่า น้ำมันจะทะลุ 100 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรลในปี 2022 และก็ทะลุจริง ๆ
ล่าสุดพวกเขาออกมาเตือนอีกครั้ง ว่า ก่อนสิ้นปีจะเห็นราคากลับไปแตะ 100 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรลอีกครั้ง และปีหน้าจะวิ่งอยู่แถว ๆ นี้ทั้งปี คือแพงทั้งปี นั่นเอง
ปีนี้การบริโภคน้ำมันโลกเติบโตขึ้นก็จริง แต่มาจากฝั่งเอเชีย 19% เท่านั้น แต่ปีหน้าเอเชียจะกินสัดส่วนการบริโภคไปถึงไปถึง 86% เลยทีเดียว
ขณะเดียวกันแม้น้ำมันจะยืนอยู่เหนือ 90 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล แต่โอเปกก็ยังคงหั่นกำลังการผลิต และอย่าลืมปีหน้าเศรษฐกิจจีนน่าจะมีพลังขับเคลื่อนมากกว่านี้ก็เป็นได้หลังมาตรการต่าง ๆ ค่อยปลดล็อก
แต่ก็ยังประมาทไม่ได้ เพราะเศรษฐกิจโลกตอนนี้กำลังเดินหน้าเข้าสู่วิกฤตใหญ่แล้ว
ที่มา : fortune
#น้ำมัน #น้ำมันโลก #น้ำมันแพง

ขอบคุณสำหรับการแซงก์ชั่น รอสเนฟต์ ยักษ์น้ำมันรัสเซียทำกำไรสุทธิรวมมากถึง 7,220 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในครึ่งปีแรก“รอสเนฟต์” บ...
17/09/2022

ขอบคุณสำหรับการแซงก์ชั่น รอสเนฟต์ ยักษ์น้ำมันรัสเซียทำกำไรสุทธิรวมมากถึง 7,220 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในครึ่งปีแรก
“รอสเนฟต์” บริษัทน้ำมันยักษ์ใหญ่ของโลกจากรัสเซียทำกำไรสุทธิเพิ่มขึ้น 13% หรือ 432 ล้านรูเบิล ทำให้กำไรสุทธิรวมมากถึง 7,220 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในครึ่งปีแรกของ 2022
ขณะที่หนี้ลดลงมา 12% เมื่อเทียบกับช่วงต้นปี (2022)
เรียกว่าสถานะทางการเงินแข็งแกร่งจริง ๆ นาทีนี้สำหรับ รอสเนฟต์
แม้ทาง รอสเนฟต์ เองจะได้รับผลกระทบจากมาตรการแซงก์ชั่นที่ระดมปล่อยออกมาแบบเมามันจากเหล่าประเทศตะวันตก แต่การควบคุมอุปทานของน้ำมันในขณะนี้ก็ทำให้พวกเขาสามารถจัดการกับต้นทุนด้านขนส่งได้ไม่ยากเย็นอะไร ค่าใช้จ่ายของการขนส่งทางราง และพลังงานไฟฟ้าคิดเป็น 30% ของต้นทุนบริษัท
รอสเนฟต์ สามารถส่งมอบน้ำมันได้มากกว่า 45.8 ล้านตันในช่วง 6 เดือนแรกของปีนี้ ทำยอดขายเพิ่มขึ้น 5.7% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน (2021) หนึ่งในเหตุผลหลักมาจากความต้องการน้ำมันที่เติบโตอย่างต่อเนื่องของบางกลุ่มประเทศที่มีเศรษฐกิจใหญ่ระดับโลก (อินเดียและจีนรึเปล่า?)
ในเวลาเดียวกันยอดขายน้ำมันของตลาดในประเทศก็เพิ่มขึ้น 2 เท่าเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ปี 2021 รอสเนฟต์ จ่ายปันผลไปมูลค่ามากกว่า 441,000 ล้านรูเบิล หรือขึ้นเป็น 7,400 ล้านดอลลาร์สหรัฐไปสู่ผู้ถือหุ้น (รวมไปถึง BP ของ UK ที่ถือหุ้นอยู่ 19.75% แต่สุดท้าย BP สละสิทธิ์เพราะรัสเซียบุกยูเครน)
ทาง CEO ของบริษัทนาย Igor Sechin เผยว่า “ระหว่างครึ่งปีแรกของบริษัทนั้น เราต้องอยู่ภายใต้แรงกดดันของปัจจัยภายนอกที่แสนจะอันตรายในระดับที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนและการแซงก์ชั่นเหล่านี้ก็ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ต้องขอบคุณการที่บริษัทดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพในระดับสูงและการตัดสินใจด้านการบริหารอย่างเหมาะสม ซึ่งเราก็พิสูจน์แล้วว่าสามารถทำให้ธุรกิจดำเนินไปได้อย่างต่อเนื่อง”
ที่มา : RT
#พลังงาน #บริษัทน้ำมัน #รอสเนฟต์

หมีขาวยิ้มมุมปาก!! เยอรมนี กำลังเผชิญหน้ากับคลื่นแห่งการล้มละลาย จากมาตรการแซงก์ชั่นนาทีนี้มาตรการแซงก์ชั่นรัสเซียเริ่มท...
16/09/2022

หมีขาวยิ้มมุมปาก!! เยอรมนี กำลังเผชิญหน้ากับคลื่นแห่งการล้มละลาย จากมาตรการแซงก์ชั่น
นาทีนี้มาตรการแซงก์ชั่นรัสเซียเริ่มทำงานแล้วนะครับ แต่ไม่ได้ทำลายรัสเซียนะครับ มันกำลังทำลายประเทศที่ออกมาตรการเหล่านี้ โดยล่าสุดทางคุณเคลาส์ เอิร์นส์ (Klaus Ernst) ซึ่งเป็นประธานคณะกรรมการสถาบันนิติบัญญัติด้านพลังงาน ได้ออกโรงเตือนว่า เยอรมนีกำลังจะเผชิญหน้ากับคลื่นแห่งการล้มละลายจากมาตรการแซงก์ชั่นที่พวกเขาได้ใช้ไปกับทางรัสเซีย
คุณเคลาส์ แอ็นสท์ ได้ทวิตข้อความลงในทวิตเตอร์ของเขาว่า “จนถึงนาทีนี้เยอรมนีใช้มาตรการแซงก์ชั่นไปแล้ว 7 มาตรการ พร้อมกับ ก๊าซพร้อม กำลังทำกำไรในระดับประวัติศาสตร์อยู่ตอนนี้ ในเวลาเดียวกันพวกเรากำลังถูกคุกคามจากคลื่นแห่งการล้มละลาย เพราะฉะนั้นการต่อรองกับรัสเซียควรจะเป็นอะไรที่เปิดใจ”
พร้อมกับราคาก๊าสและไฟฟ้าที่พุ่งเป็นจรวดอยู่ในขณะนี้ ทำให้สถาบันนักคิดอย่าง Ifo Institute for Economic Research มองว่า วิกฤตพลังงานกำลังเป็นสาเหตุให้เศรษฐกิจเยอรมนีในปี 2023 โตแค่ 0.3% เท่านั้น
ในฝากของประเทศฝรั่งเศสคุณเอลีซาแบ็ต บอร์น ซึ่งเป็นนายกรัฐมนตรีของเมืองน้ำมันก็ได้ออกมาเตือนเช่นกันว่า ในปี 2023 ราคาพลังงาน (แก๊ส) ถูกคาดว่าจะพุ่งสูงกว่าปี 2021 ถึง 5 เท่า!!
นั่นทำให้ราคาขายส่งของไฟฟ้าในฝรั่งเศสจะทำสถิติใหม่หลายครั้งในปีหน้า (2023) ราคาคาดว่าจะสูงกว่า 1,000 ยูโรต่อเมกะวัตต์-ชั่วโมง (36,900 บาทต่อเมกะวัตต์-ชั่วโมง) คิดเป็น 10 เท่าของปีก่อน (2022) ซึ่งทางรัฐบาลของฝรั่งเศสได้สัญญาว่าจะให้ราคาก๊าสและไฟฟ้าขึ้นได้ไม่เกิน 15% ตรงนี้จะทำให้รัฐบาลจะต้องใช้เงินอุดหนุนมากถึง 16,000 ล้านยูโรในปี 2023
ขณะที่รัฐบาลทั่วยุโรปตอนนี้ก็กำลังออกมาตรการมากมายไม่ว่าจะเป็นการให้สิทธิ์ลดหย่อนภาษี ให้เงินอุดหนุน เพื่อต่อสู้กับวิฤตพลังงานซึ่งเป็นตัวเร่งอัตราเงินเฟ้อ พร้อมกับบังคับให้อุตสาหกรรมทั้งหลายหยุดการผลิตราคาค่าไฟฟ้าพุ่งอย่างต่อเนื่อง
ที่มา : RT
#แก๊สรัสเซีย #พลังงาน #รัสเซีย #วิกฤตพลังงาน #เศรษฐกิจเยอรมนี #เศรษฐกิจฝรั่งเศส

ไม่ง้อยุโรป!! รัสเซีย จับมือ จีน วางท่อแก๊ส ‘เอเชียน ฟอร์ซ ไซบีเรีย 2’ กำลังการผลิตมากกว่า 50,000 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อปีอ...
16/09/2022

ไม่ง้อยุโรป!! รัสเซีย จับมือ จีน วางท่อแก๊ส ‘เอเชียน ฟอร์ซ ไซบีเรีย 2’ กำลังการผลิตมากกว่า 50,000 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อปี
อย่างที่เรารู้กัน ท่อลำเลียง นอร์ดตรีม 2 ถูกระงับจากปัญหาการเมืองระหว่างประเทศ โดยที่สหรัฐฯ จะไม่ยอมให้ เยอรมนี จับมือกับ รัสเซีย ได้แนบแน่นเด็ดขาด เพราะฉะนั้นเหตุผลหนึ่งในการยั่วยุให้รัสเซียบุก ยูเครน ก็คือ หาโอกาสแบนเจ้าท่อ นอร์ดตรีม 2 นี้
ล่าสุดเมื่อวันที่ 15 กันยายน 2022 ทาง เอเอฟพี ได้รายงานว่า อเล็กซานเดอร์ โนวัค รัฐมนตรีพลังงานของรัสเซีย ซึ่งได้ให้สัมภาษณ์กับสถานีโทรทัศน์รอสซิยา-1 ของรัสเซีย โนวัค ถูกถามว่ารัสเซียจะแทนที่ท่อลำเลียงยุโรป นอร์ดสตรีม 2 ด้วยท่อลำเลียงเอเชียน ฟอร์ซ ไซบีเรีย 2 ใช่หรือไม่ เขาตอบว่า "ใช่"
เมื่อรวมคำพูดก่อนหน้านี้ที่ท่านได้ให้สัมภาษณ์กับสื่อไว้ว่า ระหว่างการเยือนอุซเบกิสถานทางรัสเซียกับจีนจะลงนามในข้อตกลงต่างๆเกี่ยวกับการส่งมอบก๊าซปริมาณ 50,000 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อปี ผ่านท่อลำเลียงฟอร์ซ 2 ในไซบีเรีย ซึ่งเท่ากับศักยภาพสูงสุดของนอร์ดสตรีม 1 ที่ทำได้ตลอดทั้งปีอยู่ที่ 55,000 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อปี รัสเซียป้อนแก๊สผ่านท่อแห่งนี้ให้กับยุโรปมากถึง 1 ใน 3 เลยทีเดียว ซึ่งตัว เอเชียน ฟอร์ซ ไซบีเรีย 2 มีกำหนดก่อสร้างในปี 2024
โดยทางอเล็กซานเดอร์ โนวัค รัฐมนตรีพลังงานของรัสเซีย เผยว่าการส่งออกก๊าซของรัสเซียไปยังสหภาพยุโรปจะลดลงราว 50,000 ล้านลูกบาศก์เมตรในปี 2022
นอกจากนี้ทาง ก๊าซพรอม รัฐวิสาหกิจผู้ดูแลท่อลำเลียงฟอร์ซ ออฟ ไซบีเรีย 1 ที่เชื่อมบ่อก๊าซ Chaiandina (เคียนีนา) ไปยังภาคตะวันออกเฉียงเหนือของจีน นับตั้งแต่ช่วงสิ้นปี 2019 จะเพิ่มการส่งมอบสู่ระดับ 20,000 ล้านลูกบาศก์เมตรในแต่ละปี
โดยการเชื่อมต่อบ่อก๊าซ Kovytka (คอนเดนเสท) ที่อยู่ใกล้ทะเลสาบไบคาลและเป็นหนึ่งในแหล่งก๊าซธรรมชาติที่ยังไม่ได้พัฒนาที่ใหญ่ที่สุดในไซบีเรียตะวันออกของรัสเซียเข้ากับท่อลำเลียงในช่วงต้นปี 2023 (ฟอร์ซ ออฟ ไซบีเรีย 1) จะเป็นตัวช่วยให้ประสบความสำเร็จตามเป้าหมายของการปรับเพิ่มการส่งมอบ
และในปี 2025 เมื่อสามารถดำเนินการได้เต็มศักยภาพ ท่อลำเลียงแห่งนี้จะสามารถผลิตก๊าซธรรมชาติได้ถึง 61,000 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อปี มากกว่านอร์ดสตรีม 1 เสียอีก ซึ่งจำนวน 38,000 ล้านลูกบาศก์เมตรจะเป็นการป้อนไปสู่ประเทศจีน ภายใต้สัญญาที่ทางก๊าซพรอมและ CNPC รัฐวิสาหกิจพลังงานของจีนเคยทำไว้ตั้งแต่ปี 2014
นอกจากนี้ยังมีการลงนามจากทั้ง 2 ฝ่ายในข้อตกลงสำหรับการสร้างเส้นทางการขนส่งใหม่จากเมืองวลาดิวอสตอคซึ่งถือเป็นมือท่าที่อยู่ทางตะวันออกไกลของรัสเซีย ไปยังทางภาคเหนือของจีนที่จะช่วยเพิ่มปริมาณการส่งก๊าซได้เพิ่มราว 10,000 ล้านลูกบาศก์เมตรเลยทีเดียว
ที่มา : AFP
#แก๊สรัสเซีย #พลังงาน #รัสเซีย #จีนรัสเซีย

กำหนดเพดานราคาพลังงานรอบ จะส่งให้ ‘อียู’ ล่มสลาย ขณะที่พลังงานโลกพุ่งกระฉูดการประท้วงหยุดงานในกลุ่มสหภาพยุโรปนาทีนี้เริ่...
04/09/2022

กำหนดเพดานราคาพลังงานรอบ จะส่งให้ ‘อียู’ ล่มสลาย ขณะที่พลังงานโลกพุ่งกระฉูด
การประท้วงหยุดงานในกลุ่มสหภาพยุโรปนาทีนี้เริ่มลุกลามบานปลายมากขึ้นเรื่อย ๆ ไล่ตั้งแต่ พนักงานไปรษณีย์ในอังกฤษประท้วงขอขึ้นเงินเดือนหลังเจอเงินเฟ้อรุกหนัก มาจนถึงพนักงานสายการบินลุฟท์ฮันซ่าของเยอรมันที่ก็ไม่สามารถตกลงเรื่องผลประโยชน์ด้านค่าแรงกับนายจ้างได้ จนทำให้พนักงานนำโดนนักบินหยุดงานประท้วงไม่ทำงานกันเลยทีเดียว ส่งผลให้เที่ยวบินกว่า 800 ไฟลท์ต้องยกเลิก พร้อมผู้โดยสาร 130,000 คนโดนลอยแพ และล่าสุดที่ประเทศสาธารณรัฐเช็กมีคนออกมาประท้วงรัฐบาลมากกว่า 70,000 คน สาเหตุก็เป็นเรื่องเงินเฟ้อ และไม่อยากให้ประเทศเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของสหภาพยุโรปอีกแล้ว ต้องการให้วางตัวเป็นกลางในเรื่องนี้ แต่รัฐบาลก็บอกว่าคนพวกนี้โปรรัสเซียซะแบบนั้น
ขณะที่ข่าวในฝากฝั่งเรื่องพลังงานที่เป็นต้นทุนชีวิตของประชาชนในสหภาพยุโรปก็มีข่าวด่วนเช่นกัน โดยในช่วงวันพฤหัสบดีที่ 1 กันยายน 2022 ที่ผ่านมามีข่าวจากทางฝากฝั่งของสหรัฐและยุโรปออกมาว่า บรรดารัฐมนตรีคลังจากกลุ่ม G7 จะจัดการเจรจากันในสัปดาห์นี้เกี่ยวกับการอนุญาตให้ทั่วโลกซื้อน้ำมันจากรัสเซียได้ภายใต้เพดานราคาที่กำหนด โดยกลยุทธ์นี้มีสหรัฐเป็นตัวตั้งตัวตีเพื่อหวังว่า จะสามารถบรรเทาแรงกดดันในตลาดพลังงาน พร้อมกับจะทำให้รายได้โดยรวมของรัสเซียที่ได้รับจากการขายน้ำมันดิบนั้นลดลงด้วย
และในช่วงวันที่ 2 กันยายน 2022 ทางรัสเซียก็ได้ออกมาตอบโต้มาตรการนี้ว่า การกระทำของเหล่ารัฐมนตรีกลุ่ม G7 เสียสติสิ้นดีและการทำแบบนี้จะทำลาย ‘ตลาดน้ำมัน’
ย้อนกลับไปในช่วงต้นปีกันสักนิดถ้าใครจำกันได้เราจะรู้ว่า ‘อียู’ นั้นคือหนึ่งกลุ่มที่ยั่วยุให้ยูเครนไปมีปัญหากับรัสเซียจนรัสเซียบุกยูเครน หลังจากนั้นก็ปล่อยมาตรการแซงก์ชั่นออกมาเป็นชุดเพื่อหวังให้ ‘เศรษฐกิจรัสเซียล้มสลาย’ โดยนอกจากไปยึดทรัพย์สินของรัสเซียมากกว่า 300,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐแล้ว พวกเขายังตัดขาดจากพลังงานของรัสเซียซึ่งเป็นอุตสาหกรรมรายได้หลักของพญาหมีขาว แต่พอผ่านไปสักระยะปรากฎว่าทางรัสเซียยืนระยะได้ เพราะน้ำมันและแก๊สเป็นสินค้าพื้นฐานในเมื่อยุโรปไม่เอาไปเลือกของแพงกว่าอย่าง LNG ของสหรัฐ รัสเซียก็เอาไปขายที่อื่นแทน นั่นคือ เอเชีย โดยมีลูกค้าหลักคือ จีน และ อินเดีย ราคาถูกใครจะไม่เอา!!
แต่คนที่ยืนระยะไม่ได้กลายเป็นสหภาพยุโรปซะเองเพราะเนื่องจากพวกเขาเพิ่งพาพลังงานของรัสเซียค่อนข้างมาก และการที่ราคาแก๊สจากรัสเซียมันถูกกว่าก็ทำให้สหภาพยุโรปได้ประโยชน์ในแง่เศรษฐกิจ เพราะทำให้อุตสาหกรรมและธุรกิจมีศักยภาพในการดำเนินงานและแข่งขันได้บนต้นทุนที่ไม่แพงจนเกินไป แต่พอตัดขาดไปเลยทุกอย่างก็พัง อุตสาหกรรมและธูรกิจลำบาก เพราะพลังงานไม่พอและต่อให้สามารถหาซื้อได้จากที่อื่นมันก็แพงเกินไป ทำให้ธุรกิจและอุตสาหกรรมแข่งขันลำบาก เศรษฐกิจก็แย่ตามมาเพราะเมื่อธุรกิจและอุตสาหกรรมแข่งขันไม่ได้ก็ไม่จ้างงานคน คนไม่มีเงินก็ลำบาก ลำบากก็ไม่ใช้จ่าย เศรษฐกิจก็ไม่หมุนเวียน เมื่อไม่หมุนเวียนการเติบโตก็ไม่มี นักลงทุนก็ไม่มีความเชื่อมั่นต่อเศรษฐกิจของอียู ยูโรก็อ่อนตัวเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐจนหลุด 1 ต่อ 1 ซึ่งปกติยูโรจะแข็งกว่าดอลลาร์สหรัฐซะอีก

คราวนี้เราลองมาดูความเห็นของคุณ Martin Hutchinson ซึ่งเป็นทั้งนายธนาคารและนักประวัติศาสตร์เศรษฐกิจ ได้ให้มุมมองที่น่าสนใจว่า การที่ทาง G7 จะไปกำหนดเพดานพลังงานนั้นจะมีผลกระทบในลักษณะเดียวกับมาตรการแซงก์ชั่นต่าง ๆ ที่ได้ทำไปกับรัสเซียก่อนหน้านนี้ “การแซงก์ชั่นรัสเซียจะเป็นดั่งนรกอเวจีสำหรับนักลงทุนตะวันตกที่ไร้เดียงสาทั้งหลาย และผลกระทบต่อรัสเซียก็จะเป็นศูนย์”
โดยทางคุณ Martin Hutchinson เพิ่มเติมอีกว่า การไปกำหนดเพดานแบบนี้จะยิ่งไปทำให้ราคาพลังงานแพงขึ้น เมื่อไปกำหนดเพดานสิ่งที่ตามมาคือ ‘ปริมาณน้ำมันที่จะลดลง’ เพื่อชดเชยราคาที่ถูกกด ขณะเดียวน้ำมันเหล่านี้จะไหลไปที่จีนและอินเดีย รวมไปถึงตะวันออกกลางที่ที่ราคาสูงกว่า หลังจากนั้นก็ค่อยไปที่ยุโรป มันเป็นการกระทำที่โง่มาก!!
มันห่างไกลจากการทำลายเศรษฐกิจรัสเซียมาก ๆ ตะวันตกพยายามจะลงโทษรัสเซียจากผลประโยชน์ที่ได้รับจากการขายพลังงานให้ต่างชาติ แต่สิ่งที่ได้จะเป็นผลักดันให้ราคาพลังงานโลกสูงขึ้นไปแทน
ด้านคุณ Marshall Auerback ซึ่งเป็นนักวิจัยของทาง Levy Economics Institute of Bard College เชื่อว่า “มาตรการนี้นอกจากจะไม่ช่วยให้รัสเซียเจ็บปวดแล้ว หนี้จำนวนมหาศาล (ของกลุ่มประเทศตะวันตก) จะทำให้เศรษฐกิจเติบโตลำบากและรวมไปถึงแนวโน้มความต้องการน้ำมันนั้นก็อยู่ห่างไกลจากคำว่า ‘อ่อนแอ’ มากนัก มันไม่ใช่อะไรอย่างที่ทาง สหรัฐ และ IEA รวมไปถึงตลาดคิดเลย”
การควบคุมราคาจะไม่ทำงาน!!
ข้อมูล : sputniknews, Bloomberg, Reuters
#แก๊สรัสเซีย #ตลาดเงิน #รูเบิล #พลังงาน #น้ำมัน #สหภาพยุโรป

ที่อยู่

บางซื่อ
Bangkok
10800

เบอร์โทรศัพท์

+66945488121

เว็บไซต์

แจ้งเตือน

รับทราบข่าวสารและโปรโมชั่นของ Smart Economicผ่านทางอีเมล์ของคุณ เราจะเก็บข้อมูลของคุณเป็นความลับ คุณสามารถกดยกเลิกการติดตามได้ตลอดเวลา

ติดต่อ ธุรกิจของเรา

ส่งข้อความของคุณถึง Smart Economic:

แชร์

ประเภท


สื่อ อื่นๆใน Bangkok

แสดงผลทั้งหมด

คุณอาจจะชอบ