ปลาทูสู้โควิด

ปลาทูสู้โควิด This page is created for coping with the COVID-19 Situation in Samut Songkhram Province.

01/03/2024

พรุ่งนี้ 2 มีนาคม
ขอเชิญพี่น้องชาวแม่กลอง
ร่วมพูดคุยเสวนาปัญหาน้ำจืดที่หายไป
ในรายการสถานีประชาชนทางไทยพีบีเอส
เวลา 8.30 -12:00 น.

มาร่วมกันพูดคุยถึงผลกระทบและความเดือดร้อนจากการบริหารจัดการน้ำที่ผ่านมา พร้อมอัพเดท ติดตามความคืบหน้าการดำเนินงานยื่นเรื่องร้องเรียนไปยังกรมชลประทานและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และร่วมกันกำหนดแนวทางการขับเคลื่อนของคนแม่กลองร่วมกัน

#ประชาคมคนรักแม่กลอง
#หยุดทำร้ายคนแม่กลอง

27/06/2022

คำแนะนำ : หากต้องถอดหน้ากากอนามัย

#โควิด19
#กรมควบคุมโรค
#กระทรวงสาธารณสุข #ไทยรู้สู้โควิด

20/06/2022
11/04/2022

เบต้า เดลต้า โอมิครอน นับถึงวันนี้โควิดมีมาแล้วหลายสายพันธุ์ แต่ไม่ว่าสายพันธุ์ไหน สามารถตรวจได้จากชุดตรวจ ATK แต่ที่สำคัญต้องเป็นชุดตรวจที่ อย.รับรอง และใช้ให้ถูกวิธีด้วยนะ
#ชัวร์โควิดและวัคซีน

หลายคำถามชวนสงสัยโควิดและวัคซีน...ร่วมหาคำตอบได้ที่ “แชทชัวร์” คลิกเลย :https://bit.ly/2SDS0tU

ติดตามรับข้อมูลมีประโยชน์และกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพจากไลน์ สสส. ได้ที่นี่! https://bit.ly/3HJ7h0V

20/03/2022

แนวปฏิบัติเมื่อตรวจ ATK ขึ้น 2 ขีด
ติดเชื้อโควิด 19 แต่ละสิทธิรักษาอย่างไร ?

16/03/2022

16 มีนาคมนี้ รักษาพยาบาลตามสิทธิ และ UCEP Plus ฟรี

ที่มา : กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ

อย่าลืมสวมหน้ากาก รักษาระยะห่าง หมั่นล้างมือ และฉีดวัคซีนนะคะ

#โควิด19 #วัคซีนโควิด
#สถานการณ์โควิด19
#กรมควบคุมโรค
#ไทยรู้สู้โควิด

02/03/2022

ตรวจ ATK ผลเป็นบวก ควรทำอย่างไร
1. ติดต่อเพื่อขอทำ Home Isolation
-สายด่วน โทร. 1330 (สปสช.) กด 14
-สายด่วนโควิด กทม. 50 เขต
-ลงทะเบียน http://crmsup.nhso.go.th
-เพิ่มเพื่อน Line:
2. คัดกรองเข้ารับการรักษา
ที่มา กรมการแพทย์
#ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด19
#ศูนย์ข้อมูลCOVID19
#ฉีดวัคซีนหยุดเชื้อเพื่อชาติ #ไทยรู้สู้โควิด

17/02/2022
03/02/2022

สำหรับผู้ป่วยที่ใช้ชุดตรวจโควิด และพบว่าตัวเองติดโควิด แต่อาการน้อยหรือไม่มีอาการ แล้วยังหาเตียงที่โรงพยาบาลไม่ได้ หากสนใจเข้าสู่ระบบแยกรักษาตัวที่บ้าน โดยจะมีโรงพยาบาลคอยดูแลทั้งเรื่องการให้ปรึกษา ติดตามอาการ ยาและอาหาร สามารถเข้าสู่ระบบได้ตามขั้นตอนต่อไปนี้นะ
#ช่วยกันยกระดับป้องกันโควิด

หากผลตรวจเป็นบวก สามารถกรอกข้อมูลเพื่อลงทะเบียนการแยกกักตัวที่บ้านได้ที่
https://crmsup.nhso.go.th/...

12/01/2022

#โอมิครอน ระบาดเร็ว ถึงเวลาฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้น 💉💉💉
ประเทศไทยเข้าสู่การระบาด #โควิด19 ระลอกใหม่ ยอดผู้ป่วยติดเชื้อสะสมนับตั้งแต่ 1 ม.ค. 65 อยู่ที่ 61,174 คน ขณะที่ ยอดผู้ป่วยติดเชื้อรายใหม่เฉลี่ยรอบ 7 วัน (4-10 ม.ค. 65) อยู่ที่ 6,427 คน กลับไปเทียบเท่าช่วง พ.ย. 64 และมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นต่อเนื่อง
โดยหนึ่งในมาตรการตอบโต้ "โอมิครอน" ที่ ศบค. วางไว้ คือ การเข้ารับวัคซีนเข็ม 3 เพื่อเป็นอาวุธที่ทรงประสิทธิภาพ ซึ่ง ณ ขณะนี้ (10 ม.ค. 65) ยอดการฉีดเข็ม 3 ยังคงน้อยอยู่ สะสม 8,292,496 คน คิดเป็น 11.5% ของประชากร
📲 ช่วงนี้มีหลายพื้นที่เปิดให้จองคิวฉีดวัคซีนเข็ม 3 #ไทยพีบีเอส เป็นอีก 1 จุด สามารถจองผ่านแอปพลิเคชัน QueQ ดำเนินการฉีดโดยโรงพยาบาลธนบุรี THG (*สำหรับคนอายุ 18 ปีขึ้นไป) สามารถดูข้อมูลเพิ่มเติม : https://news.thaipbs.or.th/content/311493
📌 รู้สู้ภัย #โควิด19 กับ : http://covid19.thaipbs.or.th

30/12/2021

เช็ก 8 อาการโอไมครอน มากที่สุด "ไอ"

วันที่ 27 ธ.ค. 2564 พญ. อภิสมัย ศรีรังสรรค์ ผู้ช่วยโฆษกศบค. เปิดเผยข้อมูลอาการของผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 สายพันธุ์โอไมครอนที่มีอาการ 41 ราย 8 อาการที่พบ มากที่สุดคือ อาการไอ 54 % รองลงมา เจ็บคอ 37 % มีไข้ 29 % ปวดกล้ามเนื้อ 15 % มีน้ำมูก 12 % ปวดศีรษะ 10 % หายใจลำบาก 5 % ส่วนอาการได้กลิ่นลดลงมีเพียง 2 %

ด้าน นพ.สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวถึงอาการของผู้ป่วยติดเชื้อโควิด-19 สายพันธุ์โอไมครอน จากข้อมูลที่รวบรวมทั้งต่างประเทศและในประเทศขณะนี้ เบื้องต้นอาการไม่แตกต่างจากอาการโควิด-19 ส่วนใหญ่มีอาการของการติดเชื้อระบบทางเดินหายใจส่วนบน คือ มีไข้ เจ็บคอ และไอแห้งๆ เกือบทุกประเทศรายงานตรงกันว่า ความรุนแรงไม่มากเท่าเดลตา หลายประเทศบอกว่ารุนแรงน้อยกว่าเดลตาพอสมควร พบบางรายมีอาการปอดอักเสบ แต่ไม่มากนัก สำหรับการรักษาในไทยให้ยาต้านไวรัส (Favipiravir) ภายใน 3 วัน (24-72 ชั่วโมง) พบว่า ผู้ป่วยอาการดีขึ้นและหายเป็นปกติ

นอกจากนี้ ข้อมูลผู้ป่วยติดเชื้อสายพันธุ์โอไมครอนในไทย 100 รายแรก เป็นผู้เดินทางจากต่างประเทศ 99 ราย ติดเชื้อในประเทศ 1 ราย ผู้ชายมากกว่าผู้หญิง อายุน้อยสุด 34 ปี มากที่สุด 77 ปี โดยผู้ป่วยไม่มีอาการประมาณครึ่งหนึ่ง และอีกครึ่งหนึ่งมีอาการไม่มาก โดย 100 รายแรก ยังไม่มีรายใดต้องใส่ท่อช่วยหายใจ และยังไม่มีรายใดเสียชีวิต แต่มีผู้ป่วยปอดอักเสบ 7 ราย ทุกรายได้รับวัคซีนมาแล้ว 2 โดส


#สาระความรู้เพื่อวันนี้

ติดตามรายการของ workpointTODAY
ทาง YouTube https://bit.ly/2YDfyiK

ไม่พลาดข่าวธุรกิจ การตลาดที่สำคัญ
ติดตาม TODAY Bizview https://bit.ly/3picIeS

29/12/2021
ลงทะเบียนฉีดวัคซีนเด็กที่อยู่ในจังหวัดสมุทรสงคราม
19/10/2021

ลงทะเบียนฉีดวัคซีนเด็กที่อยู่ในจังหวัดสมุทรสงคราม

วันหยุดยาวดูแลตัวเองกันด้วยครับ
19/10/2021

วันหยุดยาวดูแลตัวเองกันด้วยครับ

07/10/2021

::แนวทางการดูแลเด็กที่ติดเชื้อโควิด-19 หรือมีความเสี่ยงสูง::
จากครั้งก่อนที่เรานำข้อมูลการดูแลเด็กๆ ในกรณีที่ยังไม่ได้รับเชื้อโควิด วันนี้จะเป็นภาคต่อของการดูแลเด็ก แต่เป็นกรณีที่เด็กๆ ของเราติดเชื้อโควิด-19 แล้ว โดยอ้างอิงข้อมูลจากองค์กรยูนิเซฟ เพื่อเป็นแนวทางให้พ่อแม่ผู้ปกครองหรือคนในครอบครัว สามารถจัดการดูแลเด็กได้อย่างเหมาะสมค่ะ
1. หากเด็กๆ อยู่ในระยะการกักตัวเพื่อดูอาการ (เสี่ยงสูง) ต้องจัดให้เด็กได้อยู่ภายใต้การดูแลของครอบครัวขยายหรือคนรู้จักของครอบครัวที่เชื่อถือได้ที่ถูกระบุโดยผู้ดูแลหลักของเด็ก บุคคลที่ช่วยดูแลเด็กนี้ต้องเต็มใจและสามารถดูแลเด็กได้ชั่วคราว ในขณะที่ผู้ดูแลหลักของเด็กต้องเข้ารับการรักษาในสถานพยาบาลและตนเองมีความเสี่ยงต่ำที่จะมีอาการรุนแรงหากติดเชื้อ ในบางประเทศที่มีนโยบายให้ผู้ติดเชื้อสามารถแยกกักตัวในบ้านได้ รวมถึงกรณีที่เด็กติดเชื้อ เนื่องจากมีการศึกษาหลายชิ้นที่ให้ผลสอดคล้องกันว่าเด็กมีความเสี่ยงต่ำที่จะมีอาการรุนแรงจากการติดเชื้อโควิด-19 เมื่อเปรียบเทียบกับผู้ใหญ่ ดังนั้นหากสามารถพิจารณาทางเลือกในการดูแลเด็กที่ต้องแยกตัวหรือกักตัวในบ้าน จะช่วยให้เด็กได้อยู่ภายในสิ่งแวดล้อมที่คุ้นเคย โดยมีผู้ดูแลที่สามารถสนับสนุนดูแลได้ โดยเด็กอยู่ภายใต้การดูแลของสมาชิกในครอบครัว 1 คน ในห้องที่แยกต่างหากจากสมาชิกในครอบครัวคนอื่น
2. จัดให้เด็กเข้ารับการเลี้ยงดูทดแทนแบบชั่วคราวเฉพาะกรณีที่ไม่มีทางเลือกอื่น และควรเน้นการเลี้ยงดูในรูปแบบ ครอบครัวมากกว่าการเลี้ยงดูในสถานดูแลหรือสถานกักตัว (โรงพยาบาล/ โรงพยาบาลสนาม) โดยผู้ดูแล ต้องเป็นผู้ที่มีความเสี่ยงต่ำที่จะมีอาการรุนแรงหากติดเชื้อ (ต้องไม่ใช่คนแก่ คนป่วยหรือคนท้อง) และสามารถให้การเลี้ยงดูเด็กและตอบสนองต่อความต้องการของเด็กได้ ทั้งนี้ควรพยายามจัดให้เด็กได้อยู่ในครอบครัวทดแทนที่อยู่ใกล้กับที่อยู่เดิมของเด็กหรือสถานที่ที่ผู้ดูแลหลักกําลังรับการรักษา
3. จัดให้มีการติดต่อระหว่างเด็กและครอบครัวเป็นประจํา บ่อยและสม่ำเสมอเท่าที่เป็นไปได้ (ดีที่สุดหากทำได้ทุกวัน) บนฐานประโยชน์สูงสุดของเด็ก และควรต้องให้ครอบครัวได้คืนกลับมาอยู่ร่วมกันโดยเร็วที่สุดเท่าที่จะเร็วได้ ทั้งนี้ต้องจัดให้มีช่องทางการสื่อสารให้พร้อม (เช่น สามารถโทรหากันได้ มีอินเตอร์เน็ตและวีดีโอคอลคุยกันได้ตลอด)
4. กรณีที่ผู้ดูแลหลักถูกแยกออกจากเด็ก เนื่องจากข้อจากัดในการเคลื่อนย้าย (ห้ามเดินทางข้ามพื้นที่) เจ้าหน้าที่ควรออกเอกสารอนุญาตอย่างรวดเร็วให้ผู้ดูแลสามารถเดินทางได้ เพื่ออำนวยความสะดวกให้ครอบครัวได้กลับมารวมตัวกัน หรือสามารถจัดการดูแลที่ปลอดภัยให้กับเด็ก
สนใจข้อมูลเพิ่มเติม สามารถเข้าไปอ่านและดาวน์โหลดเอกสารคู่มือฉบับเต็มได้ที่ https://www.unicef.org/thailand/media/6311/file
ฝากกดไลค์ กดแชร์ เพื่อติดตามข่าวสาร สาระน่ารู้ ข้อมูลเรื่องโภชนาการและวิธีการเลี้ยงลูกน้อยใน 1,000 วันแรกได้จากเพจของเรานะคะ
หากคุณพ่อคุณแม่มือใหม่ท่านใดมีคำถามเกี่ยวกับการดูแลลูกน้อย ตั้งแต่เริ่มตั้งครรภ์จนถึง 2 ปี สามารถฝากคำถามไว้ใน inbox ของเพจได้เลยค่ะ พวกเราจะไปหาคำตอบจากผู้เชี่ยวชาญมาตอบให้นะคะ 😊
#มหัศจรรย์พันวันแรก #เส้นทางพันวันลี้ยงลูก #เสริมสร้างพัฒนาการเด็กด้วยโภชนาการ #การดูแลเด็กในช่วงโควิด

26/08/2021
15/07/2021

พลเสฏฐ์ เลาหกรรณวนิช (หนึ่ง)
เลขาประธานหน่วยกู้ภัย และหัวหน้าชุดระบบการแพทย์ฉุกเฉิน
มูลนิธิสว่างเบญจธรรม สมุทรสงคราม

“สมัยก่อนที่แม่กลองไม่มีกู้ภัย มีมูลนิธิสว่างเบญจธรรมอยู่แต่ไม่มีกู้ภัย จะมี 2 มูลนิธิที่มาวิ่งในพื้นที่เราคือจากเพชรบุรีกับมูลนิธิการกุศลสมุทรสาคร ประมาณปี 2536 ผมอายุ 15 กำลังเรียน ปวช. ปี 1-2 ที่วิทยาลัยเทคนิค ผมเห็นรถเขามาวิ่งบ่อยๆ ก็รู้สึกอยากทำ เห็นเขาจอดรถอยู่ก็เข้าไปคุยไปถาม เขามาจากสมุทรสาครบอกว่ากำลังจะมาเปิดจุดที่แม่กลองพอดี เริ่มทำกันไหม ก็เลยเริ่มตั้งแต่นั้นมา

“ผมเข้าไปคุยกับอาแปะ พี่ชายของเตี่ย คือคุณเกษม เลาหกรรณวนิช เจ้าของปั๊มนาราคอร์ท ตอนนั้นอาแปะเป็นประธานมูลนิธิสว่างเบญจธรรม บอกว่าทางสมุทรสาครจะมาตั้งกู้ภัยให้ อาแปะยินดีเลยไปจดทะเบียนเพิ่มเป็นฌาปนกิจสงเคราะห์ สมุทรสาครเป็นพี่เลี้ยงอยู่ประมาณ 8 เดือนก็ถอนทีมออกไป เราก็ตั้งกู้ภัยเอง หนึ่งกับหนุ่ม (น้องชายฝาแฝด - ชลธี เลาหกรรณวนิช) เป็นอาสาสมัคร ช่วยงานทุกอย่างตั้งแต่เด็กล้างรถ เด็กนั่งหลังรถ คนขับรถ ไต่เต้าขึ้นมาเรื่อยๆ จนตอนหลังทางประธานก็ให้ขึ้นมาเป็นหัวหน้าชุดทั้งสองคน หนุ่มขึ้นมาก่อน ส่วนหนึ่งพอเรียนจบ ปวช. แล้วก็ไปเรียน ปวส. ที่ราชบุรี แล้วไปต่อปริญญาตรีที่กรุงเทพฯ แต่จะกลับมาช่วยงานมูลนิธิฯ ตลอด ไม่ค่อยได้กลับมานอนบ้าน ยกเว้นวันแม่กับวันพ่อ นอกนั้นส่วนใหญ่จะคลุกคลีกับมูลนิธิฯ เก้าสิบเปอร์เซ็นต์

“ที่บ้านผมทำธุรกิจประมงและค้าขาย ตอนหลังก็ทำงานประมูลต่างๆ ช่วงแรกเตี่ยกับแม่แอนตี้ ไม่อยากให้ทำ ปีแรกเลยต้องแอบทำ สมัยเมื่อสามสิบกว่าปีก่อนภาพของกู้ภัยที่เตี่ยแม่รู้จักก็มีแต่ปอเต๊กตึ๊ง ทำงานเก็บศพ คนจีนอาจจะรู้สึกว่ากลัวโดนเข้าตัว เขาเลยไม่อยากให้ทำ เราไม่อยากให้ที่บ้านเป็นห่วงก็เลยแอบ ตอนเย็นเรียนเสร็จก็ไปอยู่กับมูลนิธิฯ ขี่มอเตอร์ไซค์ไปจอดตามปั๊ม พอมีเหตุก็โดดขึ้นรถไปกับเขา ทำแบบนี้สัก 5-6 เดือน เตี่ยแม่เริ่มสงสัย เอ๊ะ เย็นๆ ไปไหน เลยเล่าให้เขาฟัง ทีแรกเขาห้าม เขาถามว่าอยากทำเหรอ ตอนหลังเขาบอกไม่เป็นไร ถ้าอยากทำ เขาซื้อวิทยุให้ตัวหนึ่ง เป็นจุดเริ่มต้นที่เขาสนับสนุน เพราะจริงๆ เตี่ยเป็นคนที่ชอบช่วยเหลือสังคมอยู่แล้ว พอเห็นว่าเราอยากช่วยจริงๆ เขาก็สนับสนุน

“อยากทำงานนี้เพราะอยากช่วยคน อีกส่วนหนึ่งตอนสมัยวัยรุ่นเราคิดว่ามูลนิธิมันเท่ ทำแล้วรู้สึกดี แต่พอทำไปจริงๆ ความเท่มันไม่มีแล้ว มันหาย แต่ความที่อยากช่วยเหลือคนมันเติมเต็มความรู้สึกเรา

“ช่วงแรกงานคือเก็บศพกับช่วยเหลือคนเจ็บอุบัติเหตุ เราจะเน้นเรื่องรถชน พวกศพต่างๆ ทั้งหมดเลย แค่เก็บศพขึ้นรถ คนเจ็บเอาขึ้นเปลสนามแล้วส่งโรงพยาบาล แต่ช่วงหลังตั้งแต่ปี 2545 ระบบการแพทย์ฉุกเฉินเริ่มเข้ามาในเมืองไทย ระบบจากศูนย์นเรนทรเข้ามาสมุทรสงครามปี 2548 เราต้องอยู่ภายใต้กฎหมายของการแพทย์ฉุกเฉินทั้งหมด ต้องขึ้นทะเบียนถูกต้องทั้งรถทั้งคน ตั้งแต่นั้นเราก็เริ่มพัฒนามูลนิธิฯ มาเรื่อย รู้สึกอยากพัฒนาองค์กรให้มีมาตรฐาน เพราะเห็นว่าถ้าเรามีความรู้ พัฒนาตัวเอง พัฒนาน้องๆ พัฒนาการช่วยเหลือให้ถูกต้อง คนที่เจ็บป่วยฉุกเฉินจะมีโอกาสรอดชีวิตจากมือเราได้เยอะมากก่อนถึงโรงพยาบาล

“ตั้งแต่ปี 2548-2553 เราได้รับรางวัลเป็นทีมที่พัฒนาขั้นพื้นฐานดีเด่นของประเทศไทยแปดปีซ้อน คิดว่าเราต้องพัฒนาองค์กรให้ได้มาตรฐานเทียบเท่าระดับสากล เราต้องเดินหน้าไปเรื่อยๆ เพราะระบบการแพทย์ฉุกเฉินไม่หยุดนิ่ง ถ้าเราหยุดเท่ากับคนป่วยจะได้รับการบริการที่ล้าหลัง เราจึงพัฒนาด้วยระบบทุกอย่างให้มันครอบคลุม ห้าหกปีที่ผ่านมาเราเริ่มรับคนป่วยมากขึ้น ด้วยระบบ 1669 ที่เข้ามา เพราะฉะนั้นใน 100% ตอนนี้เป็นการรับคนป่วยตามบ้าน 65-70% นอกนั้นเป็นเคสอุบัติเหตุ เฉลี่ยแล้วเรารับประมาณ 400 กว่าเคสต่อเดือน จนกระทั่งพอมีโควิด เดือนที่แล้วก็เพิ่มเป็น 550 เคส

“ย้อนไปช่วงโควิดรอบแรก เราไม่มีประสบการณ์เลย และที่เราต้องมาทำปฏิบัติการตอบโต้โควิดมันมีเหตุผลคือ รอบแรกน้องๆ ออกไปรับกลุ่มเสี่ยง (PUI) แต่ญาติไม่ได้รายงานว่าเป็นกลุ่มเสี่ยง เรามารู้ตอนหลัง ทำให้ต้องปิดศูนย์กู้ภัยไปเลย 3 วัน แล้วกักตัวน้อง 15 คน เป็นเวลา 14 วัน เพื่อแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม จากกรณีนี้ทำให้คิดว่าเราจะมามัวแต่หลบไม่ได้ ต้องพัฒนาให้น้องๆ รู้จักโควิด รู้จักเชื้อโรค รู้จักป้องกัน รู้ว่าจะรับมืออย่างไร เลยเป็นที่มาของการต้ังฐานตอบโต้โควิดเป็นทีมเฉพาะกิจขึ้นมา เราอยู่ในระบบการแพทย์ฉุกเฉินมาเยอะ เห็นว่าบุคลากรทางการแพทย์ไม่เพียงพอแน่ๆ งานมันล้นมือ จึงอยากทำทีมเข้ามาช่วยงาน อย่างน้อยช่วยได้มากหรือน้อยก็ยังดี

“โควิดรอบนี้ไม่เหมือนที่ผ่านมา การแพร่เชื้อเร็ว คนไข้เยอะ และยังไม่มีแนวโน้มว่าจะหยุดตอนไหนด้วย เราเคยทำงานภัยพิบัติมาหลายครั้ง น้ำท่วมเต็มที่ 15 วันก็จบ แต่รอบนี้คือ 86 วันแล้ว (นับถึง 14 กรกฎาคม 2564) รับไปกว่าสี่พันคนแล้ว หนักหนาสากรรจ์ น้องๆ ออกกันทุกวัน รับกับเชื้อโรคทุกวัน ใส่ชุด PPE วันหนึ่ง 3-4 รอบ ความเครียดมี เราเข้าใจ เพราะฉะนั้นเราต้องช่วยเหลือกัน ปลอบโยนกัน ให้กำลังใจซึ่งกันและกัน บางทีออกไปเจอเด็ก 8-9 ขวบป่วย หรือไปรับคนที่เรารู้จักกันสนิทกัน คือมันมาถึงใกล้ตัวเรามากขึ้นทุกวัน มันหนักจริงๆ ทำให้รู้ว่าไม่ใช่เรื่องล้อเล่น เราต้องใส่ชุด PPE วิ่งรถกันทั่วเมืองออกไปรับคนไข้ เหมือนที่เคยดูในหนัง แต่มันเป็นเรื่องจริงที่เกิดขึ้นแล้ว สถานการณ์แย่ลงทุกวันๆ และผมว่ายังไม่ถึงจุดที่ต่ำที่สุดเลยด้วยซ้ำ

“รถ 12 คัน น้องๆ 20 คน เป็นอาสาสมัครของมูลนิธิฯ และของเครือข่ายอื่นที่มาสนับสนุน เมื่อวานออกตั้งแต่ตีสี่ ไปกรุงเทพฯ 2 คัน ตอนนี้วันละเกือบร้อยเคส ผมก็อยากลงไปทำงาน ไปเห็นหน้างานกับเด็กๆ แต่ศักยภาพตัวเราต้องไปอยู่อีกระดับหนึ่ง คอยวางระบบให้น้อง คอยประสานงานกับผู้ใหญ่ ผมเหนื่อยหัวสมอง น้องๆ เหนื่อยกาย เขาเหนื่อยกว่าผมเยอะ แล้วต้องเจอแรงกดดันเยอะ ก็ต้องชมน้องๆ ทุกคนที่อยู่ในทีม บางคนอยู่กับผมมายี่สิบกว่าปี เขาจะคิดอย่างเดียวว่า พี่หนึ่งไม่เคยบ่น หนึ่งทำงานตรงนี้ ชีวิต... (เงียบไป) ชีวิตหนึ่งกับกู้ภัย ไม่เคยบ่นเลยว่าเหนื่อย เพราะฉะนั้นน้องพูดเลยว่า พี่ไม่เคยบ่น พวกผมก็ต้องเต็มที่ ทุกคนบอกว่าผมเกิดมาเพื่อสิ่งนี้ ผมก็จะเติมพลังให้น้องๆ ทุกคน เราสู้กันมาขนาดนี้ มีคนรอเราอีกเยอะที่เขาต้องการจะกลับบ้าน

“ทุกวันเสร็จงานน้องๆ ก็จะมานั่งคุยกันในฐาน พองานเยอะทุกวันถ้าเขาโหลดก็ต้องพัก บางคนอาจมองพวกเราว่าจะติดเชื้อหรือเปล่า เพราะไปรับคนป่วย มองเราเป็นที่น่ารังเกียจ แต่ที่จริงเรามีความปลอดภัยสูงมาก น้องทุกคนไม่ได้ออกไปไหนเลย จะกินอะไรก็สั่งมากินที่นี่ ไม่ต้องไปไหน คือเราต้องเซฟน้องทุกคนเพื่อไม่ให้เขาไปสัมผัสกับคนอื่น เพราะเขาต้องทำงานอีกเยอะ เขาเป็นคนสำคัญหลักของระบบการแพทย์ในเรื่องโควิด ที่นี่จึงเป็นโซนที่ปลอดภัยมาก เป็นพื้นที่สีขาวบริสุทธิ์

“สถานการณ์ในจังหวัดสมุทรสงครามตอนนี้อยู่ในเกณฑ์ที่โอเค ไม่น่ากลัวเหมือนที่หลายคนคิด เราแทบจะเป็นจังหวัดเดียวที่มีการทำงานหลังบ้านมาตลอด ระบบสาธารณสุขของจังหวัดก็เป็นระบบมากขึ้น ชัดเจน ทำให้จัดการได้ง่ายและทำได้เร็ว ส่งคนป่วยเข้าสู่โรงพยาบาลจังหวัด โรงพยาบาลสนาม หรือสถานกักกันโรค (LQ) ได้เร็วมาก ต้องชื่นชมหลายฝ่าย โดยเฉพาะท่านผู้ว่าราชการจังหวัด (ชรัส บุญณสะ) ท่านมองการณ์ไกล ถึงแม้จะมียอดผู้ติดเชื้อเพิ่มทุกวันจริง แต่เราสามารถคัดกรองคนกลุ่มเสี่ยงมารวมตัวกันได้ ทำให้ไม่เกิดการกระจาย ขอบอกคนในจังหวัดเลยว่าไม่ต้องห่วง ทีมเราจะอยู่ทำงานจนกว่าจะจบภารกิจ

“ตอนนี้เราต้องเปิดรับบริจาค เพราะค่าใช้จ่ายสูงมาก เฉพาะค่าน้ำมันเดือนหนึ่งประมาณ 150,000 บาท น้องๆ ทุกคนไม่มีเงินเดือน ไม่มีเบี้ยเลี้ยง เราบริการฟรีทั้งหมด ไม่ได้เรียกร้องจากคนไข้ เพราะฉะนั้นเราอยากให้ประชาชนช่วยบริจาคเพื่อจะได้มีส่วนร่วมในการทำบุญครั้งนี้ เป็นการสนับสนุนที่ทำให้คนไข้ได้กลับบ้าน กลับมารักษาตัว ทุกคนมาบริจาคจะมากน้อยแค่ไหนเราถ่ายรูปขอบคุณลงในเพจทั้งหมด ส่วนอาหารการกินเราไม่ขาดเหลือ มีคนทำมาบริจาคเยอะ แต่เราจะทำคิวว่าวันไหนใครจะมาบริจาค เขาจะโทรเข้ามาแจ้งผมก่อน ไม่อยากให้อาหารมากองเหลือทิ้ง ยกเว้นน้ำเครื่องดื่มของแห้ง เราอยู่กัน 20 กว่าคน อาหารสองมื้อ เช้า-กลางวัน ไม่เกิน 60 กล่อง แต่มื้อเย็นผมพยายามไม่ให้บริจาค ไม่ได้กีดกัน แต่เราจะทำให้เด็กๆ เอง เรามีหม้อหุงข้าว มีกับข้าวสด เพราะไม่อยากให้เหลือ มันเสียดาย เพราะคนอื่นไม่มีกินอีกเยอะ คนสมุทรสงครามจะให้การสนับสนุนเรา เพราะเราไม่ได้ทำงานด้านเดียว เราทำงานควบคู่กับชุมชนด้วย เรารับบริจาคอุปกรณ์การแพทย์มือสองมามอบให้กับชุมชน คนป่วยติดเตียง ทำมา 7-8 ปีแล้ว งานสังคม งานข้อมูลด้านลดอุบัติเหตุเราก็ทำ เพราะฉะนั้นประชาชนเขาจึงยอมรับและศรัทธาองค์กรของเรา

“ทุกครั้งที่ออกช่วยเหลือคนเจ็บ ทุกครั้งที่ออกไปช่วยแล้วเขามีความสุข เขาได้กลับไปอยู่กับครอบครัว ผมแฮ้ปปี้ เราผ่านเรื่องมาเยอะ เคยร้องไห้ เคยอยากลาออก น้อยใจต่อสังคม ต่อคนรอบข้าง เราทำงานตรงนี้ไม่เคยได้เงินเดือนหรือค่าตอบแทน ต้องเสียสละเวลาในชีวิต 14 ปีแรกที่ทำมูลนิธิฯ ไม่เคยได้เที่ยวตามเทศกาลเลย ไม่เคยใช้ชีวิตแบบเด็กวัยรุ่น วันหยุดคนอื่นไปเที่ยวเป็น 7 วันอันตราย เราต้องเฝ้าอยู่ตามท้องถนน ความรู้สึกแบบนี้จะเป็นกันทุกคน เป็นสิ่งที่ทุกคนต้องผ่าน ตอนนี้ผมอายุ 45 วางไว้ว่าอายุ 50 ก็จะไปเป็นกรรมการ คงมาลุยกับน้องๆ ไม่ไหวแล้ว เพราะฉะนั้นก่อนที่จะหมดแรงก็อยากถ่ายทอดให้น้องๆ คลื่นลูกใหม่ขึ้นมาแทนเรา และเราก็คงจะอยู่กับมูลนิธิฯ ไปจนปิดฝาโลง

“สังคมไทยปัจจุบันนี้มันแย่ไปหมด ไม่ว่าจะเป็นเศรษฐกิจ การแก่งแย่งชิงดีหรือด่าทอกัน คนไทยไม่เคยเป็นอย่างนี้ คนไทยช่วยเหลือกัน เป็นคนดีกันแทบทั้งนั้น อยากให้มองโลกให้มันบวกเยอะๆ ผมไม่อยากให้คนไทยมานั่งทะเลาะกันเอง เพราะเราอยู่ในวิกฤตจริงๆ เราต่อสู้กับเชื้อโรคที่มองไม่เห็น เพราะฉะนั้นอยากให้คนมีสติ ช่วยเหลือกัน เราจะผ่านตรงนี้ไปด้วยกัน”

ภาพ : วิกรม เสือดี
หน่วยกู้ภัย มูลนิธิสว่างเบญจธรรม สมุทรสงคราม

25/04/2021

🎯การปฏิบัติตัวเมื่อเลี้ยงดูเด็ก

อย่าลืมสวมหน้ากาก รักษาระยะห่าง หมั่นล้างมือ เช็คชื่อใน “ไทยชนะ” และ “หมอชนะ”นะคะ

#สถานการณ์โควิด19
#กรมควบคุมโรค
#กระทรวงสาธารณสุข
#ศูนย์ข้อมูลCOVID19
#ไทยรู้สู้โควิด

25/04/2021

🎯แนวทางการจัดการศพผู้ป่วยติดเชื้อโรคโควิด-19

อย่าลืมสวมหน้ากาก รักษาระยะห่าง หมั่นล้างมือ เช็คชื่อใน “ไทยชนะ” และ “หมอชนะ”นะคะ

#สถานการณ์โควิด19
#กรมควบคุมโรค
#กระทรวงสาธารณสุข
#ศูนย์ข้อมูลCOVID19
#ไทยรู้สู้โควิด #วัคซีนโควิด

เราติดหรือยังหว่าตกลงว่าเราเสี่ยงมั้ยใครเสี่ยงบ้าง
11/04/2021

เราติดหรือยังหว่า
ตกลงว่าเราเสี่ยงมั้ย
ใครเสี่ยงบ้าง

โครงการอัมพวา ชัยพัฒนานุรักษ์ ขอเชิญชวนร้านค้าและบ้านเช่า "ทำความสะอาดหน้าบ้าน ต้าน COVID-19" ร่วมกันขัดล้างทำความสะอาดพ...
26/03/2021

โครงการอัมพวา ชัยพัฒนานุรักษ์ ขอเชิญชวนร้านค้าและบ้านเช่า "ทำความสะอาดหน้าบ้าน ต้าน COVID-19" ร่วมกันขัดล้างทำความสะอาดพื้นถนนและพื้นผิวสัมผัสบริเวณร้านค้าของท่าน หรือนำเจลแอลกอฮอล์วางหน้าร้านตามมาตรการ D-M-H-T-T (D : Distancing คือ เว้นระยะห่างระหว่างกัน M : Mask Wearing คือ สวมหน้ากากผ้า/หน้ากากอนามัยตลอดเวลา H : Hand Washing คือ ล้างมือบ่อย ๆ T : Testing คือ ตรวจวัดอุณหภูมิร่างกายก่อนเข้างาน T : Thai Cha Na คือ เช็กอินผ่านแอปพลิเคชัน "ไทยชนะ" ทุกครั้ง เมื่อเข้าไปในสถานที่ต่างๆ) เพื่อกระตุ้นการท่องเที่ยวและสร้างความมั่นใจให้กับผู้ที่มาท่องเที่ยวในตลาดน้ำอัมพวา โดยโครงการอัมพวา ชัยพัฒนานุรักษ์จะทำความสะอาดพื้นที่ในวันพุธที่ 31 มีนาคม 2564 เวลา 09.30 น. เป็นต้นไป ทั้งนี้ร้านค้าทั่วไปสามารถทำความสะอาดตามมาตรการได้ตามความสะดวกของท่านต่อไป

09/02/2021

ผู้ว่าฯ สมุทรสงคราม แถลงยืนยัน อ.อัมพวา ไม่ใช่คลัสเตอร์ใหม่ ชี้แม่ค้าขายหมูเป็นชาวอัมพวา แต่เป็นหนึ่งในผู้ติดเชื้อ COVID-19 จากการตรวจค้นหาปูพรมในตลาดรถไฟมหาชัย จ.สมุทรสาคร

📌 อ่านต่อ https://news.thaipbs.or.th/content/301222

ชี้แจงข้อเท็จจริง
08/02/2021

ชี้แจงข้อเท็จจริง

30/01/2021
วันนี้ผู้ป่วยยืนยัน 5 ราย ท่ามกลางกระแสต่อว่าต่อ ตำหนิการทำงานของเจ้าหน้าที่ ที่ทำงานกันอย่างหนักขอยกความคิดเห็นที่คุณหม...
22/01/2021

วันนี้ผู้ป่วยยืนยัน 5 ราย
ท่ามกลางกระแสต่อว่าต่อ ตำหนิการทำงานของเจ้าหน้าที่ ที่ทำงานกันอย่างหนัก
ขอยกความคิดเห็นที่คุณหมอมานะชัย ท่านได้กล่าวไว้ตรงใจแอดมินมาก

เชื่อว่าผลรายงานผู้ติดเชื้อวันนี้ของบ้านเรา หลายคนตกใจ
หลายคนเริ่มว่ากล่าว ตำหนิ แต่ถ้าเราค่อยๆดูที่มาที่ไปและไทม์ไลน์
เราจะเข้าใจกับสถานการณ์ครับ ผู้ติดเชื้อทำงานที่โรงงานเดียวกัน โรงงานนี้เป็นโรงงานขนาดเล็ก คนงานราว300คน
ยังไม่ถึงคิวจะได้ตรวจ เพราะถ้าตรวจเองต้องเสียเงินเอง แต่เมื่อมีผู้ติดเชื้อทางเรารายงานไปทางจังหวัดเจ้าของพื้นที่
โรงงานนี้ได้ถูกเข้าไปตรวจเชิงรุกจนครบทุกคน และได้ปิดโรงงานชั่วคราวลงแล้ว
เราไม่สามารถห้ามไม่ให้คนงานไปทำงานได้ เพราะมันคืออาชีพเลี้ยงปากเลี้ยงท้องเขา
แต่จังหวัดเรามีรายชื่อคนงานที่ไปทำงานมหาชัยทุกคนแล้ว และได้มีการประกบติดตามอยู่ตลอดเวลา
เขาสามารถไปทำงานเช้าเย็นกลับได้ แต่ไม่สามารถไปยังที่ต่างๆได้ ซึ่งอันนี้กำนัน ผู้ใหญ่บ้านต้องช่วยกำกับ ดูแล ร่วมกับ อสม. ครับ
เมื่อมีคนป่วยที่มีอาการ สาสุขเราจะเข้าไปแยกผู้ป่วยและคนที่สัมผัสใกล้ชิดมาตรวจ ถ้ามีเชื้อจะแยกตัวไปรักษา
ส่วนผู้ที่ไม่มีอาการก็จะเอาไปกักตัว14วัน จะออกมาได้ก็ต่อเมื่อตรวจไม่พบเชื้อติดต่อกันสองครั้ง
และที่พอจะเบาใจได้คือคนที่ติดเชื้อเราทราบที่มาที่ไป ได้
ดังนั้น ถ้าอีกวันสองวันเราอาจพบผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นก็ไม่ต้องแปลกใจ
สถานการณ์จะเบาลงก็ต่อเมื่อมหาชัยปลอดเชื้อครับ
อีกอย่างบางครั้งข้อมูลอาจช้ากว่าการบอกต่อ เพราะถ้าเป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบ เราต้องดับเบิ้ลเช็คให้ละเอียด ต้องตรวจยืนยันสองครั้ง ต้องมีการสอบสวนให้ได้ไทม์ไลน์ที่ชัดเจน
ถึงจะส่งต่อให้จังหวัดรายงานครับ ช้าสักวันแต่ชัวร์ดีกว่าครับ
ส่วนตัวเราเองทุกคน ต้องรับผิดชอบตัวเองคือใส่หน้ากาก เว้นระยะห่าง ไม่ไปในที่ชุมชนแออัด และหมั่นล้างมือ
ช่วยกันครับ คนทำงานยามนี้น่าเห็นใจ และถ้าทุกคนช่วยกัน บ้านเราจะผ่านเรื่องนี้ไปได้แน่นอน

อัพเดต สถานการณ์ COVID-19 (การระบาดระลอกใหม่) จังหวัดสมุทรสงคราม
ประจำวันที่ 22 มกราคม 2564 เวลา 18.00 น.
🔴 วันนี้มีผู้ติดเชื้อรายใหม่ 5 ราย
🟠 รวมยอดผู้ติดเชื้อสะสม 34 ราย (17 ธ.ค.63 - 22 ม.ค.64)
🟢 ผู้ป่วยที่รักษาหายแล้ว 29 ราย
🟡 คงเหลือผู้ป่วยที่กำลังรักษา 5 ราย 💉.
-------------------------
***ข้อมูลสถานการณ์การระบาดระลอกใหม่ ตั้งแต่วันที่ 17 ธันวาคม 2563 ***
❗️ อย่าลืม !!! #สวมหน้ากากอนามัย #เว้นระยะห่าง #ล้างมือบ่อยๆ
*** ขอความร่วมมือ ทุกท่านส่งต่อข้อมูลที่ได้รับการตรวจสอบยืนยันและเผยแพร่จาก ศูนย์โควิด19 จังหวัดสมุทรสงคราม หรือส่วนราชการที่รับผิดชอบโดยตรงเท่านั้น***
#ศูนย์โควิด19สมุทรสงคราม

#สมุทรสงคราม
#การระบาดระลอกใหม่
#ชาวแม่กลองร่วมมือร่วมใจพ้นภัยโควิด
#สมุทรสงครามการ์ดอย่าตก
ีวิตวิถีใหม่

เย่ ๆๆๆ
10/01/2021

เย่ ๆๆๆ

อัพเดต สถานการณ์ COVID-19 (การระบาดระลอกใหม่)
จังหวัดสมุทรสงคราม
ประจำวันที่ 10 มกราคม 2564 เวลา 18.00 น.
🔴 ไม่มีผู้ติดเชื้อรายใหม่
🟠 รวมยอดผู้ติดเชื้อสะสม (17 ธ.ค.63 - 10ม.ค.64) 28 ราย
🟢 ผู้ป่วยที่รักษาหายแล้ว 20 ราย (รักษาหายเพิ่ม +1ราย)
🟡 คงเหลือผู้ป่วยที่กำลังรักษา 8 ราย 💉.
-------------------------
***ข้อมูลสถานการณ์การระบาดระลอกใหม่ ตั้งแต่วันที่ 17 ธันวาคม 2563 ***
❗️ อย่าลืม !!! #สวมหน้ากาก #ล้างมือ #เว้นระยะห่าง
*** ขอความร่วมมือ ทุกท่านส่งต่อข้อมูลที่ได้รับการตรวจสอบยืนยันและเผยแพร่จาก ศูนย์โควิด19 จังหวัดสมุทรสงคราม หรือส่วนราชการที่รับผิดชอบโดยตรงเท่านั้น***
#ศูนย์โควิด19สมุทรสงคราม

#สมุทรสงคราม
#การระบาดระลอกใหม่
#ชาวแม่กลองร่วมมือร่วมใจพ้นภัยโควิด
#สมุทรสงครามการ์ดอย่าตก
ีวิตวิถีใหม่

09/01/2021

อัพเดต สถานการณ์ COVID-19 (การระบาดระลอกใหม่)
จังหวัดสมุทรสงคราม
ประจำวันที่ 9 มกราคม 2564 เวลา 18.00 น.
🔴 มีผู้ติดเชื้อรายใหม่ จำนวน 1 ราย
🟠 รวมยอดผู้ติดเชื้อสะสม (17 ธ.ค.63 - 9 ม.ค.64) 28 ราย
🟢 ผู้ป่วยที่รักษาหายแล้ว 19 ราย
🟡 คงเหลือผู้ป่วยที่กำลังรักษา 9 ราย 💉.
-------------------------
***ข้อมูลสถานการณ์การระบาดระลอกใหม่ ตั้งแต่วันที่ 17 ธันวาคม 2563 ***
❗️ อย่าลืม !!! #สวมหน้ากาก #ล้างมือ #เว้นระยะห่าง
*** ขอความร่วมมือ ทุกท่านส่งต่อข้อมูลที่ได้รับการตรวจสอบยืนยันและเผยแพร่จาก ศูนย์โควิด19 จังหวัดสมุทรสงคราม หรือส่วนราชการที่รับผิดชอบโดยตรงเท่านั้น***
#ศูนย์โควิด19สมุทรสงคราม

#สมุทรสงคราม
#การระบาดระลอกใหม่
#ชาวแม่กลองร่วมมือร่วมใจพ้นภัยโควิด
#สมุทรสงครามการ์ดอย่าตก
ีวิตวิถีใหม่

ที่อยู่

Samut Songkhram
75000

เว็บไซต์

แจ้งเตือน

รับทราบข่าวสารและโปรโมชั่นของ ปลาทูสู้โควิดผ่านทางอีเมล์ของคุณ เราจะเก็บข้อมูลของคุณเป็นความลับ คุณสามารถกดยกเลิกการติดตามได้ตลอดเวลา

วิดีโอทั้งหมด

แชร์


เว็บไซต์ข่าวและสื่อ อื่นๆใน Samut Songkhram

แสดงผลทั้งหมด

คุณอาจจะชอบ