กับคำถามที่ว่า "จะแก้ปัญหาปริมาณกักเก็บน้ำของอ่างอำปึลได้อย่างไร?"
วันนี้ในมุมมองของนักวิชาการที่ได้รับข้อมูลมาทั้งสองด้าน ประกอบกับการได้ลงพื้นที่สำรวจเพื่อเก็บข้อมูลเชิงลึก มีความเป็นไปได้ว่า ถ้ามีการ "ขุดลอกอ่างใหม่" ให้ได้ระดับที่เหมาะสม ไม่ต่ำกว่าระดับธรณีท่อของการส่งน้ำไปยังพื้นที่ต่างๆในเขตบริการของชลประทาน ก็จะสามารถทำได้ แต่ติดปัญหาตรงที่มีมูลดินจำนวนมากเกิดขึ้น ที่อาจคาดการณ์ถึงความเสี่ยงในเรื่องของข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับการขนย้ายมูลดินออกนอกพื้นที่
แต่จากการได้พบปะ พูดคุยและแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างผู้บริหารท้องถิ่น ผู้นำชุมชน รวมถึงการเดินสำรวจป่าชุมชน ที่คนพื้นถิ่นเรียกว่า "ป่าคล็อง" ที่มีพื้นที่โดยประมาณ 900 ไร่ ที่บางส่วนคาบเกี่ยวกับพื้นที่ที่เวนคืนจากชาวบ้าน สามารถกำหนดให้เป็นพื้นที่รองรับมูลดินทั้งหมดได้ โดยมีแนวทางที่จะสามารถพัฒนาต่อไปได้อีกหลายประเด็น
ไม่ว่าจะเป็น "การวางแผน วางผังและออกแบบพื้นที่เพื่อการนันทนาการ การพักผ่อนหย่อนใจ หรือกำหนดให้เป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญแห่งใหม่ของจังหวัดสุรินทร์" ที่เป็นทั้งปอดและหัวใจของจังหวัด ที่สามารถดึงชุมชนที่อยู่โดยรอบ ไม่น้อยกว่า 50 หมู่บ้านมาสร้างกิจกรรมร่วมกัน และที่สำคัญคือการสร้างเครือข่ายการอนุรักษ์และการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำอย่างยั่งยืนในอนาคต
แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น การกำหนดแนวคิดและวิธีปฏิบัติ ที่นำไปสู่ "การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำแบบบูรณาการ" ของจังหวัดสุรินทร์นั้น จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องรับฟังเสียงทุกภาคส่วนอย่างทั่วถึงและครอบคลุมทุกๆมิติการพัฒนาอย่างแท้จริง
เรียบเรียงโดย
ผู้ช่วยศาสตราจารย์เดชชาติ นิยมตรง
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสุรินทร์
31/7/2562
บรรยากาศ คอนเสิร์ตโต้ลมหนาวเพชร สหรัตน์ ณ ร้านโกมินทร์ อำเภอสนม
สด บรรยากาศกิจกรรมอุปสมบทหมู่ถวายเป็นพระราชกุศล แด่พระบาทสมเด็จพระปรมิทมหาภูมิพลอดุลยเดชบรมนาถบพิตร ของคณะสงฆ์อำเภอสนมร่วมกับฝ่ายปกครองส่วนท้องที่และส่วนท้องถิ่นของอำเภอสนม จัดขึ้นในระหว่างวันที่ 16-30 ตุลาคม 2560 ณ วัดศรีสว่างโคกสะอาด ต.สนม อ.สนม จ.สุรินทร์