Reporter Journey เปิดมุมมองทุกข่าวสารอย่าง แตกต่าง ?

21/11/2024

ปตท. เบรกแผนลงทนโรงงานรถ EV หลังฟองสบู่รถยนต์ไฟฟ้าจีนที่ผลิตกันจนเกินความต้องการของตลาดทั่วโลก กระทบยอดจำหน่ายที่ลดลงอย่างรวดเร็วมากกว่าครึ่ง ทำให้หลายค่ายรถต้องเร่งระบายสต๊อกคงค้างโดยการตัดราคากันเอง

21/11/2024

การเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ ที่พึ่งผ่านพ้นไปจบลงด้วยชัยชนะของ 'โดนัลด์ ทรัมป์' ทั่วโลกต่างรู้เรื่องนี้ดี แต่กว่าทรัมป์จะได้รับชัยชนะ พรรครีพับลิกันต้องใช้เงินไปมากแค่ไหน หรือแม้แต่ 'กมลา แฮร์ริส' จากพรรคเดโมแครต ลงเงินไปกับเลือกตั้งครั้งนี้เท่าไหร่ ?
การเลือกตั้งสหรัฐฯ ที่เป็นหนึ่งในอีเวนท์สำคัญที่ทั่วโลกจับตามองมีเม็ดเงินหมุนเวียนมากมายมหาศาล มากเสียกว่างบประมาณในบางกระทรวงฯ บ้านเราเสียอีก
#ทรัมป์ #งบประมาณ #เงินทุน #เลือกตั้งอบจ #เลือกตั้ง #สรุป #เล่าให้ฟัง

20/11/2024

หลังคุณทักษิณ ให้สัมภาษณ์สื่อต่างชาติ ว่าอดีตนายกฯยิ่งลักษณ์ เตรียมกลับไทย คำถามกฺ็คือ นี่คือสิ่งสะท้อน ว่า "ดีล" ยังคงเดิม ใช่หรือไม่?? และการพาอดีตนายกฯยิิ่งลักษณ์กลับไทย จะใช้ "โมเดล" แบบใด ติดตามมุมวิเคราะห์ กับ "จตุพร พรหมพันธ์" วิทยากรคณะหลอมรวมประชาชน ใน ContinuART

[📍 SUMMARY : กรุงโซลเตรียมผลักดันให้แรงงานต่างชาติมาขับรถบัส หลังเมืองขาดแคลนพนักงานขับรถโดยสารประจำทาง ด้านเจ้าหน้าที่ร...
19/11/2024

[📍 SUMMARY : กรุงโซลเตรียมผลักดันให้แรงงานต่างชาติมาขับรถบัส หลังเมืองขาดแคลนพนักงานขับรถโดยสารประจำทาง ด้านเจ้าหน้าที่ระดังสูงในเกาหลีใต้เผย ขาดทุกที่ ต้องการทุกภาคส่วน ตั้งแต่พี่เลี้ยงเด็ก ไปจนถึงผู้เชี่ยวชาญด้านวัสดุก่อสร้าง แต่ขาดแค่ไหนก็ยังไม่มีชื่อประเทศไทยในข่ายพิจารณารับสมัคร]
เป็นอีกครั้งที่มีข่าวในลักษณะนี้จากสื่อเกาหลีใต้ The Korea Times รายงานว่าตอนนี้รัฐบาลกำลังเร่งดำเนินการเบื้องหลังเพื่อดึงดูดแรงงานต่างชาติมาช่วยงานในหลากหลายอุตสาหกรรมมากขึ้น ก่อนหน้านี้เราอาจเห็นว่าเกาหลีใต้จ้างแรงงงานชาวฟิลิปปินส์มาเป็นพี่เลี้ยงเด็ก และตอนนี้เป็นคราวของ ‘คนขับรถบัส’
ภาคขนส่งมวลชนอย่าง ‘อุตสาหกรรมรถโดยสารประจำทาง’ หรือ ‘รถบัส’ กำลังเป็นภาคส่วนที่รัฐบาลกำลังพิจารณา ณ ตอนนี้ ‘กระทรวงการจ้างงานและแรงงาน’ (The Ministry of Employment and Labor) ออกมาให้ข้อมูลว่าตอนนี้ทางกระทรวงกำลังพิจารณาข้อเสนอของรัฐบาลกรุงโซลที่จะขยายสิทธิ์ในการขอวีซ่า E-9 เพื่อให้สามารถจ้างแรงงานต่างชาติมาขับรถโดยสารประเภทต่าง ๆ ในกรุงโซล
ซึ่งเรื่องนี้เกิดขึ้นหลังจากรัฐบาลกรุงโซลเผชิญปัญหาเรื้อรังจากการขาดแคลนพนักงานขับรถโดยสารประจำทาง ทำให้รัฐบาลกรุงโซลต้องยื่นข้อเสนอดังกล่าวให้กระทรวงการจ้างงานและแรงงานพิจารณาเมื่อช่วงเดือนตุลาคมที่ผ่านมา
เจ้าหน้าที่อาวุโสประจำแผนกนโยบายตรวจคนเข้าเมือง ออกมาพูดถึงปัญหาการขาดแคลนแรงงานในเกาหลีใต้ว่าไม่ใช่แค่เพียงอุตสาหกรรมรถโดยสารประจำทางเท่านั้นที่เจอปัญหาขาดแคลนแรงงาน แต่เป็นปัญหาของหลาย ๆ ภาคส่วนในเกาหลีใต้
“รถโดยสารประจำทางเป็นเพียงหนึ่งในหลาย ๆ ภาคธุรกิจที่ต้องการแรงานต่างชาติเพิ่ม ท่ามกลางสถานการณ์ปัญหาขาดแคลนแรงงานในเกาหลีใต้ หลายเดือนที่ผ่านมาเรากำลังพยายามขอให้รัฐบาลกลางพิจารณาขยายใบอนุญาตการทำงานให้แรงงานต่างชาติอยู่ และเราก็หวังว่าภาคส่วนอื่น ๆ จะเห็นดีเห็นงามและร่วมผลักดันไปกับเรา เช่น กลุ่มงานการดูแลผู้สูงอายุ”
กลับมาที่สถานการณ์ของรถโดยสารประจำทาง รถโดยสารประจำทางที่กำลังถูกพิจารณาว่าจะให้แรงงานต่างชาติมาขับได้หรือไม่คือ ‘รถเมล์สายแมอึล’ โดยสายรถเมล์นี้มีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการว่า ‘รถเมล์ประจำเมือง’ เป็นรถที่วิ่งบนเส้นทางสั้น ๆ เชื่อมต่อผู้คนจากเมืองกับป้ายรถเมล์สายหลัก และสถานีรถไฟใต้ดิน
สำหรับคนขับรถโดยสารประจำทางหลาย ๆ คน การทำงานเป็นคนขับรถเมล์สายแมอึลจะถือเป็นก้าวแรกสู่การมีงานทำในบริษัทขนส่งที่ใหญ่กว่า-จ่ายค่าจ้างสูงกว่า (stepping stone) ซึ่งส่งผลให้ผู้ประกอบการรถเมล์ประจำเมืองประสบปัญหาขาดแคลนคนขับอย่างหนักและบ่อยครั้ง เพราะจะเจอสถานการณ์ที่คนขับรถมาขับได้แปป ๆ และก็ลาออกไปขับสายอื่น
ข้อเสนอที่จะให้ชาวต่างชาติขับรถเมล์สายแมอึลนี้เกิดขึ้นพร้อม ๆ กับข้อเสนอที่รัฐบาลเมืองกำลังพยายามผลักดันโครงการนำเข้าพี่เลี้ยงเด็กชาวฟิลิปปินส์ ให้เป็นโครงการในระดับชาติ หลังจากที่ตัวโครงการจะสิ้นสุดช่วงเวลานำร่อง 6 เดือนในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.2568 และตอนนี้เองที่โครงการนำเข้าพี่เลี้ยงเด็กอาจจะมีการรับสมัครจากประเทศอื่นนอกเหนือจากฟิลิปปินส์เพิ่มเติม ได้แก่ อินโดนีเซีย, ศรีลังกา และเวียดนาม
เช่นนั้น ถ้าโครงการพี่เลี้ยงเด็กไปได้สวย แล้วทำไมเรื่องนี้จะเกิดขึ้นไม่ได้กับโครงการพนักงานขับรถบัสหละ
การจ้างแรงงานต่างชาติของเกาหลีใต้ไม่ใช่เรื่องแปลก แถมเป็นการดำเนินการตามนโยบายของรัฐบาลกลางเสียด้วยซ้ำ ก่อนหน้าจะมีโครงการพี่เลี้ยงเด็ก โครงการคนขับรถบัส ‘กระทรวงการที่ดินการขนส่งและโครงสร้างพื้นฐาน’ ก็มีความพยายามเช่นกันในการขอใบอนุญาต ขยายอำนาจของวีซ่า E-7-3 เพื่อจ้างแรงงานต่างชาติในตำแหน่งผู้เชี่ยวชาญในการจัดการคอนกรีต-เหล็กเส้น
เพราะงานก่อสร้างคือหนึ่งในอุตสาหกรรมที่ถูกเด็กเกาหลีรุ่นใหม่มองว่าเป็นงานที่ยาก ทำให้คนในอุตสาหกรรมต้องดิ้นรนอย่างเต็มที่เพื่อเติมเต็มช่องว่างด้านแรงงานที่คนเกษียณไปก่อนหน้าทิ้งไว้ และจากรายงานที่เผยแพร่เมื่อวันที่ 2 กันยายนโดยสมาคมช่วยเหลือแรงงาน ระบุว่าอายุเฉลี่ยของคนงานในอุตสหกรรมนี้อยู่ที่ 51.8 ปี
รัฐบาลเกาหลีใต้โดยกระทรวงแรงงานเคยให้คำสัญญาอยู่บ่อยครั้งว่าจะแก้ปัญหาการขาดแคลนแรงงานในประเทศ และต่อจากนี้คงคาดการณ์ได้ว่าเราอาจจะเห็นชาวเวียดนามหรือฟิลิปินส์มาขับรถบัสขนส่ง ดีไม่ดีอาจจะได้เจอตั้งแต่รถบัสที่สนามบินเลยก็เป็นได้ เพราะสถานการณ์แรงงานในประเทศเกาหลีใต้เป็นปัญหาของหลาย ๆ ภาคส่วนจริง ๆ แต่ก็เป็นเรื่องที่น่าแปลกที่ไม่มีชื่อของประเทศไทยในการถูกกล่าวถึงว่าจะพิจารณาจ้างงานในเกาหลีใต้เลย

19/11/2024

GDP ไทยไตรมาส 3/2567 ยังโตต่ำสุดในอาเซียนแค่ 3% คาดทั้งปีโตแค่ 2.6% ขณะที่ประเทศที่พัฒนาสูงกว่าคนน้อยกว่าอย่างมาเลเซียโต 5.3%, สิงคโปร์โต 4.1% ส่วนประเทศที่พัฒนาตามมาแถมคนเยอะเป็นหลักร้อยล้านคนอย่าง เวียดนามโต 7.4% ฟิลิปปินส์ 5.2% อินโดนีเซีย 4.95%
แล้วเราจะอ้างอะไรอีก?

[📍 SUMMARY : อินเดียเจอวิกฤตค่าครองชีพ มะเขือเทศราคาพุ่ง 161% สินค้าอุปโภคบริโภค เช่น ข้าว ผัก โรตี ฯลฯ ปรับตัวแพงขึ้นกว...
18/11/2024

[📍 SUMMARY : อินเดียเจอวิกฤตค่าครองชีพ มะเขือเทศราคาพุ่ง 161% สินค้าอุปโภคบริโภค เช่น ข้าว ผัก โรตี ฯลฯ ปรับตัวแพงขึ้นกว่า 20% เป็นราคาที่แพงที่สุดในรอบ 14 เดือน ตอนนี้ชาวอินเดียเจอปัญหาค่าครองชีพสูงสวนทางรายได้ ตลาดทุนก็เจอนักลงทุนต่างชาติถอนเงินออกจากตลาดหุ้นไปแล้วกว่าสี่แสนล้านบาท]
ถ้าเมื่อปีที่แล้วคุณผู้อ่านเคยซื้อมะเขือเทศในราคาลูกละ 20 บาท
แต่พอมาปีนี้กลับต้องซื้อในราคาลูกละ 32 บาท !
สถานการณ์นี้คงสร้างภาระทางการเงินกับกระเป๋าสตางค์คุณผู้อ่านพอสมควร เพราะราคานี้แทบจะเป็นราคาที่พุ่งแรงแซงหุ้นในพอร์ทลงทุน พลันทำให้คุณผู้อ่านคิดว่าถ้าราคาจะพุ่งขนานี้ รู้งี้ลงทุนในมะเขือเทศอาจจะดีกว่าลงทุนในหุ้นเสียอีก แต่สถานการณ์ราคามะเขือเทศพุ่งไม่ใช่เรื่องสมมุติ
เพราะสถานการณ์ข้างต้นคือสถานการณ์ที่ประชาชนชาวอินเดียกำลังเจอตอนนี้ ตอนนี้อินเดียราคามะเขือเทศแพงขึ้น 161% ใช่แล้ว อ่านไม่ผิด “แพงขึ้น 161%”
ของแพงไม่ใช่เป็นปัญหาแค่ที่ประเทศไทย สหรัฐอเมริกา หรือฮ่องกง แต่ตอนนี้อินเดียก็กำลังเจอสถานการณ์ #ของแพง เช่นกัน ไม่ว่าจะข้าว, โรตี, ผัก, สลัด, โยเกิร์ต สินค้าอุปโภคบริโภคเหล่านี้ราคาปรับตัวขึ้น 20% เมื่อเทียบกับปีที่แล้ส ซึ่งเป็นราคาที่สูงสุดในรอบ 14 เดือน จากข้อมูลของ CRISIL บริษัทในเครือ S&P Global Inc.
ปัญหาค่าครองชีพที่สูง ที่มาพร้อมกับรายได้ที่ลดลงของประชาชน กำลังบั่นทอนกำลังซื้อของผู้บริโภค โดยเฉพาะยิ่งในเมืองหลวงอย่างมหานครมุมไบ (ปัญหานี้เป็นปัญหาเดียวกับที่ประชากรชาวกรุงเทพเผชิญ) ไม่เพียงเท่านั้นตอนนี้ตลาดทุนของอินเดียก็กำลังเจอแรงเทขายอย่างหนัก ในไตรมาสล่าสุดนักลงทุนต่างชาติถอนเงินออกจากตลาดหุ้นอินเดียไปแล้วกว่า 13,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว ๆ 452,640 ล้านบาท)
และสถานการณ์นี้จะยิ่งได้รับผลกระทบมากขึ้นในปี 2025 หลังจากที่โดนัลด์ ทรัมป์ เตรียมขึ้นดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐฯ เพราะอินเดียถือเป็น 1 ในประเทศที่มีความสำคัญทางภูมิรัฐศาสตร์ (Geopolitics) และเป็นหนึ่งในประเทศผู้เล่นสำคัญของสงครามการค้า จีน-สหรัฐ
อินเดียยังเป็นอีกหนึ่งสมรภูมิรถยนต์ไฟฟ้าจากทั้งจีนและสหรัฐอเมริกาเช่นกัน ถึงแม้ในตอนนี้โครงสร้างพื้นฐานของประเทศจะยังไม่เข้ารูปเข้ารอยที่จะรองรับการโลดแล่นของรถยนต์ไฟฟ้ามากนัก แต่ก็เป็นโอกาสอันดีในอนาคตเช่นกัน จากทั้ง BYD ที่อาจจะได้เปรียบเรื่องราคา หรือ TESLA ที่อาจจะเจาะกลุ่มชาวอินเดียที่มั่งคั่ง
และถ้าพูดถึงอินเดีย อินเดียไม่ใช่ประเทศที่จะได้รับผลกระทบจากสงครามการค้าเท่านั้น เพราะเมื่อทรัมป์ขึ้นดำรงประธานาธิบดีสหรัฐฯ ในปีหน้าพร้อมกับมี ‘อีลอน มัสก์’ เคียงข้าง ผลของเรื่องนี้อาจทำให้บริษัทของอีลอนได้ผลประโยชน์จากการสนับสนุนทรัมป์อย่างเต็มที่ ในเรื่องของความขัดแย้งด้านการเข้าไปทำธุรกิจของบริษัท Starlink Inc. กับรัฐบาลอินเดีย
กล่าวได้ว่า อินเดียคือหนึ่งในประเทศที่น่าจับตามองอย่างมากต่อจากนี้ในเวทีโลก ทว่าตอนนี้มีเรื่องที่เร่งด่วนยิ่งกว่าคือราคาของสินค้าอุปโภคบริโภคที่ปรับตัวสูงขึ้นที่ ‘นเรนทระ โมที’ นายกรัฐมนตรีอินเดียต้องรับมือ

16/11/2024

หลายประเทศฝั่งยุโรปมีการขึ้นกำแพงภาษีนำเข้ารถยนต์ไฟฟ้าจากจีน เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการแข่งขันที่ไม่เป็นธรรมด้านราคากับผู้ผลิตในประเทศ
สถานการณ์กำแพงภาษีที่รุนแรงขึ้นทำให้จีนไม่อาจนิ่งเฉยอีกต่อไป และแก้เกมด้วยการตั้งกำแพงภาษีใส่ยุโรปเช่นกัน แต่ไม่ได้ตั้งกำแพงภาษีกับรถยนต์ไฟฟ้า แต่มุ่งตั้งกำแพงภาษีไปที่ 'บรั่นดี' แทน ทำไมบรั่นดีถึงกลายมาเป็นสินค้าที่ถูกจีนหยิบขึ้นมาโต้ตอบสงครามกำแพงภาษี ติดตามได้ในคลิปนี้

#รถไฟฟ้า #ภาษี #บรั่นดี #สรุป

MAGURO Group x Guss Damn Good สร้างประสบการณ์ใหม่ด้วยไอศกรีมรสชาติพิเศษ “Give Good Things“ และอีก 3 รสชาติที่ทุกคนสามารถ...
16/11/2024

MAGURO Group x Guss Damn Good สร้างประสบการณ์ใหม่ด้วยไอศกรีมรสชาติพิเศษ “Give Good Things“ และอีก 3 รสชาติที่ทุกคนสามารถมาลิ้มลองเฉพาะที่ MAGURO เท่านั้น!
MAGURO Group มุ่งมั่นสร้างสรรค์ประสบการณ์ที่ดีให้กับลูกค้าเสมอมา หนึ่งในนั้นคือการแสดงออกผ่าน Collaboration Event อีเวนท์ที่มอบประสบการณ์แปลกใหม่และน่าจดจำผ่านการร่วมมือกับแบรนด์ชั้นนำ ไม่ว่าจะเป็น MAGURO x No Name Noodle, HITORI SHABU x Fillet และ SSAMTHING TOGETHER x Chef Black
และมาครั้งนี้ MAGURO สร้างประสบการณ์สุดประทับใจอีกครั้งด้วยการประกาศร่วมมือกับ Guss Damn Good แบรนด์ไอศกรีมชื่อดัง ที่สร้างสรรค์ไอศกรีมที่ไม่เหมือนใครด้วยวัตถุดิบคุณภาพสูงจากทั่วโลก มอบความพิเศษในการนำเสนอรสชาติที่เต็มไปด้วยเอกลักษณ์ ผ่านคอนเซปต์ “Story to Flavor” ถ่ายทอดรสชาติผ่านเรื่องราวที่น่าประทับใจ
ในการร่วมมือครั้งสำคัญนี้ MAGURO และ Guss Damn Good ตั้งใจที่จะดึงเอกลักษณ์และความเป็นที่สุดของทั้งสองแบรนด์ออกมาผ่านการสร้างสรรค์ “GIVE GOOD THINGS” ไอศกรีมที่มี 'แรงบันดาลใจจากความอบอุ่นของวัฒนธรรมญี่ปุ่น' ซึ่งมอบประสบการณ์รสชาติที่พิเศษเฉพาะที่ MAGURO เท่านั้น
อ่านบทความ และความเป็นมาของ 'MAGURO x Guss Damn Good' ที่ร่วมกันสร้างประสบการณ์ใหม่ด้วยไอศกรีมรสชาติพิเศษ Give Good Things และอีก 3 รสชาติได้ที่เว็บไซต์

MAGURO Group ร่วมมือกับ Guss Damn Good สร้างประสบการณ์ใหม่ด้วยไอศกรีมรสชาติพิเศษ Give Good Things และอีก 3 รสที่สามารถมาลิ้มลองที่ MAGURO .....

[📍 SUMMARY : ผลสำรวจ 1 ใน 3 ของกลุ่มผู้เปราะบางที่ได้รับเงินกระตุ้นเศรษฐกิจ มองว่ามาตรการนี้จะ ‘ไม่ช่วย-ช่วยน้อย’ ในการก...
15/11/2024

[📍 SUMMARY : ผลสำรวจ 1 ใน 3 ของกลุ่มผู้เปราะบางที่ได้รับเงินกระตุ้นเศรษฐกิจ มองว่ามาตรการนี้จะ ‘ไม่ช่วย-ช่วยน้อย’ ในการกระตุ้นเศรษฐกิจประเทศ ไม่ได้กระตุ้นเศรษฐกิจในพื้นที่อย่างมีนัยสำคัญ ส่วนใหญ่นำเงินไปใช้ประคับประคองชีวิตระยะสั้น กว่าครึ่งนำเงินไปใช้หนี้ และ 47% ใช้เงินหมดแล้ว]
ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย สำรวจประชากรชาวไทย โดยใช้กลุ่มตัวอย่าง 1,250 คนทั่วประเทศ กระจายในแต่ละภูมิภาคที่สัดส่วนกลุ่มตัวอย่างเท่า ๆ กัน ถึง “ทัศนะต่อมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจปี 2567 ผ่านผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐและบัตรพิการ ในเรื่องของเงิน 10,000 บาท” ที่ได้รับไปก่อนหน้า
จากกลุ่มตัวอย่าง 1,250 คนมีเพียง 21.6% หรือ 270 คนเท่านั้นที่ได้รับเงินกระตุ้นเศรษฐกิจ 10,000 บาท การสำรวจในครั้งนี้ยังฉายภาพให้เห็นว่าคนกลุ่มนี้ที่ได้รับเงิน 10,000 บาทจากรัฐบาล เขานำเงินไปทำอะไรกันบ้าง
🔵 จาก 270 คนที่ได้รับเงิน 10,000 บาท นำเงินไปใช้จ่ายกับอะไรบ้าง (คน 1 คนสามารถใช้จ่ายได้หลายรายการ)
-ซื้อสินค้าอุปโภคบริโภค : 259 คน
-ซื้อเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอร์ : 194 คน
-ซื้อเครื่องดื่มแอลกอฮอร์ : 37 คน
-นำไปเติมน้ำมัน/เติมแก๊ซ : 154 คน
-ซื้อแก๊ซหุงต้ม : 146 คน
-ซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้า : 115 คน
-ซื้อยารักษาโรค : 104 คน
-สินค้าเพื่อการเกษตรและการค้า : 92 คน
-ซื้อธูปเทียนและเครื่องสักการะ : 79 คน
-ซื้อผลิตภัณฑ์ในชุมชน : 37 คน
-ซื้อสินค้าเพื่อการศึกษา : 63 คน
-ซื้อสลากกินแบ่งรัฐบาล : 51 คน
-ซื้อกัญชา/กระท่อม : 4 คน
-ใช้หนี้เก่า : 140 คน
-เก็บออม : 56 คน
จากพฤติกรรมการใช้เงิน 10,000 บาท ของกลุ่มเปราะบาง 270 คนจะพบว่าครึ่งหนึ่งนำเงินไปใช้หนี้ และเกือบทุกคนจะนำเงินไปใช้จับจ่ายในชีวิตประจำวัน เช่นการซื้อสินค้าอุปโภคบริโภค ซื้อเครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอร์ และมีเพียงส่วนน้อยที่นำไปซื้อแอลกอฮอร์ หรือแม้แต่ซื้อกัญชา ถึงแม้จะเป็นส่วนน้อย แต่ก็ยังมีให้เห็น
ไม่เพียงเท่านั้น 270 คนที่ได้รับเงินในครั้งนี้ 47.3% หรือ 127 คนใช้เงิน 10,000 บาท หมดแล้ว
นอกจากนี้กลุ่มคนที่ได้รับเงินจำนวนนี้กว่า 32.3% มีความคิดเห็นว่าเงินก้อนนี้ ‘จะไม่ช่วย-ช่วยน้อย’ ในการกระตุ้นเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ หรือแม้แต่ไม่ได้กระตุ้นเศรษฐกิจในพื้นที่ และ เพิ่มยอดขายให้กับผู้ประกอบการ หรือยกระดับคุณภาพชีวิตของตนอย่างมีนัยสำคัญ
เรื่องนี้ชวนตั้งข้อสงสัยว่าท้ายที่สุดมาตรการนี้จะกระตุ้นเศรษฐกิจประเทศไทย และจะก่อเกิดพายุหมุนทางเศรษฐกิจจริง ๆ หรือไม่ ? เพราะขนาดกลุ่มเปราะบางที่ได้รับเงินไปแล้วยังไม่เห็นเป็นเช่นนั้น เงิน 10,000 บาทนี้ดูจะเป็นเพียงเงินที่ช่วยประคับประคองให้มีวิตรอดไปในระยะสั้นเสียมากกว่าสำหรับคนกลุ่มนี้
การสำรวจกลุ่มตัวอย่าง 1,250 คน ครั้งนี้ยังมาพร้อมกับคำถามส่งท้ายว่าท่านคิดว่าเศรษฐกิจไทยจะฟื้นกี่โมง ? ซึ่งกว่า 50% ของผู้ตอบแบบสำรวจครั้งนี้คิดว่ากว่าเศรษฐกิจไทยจะฟื้น ขยายตัวดี อาจต้องรอไปถึงไตรมาสที่ 2 ปีหน้า หรือกว่า 26% มองว่าอาจจะต้องไปถึงครึ่งปีหลังของปีหน้าเลยทีเดียว
มาถึงตรงนี้คุณผู้อ่านคิดว่าเศรษฐกิจไทยจะฟื้นตัวกี่โมง ?
ภาพ : ถิรายุ แซ่โค้ว

[📍 SUMMARY : ชาวสวนยางพาราอินโดหนีไปทำงานอื่น หลังไม่ได้รับการสนับสนุนจากรัฐฯ ราคายางตกต่ำ ด้านชาวสวนไทยก็เจอปัญหาหนี้ ต...
15/11/2024

[📍 SUMMARY : ชาวสวนยางพาราอินโดหนีไปทำงานอื่น หลังไม่ได้รับการสนับสนุนจากรัฐฯ ราคายางตกต่ำ ด้านชาวสวนไทยก็เจอปัญหาหนี้ ต้นทุนเพิ่ม รายได้ผันผวน 2 ประเทศผู้ผลิตยางเบอร์ต้นโลกต่างเจอปัญหา ซ้ำเตรียมเจอกฎ EUDR เล่นงาน ดันผู้เล่นหน้าใหม่ ‘ไอวอรีโคสต์’ กระโดดขึ้นมาเป็นเบอร์ 3 ผู้ผลิตยางโลก]
ไอวอรีโคสต์ (Ivory Coast) หรืออีกชื่อ 'สาธารณรัฐโกตดิวัวร์' ประเทศในภูมิภาคแอฟริกาตะวันตก อาจจะกำลังจะก้าวขึ้นมาเป็นผู้ผลิตยางรายใหญ่ของโลก แทนที่ประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อย่างบ้านเรา ๆ ในอนาคต (ตอนนี้กำลังไล่ตามไทยอยู่ห่าง ๆ) โดยหนึ่งในแรงหนุนที่อาจทำให้ไอวอรี่โคสต์ก้าวขึ้นมาเป็นเบอร์ต้น ๆ ของโลกมาจากกฎระเบียบด้านความยั่งยืนที่กำลังพิจารณาในยุโรป
ในปี พ.ศ.2566 ไอวอรีโคสต์ กรีดยางได้ถึง 1.55 ล้านตัน ซึ่งเป็นตัวเลขที่เพิ่มขึ้นเกือบ 2 เท่าจากที่เคยผลิตได้ที่ 815,000 ตันในปี พ.ศ.2562 ซึ่งปริมาณผลผลิตยางที่ไอวอรีโคสต์ทำได้ในปีนี้แซงหน้าเวียดนาม ไล่ตามไทย และอินโดนีเซีย ขยับขึ้นมาเป็นประเทศผู้ผลิตยางอันดับ 3 ของโลก
การเติบโตอย่างก้าวกระโดดนี้เป็นผลมาจากการที่เกษตรกรหลายครอบครัว ‘ผันตัวจากปลูกโกโก้ มาปลูกยางพารา’ ซึ่งเหตุผลเบื้องหลังที่ทำให้เกษตรกรต้องเปลี่ยน เป็นเพราะ ‘กฎระเบียบด้านความยั่งยืน’ (ข้อกำหนด EUDR) ที่กำลังพิจารณาที่ว่าด้วยสินค้าใด ๆ ก็ตามที่ขายในยุโรปต้องมีหลักฐานยืนยันว่าไม่ก่อให้เกิดการตัดไม้ทำลายป่า ซึ่งกฎระเบียบนี้เอื้อแก่สวนยางพารา เกษตรกรจึงต้องหาทางที่จะทำให้แน่ใจว่ารายได้ของตัวเองในอนาคตจะไม่กระทบ ถึงแม้จะต้องเปลี่ยนจากปลูกโกโก้มาทำสวนยางพาราก็ตาม
อ่านมาถึงตรงนี้ ‘ข้อกำหนด EUDR’ ก็เป็นความท้าทายและสร้างความน่ากังวลเช่นกัน เพราะจะมีเพียงผู้ประกอบการรายใหญ่เท่านั้นที่มีกำลังและระบบที่ดีพอ ที่ทำให้สามารถตรวจย้อนกลับไปหาหลักฐานยืนยันว่าผลผลิตไม่ได้ก่อให้เกิดการตัดไม้ทำลายป่า ในขณะที่ผู้ผลิตรายย่อย-รายเล็กอาจไม่สามารถทำได้เช่นนั้น
‘ทาคาฮิโระ ไซโตะ’ (Takahiro Saito) หนึ่งในสมาชิกของศูนย์ความเป็นเลิศด้านความยั่งยืน PwC Japan Group ให้ข้อมูลว่าหลายบริษัทกำลังพิจารณาเปลี่ยนคู่ค้าไปทำธุรกิจกับบริษัทที่สามารถทำตามกฎระเบียบของยุโรปได้ มูฟเม้นนี้จะส่งผลทั้งแง่บวกและลบไปยังบริษัท ผู้ประกอบการ จนถึงการจ้างงานของบริษัทต่าง ๆ
เกษตรกรขาวไอวอรีโคสต์ที่ปฏิบัติตามกฎ EUDR ได้สำเร็จจะได้รับประโยชน์อย่างมาก จากทั้งการมีกฎระเบียบสนับสนุน การสร้างรายได้ในระยะยาว และคุณค่าของการทำเพื่อโลก และไม่แน่ว่าอาจจะหมายถึงการเปลี่ยนโฉมหน้าประเทศเบอร์ 1 ที่ผลิตและส่งออกยางพาราโลกก็ได้ในอนาคต
ตัดกลับมาที่อาเซียนบ้านเรา ปัจจุบันอินโดนีเซียและไทยผลิตยางธรรมชาติได้ประมาณครึ่งหนึ่งของโลก แต่อินโดนีเซียซึ่งเป็นผู้ผลิตรายใหญ่อันดับสองของโลกกลับผลิตยางได้ลดลง 20% จากปี พ.ศ.2562 โดยผลิตได้ราว ๆ 2.65 ล้านตันในปี พ.ศ.2566 (ต่างจากไอวอรีโคสต์ที่ผลิตได้มากขึ้น) ซึ่งมาจากการที่ชาวสวนยางพาราอินโดนฯ มีจำนวนลดลง เรื่องนี้ก็เป็นผลมาจากที่รัฐบาลอินโดฯ อีกทีที่ไม่ได้ให้การสนับสนุนชาวสวนยางพาราอย่างจริงจังในช่วงเวลา 3-4 ปีที่ผ่านมาจนราคายางพาราตกต่ำ ชาวสวนยางพาราอินโดฯ จึงค่อย ๆ หนีไปปลูกผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ที่สร้างรายได้ให้ตนได้มากกว่า
แล้วชาวสวนอินโดฯ ไม่ต้องคำนึงถึงกฎระเบียบ EUDR นี้หรือ ?
อินโดนีเซียเป็นหนึ่งในประเทศที่ ‘ขยับตัวช้า’ ในการเตรียมตัวสำหรับกฎ EUDR ที่จะเกิดขึ้น อินโดฯ จึงเลือกที่จะหลีกหนีกฎระเบียบและส่งออกผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ รวมทั้งยางพาราไปยังประเทศที่อยู่นอกสหภาพยุโรป เช่น จีนและอินเดียแทน ส่วนในด้านของกฎระเบียบและประเทศไทยเรียกได้ว่า #ลอยตัว
ประเทศไทย ถือเป็นผู้ผลิตยางรายใหญ่ที่สุดของโลกถ้าจะมาตกม้าตายเพราะกฎระเบียบก็อาจจะไม่ใช่เรื่องที่ส่งผลดีนักต่อประเทศ ‘หน่วยงานกำกับดูแลยาง’ ได้ประกาศเปิดตัวแพลตฟอร์มข้อมูลที่ติดตามสถานที่ตั้งของสวนยาง รวมถึงข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินการแปรรูปยางทั่วประเทศ ซึ่งสอดคล้องกับกฎระเบียบ EUDR
แต่ประเทศไทยก็มีปัญหาและความท้าทายเฉพาะตัวของประเทศเช่นกัน ถ้าตัดเรื่องราคาและนโยบายสนับสนุนจากภาครัฐออก ประเทศไทยประสบปัญหาฝนตกหนักและน้ำท่วมมาตั้งแต่ช่วงต้นปี ช่วงต้นเดือนกันยายนก็เผชิญกับพายุไต้ฝุ่นยางิ การเปลี่ยนแปลงเรื่องสภาพภูมิอากาศคือหนึ่งในปัญหาที่ไม่อาจควบคุมได้ที่ประเทศไทยเผชิญ
นอกจากนี้ถึงแม้ไทยจะเป็นประเทศที่ผลิตและส่งออกยางได้เป็นเบอร์ 1 ของโลก แต่เกษตรชาวสวนยางไทยกลับมีรายได้ไม่พอรายจ่าย รายได้ก็ผันผวน เจอปัญหาความไม่มั่นคงในที่ดินทำกินของตัวเอง หรือแม้แต่สำนักข่าวไทยรัฐรายงานไว้เมื่อวันที่ 29 มีนาคม พ.ศ.2566 ว่า ‘น้ำยางพาราที่กรีดได้นับวันยิ่งต่ำเตี้ย แพ้ประเทศอื่น’
อย่างที่ได้กล่าวไป นอกเหนือจากเรื่องของกฎระเบียบ ประเทศไทยก็มีปัญหาและความท้าทายเฉพาะตัวของประเทศอยู่เช่นกัน และในซักวันหนึ่งเราอาจต้องมองไอวอรีโคสต์เป็นคู่แข่งโดยตรงอีกประเทศก็เป็นได้
ภาพ : Reuters

[📍 SUMMARY : เดอะคลีนิกค์เผย กลุ่มผู้ที่เข้าคลินิกเสริมความงามมีอายุน้อยลงเรื่อย ๆ มีกลุ่มผู้ชายมากขึ้น ค่านิยมและพฤติกร...
14/11/2024

[📍 SUMMARY : เดอะคลีนิกค์เผย กลุ่มผู้ที่เข้าคลินิกเสริมความงามมีอายุน้อยลงเรื่อย ๆ มีกลุ่มผู้ชายมากขึ้น ค่านิยมและพฤติกรรมคนไทยเริ่มเปลี่ยน มองการทำหัตถการเสริมความงามเหมือนเป็นการดูแลร่างกาย ทำธุรกิจเสริมความงามในไทยโต มูลค่าตลาดกว่าเจ็ดหมื่นล้านบาท ดันไทยมีชื่อเสียงติด 1 ใน 5 ของโลก]
ถ้าพูดถึงภาคธุรกิจที่ขึ้นชื่อของประเทศไทย หลาย ๆ คนคงนึกถึงการท่องเที่ยว, การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ, ท่องเที่ยวและอาหาร ฯลฯ แต่รู้หรือไม่ ยังมีอีกหนึ่งภาคอุตสาหกรรมที่ประเทศไทยก็มีชื่อเสียงไม่น้อยในกลุ่มประเทศเอเชีย และยังเป็นเบอร์ต้น ๆ ของโลก นั่นคือ ‘ธุรกิจคลินิกเสริมความงาม’
จากการประเมินโดยศูนย์วิจัยกสิกรไทย ธุรกิจเสริมความงามประเทศไทย ปี พ.ศ.2566 มีมูลค่าตลาดที่ 71,000 - 72,000 ล้านบาท และยังมีการคาดการณ์ไปอีกว่าต่อจากนี้ในช่วงปี พ.ศ.2565-2573 มูลค่าของธุรกิจความงามในไทยจะโตขึ้นอีกราว ๆ 10% ซึ่งเรื่องนี้มาจากหลายสาเหตุไม่ว่าจะเป็น
-ชื่อเสียงและคุณภาพ: ประเทศไทยได้ชื่อว่าเป็นเป็น 1 ใน 5 ศูนย์กลางการแพทย์ความงามของโลก เป็นรองเพียง เกาหลีใต้, สหรัฐอเมริกา, จีน และบราซิล
-ได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐ: ภายใต้มุดหมายของการผลักดันให้ไทยเป็นศูนย์กลางการแพทย์ความงามของโลก ประกอบกับนโยบายที่ภาครัฐเล็งว่าจะใช้ธุรกิจเสริมความงามนี้เป็น ‘ซอฟต์พาวเวอร์’ ของประเทศด้านการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ
ซึ่งการเติบโตนี้ยังได้รับการยืนยันจากข้อมูลเชิงลึกของ THE KLINIQUE (เดอะคลีนิกค์) ผู้นำอุตสาหกรรมคลินิกความงามของไทย ที่ออกมาเปิดเผยว่า ‘ค่านิยมและพฤติกรรมของคนในยุคสมัยนี้ที่เปลี่ยนแปลงไป’ ก็มีส่วนทำให้ธุรกิจเสริมความงามในไทยเติบโต
SCB EIC เปิดเผยว่าธุรกิจบริการหัตถการเสริมความงาม (โบท็อกซ์, ฟิลเลอร์, ทรีตเมนต์, ฉีดสิว, กดสิว ฯลฯณ) กำลังมีฐานผู้บริโภคมากขึ้น มีแนวโน้มการเติบโตมากขึ้นจากลูกค้ากลุ่มผู้ชาย และกลุ่มวัยรุ่นกลุ่ม GenZ ซึ่งเรื่องนี้ “นายแพทย์อภิรุจ ทองวัฒน์” ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เดอะคลีนิกค์ คลินิกเวชกรรม จำกัด (มหาชน) ออกมายืนยันถึงเรื่องนี้เช่นกันว่าในช่วงปีที่ผ่านมามีจำนวน #ลูกค้าผู้ชาย มากขึ้น ซึ่งเรื่องนี้สะท้อนให้เห็นว่าในยุคสมัยปัจจุบันการเสริมความงามไม่ใช่แค่เรื่องของเพศหญิง
นอกเหนือจากเรื่องของเพศ ยังมีเรื่องของพฤติกรรมลูกค้าที่เปลี่ยนไปจากเดิม
-ลูกค้าที่เข้ารับบริการการศัลยกรรมที่เดอะคลีนิกค์ มากกว่า 75% กลับมาทำศัลยกรรมเพิ่มในส่วนอื่น
-ลูกค้าบางรายกลับมาเข้ารับบริการที่คลินิกถึง 2 ครั้งใน 1 สัปดาห์ หรือกลับเข้ามารับบริการซ้ำถี่ในทุก ๆ เดือน
-ในยุคสมัยปัจจุบันผู้คนเริ่มมองการทำหัตถการเป็น Skin Care ไม่ต่างกับการทาครีม แต่ได้ผลดีกว่า เห็นผลไวกว่า
พฤติกรรมของผู้คนในยุคสมัยนี้กำลังเปลี่ยนแปลงไป เช่นเดียวกับค่านิยมของยุคสมัยนี้ที่ค่อย ๆ มองว่าการทำหัตถการเป็นเรื่องปกติ เรื่องนี้สะท้อนผ่านพื้นที่โซเชียลมีเดีย ที่เราอาจจะเห็นคนใกล้ตัวกล้าพูดอย่างตรงไปตรงมาว่าเข้ารับบริการที่คลิกไหน ทำจาก #หมอไหน
นอกเหนือจากเรื่อง เพศ, พฤติกรรม และค่านิยม ยังมีอีก 1 เรื่องสำคัญที่กำลังทำให้ธุรกิจความงามในไทยเติบโตได้แก่ ‘อายุ’ นายแพทย์อภิรุจ ทองวัฒน์ เปิดเผยว่าตอนนี้ THE KLINIQUE มีลูกค้ากลุ่มวัยรุ่น Gen ใหม่มากขึ้น ไม่เพียงเท่านั้น อายุของผู้บริโภคที่เข้ารับบริการคลินิกความงามมีแนวโน้มอายุน้อยลงเรื่อย ๆ
ซึ่งข้อมูลเชิงลึกจาก THE KLINIQUE ก็สอดคล้องกับ SCB EIC ที่ระบุว่ากลุ่มวัยรุ่นอายุตั้งแต่ 15-27 เป็นกลุ่มที่มีความสนใจในการเข้ารับบริการจากคลินิกเสริมความงามสูงที่สุดเมื่อเทียบกับคนกลุ่มอื่น ๆ ซึ่งหัตถการแรกเริ่มที่ทำให้คนกลุ่มนี้ก้าวเท้าเข้ารับบริการอาจจะเริ่มจากการรักษาสิว, ฉีดสิว และค่อย ๆ ไต่ระดับไปเรื่อย ๆ ไปสู่หัตถการประเภทอื่น
ปัจจัยและองค์ประกอบเหล่านี้กำลังทำให้อุตสาหกรรมคลินิกความงามในไทยเติบโต และโดดเด่นมากขึ้นเรื่อย ๆ ในระดับภูมิภาค และตรงจุดนี้เองที่ทำให้ผู้บริโภคโดยเฉพาะคนรุ่นใหม่ที่เติบโตมาท่ามกลางทะเลของข้อมูลและการรีวิวต้องพิจารณาอย่างพิถีพิถันและรอบคอบในการเลือกคลินิกเข้ารับบริการ
นายแพทย์อภิรุจ ทองวัฒน์ อธิบายว่าหากคน ๆ หนึ่งต้องการจะเริ่มเข้ารับบริการคลินิกเสริมความงามควรจะพิจารณาเรื่อง 1.การได้รับการดูแลจากทีมแพทย์ 2.คลินิกนั้น ๆ มีการพัฒนาทีมแพทย์อย่างจริงจัง 3.คลินิกอาศัยนวัตกรรมและเทคโนโลยีที่ทันสมัย และ 4.ลูกค้าได้รับข้อมูลและได้รับการดูแลอย่างถูกต้องจากทีมแพยท์ผู้ชำนาญการ
จากนี้ประเทศไทยกำลังมีกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่เข้าถึงบริการเสริมความงามมากขึ้น มีเทรนด์สังคมผู้สูงอายุที่คนสูงวัยพร้อมจะจ่ายเพื่อรับการดูแลทางความงามและการฟื้นฟู เชื่อได้ว่าจากนี้ธุรกิจเสริมความงามในประเทศไทยจะสามารถก้าวขึ้นมาเป็น Top 3 ของโลกได้ และยังจะมีการเติบโตอย่างต่อเนื่องในอนาคต

14/11/2024

ถ้าถามว่าทำเลไหนที่ออกจากตัวเมืองกรุงเทพฯ ไปหน่อยคือ 'ทำเลทอง' หนึ่งในคำตอบนั้นต้องมีชื่อของ 'พุทธมณฑลสาย 2' เพราะโซนนี้เปรียบเสมือนทำเลทองย่านฝั่งธน ที่ราคาพุ่งถึง 144% ในรอบ 10 ปี! เรื่องนี้เป็นอย่างไร และแนวโน้มต่อจากนี้จะเป็นอย่างไรต่อ ติดตามพร้อมกันได้ในคลิปนี้

#สาย2 #พุทธมณฑลสาย2 #ทำเลทอง #ฝั่งธน #ลงทุน #ที่ดินสวย

13/11/2024

18.00 น. : แบงก์ชาติ องกรค์ที่ต้องปราศจากถูกแทรกแทรงทางการเมือง แต่ในวันนี้คนการเมืองกำลังจ่อนั่งเก้าอี้ผู้ว่าฯ ธปท. อิสระขององกรค์แห่งนี้จะยังคงอยู่หรือกลายเป็นเครื่องมือทางการเมือง?
พูดคุยกับ คุณไหม ศิริกัญญา ตันสกุล สส.แบบบัญชีรายชื่อ และรองหัวหน้าพรรคประชาชน
ใน ContinuART

18.00 น.   : เงาการเมืองผงาด ? ประธานบอร์ดแบงก์ชาติคนใหม่แบงก์ชาติ องกรค์ที่ต้องปราศจากการถูกแทรกแทรงทางการเมือง แต่วันน...
13/11/2024

18.00 น. : เงาการเมืองผงาด ? ประธานบอร์ดแบงก์ชาติคนใหม่
แบงก์ชาติ องกรค์ที่ต้องปราศจากการถูกแทรกแทรงทางการเมือง แต่วันนี้คนการเมืองกำลังจ่อนั่งเก้าอี้ผู้ว่าฯ ธปท. อิสระขององกรค์แห่งนี้จะยังคงอยู่หรือกลายเป็นเครื่องมือทางการเมือง ?
พูดคุยกับ
"คุณไหม-ศิริกัญญา ตันสกุล" สส.แบบบัญชีรายชื่อ และรองหัวหน้าพรรคประชาชน ใน ContinuART

[📍 SUMMARY : ในวันที่ผู้ชมมองว่ารายการข่าวบนหน้าจอทีวีไทย นำเสนอแต่เรื่องดราม่า งมงาย ทะเลาะเบาะแว้ง ไปส่องดูว่าทีวีเพื่...
13/11/2024

[📍 SUMMARY : ในวันที่ผู้ชมมองว่ารายการข่าวบนหน้าจอทีวีไทย นำเสนอแต่เรื่องดราม่า งมงาย ทะเลาะเบาะแว้ง ไปส่องดูว่าทีวีเพื่อนบ้านชาติพัฒนาแล้วอย่างสิงคโปร์ เขาดูอะไรบ้างกันบ้าง?]
รายการข่าวสิงคโปร์นำเสนออะไรบ้าง?
เชื่อว่าหลายคนคงรู้สึกว่า ข่าวสารที่นำเสนอบนสื่อของประเทศไทยในเวลานี้ โดยเฉพาะสื่อหลักอย่างสถานีโทรทัศน์ เกือบทุกช่องการนำเสนอข่าวสารที่เต็มไปด้วยประเด็นดราม่า การทะเลาะเบาะแว้ง การก่ออาชญากรรมรายวัน ความเชื่องมงาย และเรื่องราวอื่นๆ อีกมากมาย ไม่เว้นแม้กระทั่งผู้ประกาศข่าว พิธีกรที่มีชื่อเสียงสามารถพูดคำหยาบคายด้วยอารมณ์กลางรายการสด เพื่อต่อว่าบุคคลที่ 2 หรือ 3 ได้ด นี่คือภาพสะท้อนว่าสังคมไทย รสนิยมคนไทย คุณภาพความรู้ของประชากรไทยนั้นเป็นอย่างไร?
อีกทั้งทีวีไทยยังมีอิทธิพลสูงต่อการรับรู้ของพลเมืองในประเทศเพื่อนบ้านที่มีชายแดนติดกับไทย ซึ่งทำให้รสนิยมการเสพสื่อของเพื่อนบ้านก็แทบไม่ต่างจากไทย
แต่ถ้าหากลองมองดูประเทศที่มีระดับการพัฒนาสูงกว่าไทย อย่างสิงคโปร์ชาติพัฒนาแล้วหนึ่งเดียวในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พลเมืองของประเทศนี้รับชมอะไรกันบนหน้าจอทีวี ในบทความนี้จะเล่าให้อ่านกัน
สำหรับสิงคโปร์ มีฟรีทีวี 6 ช่องหลัก ซึ่งผลิตโดยสถานีโทรทัศน์ภายในประเทศ แบ่งออกเป็น 4 ภาษาคือ อังกฤษ จีน มาลายู และทมิฬ (อินเดีย) ได้แก่
🔹Channel 5 HD (อังกฤษ)
🔹Suria HD (มาลายู)
🔹Channel 8 HD (จีน)
🔹Vasantham HD (ทมิฬ)
🔹CNA HD (อังกฤษ)
🔹Channel U HD (จีน)
นอกจากนี้ยังรับสัญญานสถานีโทรทัศน์ของประเทศอื่นๆ ทั่วโลกมารับชมฟรีๆ บนหน้าจอทีวีโดยไม่ต้องมีการเพิ่มกล่องรับสัญญาณ หรือว่าจ่ายเงินซื้อแพคเกจเพิ่ม ทั้งทีวีของมาเลเซีย อินโดนีเซีย ออสเตรเลีย รวมทั้งสถานีโทรทัศน์สำคัญของโลกทั้ง CNN, BBC, NBC, CNBC, Bloomberg, KBS, SBS, NHK, France24, DW และอีกมากมายเกิน 50 ช่อง ซึ่งทั้งหมดล้วนดูฟรี
สำหรับช่องทีวีท้องถิ่นของสิงคโปร์ มีการผลิตและนำเสนอข่าวโดยมีสัดส่วนเนื้อหาเรื่องประเด็นเศรษฐกิจ การค้า การเงินเป็นหลัก เรียกว่าครองสัดส่วนข่าวในแต่ละช่วงสูงถึง 60% ทั้งข่าวจากในประเทศและต่างประเทศ โดยมีการนำเสนอในทุกๆ ภาษาที่ประชาชนใช้สื่อสาร
นอกนั้นก็เป็นความเคลื่อนไหวของนโยบายรัฐบาลที่จะส่งผลต่อประชาชน การ Take action ของผู้นำประเทศในเรื่องต่างๆ ที่ประชาชนต้องรู้ ข่าวต่างประเทศอื่นๆ ข่าวสังคม บันเทิง กีฬา รวมๆ กันอีก 40%
ความเจ๋งของข่าวในสิงคโปร์คือ ยังคงทำสกู๊ปเจาะลึกสถานการณ์ต่างประเทศ โดยเฉพาะชาติอาเซียนยาวครึ่งชั่วโมง เช่น การเปลี่ยนผ่านทางการเมืองฟิลิปปินส์ อินโดนีเซียเรื่องน้ำมันปาล์มขาดแคลนกระทบทั้งโลก หรือแม้แต่สกู๊ปการเมืองไทยก็มี ซึ่งสื่อไทยในยุคก่อนก็เคยทำรายงานพิเศษในประเด็นเจาะลึกลักษณะนี้ แต่ในปัจจุบันได้หายไปจนเกือบหมดแล้ว แทบไม่เหลือให้ดูเนื่องจากค่าการผลิตสูง ใช้เวลานาน และไม่การันตีว่าทำแล้วจะมีคนดูหรือไม่?
ที่สำคัญคือ ผู้รายงานข่าวจะไม่มีการมานั่งสรุปวิเคราะห์ด้วยตัวเองเป็นฉากๆ แต่จะให้นักวิเคราะห์ที่อยู่สาขาวิชาชีพนั้นๆ เข้ามาคุยแบบแน่นๆ ทั้งการเชิญมานั่งคุยในสตูดิโอ หรือจะ Video Call เข้ามาเพื่อซึ่งมีทั้งนักวิเคราะห์ชาวสิงคโปร์และชาวต่างชาติ เนื่องจากประเทศนี้ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาราชการและสื่อสารภาษาจีนได้เลยทำให้โลกของข่าวสารค่อนข้างกว้างขวาง และไม่มีปัญหาเรื่องภาษา
ซึ่งข่าวแบบนี้ในช่องทีวีของไทย มักเป็นข่าวที่โดน Eject ออกหรือให้สัดส่วนท้ายๆ ในการนำเสนอ และให้พื้นที่ข่าวดราม่าต่างๆ แทนมากกว่า เพราะมันได้อารมณ์ ได้ความสะใจ ได้เรตติ้ง และที่ตามมาคือได้สปอนเซอร์จากเงินโฆษณา
จากการเลือกดูข่าวมาหลายช่วง ผู้เขียนพยายามดูว่ามีการนำเสนอข่าวที่คล้ายๆ ในไทยเช่นความเชื่องมงาย ข่าวการตบตีทะเลาะวิวาท ข่าวเน็ตไอดอลทำตัวหิวแสง หรือเอาโพสต์ยอดวิวยอดไลค์สูงๆ ในแพล็ตฟอร์อมโซเชียวมาทำข่าวหรือไม่
สรุปคือไม่มี...พยายามไล่ดูหลายช่องทั้งช่องภาษาอังกฤษ ภาษาจีน มาลายู ก็ไม่เจอนะ อาจเป็นเพราะสื่อหลักของประเทศนี้ถูกควบคุมและเซ็นเซอร์โดยรัฐก็ได้ เพราะสิงคโปร์ก็มีชื่อด้านกฎหมายที่เข้มงวดที่สุดในโลก แต่การควบคุมเนื้อหานั้นหากลองมองดูจริงๆ ก็ไม่ได้คุมจนขาดอิสระในการนำเสนอ เพราะสื่อของประเทศนี้ยังสามารถผลิตเนื้อหาได้อย่างเสรี แม้แต่การวิพากษ์วิจารย์รัฐบาลก็ทำได้เช่นกัน อีกทั้งสำนักข่าวทั้ง CNA หรือ The Straits Times ก็เป็นแหล่งอ้างอิงของสำนักข่าวต่างประเทศอื่นๆ เมื่อมีการกล่าวถึงสิงคโปร์เสมอ เพราะเนื้อหา การผลิต มีคุณภาพสูงมากเพียงพอที่จะเป็น Reference ได้
หรืออาจเข้าใจได้ว่าประเทศที่มีขนาดเล็ก ข่าวในประเทศเลยไม่มีความหลากหลายก็เป็นได้ แต่เมื่อมองอีกมุมก็คิดได้ว่า ด้วยสังคมสิงคโปร์เป็นประเทศพัฒนาแล้ว และเป็นศูนย์กลางธุรกิจ การค้า การเงินหลักของภูมิภาค เป็นที่ตั้งของสำนักงานใหญ่ของบริษัทข้ามชาติจากทั่วโลก และคนที่นี่ทำงานในบริษัทเหล่านี้เป็นจำนวนมากโดยเฉพาะด้านการเงิน ธนาคาร การลงทุน ที่จำเป็นจะต้องรับข่าวสารที่มีประโยชน์ ก็อาจทำให้มีการนำเสนอข่าวที่เป็นสาระจริงจังค่อนข้างมาก
หรือการให้น้ำหนักนำเสนอข่าวข่าวต่างประเทศ เพราะประเทศใช้ภาษาอังกฤษและจีนเป็นหลัก กำแพงภาษาแทบไม่มี และการที่เป็นประเทศแห่งการค้ามันเลยจำเป็นต้องรู้เรื่องของโลกให้มากเพื่อกำหนดทิศทางของกิจกรรมทางเศรษฐกิจ กลายเป็นข้อดีแทนว่าโลกมีทิศทางยังไง สิงคโปร์รับรู้ได้เกือบทั้งหมด โลกทัศน์เลยค่อนข้างกว้าง เพราะคนของเขาสามารถเข้าใจภาษาหลักของโลกที่มีคนใช้เยอะที่สุดอย่างอังกฤษและจีนได้
ขณะที่บ้านเราอาจเป็นเรื่องยากที่คนจะสนใจดูข่าวลักษณะนี้ เพราะมันไม่สนุก ไม่เร้าใจ ไม่ตื่นเต้น ไม่หวือหวา เหตุคนไทยเสพสื่อที่เน้นการมีอารมณ์ร่วมมากกว่าการได้เนื้อหาสาระที่สำคัญ
ถ้าไม่เชื่อก็ดูได้จากความนิยม เรตติ้ง หรือกระแสในบ้านเราได้ว่าอันไหนดังอันไหนแรง ก็ต่างเฮอะโลนนำเสนอเรื่องนั้น ซึ่งส่วนใหญ่ก็เป็นข่าวลักษณะเดียวกันหมด
ขณะที่รายการข่าวด้านเศรษฐกิจก็มี แต่แค่มีไว้ให้รู้ว่ามีเท่านั้น ส่วนคนดูไม่ดูก็วัดได้จากเรตติ้งนั่นเองซึ่งอยู่อันดับรั้งท้ายตาราง
อย่างไรก็ตามทีวีถือว่าเป็นสื่อขั้นพื้นฐานที่ทุกคนสามารถเข้าถึงได้กว้าง ง่าย และไม่ต้องเสียเงิน การนำเสนอข่าวผ่านสื่อหลักที่มีผลต่อคนทั้งประเทศ เลยสะท้อนให้เห็นว่ากว่าที่เนื้อหาข่าวจะออกสู่สายตาคนดู มันต้องคิดมาแล้วว่าเผยแพร่ออกไปแล้วผลกระทบกับสังคมจะเป็นอย่างไร มีประโยชน์อะไรหรือไม่ที่จะต้องรู้ข่าวนี้ เพราะทุกอย่างมีต้นทุนของมัน ค่าการผลิตสื่อก็มีต้นทุนที่สูง
ดังนั้นสื่อในประเทศพัฒนาแล้วหลายๆ ประเทศไม่ใช่เพียงแค่สิงคโปร์ จึงมีความสำคัญต่อระบบสังคมอย่างมหาศาล ไม่ใช่พื้นที่เพื่อสร้างเรตติ้งเท่านั้น แต่มันเป็นการหล่อหลอมสังคมในประเทศนั้นว่าจะเดินไปในทิศทางใด และรสนิยมหรือคุณภาพประชากรในประเทศนั้นสูงหรือต่ำขนาดไหนอีกด้วย
ถามว่าเขามีรายการบันเทิง รายการร้องเพลง หรือข่าวซุปซิปดาราคนดังหรือไม่?....ก็พอมีบ้าง แต่ก็ไม่ได้ครองพื้นที่สื่อมากมายขนาดนั้น เพราะส่วนใหญ่ข่าวแนวๆ นี้จะอยู่ในช่องบันเทิงอยู่แล้วที่แยกต่างหากออกไป หรือไม่ก็ไปอยู่ในโซเชียลต่างๆ ให้คนได้เม้าส์มอยกัน แต่ยังไม่เจอข่าวประเภท ดาราคนนั้นแอบแซ่บกับนางเอกคนนี้ หรือดาราสิงคโปร์ต้องมาตั้งโต๊ะแถลงข่าวว่าเลิกกัน เพราะมันถือเป็นเรื่องส่วนบุคคล
ส่วนละครก็มีบ้างนะ แต่ละภาษาก็ผลิตละครของตนเอง ส่วนใหญ่เป็นละครภาษาจีน ฟิลคล้ายๆ ซีรีย์ฮ๋องกง ไต้หวัน แต่โปรดักชั่นอาจจะไม่หวือหวาขนาดนั้น และเนื้อหาค่อนข้างหนักและเครียด ไม่แซ่บ ไม่นัวเท่าไหร่ ออกไปทางละครเชิงสังคม ธุรกิจ ไม่ก็ไปทางประวัติศาลตร์ไปเลย ซึ่งเท่าที่ถามเพื่อนชาวสิงคโปร์ก็บอกว่า คนไม่ค่อยดูละครเท่าไหร่ นานๆ ทีจะมีละครเปรี้ยงๆ สักเรื่องนึง แต่ก็มีกลุ่มคนดูอยู่โดยเฉพาะแม่บ้าน
มองกลับมาที่ประเทศไทย และมุมมองของข่าวสารในประเทศไทย ทุกวันนี้หน้าจอทีวีช่องใหญ่ช่องหลักเรามีแต่ข่าวอะไรบ้างนั้น ก็น่าจะรู้ๆ กันอยู่ รายการข่าวที่มักเป็นกระแสส่วนใหญ่เป็นเนื้อหาแนวไหน สไตล์ไหน ก็คงจะรู้ๆ กันอยู่
ดังนั้นจึงอาจพอจะประเมินได้ว่ารสนิยมการเสพข่าวของคนในประเทศนี้ส่วนใหญ่เป็นอย่างไร มันจึงไม่แปลกว่าทำไมสังคมเราถึงยังวนๆ กับเรื่องพวกนี้ไม่จบไม่สิ้นเสียที

[📍 SUMMARY : ความน่ากลัวในยุคที่ใคร ๆ ก็เป็นกูรู-อินฟลูฯ จากการวิเคราะห์คลิปอินฟลูฯ การเงินกว่า 2,470 คลิป บนโซเชียลมีเด...
12/11/2024

[📍 SUMMARY : ความน่ากลัวในยุคที่ใคร ๆ ก็เป็นกูรู-อินฟลูฯ จากการวิเคราะห์คลิปอินฟลูฯ การเงินกว่า 2,470 คลิป บนโซเชียลมีเดียพบ 71% อาจสร้างความเข้าใจที่ผิดให้แก่เด็กรุ่นใหม่ โดยเฉพาะ TikTok น่ากลัวสุดเพราะให้เนื้อหาไม่ครบ สรุปรวบรัด บางรายไม่มีคุณสมบัติมากพอที่จะแนะนำคนอื่นแต่ก็ยังทำ]
TikTok โซเชียลมีเดียแห่งยุคผู้ท้าชิงเวลาไถหน้าจอจาก 2 ยักษ์ใหญ่อย่าง Facebook และ Youtube มีผู้ใช้งานราว ๆ 1 พันล้านคนทุกเดือน จากเดิมทีที่เป็นแพลตฟอร์มโชว์ทักษะการเต้นของกลุ่มวัยรุ่น แต่มาวันนี้เป็นแพลตฟอร์มที่มีทุกคอนเทนต์ที่คุณต้องการ เพราะใคร ๆ ก็สามารถลุกขึ้นมาสร้างคอนเทนต์ได้ ใคร ๆ ก็เป็นสื่อได้ในยุคสมัยนี้ ไม่ว่าจะสอนทำอาหาร เทคนิคงานช่าง แนะนำภาพยนตร์ ไฮไลต์ฟุตบอล หรือแม้แต่ให้คำแนะนำทางด้านการเงิน แต่สถานการณ์นี้ก็น่าเป็นห่วงเช่นกัน
เพราะกว่า 71% ของคำแนะนำด้านการเงินบนโซเชียลมีเดีย กำลังทำให้ Gen Z และ Millennials เกิดความเข้าใจผิด !
จากรายงานของนิตยสาร Forbes เปิดเผยว่าวัยรุ่นเกือบ 80% (ผู้เขียนเองก็เป็นหนึ่งในนี้) หันมาพึ่งแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดีย อย่าง TikTok, YouTube และ Instagram เพื่อหาความรู้ทางด้านการเงิน ตัวเลขที่สูงขนาดนี้ทำให้ทีมงานของ Social Capital Markets แพลตฟอร์มที่มีความเชี่ยวชาญด้านสกุลเงินดิจิทัล ลงไปทำการสำรวจเหล่าบรรดาคลิปคำแนะนำทางการเงิน-การลงทุนกว่า 2,470 คลิป บนโซเชียลมีเดียอย่าง Tiktok, IG และ YouTube ว่าคลิปเหล่านี้มีประโยชน์ และน่าเชื่อถือมากน้อยแค่ไหน
ซึ่งผลลัพธ์ที่ได้จากการสำรวจครั้งนี้อาจจะต้องทำให้เรา ๆ กลับมาย้อนคิดและตั้งสติก่อนรับสารมากขึ้น เนื่องจากทีมสำรวจพบว่า ‘คำแนะนำส่วนใหญ่บนโลกออนไลน์อาจไม่ได้ให้ประโยชน์ มิหนำซ้ำกว่า 71% ของคำแนะนำยังทำให้เกิดความเข้าใจผิดเสียอีก’ โดยสถิติสำคัญจากการสำรวจอธิบายได้ดังนี้
-83% ของวิดีโอไม่มีคำเตือนที่เพียงพอเกี่ยวกับการลงทุนและความเสี่ยงในการลงทุน
-70% ของวิดีโอ มีการเชื้อเชิญให้ลงทุนในหุ้นอย่างเฉพาะเจาะจงโดยไม่คำนึงถึงความเสี่ยง
-57% ของวิดีโอ มีเนื้อหาที่ยืนยัน-การันตี ว่าจะได้ผลตอบแทนในการลงทุนคืน
-45% ของวิดีโอ ชี้ชัดว่าควรแบ่งสัดส่วนเท่าไหร่ของรายได้ไปลงทุน ซึ่งควรเป็นเรื่องของแต่ละบุคคล
-13% ของวิดีโอ คือสัดส่วนของคนที่มีคุณสมบัติเพียงพอที่จะแนะนำด้านการเงินหรือเรื่องที่พูด
🔵 TikTok ดินแดนแห่งอินฟลูฯ การเงิน (แต่ถูก/ไม่ถูก ไม่รู้)
จากการวิเคราะห์เนื้อหาวิดีโอทั้ง 3 แพลตฟอร์ม TikTok ถือเป็นแพลตฟอร์มที่มีปัญหามากที่สุด โดย 91% ของวิดีโอไม่มีข้อความคำเตือน และกว่า 70% ของวิดีโอสนับสนุนอย่างเต็มเปาให้ซื้อหุ้น
ด้วยคุณลักษณะของแอปฯ TikTok ที่เป็นแพลตฟอร์มคลิปสั้น จึงกลายเป็นแพลตฟอร์มที่พร้อมให้คำแนะนำทางการเงินแบบสรุปรวบยอด เหลือเพียงเคล็ดลับ สรุปสั้น ๆ มากกว่าที่จะให้ข้อมูลเชิงลึกที่ครอบคลุมและรอบคอบ
TikTok ยังเป็นแพลตฟอร์มที่มีวิดีโอเนื้อหาลักษณะการันตีผลตอบแทน (65%) และสนับสนุนให้ผู้ชมแบ่งสัดส่วนรายได้จำนวนหนึ่งเพื่อนำมาลงทุน (50%) ซึ่งอาจเป็นความเสี่ยงสำหรับนักลงทุนมือใหม่ โดยเฉพาะคนรุ่น Gen Z ที่อาจเป็นกลุ่มที่ใจ้ร้อน อยากเห็นผลลัพธ์และผลตอบแทนไว ๆ ด้วยเงินเดือนที่พึ่งได้รับในปริมาณไม่มาก
🔵 Instagram ใคร ๆ ก็โพสต์รูปตอนได้กำไร
แพลตฟอร์มอินสตราแกรมมีทั้งฟังก์ชัน Story และโพสต์รูปแบบปกติที่เอื้อให้ผู้ใช้งานโชว์ความมั่งคั่งบนโลกโซเชียล แต่ฟังก์ชัน Reel ที่เป็นคลิปสั้น และโพสต์วิดีโอก็ไม่อาจมองข้ามเนื่องจากวิดีโอกว่า 88% ไม่มีคำเตือนเกี่ยวกับการลงทุน และกว่า 65% เป็นวิดีโอที่มีเนื้อหา ‘ชี้เป้า’ ให้ลงทุนในหุ้นตัวไหน
นอกจากนี้ 1 ใน 2 ของวิดีโอที่ปรากฎบนอินสตราแกรมยังปรากฎเนื้อหาในลักษณะที่การันตีผลตอบแทนจากการลงทุน ทั้ง ๆ ที่ไม่อาจมีใครทราบได้ว่าการลงทุนครั้งนี้จะให้ผลตอบแทนหรือทำให้เราขาดทุน
🔵 Youtube พี่ใหญ่ที่มาพร้อมเนื้อหาเชิงลึก
แพลตฟอร์มยูทูปได้เปรียบเรื่องธรรมชาติของวิดีโอที่มีความยาวกว่าแพลตฟอร์มอื่น ๆ จึงทำให้หลาย ๆ คลิปมีเนื้อหาที่มาพร้อมคำอธิบายเชิงลึก แต่หลาย ๆ วิดีโอก็ยังบกพร่องในเรื่องของความโปร่งใสไปบ้าง เช่น วิดีโอกว่า 55% มีเนื้อหาที่การันตีว่าการลงทุนจะได้ผลตอบแทนกลับมาแน่ ๆ หรือ 45% ของวิดีโอที่แนะนำผู้ชมอย่างตรงไปตรงมาว่าควรลงทุนด้วยเงินเท่าไหร่
แต่หากมองทั้ง 3 แพลตฟอร์มอาจจะกล่าวได้ว่ายูทูปเป็นแพลตฟอร์มที่น่ากังวลน้อยกว่าอินสตราแกรมและ TikTok เนื่องจากธรรมชาติของแพลตฟอร์มเปิดโอกาสให้อินฟลูฯ มีเวลาอธิบาย-อภิปราย เนื้อหา
🔵 เราควรเชื่อกูรูทางการเงินบนโลกโซเชียลหรือไม่
Social Capital Markets แสดงความเห็นว่าการขาดกฎระเบียบที่ชัดเจนเกี่ยวกับคำแนะนำทางการเงินและการลงทุนบนแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียอาจก่อให้เกิดปัญหาในระยะยาว และยังเป็นการเปิดโอกาสให้อินฟลูฯ ที่มีความรู้ด้านการเงินแม้เพียงน้อยนิด (หรือบางคนไม่มีเลย) สามารถลุกมาให้คำแนะนำคนอื่นได้ โดยไม่ต้องรับผิดชอบใด ๆ ถ้าใครจะเข้าใจอะไรผิด หรือถูกหลอกให้ลงทุนจนขาดทุน
เรื่องนี้ส่งผลให้นักลงทุนรุ่นใหม่จำนวนมากลงทุนโดยไม่สนใจสถานการณ์ทางการเงินของตน ซึ่งระบบนิเวศบนโซเชียลมีเดียที่เต็มไปด้วยอินฟลูฯ - กูรูด้านการเงิน ตัวจริงบ้าง ตัวปลอมบ้าง กลายเป็นสภาพแวดล้อมที่อันตรายสำหรับนักลงทุนรุ่นใหม่
สำหรับประเทศไทยมีคนที่ออกมาให้ความรู้ทางการเงินเยอะมากเช่นกัน ซึ่งผู้เขียนเองก็เป็นหนึ่งในคนที่ได้เรียนรู้ความรู้ทางการเงินจากหลาย ๆ กูรูผ่านโซเขียลมีเดียและสื่อประเภทต่าง ๆ เพราะทักษะเหล่านี้ไม่มีสอนในมหาวิทยาลัย ผู้เขียนมองว่าทักษะสำคัญที่ควรมีบนโลกออนไลน์ในยุคที่ใคร ๆ ก็เป็นอินฟลูฯ เป็นกูรูได้คือการรู้เท่าทันสื่อ (Media Literacy) ประกอบกับการรับสารจากหลาย ๆ ผู้เชี่ยวชาญเสมือนการ cross check ข้อมูลบนโลกออนไลน์ และนำมากรองผ่านบริบทและข้อจำกัดที่ตนมี
เคล็ดลับความสำเร็จจากบริษัทใหญ่ ไม่อาจนำมาใช้ได้กับบริษัทขนาดเล็ก เช่นเดียวกับคำแนะนำทางการเงินจากหลาย ๆ ผู้เชี่ยวชาญ เคล็บลับไปสู่ความมั่งคั่งทางการเงินก็ไม่มีสูตรสำเร็จเช่นกัน
เรื่อง : กฤชพนธ์ ศรีอ่วม
ภาพ : ทินวุฒิ ลิวานัค

ที่อยู่

เลขที่ 990 อาคารอับดุลราฮิม เพลส ห้อง 2704 ชั้น 27 ถ. พระรามที่4 แขวง สีลม
Bangkok
10500

เบอร์โทรศัพท์

+6626320645

เว็บไซต์

แจ้งเตือน

รับทราบข่าวสารและโปรโมชั่นของ Reporter Journeyผ่านทางอีเมล์ของคุณ เราจะเก็บข้อมูลของคุณเป็นความลับ คุณสามารถกดยกเลิกการติดตามได้ตลอดเวลา

ติดต่อ ธุรกิจของเรา

ส่งข้อความของคุณถึง Reporter Journey:

วิดีโอทั้งหมด

แชร์

Our Story

เพราะชีวิตนักข่าว ไม่ได้สนใจแค่ข่าวเพียงอย่างเดียว...

"Reporter Journey ตามติดชีวิตนักข่าว"

ชีวิตของนักข่าวคนหนึ่ง ที่นอกจากจะทำข่าวเพื่อนำเสนอต่อประชาชนแล้ว ยังหามุมมองใหม่ของชีวิตรอบตัวมานำเสนอ ผ่านบทความสร้างแรงบันดาลใจ รวมทั้งภาพถ่ายในมุมมองของการใช้ชีวิตและการท่องเที่ยว และเรื่องราวในเชิงบวกต่างๆ มากมายที่จะพยายามสรรหามาเล่า ใครที่ชอบเรื่องราวต่างๆ จากมุมมองการเขียนของผม ก็อย่าลืมกดติดตามกันนะครับ

#Reporter Journey #ตามติดชีวิตนักข่าว

ตำแหน่งใกล้เคียง บริษัท สื่อ

  • stock2morrow

    stock2morrow

    เลขที่ 990 อาคารอับดุลราฮิม ห้อง 2704 ชั้น 27 ถ. พระราม 4 แขวงสีลม เขตบางรัก

Bangkok บริษัท สื่ออื่นๆ

แสดงผลทั้งหมด