Krungsri Business Empowerment

  • Home
  • Krungsri Business Empowerment

Krungsri Business Empowerment พื้นที่นำเสนอข่าวสาร ข้อมูลด้านธุรกิจ บทความการตลาดที่น่าสนใจ

ในโลกที่สิ่งแวดล้อม สังคม และความโปร่งใสกำลังไล่บดขยี้ความอยู่รอดของธุรกิจ ในฐานะผู้นำองค์กรคุณมีแผนรับมือความท้าทายนี้อ...
15/01/2025

ในโลกที่สิ่งแวดล้อม สังคม และความโปร่งใสกำลังไล่บดขยี้ความอยู่รอดของธุรกิจ
ในฐานะผู้นำองค์กรคุณมีแผนรับมือความท้าทายนี้อย่างไร?

Krungsri ESG Academy ขอชวนคุณ ผู้บริหารที่มีวิสัยทัศน์มาวางแผนเพื่อพาธุรกิจไปต่อกับหลักสูตรเดียวที่จะช่วยสร้างแผนเปลี่ยนผ่านธุรกิจสู่ความยั่งยืนที่ทำได้จริง เพิ่มรายได้ ลดต้นทุน ธุรกิจยั่งยืน

✅อบรมเข้มข้น ทุกมิติการเปลี่ยนผ่านธุรกิจ เพราะ ESG ไม่ได้มีแค่เรื่องสิ่งแวดล้อม ผู้เชี่ยวชาญตัวจริงระดับประเทศจะเปิดโลกให้คุณเห็นโอกาสในการสร้างการเติบโตและยั่งยืนครบทุกด้าน E S และ G
✅เวิร์กช้อปเจาะลึก วางยุทธศาสตร์เปลี่ยนผ่านสู่ความยั่งยืน ผ่าน Design Thinking ที่จะช่วยสร้างแผนเปลี่ยนผ่านที่นำไปใช้ได้จริงทุกธุรกิจ
✅ลงพื้นที่จริง เรียนรู้การทำงานที่ได้ผลจริงและการแก้ปัญหาความยั่งยืนในสถานการณ์จริงจากบริษัทที่ได้รับรางวัล Krungsri ESG Excellence Awards
✅คำแนะนำรายธุรกิจ ปูแนวทางให้นำไปปรับให้เหมาะสมกับธุรกิจแต่ละประเภทเพื่อผลลัพธ์ที่วัดผลและจับต้องได้
✅โอกาสรับวงเงิน สนับสนุนโครงการเพื่อเปลี่ยนผ่านสู่ความยั่งยืน

ร่วมมือกับกรุงศรีวันนี้เพื่อความยั่งยืนของธุรกิจคุณ

ระยะเวลาเรียน 5 เดือน จำนวน 6 ครั้ง เริ่มต้นเดือนมีนาคม

สมัครได้แล้ววันนี้ ถึง 15 กุมภาพันธ์ 2568
รายละเอียดเพิ่มเติม คลิก https://bit.ly/Krungsri-ESG-Academy-2025

ที่ผ่านมา กรุงศรีร่วมกับ MUFG จัดงาน “Krungsri-MUFG Business Matching Fair” งานเจรจาจับคู่ทางธุรกิจแห่งปี ที่ช่วยสนับสนุ...
14/01/2025

ที่ผ่านมา กรุงศรีร่วมกับ MUFG จัดงาน “Krungsri-MUFG Business Matching Fair” งานเจรจาจับคู่ทางธุรกิจแห่งปี ที่ช่วยสนับสนุนธุรกิจในการพบปะเครือข่ายพันธมิตรที่น่าเชื่อถือที่พร้อมสร้างโอกาสเติบโตทางธุรกิจผ่านการขยายตลาดใน 5 ประเทศ ได้แก่ ไทย ญี่ปุ่น เวียดนาม ฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซีย โดยมีการคัดสรรผู้ร่วมเจรจาธุรกิจส่วนหนึ่งผ่านแพลตฟอร์ม Krungsri Business Link ซึ่งกิจกรรมครั้งล่าสุดมีการเจรจาธุรกิจเกิดขึ้นกว่า 740 คู่ ภายในงาน

Krungsri Business Link แพลตฟอร์มจับคู่ธุรกิจ เชื่อมทุกโอกาสทางธุรกิจ เป็นบริการที่ธนาคารกรุงศรีริเริ่มขึ้น เพื่อสนับสนุนธุรกิจในการขยายตลาดผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ ซึ่งประกอบไปด้วย 1) บริการจับคู่ธุรกิจ 2) การสร้างพื้นที่ในการนำเสนอสินค้าและบริการ 3) การหาพันธมิตรทางธุรกิจเพื่อความร่วมมือในด้านอื่น ๆ ทางออนไลน์ได้อย่างสะดวกรวดเร็ว ไร้พรมแดน ผ่านทางเครือข่ายที่เชื่อถือได้ของกรุงศรีและสถาบันการเงินในกลุ่มมิตซูบิชิ ยูเอฟเจ ไฟแนนเชียลกรุ๊ป (MUFG Group) ทั้งบริษัทไทยและต่างประเทศบนแพลตฟอร์ม เพื่อช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถขยายโอกาสธุรกิจอย่างมั่นใจ

สมัครใช้บริการฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย https://www.krungsribusinesslink.com/th/



จัดระเบียบธุรกิจและงบประมาณต้นปี พร้อมลุยปี 2025ปีที่ผ่านมาเต็มไปด้วยความท้าทายสำหรับ SME ไทย ทั้งจากปัจจัยภายในและภายนอ...
13/01/2025

จัดระเบียบธุรกิจและงบประมาณต้นปี พร้อมลุยปี 2025
ปีที่ผ่านมาเต็มไปด้วยความท้าทายสำหรับ SME ไทย ทั้งจากปัจจัยภายในและภายนอกประเทศ แต่การเริ่มต้นปีใหม่มักมาพร้อมกับความหวังและโอกาสใหม่ ๆ สำหรับผู้ประกอบการ SME ความสำเร็จเกิดจากการวางแผนที่รอบคอบ โพสต์นี้จะพาคุณ "จัดระเบียบงบต้นปี พา SME พร้อมก้าวสู่ปี 2025 อย่างมั่นใจ" ด้วย 5 เรื่องต้องรู้ในการบริหารจัดการงบ ใช้ทรัพยากรที่มีอย่างคุ้มค่า พร้อมลุยตั้งแต่ต้นปี !
5 เรื่องต้องรู้ในการบริหารจัดการงบ
📌ข้อ1: วิเคราะห์รายจ่ายปีที่ผ่านมา
การวิเคราะห์รายจ่ายคือการประเมินเพื่อหาจุดที่สามารถปรับปรุงหรือเพิ่มมูลค่าได้ ซึ่งจะช่วยให้เราค้นพบปัญหาเพื่อเตรียมตัวแก้ไขไม่ให้เกิดขึ้นในอนาคต เช่น
▪️รายจ่ายที่สูงเกินไป: อาจเกิดจากการไม่มีการควบคุมภายในที่เหมาะสม เช่น ไม่กำหนดวงเงินรายจ่ายแต่ละประเภท หรือการอนุมัติรายจ่ายมูลค่าสูงสามารถทำได้โดยพนักงานระดับปฏิบัติการ เป็นต้น
▪️รายจ่ายที่ไม่คุ้มค่า: มักเกิดจากการลงทุนโดยไม่มีการวิเคราะห์ที่รอบคอบ เช่น ซื้อโฆษณาออนไลน์ โดยไม่มีการวิเคราะห์กลุ่มเป้าหมายอย่างชัดเจน (target audience) ผลลัพธ์ที่ได้คือยอดคลิกหรือการเข้าชมที่สูง แต่ไม่สามารถเปลี่ยนเป็นยอดขายได้
📌ข้อ2: เก็บเอกสารอย่างเป็นระบบ
ระบบบัญชีที่ดีอย่างแรก คือ ทุกค่าใช้จ่ายต้องมีเอกสารประกอบการจ่ายเสมอ แต่บางกรณีอาจไม่ได้รับเอกสารจากผู้ขาย เช่น ค่าขึ้นวิน ค่าแท็กซี่ กรณีนี้ SME สามารถทำใบสำคัญรับเงินหรือใบรับรองแทนใบเสร็จขึ้นมาก็ใช้เป็นค่าใช้จ่ายทางบัญชีและภาษีได้
นอกจากนี้ การแยกเอกสารเข้าแฟ้มที่เหมาะสมมีความจำเป็นอย่างมาก เพราะง่ายต่อการค้นหา การเปลี่ยนสถานะเอกสาร เช่น จากลูกหนี้เป็นรับเงินแล้ว หรือส่งมอบแฟ้มเมื่อถูกเรียกตรวจจากหน่วยงานของรัฐ แนะนำว่าแฟ้มขั้นต่ำควรมี แฟ้มรับเงิน แฟ้มจ่ายเงิน แฟ้มลูกหนี้ แฟ้มเจ้าหนี้ แฟ้มภาษีต่างๆ เป็นต้น
📌ข้อ3: วางแผนภาษีตั้งแต่ ต้นปี
รายจ่ายอีกประเภทที่กิจการอยากลดให้น้อยที่สุดคือ “ค่าภาษี” ในอีกมุมหนึ่งภาษีที่เพิ่มขึ้นเป็นเรื่องที่ดี เพราะมาจากการที่ยอดขายเพิ่มขึ้นหรือค่าใช้จ่ายลดลง แต่จะดีกว่าไหม? ถ้าเราวางแผนล่วงหน้าเพื่อใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีเพื่อให้เสียภาษีให้น้อยลงกว่าเดิม ทำอย่างไรได้บ้าง มาดูกัน
▪️กลุ่มหักค่าใช้จ่ายได้เพิ่ม: เช่น การจ้างงานผู้สูงอายุ คนพิการ การส่งลูกจ้างศึกษาหรือฝึกอบรมสามารถ การบริจาคผ่านระบบ E-donation หักรายจ่ายได้ 2 เท่า
▪️กลุ่มช่วยประหยัดค่าใช้จ่าย: เช่น การเข้าระบบ E-tax invoice หรือ E-Withholding tax จะเป็นการส่งเอกสารออนไลน์ ลดค่ากระดาษ และค่าจัดส่งเอกสารให้คู่ค้าได้
▪️กลุ่มช่วยสร้างรายได้: SME ที่ใช้ระบบ E-tax invoice จะมียอดขายเพิ่มขึ้นในช่วงต้นปี เพราะคนจะหาซื้อของจากร้านที่ออกใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ได้เพื่อไปใช้ลดหย่อนได้ในโครงการ Easy E-Receipt
📌ข้อ4: บริหารสต๊อกสินค้าให้มีประสิทธิภาพ
เมื่อต้นปีผู้ประกอบการ SME อาจพบว่ามีสินค้าที่บางกลุ่มที่เหลือเยอะ หรือขายได้ช้า อาจเคลียร์สต๊อกเพื่อให้มีพื้นที่เก็บสินค้าล็อตใหม่ ลดต้นทุนการจัดเก็บ หรือเปลี่ยนเป็นเงินสดให้เร็วขึ้น โดยไม่ต้องทำลายสินค้า เช่น
▪️ใช้เป็นของแจกในเทศกาลปีใหม่ให้แก่คู่ค้า
▪️นำสินค้าไปบริจาคให้หน่วยงานรับบริจาค
▪️ทำโปรโมชั่นเป็นของแถมต้อนรับปีใหม่
▪️ทำโปรโมชั่นลดราคาต้อนรับปีใหม่
📌ข้อ5: เร่งระยะเวลาการรับชำระหนี้
บาง SME อาจมีปัญหาเรื่องสภาพคล่อง หนึ่งในสาเหตุนั้นอาจมาจากลูกหนี้จ่ายเงินเกินกำหนด ก่อนอื่นมาดูว่าในปีที่ผ่านมาลูกหนี้จ่ายเงินช้ากว่าเครดิตเทอมหรือไม่ ผ่านการคำนวณง่ายๆ ดังนี้
▪️ระยะเก็บหนี้โดยเฉลี่ย = (ลูกหนี้เฉลี่ย/รายได้ขายเชื่อ) * 365
ถ้า เครดิตเทอม ‘มากกว่า’ ระยะเวลาเก็บหนี้ แปลว่า SME เก็บเงินจากลูกหนี้ได้เร็วกว่ากำหนด ตรงกันข้ามปัญหาจะเกิดทันทีเมื่อเครดิตเทอม ‘น้อยกว่า’ ระยะเวลาเก็บหนี้อย่างมีนัยสำคัญ เช่น เครดิตเทอม 30 วัน แต่ระยะเวลาเก็บหนี้อยู่ที่ 60 วัน
แนวทางในการเปลี่ยนลูกหนี้ให้เป็นเงินได้เร็ว เช่น
▪️การให้ส่วนลดเงินสด(Cash Discount) เช่น 2/10, n/30 กล่าวคือให้เครดิตเทอม 30 วัน แต่ถ้ามาชำระภายใน 10 วันจะมอบส่วนให้คู่ค้าทันที 2%
▪️การลดเครดิตเทอมและวงเงินขายเชื่อ กรณีลูกหนี้มีประวัติค้างชำระหนี้เป็นประจำ
▪️ขายลดลูกหนี้(Factoring หรือ Supply Chain Finance) โดย SME จะได้รับยอดเงินหักค่าธรรมเนียม เช่น ลูกหนี้มูลค่า 100 แต่อาจจะได้เงินเพียง 80 บาท
การจัดระเบียบงบตั้งแต่ต้นปีเป็นรากฐานสำคัญที่ช่วยให้ธุรกิจ SME พร้อมเผชิญกับความท้าทายและโอกาสในปี 2025 เพียง 5 อย่างนี้ก็เป็นจุดเริ่มต้นที่ดี เตรียมพร้อมธุรกิจพลิกโอกาสให้กลายเป็นความสำเร็จ เริ่มต้นปีใหม่ด้วยแผนการเงินที่พร้อมและเป็นระบบ เพื่อความมั่นคงและเติบโตอย่างยั่งยืนในอนาคต!
ไม่พลาดทุกข้อมูลความรู้เพื่อธุรกิจสำหรับ SME สามารถกดติดตามผ่านช่องทาง line ได้ที่ Line ID หรือคลิกเพื่อเพิ่มเพื่อนที่
https://line.me/R/ti/p/


จะวางแผนธุรกิจยังไง เมื่อทุกอย่างผันผวนไปหมด ? นี่เป็นหนึ่งในปัญหาที่ SME ไม่น้อยเจอ 2025 เป็นปีที่ ‘ผันผวนสูง’ ตั้งแต่เ...
10/01/2025

จะวางแผนธุรกิจยังไง เมื่อทุกอย่างผันผวนไปหมด ? นี่เป็นหนึ่งในปัญหาที่ SME ไม่น้อยเจอ
2025 เป็นปีที่ ‘ผันผวนสูง’ ตั้งแต่เศรษฐกิจโลก พฤติกรรมลูกค้า ไปจนถึงแพลตฟอร์มต่างๆ ที่คาดเดาไม่ได้ ต่อให้เรารู้ข้อมูลวันนี้ พรุ่งนี้คำตอบก็อาจจะเปลี่ยนแล้วก็ได้ จากประสบการณ์ในวงธุรกิจที่เน้นเปลี่ยน ‘ความผันผวน’ เป็น ‘โอกาส’ อย่าง Silicon Valley ดิฉันขอนำเสนออีกมุมหนึ่ง ที่ช่วยให้ SME เตรียมธุรกิจให้ ‘พร้อม’ ได้ แม้ไม่จับทางล่วงหน้า คลื่นความผันผวน ไม่ใช่สิ่งที่ทำให้โอกาส ‘หายไป’ มันแค่เปลี่ยน ‘โอกาส’ จากจุดหนึ่ง ไปอีกจุดเท่านั้น
มุมมองเดิม : รู้ว่าอะไรจะเปลี่ยน ➡️ เตรียม ‘ต้านคลื่น’
พลิกมุมใหม่ : เตรียม SME ให้พร้อม “โต้คลื่น” ➡️ คลื่นจะมาทางไหน ก็โต้ได้
การ ‘โต้คลื่น’ คือการที่ SME เห็นโอกาสในจุดใหม่ แล้วพุ่งเข้าไปโต้ก่อนใคร ซึ่งหนึ่งในเทคนิคที่ Silicon Valley ใช้ คือเวลาตั้งเป้าหมาย ให้ผสานระหว่าง ‘เป้านิ่ง’ และ ‘เป้าวิ่ง’
เป้านิ่ง = เป้าหมายของกลยุทธ์เดิม (เช่น ขายสินค้าเดิมให้โต XX%)
เป้าวิ่ง = เป้าในการจับโอกาสใหม่ (เช่น ทดสอบสินค้าที่จับเทรนด์ใหม่ X ตัว)
การผสาน ‘เป้านิ่ง + เป้าวิ่ง’ จะทำให้ธุรกิจมีทั้งรายได้หลัก (จากสินค้าเดิม) ในขณะที่จับโอกาสใหม่ๆ ก่อนใคร ทุกครั้งที่คลื่นเปลี่ยนทิศ เมื่อเพิ่ม ‘เป้าวิ่ง’ แล้ว อีก 2 คำถามที่ตามมา คือ ตอนนี้ SME ของเรา พร้อมสำหรับการ ‘โต้คลื่น’ ขนาดไหน? เราจะเตรียม SME ให้ “โต้คลื่น” โอกาสก่อนคู่แข่ง อย่างไร?
คำถามแรก : ตอนนี้ SME ของเราพร้อมสำหรับการ ‘โต้คลื่น’ ขนาดไหน ?
SME ไม่น้อยพยายามหา ‘โอกาส’ แต่กลับ ‘ไม่เห็น’ ซึ่งเหตุผลนึง คือในยุคนี้ ลูกค้ามีความต้องการ ‘ข้ามตลาด’ เช่น ขณะที่ SME ชุดกีฬา โฟกัส ‘ชุดสำหรับเล่นกีฬา’ ลูกค้าไม่น้อยกลับต้องการ ชุดแฟชั่น ที่สบายเหมือนชุดกีฬา
‘ชุดกีฬา’ ข้ามตลาดไป ‘แฟชั่น’ ทำให้เกิดเทรนด์ Athleisure ที่มูลค่ากว่า นับแสนล้านดอลลาร์ นี่เป็นแค่หนึ่งในตัวอย่างเท่านั้น ดังนั้น การประเมินว่าเรา ‘พร้อม’ โต้คลื่นขนาดไหน จะมองแค่ "ในตลาด" ที่เราอยู่ไม่ได้อีกต่อไป แต่ต้องมอง "ข้ามตลาด" ด้วย
✅ เราพูดคุยกับลูกค้าบ่อยแค่ไหน? และได้ ‘อินไซต์’ ลูกค้า แบบ "ข้ามตลาด" มากขนาดไหน?
✅ ทีมงานเรา ‘ปรับตัว’ ได้เร็วพอในการโต้ไหม?
✅ SME เรามีคอนเนคชั่นกว้างขวางในตลาดอื่นๆ ไหม?
เมื่อประเมินแล้ว เรามาดูคำถามที่สองกันต่อ
คำถามที่สอง : เราจะเตรียม SME ให้ ‘โต้คลื่น’ โอกาสก่อนคู่แข่ง อย่างไร ?
ในการสร้างความพร้อม เรามาดูกลยุทธ์ "ข้ามตลาด" กันนะคะ
มุมมองเดิม : โฟกัสแค่ตลาดของสินค้า/บริการ ที่เราขาย
พลิกมุมใหม่ : พูดคุยกับลูกค้า จนเห็นโอกาสใหม่ และดูว่าเราต้อง ‘ข้าม’ ไปตลาดไหน จึงจะตอบโจทย์
✅ พูดคุยกับลูกค้า เก็บ ‘อินไซต์’ แบบข้ามตลาด
✅ ใช้เทคนิคการผสาน ‘เป้านิ่ง + เป้าวิ่ง’ ผลักให้ทีมปรับตัวเร็วขึ้น
✅ หาพาร์ทเนอร์ในตลาดที่ต้องการข้ามไป
เช่น หากคุณเป็นผู้ประกอบการ SME ขายนมโอ๊ต การตั้งคำถามว่า "ลูกค้าต้องการนมโอ๊ตแบบไหน?" จะ ‘จำกัด’ การเห็นโอกาส อยู่แค่ภายใน ‘ตลาดนมโอ๊ต’

ทว่า มี SME นมโอ๊ตแห่งหนึ่งใน New York มอง ‘ข้ามตลาด’ จนพบว่าเทรนด์กาแฟพิเศษมาแรง และเห็นโอกาสว่า ‘นมโอ๊ต’ ทำให้รสชาติกาแฟพิเศษ กลมกล่อมกว่านมทั่วไป เขาจึงเข้าไปคอลแลปกับร้านกาแฟต่างๆ จนกระทั่งเติบโตก้าวกระโดด เมื่อ SME ผสาน ‘เป้านิ่ง’ กับ ‘เป้าวิ่ง’ พร้อม มองโอกาส แบบ ‘ข้ามตลาด’ ก็ จะเป็นการ ‘กระจายความเสี่ยง’ ตลาดไหนหดตัว เราก็ข้ามไปตลาดที่เติบโตได้ ทำให้แม้ในปี 2025 ความเปลี่ยนแปลงจะไปทิศทางไหน ก็พร้อมโต้คลื่นได้ก่อนใคร

แค่พลิกมุม พลิกกลยุทธ์ และพลิกความผันผวนได้ ก็กลายเป็น ‘โอกาส’ ใหม่ ๆ สำหรับ SME ในปีนี้ !
ไม่พลาดทุกข้อมูลความรู้เพื่อธุรกิจสำหรับ SME สามารถกดติดตามผ่านช่องทาง line ได้ที่ Line ID หรือคลิกเพื่อเพิ่มเพื่อนที่
https://line.me/R/ti/p/


ปลุกอินสไปร์รับปีใหม่  เคล็ดลับธุรกิจจาก CEO ระดับโลกในโลกธุรกิจที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ความสำเร็จไม่ได้วัดจากขนาดของ...
08/01/2025

ปลุกอินสไปร์รับปีใหม่ เคล็ดลับธุรกิจจาก CEO ระดับโลก
ในโลกธุรกิจที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ความสำเร็จไม่ได้วัดจากขนาดของบริษัท แต่วัดจากวิสัยทัศน์และการลงมือทำอย่างมีแบบแผน CEO จากบริษัทระดับโลกหลายรายได้สร้างแนวทางที่เป็นแรงบันดาลใจให้ SME สามารถพลิกโอกาสในปีใหม่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ถอดแนวคิด CEO ระดับโลกที่ SME ต้องรู้!
1. Bernard Arnault - LVMH "คุณค่าเกิดจากการรักษาเอกลักษณ์"
CEO ผู้นำ LVMH สร้างอาณาจักรแบรนด์หรูด้วยการให้ความสำคัญกับ การสร้างเรื่องราวของแบรนด์ (Brand Storytelling) และการสร้างประสบการณ์ให้ลูกค้า เช่น การนำแบรนด์หรูอย่าง Louis Vuitton, Dior มาสร้างความแตกต่างในตลาดที่เต็มไปด้วยการแข่งขัน ภายใต้แนวคิด “โอกาสจะเข้าข้างผู้ที่เตรียมตัวมาอย่างดี สิ่งนี้สะท้อนให้เห็นถึงความสำคัญของการเตรียมความพร้อม โดยเฉพาะในโลกแห่งความเป็นจริงที่ต้องเตรียมรับมือกับความเปลี่ยนแปลงและโอกาสใหม่ ๆ ที่เรากำลังเผชิญอยู่ในปัจจุบัน”
SME ปรับใช้ได้อย่างไร :
▪️การมีกลยุทธ์ที่เตรียมความพร้อม วางแผนระยะสั้น กลาง และระยะยาว
▪️ใช้ Brand Positioning ที่ชัดเจน เช่น การเน้นคุณภาพและเรื่องราวของสินค้า
▪️ลงทุนในประสบการณ์ลูกค้า เช่น บรรจุภัณฑ์ที่พรีเมียม หรือการบริการหลังการขายที่เหนือความคาดหวัง
2. Elon Musk - Tesla และ SpaceX "การมองเห็นโอกาสที่คนอื่นมองข้าม"
Elon Musk ไม่ได้ขายแค่รถยนต์ไฟฟ้า แต่ขายวิสัยทัศน์ของอนาคตที่ยั่งยืน และไม่หยุดพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ เช่น ระบบขับเคลื่อนอัตโนมัติ (Autonomous Driving) ภายใต้แนวคิดที่ให้ความเชื่อมั่นในไอเดียของตนเอง และมองการณ์ไกล ไม่ใช่เพียงระยะสั้น แต่คิดได้ล้ำลึกไปกว่านั้น
SME ปรับใช้ได้อย่างไร :
▪️มองหา นวัตกรรม ในตลาดของตน เช่น การใช้เทคโนโลยี IoT ในสินค้า
▪️สื่อสารเป้าหมายธุรกิจที่ใหญ่กว่าตัวสินค้า เช่น การช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
3. Jane Sun - Trip.com "ความยืดหยุ่นและความรวดเร็วในการปรับตัว"
ในช่วงวิกฤตการณ์ท่องเที่ยว CEO Trip.com ใช้กลยุทธ์ Upselling Experiences เช่น การขายทริปหรูที่เจาะกลุ่มลูกค้ากำลังซื้อสูง พร้อมสร้างแรงจูงใจผ่านโปรโมชั่นแบบเรียลไทม์ ภายใต้แนวคิดที่ให้ความสำคัญกับ 3 สิ่ง ได้แก่ Customer First : มุ่งเน้นการให้บริการที่ดีที่สุดแก่ลูกค้า โดยมองว่าความพึงพอใจของลูกค้าเป็นหัวใจสำคัญของธุรกิจ, Time Second : ให้ความสำคัญกับความรวดเร็วและประสิทธิภาพในการให้บริการ เช่น การออกตั๋ว การแก้ปัญหา และการตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้า และTrip Third : จัดการและพัฒนาประสบการณ์การเดินทางของลูกค้าเป็นลำดับต่อมา โดยมุ่งมั่นที่จะสร้างความสะดวกสบายและความประทับใจในทุกการเดินทาง
SME ปรับใช้ได้อย่างไร :
▪️Customer First : มุ่งเน้นการให้บริการที่ดีที่สุดแก่ลูกค้า
▪️ใช้กลยุทธ์การขายที่เน้นประสบการณ์ เช่น บริการแบบ Personalized หรือการจัดแพ็กเกจพิเศษ
▪️สร้างโปรโมชั่นแบบจำกัดเวลา (Flash Sale) เพื่อกระตุ้นการตัดสินใจซื้อ
4. Sam Altman - OpenAI "พลังของเทคโนโลยีและ AI"
CEO OpenAI พัฒนา ChatGPT เพื่อช่วยให้ธุรกิจทั่วโลกประหยัดเวลา เพิ่มประสิทธิภาพ และเข้าถึงข้อมูลเชิงลึกได้ง่ายขึ้น ภายใต้แนวคิดหนึ่งในกุญแจสำคัญสู่ความสำเร็จคือการมีความเชื่อในตัวเอง (Self-belief) และความสามารถในการเพิ่มพูนค่าความสามารถของตัวเองเป็นสิ่งที่ทรงพลังและควรมองหามันให้เจอในทุก ๆ ด้าน ทั้งความเป็นไปได้และเป็นไปไม่ได้ เพื่อที่จะได้คิดแบบมีอิสระ ไม่จำกัดความคิดแค่ในกรอบ
SME ปรับใช้ได้อย่างไร :
▪️มองหาช่องทางใหม่ๆ ในการดำเนินธุรกิจ มีความคิดนอกกรอบ
▪️ใช้ AI Tools เช่น การใช้ AI ช่วยจัดการข้อมูลลูกค้า หรือการตอบแชทอัตโนมัติ
▪️สร้างระบบ CRM (Customer Relationship Management) เพื่อเข้าใจลูกค้าเชิงลึกและเสนอขายสินค้า/บริการที่เหมาะสม
CEO ระดับโลกเหล่านี้พิสูจน์ให้เห็นแล้วว่า ความสำเร็จเริ่มต้นจากแนวคิดที่ชัดเจนและการลงมือทำที่มุ่งมั่น SME ไทยสามารถปรับใช้กลยุทธ์เหล่านี้เพื่อสร้างธุรกิจที่แตกต่าง สร้างความยั่งยืน และพร้อมเติบโตในตลาดที่เต็มไปด้วยโอกาส
ไม่พลาดทุกข้อมูลความรู้เพื่อธุรกิจสำหรับ SME สามารถกดติดตามผ่านช่องทาง line ได้ที่ Line ID หรือคลิกเพื่อเพิ่มเพื่อนที่
https://line.me/R/ti/p/
ขอบคุณภาพจาก : Trip.com


เนื่องในโอกาสวันคล้ายวันประสูติ สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา๘ มกราคม ๒๕๖๘
08/01/2025

เนื่องในโอกาสวันคล้ายวันประสูติ
สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา
๘ มกราคม ๒๕๖๘

ข่าวประชาสัมพันธ์จาก กรมพัฒนาธุรกิจการค้า DBD 📍 DBD SMEs 360 ํ แพลตฟอร์มดิจิทัล ที่รวบรวมเครื่องมือในการบริหารจัดการและก...
07/01/2025

ข่าวประชาสัมพันธ์จาก กรมพัฒนาธุรกิจการค้า DBD

📍 DBD SMEs 360 ํ แพลตฟอร์มดิจิทัล ที่รวบรวมเครื่องมือในการบริหารจัดการและการดำเนินธุรกิจไว้ในที่เดียว ใน 4 หมวด
🔹Sales and Marketing
🔹Design and Development
🔹Human Resource
🔹Analytics and Reporting

เพื่อเพิ่มศักยภาพธุรกิจ SMEs ไทย ให้เข้มแข็งและมีประสิทธิภาพในยุคดิจิทัล
เปิดให้บริการแล้ว! ทาง👉 https://dbdsmes360.dbd.go.th/




Wishing you happiness in this New Year 2025การเงินมั่งคั่ง การงานก้าวหน้าคิดหวังสิ่งใดก็ขอให้ Success ในทุกๆ เรื่อง
31/12/2024

Wishing you happiness in this New Year 2025
การเงินมั่งคั่ง การงานก้าวหน้า
คิดหวังสิ่งใดก็ขอให้ Success ในทุกๆ เรื่อง



ไขเคล็ดลับ! ทำธุรกิจเจาะใจคนโสด ให้ไม่โดดเดี่ยวภาพจำของ “โลกหมุนเร็วขึ้น” อาจจะเกี่ยวข้องกับภาพผู้คนมากมายเดินข้ามถนนกัน...
27/12/2024

ไขเคล็ดลับ! ทำธุรกิจเจาะใจคนโสด ให้ไม่โดดเดี่ยว
ภาพจำของ “โลกหมุนเร็วขึ้น” อาจจะเกี่ยวข้องกับภาพผู้คนมากมายเดินข้ามถนนกันอย่างอลหม่านในเมืองใหญ่ และถ้าสังเกตดีๆ พวกเขากำลังเดินอยู่คนเดียวมากกว่าการเดินมาเป็นคู่หรือเป็นกลุ่ม ท่ามกลางบรรยากาศรอบๆ ที่เต็มไปด้วยตึกสูงลิ่วรูปแบบต่างๆกัน ด้วยความเร่งรีบของผู้คนมันจะมาคู่กับการให้ความสำคัญกับการมีพื้นที่ส่วนตัว
ผู้คนกลุ่มนี้มักยอมจ่ายแพงขึ้น หากได้รับบริการหรือผลิตภัณฑ์ที่ตรงใจ อาจจะกล่าวได้ว่านิยามของคนกลุ่มนี้ก็คือ “ถ้าถูกใจ…ไม่มีคำว่าแพง” ยิ่งไปกว่านั้นพวกเขายังมักจะมองหาสิ่งที่ดีที่สุดเพื่อตัวเองเสมอ ไม่ว่าจะเป็น ของกิน ของใช้ หรือการได้รับประสบการณ์ที่ดีที่สุด และนั่นจึงเป็นที่มาของเทรนด์ Solo Economy ซึ่งกำลังกลายเป็นกระแสสำคัญทั่วโลก Solo Economy พฤติกรรมของผู้บริโภคที่มุ่งเน้นการใช้จ่ายเพื่อความสุขส่วนตัว เช่น การรับประทานอาหารคนเดียว การเดินทางคนเดียว ธุรกิจในหลายประเทศรอบโลกได้เริ่มเทรนด์แบบนี้มาระยะหนึ่งแล้ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งชาติที่ผู้คนมีความเป็นอิสระ และการเคารพตัวเอง (Self-Esteem) สูง อย่างเช่น สหรัฐอเมริกาและออสเตรเลีย
Peloton ผู้นำในธุรกิจฟิตเนสส่วนบุคคลในสหรัฐอเมริกา จับเทรนด์ Solo Economy เน้นกลุ่มคนที่ต้องการความเป็นส่วนตัว และให้ความสำคัญกับสุขภาพและการบริหารเวลาอย่างคุ้มค่า Intrepid Travel ธุรกิจในประเทศออสเตรเลีย ที่สร้างรายได้จากการวางกลยุทธ์ไปที่กลุ่มนักท่องเที่ยวที่เดินทางคนเดียวที่มีความสนใจคล้ายกัน ต้องการพบปะผู้คนใหม่ๆ เรียนรู้และยอมรับกับวิถีชีวิต รวมถึงวัฒนธรรมที่แตกต่าง เนื่องด้วยยุคสมัยที่เปลี่ยนไปการพึ่งพาตนเอง (Self-Reliance) เป็นอัตลักษณ์ที่เริ่มเป็นสากล ผู้คนยอมรับการรับประทานอาหารคนเดียวมากขึ้น แนวคิด Mini Hotpot Dining ของร้าน Haidilao อาหารจีนหม้อไฟจึงผุดไอเดียการออกแบบโต๊ะแบบเดี่ยว เพื่อให้ลูกค้าคนเดียวสามารถนั่งรับประทานอาหารได้อย่างสะดวกสบาย ไม่เคอะเขิน แม้ว่าอาหารแนวหม้อไฟจะเป็นอาหารที่ได้รับความสนุกสนานจากการทานร่วมกันหลายคน แต่การมีพื้นที่ส่วนตัวสำหรับทานอาหารที่ทุกคนชื่นชอบก็ไม่ได้ทำให้รสชาติอร่อยน้อยลง แต่กลับทำให้ความโดดเดี่ยวสลายไปพร้อมกับควันที่พวยพุ่งของน้ำซุปร้อนๆ อันหอมกรุ่น
⭐️ โอกาสสำหรับผู้ประกอบการ
ข้อมูลจากเว็บไซต์ Statista เปิดเผยว่าประเทศไทยมีแนวโน้มจำนวนคนโสดเพิ่มขึ้น ขณะเดียวกันสถิติการหย่าร้างในประเทศไทยก็เพิ่มมากขึ้น ซึ่งเป็นสัญญาณสำคัญที่ทำให้ผู้ประกอบการเห็นโอกาสทางธุรกิจและมุ่งวางกลยุทธ์ในการแข่งขันเพื่อ “เจาะใจคนโสด ให้ไม่โดดเดี่ยว”
ผู้ประกอบการอาจจะมุ่งพัฒนาโมเดลธุรกิจใหม่ โดยเน้นการออกแบบพื้นที่ที่เน้นความเป็นส่วนตัว หรือสร้างความแตกต่างผ่านนวัตกรรม การใช้เทคโนโลยีมอบประสบการณ์เฉพาะบุคคล (Personalization) เพื่อพัฒนาการบริการที่ตรงใจกับลูกค้า หรือกล่าวได้ว่าผู้ประกอบการที่จะประสบความสำเร็จก่อนใคร ต้องหยั่งรู้ความต้องการของลูกค้าก่อนที่ลูกค้าจะรู้ความต้องการของตัวเอง
📌 บทสรุป
การที่ผู้ประกอบการสามารถมองเห็นโอกาสในการปรับกลยุทธ์เพื่อเปิดรับแนวคิด Solo Economy จะช่วยสร้างความได้เปรียบทางธุรกิจ และเน้นไปที่การสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้าในระยะยาว ในอนาคตคาดว่า Solo Economy จะกลายเป็นหัวใจสำคัญของธุรกิจอีกหลายๆประเภท ซึ่งเกิดจากการต่อยอดจากธุรกิจหนึ่งไปอีกธุรกิจหนึ่ง (Domino Effect) และดิฉันเชื่อว่าเทรนด์นี้น่าจะอยู่กับโลกธุรกิจไปอีกยาวๆ ดังนั้นผู้ประกอบการที่สามารถเข้าใจและตอบสนองความต้องการนี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพจะสามารถยกระดับธุรกิจให้เติบโตได้อย่างมั่นคงในยุคที่ทุกคนล้วนต้องการความสุขใจ…ไม่ใช่เพียงแค่เงินตรา
ไม่พลาดทุกข้อมูลความรู้เพื่อธุรกิจสำหรับ SME สามารถกดติดตามผ่านช่องทาง line ได้ที่ Line ID หรือคลิกเพื่อเพิ่มเพื่อนที่ https://line.me/R/ti/p/


24/12/2024

จับกระแสปีหน้า! เทรนด์ธุรกิจ 2025 ที่ SME ห้ามหลุดเรดาร์
ปี 2025: การเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในโลกธุรกิจจะพัฒนาในหลายมิติ ทั้งด้านเทคโนโลยี ความยั่งยืน และพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลง SME ที่ปรับตัวทันกับกระแสจะสามารถคว้าโอกาสใหม่ ๆ และสร้างความได้เปรียบเหนือคู่แข่ง ในขณะที่ SME ที่ชะล่าใจอาจตกขบวนความสำเร็จครั้งสำคัญ
อัปเดตเทรนด์ธุรกิจสำคัญปี 2025 ที่ SME ต้องรู้!
1. Digital Transformation : การใช้เทคโนโลยีเพื่อสร้างความสะดวกสบายและเพิ่มประสิทธิภาพในธุรกิจ ไม่ใช่แค่ทางเลือก แต่เป็นหัวใจสำคัญในปี 2025
▪️AI และ Machine Learning : เช่น การใช้ AI วิเคราะห์ข้อมูลลูกค้าเพื่อสร้างแคมเปญการตลาดที่เฉพาะเจาะจง หรือแนะนำสินค้าที่ตรงใจลูกค้าโดยอัตโนมัติ
▪️ระบบจัดการ E-commerce : ธุรกิจออนไลน์ที่พัฒนาต่อเนื่องด้วยเทคโนโลยี เช่น ระบบ Chatbot ตอบคำถาม 24/7 หรือการชำระเงินผ่าน E-Wallet ที่ปลอดภัยและรวดเร็ว
2. Sustainability : ความยั่งยืนเป็นปัจจัยสำคัญในการดึงดูดผู้บริโภครุ่นใหม่
▪️บรรจุภัณฑ์รักษ์โลก : เช่น การเปลี่ยนไปใช้วัสดุที่ย่อยสลายได้หรือรีไซเคิล
▪️Circular Economy : การนำสินค้ากลับมาใช้ใหม่ เช่น ร้านเสื้อผ้าที่รับซื้อเสื้อเก่าเพื่อนำไปรีไซเคิล และมอบส่วนลดสำหรับสินค้าชิ้นใหม่
3. Aging Population : กลุ่มผู้สูงอายุเป็นตลาดใหญ่ ที่ยังไม่ถูกเจาะเต็มที่
▪️Health Tech : เช่น สมาร์ทวอทช์ที่วัดการเต้นของหัวใจ ความดันโลหิต และแจ้งเตือนเมื่อมีอาการผิดปกติ
▪️บริการส่วนตัว : การออกแบบบ้านที่เป็นมิตรกับผู้สูงอายุ หรือบริการดูแลสุขภาพถึงบ้าน
4. Health & Wellness : สุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี เป็นเป้าหมายของผู้บริโภค
▪️อาหารสุขภาพ: เช่น ผลิตภัณฑ์ Plant-based ที่ให้รสชาติคล้ายเนื้อสัตว์ แต่เป็นมิตรกับสุขภาพและสิ่งแวดล้อม
▪️บริการ Wellness Tourism : เช่น การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพที่รวมโยคะ สมาธิ และอาหารคลีนในแพ็กเกจ
5. Creator Economy : การสนับสนุนผู้สร้างคอนเทนต์ ที่เพิ่มมูลค่าให้กับแบรนด์
▪️แบรนด์ร่วมมือกับครีเอเตอร์ : เช่น การใช้ YouTubers หรือ TikTokers ในการรีวิวสินค้า
▪️การสร้างแบรนด์ผ่าน Storytelling : ธุรกิจที่สนับสนุนให้ลูกค้าแชร์ประสบการณ์กับสินค้าและบริการ
6. Hybrid Business Model : การรวมการขายออนไลน์และออฟไลน์เพื่อสร้างประสบการณ์ที่ดีที่สุดให้กับลูกค้า
▪️Click & Collect : ลูกค้าซื้อสินค้าออนไลน์และมารับที่หน้าร้าน
▪️Pop-up Stores : ร้านชั่วคราวในพื้นที่ที่มีกลุ่มเป้าหมายเฉพาะ
SME จะเริ่มต้นอย่างไร ? เริ่มต้นจากการประเมินความพร้อมของธุรกิจ เช่น มีเทคโนโลยีพื้นฐานอะไรอยู่แล้วบ้าง, ศึกษาความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย เช่น ลูกค้าสนใจสินค้าที่ปรับแต่งได้หรือไม่, ลงทุนในเทคโนโลยีทีละขั้นตอน เช่น เริ่มจากระบบ E-Wallet ก่อนขยับไปสู่ AI
สรุป 3 จุดเด่นของเทรนด์ธุรกิจปี 2025
✔️เทคโนโลยีเป็นแกนหลัก: การพัฒนา AI, Blockchain และ E-commerce จะเข้ามาเป็นส่วนสำคัญที่ขับเคลื่อนธุรกิจ
✔️ความยั่งยืน (Sustainability) เป็นสิ่งจำเป็น: ผู้บริโภคตระหนักถึงสิ่งแวดล้อมมากขึ้น ธุรกิจต้องแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมเพื่อดึงดูดลูกค้า
✔️คนรุ่นใหม่มองหาประสบการณ์ที่แตกต่าง: การตอบสนองความต้องการที่เฉพาะเจาะจง เช่น การปรับแต่งสินค้า (Customization) จะช่วยให้ธุรกิจโดดเด่น
เทรนด์ธุรกิจปี 2025 ไม่ใช่แค่ทางเลือก แต่คือกุญแจสำคัญสู่ความสำเร็จ SME ที่เข้าใจและนำไปปรับใช้จะมีโอกาสเติบโตในเชิงรายได้และได้รับความเชื่อมั่นจากลูกค้า SME ของคุณพร้อมรับมือและปรับตัวให้เข้ากับเทรนด์เหล่านี้หรือยัง?
ไม่พลาดทุกข้อมูลความรู้เพื่อธุรกิจสำหรับ SME สามารถกดติดตามผ่านช่องทาง line ได้ที่ Line ID หรือคลิกเพื่อเพิ่มเพื่อนที่
https://line.me/R/ti/p/


24/12/2024

Trade Advisory ที่ปรึกษาด้านธุรกรรมการค้าระหว่างประเทศ ที่พร้อมสนับสนุนลูกค้าให้สามารถเติบโตได้อย่างแข็งแกร่ง ด้วยทีมงานที่มีความเชี่ยวชาญและประสบการณ์ ผสานความร่วมมือกับ MUFG สถาบันการเงินชั้นนำระดับโลก ให้การชำระเงินระหว่างประเทศสะดวก รวดเร็ว และง่ายขึ้น พร้อมด้วยบริการ Trade Services แบบครบวงจร ครอบคลุมทุกมิติความต้องการของธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ

#ชีวิตง่ายได้ทุกวัน

23/12/2024

ตู้เต่าบินเป็นตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจนของการนำเทคโนโลยีเข้ามาผสานกับการขายสินค้า สามารถสร้างประสบการณ์ที่ดีใหม่ให้กับลูกค้า และนำไปสู่โอกาสและการเติบโตทางธุรกิจของบริษัท ซึ่ง Embedded Finance สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับธุรกิจของคุณ ใน Sectors ต่าง ๆ ได้เช่นเดียวกัน
มาร่วมกันหาคำตอบได้ใน Krungsri Business Sharing EP.3 Technology for People เต่าบินผสานข้อมูลลูกค้าและ Embedded Finance พลิกเกมธุรกิจ [Part 3/4] คลิก https://youtu.be/qb2ZmSruHds


#ธนาคารกรุงศรี #ชีวิตง่ายได้ทุกวัน
#เต่าบิน

20/12/2024

คุมค่าโฆษณาได้อีกเพียบ แค่ใช้ทักษะ Creative เข้ามาช่วย !
ในปัจจุบัน การโฆษณาบนแพลตฟอร์มออนไลน์เช่น Facebook, Instagram หรือ Google Ads กำลังเป็นที่นิยมอย่างมาก แต่ในขณะเดียวกัน ค่าใช้จ่ายในการโฆษณาก็มีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อย ๆ ทำให้ธุรกิจขนาดเล็กและกลาง (SME) ต้องเผชิญกับความท้าทายที่สำคัญ การแข่งขันในตลาดออนไลน์มีมากขึ้นเรื่อย ๆ โดยเฉพาะในบางอุตสาหกรรมที่มีคู่แข่งจำนวนมาก การจะทำให้โฆษณาเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพจึงไม่ใช่เรื่องง่ายอีกต่อไป
การเพิ่มขึ้นของค่าโฆษณาไม่เพียงแต่ส่งผลกระทบต่อ SME เท่านั้น แต่ยังส่งผลให้เกิดการตัดสินใจที่ยากลำบากในการลงทุนในกิจกรรมการตลาด หาก SME ไม่มีการวางแผนการใช้เงินโฆษณาอย่างรอบคอบ อาจทำให้เกิดการขาดทุนหรือไม่สามารถแข่งขันกับคู่แข่งได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ ความเข้าใจผิดในการเลือกกลยุทธ์การโฆษณาที่ไม่เหมาะสมอาจทำให้ SME ใช้ค่าโฆษณาอย่างสูญเปล่า
การนำความคิดสร้างสรรค์มาใช้ในการโฆษณาเป็นวิธีที่ SME สามารถลดค่าใช้จ่ายได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยจากข้อมูลที่ Meta เปิดเผย พบว่าการใช้ครีเอทีฟที่มีความหลากหลายและมีคุณภาพสามารถเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้ถึง 89% ซึ่งแสดงให้เห็นว่าการใช้ครีเอทีฟที่น่าสนใจสามารถทำให้การโฆษณาโดดเด่นท่ามกลางการแข่งขันที่เข้มข้น
การสร้างงานครีเอทีฟที่มีความหมายและเข้ากับผู้ชม ไม่เพียงแค่ช่วยให้ SME สามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้มากขึ้น แต่ยังทำให้ Est. Action Rates เพิ่มขึ้น โดยครีเอทีฟที่ดียังสามารถเพิ่มโอกาสในการชนะการประมูลโฆษณาได้ถึง 50% ซึ่งหมายความว่า SME ไม่จำเป็นต้องเพิ่มราคาประมูลเพื่อให้โฆษณาของตนสามารถแข่งขันได้ เมื่อมีครีเอทีฟที่น่าสนใจและตอบโจทย์ลูกค้า ทำให้ค่าโฆษณาลดลงและผลตอบแทนจากการลงทุน (ROI) สูงขึ้น
3 เทคนิคการใช้ความ Creative เพื่อลดค่าโฆษณาได้อย่างมีประสิทธิภาพ
1. สร้างความหลากหลายในแนวคิด (Diversify Concepts)
การปรับเปลี่ยนแนวคิดการโฆษณาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมายที่หลากหลายสามารถช่วยให้การสื่อสารมีประสิทธิภาพมากขึ้น การใช้แนวคิดที่แตกต่างกัน เช่น การนำเสนอความรู้สึก อารมณ์ หรือประโยชน์ของผลิตภัณฑ์ จะช่วยดึงดูดความสนใจจากผู้บริโภคได้ดีกว่า นอกจากนี้ การศึกษาแนวโน้มของผู้บริโภคและการนำเสนอสินค้าตามความสนใจที่เปลี่ยนแปลงไปก็จะทำให้ SME มีความได้เปรียบในการแข่งขัน
▪️Emotional Benefit เน้นอารมณ์และความรู้สึก การเชื่อมโยงทางอารมณ์กับผู้บริโภคผ่านความรู้สึกดี เช่น ความสุขหรือความภาคภูมิใจ ช่วยสร้างความสัมพันธ์ที่ลึกซึ้งกับแบรนด์
▪️Rational Benefit นำเสนอเหตุผลและข้อดี การนำเสนอเหตุผลและข้อดีที่ชัดเจน เช่น การประหยัดหรือความทนทาน ช่วยให้ผู้บริโภครู้สึกมั่นใจในการเลือกซื้อสินค้า
▪️Product Benefit โฟกัสที่คุณสมบัติของสินค้า การนำเสนอคุณสมบัติเด่นของผลิตภัณฑ์ เช่น ฟีเจอร์ใหม่หรือคุณภาพวัสดุ ช่วยให้ลูกค้าตัดสินใจได้ง่ายขึ้น
2. ปรับเปลี่ยนรูปแบบการนำเสนอ (Diversify Formats)
การใช้รูปแบบโฆษณาที่หลากหลายสามารถสร้างความน่าสนใจได้ เช่น การใช้ Instagram Reels หรือ TikTok ที่ได้รับความนิยม ซึ่งมีการแชร์มากกว่า 2,000 ล้านครั้งต่อวัน การสร้างเนื้อหาที่ตอบโจทย์พฤติกรรมการใช้งานของผู้บริโภคจะช่วยให้โฆษณาของ SME เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้ง่ายขึ้น
3. ใช้ภาษาที่หลากหลาย (Diversify Languages)
การขยายขอบเขตการเข้าถึงลูกค้าในตลาดต่างประเทศ เป็นสิ่งสำคัญสำหรับ SME การใช้ฟีเจอร์แปลภาษาอัตโนมัติจาก Meta ช่วยให้โฆษณาของ SME เข้าถึงผู้ชมในหลายภาษาได้ง่ายขึ้น ส่งผลให้สามารถสื่อสารกับกลุ่มเป้าหมายในตลาดต่างประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ การใช้ภาษาที่เหมาะสมจะช่วยเพิ่มความน่าสนใจและทำให้ผู้บริโภครู้สึกใกล้ชิดกับแบรนด์มากขึ้น
แล้ว AI จะเข้ามาช่วยงานในด้าน Creative ยังไงได้บ้าง ?
แน่นอนว่าในยุคที่เทคโนโลยีก้าวหน้า AI กลายเป็นเครื่องมือสำคัญที่ช่วย SME ในการสร้างครีเอทีฟที่ตอบโจทย์ โดย AI สามารถวิเคราะห์ข้อมูลการใช้งานของลูกค้าและเสนอแนวทางในการสร้างครีเอทีฟที่มีประสิทธิภาพได้ นอกจากนี้ AI ยังสามารถทำการวิเคราะห์หรือหาเทรนด์ที่กำลังได้รับความสนใจ หรือไวรัลที่คนกำลังพูดถึง เพื่อเพิ่มความครีเอทีฟและประสิทธิภาพให้กับโฆษณาของ SME มากขึ้น
การใช้ AI ในการวิเคราะห์ข้อมูลยังช่วยให้ SME สามารถปรับเปลี่ยนกลยุทธ์การตลาดได้อย่างรวดเร็วตามความต้องการของตลาด ทำให้เกิดความยืดหยุ่นในการบริหารจัดการงบประมาณโฆษณา และยังช่วยในการประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายในการผลิตครีเอทีฟใหม่ ๆ ได้อย่างมาก
การใช้ทักษะ Creative ในการโฆษณาไม่เพียงแต่ช่วยลดค่าใช้จ่าย แต่ยังช่วยให้ SME สามารถเข้าถึงลูกค้าได้มากขึ้นและสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับกลุ่มเป้าหมาย การเข้าใจและนำเสนอครีเอทีฟอย่างมีกลยุทธ์จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของแคมเปญโฆษณาและสามารถแข่งขันในตลาดที่มีความท้าทายได้อย่างยั่งยืน การส่งเสริมให้ทีมงานใช้ Creative อย่างมีประสิทธิภาพจะทำให้ SME สามารถสร้างความแตกต่างในตลาดและได้รับประโยชน์จากการลงทุนในโฆษณาอย่างสูงสุด
ไม่พลาดทุกข้อมูลความรู้เพื่อธุรกิจสำหรับ SME สามารถกดติดตามผ่านช่องทาง line ได้ที่ Line ID หรือคลิกเพื่อเพิ่มเพื่อนที่
https://line.me/R/ti/p/



#ยิงแอดโฆษณา

มาร่วมกันสร้างความเปลี่ยนแปลงเพื่อโลกที่ดีกว่ากับกรุงศรีวันนี้!Krungsri SME พร้อมเคียงข้างสนับสนุน SME ทั้งในภาคการผลิต ...
20/12/2024

มาร่วมกันสร้างความเปลี่ยนแปลงเพื่อโลกที่ดีกว่ากับกรุงศรีวันนี้!
Krungsri SME พร้อมเคียงข้างสนับสนุน SME ทั้งในภาคการผลิต การค้า หรือบริการ สร้างความยั่งยืนร่วมกัน ด้วย “กลุ่มผลิตภัณฑ์สินเชื่อ SME เพื่อความยั่งยืน” (Krungsri SME Sustainability Loan for All) ด้วยดอกเบี้ยพิเศษที่ 3.5% ต่อปี 2 ปีแรก ผ่อนสบาย วงเงินสูง ตอบโจทย์ครบทุกความต้องการด้านการดูแลสิ่งแวดล้อมของธุรกิจอย่างครอบคลุม ช่วยส่งเสริมสนับสนุนการมีส่วนร่วมของภาคธุรกิจในการตอบสนองกับปัญหาภาวะโลกร้อน และช่วยเสริมทัพธุรกิจเพื่อความยั่งยืนให้แข็งแกร่งยิ่งขึ้น ประกอบไปด้วย 4 ผลิตภัณฑ์สินเชื่อเพื่อความยั่งยืน ดังนี้
1. สินเชื่อโซลาร์รูฟท็อปเพื่อธุรกิจ (Krungsri SME Solar Rooftop) สำหรับการลงทุนติดตั้งโซลาร์รูฟในธุรกิจ เพื่อสนับสนุนธุรกิจใช้พลังงานทางเลือก อีกทั้งยังช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายด้านพลังงานจากการใช้พลังงานสะอาด
2. สินเชื่อธุรกิจเพื่อการเปลี่ยนผ่านสู่ความยั่งยืน (Krungsri SME Transition Loan) สำหรับธุรกิจทั่วไปที่ต้องการลงทุนเพื่อการบริหารจัดการด้านสิ่งแวดล้อม การประหยัดพลังงาน และลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก อาทิ การลงทุนระบบบำบัดน้ำเสีย การสร้างหรือปรับปรุงอาคาร/โรงงานเพื่อประหยัดพลังงาน การลงทุนโครงการอสังหาฯ ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม การลงทุนด้านพลังงานทดแทน เป็นต้น
3. สินเชื่อธุรกิจเพื่อสนับสนุนความยั่งยืน (Krungsri SME Sustainability Businesses) สำหรับธุรกิจที่เป็นผู้ผลิต ผู้ติดตั้ง ผู้ค้าผลิตภัณฑ์ หรือผู้ให้บริการ solution เพื่อสร้างความยั่งยืน อาทิ ธุรกิจผลิตมอเตอร์ไฟฟ้า ธุรกิจติดตั้งฉนวนกันความร้อน ธุรกิจติดตั้ง Solar Cell ธุรกิจติดตั้ง EV Charger ธุรกิจพลังงานสะอาด ธุรกิจยานยนต์ไฟฟ้า ธุรกิจรีไซเคิล เพื่อใช้เป็นเงินทุนเพิ่มเติมเพื่อรองรับการขยายกิจการหรือต่อยอดธุรกิจที่ทำอยู่
4. สินเชื่อเพื่อธุรกิจ PPA (Krungsri SME for PPA) หรือ Power Purchase Agreement สำหรับธุรกิจที่ทำการลงทุนผลิตและขายไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ในรูปแบบโซลาร์เซลล์ โดยมีสัญญาซื้อขายไฟให้กับผู้ใช้งานซึ่งเป็นหน่วยงานขนาดใหญ่ อาทิ รัฐวิสาหกิจ โรงพยาบาล เป็นต้น
สำหรับผู้ประกอบการที่สนใจ สามารถศึกษารายละเอียดข้อมูลเพิ่มเติมหรือสอบถามข้อมูลได้ที่สาขาของธนาคาร หรือ ติดต่อผู้จัดการธุรกิจสัมพันธ์หรือศูนย์บริการลูกค้าธุรกิจกรุงศรี
โทร. 02-626-2626 โดยเงื่อนไขเป็นไปตามที่ธนาคารกำหนด
รายละเอียดเพิ่มเติม คลิก https://bit.ly/Krungsri-SME-Sustainability-Loan-for-All


#ธุรกิจยั่งยืน #อนาคตสีเขียว #พลังงานสะอาด

Krungsri SME พร้อมเคียงข้างสนับสนุนธุรกิจผลิตไฟฟ้าสู่ความยั่งยืน ด้วย “สินเชื่อเพื่อธุรกิจ PPA (Krungsri SME for PPA) หร...
18/12/2024

Krungsri SME พร้อมเคียงข้างสนับสนุนธุรกิจผลิตไฟฟ้าสู่ความยั่งยืน ด้วย “สินเชื่อเพื่อธุรกิจ PPA (Krungsri SME for PPA) หรือ Power Purchase Agreement” สำหรับธุรกิจที่ทำการลงทุนผลิตและขายไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ในรูปแบบโซลาร์เซลล์ โดยมีสัญญาซื้อขายไฟให้กับผู้ใช้งานซึ่งเป็นหน่วยงานขนาดใหญ่ อาทิ รัฐวิสาหกิจ โรงพยาบาล เป็นต้น
จุดเด่นผลิตภัณฑ์*
- ดอกเบี้ยพิเศษ 3.5% ต่อปี 2 ปีแรก*
- ผ่อนสบาย
- วงเงินสูง
คุณสมบัติเบื้องต้น
- นิติบุคคลที่จดทะเบียนในประเทศไทย และประกอบกิจการในประเทศไทยมาแล้วไม่ต่ำกว่า 3 ปี
- มีผลประกอบการและประวัติทางการเงินที่ดี
- ต้องมีเอกสารสัญญาซื้อขายไฟ (Power Purchase Agreement) หรือเอกสารอื่น ๆ ประกอบตามความเหมาะสม
- คุณสมบัติอื่น ๆ ตามหลักเกณฑ์ที่ธนาคารกำหนด
* การอนุมัติวงเงินสินเชื่อ ระยะเวลาการผ่อนและอัตราดอกเบี้ยเป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการพิจารณาสินเชื่อของธนาคาร ซึ่งจะพิจารณาตามแต่กรณีไป
สอบถามรายละเอียดได้ที่ผู้ดูแลความสัมพันธ์ลูกค้าของธนาคาร หรือศูนย์บริการลูกค้าธุรกิจกรุงศรี 02-626-2626 รายละเอียดเพิ่มเติมคลิก https://shorturl.at/gDhYU
มาร่วมกันสร้างความเปลี่ยนแปลงเพื่อโลกที่ดีกว่ากับกรุงศรีวันนี้!


#ธุรกิจยั่งยืน #อนาคตสีเขียว #พลังงานสะอาด

Address


Alerts

Be the first to know and let us send you an email when Krungsri Business Empowerment posts news and promotions. Your email address will not be used for any other purpose, and you can unsubscribe at any time.

Contact The Business

Send a message to Krungsri Business Empowerment:

Videos

Shortcuts

  • Address
  • Alerts
  • Contact The Business
  • Videos
  • Claim ownership or report listing
  • Want your business to be the top-listed Media Company?

Share