![🫶🏼☕️](https://img5.medioq.com/428/712/913839994287125.jpg)
23/01/2025
🫶🏼☕️
การเดินทางของกลิ่นรส
- ความอร่อยของกาแฟอยู่ทีไหน อธิบายด้วยงานวิจัยประสาทวิทยา
Aroma + Taste = Flavor อันนี้เป็๋นพื้นฐานที่รู้กันดีอยู่แล้ว
ส่วนความอร่อยนั้นขึ้นอยู่กับว่า Aroma Taste และ Flavor นั้นทำงานกับผู้ดื่มอย่างไร ซึ่งเกี่ยวข้องกับการตีความผ่านประสบการณ์ ความทรงจำ วัฒนธรรม เรื่องราว และอื่นๆอีกมากมาย
แต่ในทางประสาทวิทยามีคำอธิบายเรื่องนี้
การเดินทางของกลิ่นรส: เรื่องเล่าจากสมอง
ในโลกแห่งประสาทสัมผัส การรับรู้กลิ่นรสไม่ได้เป็นเพียงแค่การสัมผัสผ่านลิ้น และจมูก หากแต่เป็นการเดินทางอันน่าพิศวงของสัญญาณประสาทที่เชื่อมโยงระหว่างความทรงจำ อารมณ์ และประสบการณ์ชีวิต
เมื่อกลิ่น Aroma และรสชาติ Tatse มาพบกัน สมองไม่เพียงแต่รับรู้ แต่ยังจดจำและสร้างความหมายผ่านวงจรประสาทอันซับซ้อน กลิ่นเพียงอย่างเดียวจะกระตุ้นพื้นที่สมองที่เกี่ยวข้องกับความทรงจำ อารมณ์ และการรับรู้ รสชาติล้วนมีเส้นทางการสื่อสารของตนเองในสมอง แต่เมื่อทั้งสองมารวมกัน นั่นคือเมื่อใดที่กลิ่นและรสผสานเป็นหนึ่ง เกิดการกระตุ้นสมองอย่างที่นักประสาทวิทยาเรียกว่า "มากกว่าผลรวม"
จากการศึกษาของSeuber และคณะ ด้วยเทคโนโลยีสแกนการทำงานของสมอง (Functional MRI)พบว่าเมื่อกลิ่นและรสผสานกัน สมองไม่เพียงกระตุ้นพื้นที่หลักของการรับรู้กลิ่นและรสชาติ แต่ยังเชื่อมโยงไปยังพื้นที่เกี่ยวกับอารมณ์ ความทรงจำ และการตัดสินคุณค่า
โดยการทดลองนี้ได้ศึกษาการทำงานของสมอง 3 เงื่อนไขด้วยกัน คือ
1 ได้รับสารที่มีแต่กลิ่นไม่มีรส
2 ได้ร้บสารที่มีแต่รสช่าติ แต่ไม่มีกลิ่น
3. ได้รับสารที่มีทั้งกลิ่นและรสชาติ
เมื่อสมองได้รับกลิ่นอย่างเดียว (ได้สารที่มีแต่กลิ่น ไม่มีรส) สมองส่วนที่ทำงานก็คือ primary olfactory cortex รวมไปถึง temporal piriform cortex และ amygdala ทำงานแปรผลว่าได้กลิ่น
และเมื่อได้สารที่มีแต่รสอย่างเดียว ไม่มีกลิ่น สมองส่วนที่ถูกกระตุ้นก็คือ post central gyrus ซึ่งเป็น primary gustatory cortex ทำงานแปรผลแยกแยะรสชาติ เปรี้ยว หวาน เค็ม ขม อูมามิ
เมื่อได้สารที่มีกลิ่น+มีรสชาติ สมองที่ถูกกระต้นไม่ได้มีเพียง primary olfactory cortex temporal piriform cortex และ amygdala รวมกับ primary gustatory cortex ( เหมือนสองแบบด้านบนบวกกัน) เท่านั้น
แต่มีการกระตุ้นต่อไปยัง
Mid-dorsal Insula: ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางบูรณาการข้อมูลจากประสาทสัมผัสและอารมณ์ความรู้สึก
Medial Orbitofrontal Cortex (mOFC): มีบทบาทสำคัญในการประมวลผลคุณค่าทางอารมณ์ของความทรงจำ และการตัดสินใจที่เกี่ยวข้องกับอารมณ์ โดยเฉพาะเมื่อเกี่ยวกับกลิ่นและรสชาติ
Anterior Cingulate Cortex (ACC): ช่วยในการประมวลผลอารมณ์และความทรงจำที่เกี่ยวข้องกับตนเอง รวมถึงการควบคุมความสนใจและการตอบสนองทางอารมณ์
Frontal Operculum: มีส่วนในการรับรู้และประมวลผลรสชาติ รวมถึงการเชื่อมโยงประสบการณ์การรับประทานอาหารกับความทรงจำ
Lateral Entorhinal Cortex: ทำหน้าที่เป็นสะพานเชื่อมระหว่างระบบการดมกลิ่นกับฮิปโปแคมปัส ซึ่งมีความสำคัญในการสร้างและเรียกคืนความทรงจำ
เกิดการกระตุ้นสมองอย่างที่นักประสาทวิทยาเรียกว่า "มากกว่าผลรวม"
ตรงนี้เองที่ 1+1 ไม่เท่ากับ 2 แต่ 1+1 อาจจะเป็น 3 ,4,5,6
Aroma + Taste = Flavor + Memory + Emotional --> Experience
ตรงนี่้เองถูกอธิบายเรื่อง ความอร่อย ในสมองของเรา
ความอร่อยจึงไม่ใช่เรื่องของรสชาติล้วนๆ แต่เป็นการบรรจบกันของความทรงจำ ประสบการณ์เก่าๆ และอารมณ์ที่ถูกบันทึกไว้ในสมอง นั่นคือเหตุผลว่าทำไมไข่เจียวของแม่ถึงอร่อยที่สุดสำหรับเรา หรือเหตุใดรสชาติบางอย่างถึงมีความหมายเฉพาะตัว
ความอร่อยจึงเป็นเรื่องส่วนตัวอย่างแท้จริง มันไม่เพียงขึ้นอยู่กับรสสัมผัสบนลิ้น แต่ยังขึ้นกับชุดความทรงจำที่สั่งสมมาตลอดชีวิต แต่ละคนมี "แผนที่ความอร่อย" เป็นของตนเอง สะท้อนผ่านประสบการณ์อันเป็นเอกลักษณ์
Proust Phenomena
Prost Phenomena คืออะไร?
ปรากฏการณ์พรุสต์: เมื่อความทรงจำหวนคืน
ในโลกของความทรงจำและประสบการณ์ทางประสาทสัมผัส มีปรากฏการณ์ที่น่าสนใจอย่างหนึ่งเรียกว่า "ปรากฏการณ์พรุสต์" ซึ่งตั้งชื่อตามนักเขียนชาวฝรั่งเศสชื่อ มาร์แซล พรุสต์ ปรากฏการณ์นี้อธิบายถึงการที่ความทรงจำพรั่งพรูกลับมาอย่างฉับพลันและโดยไม่ตั้งใจ (Involuntary Memory หรือ ความทรงจำอัตโนมัติ คือการสั่งการของสมองให้หวนนึกถึงความทรงจำอะไรบางอย่างในอดีตโดยอัตโนมัติขึ้นมาอย่างเด่นชัดจากการทำอะไรบางอย่างหรือรู้สึกสัมผัสถึงอะไรบางอย่าง โดยที่ตัวเราเองนั้นไม่ได้เป็นคนสั่งหรือไม่สามารถควบคุมมันได้ )
เมื่อถูกกระตุ้นด้วยสิ่งเร้าทางประสาทสัมผัส โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลิ่น แม้ว่าจะสามารถเกิดขึ้นกับประสาทสัมผัสอื่นๆ ได้เช่นกัน
ที่มาทางวรรณกรรม
ปรากฏการณ์นี้ได้ชื่อมาจากตอนหนึ่งในนวนิยายเรื่อง "การตามหาเวลาที่สูญหาย" (À la recherche du temps perdu) ของพรุสต์ ในเหตุการณ์นั้น ตัวละครเอกได้ลิ้มรสขนมมาดเลน Madeleine จุ่มชา และทันใดนั้น ความทรงจำในวัยเด็กเกี่ยวกับเช้าวันอาทิตย์ที่บ้านป้าในเมืองคอมเบรย์ก็หลั่งไหลกลับมา พร้อมกับรายละเอียดมากมายที่เคยถูกเก็บซ่อนไว้ในความทรงจำ
โดยตัว Prous tนั้นกล่าวว่า ความทรงจำอัตโนมัติเหล่านี้นั้นคือ “แก่นแท้แห่งอดีต” ที่ขาดหายไปจากการนึกถึงอดีตแบบปกติ โดยในนิยายของเขา เขาได้เล่าถึงเหตุการณ์ที่เขานั้นได้กิน Madeleine ที่ชุ่มไปด้วยน้ำชา แล้วความทรงจำในวัยเด็กของเขานั้นที่ได้กิน Madeleine ชุ่มน้ำชากับคุณป้าของเขาก็ได้ถูก “เผยออกมา” และจากประกายความทรงจำเล็กๆนี้นั้น Proust ก็สามารถได้หวนนึกถึงบ้านเมืองในสมัยเด็กๆของเขาด้วย และได้กลายเป็นธีมหลักแห่งการหวนนึกถึงประสบการณ์ในอดีตของนิยาย In Search of Lost Time
วิทยาศาสตร์เบื้องหลัง
ประสาทวิทยาสมัยใหม่ได้เผยให้เห็นว่าทำไมสิ่งเร้าทางประสาทสัมผัส โดยเฉพาะกลิ่น จึงสามารถกระตุ้นความทรงจำได้อย่างทรงพลัง บัลบ์ประสาทการดมกลิ่น (olfactory bulb) ซึ่งทำหน้าที่ประมวลผลกลิ่น มีการเชื่อมต่อโดยตรงกับอะมิกดาลาและฮิปโปแคมปัส ซึ่งเป็นส่วนสำคัญของสมองที่เกี่ยวข้องกับอารมณ์และความทรงจำ ต่างจากประสาทสัมผัสอื่นๆ ที่ต้องผ่านทาลามัสก่อน ข้อมูลเกี่ยวกับกลิ่นมีเส้นทางตรงไปยังศูนย์อารมณ์และความทรงจำ นี่จึงอธิบายได้ว่าทำไมความทรงจำที่ถูกกระตุ้นด้วยกลิ่นจึงมักรู้สึกฉับพลันและเต็มไปด้วยอารมณ์
กลิ่นสามารถกระตุ้น limbic system ได้โดยตรง ผ่านเส้นทางหลักคือ:
กลิ่น → Olfactory Receptor Neurons → Olfactory Bulb → Amygdala (ส่วนหนึ่งของ limbic system) โดยตรง
นี่เป็นเส้นทางที่เร็วที่สุดและเป็นเอกลักษณ์ของระบบดมกลิ่น เพราะไม่ต้องผ่าน thalamus ก่อนเหมือนประสาทสัมผัสอื่นๆ
ลักษณะพิเศษของการเชื่อมต่อนี้คือเป็นประสาทสัมผัสเดียวที่เชื่อมตรงกับ limbic system โดยไม่ผ่าน thalamus
มีการเชื่อมต่อน้อยจุดที่สุด (few synapses) เมื่อเทียบกับประสาทสัมผัสอื่น
ทำให้การตอบสนองต่อกลิ่นเกิดขึ้นเร็วและเชื่อมโยงกับอารมณ์ได้มาก
นี่เป็นเหตุผลที่อธิบายว่าทำไมกลิ่นจึงสามารถกระตุ้นความทรงจำและอารมณ์ได้อย่างรวดเร็วและรุนแรง เช่นในกรณีของ Proust Phenomenon
Proust Phenomenon กับสรีรวิทยา
การเปลี่ยนแปลงคุณภาพกลิ่นสามารถสร้างคุณภาพรสชาติที่เข้มข้นยิ่งขึ้น ตัวอย่างเช่น กลิ่นที่เชื่อมโยงกับความเค็ม (เช่น ปลาซาร์ดีน) สามารถเพิ่มความรู้สึกถึงความเค็มในอาหาร กระบวนการทางความคิดหลายอย่าง รวมถึงความสนใจ ภาษา ความทรงจำ การเรียนรู้ และเมตาคอกนิชัน มีอิทธิพลต่อการรับรู้ทางเคมี
การกระตุ้นความทรงจำด้วยกลิ่น
กลิ่นมีพลังในการกระตุ้นความทรงจำส่วนบุคคลอย่างมาก ในหลายๆ ด้านมีพลังมากกว่าประสาทสัมผัสทางสายตาหรือสัมผัสอื่นๆ กลิ่นที่ซ้ำๆ ทรงพลัง และแปลกใหม่ มีแนวโน้มสูงในการสร้างความสัมพันธ์ทางอารมณ์กับเหตุการณ์ ซึ่งมักเกิดขึ้นบ่อยในช่วงวัยเด็ก เนื่องจากประสบการณ์ในวัยเด็กส่วนใหญ่มีความหมายและแปลกใหม่ สนับสนุนสมมติฐานของพรูสต์ ความทรงจำที่ถูกกระตุ้นโดยกลิ่นจะมีอารมณ์มากกว่า และมักมีรายละเอียดของเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องมากกว่า
กาแฟ อาหารและการกระตุ้นความทรงจำด้วยรสชาติ
งานวิจัยยังได้ศึกษาอีกด้านของปรากฏการณ์พรุสต์ นั่นคือ รสชาติ หรือการรับรสชาติ "ความทรงจำแบบอาลัย (Nostagic Memory) ทางรสชาติ" ตามที่ฮอลซ์แมนอธิบาย มีความเชื่อมโยงที่น่าสนใจระหว่างความทรงจำและอาหาร งานทฤษฎีล่าสุดเสนอว่าความทรงจำแบบอาลัยทางรสชาติขยายขอบเขตออกไปมากกว่าการชิมอาหาร ตัวอย่างเช่น การอ่านหนังสือทำอาหารสามารถกระตุ้นความทรงจำแบบอาลัยทางรสชาติ โดยเฉพาะเมื่อสูตรอาหารถูกแบ่งปันกับคนใกล้ชิด เป็นการสร้างความผูกพันทางสังคมที่ดี
(อันนี้เราเขียนเอง) ในทางกาแฟ การอธิบายเรื่องราวความเป็นมาของกาแฟและส่วนผสมต่างๆ มีผลต่อความรับรู้กลิ่นรสได้เหมือนกัน
สรุป
การรับกลิ่นรสทำงานผ่านประสาทสัมผัสและความทรงจำ
กลิ่น (aroma) ที่ได้รับจากโพรงจมูก และโพรงปาก กับรส (taste) ที่ได้รับบนปุ่มรับรส รสสัมผัส รวมกันเป็นกลิ่นรส (flavour) รูปทรงสีสรร บรรยากาศ เดินทางไปพร้อมกันไปในวงจรกระแสประสาท (ไซแนปส์)
ไปยังความทรงจำที่ถูกเก็บไว้ในลิ้นชัก ไปยังอดีตของประสบการณ์อันแสนไกลให้เปิดเผยตัวขึ้นมาอีกครั้ง
เช่นเดียวกับกลิ่นรสใหม่ที่ไม่เคยสัมผัส จะปูทางเดินสร้างวงจรทางเดินขึ้นใหม่ เป็นพื้นที่ใหม่ที่รอการมาเยือน
หากมีการฝึกฝนชิมกลิ่นรสมากๆ แผนที่ของกลิ่นเราจะขยายออกไป มีหลายลิ้นชักในสมอง
หากเรามีความรู้เรื่องประสาทสวิทยา และให้ความสำคัญกับประสบการณ์
เราสาม่ารถออกแบบประสบการณ์ให้ผู้ดิ่มกาแฟผ่านการทำงานของประสาทสัมผัสที่หลากหลายได้
อ้างอิง
Seubert, J., Ohla, K., Yokomukai, Y., Kellermann, T., & Lundström, J. N. (2015). Superadditive opercular activation to food flavor is mediated by enhanced temporal and limbic coupling. Human brain mapping, 36(5), 1662–1676. https://doi.org/10.1002/hbm.22728
Green, J. D., Reid, C. A., Kneuer, M. A., & Hedgebeth, M. V. (2023). The proust effect: Scents, food, and nostalgia. Current opinion in psychology, 50, 101562. https://doi.org/10.1016/j.copsyc.2023.101562
ขอให้มีความสุุขกับกาแฟและเรื่องราวครับ
อ่านบทความอื่นๆทั่งหมดได้ที่
https://www.facebook.com/theremedyphuket/posts/765356692239434