IMN เครือข่ายสื่อชนเผ่าพื้นเมือง

  • Home
  • IMN เครือข่ายสื่อชนเผ่าพื้นเมือง

IMN เครือข่ายสื่อชนเผ่าพื้นเมือง สื่อสารชนเผ่าพื้นเมือง

31/07/2024

"เชิญร่วมงานวันชนเผ่าพื้นเมืองแห่งประเทศไทย ปี 2567 : "ร่วมฉลองกฎหมายคุ้มครองสิทธิและส่งเสริมวิถีชีวิต กลุ่มชาติพันธุ์และชนเผ่าพื้นเมือง" ระหว่างวันที่ 8 - 10 สิงหาคม 2567 ณ ไทยพีบีเอส (Thai PBS) และศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร กรุงเทพฯ
อ่านรายละเอียดและโครงการเพิ่มเติม คลิก >> bit.ly/46k7TqR
ติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่:
#ทีมงานจาก ศมส.
1.อภินันท์ ธรรมเสนา (ผู้จัดการฝ่ายสื่อสารสังคมและขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะ ศมส.)
มือถือ: 094-514 4153 อีเมล์: [email protected]
2.นิชาภา อินทะอุด (เจ้าหน้าที่สนับสนุนวิชาการ ศมส.)
มือถือ: 099-119-2925 อีเมล์: [email protected]
#ทีมงานจาก สชพ.;
1.ศักดิ์ดา แสนมี่ (เลขาธิการ สชพ.)
มือถือ: 081-387 4904 อีเมล์: [email protected]
2.นิตยา เอียการนา (ผู้จัดการสำนักงาน สชพ.)
มือถือ: 061-649 2492 อีเมล์: [email protected]
3.เรณุกา ประดับภูทอง (ผู้ประสานงานแกนนำและสมาชิกสภา)
มือถือ: 081-765 5324 อีเมล์ : [email protected]
4.นางสาววิไลลักษณ์ เยอเบาะ (ผู้ประสานงานภาคีร่วมจัดงานฯ)
มือถือ: 088-260 4079 อีเมล์: [email protected]
--------------------------------------
#วันชนเผ่าพื้นเมืองแห่งประเทศไทย #วันชนเผ่าพื้นเมือง #วันชนเผ่าพื้นเมืองโลก #วันสากลชนเผ่าพื้นเมืองโลก #เราคือชนเผ่าพื้นเมือง #ฉันคือชนเผ่าพื้นเมือ #ศมส. #สชพ. #มพน. #ฉลองกฎหมายชนเผ่า #ผลักดันกฎหมายชาติพันธุ์ #สภาชนเผ่าพื้นเมือง #กฎหมายชนเผ่า #ชนเผ่าพื้นเมือง #ชาติพันธุ์ #รัฐไทย #ชนเผ่า

29/07/2024
26/07/2024

IMN LIVE Special EP #13 ในสัปดาห์นี้เราจะมาคุยกับ "เครือข่าสตรีชนเผ่าพื้นเมือง" เพื่อทำความรู้กับกับเครือข่ายสตรีชนเผ่ามากขึ้นและเครือข่าสตรีชนเผ่าขับเคลื่อน พ.ร.บ.คุ้มครองและส่งเสริมวิถีชีวิตชาติพันธุ์และชนเผ่าพื้นเมือง อย่างไร
ร่วมพูดคุยโดย
- คุณสุรดา บัวเปีย เครือข่ายสตรีชนเผ่าภาคอีสาน
- คุณวนิจชญา กันทะยวง เครือข่ายสรีชนเผ่าภาคเหนือ
- คุณนาร วงศาชล เครือข่ายสตรีชนเผ่าภาคใต้
ดำเนินรายการโดย
- อนุชา ตาดี เครือข่ายสื่อชนเผ่าพื้นเมือง (IMN)
รับชมlfqได้ที่ facebook และ youtube เครืออข่ายสื่อชนเผ่าพื้นเมือง (IMN)

19/07/2024

ทัวร์ทับลาน แล้วมาทัวร์อุทยานภาคเหนือ
IMN เครือข่ายสื่อชนเผ่าพื้นเมือง พาทัวร์ ชวนร่วมสะท้อนปัญหาอุทยานทับคนที่กำลังกระทบประชาชนหลักล้านทั่วประเทศ ร่วมหาคำตอบว่าปรากฏการณ์ทับลานเชี่ยวข้องกับปัญหาของชนเผ่าพื้นเมืองอย่างไร

ร่วมพาทัวร์โดย
- ธนากร อัฏฐ์ประดิษฐ์ ที่ปรึกษาประจำคณะกรรมาธิการการที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สภาผู้แทนราษฎร
- สุมิตรชัย หัตถสาร ผอ.ศูนย์พิทักษ์และฟื้นฟูสิทธิชุมชนท้องถิ่น
- พรพนา ก๊วยเจริญ ผู้อำนวยการ Land Watch Thai
- พชร คำชำนาญ ผู้ดำเนินรายการ

ติดตามถ่ายทอดสด วันศุกร์ที่ 19 กรกฎาคม เวลา 19.00-20.00 น. ทางเพจ IMN เครือข่ายสื่อชนเผ่าพื้นเมือง

🔥 ทัวร์ทับลาน แล้วมาทัวร์อุทยานภาคเหนือIMN เครือข่ายสื่อชนเผ่าพื้นเมือง พาทัวร์ ชวนร่วมสะท้อนปัญหาอุทยานทับคนที่กำลังกระ...
18/07/2024

🔥 ทัวร์ทับลาน แล้วมาทัวร์อุทยานภาคเหนือ
IMN เครือข่ายสื่อชนเผ่าพื้นเมือง พาทัวร์ ชวนร่วมสะท้อนปัญหาอุทยานทับคนที่กำลังกระทบประชาชนหลักล้านทั่วประเทศ ร่วมหาคำตอบว่าปรากฏการณ์ทับลานเชี่ยวข้องกับปัญหาของชนเผ่าพื้นเมืองอย่างไร

ร่วมพาทัวร์โดย
- ธนากร อัฏฐ์ประดิษฐ์ ที่ปรึกษาประจำคณะกรรมาธิการการที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สภาผู้แทนราษฎร
- สุมิตรชัย หัตถสาร ผอ.ศูนย์พิทักษ์และฟื้นฟูสิทธิชุมชนท้องถิ่น
- พรพนา ก๊วยเจริญ ผู้อำนวยการ Land Watch Thai
- พชร คำชำนาญ ผู้ดำเนินรายการ

ติดตามถ่ายทอดสด วันศุกร์ที่ 19 กรกฎาคม เวลา 19.00-20.00 น. ทางเพจ IMN เครือข่ายสื่อชนเผ่าพื้นเมือง

ราว 40 ปีก่อน (พ.ศ. 2527) ประตูชายแดนไทย เขตจังหวัดแม่ฮ่องสอนได้เปิดรับกลุ่มผู้ประสบภัยจากการสู้รบครั้งใหญ่ระหว่างรัฐบาล...
18/07/2024

ราว 40 ปีก่อน (พ.ศ. 2527) ประตูชายแดนไทย เขตจังหวัดแม่ฮ่องสอนได้เปิดรับกลุ่มผู้ประสบภัยจากการสู้รบครั้งใหญ่ระหว่างรัฐบาลทหารพม่าและกองกำลังกะเหรี่ยง ทำให้กลุ่มชาติพันธุ์ในรัฐคะเรนนีของพม่าหลายชนเผ่าต้องอพยพมาฝั่งไทย ไม่ว่าจะเป็นไทใหญ่ กะแย (กะเหรี่ยงแดง) กะยอ (กะเหรี่ยงหูใหญ่) รวมไปถึงชาวกะยัน (กะเหรี่ยงคอยาว)

ความน่าสนใจของชาวกะยันอยู่ที่สตรีชาวกะยันสวมห่วงทองเหลืองจนลำคอสูงยาว (ผู้ชายไม่สวม) ซึ่งความเชื่อในการสวมห่วงทองเหลืองนั้นมีหลากหลาย บ้างก็เชื่อว่า เพราะพวกเขาเป็นลูกหลานของหงส์ (แม่) และมังกร (พ่อ) ดังนั้น ผู้หญิงจึงสวมห่วงให้คอยาวเหมือนหงส์ จนกลายเป็นอัตลักษณ์ชาติพันธุ์ที่ชัดเจนเป็นร่ำลือไปทั้งโลก ส่งผลให้นักท่องเที่ยวต่างชาติหลั่งไหลเข้ามายังจังหวัดแม่ฮ่องสอนอย่างไม่ขาดสายเพื่อมาชมชีวิตชาวกะยัน

โลกาภิวัฒน์กับยุคสมัยที่เปลี่ยนไป อาจทำให้คนรุ่นใหม่ดำเนินวิถีชีวิตแตกต่างจากแต่ก่อน ปัจจุบันทั้งเด็กและหนุ่มสาวรุ่นใหม่ซึ่งเข้าไปเรียนหนังสือในเมืองหรือทำงานในสังคมทั่วไป พวกเขาปะปนไปกับผู้คนทั่วไป เหมือนคนธรรมดาๆ ผู้หญิงรุ่นใหม่ไม่สวมห่วงทองเหลือง แต่หากมีงานประเพณีหรืองานวัฒนธรรมชุมชน หรือช่วงไฮซีซั่น เด็กผู้หญิงก็จะใส่ห่วงทองเหลืองในวันเสาร์อาทิตย์ (ไม่มีเรียน) เพื่อให้นักท่องเที่ยวถ่ายรูป

ชาวกะยันส่วนใหญ่ยังเป็นเสมือนคนไร้รัฐ ไม่อาจนับได้เป็นชนชาติไหน หากได้เพียงบัตรประจำตัวคนซึ่งไม่มีสัญชาติไทย อีกปัญหาคือก็การไม่มีที่ทำกิน ชาวกะยัน โดยเฉพาะบ้านห้วยปูแกง ส่วนมากยังชีพด้วยการขายสินค้าที่ระลึกให้กับนักท่องเที่ยวและรับจ้างใช้แรงงาน ซึ่งโอกาสจะได้พัฒนาไปสู่อาชีพที่ดีกว่าจะมีน้อยกว่าคนได้บัตรสัญชาติไทยอยู่มาก
บทความโดย: สรอยแก้ว คำมาลา

อ่านบทความฉบับเต็มได้ที่:

คนไทยมักจะรู้จักพวกเขาด้วยการเรียกขานว่า “กะเหรี่ยงคอยาว” แต่พวกเขาเรียกตัวเองว่า Kayan หรือ กะยัน ที่มีควา....

"เชิญร่วมงานวันชนเผ่าพื้นเมืองแห่งประเทศไทย ปี 2024: "ร่วมฉลองกฎหมายคุ้มครองสิทธิและส่งเสริมวิถีชีวิต กลุ่มชาติพันธุ์และ...
16/07/2024

"เชิญร่วมงานวันชนเผ่าพื้นเมืองแห่งประเทศไทย ปี 2024: "ร่วมฉลองกฎหมายคุ้มครองสิทธิและส่งเสริมวิถีชีวิต กลุ่มชาติพันธุ์และชนเผ่าพื้นเมือง" ระหว่างวันที่ 8 - 10 สิงหาคม 2567 ณ ไทยพีบีเอส (Thai PBS) และศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร กรุงเทพฯ
อ่านรายละเอียดและโครงการเพิ่มเติม คลิก >> bit.ly/46k7TqR
ติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่:
#ทีมงานจาก ศมส.
1.อภินันท์ ธรรมเสนา (ผู้จัดการฝ่ายสื่อสารสังคมและขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะ ศมส.)
มือถือ: 094-514 4153 อีเมล์: [email protected]
2.นิชาภา อินทะอุด (เจ้าหน้าที่สนับสนุนวิชาการ ศมส.)
มือถือ: 099-119-2925 อีเมล์: [email protected]
#ทีมงานจาก สชพ.;
1.ศักดิ์ดา แสนมี่ (เลขาธิการ สชพ.)
มือถือ: 081-387 4904 อีเมล์: [email protected]
2.นิตยา เอียการนา (ผู้จัดการสำนักงาน สชพ.)
มือถือ: 061-649 2492 อีเมล์: [email protected]
3.เรณุกา ประดับภูทอง (ผู้ประสานงานแกนนำและสมาชิกสภา)
มือถือ: 081-765 5324 อีเมล์ : [email protected]
4.นางสาววิไลลักษณ์ เยอเบาะ (ผู้ประสานงานภาคีร่วมจัดงานฯ)
มือถือ: 088-260 4079 อีเมล์: [email protected]
--------------------------------------
#วันชนเผ่าพื้นเมืองแห่งประเทศไทย #วันชนเผ่าพื้นเมือง #วันชนเผ่าพื้นเมืองโลก #วันสากลชนเผ่าพื้นเมืองโลก #เราคือชนเผ่าพื้นเมือง #ฉันคือชนเผ่าพื้นเมือ #ศมส. #สชพ. #มพน. #ฉลองกฎหมายชนเผ่า #ผลักดันกฎหมายชาติพันธุ์ #สภาชนเผ่าพื้นเมือง #กฎหมายชนเผ่า #ชนเผ่าพื้นเมือง #ชาติพันธุ์ #รัฐไทย #ชนเผ่า

นายกย้ำ จนท.รัฐ  “การให้การดูแลพี่น้องชาติพันธุ์ต้องเสมอภาคและเท่าเทียม"เมื่อช่วงสายของวันที่ 14 กรกฎาคม 2567 ที่ผ่านมา ...
15/07/2024

นายกย้ำ จนท.รัฐ “การให้การดูแลพี่น้องชาติพันธุ์ต้องเสมอภาคและเท่าเทียม"

เมื่อช่วงสายของวันที่ 14 กรกฎาคม 2567 ที่ผ่านมา นายกรัฐมนตรีนายเศรษฐา ทวีสิน พร้อมกับ สส. ปิยะรัฐชย์ ติยะไพรัช ประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองและส่งเสริมวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์ ได้ลงพื้นที่พบปะผู้นำและพี่น้องกลุ่มชาติพันธุ์ และชนเผ่าพื้นเมือง ที่บ้านโป่งป่าแขม ต.ป่าตึง อ.แม่จัน จ.เชียงราย

โดยภายในงานได้มีการแสดงทางวัฒนธรรมของชาติพันธุ์และชนเผ่าพื้นเมืองเพื่อเป็นการต้อนรับนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีพร้อมคณะ และผู้นำชุมชนได้มอบชุดประจำชาติพันธุ์อิ้วเมี่ยน ให้แก่ นายกรัฐมนตรี

หลังจากนั้นนายกรัฐมนตรีได้พบปะกับพี่น้องชาติพันธุ์และชนเผ่าพื้นเมืองที่มารอต้อนรับอาทิเช่น ชนเผ่าลีซู อ่าข่า อิ้วเมี่ยน และลาหู่ ซึ่งนายกรัฐมนตรีได้เข้าไปเยี่ยมชมบ้านของนายเฉ่งลิ่น แซ่เติ๋น พร้อมกับนั่งล้อมวงดื่มชาที่กลางบ้านซึ่งเป็นวัฒนธรรมต้อนรับของชนเผ่าอิ้วเมี่ยน

ซึ่งหลักจากการเยี่ยมบ้านแล้วนายเศรษฐา ทวีสิน ได้เข้าร่วมรับฟังเวทีสะท้อนปัญหาปัญหาของพี่น้องชาติพันธุ์พร้อมกับกำชับเจ้าหน้าที่รัฐให้ปฏิบัติกับชาติพันธุ์ให้เท่าเทียมกับประชาชนคนไทยทุกคน

“เป็นครั้งแรกที่ได้มาเยี่ยมเยือนพี่น้องชาติพันธุ์และได้มีการต้อนรับผมให้เข้าไปเยี่ยมถึงในบ้านถือว่าเป็นเกียรติอันสูงสุด ผมขออนุญาตเรียนถึงปัญหาหลักเรื่องความไม่เสมอภาคและเท่าเทียมที่พี่น้องชาติพันธุ์ถูกดูแลอย่างไม่ทั่วถึงมาโดยตลอด แต่ว่าภายใต้การผลักดันของ สส.โอมซึ่งพวกเราทราบดีอยู่แล้วว่า สส.โอมได้มีส่วนผลักดัน พ.ร.บ.คุ้มครองและส่งเสริมวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์และชนเผ่าพื้นเมือง

เรื่องของสิทธิขั้นพื้นฐาน มีบางคนที่มีบางคนที่มีลูกหลานเกิดอยู่ในเมืองไทยกว่า 40 ปีแล้วก็ยังไม่รับการมอบสัญชาติให้ การมอบสัญชาติเองก็เป็นที่มาที่ไปของการได้รับการดูแลที่ถูกต้อง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องสิทธิขั้นพื้นฐาน ด้านสาธารณะสุข ด้านการศึกษา รัฐบาลก็จะให้คำสัญญาว่าเรื่องการพิสูจน์สัญชาติก็จะทำให้จบภายใน 5 วันไม่ใช่ 180 วัน และนี่ก็ถือว่าเป็นจุดเริ่มต้นที่ดี

เรื่อง พ.ร.บ.คุ้มครองและส่งเสริมวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์และชนเผ่าพื้นเมือง ก็เกือบจะเสร็จแล้วและขอเวลาอีกนิดซึ่งจะทำให้เสร็จภายในเดือนกรกฎาคมนี้ก็น่าจะเป็นไปได้ด้วยดี

ก็เป็นที่น่าเศร้าใจที่พี่น้องชาติพันธุ์ที่ได้รับการดูแลจากเจ้าหน้าที่รัฐก็อาจจะไม่ได้เป็นที่พอใจหรือเสมอภาค เท่าเทียม ที่นั่งอยู่ตรงนี้เรามีเจ้าหน้าที่รัฐระดับสูงอยู่หลายหน่วยงานและหลายฝ่ายรวมไปถึง สส.ทั้งแบบบัญชีรายชื่อและแบบแบ่งเขต ผมก็ขอพูดเลยแล้วกันว่าการดูแลพี่น้องชาติพันธุ์ต้องดูแลแบบเสมอภาค เท่าเทียมและเป็นธรรม ไม่มีการแบ่งแยก รวมไปถึงเจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่นคงหรือฝ่ายงสาธารณะสุขเองก็ตาม

การรักษาพยาบาลหรือว่าโรงพยาบาลไม่เพียงพอเราเจอทุกๆ ที่ไม่ว่าจะเป็นภาคเหนือ ภาคใต้หรือภาคอีสานเองก็ตาม เราก็พยายามจัดสรรงบประมาณดูแลเรื่องนี้ได้อย่างทั่วถึง

เรื่องของไฟฟ้าบางพื้นที่ก็มั่นใจได้เลยว่าเราจะจัดการให้นี่ถือว่าเป็นปัจจัยขั้นพื้นฐานที่พวกเราทุกคนพึงจะได้รับ เรื่องการบริหารจัดการเรื่องน้ำก็สำคัญซึ่งเมื่อสักครู่ได้รับรายงานว่าเรื่องของการเกษตรเป็นเรื่องสำคัญที่จะทำให้ดำรงชีวิตอยู่ได้ ซึ่งถ้าไม่มีการบริหารจัดการเรื่องน้ำก็ไม่สามารถทำการเกษตรที่เหมาะสมได้ วันนี้ก็มีหน่วยงานราชการมาเยอะก็ขอฝากให้ดูแลพี่น้องชาวชาติพันธุ์ให้มีความเสมอภาคและเท่าเทียบเท่ากับพี่น้องคนไทยทุกคน”

นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีกล่าวก่อนที่จะเดินทางไปปฏิบัติภาระกิจต่อ.....................
#สภาชนเผ่าพื้นเมืองแห่งประเทศไทย #สภาชนเผ่าพื้นเมือง #สภาชนเผ่า #พรรคเพื่อไทย #ชนเผ่าพื้นเมือง #ชาติพันธุ์ #กฎหมายชนเผ่า #กฎหมายชาติพันธุ์

12/07/2024

สัปดาห์นี้ IMN Live เราจะมาคุยกับเยาวชนชนเผ่าพื้นเมืองในปรเด็นความคาดหวังกับ พ.ร.บ.คุ้มครองและส่งเสริมวิธีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์กับอนคตของเยาวชนชนเผ่าพื้นเมือง
ร่วมพูดคุยกับ
1. นางสาวกาญารัตน์ รักจงเจริญ ประธาน TKN
2. นายสุประดิษฐ์ สงณริทร์ เยาวชนชนเผ่ามอแกลน
3.นางสาวคำอิ่ง ลุงแสง เยาวชนชนเผ่าไทใหญ่
ดำเนินรายการโดย
อนุชา ตาดี
พบกันวันที่ 12 กรกฎาคมนี้ เวลา 19.00 น. - 20.00 น. ทางเพจ IMN เครือข่ายสื่อชนเผ่าพื้นเมือง

🟢มีคำศัพท์มากมายที่ใช้เรียกกลุ่มคนที่มีความแตกต่างทางวัฒนธรรม เช่น เชื้อชาติ ชาติพันธุ์ ชนพื้นเมือง ชนเผ่าพื้นเมือง ชาวเ...
12/07/2024

🟢มีคำศัพท์มากมายที่ใช้เรียกกลุ่มคนที่มีความแตกต่างทางวัฒนธรรม เช่น เชื้อชาติ ชาติพันธุ์ ชนพื้นเมือง ชนเผ่าพื้นเมือง ชาวเขา ชาวเล ชนกลุ่มน้อย คนพลัดถิ่น กลุ่มเปราะบาง แต่ละคำมีความหมายและบริบทที่แตกต่างกัน "ชาติพันธุ์" หมายถึง กลุ่มคนที่อาศัยอยู่ในสังคมเดียวกัน มีวัฒนธรรม ภาษา ประเพณี ความเชื่อ และวิถีชีวิตที่เป็นเอกลักษณ์ ร่วมกันกลุ่มชนที่สืบเชื้อสายมาจากบรรพบุรุษเดียวกัน

🟢คำว่า “ชนพื้นเมือง” คือ ชนพื้นเมืองเป็นผู้อยู่อาศัยดั้งเดิมของพื้นที่ มีระบบทางด้านวัฒนธรรม สังคม และเศรษฐกิจที่โดดเด่นซึ่งมีรากฐานมาจากการครอบครองและใช้ประโยชน์จากดินแดนของพวกเขาตามประวัติศาสตร์ พวกเขารักษาขนบธรรมเนียม ประเพณี และวิถีชีวิตที่มีความเชื่อมโยงอย่างใกล้ชิดของดินแดนบรรพบุรุษ

🟢สถานะทางกฎหมายและการเมือง "กลุ่มชาติพันธุ์" อาจไม่มีสถานะทางกฎหมายหรือการคุ้มครองเฉพาะ เพียงเพาะชาติพันธุ์ แต่ "ชนเผ่าพื้นเมือง" มักได้รับการคุ้มครองและได้รับสิทธิ์ที่ได้รับการยอมรับจากกฎหมาย โดยเฉพาะกฎหมายระหว่างประเทศที่ให้การคุ้มครอง

⏭อ่านบทความฉบับเต็มได้ที่: https://imnvoices.com/?p=4998⏮

มีคำศัพท์มากมายที่ใช้เรียกกลุ่มคนที่มีความแตกต่างทางวัฒนธรรม เช่น เชื้อชาติ ชาติพันธุ์ ชนพื้นเมือง ชนเผ....

ความสำคัญของกฎหมายต่อกลุ่มชาติพันธุ์ผ่านมา 13 ปี มีการประกาศพื้นที่คุ้มครองกลุ่มชาติพันธุ์รวม 23 แห่ง โดยล่าสุด ชุมชนปกา...
10/07/2024

ความสำคัญของกฎหมายต่อกลุ่มชาติพันธุ์
ผ่านมา 13 ปี มีการประกาศพื้นที่คุ้มครองกลุ่มชาติพันธุ์รวม 23 แห่ง โดยล่าสุด ชุมชนปกาเกอะญอ-ชุมชนชาวเลอูรักลาโว้ย เริ่มดำเนินการแผนยุทธศาสตร์พัฒนาพื้นที่ ขณะที่ร่างกฎหมายอยู่ระหว่างการพิจารณาของสภา แต่เป็นเพียงขั้นเริ่มต้น เส้นทางความสำเร็จยังอยู่อีกยาวไกล
แต่กรณีของ ชุมชนปกาเกอะญอ-ชุมชนชาวเลอูรักลาโว้ย ชี้ให้เห็นว่ากฎหมายมีความสำคัญต่อพื้นที่คุ้มครองกลุ่มชาติพันธุ์ ด้วยการสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ และพัฒนาเศรษฐกิจบนฐานวัฒนธรรม
ขณะนี้ ร่างกฎหมายอยู่ระหว่างการพิจารณาของสภา หากกฎหมายมีผลบังคับใช้ ก็จะทำให้พื้นที่คุ้มครองกลุถ่มชาติพันธุ์มีกฎหมายรองรับและนำไปสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม
https://policywatch.thaipbs.or.th/article/legal-11
Policy Watch ร่วมจับตาอนาคตประเทศไทย ผ่านกระบวนการจัดทำนโยบายสาธารณะ ที่พวกเรามีส่วนร่วมได้
#ติดตามนโบาย #นโยบายสาธารณะ #พื้นที่คุ้มครองกลุ่มชาติพันธุ์ #กลุ่มชาติพันธุ์

• ความหวัง และ ต้นกล้าชนเผ่าพื้นเมืองคนรุ่นใหม่_____________________________________• ความสวยงามอันทรงคุณค่าของวัฒนธรรมช...
09/07/2024

• ความหวัง และ ต้นกล้าชนเผ่าพื้นเมืองคนรุ่นใหม่
_____________________________________
• ความสวยงามอันทรงคุณค่าของวัฒนธรรมชนเผ่าพื้นเมือง ณ วันนี้ ยังคงทันสมัยเพียงพอต่อการหล่อเลี้ยงหัวใจชนรุ่นใหม่เพื่อทำหน้าที่เป็นผู้สืบทอดมรดกวัฒนธรรมต่อจากบรรพชน หรือไม่ ?

• คลื่นกระแสความเปลี่ยนแปลงและโลกาภิวัตน์ ที่พัดพาวัตถุนิยม ค่านิยม สมัยนิยม เป็นคลื่นลูกใหญ่ที่มีกระแสรุนแรงเหลือเกิน แต่ก็ใช่ว่าจะไม่มีเยาวชนที่ยังดำรงวิถีชาติพันธุ์ของตัวเองไว้ ยังมีคนรุ่นใหม่หลายคนที่ล่ำลาเมืองใหญ่เดินทางกลับบ้านเกิด เพื่อสร้างผลิตภัณฑ์จากชุมชนของตัวเอง

• ยังคงมีเยาวชนหลายคนที่ยังทำไร่หมุนเวียน และมีอีกหลายคนเช่นเดียวที่แม้จะอยู่ใจกลางเมือง แต่ก็เคลื่อนไหวในกิจกรรมที่ส่งเสริมการเผยแพร่วัฒนธรรมอัตลักษณ์ของตนเอง แต่ทั้งหมดที่กล่าวมานั้น มากเพียงพอที่จะทัดทานคลื่นลูกใหญ่แห่งการเปลี่ยนแปลง ที่อาจจะพัดพาความเป็นชนเผ่าพื้นเมือง ให้สูญหายไปหรือไม่ ?

ชวนติดตามอ่าน: https://imnvoices.com/?p=4977
------------------

ือข่ายสื่อชนเผ่าพื้นเมือง #ต้นกล้าชนเผ่าพื้นเมือง #เครือข่ายเด็กและเยาวชนต้นกล้าชนเผ่าพื้นเมือง

💚ชนเผ่าพื้นเมือง indigenous people 💚คำว่าพื้นเมือง indigenous มาจากคำภาษาละตินคำ 2 คำคือ indi(whitin) แปลว่า "ภายใน" และ...
08/07/2024

💚ชนเผ่าพื้นเมือง indigenous people 💚
คำว่าพื้นเมือง indigenous มาจากคำภาษาละตินคำ 2 คำคือ
indi(whitin) แปลว่า "ภายใน" และ gen หรือ genere(root) แปลว่า "ราก"
ซึ่ง 2 คำนี้รวมกันคือ คนกลุ่มนี้มีรากเหง้าจากภายในอยู่ในดินแดนใดดินแดนหนึ่ง หรือ มีถิ่นกำเนิดในดินแดนแถบนั้นที่มีอาณาบริเวณชัดเจนคือ เกิดที่นั่น อยู่ที่นั่น มีของเขตชัดเจน

หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งคำว่า indigenous people ชนพื้นเมือง
หมายถึง born in “เกิดใน” ซึ่งตรงกันข้ามกับคำว่า brought in ที่แปลว่ามาจาก "นำเข้ามา" ที่เราเรียกชนพื้นเมืองของออสเตรเลียว่า Aboriginal people ก็เพี้ยนมาจากคำว่า aborigene

ดังนั้นคำว่า indigenous people นักมานุษยวิทยาให้คำจำกัดความว่า บุคคลหรือบางสิ่งบางที่มีถิ่นกำเนิดมาจากพื้นที่จำเพาะหรือผู้อยู่อาศัยดั้งเดิมของพื้นที่ทางภูมิศาสตร์เฉพาะแห่ง คำว่า “ชนพื้นเมือง” ถูกนำมาใช้โดยชาวอะบอริจินในทศวรรษที่ 1970 หลังการเกิดขึ้นของกระบวนการสิทธิของชนเผ่าพื้นเมืองทั่วโลกเพื่อเป็นแนวทางในการระบุและรงบรวมชุมชนของตนเป็นหนึ่งเดียวและเป็นตัวแทนของพวกเขาในเวทีการเมือง เช่น สหประชาชาติ

อ.ดำรงพล อินทร์จันทร์ ภาคบวิชามานุษยวิทยา คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร
เวทีเสวนาวิชาการเรื่อง มโนทัศน์ การเมืองและรากเหง้าของกลุ่มชาติพันธุ์และชนเผ่าพื้นเมืองแห่งประเทศไทย
5 กรกฎาคม 2567

💚ขบวนชนเผ่าพื้นเมืองไม่ได้มองเรื่องของการแบ่งแยกแต่รัฐกำลังกังวลเกินไป เรากำลังจัดสรรทรัพยากรอะไรบางอย่างที่ในอดีตเรารู้...
05/07/2024

💚ขบวนชนเผ่าพื้นเมืองไม่ได้มองเรื่องของการแบ่งแยกแต่รัฐกำลังกังวลเกินไป เรากำลังจัดสรรทรัพยากรอะไรบางอย่างที่ในอดีตเรารู้สึกว่ามันไม่เป็นธรรม ถูกเลือกปฏิบัติ ถูกละเมิดสิทธิ กระบวนการยุติธรรมก็ไม่คลี่คลายให้ เราก็เลยอยากให้ตัว พ.ร.บ คุ้มครองและส่งเสริมวิถีชีวิตชาติพันธุ์และชนเผ่าพื้นเมืองมารองรับตรงนี้เพื่อให้เป็นพื้นที่คุยกันถ้ามีกฎหมายเราจะได้คุยกับกระทรวงทรัพฯ ได้ง่ายขึ้นเพราะเจ้าหน้าที่รัฐชอบอ้างเรื่องกฎหมาย กระทรวง พม.ก็บอกว่าไม่มีกฎหมายมาเอื้อก็มีอย่างอื่นมาด้อยค่าเราอีก
ใจเราคิดว่าถ้ามีกฎหมายเจ้าหน้าที่รัฐจะได้ทำงานได้ง่ายขึ้น เราจะได้ทำงานร่วมกับรัฐได้มากขึ้นและเราจะได้ดึงศักยภาพของเราได้มากขึ้น

▶️เกรียงไกร ชีช่วง ประธานสภาชนเผ่าพื้นเมืองแห่งประเทศไทย◀️

05/07/2024

เวทีเสวนาวิชาการ เรื่อง
"มโนทัศน์ การเมือง และรากเหง้าของกลุ่มชาติพันธุ์และชนเผ่าพื้นเมืองในประเทศไทย"
วันที่ 5 กรกฎาคม 2567 เวลา 9.30-16.00 น.
ณ ห้องประชุม 107 คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์
13.00-14.00 น. เสวนาในหัวข้อ “การปกครองโดยเอกสาร กับการเมืองว่าด้วยการควบคุมประชากร”
โดย ศ.ดร.ปิ่นแก้ว เหลืองอร่ามศรี ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา
คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
14.00-15.00 น. เสวนาในหัวข้อ “ชาติพันธุ์และชนเผ่าพื้นเมืองมีความสำคัญอย่างไรต่อประเทศไทย”
โดย ศาสตราจารย์พิเศษ ศรีศักร วัลลิโภดม มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์
15.00 น. ปิดงานเสวนา โดย อาจารย์ชูพินิจ เกษมณี (ผู้อาวุโสสภาชนเผ่าพื้นเมืองแห่งประเทศไทย)
รองประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองและส่งเสริมวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์ พ.ศ.... สภาผู้แทนราษฎ

05/07/2024

เวทีเสวนาวิชาการ เรื่อง
"มโนทัศน์ การเมือง และรากเหง้าของกลุ่มชาติพันธุ์และชนเผ่าพื้นเมืองในประเทศไทย"
วันที่ 5 กรกฎาคม 2567 เวลา 9.30-16.00 น.
ณ ห้องประชุม 107 คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์

04/07/2024

มาร่วมรับชม สิ่งดีๆที่เกิดขึ้นที่นี่ ภายในงาน " สมัชชาเด็กและเยาวชนชนเผ่าพื้นเมือง TKN Festival เทศกาลมีดี ครั้งที่ 4 " Something good is here.
วันที่ 4-7 พฤษภาคม 2567 ณ ศูนย์พัฒนาทรัพยากรมนุษย์ล้านนา ต.แม่ปูคา อ.สันกำแพง จ.เชียงใหม่ 🎎🪅🎉🎊🌱🕊️🪄
วีดีโอภาพบรรยากาศงานสมัชชาใหญ่ของเครือข่ายเด็กและเยาวชนต้นกล้าชนเผ่าพื้นเมือง (TKN) " สมัชชาเด็กและเยาวชนชนเผ่าพื้นเมือง TKN Festival เทศกาลมีดี ครั้งที่ 4 " Something good is here. ที่มีการรวมตัวของเด็กและเยาวชนชนเผ่าพื้นเมือง 5 ภูมิภาค และมีกลุ่มชนเผ่าพื้นเมืองมากกว่า 20 ชนเผ่าพื้นเมืองมารวมกันในงานนี้ ได้มีพื้นที่ในการแสดงศักยภาพ มีพื้นที่ในการเเลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน ทั้งองค์ความรู้ด้านวิถีวัฒนธรรมของชนเผ่าพื้นเมือง สิทธิเด็กและความสำคัญของร่าง พ.ร.บ.สภาชนเผ่าพื้นเมือง ที่เกี่ยวข้องกับเราโดยตรง และที่สำคัญได้มีการคัดเลือกคณะกรรมการเครือข่าย TKN ชุดใหม่ ชุดที่ 5 ที่จะได้เข้ามาขับเคลื่อนการดำเนินงานของเครือข่าย TKN ตามแผนยุทธศาสตร์ 5 ปีของเครือข่าย TKN
ทั้งนี้ในงาน " สมัชชาเด็กและเยาวชนชนเผ่าพื้นเมือง TKN Festival เทศกาลมีดี ครั้งที่ 4 " Something good is here. ยังเป็นอีกพื้นที่หนึ่งในการแสดงอัตลักษณ์ตัวตนการเป็นชนเผ่าพื้นเมือง ผ่านการแสดงร้องรำ ทำเพลง ที่เยาวชนชนเผ่าพื้นเมือง ได้โชว์ศักยภาพของตนเองในการได้อนุรักษณ์และเผยแพร่ให้เพื่อนๆภายในงานได้เห็นความงดงามและความหลากหลายทางวัฒนธรรมของชนเผ่าพื้นเมือง ที่มารวมตัวกันในงานนี้
ขอขอบคุณองค์กรผู้สนับสนับสนุนทุกองค์กรในการจัดงานสมัชชาฯในครั้งนี้ขึ้นมา ขอบคุณองค์กรภาคีพี่เลี้ยงที่ช่วยหนุนเสริม ขอบคุณทีมงานทุกคนที่ช่วยให้งานนี้ออกมาดี ขอบคุณผู้รู้ที่มาให้ความรู้และส่งต่อองความรู้แก่น้องเยาวชน และขอบคุณน้องเยาวชนทุกคน ที่เป็นส่วนสำคัญหลักในการทำให้งานสมัชชาฯนี้ ออกมาได้อย่างงดงาม ขอบคุณทุกคนที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ขอบคุณมากๆเลยค่ะ 🙏🏼🌱🕊️
แล้วเราจะมาเจอกันใหม่ครั้งถัดไป 🌱🕊️🥳✨
#สมัชชาเด็กและเยาวชนชนเผ่าพื้นเมือง #เทศกาลมีดี . #สมัชชาครั้งที่4 ี่ยน
#เครือข่ายเด็กและเยาวชนต้นกล้าชนเผ่าพื้นเมือง #มูลนิธิมพข. #ศมส. #สสส. #สำนัก6สร้างสรรค์โอกาส #สชพ. #คชท. #มูลนิธิรักษ์เด็ก #พระนักสื่อสาร

28/06/2024

“ป่าผู้หญิง” อาจไม่ปรากฎ และไม่ได้อยู่ในสารบบการจำแนกป่าตามลักษณะของระบบนิเวศ แต่หากจำแนกป่า ตามความสัมพันธ์ระหว่าง มนุษย์ กับ ธรรมชาติ ป่าผู้หญิง ถือเป็นหนึ่งในหัวใจสำคัญของชุมชนปกาเกอะญอ ที่เรียกว่า “เกอะเนอหมื่อ”
Active journey EP. นี้ ชวนทุกคนไปรู้จัก “ป่าผู้หญิง” แห่งชุมชนบ้านห้วยอีค่าง อ.แม่วาง จ.เชียงใหม่ ที่อาศัยบทบาทผู้หญิง ดูแลจัดการทรัพยากร ควบคู่กับการใช้ประโยชน์ ถือเป็นโอกาสของการอยู่ร่วมกับป่า โดยสร้างความมั่นคงในชีวิต ไปจนถึงการสร้างโอกาสทางเศรษฐกิจ ดึงรายได้กลับคืนสู่ชุมชน
ความโดดเด่นของศักยภาพทุนทางวัฒนธรรมของชุมชนบ้านห้วยอีค่าง กำลังจะปรากฎสู่สายตาคนเมืองภายในงาน Connecting Soft Power Resource Forum : แลกเปลี่ยนเชื่อมชุมชน สู่นโยบายซอฟต์พาวเวอร์ ที่ Thai PBS, NIA และ ภาคีเครือข่าย จัดขึ้นในวันที่ 29-30 มิ.ย.นี้
📌 ชมผ่านเว็บไซต์ : https://theactive.net/video/economy-20240628/
#ป่าผู้หญิง #บ้านห้วยอีค่าง #ชาติพันธุ์ #ของดีชุมชน #ซอฟต์พาวเวอร์
-------------------------------------------------------

⏭คน ป่า ไร่หมุนเวียน ⏮❌การปะทะกันของแนวคิดระบบเกษตรนิเวศน์วิถีวัฒนธรรมชมชนชาติพันธุ์และชนเผ่ากับนโยบายป่าไม้ที่ดิน❌ชุมชน...
27/06/2024

⏭คน ป่า ไร่หมุนเวียน ⏮
❌การปะทะกันของแนวคิดระบบเกษตรนิเวศน์วิถีวัฒนธรรมชมชนชาติพันธุ์และชนเผ่ากับนโยบายป่าไม้ที่ดิน❌
ชุมชนของชาติพันธุ์และชนเผ่าพื้นเมืองที่อยู่ในพื้นที่สูงส่วนมากยังอยู่ในพื้นที่ป่าและยังเป็นที่ดินของรัฐ พื้นที่ของชุมชนเหล่านี้ยังอยู่ในพื้นที่ของป่าสงวนหรือพื้นที่อุทยานแห่งชาติ
- คำถามสำคัญคือการที่จะผลักดันและยกระดับให้พื้นที่ “ไร่หมุนเวียน” เป็น “มรดกทางวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม” จึงไม่ได้เป็นทิศทางที่เป็นบวกมากนักในสถานการณ์ปัจจุบัน
- จากการสำรวจพื้นที่ไร่หมุนเวียนในปี 2562 พบว่ามีชุมชนที่ยังมีการทำไร่หมุนเวียนอยู่ประมาณ 1,600 ชุมชนแต่ประมาณ 50% ของชุมชนเหล่านี้กำลังเปลี่ยนวิถีการทำการเกษตรแบบไร่หมุนเวียนไปเป็นการเกษตรแบบอื่นเนื่องจากกฎหมายที่จะรับรองเรื่องสิทธิของชาติพันธุ์และชนเผ่าพื้นเมืองและกฎหมายด้านสิ่งแวดล้อมมีความเกี่ยวข้องโดยตรงที่ทำให้พื้นที่มรดกทางวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อมอย่างไร่หมุนเวียนกำลังลดลงไปเรื่อยๆ ในปัจจุบันซึ่งสวนทางกับแนวคิดสากลที่มองว่าต้องรักษาและปกป้องวิถีชีวิตและวัฒนธรรมของชนเผ่าพื้นเมืองเพราะพวกเขาเป็นคนที่รักษาระบบนิเวศน์หลักให้กับคนทั้งโลก
อ่านบทความฉบับเต็ม: https://imnvoices.com/?p=4969

มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ คณะสังคมศาสตร์ ภาควิชาสังคมศาสตร์กับการพัฒนา โดย Asst.Prof. Dr.Marco Haenssgen ขอเชิญร่วมกิจกรรมภาย...
24/06/2024

มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ คณะสังคมศาสตร์ ภาควิชาสังคมศาสตร์กับการพัฒนา โดย Asst.Prof. Dr.Marco Haenssgen ขอเชิญร่วมกิจกรรมภายใต้โครงการวิจัย “สู่นโยบายเอื้ออนุรักษ์มรดกทางสิ่งแวดล้อม: แรงผลักดันจากปฏิบัติการของชนพื้นเมืองในประเทศไทย” (Towards Heritage-Sensitive Conservation Policy: Impulses from Indigenous Practice in Thailand)
นิทรรศการภาพถ่าย
'อยู่กับป่า' สะท้อนวิถีชีวิตคนอยู่กับป่า-ภูมิปัญญากลุ่มชาติพันธุ์ (Living with the Forest)
แสดงภาพถ่ายที่สะท้อนวิถีชีวิตคนอยู่กับป่า ซึ่งร่ำรวยไปด้วยภูมิปัญญาของสองกลุ่มชาติพันธุ์ ปกาเกอะญอบ้านสบลานและบ้านแม่ยางห้า กับม้งบ้านแม่สาน้อย แม่สาใหม่และบ้านหนองหอยเก่า
กำหนดการ
วันจันทร์ที่ 24 มิถุนายน 2567
เวลา 16.30- 17.00 น. การแสดงดนตรีเปิดงานนิทรรศการ “อยู่กับป่า”
เวลา 17.00- 18.00 น. คณะวิจัยชวนพูดคุยถึงผลลัพธ์ที่เกี่ยวกับข้อเสนอเชิงนโยบายจากโครงการ “Towards Heritage-Sensitive Conservation Policy: Impulses from Indigenous Practice in Thailand”
• Asst. Prof. Dr. Marco J. Haenssgen, Chiang Mai University
• ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.มุกดาวรรณ ศักดิ์บุญ, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
• รองศาสตราจารย์ ดร.ประสิทธิ์ ลีปรีชา, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
• Asst. Prof. Dr. Ta-Wei Chu, Chiang Mai University
ดำเนินรายการโดย คุณนวพร สุนันท์ลิกานนท์
เวลา 18.00- 19.00 น. วงเสวนา “โอกาสการผลักดันข้อเสนอเชิงนโยบายการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมร่วมกับชุมชนชาติพันธุ์”
• คุณศรีโสภา โกฏคำลือ สส. พรรคเพื่อไทย
• คุณอรพรรณ จันตาเรือง สส. พรรคก้าวไกล
• คุณมานพ คีรีภูวดล สส. บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล
• ผศ.ดร.สุวิชาน พัฒนาไพรวัลย์ อาจารย์ประจำสาขาวิชาการจัดการภูมิวัฒนธรรม ประจำวิทยาลัยโพธิวิชชาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
ภาษา: ภาษาไทย และภาษาอังกฤษ
สถานที่: เวิ้งคุณนลี ถ.สุเทพ ต.สุเทพ อ.เมืองเชียงใหม่ จ.เชียงใหม่
รับข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ https://thaiforest.life/.../everyday-environmental-heritage/

มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ คณะสังคมศาสตร์ ภาควิชาสังคมศาสตร์กับการพัฒนา โดย Asst.Prof. Dr.Marco Haenssgen ขอเชิญร่วมกิจกรรมภายใต้โครงการวิจัย “สู่นโยบายเอื้ออนุรักษ์มรดกทางสิ่งแวดล้อม: แรงผลักดันจากปฏิบัติการของชนพื้นเมืองในประเทศไทย” (Towards Heritage-Sensitive Conservation Policy: Impulses from Indigenous Practice in Thailand)

นิทรรศการภาพถ่าย
'อยู่กับป่า' สะท้อนวิถีชีวิตคนอยู่กับป่า-ภูมิปัญญากลุ่มชาติพันธุ์ (Living with the Forest)

แสดงภาพถ่ายที่สะท้อนวิถีชีวิตคนอยู่กับป่า ซึ่งร่ำรวยไปด้วยภูมิปัญญาของสองกลุ่มชาติพันธุ์ ปกาเกอะญอบ้านสบลานและบ้านแม่ยางห้า กับม้งบ้านแม่สาน้อย แม่สาใหม่และบ้านหนองหอยเก่า

กำหนดการ
วันจันทร์ที่ 24 มิถุนายน 2567
เวลา 16.30- 17.00 น. การแสดงดนตรีเปิดงานนิทรรศการ “อยู่กับป่า”

เวลา 17.00- 18.00 น. คณะวิจัยชวนพูดคุยถึงผลลัพธ์ที่เกี่ยวกับข้อเสนอเชิงนโยบายจากโครงการ “Towards Heritage-Sensitive Conservation Policy: Impulses from Indigenous Practice in Thailand”
• Asst. Prof. Dr. Marco J. Haenssgen, Chiang Mai University
• ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.มุกดาวรรณ ศักดิ์บุญ, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
• รองศาสตราจารย์ ดร.ประสิทธิ์ ลีปรีชา, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
• Asst. Prof. Dr. Ta-Wei Chu, Chiang Mai University
ดำเนินรายการโดย คุณนวพร สุนันท์ลิกานนท์

เวลา 18.00- 19.00 น. วงเสวนา “โอกาสการผลักดันข้อเสนอเชิงนโยบายการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมร่วมกับชุมชนชาติพันธุ์”
• คุณศรีโสภา โกฏคำลือ สส. พรรคเพื่อไทย
• คุณอรพรรณ จันตาเรือง สส. พรรคก้าวไกล
• คุณมานพ คีรีภูวดล สส. บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล
• ผศ.ดร.สุวิชาน พัฒนาไพรวัลย์ อาจารย์ประจำสาขาวิชาการจัดการภูมิวัฒนธรรม ประจำวิทยาลัยโพธิวิชชาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
ภาษา: ภาษาไทย และภาษาอังกฤษ

สถานที่: เวิ้งคุณนลี ถ.สุเทพ ต.สุเทพ อ.เมืองเชียงใหม่ จ.เชียงใหม่
รับข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ https://thaiforest.life/research/research-themes/everyday-environmental-heritage/

ขอเชิญทุกท่านครับ[สามารถเข้าร่วมได้ทั้งแบบสำรองที่นั่งและไม่สำรองที่นั่ง]เวทีเสวนาวิชาการ เรื่อง"มโนทัศน์ การเมือง และรา...
23/06/2024

ขอเชิญทุกท่านครับ
[สามารถเข้าร่วมได้ทั้งแบบสำรองที่นั่งและไม่สำรองที่นั่ง]
เวทีเสวนาวิชาการ เรื่อง
"มโนทัศน์ การเมือง และรากเหง้าของกลุ่มชาติพันธุ์และชนเผ่าพื้นเมืองในประเทศไทย"
วันที่ 5 กรกฎาคม 2567 เวลา 9.30-16.00 น.
ณ ห้องประชุม 107 คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์
09.30-10.00 น. ลงทะเบียน
10.00-10.15 น. กล่าวเปิดงานเสวนา โดย รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ หรือผู้แทน
10.15-12.00 น. เสวนาในหัวข้อ “การเปลี่ยนมโนทัศน์จากเชื้อชาติสู่กลุ่มชาติพันธุ์และชนเผ่าพื้นเมือง”
โดย ผศ.ดร.มยุรี ถาวรพัฒน์ สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย มหาวิทยาลัยมหิดล
ผศ.ดร.ดำรงพล อินทร์จันทร์ ภาควิชามานุษยวิทยา คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร และคณบดีคณะโบราณคดี
12.00-13.00 น. พัก รับประทานอาหารกลางวัน
13.00-14.00 น. เสวนาในหัวข้อ “การปกครองโดยเอกสาร กับการเมืองว่าด้วยการควบคุมประชากร”
โดย ศ.ดร.ปิ่นแก้ว เหลืองอร่ามศรี ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา
คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
14.00-15.00 น. เสวนาในหัวข้อ “ชาติพันธุ์และชนเผ่าพื้นเมืองมีความสำคัญอย่างไรต่อประเทศไทย”
โดย ศาสตราจารย์พิเศษ ศรีศักร วัลลิโภดม มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์
15.00 น. ปิดงานเสวนา โดย อาจารย์ชูพินิจ เกษมณี (ผู้อาวุโสสภาชนเผ่าพื้นเมืองแห่งประเทศไทย)
รองประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองและส่งเสริมวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์ พ.ศ.... สภาผู้แทนราษฎร
ดำเนินรายการโดย ผศ.ดร.พิพัฒน์ กระแจะจันทร์ สาขาวิชาประวัติศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และที่ปรึกษากรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองและส่งเสริมวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์ พ.ศ....
จัดโดย โครงการศิลป์เสวนา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และสภาชนเผ่าพื้นเมืองแห่งประเทศไทย

ขอเชิญทุกท่านครับ
[สามารถเข้าร่วมได้ทั้งแบบสำรองที่นั่งและไม่สำรองที่นั่ง]

เวทีเสวนาวิชาการ เรื่อง
"มโนทัศน์ การเมือง และรากเหง้าของกลุ่มชาติพันธุ์และชนเผ่าพื้นเมืองในประเทศไทย"

วันที่ 5 กรกฎาคม 2567 เวลา 9.30-16.00 น.
ณ ห้องประชุม 107 คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์

09.30-10.00 น. ลงทะเบียน
10.00-10.15 น. กล่าวเปิดงานเสวนา โดย รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ หรือผู้แทน

10.15-12.00 น. เสวนาในหัวข้อ “การเปลี่ยนมโนทัศน์จากเชื้อชาติสู่กลุ่มชาติพันธุ์และชนเผ่าพื้นเมือง”
โดย ผศ.ดร.มยุรี ถาวรพัฒน์ สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย มหาวิทยาลัยมหิดล
ผศ.ดร.ดำรงพล อินทร์จันทร์ ภาควิชามานุษยวิทยา คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร และคณบดีคณะโบราณคดี

12.00-13.00 น. พัก รับประทานอาหารกลางวัน

13.00-14.00 น. เสวนาในหัวข้อ “การปกครองโดยเอกสาร กับการเมืองว่าด้วยการควบคุมประชากร”
โดย ศ.ดร.ปิ่นแก้ว เหลืองอร่ามศรี ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา
คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

14.00-15.00 น. เสวนาในหัวข้อ “ชาติพันธุ์และชนเผ่าพื้นเมืองมีความสำคัญอย่างไรต่อประเทศไทย”
โดย ศาสตราจารย์พิเศษ ศรีศักร วัลลิโภดม มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์

15.00 น. ปิดงานเสวนา โดย อาจารย์ชูพินิจ เกษมณี (ผู้อาวุโสสภาชนเผ่าพื้นเมืองแห่งประเทศไทย)
รองประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองและส่งเสริมวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์ พ.ศ.... สภาผู้แทนราษฎร

ดำเนินรายการโดย ผศ.ดร.พิพัฒน์ กระแจะจันทร์ สาขาวิชาประวัติศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และที่ปรึกษากรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองและส่งเสริมวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์ พ.ศ....

จัดโดย โครงการศิลป์เสวนา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และสภาชนเผ่าพื้นเมืองแห่งประเทศไทย

⭕️8 ชุมชนกะเหรี่ยงยื่นหนังสือต่อผู้ว่าลำปางจี้หยุดไล่ยึดคืนไร่หมุนเวียนของชาวบ้าน⭕️⏭เวลา 13.00 น.ชาวบ้านกะเหรี่ยง 8 หมู่...
18/06/2024

⭕️8 ชุมชนกะเหรี่ยงยื่นหนังสือต่อผู้ว่าลำปางจี้หยุดไล่ยึดคืนไร่หมุนเวียนของชาวบ้าน⭕️
⏭เวลา 13.00 น.ชาวบ้านกะเหรี่ยง 8 หมู่บ้านของ จ.ลำปาง 3 อำเภอคือ อ.แม่เมาะ อ.งาว และอ.เมืองปาน ประมาณ 300 คน เข้ายื่นหนังสือต่อผู้ว่าราชการ จ.ลำปาง ที่ศาลากลางในฐานะประธานคณะกรรมการที่ดินแห่งชาติประจำจังหวัดลำปางเพื่อหาข้อยุติการตรวจยึดพื้นที่ไร่หมุนเวียนของชาวกะเหรี่ยงที่ยังมีวิถีการผลิตแบบไร่หมุนเวียนหวังลดข้อขัดแย้งระหว่างชาวบ้านและเจ้าหน้าที่ป่าไม้ในพื้นที่
⏭จากกรณีที่เจ้าหน้าที่ป่าไม้จำนวน 3 คนเข้ามาตรวจสอบพื้นที่ในพื้นที่ไร่หมุนเวียนของชาวบ้านห้วยหินลาดใน ต.บ้านโป่ง อ.เวียงป่าเป้า จ.เชียงราย เมื่อวันที่ 4 มิถุนายน 2567 และมีการทำลายทรัพย์สินของชาวบ้านในพื้นที่ไร่หมุนเวียนโดยที่เจ้าหน้าที่อ้างว่าเป็นการตรวจสอบการเปลี่ยนแปลงสภาพพื้นที่ป่าซึ่งเป็นไปตามภาระกิจของกรมป่าไม้เพื่อตรวจสอบและบันทึกข้อมูลลงในระบบพิทักษ์ไพรและเมื่อวันที่ 13 มิถุนายน 2567 ที่ผ่านมาได้มีเจ้าหน้าที่จากหน่วยฟื้นฟูสภาพป่าสงวนแห่งชาติป่าแม่โป่ง จำนวน 4 คน ได้เข้ามาที่บ้านขุนอ้อนพัฒนา ต.บ้านอ้อน อ.งาว จ.ลำปาง เพื่อที่จะเข้ามาตรวจสอบการเปลี่ยนแปลงสภาพพื้นที่ป่าในชุมชนตามคำสั่งจากกรมป่าไม้ โดยพื้นที่เป้าหมายที่มีการตรวจสอบเป็นพื้นที่ไร่หมุนเวียนเดิมของชาวบ้านจำนวน 4 แปลงซึ่งชุมชนยืนยันว่าพื้นที่ที่มีการเข้ามาตรวจสอบนั้นเป็นพื้นที่ “ไร่หมุนเวียน” เดิมของชาวบ้าน ทำให้ชาวบ้านทั้ง 2 ชุมชนที่เจ้าหน้าที่เข้ามาตรวจสอบพื้นที่มีความกังวลเรื่องการจะถูกยึดพื้นที่ไร่หมุนเวียนเพื่อที่จะนำพื้นที่ไร่หมุนเวียนของชาวบ้านไปเป็นพื้นที่ปลูกป่าของกรมป่าไม้
⏭เหตุการณ์การบุเข้าตรวจสอบพื้นที่การบุกรุกใหม่ในทั้ง 2 จังหวัดสร้างผลกระทบต่อชุมชนชาวกะเหรี่ยงในพื้นที่คือทำให้เกิดความไม่มั่นคงต่อที่ดินทำกินซึ่งพื้นที่ที่ถูกเข้าตรวจสอบทั้งหมดเป็นแปลงไร่หมุนเวียนของชาวบ้านที่ยังคงมีการปลูกพืชและทั้งเป็นแปลงที่พักพื้นหน้าดินและการกระทำดังกล่าวของเจ้าหน้าที่ป่าไม้เป็นการละเมิดสิทธิทางวัฒนธรรมของชุมชนชาวกะเหรี่ยงที่มีวิถีชีวิตและงวัฒนธรรมที่เชื่อมโยงอยู่กับป่ารวมไปถึงการกรทำดังกล่าวเป็นการไม่เคารพต่อความหลากหลายของสังคมพหุวัฒนธรรมและขัดต่อหลักการสิทธิมนุญชนสากล
โดยข้อเรียกร้องของชาวบ้านที่ยื่นต่อผู้ว่าราชการ จ.ลำปาง
มีด้วยกัน 3 ข้อ คือ
1. ขอให้ผู้ว่าราชการ จ.ลำปางประสานไปยังผู้อำนวยการสำนักทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จ.ลำปาง, ผู้อำนวยการสำนักจัดการทรัพยากรป่าไม้ที่ 3 จ.ลำปางและเจ้าหน้าที่ระดับปฏิบัติการในพื้นที่ให้ยุติการดำเนินการตรวจสอบที่อาจจะนำไปสู่การตรวจยึดพื้นที่ไร่หมุนเวียนของชาวบ้านในทุกพื้นที่ของ จ.ลำปาง โดยทันทีและให้ชะลอแผนการดำเนินการตามแผนพิทักษ์ไพรออกไปก่อน
2. ขอให้เปิดเผยข้อมูลตามแผนการปฏิบัติการพิทักษ์ไพรต่อชาวบ้านที่มายื่นหนังสื่อทั้ง 8 หมู่บ้าน ได้แก่คำสั่งกรมป่าไม้, ข้อมูลตามโครงการวิจัยการเปลี่ยนแปลงสภาพป่า, หลักเกณฑ์การพิจารณาว่าแปลงใดเป็นแปลงบุกรุกและข้อมูลพิกัดรายแปลงที่จะลงตรวจสอบ รวมถึงทุกครั้งที่มีการตรวจสอบพื้นที่แล้วให้ส่งข้อมูลคืนให้กับชุมชนว่าผลการดำเนินการเป็นไปตามข้อตกลงกับชุมชนหรือไม่เพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้การดำเนินการของเจ้าหน้าที่รัฐภายใต้สังกัดกรมป่าไม้ไม่ขัดต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2560
3. ชาวบ้านทั้ง 8 ชุมชนขอยืนยันแนวทางการจัดการที่ดินและทรัพยากรธรรมชาติในรูปแบบโฉนดชุมชนตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการจัดให้มีโฉนดชุมชน พ.ศ.2553 และขอยืนยันปฏิเสธแนวทางโครงการจัดที่ดินทำกินให้ชุมชนตามแนวทางของคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ (คทช.)
⏭โดยที่ผู้ว่าราชการ จ.ลำปาง ได้ให้นายชนาธิป เสมแย้ม รองผู้ว่าราชการ จ.ลำปาง เป็นตัวแทนลงมารับหนังสือข้อเรียกร้องของชาวบ้าน โดยนายชนาธิป เสมแย้ม รองผู้ว่าราชการ จ.ลำปาง ได้กล่าวกับชาวบ้านที่มายื่นหนังสือว่า ทาง จ.ลำปางเองได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการแก้ไขปัญหาความเดือนร้อนของชาวบ้านอยู่แต่ประเด็นเรื่องที่ดินทำกินโดยเฉพาะเรื่องไร่หมุนเวียนยังไม่เคยมีการประชุมในคณะกรรมการชุดดังกล่าวและต้องรอการประชุมในประเด็นนี้อีกครั้งหนึ่งส่วนประเด็นเรื่องที่ไร่หมุนเวียนที่เป็นปัญหาอยู่ในปัจจุบันต้องรอความชัดเจนจากนโยบายของกระทรวงทรพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอีกครั้งหนึ่ง
⏭ด้านนายประสิทธิ์ ท่าช้าง ผู้อำนวยการสำนักจัดการทรัพยากรป่าไม้ที่ 3 จ.ลำปาง ซึ่งเป็นผู้ที่รับผิดชอบโดยตรงได้กล่าวกับชาวบ้านว่า “ระบบพิทักษ์” ไพรที่ใช้ตรวจสอบพื้นที่บุกรุกใหม่ก็ต้องทำตามขั้นตอนต่อแต่ยืนยันตามข้อเสนอของชาวบ้านที่มายื่นหนังสือว่ายังจะไม่มีการดำเนินการตรวจสอบในระยะนี้และระบบนี้ก็ยังไม่ได้เป็นต้นเหตุของการดำเนินคดีต่อชาวบ้านแม้แต่คดีเดียวส่วนตัวไม่มีอำนาจในการยุติการดำเนินการตรวจสอบเพราะเป็นนโยบายของกรมป่าไม้โดยตรงหากตัวเองยุติการดำเนินการตรวจสอบจะเป็นการละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ซึ่งผิดกฎหมายมาตรา 157 และหลังจากนี้จะมีการเชิญตัวแทนหมู่บ้านมาพูดคุยเพื่อหาทางออกร่วมกันในเรื่องนี้และจะมีการแจ้งต่อชุมชุนก่อนเข้าไปปฏิบัติหน้าที่ในพื้นที่ชุมชนทุกครั้ง
⏭หลังจากที่มีการยื่นหนังสื่อต่อรองผู้ว่าราชการ จ.ลำปาง เสร็จแล้วชาวบ้านทั้ง 8 ชุมชนที่เข้ามายื่นหนังสือบางส่วนมีความพอใจกับคำชี้แจงของหน่วยงานแต่ชาวบ้านบางส่วนยังมีข้อกังวลกับการปฏิบัติการของเจ้าหน้าที่ที่จะเกิดขึ้นหลังจากนี้และในช่วงต้นเดือนกรกฎาคมที่จะถึงขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม (P-MOVE) จะเข้าประชุมกับกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเพื่อหาทางออกกรณีการเข้าตรวจสอบพื้นที่ไร่หมุนเวียนของกรมป่าไม้และหาทางออกของปัญหาดังกล่าวร่วมกั
#กะเหรี่ยง
#ลำปาง
#ชนเผ่า
#ชนเผ่าพื้นเมือง
#ชาติพันธุ์
#ไร่หมุนเวียน

Address


Alerts

Be the first to know and let us send you an email when IMN เครือข่ายสื่อชนเผ่าพื้นเมือง posts news and promotions. Your email address will not be used for any other purpose, and you can unsubscribe at any time.

Contact The Business

Send a message to IMN เครือข่ายสื่อชนเผ่าพื้นเมือง:

Videos

Shortcuts

  • Address
  • Alerts
  • Contact The Business
  • Videos
  • Claim ownership or report listing
  • Want your business to be the top-listed Media Company?

Share

“มารู้จัก”เครือข่ายสื่อชนเผ่าพื้นเมือง (Indigenous Media Network-IMN)

วิสัยทัศน์ IMN

ชนเผ่าพื้นเมืองมีสื่อของตนเองที่สามารถนำเสนอสื่อสารข้อเท็จจริงและเรื่องราวสภาพปัญหาและวิถีชีวิตระหว่างชนเผ่าพื้นเมืองกันเองรวมทั้งสร้างความเข้าใจและยอมรับความหลากหลายทางชาติพันธ์กับรัฐและสาธารณะชนอย่างต่อเนื่อง

วัตถุประสงค์