PsyLib_URU หลักสูตรจิตวิทยาการแนะแนวและบรรณารักษศาสตร์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ หน่วยงานด้านการศึกษา

15/12/2023

เอาฤกษ์เอาชัย ! 👇🏻

#จิตวิทยา

04/12/2023

หางานบรรณารักษ์

01/12/2023

เมื่อการวาด หรือการเขียนด้วยลายมือตัวเองเป็นเรื่องสำคัญ 🖍🖌✏️

28/11/2023
23/11/2023

หางานบรรณารักษ์

21/11/2023

หางานบรรณารักษ์

20/11/2023

หางานบรรณารักษ์

14/11/2023

🩵 โพสต์นี้ไม่มีอะไรมาก อยากหาเพื่อนมาเป็น "แอดมิน" กลุ่มแนะแนวเรียนต่อจิตวิทยา ไปด้วยกัน 🚀

📌 เรากำลังมองหากลุ่มนักศึกษาที่กำลังศึกษาอยู่ในคณะหรือสาขาจิตวิทยา ประจำมหาวิทยาลัยต่างๆ เพื่อเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มแอดมินแนะแนวการศึกษาใน Line Openchat "อยากเรียนจิตวิทยา 🩹💗" ที่มีน้องๆ มากกว่า 3000 คน รออยู่!

📌 โอกาสในการพบเจอเพื่อนจิตวิทยาต่างมหาวิทยาลัย และรุ่นพี่ปีสูงในวงการแนะแนวจิตวิทยา
เพียงคุณเป็นนักศึกษาที่กำลังเรียนในสาขาจิตวิทยาอยู่ ณ ปัจจุบัน ทุกมหาวิทยาลัย ทุกชั้นปี
สมัครได้ตั้งแต่วันนี้ ถึง 19 พฤศจิกายนนี้ Scan QR กรอกฟอร์มมาได้เลย 💜

ปล. ทางเพจจะติดต่อกลับทางอีเมล เพียงคนที่ผ่านการคัดเลือกเท่านั้น (ภายในวันที่ 20 พฤศจิกายน 2566)

#เรียนต่อจิตวิทยา

03/11/2023

. โรงเรียนน่านปัญญานุกูล จังหวัดน่าน รับสมัครครูบรรณารักษ์ ตั้งแต่วันที่ 6 - 12 พฤศจิกายน 2566 ประกาศรับสมัคร

13/10/2023

ภายในหนึ่งวัน คุณจะลืมข้อมูลที่อ่านหรือที่ได้ยินประมาณ 70% และประสิทธิภาพทางการอ่านจะลดลง 30% เมื่ออ่านผ่าน....

13/10/2023

. คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รับสมัครบรรณารักษ์ ตั้งแต่วันที่ 12 - 26 ตุลาคม 2566 ประกาศรับสมัคร

07/10/2023

หากผมเขียนบทความว่าด้วยความคลั่งเสรีภาพ ความบิดเบี้ยวของสถาบันศึกษา นักศึกษาไม่เคารพครูบาอาจารย์ เห็นครูบาอาจารย์เป็นลูกจ้าง การมอมเมาเด็ก การใช้สื่อเป็นเครื่องมือทำลายเด็ก การเขียนเรื่องที่ทําให้เด็กมีจิตใจเลวทราม เสรีภาพการแต่งตัวตามใจฉัน ฯลฯ เชื่อว่าร้อยละร้อยคงเห็นว่าผมโจมตีคนบางกลุ่ม และบทบาทด้านลบของอาจารย์บางสถาบันการศึกษา เชื่อว่าทัวร์จะลงในพริบตา

แต่มีข้อเขียนชิ้นหนึ่งที่เขียนเมื่อ ๕๓ ปีก่อน เนื้อหาตามที่ยกมาข้างต้นเป๊ะ

นี่คือบทเทศน์จากพุทธทาสภิกขุเมื่อปี ๒๕๑๓ ชื่อเรื่อง 'เสรีภาพที่เป็นอันตรายที่สุด' ไม่ใช่บทความโจมตีใคร แต่เพื่อเตือนสติสังคม ที่น่าประหลาดคือ บทความนี้ไม่ล้าสมัยเลย

เชิญอ่านฉบับเต็มเพื่อรับรู้ทัศนะและมุมมองของท่านพุทธทาสภิกขุ
........................

เสรีภาพที่เป็นอันตรายที่สุด

[สมัยนี้คนบูชาเสรีภาพโดยตามใจกิเลส ยุคที่กลายเป็นปีศาจในร่างของมนุษย์]

“ในมหาวิทยาลัยนี่ ก็ลองคิดดูซิ ก็มีการทะเลาะวิวาทกัน อย่างอันธพาลในหมู่นักศึกษานิสิตกันเอง ไม่เคารพครูบาอาจารย์ เห็นครูบาอาจารย์เป็นลูกจ้าง แล้วก็ไม่มีใครว่าอะไรใคร ไม่มีใครเห็นว่ามันเป็นของผิด ถ้าเป็นอย่างนั้นสมัยก่อน เพียง ๕๐ - ๖๐ ปีมาแล้ว เขาประณามเป็นเรื่องเสียหาย เป็นเรื่องที่จะไม่มีอะไรที่น่าอับอายขายหน้าเท่ากับสิ่งเหล่านั้น

ถ้าในสํานักศึกษาอันเป็นที่สร้างดวงจิตดวงวิญญาณของมนุษย์เป็นอย่างนี้เสียแล้ว แล้วนอกนั้นมันจะเป็นอย่างไร? เพราะอะไรๆก็ออกไปจากสํานักศึกษา เพราะว่าเราต้องผ่านสํานักการศึกษา จนกว่าจะเติบโตแล้วออกไป ถ้าในสํานักสําหรับการศึกษานั้น เป็นแหล่งเพาะวิญญาณของซาตานของวัตถุนิยมเสียแล้ว มันก็หมดกัน ไม่มีอะไรเหลือ

ฉะนั้น ถ้าใครยังรักบ้านรักเมือง รักเกียรติยศของความเป็นมนุษย์แล้ว ก็ช่วยกันไปคิดให้ดีๆ ช่วยกันต่อต้านไว้บ้าง อย่าไปตามก้นอาจารย์ฝรั่งไปเสียทุกอย่างทุกทาง

สมัยนี้คนบูชาเสรีภาพโดยตามใจกิเลส

ยังมีสิ่งที่ร้ายกาจอีกสิ่งหนึ่ง ก็คือสิ่งที่เรียกว่า 'เสรีภาพ' ทุกคนบูชาเสรีภาพ แต่มันเป็นเสรีภาพเพื่อจะเป็นภูตผีปีศาจ หรือเป็นสัตว์เดรัจฉานในที่สุด เสรีภาพของเขาต้องการอย่างนี้ ต้องการจะเสรีภาพตามใจกิเลส ตามใจซาตาน ตามใจพญามาร ไม่มีศีลธรรม นี่เขาต้องการเสรีภาพอย่างนี้ อยากจะไว้ผมยาว อยากจะแต่งตัวให้แปลกประหลาด อยากจะมีเสรีภาพ ไม่รู้ว่าเสรีภาพอะไรกัน

ทีนี้ เสรีภาพที่เป็นอันตรายที่สุด ก็คือการแสดงอะไรได้ตามชอบใจ เขียนก็จะเขียนได้ตามชอบใจ จะแสดงศิลปอะไรก็แสดงได้ตามชอบใจ ไม่ถือว่าเป็นลามกอนาจาร สิ่งที่เป็นลามกอนาจาร ก็บัญญัติกันเสียใหม่ว่า ไม่ใช่ลามกอนาจาร

เรื่องที่เขาแก้ไขกันเสียใหม่ว่าไม่ลามกอนาจารนะ มันมากมายด้วยกัน การประกวดนางหน้าด้านนั้น ก็กลายเป็นของดีของวิเศษ ของอะไรไป ทั่วโลกสมัยนี้เขาเห็นเป็นสิ่งที่ถูกต้องที่ดีที่สุด ประกวดกันทุกหนทุกแห่งในโลกนี้ ผมเรียกว่าประกวดนางหน้าด้าน ถ้าหน้าไม่ด้านพอ ก็ไปเปิดแข้งเปิดขาเปิดอะไร แสดงอย่างนั้นไม่ได้

ถ้าเป็นสมัยก่อน คุณย่า คุณยายเป็นลมตายแน่ ถ้าลูกหลานของแกไปทําอย่างนั้น เดี๋ยวนี้ เขาเห็นว่าถูกต้องดีงามไปหมด นี่ก็คือ 'เสรีภาพ' ผลของเสรีภาพมันเป็นอย่างนี้ นี้เป็นเรื่องที่เห็นได้ชัดๆ โต้งๆ แล้วที่มันยังละเอียด เห็นได้ยาก แฝงอยู่ในอะไรต่างๆ ยังมีอีกมาก

เสรีภาพในการเขียน ไม่มีใครว่าใครได้ แล้วก็เขียนเรื่องลามก อนาจาร ลงไปในหนังสือประจําวัน แพร่หลายทั่วไปหมด ย้อมนิสัยเด็กๆ ให้เสียไปโดยไม่รู้สึกตัว โดยไม่ต้องรู้สึกตัว เขียนเรื่องอ่านเล่นโดยนามปากกา ที่มีชื่อเสียง นิยมนับถือกันทั้งประเทศ แต่แล้วก็เขียนเรื่องที่ทําให้เด็กมีจิตใจเลวทราม เสื่อมเสียทางศีลธรรมโดยไม่รู้สึกตัว คุณไปเอาหนังสือพิมพ์มาพิจารณาดูเอาก็แล้วกัน ก็จะมองเห็น

ยังมีอะไรอีกมาก ที่ทําให้เด็กๆ กลายเป็นปีศาจในร่างมนุษย์ คนโตๆ ไม่เป็นไร ไม่กี่ปีก็ตาย. แต่ว่าการที่ทําให้เด็กๆ มากลายเป็นอย่างนั้นนั้น มันน่าอันตรายอย่างยิ่ง เพราะว่าเขายังจะอยู่ไปอีกนาน

การพูดจาก็ดี การเขียนก็ดี ศิลปวัตถุ นิทรรศการ ภาพยนตร์ อะไรต่าง ๆ ล้วนแต่เป็นอย่างเดียวกันหมด เขามีเสรีภาพ มีอิสรภาพ มีเสรีภาพที่จะทํา ใครห้ามกันไม่ได้ หรือบางทีเขาก็มีอํานาจอย่างอื่น มาช่วยให้เขาต้องทําหรือได้ทํา

เมื่ออ้างเสรีภาพไม่ได้ ก็ใช้อํานาจอย่างอื่นมาช่วยให้ได้ทํา เขาก็ทํากันทั่วไปหมดทุกหนทุกแห่ง ทุกหัวระแหง ทําลูกเด็ก ๆ ของเราให้กลายเป็นปีศาจในร่างมนุษย์มากขึ้นๆ เหลือที่จะป้องกัน เหลือที่จะแก้ไขแล้ว นี่แหละคือรากฐานอันแท้จริงของการเสื่อมทางศีลธรรม แล้วเรื่องอื่นๆ มันก็ต้องตามมาแน่นอน เรื่องอันธพาล เรื่องอะไรก็ตาม มันก็ต้องตามมามากเหลือที่จะประมาณได้

นี้มันก็ไม่ใช่เรื่องเล็กน้อย เป็นเรื่องทั้งหมดของมนุษย์ หรือของโลกมนุษย์ ที่จะอยู่หรือว่าจะล่มจม มีมูลมาจากการศึกษาแผนใหม่ วัฒนธรรมแผนใหม่ ที่มาจากข้างนอก เข้ามาสู่ประเทศไทย เรียกว่าเราอยู่ในยุคของอะไร ลองคิดดู พวกเรากําลังอยู่ในยุคอะไร ควรจะเรียกชื่อของยุคนี้ว่ายุคอะไร ลองคิดดู ส่วนผมนั้นสมัครเรียกว่า ยุคที่กลายเป็นปีศาจในร่างของมนุษย์”

จากธรรมเทศนาชุดชุมนุมล้ออายุ หัวข้อเรื่อง 'ยิ่งจะทำให้ดี โลกมันยิ่งบ้า' เมื่อวันที่ ๒๗ พฤษภาคม ๒๕๑๓ กัณฑ์ค่ำ ณ ลานหินโค้ง จากหนังสือชุดธรรมโฆษณ์ ชุมนุมล้ออายุ เล่ม ๑ หน้า ๕๑๕-๕๑๖,๕๑๙-๕๒๑

26/09/2023

🔵 จับทิศทางการศึกษาโลก ขับเคลื่อนการศึกษาไทย: ศาสตราจารย์นายแพทย์วิจารณ์ พานิช
ทิศทางการศึกษาโลกมีการปรับเปลี่ยนตลอดเวลาและแน่นอนว่าย่อมมีผลทั้งทางตรงและทางอ้อมต่อแนวทางการจัดการศึกษาของไทย เพื่อสร้างความเข้าใจในเรื่องนี้ ศาสตราจารย์ นพ.วิจารณ์ พานิช ประธานคณะอนุกรรมการพัฒนาคุณภาพโรงเรียนทั้งระบบ กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) ได้กล่าวปาฐกถาพิเศษหัวข้อ “ทิศทางการจัดการศึกษาในโลกปัจจุบัน และพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดภูเก็ต” ในเวทีมหกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้โรงเรียนพัฒนาตนเองระดับพื้นที่ ครั้งที่ 3 “กลไกขับเคลื่อนการจัดการศึกษาของพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดภูเก็ต สู่งานมหกรรมการศึกษาไทย” เมื่อวันที่ 19 สิงหาคม 2566 ซึ่งจัดโดยกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.)โดยเน้นให้เห็นว่า ทิศทางการศึกษาโลกนั้นมีอยู่แล้วที่เมืองพหุวัฒนธรรมอย่างภูเก็ต และเมื่อครูเข้าใจทิศทางเหล่านี้แล้วจะทำให้เกิดพลังที่ทำให้ระบบการศึกษาไทยขับเคลื่อนไปข้างหน้าได้จริงะทำให้เกิดพลังที่ทำให้ระบบการศึกษาไทยขับเคลื่อนไปข้างหน้าได้จริง

ทั้งนี้ ศาสตราจารย์ นพ.วิจารณ์ พานิช ได้สรุป 8 ทิศทางการจัดการศึกษาโลกในปัจจุบัน ได้แก่ ครูเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง, เป้าหมายมีความซับซ้อน, การคำนึงถึงความแตกต่างหลากหลายของนักเรียน, การเรียนรู้เชิงลึกและห้องเรียนสมรรถนะสูง, การเรียนกับการประเมินเป็นเหตุปัจจัยซึ่งกันและกัน, ครูเรียนรู้ไปด้วยกันกับศิษย์, ครูมีพันธมิตรร่วมพัฒนาห้องเรียนสมรรถนะสูง และโรงเรียนต้องมีหุ้นส่วนร่วมทำงานใหญ่

1⃣ ครูเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง
ศ.นพ.วิจารณ์เห็นว่าหัวใจสำคัญของทิศทางการศึกษา​ ณ​ ขณะนี้​คือ​ การจัดระบบให้ครูเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง​ และหากพิจารณาคำแนะนำองค์การสหประชาชาติ การเปลี่ยนแปลงจะเกิดได้เมื่อเรายอมรับว่าการศึกษากำลังเป็นเรื่องวิกฤต การเปลี่ยนแปลงควรจะเปลี่ยนที่เป้าหมายของการศึกษาและสาระเนื้อหาการเรียนรู้​ รวมไปถึงเปลี่ยน “ระบบ” การศึกษา​ด้วย
เป้าหมายของผลลัพธ์การศึกษาที่ควรกำหนด ได้แก่ การเรียนเพื่อเรียนรู้เป็น (Learn to Learn) อยู่กับคนอื่นเป็น (Learn to Live Together) ทำเป็น (Learn to Do) ดำรงตนเป็น (Learn to Be) และเพื่อเปลี่ยนแปลงตนเอง (Learn to Transform) ทั้งนี้การกำหนดเป้าหมายจะไม่มีการเรียนรู้เพื่อที่จะรู้​ (Learn How to​ Know) อีกต่อไป​ แต่เป็นการเรียนเพื่อทำให้ได้​ ส่วนการเปลี่ยนระบบการศึกษาทำได้โดยการเปลี่ยนระบบนิเวศการเรียนรู้ ดังนั้นปฏิสัมพันธ์ของครูกับนักเรียนจึงสำคัญ
"ครูต้องมีวิธีการ​ทำให้เด็กทุกคนมีส่วนร่วม​ โดยเฉพาะเด็กที่ต้องการความช่วยเหลือ" ศ.นพ.วิจารณ์เน้นย้ำให้ครูเปลี่ยนแปลงตัวเองแล้วครูจะเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงได้
2⃣ เป้าหมายมีความซับซ้อน

เรื่องสำคัญลำดับต่อไปคือ ​ครูต้องรู้ว่าเป้าหมายในการเรียนรู้นั้นซับซ้อน​ ศ.นพ.วิจารณ์ เห็นว่าผู้เรียนต้อง​เปลี่ยนตัวเองเป็นด้วย
“ในเรื่องของการศึกษา​ไม่ได้เป็นเส้นตรงจาก​ ก.​ ไป​ ข. แต่ต้องวนเป็นวงจรแล้วยกระดับขึ้นไปเรื่อยๆ​ แต่ละคนต้องเปลี่ยนแปลงตัวเองอยู่ตลอดเวลาจากประสบการณ์ที่ตัวเองประสบ"
นอกจากนี้เรื่องของทักษะแห่งอนาคต (Future Skills) ยังเป็นสิ่งที่ต้องฝึกเด็ก เพราะโลกยุคปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงที่เร็วและรุนแรงมาก การเรียนต้องฝึกให้เด็กเอาเจตคติ ค่านิยม ทักษะ ความรู้ (Value Attitude Skill Knowledge – VASK) ไปใช้ในอนาคตให้ได้ ทั้งนี้ระบบการศึกษาก็ต้องฝึกเด็กให้เกิดการเรียนรู้เพื่อที่จะเปลี่ยนแปลงตนเองด้วย​ (Transformative Learning) และอีกมุมหนึ่ง เด็กก็ควรจะมีทักษะการเรียนรู้จากประสบการณ์เป็นอาวุธติดตัว​ เป็นการเรียนรู้ที่ไม่ได้เกิดจากการที่ใครมาบอก แต่ผ่านการทำด้วยตัวเอง​

“เมื่อคิดหลักการหรือทฤษฎีขึ้นมาได้จากการปฏิบัติแล้ว จงเชื่อครึ่ง ไม่เชื่อครึ่ง เพื่อที่จะไปต่อ เอาไปหลอม เอาคอนเซ็ปต์ที่เราตกผลึกเองไปลอง เอาไปใช้ในสถานการณ์เดิมว่าดีขึ้นมั้ย ถ้าใช้ได้ก็แสดงว่าหลักการที่เราคิดก็น่าจะพอใช้ได้ อย่าลืมว่าวงจรนี้ไม่ได้เกิดขึ้นครั้งเดียว แต่เกิดขึ้นตลอดเวลาในชีวิต” ศ.นพ.วิจารณ์ อธิบายทักษะการตกผลึกในเชิงนามธรรม (Abstract Conceptualisation) ที่จะช่วยให้เด็กรู้จักเรียนรู้จากประสบการณ์ตัวเองได้
ผลลัพธ์จากการเรียนรู้ในข้อนี้ คือ เกิดการพัฒนาตัวเอง รู้ว่าตัวเองเป็นใคร ต้องการเป็นคนแบบไหน ต้องการมีชีวิตแบบไหน ตัวเองมีจุดแข็งและจุดอ่อนตรงไหน หรือรู้จักอัตลักษณ์ของตนเอง
“รากฐานของที่บ้านเป็นปัจจัยที่สำคัญ เพราะฉะนั้นแต่ละคนเติบโตมาบนความแตกต่างของประสบการณ์ที่คนรอบข้างมอบให้ เมื่อเข้ามาอยู่ในระบบการศึกษา เราจะต้องสร้างระบบที่เอื้อต่อการเรียนรู้ให้รู้จักศักยภาพของตนเอง"
3⃣ การคำนึงถึงความแตกต่างหลากหลายของนักเรียน

การคำนึงถึงเรื่อง “ความแตกต่าง” จะนำไปสู่การจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อนักเรียนทุกคน ด้วยลักษณะของนักเรียนที่แตกต่างกัน การช่วยให้นักเรียนทุกคนบรรลุเป้าหมายที่ตัวเองต้องการจึงไม่มีสูตรตายตัว สิ่งหนึ่งที่ทำได้ก็คือการสนับสนุนให้นักเรียนค้นพบอัตลักษณ์และมีความมั่นใจในตัวเอง การเอาใจใส่นักเรียนจึงช่วยได้ เช่น ถ้านักเรียนชอบเตะฟุตบอล ครูก็สามารถทำให้นักเรียนมั่นใจในฝีมือการเตะฟุตบอลของตนเองก่อนจะโยงเข้าสู่เรื่องการเรียน
4⃣ การเรียนรู้เชิงลึกและห้องเรียนสมรรถนะสูง

การเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) เป็นการสอนแบบถ่ายทอดความรู้ให้น้อย และให้เด็กได้เรียนรู้เองจากการปฏิบัติให้มากแล้วสะท้อนคิดให้ได้ หรือให้เกิด "ห้องเรียนสมรรถนะสูง" ซึ่งในที่นี้ไม่ได้หมายความถึง การเรียนในห้องเพียงอย่างเดียว แต่สถานที่รอบตัวด้านนอกก็สามารถกลายเป็นห้องเรียนให้เด็กๆ ได้ และ “ห้องเรียน" ก็ควรเป็นห้องเรียนที่นักเรียนมีเป้าหมายร่วมกันด้วย

“ห้องเรียนแบบ High Functioning (ห้องเรียนพลังสูง) ต้องให้นักเรียนร่วมกันตั้งเป้าหมายการเรียนรู้ ไม่ใช่ครูเป็นเจ้าของเป้าหมาย เพราะฉะนั้นครูต้องมีกุศโลบายในการให้นักเรียนร่วมกันกำหนดเป้าหมาย จะเริ่มตั้งแต่วันแรกๆ ของปีการศึกษาแล้วค่อยๆ ย้ำ มีการเขียนเป้าหมายติดไว้เป็นป้ายไว้คอยเตือนสติ” ศ.นพ.วิจารณ์ อธิบายเพิ่มว่าครูควรจะทำให้ห้องเรียนมีทั้งความสนุกสนานและความจริงจัง ไม่ใช่สนุกอย่างเดียว เพราะนักเรียนจะได้ประสบการณ์จากการเอาชนะ การท้าทาย หรือจากความเครียด ซึ่งหากนักเรียนทำสำเร็จภายใต้สภาวะเช่นนั้นได้ก็จะเกิดการเรียนรู้ได้เป็นอย่างดี

“หัวใจของ Active Learning ไม่ใช่แค่ทำกิจกรรมเท่านั้น การจะสร้างสมรรถนะใส่ตัวต้องทำกิจกรรมแล้วตามด้วยการสะท้อนคิด Reflective Learning”

5⃣ การเรียนกับการประเมินเป็นเหตุปัจจัยซึ่งกันและกัน
การเรียนรู้และการประเมินเป็นเรื่องเดียวกัน การประเมินมีสามแบบ ได้แก่ การประเมินเพื่อการเรียนรู้ (Assessment for Learning) เป็นการประเมินท่าทางและคำตอบของนักเรียนเพื่อสะท้อนกลับเชิงบวกไปยังนักเรียน การประเมินการเรียนรู้ของตนเอง (Assessment as Learning) นักเรียนต้องประเมินตัวเองได้ และเปิดโอกาสให้เพื่อนประเมินซึ่งกันและกันและสะท้อนกลับให้กัน และการประเมินการเรียนรู้ (Assessment of Learning) เป็นการประมินโดยคนอื่นหรือส่วนกลาง
“การประเมินหลังจากที่นักเรียนทำกิจกรรมการเรียนรู้เสร็จ เขาจะได้รู้ตัวเองว่า ในหนึ่งคาบเขาได้รับองค์ความรู้ เกิดการเรียนรู้มากน้อยเพียงใด ซึ่งตรงนี้เป็นผลดีกับตัวนักเรียนเอง เขาจะได้รู้ตัวว่าเขาจะต้องพยายาม ปรับปรุง และพัฒนาตัวเองตรงไหน รวมถึงครูผู้สอนที่เป็นผู้ประเมินก็จะต้องมีเครื่องมือที่หลากหลายในการประเมินนักเรียน เพื่อที่จะได้เข้าไปช่วยเหลือและซัพพอร์ตนักเรียนให้ดีที่สุด แล้วก็เกิดการเรียนรู้ร่วมกัน”
6⃣ ครูเรียนรู้ไปด้วยกันกับศิษย์

ศ.นพ.วิจารณ์เห็นว่า ครูสามารถเรียนรู้ไปพร้อมๆ กันกับเด็กได้ ครูต้องเก็บเกี่ยวสิ่งที่เกิดขึ้นจากกิจกรรมในชั้นเรียนไปทบทวน หรือทำ AAR (After Action Review) ครูยังสามารถช่วยกันสังเกตชั้นเรียนของกันและกัน หรืออาจจะใช้วิธีการถ่ายวิดีโอ เพื่อที่จะดูพฤติกรรมการเรียนของนักเรียน ศ.นพ.วิจารณ์ย้ำว่า การทำเช่นนี้เป็นการช่วยเพื่อนครูสังเกตนักเรียน ไม่ใช่เป็นการสังเกตครูด้วยกัน

ตัวอย่างของการสังเกต เช่น ระหว่างการเรียน นักเรียนแสดงพฤติกรรมอย่างไร ครูจะจัดการการชั้นเรียนให้ดีขึ้นได้อย่างไร ทำอย่างไรจึงจะไม่ทิ้งเด็กคนไหนไว้ข้างหลัง โดยครูสามารถใช้การประเมินเชิงพัฒนา (Developmental Evaluation - DE) และการทำวิจัยชั้นเรียน (Routine to Research - R2R) เข้ามาช่วยเพื่อให้ครูในแต่ละชั้นเกิดการสะท้อนคิด เกิดความเข้าใจในทฤษฎีที่ลึกซึ้งยิ่งขึ้น ซึ่งจากหนังสือเรื่อง Schools as Learning Communities ได้บอกไว้ด้วยว่าการที่โรงเรียนจะเป็นชุมชนการเรียนรู้ได้ต้องเรียนรู้โดยการฟังซึ่งกันและกัน ทำให้เกิดการพูดคุยแลกเปลี่ยนกันระหว่างนักเรียนกับนักเรียน ครูกับครู นักเรียนกับครู และโรงเรียนกับชุมชน
7⃣ ครูมีพันธมิตรร่วมพัฒนาห้องเรียนสมรรถนะสูง

ครูควรมีกัลยาณมิตรร่วมพัฒนาห้องเรียนไปด้วยกัน ศ.นพ.วิจารณ์ ยกตัวอย่างครูที่ภูเก็ตที่มีทีมโค้ชมาทำกระบวนการ TSQP (Teacher and School Quality Program) และ Online PLC Coaching เพื่อเพิ่มพูนและแลกเปลี่ยนประสบการณ์ รวมไปถึงการทำ DE ก็มีทีมจากมูลนิธิสยามกัมมาจลมาช่วยแลกเปลี่ยน เป็นการให้คำแนะนำ ชี้แนะแนวทาง อำนวยความสะดวกให้กับครูเพื่อไปให้ถึงเป้าหมายที่ตั้งไว้ รวมไปถึงช่วยดึงศักยภาพของครูออกมา

“เรามีการสอนแบบเปิด การมีอาจารย์จากมหาวิทยาลัยเข้ามาทำให้รู้สึกว่าการเป็นครูมันไม่ใช่แค่มีหน้าที่สอนอย่างเดียว มันเปลี่ยนหลายๆ อย่าง เปลี่ยนความคิด เปลี่ยนวิถีแนวคิดเราในการที่จะมองนักเรียน ในการที่จะมองอาชีพ การที่มีอาจารย์เข้ามาไม่ได้เปลี่ยนแค่เรา (ครู) แต่เปลี่ยนนักเรียน เปลี่ยนวิถีเพื่อนรอบๆ ตัวเราด้วย”
8⃣ โรงเรียนต้องมีหุ้นส่วนร่วมทำงานใหญ่

เมื่อโรงเรียนมีหุ้นส่วนร่วมทำงานขนาดใหญ่จะช่วยกันผลักดันการเรียนการสอนของครูไม่ให้โดดเดี่ยว หุ้นส่วนอาจรวมถึงนักเรียน ผู้ปกครอง ศึกษานิเทศก์ หรือชุมชนก็ได้

“จะเห็นได้ว่า ทิศทางการศึกษาโลกเป็นเรื่องที่หลายภาคส่วนต้องร่วมทำไปด้วยกัน และจากเรื่องเล่าของครูที่ภูเก็ต คำกล่าวสรุปงานที่ว่า “ทิศทางการศึกษาโลกเกิดขึ้นแล้วที่ภูเก็ต” คงไม่ได้เกินจริงไป จากนี้การขับเคลื่อนภูเก็ตให้เป็นพื้นที่นวัตกรรมทางการศึกษาต้องคิดต่อไปว่า จะทำอย่างไรให้เกิดการกระจายอย่างทั่วถึงและยกระดับขึ้นไปได้

"ในการดำเนินงานต่อไปก็จะสร้างเรื่องราวของความสำเร็จเพิ่มมากขึ้น สร้างการเรียนรู้เพิ่มขึ้นได้มากมาย สร้างนักเรียนที่จะทำให้เกิดการเรียนรู้ที่มีพลังสูงได้มากมาย โดยทั้งหมดนั้นมีเป้าหมายเพื่อที่จะให้เกิดการเรียนรู้ของทุกคนในภูเก็ต” ศ.นพ.วิจารณ์ กล่าวทิ้งท้าย


🔹 ที่มา : มหกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้โรงเรียนพัฒนาตนเองระดับพื้นที่ ครั้งที่ 3 “กลไกขับเคลื่อนการจัดการศึกษาของพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดภูเก็ต
📌 อ่านบนเว็บไซต์ https://www.eef.or.th/article-210923-3/
#กสศ #โรงเรียนพัฒนาตนเอง

23/09/2023

// ตามหาเล่มนี้มานานแล้ว ไม่อ่าน = พลาด

เมื่อฉันต้องมาเป็นบรรณารักษ์แบบไม่ได้ตั้งใจ ฉันต้องเริ่มจาก....

แต่ละบทในหนังสือเล่มนี้ กล่าวถึงการเตรียมตัว และให้คำแนะนำได้ดี นอกจากภาพรวมที่ฉายให้เราเห็นงานที่ต้องทำแล้ว ยังมีคำแนะนำแบบเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยให้ลองหยิบไปใช้ด้วย

รีวิวหนังสือ “เมื่อฉันเป็นบรรณารักษ์โดยไม่ได้ตั้งใจ” อ่านต่อที่ braryhub.in.th/2023/09/19/review-book-unintentional-librarian/

11/09/2023

💚กรมศิลปากร💚
รับสมัครสอบแข่งขันเพื่อบรรจุและแต่งตั้งบุคคลเข้ารับราชการ สังกัดกรมศิลปากร รวมจำนวน 44 ตำแหน่ง
ประกอบด้วย.....👉 นายช่างโยธาปฏิบัติงาน จำนวน 8 ตำแหน่ง.....👉 นายช่างสำรวจปฏิบัติงาน จำนวน 5 ตำแหน่ง.....👉 นายช่างไฟฟ้าปฏิบัติงาน จำนวน 1 ตำแหน่ง.....👉 เจ้าพนักงานการเงินและบัญชีปฏิบัติงาน จำนวน 3 ตำแหน่ง.....👉 เจ้าพนักงานธุรการปฏิบัติงาน จำนวน 5 ตำแหน่ง.....👉 เจ้าพนักงานพิพิธภัณฑ์ปฏิบัติงาน จำนวน 12 ตำแหน่ง.....👉 เจ้าพนักงานห้องสมุดปฏิบัติงาน จำนวน 2 ตำแหน่ง.....👉 เจ้าพนักงานวิทยาศาสตร์ปฏิบัติงาน จำนวน 1 ตำแหน่ง.....👉 บรรณารักษ์ปฏิบัติการ จำนวน 3 ตำแหน่ง.....👉 นักวิชาการเงินและบัญชีปฏิบัติการ จำนวน 2 ตำแหน่ง.....👉 วิศวกรไฟฟ้าปฏิบัติการ จำนวน 1 ตำแหน่ง.....👉 นักทรัพยากรบุคคลปฏิบัติการ (ระดับปริญญาโท) จำนวน 1 ตำแหน่ง......
♦️อัตราเงินเดือน ปวส./ม.ปลายหรือเทียบเท่า 11,500-12,650 บาท
♦️อัตราเงินเดือน ป.ตรี 15,000-16,500 บาท
♦️อัตราเงินเดือน ป.โท 17,500-19,250 บาท

♦️โปรดเข้าไปอ่านประกาศให้ชัดเจนก่อนสมัคร
…………………………………………………………………………………………………………………………….
👉 สมัครผ่านระบบออนไลน์ตลอด 24 ชั่วโมง ที่ http://finearts.thaijobjob.com
👉 อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ https://hs.pbru.ac.th/lis/?p=1120
👉 เปิดรับสมัครตั้งแต่วันที่ 18 กันยายน - 10 ตุลาคม 2566
👉 มีค่าสมัคร
➖➖➖➖➖➖➖➖➖➖➖➖➖➖➖➖➖
♦️ ติดต่อสอบถาม งานบริหารงานบุคคล กองการเจ้าหน้าที่ โทร. 02-164-2501-2 กลุ่มงานสรรหาฯ ต่อ 4019
➖➖➖➖➖➖➖➖➖➖➖➖➖➖➖➖➖
เผยแพร่ข้อมูล วันที่ 11 กันยายน 2566
ติดตามข่าวสาร ประชาสัมพันธ์ข่าวสารการรับสมัครงานของนักสารสนเทศศาสตร์ ที่เพจ สาขาวิชาสารสนเทศศาสตร์และบรรณารักษศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี
https://www.facebook.com/informationsciencePBRU
หรือเว็บไซต์ https://hs.pbru.ac.th/lis/

#มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี #ราชภัฏเพชรบุรี #สมัครงานบรรณารักษ์ #งานบรรณารักษ์ #งานสายวิชาชีพสารสนเทศ #สารสนเทศศาสตร์ #บรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ #บรรณารักษศาสตร์และการจัดการสื่อดิจิทัล

11/09/2023
08/09/2023
08/09/2023

. สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ รับสมัครบรรณารักษ์ ตั้งแต่วันที่ 4 - 22 กันยายน 2566 ประกาศรับสมัคร

07/09/2023

ว้าวุ่นเลย 🫠

07/09/2023

สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
รับสมัครงาน ตำแหน่งบรรณารักษ์ (พนักงานมหาวิทยาลัย)
- ฝ่ายจัดการทรัพยากรสารสนเทศ
- ฝ่ายบริการ
ดูรายละเอียดได้ที่https://www.lib.ku.ac.th/job2565/files/filedocs/1693919178-DOC.pdf

สมัครทางอินเทอร์เน็ตตลอด 24 ชม. ได้ที่ https://www.lib.ku.ac.th/job2565/
ตั้งแต่วันที่ 4-22 กันยายน 2566

#สาขาวิชาบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์

#คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

#มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม

เว็บไซต์สาขาวิชา :
http://pgm.npru.ac.th/lis/
เว็บไซต์คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ :
http://dept.npru.ac.th/hm1/
เว็บไซต์มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม :
http://www.npru.ac.th

06/09/2023

ปีนี้ขึ้นเป็นพี่แล้ว
ย้อนมาชมการปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา 1 ของพี่ปี 2 กันหน่อยดีกว่า
ส่งท้ายด้วย พี่นันทิตา มูลทา
ซึ่งไปปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา ณ โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 56 จังหวัดน่าน
ไปรับชมกันเลย
#จิตวิทยาการแนะแนวและบรรณารักษศาสตร์ #หลักสูตรเดียวในโลก
SmartURU คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ SmartURU

06/09/2023

ปีนี้ขึ้นเป็นพี่แล้ว
ย้อนมาชมการปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา 1 ของพี่ปี 2 กันหน่อยดีกว่า
ตามมาด้วย พี่จณิสตา บุญมา Janis Sinaj
ซึ่งไปปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา ณ โรงเรียนเถินวิทยา จังหวัดลำปาง
ไปรับชมกันเลย
#จิตวิทยาการแนะแนวและบรรณารักษศาสตร์ #หลักสูตรเดียวในโลก
SmartURU คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ SmartURU

06/09/2023

ปีนี้ขึ้นเป็นพี่แล้ว
ย้อนมาชมการปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา 1 ของพี่ปี 2 กันหน่อยดีกว่า
ตามมาด้วย พี่ปนัดดา หมั้นขันท์
ซึ่งไปปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา ณ โรงเรียนนารีรัตน์ จังหวัดแพร่
ไปรับชมกันเลย
#จิตวิทยาการแนะแนวและบรรณารักษศาสตร์ #หลักสูตรเดียวในโลก
SmartURU คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ SmartURU

06/09/2023

ปีนี้ขึ้นเป็นพี่แล้ว
ย้อนมาชมการปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา 1 ของพี่ปี 2 กันหน่อยดีกว่า
เริ่มต้นกับ พี่ขนิษฐา ศรีสกุล Kanitta Srisakul
ซึ่งไปปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา ณ โรงเรียนเตรียมอุดมน้อมเกล้า จังหวัดอุตรดิตถ์
ไปรับชมกันเลย
#จิตวิทยาการแนะแนวและบรรณารักษศาสตร์ #หลักสูตรเดียวในโลก
SmartURU คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ SmartURU

01/09/2023

กำลังอยู่ในช่วงพิจารณาโรงเรียนสำหรับออกปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา 3 เรามาย้อนดูผลงานในการปฏิบัติการสอน 2 ของพี่ปี 3 กันก่อนดีกว่า
ส่งท้ายกับ พี่ครีม: น.ส.พิมพ์ลภัส พ่วงพูล
ซึ่งไปปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา 2 ณ โรงเรียนบ้านวังโป่ง จังหวัดอุตรดิตถ์
ไปรับชมกันเลย #จิตวิทยาการแนะแนวและบรรณารักษศาสตร์ #หลักสูตรเดียวในโลก
SmartURU คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์

01/09/2023

กำลังอยู่ในช่วงพิจารณาโรงเรียนสำหรับออกปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา 3 เรามาย้อนดูผลงานในการปฏิบัติการสอน 2 ของพี่ปี 3 กันก่อนดีกว่า
ขอเริ่มต้นด้วย พี่มินตรา: น.ส.ปภาศิริ เชื้อบาง
ซึ่งไปปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา 2 ณ โรงเรียนเมืองแพร่ จังหวัดแพร่
ไปรับชมกันเลย #จิตวิทยาการแนะแนวและบรรณารักษศาสตร์ #หลักสูตรเดียวในโลก
SmartURU คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์

ความโกรธAnger, Dander, Displeasure, Huffiness, Heatedness, Ire, Irritation
01/09/2023

ความโกรธ
Anger, Dander, Displeasure, Huffiness, Heatedness, Ire, Irritation

บางครั้ง 'ความโกรธ' ก็ไม่ได้เป็นวายร้ายเสมอไป เพราะบางทีเขาก็ตั้งใจมาเป็นผู้พิทักษ์ให้เราเท่านั้นเอง

ความโกรธของคนลักษณะหนึ่งที่เมื่อมีคนล้ำเส้นก็มักพยายามวางเฉยหรือแสดงท่าทีว่า ‘ไม่เป็นไร’ (แต่จริงๆ เป็น) ทำให้บางจังหวะเมื่อถูกรุกพื้นที่มากเข้าย่อมสามารถจะระเบิดความโกรธออกมาดุจพลังภูเขาไฟ

คล้าย 'นนทก' ยักษ์ผู้มีหน้าที่ล้างเท้าให้เทวดาที่มาเข้าเฝ้าพระอิศวร และปล่อยให้เทวดาเล่นหัวไปเรื่อยๆ แต่ก็ไม่ได้กั้นขอบเขต (set boundaries) อะไร กระทั่งวันหนึ่งเมื่อกลายเป็นยักษ์หัวล้านซึ่งได้สั่งสมความคับข้องไว้มากได้ที่แล้ว ถึงเพิ่งไปขอนิ้วเพชรจากพระอิศวร มาออกอาละวาดเป็นเรื่องใหญ่โต

มีคนบุคลิกภาพหนึ่งที่ไม่ค่อยจะรู้ตัวว่าโกรธหรือไม่ให้พื้นที่ตัวเองได้แสดงความโกรธตามสมควรออกมาเท่าใดนัก ดูภายนอกเขารักความสงบสันติ เขาขี้เกียจจะขัดแย้งกับใครแม้เมื่อถูกล้ำเส้นหรือถูกบังคับให้ทำสิ่งที่ไม่ต้องการ แต่ถึงแม้ไม่ได้ปฏิเสธลุกขึ้นต้านใครตรงๆ

เมื่อเขาให้สิ่งต่างๆ ตามที่คนอื่นต้องการแล้ว เขาก็หวังลึกๆ ด้วยว่าคนพวกนั้นจะไม่มาเจ้ากี้เจ้าการอีก เขาจะได้ดำเนินชีวิตไปอย่าง สงบสุข แต่วิธีมองข้ามตัวเองของเขากลับทำให้เขามีแนวโน้มที่จะ สูญเสียตัวเองหรือพื้นที่ของตัวเองให้แก่ผู้อื่นไปเรื่อยๆ ย่อมจะนำมาซึ่งความรู้สึกด้านลบอย่างเช่นความโกรธ ซึ่งหากเขาไม่กล้าสัมผัสหรือกดมันไว้ ความโกรธนั้นก็อาจแสดงออกเป็นอาการเจ็บป่วยทางกายและใจได้อีกด้วย

ความโกรธของเรามีรูปร่างเป็นแบบไหน มีสีสันแบบใด? ความโกรธของบางคนปรากฏร่างเป็นสิ่งที่ชีวิตเขาขาดไป เช่น ใครคนหนึ่ง เมื่อถูกล้ำเส้นก็จะรู้สึกมีก้อนหินสีดำขรุขระวางอยู่บนอก แต่นั่นก็คือสิ่งที่เขาจำเป็นต้องมี เพราะมันก็เหมือนรั้วหนามสำหรับกั้นอาณาเขตไม่ให้ผู้มาดร้ายเข้ามาคุกคามเขาได้นั่นเอง

อ่านบทความ ยักษ์นนทก: โกรธเพราะปล่อยให้คนอื่นล้ำเส้น (และ/หรือถูกสะกิดแผล?) https://thepotential.org/life/bhasmasura/

เรื่อง: ภัทรารัตน์ สุวรรณวัฒนา
Illustration: กรองพร ทององอาจ

08/08/2023

. สำนักงานส่งเสริมการเรียนรู้จังหวัดอุตรดิตถ์ รับสมัครบรรณารักษ์ ตั้งแต่วันที่ 8 - 17 สิงหาคม 2566 ประกาศรับสมัค...

16/07/2023

🌹สรุปข้อมูลผู้ผ่านการสอบบรรจุ "ครูผู้ช่วย" ภาค ก และ ข สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปี พ.ศ. 2566

🌹จำนวนนักศึกษาที่สอบผ่าน " 280 คน "
:: อัพเดทข้อมูล ณ วันที่ 17 ก.ค.2566 เวลา 09:47:07 ::


https://lookerstudio.google.com/reporting/25c927fc-92aa-4895-a9af-ea19ccbfc5b1

ที่อยู่

มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์
Uttaradit
53000

เว็บไซต์

แจ้งเตือน

รับทราบข่าวสารและโปรโมชั่นของ PsyLib_URUผ่านทางอีเมล์ของคุณ เราจะเก็บข้อมูลของคุณเป็นความลับ คุณสามารถกดยกเลิกการติดตามได้ตลอดเวลา

วิดีโอทั้งหมด

แชร์

ประเภท