อาจารย์ต้นบุญ Ajarn Tonboon

อาจารย์ต้นบุญ Ajarn Tonboon จำหน่ายน้ำปลาร้าต้มสุกปรุงรส

07/11/2024
ศัตรูที่ยังมีความเคารพ…อาจกลายเป็นเพื่อนสนิทเพื่อนสนิทที่หมดความเกรงใจ…ก็อาจกลายเป็นศัตรูไม่มีอะไรที่ทำให้เราเหนือกว่าคน...
30/10/2024

ศัตรูที่ยังมีความเคารพ…อาจกลายเป็นเพื่อนสนิท
เพื่อนสนิทที่หมดความเกรงใจ…ก็อาจกลายเป็นศัตรู
ไม่มีอะไรที่ทำให้เราเหนือกว่าคนอื่น
นอกจากการควบคุม…อารมณ์ของตัวเอง
ความยับยั้งชั่งใจ…เป็นคู่หูที่ดีที่สุด
ให้กับสติ…และปัญญา

Cr : เพจคำรามแห่งปัญญา

วันที่คุณตาสว่าง คุณจะเห็นความจริงอีกด้านของใครบางคนจากการถูกเอาเปรียบ จากการตกหลุมพรางจากการตกเป็นเครื่องมือ เมื่อนั้น ...
19/10/2024

วันที่คุณตาสว่าง คุณจะเห็น
ความจริงอีกด้านของใครบางคน
จากการถูกเอาเปรียบ จากการตกหลุมพราง
จากการตกเป็นเครื่องมือ
เมื่อนั้น คุณจะเห็นความจริงอีกข้อที่ว่า
"มิตรแท้มีน้อย!" ฉะนั้น
เห็นอะไรก็อย่าเชื่อหมดใจ!
รู้อะไรก็อย่าพูดจนหมดไส้หมดพุง !
ถูกชมก็ฟังให้พอผ่าน ๆ
ถูกวิจารณ์ก็อย่าเก็บไปคิดจนนอนไม่หลับ!
เพราะในสังคมของคนเจ้าเล่ห์
คุณไม่มีทางรู้เลยว่า ใครกำลังหลอกใคร?

@ทุกคน
Cr : เพจความรู้สึกล้วนๆ

การเบ่งอำนาจใส่ผู้ที่ด้อยกว่า ไม่ใช่การทำตัวให้น่าเคารพแต่เป็นการทำตัวเยี่ยงอันธพาล ยิ่งทำให้หมดความน่าเชื่อถือเป็นคนดีใ...
18/10/2024

การเบ่งอำนาจใส่ผู้ที่ด้อยกว่า
ไม่ใช่การทำตัวให้น่าเคารพ
แต่เป็นการทำตัวเยี่ยงอันธพาล
ยิ่งทำให้หมดความน่าเชื่อถือ
เป็นคนดีให้คนเกรง
ดีกว่าเป็นนักเลงให้คนกลัว…

Cr : ปรัชญา
@ทุกคน

ศัตรูที่ยังให้เกียรติ…ยังอาจกลับมาเป็นมิตรที่รู้ใจมิตรที่รู้ใจหมดความเกรงใจ…อาจกลับมาเป็นศัตรูไม่มีสิ่งใดที่ทำให้เรา..เห...
17/10/2024

ศัตรูที่ยังให้เกียรติ…ยังอาจกลับมา
เป็นมิตรที่รู้ใจ
มิตรที่รู้ใจหมดความเกรงใจ…อาจกลับมา
เป็นศัตรู
ไม่มีสิ่งใดที่ทำให้เรา..เหนือกว่าใคร
นอกจากการควบคุม..อารมณ์
ความยับยั้งชั่งใจ..เป็นมิตรแท้
กับสติ…ปัญญาเสมอ…
#สุมาอี้ #สามก๊ก #ข้อคิดสอนใจ

cr : สวนสัตว์ โนนไทย
Cr : https://thaiwhoiswho.blogspot.com/2009/06/blog-post_1640.html

ปฏิจจสมุปบาท มีสังเขป ๔ สนธิ ๓ อัทธา ๓ อาการ ๒๐**********นนฺทิ ทุกฺขสฺส มูลนฺติ อิติ วิทิตฺวา ภวา ชาติ ภูตสฺส ชรา มรณนฺต...
12/10/2024

ปฏิจจสมุปบาท มีสังเขป ๔ สนธิ ๓ อัทธา ๓ อาการ ๒๐
**********
นนฺทิ ทุกฺขสฺส มูลนฺติ อิติ วิทิตฺวา ภวา ชาติ ภูตสฺส ชรา มรณนฺติ ฯ
‘ความเพลิดเพลินเป็นมูลเหตุแห่งทุกข์ เพราะมีภพ ชาติจึงมี สัตว์ผู้เกิดแล้วต้องแก่ ต้องตาย’
มูลปริยายสูตร มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๒
(ไทย) http://www.84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=12&siri=1
(บาลี) http://www.84000.org/tipitaka/read/pali_read.php?B=12&A=1
แก้บท นนฺทิ ทุกฺขสฺส มูลํ
อนึ่ง ในบทว่า นนฺทิ ทุกฺขสฺส มูลํ เป็นต้น พึงทราบอธิบายดังต่อไปนี้ :-
บทว่า นนฺทิ ได้แก่ ตัณหาครั้งแรก.
บทว่า ทุกฺขํ ได้แก่ เบญจขันธ์.
บทว่า มูลํ ได้แก่ รากเหง้า.
บทว่า อิติ วิทิตฺวา ความว่า เพราะทราบนันทิ (ความเพลิดเพลิน, ยินดี) ในภพครั้งแรกนั้นอย่างนี้ว่า เป็นมูลรากของทุกข์นี้.
บทว่า ภวา ได้แก่ เพราะกรรมภพ.
บทว่า ชาติ ได้แก่ วิบากขันธ์ (ขันธ์ที่เป็นวิบาก คือ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ).
แท้จริง วิบากขันธ์เหล่านั้น เพราะเหตุที่เกิด ฉะนั้น จึงตรัสเรียกว่า ชาติ.
อีกอย่างหนึ่ง เทศนานี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าแสดงไว้โดยยกถึงชาติ (การเกิดของวิบากขันธ์) เป็นหัวข้อ. แม้เมื่อเป็นอย่างนี้จึงควรประกอบเข้ากับคำนี้ว่า อิติ วิทิตฺวา.
ก็ในคำนี้มีอธิบายดังนี้ว่า ก็เพราะทราบอย่างนี้ว่า เพราะกรรมภพ (เจตนาที่ทำกรรม) จึงมีอุปปัตติภพ.
บทว่า ภูตสฺส แปลว่า ของสัตว์. บทว่า ชรามรณํ แปลว่า ชราและมรณะ.
มีคำอธิบายอย่างนี้ว่า ก็เพราะทราบอย่างนี้ว่า ชราและมรณะย่อมมีแก่ขันธ์ของสัตว์ผู้เกิดมาแล้ว เพราะอุปปัตติภพนั้น.
พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับนั่งโดยอปราชิตบัลลังก์ ณ โคนต้นโพธิ์ ทรงพิจารณาปฏิจจสมุปบาทใด จึงได้บรรลุพระสัพพัญญุตญาณ เพราะทรงแทงตลอดซึ่งปฏิจจสมุปบาทนั้น เมื่อจะทรงแสดงเหตุแห่งความไม่มีแห่งความสำคัญยึดถือทั้งหลาย จึงทรงแสดงปฏิจจสมุปบาทนั้นแล ซึ่งมีสังเขป (การย่นย่อ) ๔ สังเขป มีสนธิ ๓ สนธิ มีอัทธา (กาล) ๓ อัทธา มีอาการ ๒๐.
อธิบายปฏิจจสมุปบาท
ถามว่า ก็ปฏิจจสมุปบาททั้งหมดนั่น ย่อมเป็นอันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงแล้วด้วยคำเพียงเท่านี้อย่างไร?
ตอบว่า ก็ในคำว่า นนฺทิ ทุกฺขสฺส มูลํ นี้ มีอธิบายว่า ศัพท์ว่า นนฺทิ นี้เป็นสังเขปที่ ๑ ทุกข์เป็นสังเขปที่ ๒ เพราะพระบาลีว่า ทุกฺขสฺส ภพเป็นสังเขปที่ ๓ เพราะพระบาลีว่า ภวา ชาติ ชาติ ชราและมรณะเป็นสังเขปที่ ๔. พึงทราบสังเขป ๔ ด้วยคำเพียงเท่านี้ดังพรรณนามาฉะนี้. (บทว่า สังเขป) อธิบายว่า ได้แก่ ส่วนทั้งหลาย.
ระหว่างตัณหากับทุกข์ เป็นสนธิที่ ๑ ระหว่างทุกข์กับภพเป็นสนธิที่ ๒ ระหว่างภพกับชาติเป็นสนธิที่ ๓ พึงทราบสนธิ ๓ ระหว่างสังเขป ๔ ซึ่งเหมือนกับระหว่างนิ้วมือทั้ง ๔ ดังพรรณนามาฉะนี้.
ในปฏิจจสมุปบาทนั้น นันทิเป็นอตีตัทธา (กาลที่เป็นอดีต) ชาติ ชราและมรณะ เป็นอนาคตัทธา (กาลที่เป็นอนาคต) ทุกข์และภพ เป็นปัจจุปันนัทธา (กาลที่เป็นปัจจุบัน) พึงทราบอัทธา ๓ ดังพรรณนามาฉะนี้แล.
อนึ่ง ในอตีตัทธา ในบรรดาอาการ ๕ ด้วยคำว่า นันทิ ตัณหา จึงมาแล้วหนึ่ง แม้ตัณหานั้น จะยังไม่มา (อาการ ๔ คือ) อวิชชา สังขาร อุปาทาน และภพก็เป็นอันจัดเข้าแล้วทีเดียว ด้วยลักษณะที่เป็นปัจจัย. อนึ่ง ด้วยคำว่า ชาติ ชราและมรณะ เพราะเหตุที่อธิบายไว้ว่า ขันธ์เหล่าใดมีชาติ ชราและมรณะนั้น ขันธ์เหล่านั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้แล้วทีเดียวในอนาคตัทธา จึงเป็นอันรวมเอาวิญญาณ นามรูป สฬายตนะ ผัสสะและเวทนาเข้าไว้ด้วยเช่นกัน.
ในกรรมภพซึ่งเป็นภพแรกมีธรรม ๕ ประการนี้ คือ โมหะได้แก่อวิชชา การประมวลมาได้แก่สังขาร ความใคร่ได้แก่ตัณหา การเข้าไปยึดถือได้แก่อุปาทาน เจตนาได้แก่ภพ เป็นปัจจัยของปฏิสนธิในปัจจุปันนัทธา ในเพราะกรรมภพซึ่งเป็นภพแรก.
ในปัจจุปันนัทธามีธรรม ๕ ประการนี้คือ ปฏิสนธิ คือวิญญาณ สิ่งที่ก้าวลงคือนามรูป ปสาทรูปคืออายตนะ. อาการที่ถูกต้องคือผัสสะ อาการที่เสวยอารมณ์คือเวทนา เป็นปัจจัยของกรรมที่ทำไว้ก่อน ในเพราะอุปปัตติภพในปัจจุปันนัทธา.
แต่เพราะในปัจจุปันนัทธา อายตนะทั้งหลายเจริญได้ที่แล้วจึงมีธรรม ๕ ประการเหล่านี้คือ โมหะคืออวิชชา การประมวลมาคือสังขาร ความใคร่คือตัณหา การเข้าไปยึดถือคืออุปาทาน เจตนาคือกรรมภพ เป็นปัจจัยของปฏิสนธิในอนาคตัทธา ในเพราะกรรมภพในปัจจุปันนัทธา.
ในอนาคตัทธามีธรรม ๕ ประการนี้คือ ปฏิสนธิคือวิญญาณ สิ่งที่ก้าวลง (เกิดขึ้น) คือนามรูป ปสาทรูปคืออายตนะ อาการที่ถูกต้องคือผัสสะ อาการที่เสวยอารมณ์คือเวทนา เป็นปัจจัยของกรรมที่ทำไว้แล้วในปัจจุปันนัทธา ในเพราะอุปปัตติภพในอนาคตัทธา.
พึงทราบอาการ ๒๐ เหล่านี้ ในปฏิจจสมุปบาทนี้ ซึ่งมีลักษณะดังแสดงไว้แล้วอย่างนี้ ด้วยประการฉะนี้แล.
ปฏิจจสมุปบาทซึ่งมีสังเขป ๔ มีสนธิ ๓ มีอัทธา ๓ (และ) มีอาการ ๒๐ แม้ทั้งหมดพึงทราบว่า ย่อมเป็นอันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงแล้วด้วยพระดำรัสเพียงเท่านี้ว่า เพราะทราบอย่างนี้ว่า นันทิ (ความเพลิดเพลิน, ยินดี) เป็นรากเหง้าของทุกข์ จึงทราบต่อไปว่า เพราะภพจึงมีชาติ สัตว์ที่เกิดมาแล้วย่อมมีชราและมรณะ ด้วยประการดังพรรณนามาฉะนี้.
อรรถกถามูลปริยายสูตร
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=12&i=1...

Cr : เพจพระไตรปิฎกศึกษา

10/10/2024

พุทธ แปลว่า ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานแล้ว คือ รู้แจ้ง เห็นจริง ในสรรพสัตว์ และสรรพสิ่งทั้งปวง ด้วยญาณทัศนะ อันบริสุทธิ์

หมวด ๒ความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ-------------------------               มาตรา ๑๔๗๑  ผู้ใดเป็นเจ้าพนักงาน มีหน้าที่ซื...
09/10/2024

หมวด ๒
ความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ
-------------------------
มาตรา ๑๔๗๑ ผู้ใดเป็นเจ้าพนักงาน มีหน้าที่ซื้อ ทำ จัดการหรือรักษาทรัพย์ใด เบียดบังทรัพย์นั้นเป็นของตน หรือเป็นของผู้อื่นโดยทุจริต หรือโดยทุจริตยอมให้ผู้อื่นเอาทรัพย์นั้นเสีย ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ห้าปีถึงยี่สิบปี หรือจำคุกตลอดชีวิต และปรับตั้งแต่หนึ่งแสนบาทถึงสี่แสนบาท
[อัตราโทษ แก้ไขเพิ่มเติมโดยมาตรา ๗ แห่งพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ ๒๖) พ.ศ. ๒๕๖๐]

มาตรา ๑๔๘๒ ผู้ใดเป็นเจ้าพนักงาน ใช้อำนาจในตำแหน่งโดยมิชอบ ข่มขืนใจหรือจูงใจเพื่อให้บุคคลใดมอบให้หรือหามาให้ซึ่งทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดแก่ตนเองหรือผู้อื่น ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ห้าปีถึงยี่สิบปี หรือจำคุกตลอดชีวิต และปรับตั้งแต่หนึ่งแสนบาทถึงสี่แสนบาท หรือประหารชีวิต
[อัตราโทษ แก้ไขเพิ่มเติมโดยมาตรา ๗ แห่งพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ ๒๖) พ.ศ. ๒๕๖๐]

CR : https://www.drthawip.com/criminalcode/1-26

พระไม่ใช่หัวโล้น พระไม่ใช่ผ้าเหลือง ถ้าหากว่าหัวโล้นเป็นพระ คนเป็นโรคจิต โรคประสาท  อยู่โรงพยาบาลศรีมหาโพธิ์หัวโล้นเยอะแ...
08/10/2024

พระไม่ใช่หัวโล้น พระไม่ใช่ผ้าเหลือง ถ้าหากว่าหัวโล้นเป็นพระ คนเป็นโรคจิต โรคประสาท อยู่โรงพยาบาลศรีมหาโพธิ์หัวโล้นเยอะแยะ แต่เขาก็ไม่ได้เป็นพระ เพราะจิตใจเขาไม่ได้ถึงพระ หัวโล้นไม่ได้เป็นพระ
ถ้าผ้าเหลืองเป็นพระ ตามร้านตลาด ร้านขายผ้า เขาก็เป็นพระหมด อันนั้นเป็นเครื่องแต่งตัวของสมณะ หัวโล้นก็เป็นเครื่องหมายของนักบวช ผู้ที่สละโลกออกจากเย้าจากเรือน ออกจากเคหะสถานบ้านช่อง ถือเพศเป็นนักบวช เป็นเพศที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับครอบครัว กับลูกกับเมีย กับข้าวของเงินทอง กับเลือกสวนไร่นากับข้าทาสกรรมกรทั้งหลาย
ฉะนั้น เมื่อถือเอาซึ่งเพศของบรรพชิต ของนักบวช ก็ยังมาปรารภกับตัวเอง มาศึกษากับตัวเอง เราได้ลดมานะละทิฐิ ทุกสิ่งทุกอย่าง ได้วางจากโลก แม้ศีรษะก็ไม่มีผมที่จะตกแต่งให้สวยให้งาม มีศีรษะอันโล้น เที่ยวขอทานอาหารบิณฑบาต แล้วแต่ผู้ที่ใจบุญ ผู้ที่ต้องการบุญ ผู้ที่มีความศรัทธา ปรารถนาทำบุญ เขาจะทำทานให้ ไม่ได้ร้อง ไม่ได้ขอ นี่คือเครื่องหมายของนักบวช
ผ้าเหลือง ศีรษะโล้น แต่ถ้าใจยังไม่ลด ไม่ละ ไม่บรรเทาเสียซึ่งความโลภ ความโกรธ ความหลง ความอิจฉาพยาบาท ที่จะทำให้จิตใจนี้เร่าร้อน ก็ยังไม่เป็นพระ
แม้จะมีศีรษะโล้น แม้จะห่มผ้าเหลือง ถ้าจิตใจนั้นยังไม่มีธรรมะ เพราะธรรมะนั้นทำให้เป็นพระ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น ได้ตรัสรู้ธรรมะ จึงเป็นพระพุทธเจ้า เมื่อยังไม่ได้รู้ธรรมะ ยังไม่ได้ตรัสรู้ธรรมะ ก็ยังไม่เป็นพระพุทธเจ้า แม้จะมีศีรษะโล้น แม้จะห่มผ้าอันเศร้าหมอง ยอมด้วยน้ำฝาดก็ตาม

โอวาทธรรม หลวงพ่อทองจันทร์ พุทธญาโณ
สำนักสงฆ์หุบเขาผาจันทน์ อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา

หลักคำสอนสำคัญของพระพุทธศาสนา           พระพุทธศาสนามุ่งเน้นเรื่องการพ้นทุกข์ และสอนให้รู้จักทุกข์และวิธีการดับทุกข์ ให้...
08/10/2024

หลักคำสอนสำคัญของพระพุทธศาสนา
พระพุทธศาสนามุ่งเน้นเรื่องการพ้นทุกข์ และสอนให้รู้จักทุกข์และวิธีการดับทุกข์ ให้พ้นจากอวิชชา (ความไม่รู้ความจริงในธรรมชาติ) อันเป็นเหตุให้เกิดทุกข์จากกิเลสทั้งปวง คือ ความโลภ ความโกรธ ความหลง เน้นการศึกษาทำความเข้าใจ การโยนิโสมนสิการด้วยปัญญา และพิสูจน์ทราบข้อเท็จจริง (ธัมมวิจยะ) เห็นเหตุผลว่าสิ่งนี้มีสิ่งนี้ จึงมี (อิทัปปัจจยตา) จนเห็นตามความเป็นจริงว่าสรรพสิ่งในธรรมชาติเป็นไปตาม กฎพระไตรลักษณ์ และสัตว์โลกที่เป็นไปตามกฎแห่งกรรม แล้วเลือกใช้หลักธรรมในพุทธศาสนาที่เหมาะกับผลที่จะได้สิ่งที่ปรารถนาอย่างถูกต้อง ด้วยความไม่ประมาทในชีวิตให้มีความสุขในทั้งชาตินี้ ชาติต่อๆ ไป (ด้วยการสั่งสมบุญบารมี) ตลอดจนปรารถนาในพระนิพพานของผู้มีปัญญา
หลักคำสอนในพุทธศาสนามีทั้งหลักปฏิบัติที่เป็นจริยธรรมคุณธรรมและศีลธรรม
หลักจริยธรรม
ความกตัญญูกตเวที คือ การรู้จักบุญคุณและตอบแทน อันเป็นหลักธรรมพื้นฐานทั่วไปของมนุษย์ เพื่อการดำรงอยู่อย่างปกติสุข ดังนั้นทุกคนจึงมีหน้าที่ต่อกันด้วยการปฏิบัติตามหลักจริยธรรมของพระพุทธเจ้า คือการปฏิบัติหน้าที่ต่อกัน
หลักคุณธรรม
พรหมวิหาร 4 เป็นหลักธรรมประจำใจเพื่อให้ตนและสังคมดำรงชีวิตด้วยการเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ซึ่งกันและกัน ไม่มุ่งร้ายต่อกัน ด้วยความรักที่บริสุทธิ์ต่อเพื่อนร่วมโลก ประกอบด้วยหลักปฏิบัติ 4 ประการ คือ เมตตา (ความปรารถนาอยากให้ผู้อื่นมีความสุข) กรุณา (ความปรารถนาอยากให้ผู้อื่นพ้นทุกข์) มุทิตา (ความยินดีที่ผู้อื่นประสบความสุขในทางที่เป็นกุศล หรือประกอบเหตุแห่งสุข) อุเบกขา (การวางจิตเป็นกลาง การมีเมตตา กรุณา มุทิตา เป็นสิ่งที่ดี แต่ถ้าตนไม่สามารถช่วยเหลือผู้นั้นได้ จิตตนจะเป็นทุกข์ ดังนั้น ตนจึงควรวางอุเบกขาทำวางใจให้เป็นกลาง และพิจารณาว่า สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรมที่ได้เคยกระทำไว้ จะดีหรือชั่วก็ตามกรรมนั้นย่อมส่งผลอย่างยุติธรรมตามที่เขาผู้นั้นได้เคยกระทำไว้อย่างแน่นอน รวมถึงการให้อภัยผู้อื่น) และการปราศจากอคติ
หลักศีลธรรม
คือ หลักคำสอนสำคัญของศาสนา ได้แก่ โอวาทปาติโมกข์ คือ " การไม่ทำความชั่วทั้งปวง การบำเพ็ญแต่ความดี การทำจิตให้สะอาดบริสุทธิ์ หลักปรมัตถธรรม พุทธศาสนา สอน "อริยสัจ 4" หรือ ความจริงอันประเสริฐ 4 ประการ คือ
1. ทุกข์ที่ทำให้เราเข้าใจปัญหาและลักษณะของปัญหา
2. สมุทัยสาเหตุที่ทำให้เกิดทุกข์
3. นิโรธความดับแห่งทุกข์
4. มรรควิถีทางอันประเสริฐที่จะนำให้ถึงความดับทุกข์
ความจริงเหล่านี้เป็นสัจธรรมอันจริงแท้ของชีวิตและกฎธรรมชาติที่ตั้งอยู่โดยอาศัยเหตุปัจจัยปรุงแต่ง ดังนั้นเมื่ออธิบายคำสอนสำคัญ โดยลำดับตามแนวอริยสัจ ได้แก่
สภาพแห่งทุกข์ (ทุกข์)
ได้แก่ ไตรลักษณ์ (หลักอภิปรัชญาของพุทธศาสนา) ลักษณะสภาพพื้นฐานธรรมชาติที่เป็นสากลอย่างหนึ่ง จากทั้งหมด 3 ลักษณะ ที่ พุทธศาสนาได้สอนให้เข้าใจถึงเหตุลักษณะสากลแห่งสรรพสิ่งที่เป็นไปภายใต้กฎธรรมดา อันได้แก่
1. อนิจจัง (ความไม่เที่ยงแท้ มีอันต้องแปรปรวนไป)
2. ทุกขัง (ความทนอยู่อย่างเดิมได้ยาก)
3. อนัตตา (ความไม่มีแก่น สาระ ให้ถือเอาเป็นตัวตน ของเราและของใครๆ ได้อย่างแท้จริง) และได้ค้นพบว่า นอกจากการ แก่ เจ็บ และตาย เป็นทุกข์ (ซึ่งมีในหลักคำสอนของศาสนาอื่น) แล้ว ยังสอนว่า การเกิดก็นับเป็นทุกข์ ในทางพระพุทธศาสนานั้นปฏิเสธการมีอยู่ของพระเจ้า และเชื่อว่า โลกนี้เกิดขึ้นจาก กฎแห่งธรรมชาติ ( นิยาม ) 5 ประการ อันมี กฎแห่งสภาวะ (อุตุนิยาม) หรือมีธาตุทั้ง 5 คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ และ อากาศ ที่เปลี่ยนสถานะเป็นธาตุต่างๆ กลับไปกลับมา กฎแห่งชีวิต (พีชนิยาม) คือ กฎสมตา กฎวัฏฏตาและกฎชีวิตา ที่ทำให้เกิดชีวิตินทรีย์ ( เซลล์) กฎแห่งวิญญาน (จิตนิยาม) การมีนามธาตุต่างๆ ที่ประกอบกันตามกระบวนการเป็นจิต ที่เป็นไปตาม กฎแห่งเหตุผล (กรรมนิยาม) และ กฎไตรลักษณ์ (ธรรมนิยาม) คือ
1. อนิจจัง (ความไม่แน่นอน) ทำให้สิ่งทั้งปวงย่อมต้องเปลี่ยนแปลงสถานะเดิม อย่างธาตุดิน (ของแข็ง) เปลี่ยนเป็นธาตุน้ำ (ของเหลว) เปลี่ยนเป็นธาตุลม (แก๊ส) และเปลี่ยนเป็นธาตุไฟ (แสง ความร้อน พลังงาน) และเปลี่ยนไปไม่สิ้นสุด แม้จะเปลี่ยนแปลงแต่การเปลี่ยนแปลงก็มีขีดจำกัด ทำให้เกิด กฎแห่งวัฏจักร (วัฏฏตา) สิ่งมีชีวิตเริ่มต้นถึงที่สุดก็กลับมาตั้งต้นใหม่ เพราะกฎแห่งเหตุผลทำให้ลูกมาจากปัจจัยพ่อแม่ของตนเหมือนพ่อแม่ตน ความไม่แน่นอนทำให้สัตว์ พืช อาจไม่เหมือนพ่อแม่ของตนได้นิดหน่อย กฎวัฏฏตาทำให้เกิดสันตติ การสืบต่อที่ปิดบังอนิจจัง
2. ทุกขัง (ความไม่เที่ยงแท้ ทนอยู่ในสภาพเดิมมิได้ตลอดกาล) คือ สิ่งทั้งปวงหยุดนิ่งมิได้เหมือนจะต้องระเบิดอยู่ตลอดเวลา อย่าง ลมต้องพัด เปลือกโลกต้องเคลื่อน ทำให้มีกฎแห่งการปรับสมดุล (สมตา ) เช่น เรานอนเฉยๆ ต้องขยับ หรือวิ่งมากๆ ต้องหยุด ความทุกข์ทำให้เกิดการวิวัฒนาการของสัตว์ พืช เช่น พืชที่ปลูกถี่ๆ ย่อมแย่งกันสูงเพื่อแย่งแสงอาทิตย์ในการอยู่รอด หรือการปรับสมดุลจึงเกิดชีวิต กฎสมตา ทำให้เกิดอิริยาบถที่ปิดบังทุกขัง
3. อนัตตา (สิ่งทั้งปวงไม่มีตัวตนอย่างแท้จริง ดูเหมือนมีตัวตนเพราะอาศัยปัจจัยต่างๆประกอบกันขึ้น สิ่งทั้งปวงย่อมเกี่ยวเนื่องซึ่งกันและกัน ทำให้เกิดการผสมผสาน ทำให้เกิดความหลากหลายยิ่งขึ้น อย่างร่างกายของเราย่อมเกิดจากความเกี่ยวข้องกันเล็กๆ น้อย และเพิ่มขึ้นซับซ้อนขึ้น เมื่อสิ่งต่างๆ มีผลกระทบต่อกันในด้านต่างๆ ทำให้เกิดกฎแห่งหน้าที่ (ชีวิตา) เช่น ตับย่อมทำหน้าที่ของตับ ไม่อาจทำหน้าที่เป็นกล้ามเนื้อหัวใจ และถ้าธาตุทั้งสี่ไม่มีกฎแห่งหน้าที่ อันเป็นเหตุให้ธาตุประกอบกันเป็นร่างกาย ร่างกายของเราย่อมแตกสลายไปราวกับอากาศธาตุ กฎชีวิตาทำให้เกิดฆนะ รูปร่าง หรือการเป็นก้อนๆ ที่ปิดบังอนัตตา
เมื่อย่อกฎทั้ง 3 แล้ว จะเหลือเพียง ทุกข์เท่านั้นที่เกิดขึ้น ทุกข์เท่านั้นที่ดับไป พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาแห่งอิสรเสรีภาพ ด้วยการสร้าง "ปัญญา" ในการอยู่กับความทุกข์อย่างรู้เท่าทัน เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์อันสูงสุด คือ นิพพาน คือ การไม่มีความทุกข์ อย่างที่สุด หรือ การอยู่ในโลกอย่างไม่มีทุกข์ คือกล่าวว่า ทุกข์ทั้งปวงล้วนเกิดจากการยึดถือ ต่อเมื่อ "หมดการยึดถือ" จึงไม่มีอะไรจะให้ทุกข์ (แก้ที่ต้นเหตุของทุกข์ทั้งหมด)

ผม อ.ต้นบุญ ขอฝากให้คิด " พากันศึกษาให้ดี อย่าหลงประเด็น "

Cr : http://ewt.prd.go.th/ewt/region8/ewt_news.php?nid=2269&filename=news_r6

เนื่องในโอกาสวันคล้ายวันประสูติพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสิริภาจุฑาภรณ์วันที่ ๘ ตุลาคม ๒๕๖๗ทรงเจริญพระชันษา ๔๒ ปีขอพระ...
08/10/2024

เนื่องในโอกาสวันคล้ายวันประสูติ
พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสิริภาจุฑาภรณ์
วันที่ ๘ ตุลาคม ๒๕๖๗
ทรงเจริญพระชันษา ๔๒ ปี
ขอพระองค์ทรงพระเจริญ
ควรมิควรแล้วแต่จะโปรด
เกล้ากระหม่อม
นายธชรัฐ พรมแก้ว
ผู้บริหารแบรนด์น้ำปลาร้าอาจารย์ต้นบุญ

คนที่โดนเอาเปรียบ แต่เลือก ที่จะ “ นิ่ง ” ไม่โวยวายอย่าคิดว่า เขา “ รู้ไม่ทัน ”ผ่านโลก, มาถึงจุดนี้ได้ เชื่อเถอะไม่มีใคร...
06/10/2024

คนที่โดนเอาเปรียบ แต่เลือก ที่จะ “ นิ่ง ” ไม่โวยวาย
อย่าคิดว่า เขา “ รู้ไม่ทัน ”
ผ่านโลก, มาถึงจุดนี้ได้ เชื่อเถอะไม่มีใครโง่กว่าใคร
สมอง สติปัญญา ความคิด. ความรู้สึก เท่ากัน
แต่ที่ต่างคือ จิตใจ
บางคนเลือกที่จะไม่พูด เพราะไม่อยาก ฉีกหน้า
เลือกที่จะมองข้าม เพราะไม่อยาก คิดเยอะ
เลือกที่จะ “ ยอม ” เพราะไม่อยาก แย่งชิง
คนที่ “ จิตใจสูงส่ง ” จะรู้สึกว่า.“ เสียสละ ”
คือ..“ ความสุข ”..ที่ยิ่งใหญ่. และได้เรียนรู้. สันดาน คน
ตอบแทนความโลภ. ด้วยการ “ ให้ ” อาจจะดูไม่ฉลาด
แต่น่ารังเกียจน้อยกว่า“ คนฉลาด ”ที่เห็นแก่ตัว

CR : เพจนพเก้า
#ชีวิต #เหนื่อย #ความรู้สึก #ข้อคิดดีๆ #ทำบุญ #รวย #กำลังใจ #เตือนตนเอง #สอนใจ #สามก๊ก #แค่นั้น #ปรัชญาชีวิต #ปรัชญา #คำคม #ปรัชญาจีน

 ียงใหม่
06/10/2024

ียงใหม่

คน" คบได้ ก็คบถ้าคบแล้วมีแต่ "เสีย"ก็ควร "แยกย้าย"คิดจะซื้อใจ "คนเห็นแก่ได้"ด้วยการ "ให้"เท่าไหร่ ก็ "ไม่พอ!"Cr :  สามก๊...
06/10/2024

คน" คบได้ ก็คบ
ถ้าคบแล้วมีแต่ "เสีย"
ก็ควร "แยกย้าย"
คิดจะซื้อใจ "คนเห็นแก่ได้"
ด้วยการ "ให้"
เท่าไหร่ ก็ "ไม่พอ!"

Cr : สามก๊ก

02/10/2024

" เมื่อมั่งมีมากมายมิตรหมายมองเมื่อมัวหมองมิตรมองเหมือนหมูหมาเมื่อหมดมั่งมวลมิตรไม่มีมา
เมื่อมวดม้วยหมูหมาไม่มามอง"

ที่อยู่

86 หมู่ 7 ตำบลผาจุก
Uttaradit
53000

เบอร์โทรศัพท์

+66869268892

เว็บไซต์

แจ้งเตือน

รับทราบข่าวสารและโปรโมชั่นของ อาจารย์ต้นบุญ Ajarn Tonboonผ่านทางอีเมล์ของคุณ เราจะเก็บข้อมูลของคุณเป็นความลับ คุณสามารถกดยกเลิกการติดตามได้ตลอดเวลา

ติดต่อ ธุรกิจของเรา

ส่งข้อความของคุณถึง อาจารย์ต้นบุญ Ajarn Tonboon:

วิดีโอทั้งหมด

แชร์

ตำแหน่งใกล้เคียง บริษัท สื่อ

  • Newbie Food

    Newbie Food

    หมู่ที่1 ตำบลผาจุก