เศรษฐสาร

  • Home
  • เศรษฐสาร

เศรษฐสาร เศรษฐสาร คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. https://setthasarn.econ.tu.ac.th

เศรษฐสารชวนชมการนำเสนอผลงานวิชาการ Best Seminars Paper ปีการศึกษา 2566 รางวัลรองชนะเลิศอันดับหนึ่งเรื่อง "ความสัมพันธ์ระ...
03/09/2024

เศรษฐสารชวนชมการนำเสนอผลงานวิชาการ Best Seminars Paper ปีการศึกษา 2566 รางวัลรองชนะเลิศอันดับหนึ่ง
เรื่อง "ความสัมพันธ์ระหว่างตลาดจังมาดังและการเปลี่ยนแปลงบทบาททางเศรษฐกิจและสังคมของผู้หญิงเกาหลีเหนือ"
โดยนางสาวชินาภา อิศรางกูร ณ อยุธยา
ผศ.ดร.ตฤณ ไอยะรา อาจารย์ที่ปรึกษา
โครงการปริญญาตรี (ภาคภาษาไทย) คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ วันศุกร์ ที่ 21 มิถุนายน 2567

ผู้นำเสนอ : นางนาวชินาภา อิศรางกูร ณ อยุธยาอาจารย์ที่ปรึกษา : ผศ.ดร.ตฤณ ไอยะรา"รางวัลรองชนะเลิศ อันดับหนึ่ง" ก.....

02/09/2024

มัดรวมองค์ความรู้
เพื่อให้อ่านได้อย่างจุใจ ตั้ง 4 เรื่อง
- เรื่อง “Carbon Credit”
ศึกษาองค์ความรู้ได้ที่ : https://www.facebook.com/share/MBany9Wi8kNQS5Kz/?
- เรื่อง “Carbon Footprint”
ศึกษาองค์ความรู้ได้ที่ : https://www.facebook.com/share/TB91T3Q4SzkGHn1r/?
- เรื่อง “Carbon Market”
ศึกษาองค์ความรู้ได้ที่ : https://www.facebook.com/share/K2wTbfefxezS5Tmu/?
- เรื่อว “Net Zero”
ศึกษาองค์ความรู้ได้ที่ : https://www.facebook.com/share/TxatQd5GM8dLAByE/
#อบก #องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก

02/09/2024

🎧 Econ Story By Econ Faculty Chula ชวนฟัง"ศิลปะ มีความสำคัญต่อเศรษฐกิจอย่างไร" โดย ผศ. ดร.สวรัย บุณยมานนท์ คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงก.....

02/09/2024

ไม่รู้ต้นทุนที่แท้จริง
-------------------

“ไทยขาดการประเมินในเชิงเศรษฐศาสตร์ที่เป็นระบบและชัดเจนในการบริหารจัดการน้ำ เราเรียนรู้ว่าควรปล่อยน้ำแบบใด ไปทางใด แต่ไม่เคยมีข้อมูลรองรับที่บ่งบอกถึงความเสียหายที่ชัดเจน เช่น ท่วมบริเวณนี้ ปริมาณ 1 เมตร 2 เมตร เสียหายเท่าใด”

“เราขาดค่ากลาง ถ้าคนลอยคอไม่ได้ไปทำงาน 3 วัน คิดเป็นมูลค่าเท่าไหร่ ถ้าเราสามารถรู้ตัวเลขที่เป็นค่ากลาง เพื่อเทียบบัญญัติไตรยางค์ ถ้ามีคนลอยคอจำนวน 3 พันคน คิดเป็นมูลค่าเท่าไหร่ แบบนี้สำคัญมากต่อตอบสนองปัญหา”

อ่านทัศนะ : เกียรติอนันต์ ล้วนแก้ว อาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ต่อในคอมเมนต์

#น้ำท่วม #อุทกภัย #ภัยพิบัติ #ประชาชาติธุรกิจ

02/09/2024

ผู้นำเสนอ : นางสาวกมลพร ศรีใสอาจารย์ที่ปรึกษา : รศ.ดร.กิริยา กุลกลการ"รางวัลชนะเลิศ" การนำเสนอผลงานวิชาการ "Best S...

เศรษฐสารชวนชมการนำเสนอผลงานวิชาการ Best Seminars Paper ปีการศึกษา 2566 รางวัลชนะเลิศ เรื่อง "การศึกษาผลของโปรแกรมส่งเสริ...
02/09/2024

เศรษฐสารชวนชมการนำเสนอผลงานวิชาการ Best Seminars Paper ปีการศึกษา 2566 รางวัลชนะเลิศ เรื่อง "การศึกษาผลของโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพต่อคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ" โดยนางสาวกมลพร ศรีใส
รศ.ดร.กิริยา กุลกลการ อาจารย์ที่ปรึกษา
โครงการปริญญาตรี (ภาคภาษาไทย) คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ วันศุกร์ ที่ 21 มิถุนายน 2567

ผู้นำเสนอ : นางสาวกมลพร ศรีใสอาจารย์ที่ปรึกษา : รศ.ดร.กิริยา กุลกลการ"รางวัลชนะเลิศ" การนำเสนอผลงานวิชาการ "Best S...

28/08/2024

🌼 ห้องสมุดป๋วยฯ คณะเศรษฐศาสตร์ สัปดาห์นี้ 🌼
ขอเชิญชวนศึกษาข้อมูลด้าน "เศรษฐศาสตร์" ที่ควรรู้ 💗
กับหนังสือ เศรษฐศาสตร์ ฉบับปรับปรุงใหม่ ✨
ที่จะพาทุกท่านได้เข้าใจถึงความเป็นมาตามหลักเศรษฐศาสตร์
สิ่งสำคัญที่เราอาจมองข้ามไปว่า เศรษฐศาสตร์นั้นใกล้ตัวเรามากกว่าที่คิด !
🏛 จัดทำขึ้นโดย ธนาคารแห่งประเทศไทย
📌อ่านและดาวน์โหลดได้ ฟรี! ที่ >>> https://tinyurl.com/yzrsn74d
🗂 ประกอบไปด้วยเนื้อหาที่กระชับ เข้าใจง่าย ครบ จบ ที่เล่มเดียว
✅ ความเข้าใจและความสำคัญของเศรษฐศาสตร์
✅ ปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐศาสตร์
✅ การแก้ปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐศาสตร์
✅ กลไกราคา : อุปสงค์และอุปทาน
✅ การทำงานของระบบเศรษฐกิจ
✅ เป้าหมายของเศรษฐกิจมหภาค
✅ การดำเนินนโยบายเศรษฐกิจมหภาค
และหากสนใจข้อมูลด้านเศรษฐศาสตร์ การเงิน การลงทุน
รายงานการวิจัย รายงานสถิติ รายงานผลสำรวจทางการเงินต่าง ๆ
ก็สามารถเข้าถึงได้โดยไม่มีค่าใช้จ่าย
📌 สนใจอ่านวิจัยและเอกสารเผยแพร่อื่น ๆ เพิ่มเติม >>> https://tinyurl.com/yv65uynd

#ห้องสมุดป๋วยเศรษฐศาสตร์ชวนอ่าน
------------------------
Facebook: Thammasat University Library
Website: www.library.tu.ac.th
Line:

27/08/2024

#ชวนฟัง Farmers Talk EP.6 ชีวิตชาวนา เศรษฐกิจ การเมือง สังคม พบกับ…รศ.ดร.ประภาส ปิ่นตบแต่ง สมาชิกวุฒิสภา อดีตอาจารย์คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผ่านช่องทาง Youtube : landactionthai ในวันศุกร์ที่ 30 สิงหาคม 2567 เวลา 13.00 น. ร่วมขบคิดและตั้งคำถามในประเด็นโจทย์ใหญ่เกี่ยวกับชีวิตและอนาคตชาวนาไทย
- ภาพใหญ่ เศรษฐกิจข้าวต่อ GDP ของประเทศ ข้าวลดความสำคัญทางเศรษฐกิจลงเรื่อย ๆ ปัจจุบันรายได้จากการส่งออกข้าวน้อยกว่าผลไม้?
- ภาพเล็ก รายได้จากการทำนาปลูกข้าวเพียงอย่างเดียว ไม่เพียงพอต่อการดำรงชีพของครัวเรือน ชาวนาต้องดิ้นรนหารายได้ทางอื่นเพื่อความอยู่รอด
- ฟังเสียงชาวนา ทำไมชาวนาไม่ปรับเปลี่ยนไปทำอาชีพอื่น ทั้ง ๆ ที่การทำนารายได้น้อย?
- ทิศทางข้อเสนอแนะต่อนโยบายในอนาคตเกี่ยวกับข้าวและชาวนาที่ควรเป็นคืออะไร?

27/08/2024
27/08/2024

ขอเชิญผู้ที่สนใจทุกท่านเข้าร่วมงานสัมมนาวิชาการประจำปี 2567 ของคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ EconTU Symposium ครั้งที่ 45 ภายใต้หัวข้อ “เศรษฐกิจที่เป็นธรรมและยั่งยืนเพื่อการบรรลุวาระการพัฒนาที่ยั่งยืน ค.ศ. 2030”
📅 วันอังคารที่ 27 สิงหาคม 2567 เวลา 09.30 – 16.45 น.
📌 ณ หอประชุมศรีบูรพา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์
💻 หรือรับชมการถ่ายทอดสดผ่าน Facebook และ Youtube: EconTU Official
📝ลงทะเบียนเข้าร่วมงานได้ที่: https://docs.google.com/forms/d/e/1FAIpQLScAIG2xhRokcLYhqao9GHMMJffyiqmYMo23a1M7e764nLr_UQ/viewform
#เศรษฐศาสตร์ธรรมศาสตร์

25/08/2024
23/08/2024

เสวนาวิชาการ ภายใต้หัวข้อ
“Reviewing The Cold War in The Present Context:
ทบทวนสงครามเย็น กับเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ในบริบทปัจจุบัน”

จัดโดย ศูนย์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา
สถาบันเอเชียตะวันออกศึกษา
มหาวิทยาลัยธรรมศาตร์

ณ ห้อง LA201 คณะศิลปศาสตร์
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์

วันเสาร์ที่ 24 สิงหาคม 2567
เวลา 9.00 - 16.00 น.

*Scan QR CODE ลงทะเบียนเข้าร่วม
โดยไม่มีค่าใช้จ่าย* (ไม่มีการถ่ายทอดสด)

#สถาบันเอเชียตะวันออกศึกษา
#มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ #40ปีIEAS

21/08/2024

วารสารการเงินการคลังขอนำเสนอบทความเรื่อง “ส่องแรงงานไทยปี 66 อยู่นอกระบบแค่ไหน ค่าจ้างเท่าไหร่ ยังไหวไหม (สูงอายุหรือยัง)”

บทความโดย ดร.นรพัชร์ อัศววัลลภ ดร.กวิน เอี่ยมตระกูล และนางสาวบุณฑริกา
ชลพิทักษ์วงศ์ สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง
คลิกอ่าน http://www.fpojournal.com/worker-thai-118/

#วารสารการเงินการคลัง พื้นที่ความคิด เศรษฐกิจการคลัง ของคนทันสมัย

ติดตามเราได้ที่ Website: www.fpojournal.com และ Facebook: FPO Journal

19/08/2024

คุณอยากรู้จักเศรษฐศาสตร์แบบเข้าใจง่าย ไม่ซับซ้อน? 🤔 มาทำความรู้จักกับหนังสือ"เศรษฐศาสตร์เล่มเดียวอยู่" 📚 ดาวน์โหลด #ฟรี ที่นี่เลย✨

💡 หนังสือจากแบงก์ชาติที่จะชวนให้ทุกคนมาเรียนรู้ไปพร้อม ๆ กันว่า: เศรษฐศาสตร์คืออะไร? 🧐
เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันของเราอย่างไร? 🏠💼
ทำไมความรู้นี้ถึงสำคัญสำหรับทุกคน? 🌍

และคุณจะพบว่าเศรษฐศาสตร์ไม่ได้ยากอย่างที่คิด! 😊

📌ดาวน์โหลดอ่านฟรีในรูปแบบ pdf. ได้ที่นี่ครับ 👉https://www.bot.or.th/th/research-and-publications/articles-and-publications/economics-book.html

#แบงก์ชาติ #เศรษฐศาสตร์ #เศรษฐศาสตร์เล่มเดียวอยู่

19/08/2024

ขอเชิญผู้ที่สนใจทุกท่านเข้าร่วมงานสัมมนาวิชาการประจำปี 2567 ของคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ EconTU Symposium ครั้งที่ 45 ภายใต้หัวข้อ “เศรษฐกิจที่เป็นธรรมและยั่งยืนเพื่อการบรรลุวาระการพัฒนาที่ยั่งยืน ค.ศ. 2030”
พบกับหัวข้อการนำเสนอที่น่าสนใจภายในงาน
การนำเสนอหัวข้อ “การมีส่วนร่วมในการเปลี่ยนผ่านที่เป็นธรรมของบริษัททรงอิทธิพลระดับโลกในภาคส่วนที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกสูง” โดย รศ.ดร.กิริยา กุลกลการ
ร่วมเสวนาโดย รศ.ดร.ขนิษฐา แต้มบุญเลิศชัย คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
การนำเสนอหัวข้อ “การประเมินผลสัมฤทธิ์ด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมของการทำโคกหนองนา” โดย ผศ.ดร.เกียรติอนันต์ ล้วนแก้ว
ร่วมเสวนาโดย ผศ.ดร.สมัย โกรทินธาคม คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
การนำเสนอหัวข้อ “การเปลี่ยนผ่านสู่รถยนต์ไฟฟ้าและความพร้อมในการจัดการซากแบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทย” โดย รศ.ดร.เกรียงไกร เตชกานนท์
ร่วมเสวนาโดย คุณฐิติภัทร ดอกไม้เทศ สถาบันยานยนต์
การนำเสนอหัวข้อ “อนาคตของเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนหลังปี 2030: บทเรียนจากประเด็นท้าทายของไทย” โดย ผศ.ชล บุนนาค
ร่วมเสวนาโดย รศ.ดร.ณัฐวุฒิ พิมพา วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล
📅 วันอังคารที่ 27 สิงหาคม 2567 เวลา 09.30 – 16.45 น.
📌 ณ หอประชุมศรีบูรพา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์
💻 หรือรับชมการถ่ายทอดสดผ่าน Facebook และ Youtube: EconTU Official
📝ลงทะเบียนเข้าร่วมงานได้ที่: https://docs.google.com/forms/d/e/1FAIpQLScAIG2xhRokcLYhqao9GHMMJffyiqmYMo23a1M7e764nLr_UQ/viewform
#เศรษฐศาสตร์ธรรมศาสตร์

19/08/2024

เป็นที่เข้าใจในวงวิชาการและการออกแบบนโยบายมาระยะหนึ่งแล้วว่า การลงทุนในเด็กนั้น ‘ยิ่งเร็ว ยิ่งได้ผลมาก’
ถึงอย่างนั้น สวัสดิการที่ครัวเรือนพ่อแม่ลูกอ่อนในไทยได้รับจากรัฐกลับยังไม่เพียงพอ ไม่ว่าจะเป็นการประกันการสูญเสียรายได้กรณีหยุดงานเพื่อเลี้ยงดูบุตร ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่มีคุณภาพและครอบคลุมความต้องการที่หลากหลาย หรือการสนับสนุนการมีโภชนาการและพัฒนาการที่สมบูรณ์อย่างเพียงพอ
แต่แม้จะมีความเข้าใจร่วมนี้ เหตุใดเรากลับยังไม่สามารถพัฒนาและดำเนินนโยบายสวัสดิการเด็กเล็กที่ดีกว่าเดิมได้อย่างตลอดรอดฝั่ง?
101 ชวนมองหาช่องโหว่ใน 'นโยบายสวัสดิการเด็กเล็ก' เพื่อสกัดเป็นข้อเสนอเชิงนโยบาย ผ่านงานวิจัย ‘ระบบสวัสดิการเด็กเล็กเพื่ออนาคต’ โดย ผศ.ดร.ภาวิน ศิริประภานุกูล คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ ดร.สัณห์สิรี โฆษินทร์เดชา คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เก็บความบางส่วนจากงานเสวนาสาธารณะ ‘Research Roundup 2024’ “เปิดเส้นทางใหม่ นโยบายเด็กและครอบครัวไทย”
อ่านได้ที่: https://www.the101.world/child-welfare-system-for-future/
“ความเหลื่อมล้ำในการดูแลเอาใจใส่อย่างรอบด้าน หมายถึงการไม่สามารถอุดหนุนทรัพยากรที่เพียงพอและตอบโจทย์เพื่อสร้างเสริมโภชนาการ โอกาสการเรียนรู้ คุณภาพการเลี้ยงดู และสวัสดิภาพระหว่างครัวเรือนที่มีความต้องการหลากหลาย โดยยิ่งครัวเรือนนั้นๆ ยากจนเท่าไร ปัญหาที่ต้องเผชิญในการเลี้ยงดูลูกอ่อนยิ่งรุนแรงขึ้นเท่านั้น”
“สัณห์สิรีระบุว่า เด็กอายุ 0-6 ปี กว่าร้อยละ 64 เติบโตในครัวเรือนกลุ่มยากจนที่สุดของประเทศ แม่ในกลุ่มนี้มีแนวโน้มฝากครรภ์น้อยกว่ากลุ่มประชากรอื่นๆ ทำให้เด็กจำนวนมากมีน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์และแคระแกร็น ยิ่งกว่านั้น เด็กจำนวนมากกว่าครึ่งในกลุ่มนี้ยังไม่ได้อาศัยอยู่กับพ่อแม่ โดยอาจถูกส่งไปอาศัยกับผู้สูงอายุในครอบครัว เช่น ตา ยาย ซึ่งอาจขาดความเข้าใจที่เป็นปัจจุบันเกี่ยวกับการเลี้ยงดูอย่างเหมาะสม หรือมีระยะห่างทางอายุมากเกินควร

“หรือแม้จะอาศัยอยู่กับพ่อแม่ ก็อาจไม่มีเวลาคุณภาพในการสานสัมพันธ์กับพ่อแม่อย่างเพียงพอ ซึ่งจะกำหนดภาวะสุขภาพจิตในอนาคต การไม่มีเวลาคุณภาพนี้ยังส่งผลกระทบต่อการอ่านออกเขียนได้และความสามารถในการคำนวณอีกด้วย”
“ข้อเสนอเกี่ยวกับระบบสวัสดิการเด็กเล็กในงานวิจัยนี้ คือระบบที่ต่อยอดจากการถอดบทเรียนจากออสเตรเลีย ซึ่งแบ่งการดำเนินงานได้เป็นห้าส่วน ได้แก่ ระบบแกนกลาง การเพิ่มผู้ดูแลเด็กในระบบ การเพิ่มงบประมาณให้ระบบ การจัดทำระบบสนับสนุนการดูแลเด็ก และการลดช่องว่างการดูแลเด็กในช่วงรอยต่อ”
“สำหรับระบบที่เป็นแกนกลางนั้น หมายถึงการประสานความร่วมมือระหว่างรัฐบาลและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) โดยรัฐบาลเป็นผู้อนุมัติและอุดหนุนเงินให้ ‘ผู้ให้บริการ’ ดูแลเด็ก พร้อมกับเพิ่มบทบาทให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นผู้ออกใบอนุญาตและกำกับดูแลผู้ให้บริการเหล่านั้น ตลอดจนกำหนดเป้าหมายและบริหารทรัพยากรในพื้นที่เพื่อดูแลและพัฒนาเด็กเล็ก”
“การจัดทำระบบสนับสนุนการดูแลเด็กต้องเน้นส่งเสริมความเข้าใจในการดูแลเด็กปฐมวัยเชิงรุกผ่านช่องทางหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นการเยี่ยมบ้านโดยอาศัยเครือข่ายผู้ให้บริการดูแลเด็กในชุมชน การให้องค์ความรู้ผ่านช่องทางออนไลน์ หรือการกำหนดให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีบทบาทในการฝึกอบรมครูและผู้ดูแลเด็กปฐมวัย ผ่านความร่วมมือกับรัฐบาล พร้อมกับ ‘ลดช่องว่างการดูแลเด็กในช่วงรอยต่อ’ หรือเวลาทำงาน-เลิกงานที่หลากหลายของพ่อแม่ โดยให้ท้องถิ่นเป็นผู้พิจารณาจัดทำระบบอาสาสมัครในชุมชน หรือศูนย์ดูแลเด็กปฐมวัยชั่วคราวในชุมชนที่จะได้รับการอุดหนุนจากระบบแกนกลางต่อไป”

19/08/2024

เนื่องในงานสัปดาห์สิ่งแวดล้อมแม่โขง-อาเซียน (Mekong-ASEAN Environmental Week: MAEW) ซึ่งเป็นกิจกรรมเพื่อเปิดพื้นที่ให้กับประชาชน เครือข่ายภาคประชาสังคม สื่อ และคนรุ่นใหม่ในภูมิภาค เพื่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และแสวงหาทางออกทางแก้ในปัญหาสิ่งแวดล้อมที่สัมพันธ์กับทั้งปัญหาสังคม เศรษฐกิจ การเมืองและสิทธิมนุษยชนในภูมิภาค

กลุ่มจับตาปัญหาที่ดิน (Land Watch Thai) และกลุ่มศึกษาการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC Watch) เสนอจัดกิจกรรม “ก่อนงาน MAEW” คือเวทีเสวนาออนไลน์ในหัวข้อ “ทุนจีน-ธุรกิจเกษตรข้ามพรมแดน-ภูมิภาคแม่น้ำโขง” ขึ้น ในวันที่ 22 สิงหาคม พ.ศ.2567 เวลา 10.00-12.00 น.

สามารถรับชดการถ่ายทอดสดได้ทาง เพจ
Land Watch THAI จับตาปัญหาที่ดิน

18/08/2024

นิติรัฐนิติธรรม: ประวัติศาสตร์ภูมิปัญญาเปรียบเทียบ บรรณาธิการโดย เข็มทอง ต้นสกุลรุ่งเรือง ขนาด A5 (กว้าง 14.3 x .....

15/08/2024

โครงการอ่านเปิดโลก ครั้งที่ 8
EP.2 หนังสือเรื่อง
"CRACK/ ลัทธิมาร์กซ์/ 101"
ผู้เขียน: รองศาสตราจารย์ ดร.วัชรพล พุทธรักษา

วิทยากร:
• ศาสตราจารย์ ดร.ธเนศ อาภรณ์สุวรรณ
คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
• รองศาสตราจารย์ ดร.วัชรพล พุทธรักษา
ภาควิชารัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์
คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
• นายวรพล โชติจิรเดชากุล
นิสิตระดับระดับบัณฑิตศึกษา
คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

วันศุกร์ที่ 23 สิงหาคม 2567 เวลา 09.30 – 12.00 น.
ในรูปแบบออนไลน์ผ่าน Facebook Live
ที่เพจคณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

15/08/2024

ขอเชิญผู้ที่สนใจทุกท่านเข้าร่วมงานสัมมนาวิชาการประจำปี 2567 ของคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ EconTU Symposium ครั้งที่ 45 ภายใต้หัวข้อ “เศรษฐกิจที่เป็นธรรมและยั่งยืนเพื่อการบรรลุวาระการพัฒนาที่ยั่งยืน ค.ศ. 2030”
📅 วันอังคารที่ 27 สิงหาคม 2567 เวลา 09.30 – 16.45 น.
📌 ณ หอประชุมศรีบูรพา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์
💻 หรือรับชมการถ่ายทอดสดผ่าน Facebook และ Youtube: EconTU Official
📝ลงทะเบียนเข้าร่วมงานได้ที่: https://docs.google.com/.../1FAIpQLScAIG2xhRokcL.../viewform
#เศรษฐศาสตร์ธรรมศาสตร์

15/08/2024

กระแสทุนนิยมในโลกแห่งความเหลื่อมล้ำ : คอลัมน์เศรษฐเสวนา จุฬาฯทัศนะ โดย ดร.กติกา ทิพยาลัย คณะเศรษฐศาสตร์ จุ.....

15/08/2024

หนังสือ 79 ปี วันสันติภาพไทย
ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
จัดพิมพ์ขึ้นในปีนี้ คือ
Thailand’s economy
and the Second World War
ผลงานของอาจารย์ ดร.พนารัตน์ อานามวัฒน์
คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ซึ่งสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอก
ด้านประวัติศาสตร์เศรษฐกิจและสังคม
จากมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด
โดยนำผลงานศึกษาเรื่อง
Thailand during World War II
: Impact and Aftermath
มาปรับปรุงเป็นหนังสือเล่มนี้
https://digital.library.tu.ac.th/tu_dc/frontend/Info/item/dc:313881

14/08/2024

มาแล้ว!! E-Book วารสารการเงินการคลัง ฉบับที่ 118 ไตรมาสที่ 3 ปี 2567

คลิกอ่านhttp://www.fpojournal.com/fpojournal-e-book-118/
E-Book ฉบับนี้ยังคงความเข้มข้นตามสโลแกน “พื้นที่ความคิด เศรษฐกิจการคลัง ของคนทันสมัย” เช่นเดิมครับ ซึ่งยังคงมีเรื่องราวดี ๆ ในรูปเเบบของบทความมานำเสนอให้ทุกท่านได้อ่านอย่างครบรสเช่นเคย อาทิ เรื่องสถานการณ์ของแรงงานไทยปี 2566 เรื่องกองทุนประกันวินาศภัย เรื่องภูมิทัศน์เศรษฐกิจจีนและผลกระทบต่อประเทศไทย เรื่องประเทศไทยกับการเป็นศูนย์กลางโลจิสติกส์อาเซียน เรื่องการแลกเปลี่ยนทางการค้า การลงทุน และการท่องเที่ยวไทย-อินเดีย เรื่องทุเรียนไทย: โอกาสและความเสี่ยงในยุคที่คู่แข่งพร้อมท้าชิง เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับคาร์บอนเครดิต เรื่องของการปลดล็อคศักยภาพดิจิทัล Asset ไทย: Tokenization Soft Power และ Carbon Credit สู่ Financial Hub แห่งอาเซียน นอกจากนี้ จะมีเรื่องเศรษฐกิจบันเทิงสีรุ้ง โอกาสใหม่ของธุรกิจไทย ที่จะนำมาเสิร์ฟเพื่อความครบรสเป็น ซึ่งเราหวังเป็นอย่างยิ่งว่าผู้อ่านจะได้รับความรู้และความเพลิดเพลินจากเรื่องดังกล่าวหลังควันหลงของช่วงเทศกาลเฉลิมฉลอง Pride Month ที่ผ่านมา

ทั้งนี้ หากท่านสนใจเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในการนำเสนอบทความผ่านวารสารการเงินการคลัง ขอให้ท่านส่งบทความผ่านเข้ามาทางจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (E-Mail) : [email protected] และหากท่านไว้วางใจให้วารสารการเงินการคลังเป็นส่วนหนึ่งของการประชาสัมพันธ์องค์กรหรือผลิตภัณฑ์ของท่าน โปรดติดต่อเราเข้ามาทางโทรศัพท์ 092 258 6782 หรือจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ [email protected]
#วารสารการเงินการคลัง พื้นที่ความคิด เศรษฐกิจการคลัง ของคนทันสมัย
ติดตามเราได้ที่ Website: www.fpojournal.com และ Facebook: FPO Journal

13/08/2024

ขอเชิญชวนอ่าน 📚📚
"ขบวนการแรงงานกับบทบาททางสังคมและการเมือง (2567)"
ของ รศ.ดร.นภาพร อติวานิชยพงศ์

เป็นหนังสือรวบบทความจากการงานศึกษาวิจัยของอาจารย์ ที่เป็นเหมือนฝ่ายวิชาการของขบวนการแรงงานไทย ตลอดช่วง 3 ทศวรรษที่ผ่านมา ประกอบไปด้วยบทความสำคัญ 3 บทความ ได้แก่
1) ประวัติ​ศาสตร์ขบวนการกรรมกรไทยสู่ทศวรรษแห่งความแตกแยก: พ.ศ. 2520-2530
2) สหภาพแรงงานแนวขบวนการเคลื่อนไหวทางสัังคม: ข้อถกเถีียงในระดัับสากล
และ​ 3) ขบวนการแรงงานกับการขับเคลื่อนนโยบายแรงงานผ่านพรรคการเมือง: พ.ศ. 2544-2566

ซึ่งเป็นบทความชิ้นล่าสุดจากงานวิจัยของอาจารย์ ที่พยายามหาคำตอบว่า "เหตุใดในการเลือกตั้งครั้งที่ผ่านมา จึงมีนโยบายด้านที่เกี่ยวข้องกับคุณภาพชีวิของแรงงาน ปรากฏอยู่ในนโยบายของพรรคการเมืองต่างๆ จำนวนมาก"

https://drive.google.com/file/d/1grqAomQ9OWp9SQGtptI9KfqnKpBVXOLh/view

13/08/2024

ในวาระครบรอบ 1 ปี การจากไปของอาจารย์นิธิ เอียวศรีวงศ์ เพื่อร่วมรำลึกถึงผู้เป็น‘ครู’ทางวิชาการและอุดมการณ์ ทั้งเพื่อคิดต่อจากประเด็นสำคัญทางวิชาการและสังคมการเมืองที่อาจารย์นิธิไม่ทันได้ทำให้แล้วเสร็จ มิตรสหายในแวดวงวิชาการจึงร่วมกันจัดงาน “คิดต่อจากนิธิ” บรรยายสาธารณะ (Public Lecture) ผ่านหัวข้อวิชาการ 7 หัวข้อ โดย 7 นักวิชาการชั้นแนวหน้า

ณ ห้องอีเว้นท์สเปซ ชั้น 2 หอศิลป์บ้านจิม ทอมป์สัน กรุงเทพฯ วันเสาร์ที่ 17 สิงหาคม ศกนี้

———

1. รื้อสร้าง’ตาข่ายแห่งความทรงจำ’:แนวศึกษาประวัติศาสตร์การเมืองของนิธิ โดย ณัฐพล ใจจริง
2. นิธิ , ZOMIA : และผู้คนก่อนล้านนา โดย นิติ ภวัครพันธุ์
3. สำรวจตัวตนทางวัฒนธรรมและการเมืองของชนชั้นกลาง/กฎุมพีไทยสยาม ’ในและนอก’สายตาอาจารย์นิธิ โดย ยุกติ มุกดาวิจิตร
4. จาก Weber ถึง Arendt : อำนาจและอำนาจนิยมในทัศนะของนิธิ โดย
เกษม เพ็ญภินันท์
5. ทหารมีไว้ทำไม : ปัญหาว่าด้วยชาติและความมั่นคง โดย พวงทอง ภวัครพันธุ์
6. ทุน vs รัฐ : เศรษฐศาสตร์การเมืองจากนิธิ โดย อภิชาติ สถิตนิรามัย
7. Counter พุทโธเลี่ยน : ถือพุทธแบบนิธิ โดย วิจักขณ์ พานิช

———

*ดำเนินรายการโดย : ประจักษ์ ก้องกีรติ

ไลฟ์สดตลอดงาน ผ่านมติชนทีวีและประชาไท

13/08/2024

ยินดีต้อนรับเพื่อน ๆ ทุกคน เข้าสู่รั้วยูงทองอย่างเป็นทางการ
ธรรมศาสตร์… พื้นที่ที่ทุกคนสามารถเป็นตัวเองได้อย่างเต็มที่
ขอให้ปีการศึกษานี้เป็นปีที่ดีของทุกคนครับ 🥳

09/08/2024

World Development Report 2024 ของธนาคารโลก “คู่มือ” การหลุดพ้น “กับดักรายได้ปานกลาง”
| เกาะกระแส | จากบทเรียน 50 ปีที่ผ่านมา เมื่อประเทศต่าง ๆ พัฒนามั่งคั่งมากขึ้น ก็มักจะ “ติดกับดัก” เมื่อมีรายได้ต่อคนเฉลี่ยอยู่ที่ 10% ของรายได้ต่อคนชาวอเมริกัน ซึ่งเท่ากับ 8,000 ดอลลาร์ในปัจจุบัน ถือเป็นจุดกึ่งกลางของการพัฒนาระดับ ที่ธนาคารโลกเรียกว่า “ประเทศรายได้ปานกลาง”
นับจากปี 1990 เป็นต้นมา มีประเทศรายได้ปานกลาง 34 ประเทศ ที่สามารถเลื่อนชั้นเป็นประเทศรายได้สูง ส่วนหนึ่งเป็นประเทศที่เป็นสมาชิกใหม่ของอียู หรือมีการค้นพบทรัพยากรน้ำมัน
รายงาน World Development Report 2024 (WDR 2024) กล่าวว่า ประเทศกำลังพัฒนาล้วนมีความมุ่งมั่นแบบเดียวกัน จีนมีแผนเศรษฐกิจต้องการให้รายได้ต่อคนเท่ากับประเทศที่พัฒนาแล้วในปี 2035
แต่ปัญหาก็คือว่า ในปัจจุบันอัตราการเติบโตเศรษฐกิจของประเทศรายได้ปานกลาง ไม่ได้สูงพอที่จะทำให้กลายเป็นประเทศรายได้สูง ภายในระยะเวลาคนรุ่นเดียว หรือภายในคนสองรุ่น หรือแม้แต่ภายในคนสามรุ่น เพราะการเติบโตเศรษฐกิจกลับชะลอตัวต่ำลง เมื่อรายได้ต่อคนเพิ่มมากขึ้น
ธนาคารโลก จัดให้มี 108 ประเทศ ที่มีฐานะประเทศรายได้ปานกลาง คือรายได้ต่อคนอยู่ระหว่าง 1,136 ดอลลาร์ถึง 13,845 ดอลลาร์
การเติบโตของประเทศรายได้ปานกลางจะชะลอตัวลง เมื่อพัฒนามาถึงจุดที่เป็นที่ราบสูงที่ไม่มีพื้นที่สูงกว่านี้อีกแล้ว บริเวณที่ราบสูงการพัฒนานี้คือสัดส่วน 11% ของรายได้ต่อคนชาวอเมริกัน หรือ 8,000 ดอลลาร์ ซึ่งเป็นระดับการพัฒนาของประเทศที่เรียกว่า “รายได้ปานกลางระดับบน” (upper middle-income)
ขณะที่การฟื้นตัวเศรษฐกิจจะไม่เกิดขึ้นเร็ววัน เพราะประเทศรายได้ปานกลางต้องเผชิญกับปัญหาความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ และการกีดกันการค้า ทำให้การกระจายความรู้ในการผลิต มาสู่ประเทศรายได้ปานกลางมีกระแสอ่อนตัวลงไป รวมทั้งปัญหาภาระหนี้สิน และต้นทุนการเงินที่มากขึ้น จากการดำเนินงานเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ
ThaiPublica ชวนอ่าน 3 ยุทธศาสตร์เพื่อหลุดพ้น “กับดักรายได้ปานกลาง” และตัวอย่างความสำเร็จเกาหลีใต้ ประเทศที่ธนาคารโลกยกเป็นโมเดลที่ดีที่สุด ในการรักษาอัตราเติบโตที่สูงได้อย่างต่อเนื่อง
คลิก https://thaipublica.org/2024/08/pridi426-world-bank-middle-income-trap/
รายงานโดย: ปรีดี บุญซื่อ

#กับดักรายได้ปานกลาง #ธนาคารโลก #ไทยพับลิก้า

Address


Alerts

Be the first to know and let us send you an email when เศรษฐสาร posts news and promotions. Your email address will not be used for any other purpose, and you can unsubscribe at any time.

Contact The Business

Send a message to เศรษฐสาร:

Videos

Shortcuts

  • Address
  • Telephone
  • Alerts
  • Contact The Business
  • Videos
  • Claim ownership or report listing
  • Want your business to be the top-listed Media Company?

Share