สมาคมนักวิทยุสมัครเล่นจังหวัดสกลนคร HS4AS

สมาคมนักวิทยุสมัครเล่นจังหวัดสกลนคร HS4AS สแตนบาย 144.5125 MHz,145.6375 MHz,145.0000 MHz
(32)

30/08/2024

สรุปลักษณะอากาศตั้งแต่เวลา 07.00 น.วานนี้ ถึง 07.00 น.
ประจำวันศุกร์ที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2567
#ศูนย์อุตุนิยมวิทยาภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน
#กรมอุตุนิยมวิทยา
#ดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม

ขอบคุณที่เป็นผู้มีส่วนร่วมสูงสุดจนติดอันดับในรายชื่อผู้มีส่วนร่วมประจำสัปดาห์ของฉัน! 🎉 Jakkaphog Phaemaung, ภัทรพล ศุภวิ...
30/08/2024

ขอบคุณที่เป็นผู้มีส่วนร่วมสูงสุดจนติดอันดับในรายชื่อผู้มีส่วนร่วมประจำสัปดาห์ของฉัน! 🎉 Jakkaphog Phaemaung, ภัทรพล ศุภวิชญ์อาทร, San Santisuk, สพัฒชัย โสระสา, Jamnong Haboonmee

30/08/2024
30/08/2024

แจ้งประชาสัมพันธ์ ทางหลวงชนบทเลย หมายเลข ลย.3002 วังสะพุง-ภูเรือ เนื่องจากช่วงเช้าถนนขาด ช่วงบ้านตากแดด ต.เขาหลวง อ.วังสะพุง ให้ใช้เส้นทางเลี่ยง ตามข้อมูลทางหลวงชนบทเลย

30/08/2024

สรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ วันที่ 30 ส.ค. 67 เวลา 7.00 น.

1.ปริมาณฝนสะสม 24 ชม. สูงสุด ได้แก่ ภาคตะวันออก : จ.จันทบุรี (122 มม.) ภาคใต้ : จ.นครศรีธรรมราช (97 มม.) ภาคเหนือ :จ.แม่ฮ่องสอน (94 มม.) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ : จ.เลย (86 มม.) ภาคกลาง : จ.ปทุมธานี (44 มม.) ภาคตะวันตก : จ.ประจวบคีรีขันธ์ (24 มม.)

สภาพอากาศวันนี้ : ร่องมรสุมพาดผ่านภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยมีกำลังค่อนข้างแรง ทำให้ประเทศไทยยังคงมีฝนตกหนักบางแห่ง โดยมีฝนตกหนักมากบางพื้นที่ในภาคเหนือตอนบน ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ฝั่งตะวันตก
คาดการณ์ : วันที่ 1-3 ก.ย. 67 ร่องมรสุมกำลังปานกลางจะเลื่อนพาดผ่านภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลางของประเทศไทย เข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงบริเวณทะเลจีนใต้ตอนกลาง ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ ภาคตะวันออก และอ่าวไทยมีกำลังปานกลาง ทำให้มีฝนเพิ่มขึ้น และมีฝนตกหนักบางแห่ง โดยมีฝนตกหนักมากบางพื้นที่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ตอนบน
2. สถานการณ์น้ำอ่างเก็บน้ำในภาพรวม : ปริมาณน้ำรวม 61% ของความจุเก็บกัก (49,178 ล้าน ลบ.ม.) ปริมาณน้ำใช้การ 43% (25,000 ล้าน ลบ.ม.)

3. ประกาศที่เกี่ยวข้อง
3.1 ประกาศสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ ฉบับที่ 12/2567 ลงวันที่ 28 ส.ค. 67 เฝ้าระวังผลกระทบจากระดับน้ำแม่น้ำโขงเพิ่มขึ้น ช่วงวันที่ 25-31 ส.ค. 67 ขอให้เฝ้าระวังระดับน้ำเพิ่มขึ้นและเตรียมรับมือจากสถานการณ์น้ำล้นตลิ่งและท่วมขังบริเวณริมแม่น้ำโขง บริเวณ จ.เลย หนองคาย บึงกาฬ นครพนม มุกดาหาร อำนาจเจริญ
และอุบลราชธานี
3.2 สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ แจ้งเตือนเฝ้าระวัง!!!
น้ำทะเลหนุนสูงช่วงวันที่ 30 ส.ค. – 5 ก.ย. 67 เนื่องจากอิทธิพลของน้ำทะเลหนุนสูง และคาดว่าจะมีฝนตกหนักในบางพื้นที่ทำให้ระดับน้ำในแม่น้ำเพิ่มสูงขึ้นอาจส่งผลกระทบต่อพื้นที่ลุ่มต่ำ
ริมแม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำแม่กลอง แม่น้ำท่าจีน และแม่น้ำบางปะกง เสี่ยงน้ำท่วมบริเวณชุมชนนอกแนวคันกั้นน้ำและแนวเขื่อนชั่วคราวบริเวณที่ไม่มีแนวป้องกันน้ำถาวร (แนวฟันหลอ) ในพื้นที่จังหวัดสมุทรสงคราม สมุทรสาคร นครปฐม นนทบุรี กรุงเทพมหานคร และสมุทรปราการ
4. แนวทางการบริหารจัดการน้ำ : เมื่อวันที่ 29 ส.ค. 67 นายศราวุธ สากล ผู้อำนวยการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติภาค 2 และเจ้าหน้าที่สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติภาค 2 เข้าร่วมการประชุมซักซ้อมแผนเผชิญเหตุอุทกภัย และดินถล่ม จังหวัดปราจีนบุรี ปี 2567 ณ ห้องประชุมสระมรกต (401) ชั้น 4 ศาลากลางจังหวัดปราจีนบุรี จังหวัดปราจีนบุรี โดยมีนายรณรงค์ นครจินดา ผู้ว่าราชการจังหวัดปราจีนบุรี เป็นประธานการประชุม และผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมการประชุม โดยที่ประชุมได้รายงานแผนเผชิญเหตุอุทกภัย และดินถล่ม พื้นที่จังหวัดปราจีนบุรี ปี 2567 แนวทางการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยเงินทดลองราชการเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน พ.ศ. 2562 และในที่ประชุมได้ร่วมกันพิจารณาการเตรียมความพร้อมและแนวทางการบูรณาการการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยในช่วงฤดูฝน ปี 2567 ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
5. สถานการณ์อุทกภัย: วันที่ 29 ส.ค. 67 ในพื้นที่ 8 จังหวัด ได้แก่
จ.เชียงราย (อ.เวียงแก่น พาน และเวียงป่าเป้า) จ.ลำพูน (อ.ลี้) จ.ลำปาง
(อ.วังเหนือ) จ.สุโขทัย (อ.เมืองฯ สวรรคโลก ศรีสำโรง ศรีนคร กงไกรลาศ และศรีสัชนาลัย) จ.พิษณุโลก (อ.บางระกำ และพรหมพิราม) จ.เพชรบูรณ์ (อ.หล่มสัก) จ.หนองคาย (อ.รัตนวาปี ศรีเชียงใหม่ สังคม ท่าบ่อ และเมืองฯ) จ.หนองบัวลำภู (อ.เมืองฯ)

พยากรณ์อากาศประจำวัน ศุกร์ ที่ 30 สิงหาคม 2567            ลักษณะอากาศทั่วไป            มรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังค่อนข้าง...
30/08/2024

พยากรณ์อากาศประจำวัน ศุกร์ ที่ 30 สิงหาคม 2567
ลักษณะอากาศทั่วไป
มรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังค่อนข้างแรงที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย
มีกำลังอ่อนลง ในขณะที่มีหย่อมความกดอากาศต่ำ บริเวณประเทศเวียดนามตอนบนลักษณะเช่นนี้
ทำภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนมีฝนลดลง แต่ยังคงมีฝนตกหนักบางแห่ง ขอให้ประชาชน
ในบริเวณดังกล่าว ระวังอันตรายจากฝนตกหนักไว้ด้วย
พยากรณ์อากาศบริเวณจังหวัดสกลนคร (10.00 น.วันนี้ ถึง 10.00น.วันพรุ่งนี้)
มีฝนหรือฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60 ของพื้นที่
ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม.
อุณหภูมิต่ำสุดเช้าวันนี้ วัดได้ 24.7 ซํ. คาดว่าต่ำสุดเช้าวันพรุ่งนี้ประมาณ 25 ซํ.
อุณหภูมิสูงสุดบ่ายเมื่อวานนี้ วัดได้ 33.5 ซํ. คาดว่าสูงสุดบ่ายวันนี้ประมาณ 34 ซํ.
ปริมาณฝนตั้งแต่เวลา 07.00 น.เมื่อวาน ถึงเวลา 07.00 น.วันนี้ วัดได้ 0.0 มิลลิเมตร
บริเวณจังหวัดสกลนคร ดวงอาทิตย์ตก เวลา 18.19 น. ขึ้นพรุ่งนี้เช้า เวลา 05.50 น.
ปริมาณฝนตามอำเภอต่างๆในเขต จ.สกลนคร
1. อ.วาริชภูมิ วัดได้เล็กน้อย
2. สถานีตรวจอากาศเกษตร อ.เมือง จ.สกลนคร วัดได้ 20.9 มม.
สรุปสภาวะอากาศภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน
วัดปริมาณฝนมากที่สุดได้ วัดได้ 50.0 มิลลิเมตร ที่ อ.ศรีบุญเรือง จ.หนองบัวลำภู
อุณหภูมิสูงที่สุดของภาค วัดได้ 35.0 องศาเซลเซียส ที่ อ.เมือง จ.อุดรธานี
อุณหภูมิต่ำที่สุดของภาค วัดได้ 23.7 องศาเซลเซียส ที่ อ.เมือง จ.ขอนแก่น
อุณหภูมิต่ำที่สุดบนยอดภู วัดได้ 16.0 องศาเซลเซียส ที่ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูหลวง อ.ภูเรือ จ.เลย
-------------------------------------------------------------------------------
สถานีอุตุนิยมวิทยาสกลนคร
โทร / โทรสาร. 042-711607

#พยากรณ์อากาศจังหวัดสกลนคร วันที่ 30 สิงหาคม 2567 มีฝนหรือฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง

พยากรณ์อากาศประจำวัน พฤหัสบดี ที่ 29 สิงหาคม 2567            ลักษณะอากาศทั่วไป                    ร่องมรสุมพาดผ่านภาคเหน...
29/08/2024

พยากรณ์อากาศประจำวัน พฤหัสบดี ที่ 29 สิงหาคม 2567
ลักษณะอากาศทั่วไป
ร่องมรสุมพาดผ่านภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และประเทศลาวตอนบน ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย มีกำลังค่อนข้างแรง ทำให้ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนมีฝนตกหนักบางพื้นที่ ขอให้ประชาชนในบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากฝนตกหนัก
และฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลุ่ม และพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านไว้ด้วย
พยากรณ์อากาศบริเวณจังหวัดสกลนคร (10.00 น.วันนี้ ถึง 10.00น.วันพรุ่งนี้)
มีฝนหรือฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง
ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม.
อุณหภูมิต่ำสุดเช้าวันนี้ วัดได้ 24.8 ซํ. คาดว่าต่ำสุดเช้าวันพรุ่งนี้ประมาณ 25 ซํ.
อุณหภูมิสูงสุดบ่ายเมื่อวานนี้ วัดได้ 32.6 ซํ. คาดว่าสูงสุดบ่ายวันนี้ประมาณ 33 ซํ.
ปริมาณฝนตั้งแต่เวลา 07.00 น.เมื่อวาน ถึงเวลา 07.00 น.วันนี้ วัดได้ 41.8 มิลลิเมตร
บริเวณจังหวัดสกลนคร ดวงอาทิตย์ตก เวลา 18.19 น. ขึ้นพรุ่งนี้เช้า เวลา 05.50 น.
ปริมาณฝนตามอำเภอต่างๆในเขต จ.สกลนคร
ปริมาณฝน(มม.) ปริมาณฝน(มม.) ปริมาณฝน(มม.)
เมือง 41.8 พังโคน 0 โคกศรีสุพรรณ 5.7
พรรณานิคม 0 ส่องดาว 0.6 เจริญศิลป์ 0.9
วานรนิวาส 0 สว่างแดนดิน 2.2 คำตากล้า 0
อากาศอำนวย 2.0 วาริชภูมิ 2.3 โพนนาแก้ว เล็กน้อย
กุสุมาลย์ 3.5 เต่างอย 8.8 นิคมน้ำอูน 0
บ้านม่วง 0 กุดบาก 0 ภูพาน 0
หมายเหตุ * หมายถึง ฝนตกหนัก ** หมายถึง ฝนตกหนักมาก
สรุปสภาวะอากาศภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน
วัดปริมาณฝนมากที่สุดได้ วัดได้ 115.0 มิลลิเมตร ที่ ศูนย์บริการวิชาการด้านพืชและปัจจัยการผลิตเลย จ.เลย
อุณหภูมิสูงที่สุดของภาค วัดได้ 34.9 องศาเซลเซียส ที่ อ.กมลาไสย จ.กาฬสินธุ์
อุณหภูมิต่ำที่สุดของภาค วัดได้ 23.5 องศาเซลเซียส ที่ อ.เมือง จ.เลย
อุณหภูมิต่ำที่สุดบนยอดภู วัดได้ 15.0 องศาเซลเซียส ที่ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูหลวง อ.ภูเรือ จ.เลย
-------------------------------------------------------------------------------
สถานีอุตุนิยมวิทยาสกลนคร
โทร / โทรสาร. 042-711607

#พยากรณ์อากาศจังหวัดสกลนคร วันที่ 29 สิงหาคม 2567 มีฝนหรือฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง

29/08/2024

สรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ วันที่ 29 ส.ค. 67 เวลา 7.00 น.

1.ปริมาณฝนสะสม 24 ชม. สูงสุด ได้แก่ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ : จ.เลย (145 มม.) ภาคใต้ : จ.พังงา (133 มม.) ภาคเหนือ :จ.ลำพูน (130 มม.) ภาคตะวันออก : จ.จันทบุรี (130 มม.) ภาคกลาง : จ.ลพบุรี (72 มม.) ภาคตะวันตก : จ.เพชรบุรี (61 มม.)
สภาพอากาศวันนี้ : ร่องมรสุมพาดผ่านภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยมีกำลังค่อนข้างแรง ทำให้ประเทศไทยยังคงมีฝนตกหนักบางแห่ง โดยมีฝนตกหนักมากบางพื้นที่ในภาคเหนือตอนบน ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ฝั่งตะวันตก
คาดการณ์ : วันที่ 1-3 ก.ย. 67 ร่องมรสุมกำลังปานกลางจะเลื่อนพาดผ่านภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลางของประเทศไทย เข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงบริเวณทะเลจีนใต้ตอนกลาง ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ ภาคตะวันออก และอ่าวไทยมีกำลังปานกลาง ทำให้มีฝนเพิ่มขึ้น และมีฝนตกหนักบางแห่ง โดยมีฝนตกหนักมากบางพื้นที่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ตอนบน
2. สถานการณ์น้ำอ่างเก็บน้ำในภาพรวม : ปริมาณน้ำรวม 61% ของความจุเก็บกัก (48,876 ล้าน ลบ.ม.) ปริมาณน้ำใช้การ 43% (24,709 ล้าน ลบ.ม.)

3. ประกาศที่เกี่ยวข้อง
3. 1. สทนช.ประกาศสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ ฉบับที่ 11/2567 เรื่อง เฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก ในช่วงวันที่
24 – 30 ส.ค. 67 พบว่ามีพื้นที่เสี่ยงต้องเฝ้าระวัง ดังนี้
3.1. สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ แจ้งเตือนเฝ้าระวัง!!! น้ำทะเลหนุนสูงช่วงวันที่ 30 ส.ค. – 5 ก.ย. 67 เนื่องจากอิทธิพลของน้ำทะเลหนุนสูง และคาดว่าจะมีฝนตกหนักในบางพื้นที่ทำให้ระดับน้ำในแม่น้ำเพิ่มสูงขึ้นอาจส่งผลกระทบต่อพื้นที่ลุ่มต่ำริมแม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำแม่กลอง แม่น้ำท่าจีน และแม่น้ำบางปะกง เสี่ยงน้ำท่วมบริเวณชุมชนนอกแนวคันกั้นน้ำและแนวเขื่อนชั่วคราวบริเวณที่ไม่มีแนวป้องกันน้ำถาวร (แนวฟันหลอ) ในพื้นที่จังหวัดสมุทรสงคราม สมุทรสาคร นครปฐม นนทบุรี กรุงเทพมหานคร และสมุทรปราการ
3.2. ประกาศสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ เฝ้าระวังผลกระทบจากระดับน้ำแม่น้ำโขงเพิ่มขึ้น ช่วงวันที่ 25-31 ส.ค. 67 ขอให้เฝ้าระวังระดับน้ำเพิ่มขึ้นและเตรียมรับมือจากสถานการณ์น้ำล้นตลิ่งและท่วมขังบริเวณริมแม่น้ำโขง บริเวณ จ.เลย หนองคาย บึงกาฬ นครพนม มุกดาหาร อำนาจเจริญ และอุบลราชธานี
3.3. กรมชลประทานแจ้งปรับเพิ่มการระบายน้ำท้ายเขื่อนเจ้าพระยา เพื่อให้การบริหารจัดการน้ำเป็นไปอย่างเหมาะสมและสอดคล้องกับสถานการณ์ จึงขอแจ้งปรับเพิ่มปริมาณน้ำไหลผ่านเขื่อนเจ้าพระยา ในอัตราระหว่าง 900 - 1,400 ลบ.ม./วิ ซึ่งจะส่งผลให้ระดับน้ำเพิ่มสูงขึ้นจากปัจจุบันอีกประมาณ 0.50 - 1.50 ม.
4. แนวทางการบริหารจัดการน้ำ : ดร.สุรสีห์ กิตติมณฑล เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) เป็นประธานการประชุมหน่วยบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ ครั้งที่ 5/2567 พร้อมด้วยหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง หารือร่วมกันเพื่อวางแผนบริหารจัดการสถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่กลุ่มลุ่มน้ำเจ้าพระยาใหญ่
ในส่วนของ จ.สุโขทัย ได้มีมวลน้ำสูงสุดไหลผ่าน อ.ศรีสัชนาลัย แล้วเมื่อ 27 ส.ค. 67 มีปริมาณน้ำไหลผ่านประมาณ 1,700 ลบ.ม./วินาที ปัจจุบันลดลงเหลือ 1,300 ลบ.ม./วินาที และมีแนวโน้มลดลง สำหรับลุ่มน้ำน่านในพื้นที่ อ.เวียงสา จ.น่าน ยังมีปริมาณน้ำสูงกว่าตลิ่ง ซึ่งได้เร่งระบายน้ำออกจากพื้นที่อย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ เขื่อนสิริกิติ์ได้ปรับลดการระบายน้ำลงเพื่อช่วยลดปริมาณน้ำไหลลง แม่น้ำน่าน และรองรับน้ำจากน้ำปาดและลุ่มน้ำยมที่จะผันระบายน้ำเข้ามาที่แม่น้ำน่านในส่วนของการระบายน้ำท้ายเขื่อนเจ้าพระยาขณะนี้อยู่ในอัตรา 1,200 ลบ.ม./วินาที โดยจะควบคุมไม่ให้เกิน 1,400 ลบ.ม./วินาที ทั้งนี้ กรมชลประทานได้แจ้งเตือนให้ประชาชนที่อาจได้รับผลกระทบรับทราบล่วงหน้า
5. สถานการณ์อุทกภัย: วันที่ 28 ส.ค. 67 ในพื้นที่ 11 จังหวัด ได้แก่ จ.เชียงราย (อ.เมืองฯ เวียงชัย พญาเม็งรายเชียงแสน ป่าแดด เทิง ขุนตาล พานเชียงของ แม่สรวย แม่ลาว และ เวียงเชียงรุ้ง) จ.เชียงใหม่ (อ.แม่ออน) จ.แม่ฮ่องสอน (อ.เมืองฯ ) จ.น่าน (อ.เชียงกลาง และบ่อเกลือ) จ.พะเยา (อ.เมืองฯ ภูซาง ดอกคำใต้ เชียงม่วน และเชียงคำ) จ.อุตรดิตถ์(อ.ฟากท่า) จ.สุโขทัย (อ.เมืองฯ สวรรคโลก ศรีสำโรง และศรีสัชนาลัย) จ.นครสวรรค์ (อ.เมืองฯ) จ.เลย (อ.ท่าลี่) จ.หนองบัวลำพู (เมืองฯ) จ.สตูล (อ.มะนัง)

28/08/2024

#ศูนย์อุตุนิยมวิทยาภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน #กรมอุตุนิยมวิทยา #ดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม

28/08/2024
28/08/2024

สรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ วันที่ 28 ส.ค. 67 เวลา 7.00 น.

1.ปริมาณฝนสะสม 24 ชม. สูงสุด ได้แก่ ภาคเหนือ : จ.น่าน (178 มม.) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ : จ.เลย (138 มม.) ภาคกลาง : จ.ลพบุรี (95 มม.) ภาคตะวันออก : จ.ชลบุรี (65 มม.) ภาคตะวันตก : จ.กาญจนบุรี (73 มม.) ภาคใต้ : จ.สตูล (204 มม.)
สภาพอากาศวันนี้ : ร่องมรสุมเลื่อนลงมาพาดผ่านภาคเหนือตอนบนและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ประกอบกับมรสุมตะวันตก
เฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยมีกำลังแรงขึ้นทำให้ประเทศไทยมีฝนเพิ่มขึ้น และมีฝนตกหนักบางแห่ง โดยมีฝนตกหนักมากบางพื้นที่ในภาคเหนือตอนบน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน และภาคใต้ฝั่งตะวันตก
คาดการณ์ : วันที่ 29 ส.ค. – 2 ก.ย. 67 ร่องมรสุมจะเลื่อนลงมาพาดผ่านภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลางตอนบน ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยจะมีกำลังแรงขึ้นทำให้ประเทศไทยมีฝนเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนักบางแห่ง โดยมีฝนตกหนักมากบางพื้นที่ในภาคเหนือตอนบน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ภาคกลางด้านตะวันตก ภาคตะวันออก และภาคใต้ฝั่งตะวันตก

2. สถานการณ์น้ำอ่างเก็บน้ำในภาพรวม : ปริมาณน้ำรวม 60% ของความจุเก็บกัก (48,681 ล้าน ลบ.ม.) ปริมาณน้ำใช้การ 42% (24,513 ล้าน ลบ.ม.)

3. ประกาศที่เกี่ยวข้อง
3. 1. สทนช.ประกาศสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ ฉบับที่ 11/2567 เรื่อง เฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก ในช่วงวันที่
24 – 30 ส.ค. 67 พบว่ามีพื้นที่เสี่ยงต้องเฝ้าระวัง ดังนี้
3.1. สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ แจ้งเตือนเฝ้าระวัง!!! น้ำทะเลหนุนสูงช่วงวันที่ 30 ส.ค. – 5 ก.ย. 67 เนื่องจากอิทธิพลของน้ำทะเลหนุนสูง และคาดว่าจะมีฝนตกหนักในบางพื้นที่ทำให้ระดับน้ำในแม่น้ำเพิ่มสูงขึ้นอาจส่งผลกระทบต่อพื้นที่ลุ่มต่ำริมแม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำแม่กลอง แม่น้ำท่าจีน และแม่น้ำบางปะกง เสี่ยงน้ำท่วมบริเวณชุมชนนอกแนวคันกั้นน้ำและแนวเขื่อนชั่วคราวบริเวณที่ไม่มีแนวป้องกันน้ำถาวร (แนวฟันหลอ) ในพื้นที่จังหวัดสมุทรสงคราม สมุทรสาคร นครปฐม นนทบุรี กรุงเทพมหานคร และสมุทรปราการ
3.2. ประกาศสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ เฝ้าระวังผลกระทบจากระดับน้ำแม่น้ำโขงเพิ่มขึ้น ช่วงวันที่ 25-31 ส.ค. 67 ขอให้เฝ้าระวังระดับน้ำเพิ่มขึ้นและเตรียมรับมือจากสถานการณ์น้ำล้นตลิ่งและท่วมขังบริเวณริมแม่น้ำโขง บริเวณ จ.เลย หนองคาย บึงกาฬ นครพนม มุกดาหาร อำนาจเจริญ และอุบลราชธานี
3.3. กรมชลประทานแจ้งปรับเพิ่มการระบายน้ำท้ายเขื่อนเจ้าพระยา เพื่อให้การบริหารจัดการน้ำเป็นไปอย่างเหมาะสมและสอดคล้องกับสถานการณ์ จึงขอแจ้งปรับเพิ่มปริมาณน้ำไหลผ่านเขื่อนเจ้าพระยา ในอัตราระหว่าง 900 - 1,400 ลบ.ม./วิ ซึ่งจะส่งผลให้ระดับน้ำเพิ่มสูงขึ้นจากปัจจุบันอีกประมาณ 0.50 - 1.50 ม.

4. แนวทางการบริหารจัดการน้ำ : เมื่อวันที่ 26 สิงหาคม 2567 นายสุชาติ ทีคะสุข ผู้ว่าราชการจังหวัดสุโขทัย และนายฐนโรจน์ วรรัฐประเสริฐ ผู้อำนวยการ
ศูนย์อำนวยการน้ำแห่งชาติ สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) เข้าร่วมประชุมเตรียมความพร้อมรับสถานการณ์อุทกภัยในช่วงฤดูฝน ปี 2567 จังหวัดสุโขทัย พร้อมด้วยผู้แทนหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วม ณ ห้องศูนย์บัญชาการเหตุการณ์จังหวัดสุโขทัย ศาลาจังหวัดสุโขทัย (หลังเก่า) ชั้น 2 อำเภอเมือง จังหวัดสุโขทัย หลังจากนั้น ลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์คันกั้นน้ำขาดในพื้นที่อำเภอสวรรคโลกและอำเภอศรีสำโรง เพื่อแก้ไขปัญหาน้ำท่วมในพื้นที่ดังกล่าว ทั้งนี้ ศูนย์ส่วนหน้าฯ ได้บูรณาการร่วมกับ สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน) และสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) ในการวิเคราะห์แนวโน้มสถานการณ์อุทกภัยและทิศทางการไหลของน้ำท่วม สำหรับใช้ในการแจ้งเตือนพื้นที่เสี่ยงอุทกภัยให้กับหน่วยงานปฏิบัติและประชาชนในพื้นที่ได้รับทราบอย่างทันท่วงที เพื่อเตรียมการรับมือสถานการณ์น้ำหลาก ป้องกันและเกิดผลกระทบน้อยที่สุด
5. สถานการณ์อุทกภัย: วันที่ 27 ส.ค. 67 ในพื้นที่ 6 จังหวัด ได้แก่ จ.เชียงราย (อ.เมืองฯ เวียงชัย เชียงแสน ป่าแดด พญาเม็งราย เทิง ขุนตาล เชียงของ แม่สรวย และแม่สาย) จ.น่าน (อ.เชียงกลาง และบ่อเกลือ) จ.พะเยา (อ.เมืองฯ ภูซาง ดอกคำใต้ และเชียงคำ) จ.แพร่ (อ.เด่นชัย วังชิ้น สูงเม่น และหนองม่วงไข่) จ.อุตรดิตถ์
(อ.ฟากท่า และน้ำปาด) และจ.สุโขทัย (อ.เมืองฯ สวรรคโลก ศรีสำโรง ศรีนคร และศรีสัชนาลัย)

พยากรณ์อากาศประจำวัน พุธ ที่ 28 สิงหาคม 2567            ลักษณะอากาศทั่วไป             ร่องมรสุมเลื่อนลงมาพาดผ่านภาคเหนือ...
28/08/2024

พยากรณ์อากาศประจำวัน พุธ ที่ 28 สิงหาคม 2567
ลักษณะอากาศทั่วไป
ร่องมรสุมเลื่อนลงมาพาดผ่านภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยมีกำลังค่อนข้างแรง ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยมีฝนตกหนักบางแห่ง โดยมีฝนตกหนักมากบางพื้นที่ในภาคเหนือตอนบน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน และภาคใต้ฝั่งตะวันตก ขอให้ประชาชนในบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากฝนตกหนักและฝนที่ตกสะสม พยากรณ์อากาศบริเวณจังหวัดสกลนคร (10.00 น.วันนี้ ถึง 10.00น.วันพรุ่งนี้)
มีฝนหรือฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60 ของพื้นที่
ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม.
อุณหภูมิต่ำสุดเช้าวันนี้ วัดได้ 24.7 ซํ. คาดว่าต่ำสุดเช้าวันพรุ่งนี้ประมาณ 24 ซํ.
อุณหภูมิสูงสุดบ่ายเมื่อวานนี้ วัดได้ 32.0 ซํ. คาดว่าสูงสุดบ่ายวันนี้ประมาณ 32 ซํ.
ปริมาณฝนตั้งแต่เวลา 07.00 น.เมื่อวาน ถึงเวลา 07.00 น.วันนี้ วัดได้ 0.0 มิลลิเมตร
บริเวณจังหวัดสกลนคร ดวงอาทิตย์ตก เวลา 18.20 น. ขึ้นพรุ่งนี้เช้า เวลา 05.49 น.
ปริมาณฝนตามอำเภอต่างๆในเขต จ.สกลนคร
ปริมาณฝน(มม.) ปริมาณฝน(มม.) ปริมาณฝน(มม.)
เมือง 0.0 พังโคน 0.0 โคกศรีสุพรรณ 0.0
พรรณานิคม 0.0 ส่องดาว 8.3 เจริญศิลป์ 6.0
วานรนิวาส 0.0 สว่างแดนดิน 4.9 คำตากล้า 18.2
อากาศอำนวย 1.5 วาริชภูมิ 0.0 โพนนาแก้ว 0.0
กุสุมาลย์ 0.0 เต่างอย 0.0 นิคมน้ำอูน 0.0
บ้านม่วง 19.4 กุดบาก 0.2 ภูพาน 0.0
หมายเหตุ * หมายถึง ฝนตกหนัก ** หมายถึง ฝนตกหนักมาก
สรุปสภาวะอากาศภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน
วัดปริมาณฝนมากที่สุดได้ วัดได้ 140.3 มิลลิเมตร ที่ อ.ผาขาว จ.เลย
อุณหภูมิสูงที่สุดของภาค วัดได้ 33.0 องศาเซลเซียส ที่ อ.เมือง จ.ชัยภูมิ และ สถานีตรวจอากาศเกษตรสกลนคร อ.เมือง จ.สกลนคร
อุณหภูมิต่ำที่สุดของภาค วัดได้ 21.5 องศาเซลเซียส ที่ อ.เมือง จ.เลย
อุณหภูมิต่ำที่สุดบนยอดภู วัดได้ 15.0 องศาเซลเซียส ที่ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูหลวง อ.ภูเรือ จ.เลย
-------------------------------------------------------------------------------
สถานีอุตุนิยมวิทยาสกลนคร
โทร / โทรสาร. 042-711607

#พยากรณ์อากาศจังหวัดสกลนคร วันที่ 28 สิงหาคม 2567 มีฝนหรือฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60 ของพื้นที่

27/08/2024

พยากรณ์อากาศประจำวัน อังคาร ที่ 27 สิงหาคม 2567
ลักษณะอากาศทั่วไป
ร่องมรสุมพาดผ่านภาคเหนือตอนบน และตอนบนของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยมีกำลังแรงขึ้น ในขณะที่มีหย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณประเทศลาวตอนบน ลักษณะเช่นนี้ทำให้ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ตอนบนมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง ขอให้ประชาชนในบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากฝนตกหนักและฝนที่ตกสะสม พยากรณ์อากาศบริเวณจังหวัดสกลนคร (10.00 น.วันนี้ ถึง 10.00น.วันพรุ่งนี้)
มีเมฆเป็นบางส่วนมากกับมีฝนหรือฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 70 ของพื้นที่ และมีฝนหนักบางแห่ง
ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10 - 20 กม./ชม.
อุณหภูมิต่ำสุดเช้าวันนี้ วัดได้ 25.1 ซํ. คาดว่าต่ำสุดเช้าวันพรุ่งนี้ประมาณ 25 ซํ.
อุณหภูมิสูงสุดบ่ายเมื่อวานนี้ วัดได้ 32.5 ซํ. คาดว่าสูงสุดบ่ายวันนี้ประมาณ 32 ซํ.
ปริมาณฝนตั้งแต่เวลา 07.00 น.เมื่อวาน ถึงเวลา 07.00 น.วันนี้ วัดได้ 0.0 มิลลิเมตร
บริเวณจังหวัดสกลนคร ดวงอาทิตย์ตก เวลา 18.22 น. ขึ้นพรุ่งนี้เช้า เวลา 05.48 น.
ปริมาณฝนตามอำเภอต่างๆในเขต จ.สกลนคร
อ.พรรณานิคม 0.0 มม. อ.วานรนิวาส 60.5 มม.
อ.อากาศอำนวย 20.5 มม. อ.กุสุมาลย์ 5.2. มม.
อ.บ้านม่วง 31.3 มม. อ.พังโคน 0.0 มม.
อ.ส่องดาว 9.4 มม. อ.สว่างแดนดิน 6.8 มม
อ.วาริชภูมิ 2.0 มม อ.เต่างอย 0.0 มม.
อ.กุดบาก 0.0 มม. อ.โคกศรีสุพรรณ 0.0 มม
อ.เจริญศิลป์ 9.0 มม. อ.คำตากล้า 45.6 มม.
อ.โพนนาแก้ว 2.4 อ.นิคมน้ำอูน 3.4 มม.
อ.ภูพาน เล็กน้อย
สรุปสภาวะอากาศภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน
ยังไม่ได้รับรายงาน
-------------------------------------------------------------------------------
สถานีอุตุนิยมวิทยาสกลนคร
โทร / โทรสาร. 042-711607

27/08/2024

สรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ วันที่ 27 ส.ค. 67 เวลา 7.00 น.

1.ปริมาณฝนสะสม 24 ชม. สูงสุด ได้แก่ ภาคเหนือ : จ.พะเยา (115 มม.) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ : จ.อุดรธานี (88 มม.) ภาคกลาง : จ.สุพรรณบุรี (52 มม.) ภาคตะวันออก : จ.ปราจีนบุรี (76 มม.) ภาคตะวันตก : จ.กาญจนบุรี (37 มม.) ภาคใต้ : จ.พังงา (111 มม.)
สภาพอากาศวันนี้ : ร่องมรสุมเลื่อนลงมาพาดผ่านภาคเหนือตอนบนและตอนบนของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยมีกำลังแรงขึ้นในขณะที่มีหย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณประเทศลาวตอนบน ทำให้ประเทศไทยมีฝนเพิ่มขึ้น และมีฝนตกหนักบางแห่ง โดยมีฝนตกหนักมากบางพื้นที่ในภาคเหนือตอนบน และภาคใต้ฝั่งตะวันตก
คาดการณ์ : วันที่ 28 ส.ค. 67 หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณประเทศลาวตอนบนเคลื่อนผ่านภาคเหนือตอนบนและประเทศเมียนมา ทำให้ประเทศไทยมีฝนเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนักบางแห่ง โดยมีฝนตกหนักมากบางพื้นที่ในภาคเหนือตอนบน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ภาคกลางด้านตะวันตก ภาคตะวันออก และภาคใต้ฝั่งตะวันตก

2. สถานการณ์น้ำอ่างเก็บน้ำในภาพรวม : ปริมาณน้ำรวม 60% ของความจุเก็บกัก (48,504 ล้าน ลบ.ม.) ปริมาณน้ำใช้การ 42% (24,337 ล้าน ลบ.ม.)

3. ประกาศที่เกี่ยวข้อง
3. 1. สทนช.ประกาศสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ ฉบับที่ 11/2567 เรื่อง เฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก ในช่วงวันที่
24 – 30 ส.ค. 67 พบว่ามีพื้นที่เสี่ยงต้องเฝ้าระวัง ดังนี้
1. พื้นที่เสี่ยงน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก ดินโคลนถล่มและบริเวณชุมชนเมืองที่เกิดน้ำท่วมขังอยู่เป็นประจำบริเวณ.จ.เชียงราย เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน ตาก ลำปาง พะเยา น่าน แพร่ สุโขทัย อุตรดิตถ์ พิษณุโลก เพชรบูรณ์ เลย หนองคาย หนองบัวลำภู บึงกาฬ อุดรธานี สกลนคร นครพนม กาญจนบุรี ราชบุรี เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์นครนายก ปราจีนบุรี จันทบุรี ตราด ระนอง พังงา ภูเก็ต สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช ตรัง พัทลุง และสตูล
2. เฝ้าระวังอ่างเก็บน้ำขนาดกลางและเล็กที่มีปริมาณน้ำมากกว่าร้อยละ 80
3. เฝ้าระวังระดับน้ำเพิ่มขึ้นอย่างฉับพลันและระดับน้ำล้นตลิ่ง
ในพื้นที่ลุ่มต่ำ บริเวณแม่น้ำสายหลักและลำน้ำสาขาของ ลำน้ำงาว แม่น้ำสาย แม่น้ำอิง แม่น้ำน่าน แม่น้ำยม แม่น้ำแควน้อย แม่น้ำป่าสัก ลำน้ำก่ำ และแม่น้ำตราด
3.2. ประกาศสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ เฝ้าระวังผลกระทบจากระดับน้ำแม่น้ำโขงเพิ่มขึ้น ช่วงวันที่ 25-31 ส.ค. 67 ขอให้เฝ้าระวังระดับน้ำเพิ่มขึ้นและเตรียมรับมือจากสถานการณ์น้ำล้นตลิ่งและท่วมขังบริเวณริมแม่น้ำโขง บริเวณ จ.เลย หนองคาย บึงกาฬ นครพนม มุกดาหาร อำนาจเจริญ และอุบลราชธานี
3. 3. สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ แจ้งเตือนเฝ้าระวัง!!! น้ำทะเลหนุนสูงช่วงวันที่ 30 ส.ค. – 5 ก.ย. 67 เนื่องจากอิทธิพลของน้ำทะเลหนุนสูง และคาดว่าจะมีฝนตกหนักในบางพื้นที่ทำให้ระดับน้ำในแม่น้ำเพิ่มสูงขึ้นอาจส่งผลกระทบต่อพื้นที่ลุ่มต่ำริมแม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำแม่กลอง แม่น้ำท่าจีน และแม่น้ำบางปะกง เสี่ยงน้ำท่วมบริเวณชุมชนนอกแนวคันกั้นน้ำและแนวเขื่อนชั่วคราวบริเวณที่ไม่มีแนวป้องกันน้ำถาวร (แนวฟันหลอ) ในพื้นที่จังหวัดสมุทรสงคราม สมุทรสาคร นครปฐม นนทบุรี กรุงเทพมหานคร และสมุทรปราการ
3.4. กรมชลประทานแจ้งปรับเพิ่มการระบายน้ำท้ายเขื่อนเจ้าพระยา เพื่อให้การบริหารจัดการน้ำเป็นไปอย่างเหมาะสมและสอดคล้องกับสถานการณ์ จึงขอแจ้งปรับเพิ่มปริมาณน้ำไหลผ่านเขื่อนเจ้าพระยา ในอัตราระหว่าง 900 - 1,400 ลบ.ม./วิ ซึ่งจะส่งผลให้ระดับน้ำเพิ่มสูงขึ้นจากปัจจุบันอีกประมาณ 0.50 - 1.50 ม.

4. การบริหารจัดการน้ำ : วานนี้ (26 ส.ค. 67) นายจักรพงษ์ แสงมณี รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมประเมินติดตามสถานการณ์น้ำเร่งด่วน เพื่อติดตามสถานการณ์อุทกภัยในขณะนี้และการให้ความช่วยเหลือ โดยปริมาณฝนจะลดลงในช่วงวันที่ 29–31 ส.ค. 67 สทนช. ได้บูรณาการหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งพร่องน้ำจากแหล่งกักเก็บน้ำที่มีน้ำมากซึ่งต้องบริหารจัดการร่วมกับจังหวัดที่อยู่ด้านท้ายน้ำเพื่อป้องกันผลกระทบที่จะเกิดขึ้น รวมถึงเร่งระบายน้ำในลำน้ำเพื่อเตรียมรองรับปริมาณฝนในช่วงหลังจากนี้
สำหรับปริมาณน้ำจากลุ่มน้ำยม จะใช้การบริหารจัดการน้ำผ่านประตูระบายน้ำบ้านหาดสะพานจันทร์ เพื่อระบายน้ำออกทางคลองต่าง ๆ พร้อมทั้งได้รื้อทางรถไฟที่กีดขวางทางระบายน้ำ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำคลองยม–น่าน และปริมาณน้ำส่วนที่เหลือจะระบายมายังท้ายประตูระบายน้ำบ้านหาดสะพานจันทร์ไหลผ่านตัวเมือง จ.สุโขทัย พิษณุโลก และพิจิตรตามลำดับ ทั้งนี้ จะมีการผันน้ำส่วนหนึ่งเข้าไปในทุ่งรับน้ำ โดยจะมีการประกาศแจ้งเตือนประชาชนในพื้นที่ลุ่มต่ำให้เตรียมรับมือ และจะพิจารณาระบายน้ำในทุ่งลงไปสู่แม่น้ำน่านหากระดับน้ำในแม่น้ำไม่สูงนัก

5. สถานการณ์อุทกภัย: วันที่ 26 ส.ค. 67 ในพื้นที่ 5 จังหวัด ได้แก่ จ.เชียงราย (อ.เมืองฯ เวียงชัย เชียงแสน ป่าแดด แม่สาย พญาเม็งราย แม่จัน เทิง เชียงของ เวียงแก่น เวียงป่าเป้า พาน แม่สรวย แม่ลาว และขุนตาล) จ.น่าน (อ.เมืองฯ เวียงสา เชียงกลาง และภูเพียง) จ.พะเยา (อ.เมืองฯ ภูซาง ดอกคำใต้ เชียงม่วน เชียงคำ และปง) จ.แพร่ (อ. เมืองฯ ร้องกวาง สูงเม่น หนองม่วงไข่ และสอง) จ.สุโขทัย (อ.เมืองฯ สวรรคโลก ศรีสำโรง และศรีสัชนาลัย)

กับ ประชาสัมพันธ์จังหวัดสกลนคร – ฉันได้มีชื่อในรายการผู้มีส่วนร่วมประจำสัปดาห์เพราะเป็นหนึ่งในผู้มีส่วนร่วมสูงสุดของเขา!...
26/08/2024

กับ ประชาสัมพันธ์จังหวัดสกลนคร – ฉันได้มีชื่อในรายการผู้มีส่วนร่วมประจำสัปดาห์เพราะเป็นหนึ่งในผู้มีส่วนร่วมสูงสุดของเขา! 🎉

26/08/2024

📌 รายงานคาดการณ์และแจ้งเตือนภัย ประจำวันที่ 26 สิงหาคม 2567 เวลา 18.00 น.

⚠️ เตรียมพร้อมรับสถานการณ์น้ำล้นตลิ่ง น้ำท่วมขัง
➡️ ภาคเหนือ จ.สุโขทัย (อ.เมืองฯ ศรีสัชนาลัย สวรรคโลก ศรีสำโรง)

📢 ขอให้ประชาชนในพื้นที่เตรียมพร้อมรับสถานการณ์ และปฏิบัติตามคำแนะนำของหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง เตรียมพร้อมอพยพกลุ่มเปราะบางออกจากพื้นที่น้ำท่วม และขนย้ายสิ่งของขึ้นที่สูง
รวมถึงเตรียมถุงฉุกเฉิน อุปกรณ์ส่องสว่าง และกระสอบทราย พร้อมตรวจสอบระบบไฟฟ้า เพื่อป้องกันอันตรายจากกระแสไฟฟ้ารั่ว ตลอดจนงดกิจกรรมและหลีกเลี่ยงบริเวณที่มีน้ำท่วมสูง

🔺 พื้นที่เฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และน้ำท่วมขังในระยะสั้น
➡️ ภาคเหนือ จ.แม่ฮ่องสอน (อ.แม่สะเรียง) เชียงราย (อ.แม่สาย เชียงของ เวียงแก่น) ลำพูน (อ.ลี้) พะเยา (อ.ภูซาง เชียงคำ ปง) แพร่ (อ.ลอง วังชิ้น) และน่าน (อ.เชียงกลาง ท่าวังผา ปัว บ่อเกลือ)
➡️ ภาคใต้ จ.นครศรีธรรมราช (อ.ทุ่งสง ช้างกลาง สิชล) ระนอง (อ.เมืองฯ กะเปอร์ สุขสำราญ) พังงา (อ.ท้ายเหมือง คุระบุรี ตะกั่วป่า กะปง) และภูเก็ต (ทุกอำเภอ)

🔺 พื้นที่เฝ้าระวังน้ำล้นตลิ่ง น้ำท่วมขัง
➡️ ภาคเหนือ จ.เชียงราย (อ.เมืองฯ แม่สาย แม่จัน เวียงชัย เชียงแสน ป่าแดด เชียงของ เทิง พญาเม็งราย ขุนตาล เวียงแก่น เวียงป่าเป้า พาน เวียงเชียงรุ้ง แม่ลาว) พะเยา (อ.เมืองฯ ภูซาง ปง เชียงม่วน ดอกคำใต้ เชียงคำ) แพร่ (อ.เมืองฯ ร้องกวาง สอง สูงเม่น หนองม่วงไข่ วังชิ้นเด่นชัย) น่าน (อ.เมืองฯ เวียงสา) และพิษณุโลก (อ.บางระกำ นครไทย)
➡️ ภาคกลาง จ.อ่างทอง (อ.ป่าโมก) และพระนครศรีอยุธยา (อ.บางบาล เสนา ผักไห่)

📢 ขอให้ติดตามข้อมูลข่าวสารจากทางราชการ ระวังอันตรายจากสัตว์และแมลงมีพิษ อันตรายจากกระแสไฟฟ้าโดยเฉพาะบริเวณน้ำท่วมแนวสายไฟฟ้า เสาไฟฟ้า หรือวัตถุสื่อนำกระแสไฟฟ้า ระวังการขับขี่พาหนะบริเวณน้ำไหลผ่านทาง เพื่อความปลอดภัยควรงดการท่องเที่ยวในพื้นที่ถ้ำและน้ำตก........................................

🔺 พื้นที่เฝ้าระวังระดับแม่น้ำโขงเพิ่มสูงขึ้น
➡️ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จ.เลย (อ.เชียงคาน ปากชม) หนองคาย (อ.เมืองฯ สังคม ศรีเชียงใหม่ ท่าบ่อ โพนพิสัย รัตนวาปี) บึงกาฬ (อ.เมืองฯ ปากคาด บุ่งคล้า บึงโขงหลง) และนครพนม (อ.เมืองฯ บ้านแพง ท่าอุเทน ธาตุพนม)

📢 ขอให้ติดตามข้อมูลข่าวสารอย่างใกล้ชิด พร้อมระวังผลกระทบของระดับน้ำที่เพิ่มสูงขึ้นและไหลเชี่ยว อาทิ การคมนาคม การประกอบกิจการในแม่น้ำ รวมถึงขอให้ระวังการขับขี่ยานพาหนะผ่านทางบริเวณแม่น้ำล้นตลิ่ง........................................

🔺 พื้นที่เฝ้าระวังดินถล่ม
➡️ภาคเหนือ จ.เชียงราย (อ.เชียงของ) และน่าน (อ.ท่าวังผา)

📢 ขอให้ติดตามข้อมูลข่าวสารอย่างใกล้ชิด หลีกเลี่ยงบริเวณพื้นที่เชิงเขาเสี่ยงภัยดินถล่มและเส้นทางที่มีกระแสน้ำไหลเชี่ยวหรือไม่อยู่ใกล้ลำน้ำ พร้อมวางแผนอพยพไปตามเส้นทางและสถานที่ปลอดภัย ให้พ้นจากแนวการไหลของดิน.............................………

#ปภ #แจ้งเตือน #ข่าว #เตือนภัย
👉 raining.disaster.go.th
☎️สายด่วน 1784
🔶FB : กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย DDPM
🔶Twitter
🔶Line
🔶YouTube DDPMNews รู้ทันภัยกับ ปภ.

26/08/2024

สรุปลักษณะอากาศตั้งแต่เวลา 07.00 น.วานนี้ ถึง 07.00 น.
ประจำวันจันทร์ที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2567
#ศูนย์อุตุนิยมวิทยาภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน
#กรมอุตุนิยมวิทยา
#ดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม

พยากรณ์อากาศประจำวัน จันทร์ ที่ 26 สิงหาคม 2567            ลักษณะอากาศทั่วไป                    ร่องมรสุมพาดผ่านตอนบนของ...
26/08/2024

พยากรณ์อากาศประจำวัน จันทร์ ที่ 26 สิงหาคม 2567
ลักษณะอากาศทั่วไป
ร่องมรสุมพาดผ่านตอนบนของภาคเหนือ และประเทศลาวตอนบน เข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณประเทศเวียดนามตอนบน ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย เริ่มมีกำลังแรงขึ้นเป็นกำลังปานกลาง ทำให้ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนมีฝนตกหนักบางแห่ง
พยากรณ์อากาศบริเวณจังหวัดสกลนคร (10.00 น.วันนี้ ถึง 10.00น.วันพรุ่งนี้)
มีฝนหรือฝนฟ้าคะนองร้อยละ 80 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง
ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม.
อุณหภูมิต่ำสุดเช้าวันนี้ วัดได้ 25.5 ซํ. คาดว่าต่ำสุดเช้าวันพรุ่งนี้ประมาณ 26 ซํ.
อุณหภูมิสูงสุดบ่ายเมื่อวานนี้ วัดได้ 32.7 ซํ. คาดว่าสูงสุดบ่ายวันนี้ประมาณ 35 ซํ.
ปริมาณฝนตั้งแต่เวลา 07.00 น.เมื่อวาน ถึงเวลา 07.00 น.วันนี้ วัดได้ 21.3 มิลลิเมตร
บริเวณจังหวัดสกลนคร ดวงอาทิตย์ตก เวลา 18.22 น. ขึ้นพรุ่งนี้เช้า เวลา 05.49 น.
ปริมาณฝนตามอำเภอต่างๆในเขต จ.สกลนคร
ปริมาณฝน(มม.) ปริมาณฝน(มม.) ปริมาณฝน(มม.)
เมือง 21.3 พังโคน โคกศรีสุพรรณ
พรรณานิคม เล็กน้อย ส่องดาว เจริญศิลป์
วานรนิวาส เล็กน้อย สว่างแดนดิน 0.5 คำตากล้า 25.9
อากาศอำนวย วาริชภูมิ โพนนาแก้ว
กุสุมาลย์ 16.9 เต่างอย 6.2 นิคมน้ำอูน 1.2
บ้านม่วง 41.0 กุดบาก 2.4 ภูพาน 10.5
หมายเหตุ * หมายถึง ฝนตกหนัก ** หมายถึง ฝนตกหนักมาก
สรุปสภาวะอากาศภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน
วัดปริมาณฝนมากที่สุดได้ วัดได้ 170.0 มิลลิเมตร ที่ อ.กุดจับ จ.อุดรธานี
อุณหภูมิสูงที่สุดของภาค วัดได้ 34.5 องศาเซลเซียส ที่ อ.เมือง จ.ชัยภูมิ
อุณหภูมิต่ำที่สุดของภาค วัดได้ 22.3 องศาเซลเซียส ที่ อ.โกสุมพิสัย จ.มหาสารคาม
อุณหภูมิต่ำที่สุดบนยอดภู วัดได้ 16.0 องศาเซลเซียส ที่ เขตรักษาพธุ์สัตว์ป่าภูหลวง อ.ภูเรือ จ.เลย
-------------------------------------------------------------------------------
สถานีอุตุนิยมวิทยาสกลนคร
โทร / โทรสาร. 042-711607

#พยากรณ์อากาศจังหวัดสกลนคร วันที่ 26 สิงหาคม 2567 มีฝนหรือฝนฟ้าคะนองร้อยละ 80 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง

26/08/2024

สรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ วันที่ 26 ส.ค. 67 เวลา 7.00 น.

1.ปริมาณฝนสะสม 24 ชม. สูงสุด ได้แก่ ภาคเหนือ : จ.สุโขทัย (76 มม.) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ : จ.ขอนแก่น (94 มม.) ภาคกลาง : จ.สิงห์บุรี (54 มม.) ภาคตะวันออก : จ.จันทบุรี (47 มม.) ภาคตะวันตก : จ.กาญจนบุรี (30 มม.) ภาคใต้ : จ.พังงา (146 มม.)
สภาพอากาศวันนี้ : อิทธิพลจากร่องมรสุมพาดผ่านภาคเหนือตอนบนและประเทศลาวตอนบน ประกอบกับที่มรสุมตะวันตกเฉียงใต้
ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยเริ่มมีกำลังแรงขึ้นเป็นกำลังปานกลาง ทำให้ประเทศไทยมีฝนเพิ่มขึ้น และมีฝนตกหนักบางแห่ง โดยมีฝนตกหนักมากบางพื้นที่ในภาคเหนือตอนบน และภาคใต้ฝั่งตะวันตก
คาดการณ์ : ช่วงวันที่ 27 - 28 ส.ค. 67 หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณประเทศลาวตอนบนเคลื่อนผ่านภาคเหนือตอนบนและประเทศเมียนมา ทำให้ประเทศไทยมีฝนเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนักบางแห่ง โดยมีฝนตกหนักมากบางพื้นที่ในภาคเหนือตอนบน ภาคตะวันออก เฉียงเหนือตอนบน ภาคกลางด้านตะวันตก ภาคตะวันออก และภาคใต้ฝั่งตะวันตก

3. 1. สทนช.ประกาศสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ ฉบับที่ 11/2567 เรื่อง เฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก ในช่วงวันที่
24 – 30 ส.ค. 67 พบว่ามีพื้นที่เสี่ยงต้องเฝ้าระวัง ดังนี้
1. พื้นที่เสี่ยงน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก ดินโคลนถล่มและบริเวณชุมชนเมืองที่เกิดน้ำท่วมขังอยู่เป็นประจำบริเวณ.จ.เชียงราย เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน ตาก ลำปาง พะเยา น่าน แพร่ สุโขทัย อุตรดิตถ์ พิษณุโลก เพชรบูรณ์ เลย หนองคาย หนองบัวลำภู บึงกาฬ อุดรธานี สกลนคร นครพนม กาญจนบุรี ราชบุรี เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์นครนายก ปราจีนบุรี จันทบุรี ตราด ระนอง พังงา ภูเก็ต สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช ตรัง พัทลุง และสตูล
2. เฝ้าระวังอ่างเก็บน้ำขนาดกลางและเล็กที่มีปริมาณน้ำมากกว่าร้อยละ 80
3. เฝ้าระวังระดับน้ำเพิ่มขึ้นอย่างฉับพลันและระดับน้ำล้นตลิ่ง
ในพื้นที่ลุ่มต่ำ บริเวณแม่น้ำสายหลักและลำน้ำสาขาของ ลำน้ำงาว แม่น้ำสาย แม่น้ำอิง แม่น้ำน่าน แม่น้ำยม แม่น้ำแควน้อย แม่น้ำป่าสัก ลำน้ำก่ำ และแม่น้ำตราด
2. ประกาศสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ เฝ้าระวังผลกระทบจากระดับน้ำแม่น้ำโขงเพิ่มขึ้น ช่วงวันที่ 25-31 ส.ค. 67 ขอให้
เฝ้าระวังระดับน้ำเพิ่มขึ้นและเตรียมรับมือจากสถานการณ์น้ำล้นตลิ่ง
และท่วมขังบริเวณริมแม่น้ำโขง บริเวณ จ.เลย หนองคาย บึงกาฬ นครพนม มุกดาหาร อำนาจเจริญ และอุบลราชธานี

4. การบริหารจัดการน้ำ : สทนช. ติดตามสถานการณ์น้ำในพื้นที่จ.สุโขทัย ปัจจุบันปริมาณน้ำจาก จ.แพร่ ได้ไหลลงมาถึง จ.สุโขทัย และเกิดสถานการณ์น้ำหลากใน
4 อ. ได้แก่ อ.เมืองฯ สวรรคโลก ศรีสำโรง และศรีสัชนาลัย
ปัจจุบันปริมาณน้ำในแม่น้ำยม ที่ไหลผ่าน อ.ศรีสัชนาลัย จ.สุโขทัย มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น ส่วนที่ตัวเมืองสุโขทัย ระดับน้ำแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นแต่ยังคงต่ำกว่ากำแพงป้องกันตลิ่ง ทั้งนี้ กรมชลประทาน ได้บริหารจัดการน้ำเหนือ โดยการหน่วงน้ำไว้ที่เหนือประตูระบายน้ำบ้านหาดสะพานจันทร์ อ.สวรรคโลก และใช้คลองหกบาท คลองยมน่าน แม่น้ำยมสายเก่า และแม่น้ำน่าน ช่วยตัดยอดน้ำหลากก่อนที่จะเข้าสู่ตัวเมืองสุโขทัย พร้อมควบคุมการระบายน้ำผ่าน ปตร.บ้านหาดสะพานจันทร์
ลงสู่แม่น้ำยมสายหลัก ให้เกิดผลกระทบน้อยที่สุด

5. สถานการณ์อุทกภัย: วันที่ 25 ส.ค. 67 ในพื้นที่ 7 จังหวัด ได้แก่ จ.เชียงราย (อ.เวียงชัย เชียงแสน ป่าแดด พญาเม็งราย แม่สาย แม่จัน เทิง เชียงของ เวียงแก่น เวียงป่าเป้า และขุนตาล) จ.น่าน (อ.เมืองฯ ปัว เวียงสา เชียงกลาง ทุ่งช้าง บ้านหลวง ท่าวังผา นาน้อย เฉลิมพระเกียรติ และภูเพียง บ่อเกลือ) จ.พะเยา (อ.เมืองฯ ภูซาง ดอกคำใต้ เชียงม่วน เชียงคำ และปง) จ.แพร่ (อ.ร้องกวาง เมืองฯ สูงเม่น หนองม่วงไข่ และสอง) จ.สุโขทัย (อ.เมืองฯ สวรรคโลก ศรีสำโรง และศรีสัชนาลัย) จ.เพชรบูรณ์ (อ.เมืองฯ วังโป่ง และชนแดน) และจ.นครศรีธรรมราช (อ.ฉวาง)

ที่อยู่

ที่ทำการชั่วคราว 197/7 หนองมันปลา 2 ซ. 10 ต. ธาตุเชิงชุม อ. เมืองสกลนคร จ. สกลนคร
Sakhon Nakhon
47000

เว็บไซต์

แจ้งเตือน

รับทราบข่าวสารและโปรโมชั่นของ สมาคมนักวิทยุสมัครเล่นจังหวัดสกลนคร HS4ASผ่านทางอีเมล์ของคุณ เราจะเก็บข้อมูลของคุณเป็นความลับ คุณสามารถกดยกเลิกการติดตามได้ตลอดเวลา

วิดีโอทั้งหมด

แชร์


ครีเอเตอร์ดิจิทัล อื่นๆใน Sakhon Nakhon

แสดงผลทั้งหมด

คุณอาจจะชอบ