เรื่องเล่าชาวกะเหรี่ยง tawan Chanel

เรื่องเล่าชาวกะเหรี่ยง tawan Chanel เล่าเรื่องราวครั้งอดีตเเละประวัติศาสตร์ความเป็นมาของชนชาติกะเหรี่ยง [ปกาเกอะญอ]

18/03/2025

จากบ้าน เลตองคุ สู่รั้ว มหาวิทยาลัยนเรศวร
#เลตองคุ #กะเหรี่ยง #มอนอ #มหาวิทยาลัยนเรศวร

16/03/2025
ဒေါက်တာနော်စင်သီယာမောင်  အား ထိုင်းနိုင်ငံ Nareasuan University မှ  ဂုဏ်ထူးဆောင်ပါရဂူဘွဲ့ချီးမြှင့်  မတ်လ (၁၃) ရက်၊ ၂၀၂၅...
13/03/2025

ဒေါက်တာနော်စင်သီယာမောင် အား ထိုင်းနိုင်ငံ Nareasuan University မှ ဂုဏ်ထူးဆောင်ပါရဂူဘွဲ့ချီးမြှင့်

မတ်လ (၁၃) ရက်၊ ၂၀၂၅ ခုနှစ်၊ ကေအဲန်ယူ−ဗဟို။

ထိုင်းမြန်မာနယ်စပ်တစ်လျှောက် ရွှေ့ပြောင်းအလုပ်သမားများနှင့် တိုင်းရင်းသားလူထုများအတွက် ကျန်းမာရေးနှင့် ပတ်သက်ပြီး မှီခိုအားထားရာဖြစ်တဲ့ မယ်တော်ဆေးခန်းတည်ထောင်သူ ဆရာမကြီးဒေါက်တာနော်စင်သီယာမောင်ကို ထိုင်းနိုင်ငံမြောက်ပိုင်းမှာရှိတဲ့ Nareasuan University မှ ဂုဏ်ထူးဆောင်ပါရဂူဘွဲ့ (Honorary Doctorate in ASEAN Studies) ချီးမြှင့်ခဲ့တယ်လို့သိရပါတယ်။

အဆိုပါ ဘွဲ့ချီးမြှင့်ခြင်းအခမ်းအနားကို မတ်လ (၁၁)ရက်၊ ၂၀၂၅ ခုနှစ်မှာ ပြုလုပ်ခဲ့တာဖြစ်ပြီး ထိုင်းဘုရင့်နိုင်ငံ ထိုင်းဘုရင့်တော်ဝင်မိသားစု (Royal Thai)မှ Princess Maha Chakri Sirindhorn ကိုယ်တိုင်လာရောက်ချီးမြှင်ပေးခဲ့တာဖြစ်ပါတယ်။ Nareasuan University ကနေ နှစ်စဉ် Honorary Doctorate အတွက် သက်ဆိုင်ရာ တက္ကသိုလ်တာဝန်ရှိသူများမှ Nominated (အဆိုပြုတင်ပြခြင်း) လုပ်ပြီး တက္ကသိုလ်ကောင်စီကနေ ရွေးချယ်ပေးအပ်တာဖြစ်ပါတယ်။ ဆရာမကြီးဒေါက်တာနော်စင်သီယာမောင်ကို Faculty of Social Sciences, Nareasuan University က Nominated(အဆိုပြုတင်ပြ)ပေးခဲ့တာဖြစ်ပြီး အာစီယံ ဒေသတွင်း လူသားအကျိုးပြုလုပ်ငန်းများကို လုပ်ဆောင်နေတဲ့အပြင် လူမှုအသိုက်အဝန်းအတွက် ကောင်းမွန်တဲ့ အကျိုးသက်ရောက်မှုများစွာဖြစ်ပေါ်စေတဲ့အတွက် ယခုလိုမျိုး ဘွဲ့ပေးအပ်တာဖြစ်တယ်လို့ တက္ကသိုလ်ဘက်က ထုတ်ပြန်ပါတယ်။

ဆရာမကြီးဒေါက်တာနော်စင်သီယာမောင်သည် အာရှသူရဲကောင်းဆု အပါအဝင် ကျန်းမာရေး ပညာရေး နှင့် လူသားအကျိုးပြုလူမှုထူးချွန်ဆုများစွာ ရရှိထားသူဖြစ်သည်။

ယခုကဲ့သို့ ဆရာမကြီးဒေါက်တာနော်စင်သီယာမောင် ဂုဏ်ထူးဆောင်ပါရဂူဘွဲ့ချီးမြှင့်ခံရသည့်အတွက် ကေအဲန်ယူ - ကရင်အမျိုးသားအစည်းအရုံးနေဖြင့် လွန်စွာ ဝမ်းမြောက်ဂုဏ်ပြုယူမိပြီး ဆရာမကြီးအနေဖြင့် လူသားအကျိုး

ပြုလုပ်ငန်းများကို ယခုထက်မက ပိုမိုလုပ်ဆောင်နိုင်စေရန် ဆန္ဒပြုပါသည်။

Photos Credit: NARESUAN

09/03/2025

คลองลาน
#น้ำตกคลองลาน #กำเเพงเพรช

04/03/2025

ชายแดนตากระอุ กะเหรี่ยง KNLA ใช้โดรนทิ้งระเบิดใส่ฐานทหารเมียนมา ด้านทหารเมียนมาก็ตอบโต้กลับ ขณะที่ผู้หนีภัยการสู้รบ อพยพเข้า จ.ตาก แล้วเกือบ 1,000 คน ด้านทหารไทยตรึงกำลังเข้มป้องกันการรุกล้ำอธิปไตย

https://www.thairath.co.th/news/local/2845242

#ไทยรัฐออนไลน์

04/03/2025
ทางรถไฟดอยหลังถ้ำ...(ใกล้จอมทองนี่เอ็ง)เอามาฝากเพื่อนสมาชิกที่ชื่นชอบเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ที่พัฒนากลายมาเป็นแหล่งท่อ...
01/03/2025

ทางรถไฟดอยหลังถ้ำ...(ใกล้จอมทองนี่เอ็ง)

เอามาฝากเพื่อนสมาชิกที่ชื่นชอบเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ที่พัฒนากลายมาเป็นแหล่งท่องเที่ยว
พิกัด ด้านหลังที่ว่าการอ.เวียงหนองล่อง ใกล้สนง.เทศบาลศรีเตี้ย
-----------------------------------
เรื่องราวเกี่ยวกับทางรถไฟเล็กๆดังกล่าว...

นับตั้งแต่ ปีพ.ศ.2447 เป็นต้นมาภายหลังที่รัฐบาลสยามได้จัดตั้งกรมป่าไม้ขึ้นและโอนกิจการทำไม้ให้เป็นของรัฐบาล การขอสัมปทานไม้ต่าง ๆ จากบริษัทต่างชาติจึงต้องขออนุญาตจากรัฐบาลกลางเพียงแห่งเดียวเท่านั้น

บริษัทบอมเบย์เบอร์ม่า ได้ขออนุญาตสัมปทานทำไม้ในเขตภาคเหนือ โดยเฉพาะในพื้นที่จังหวัดลำพูนทั้งหมด และได้เข้ามาทำสัมปทานทำไม้ในเขตป่าแม่ลี้ ป่าแม่แนต ป่าแม่ตื่น ป่าแม่หาด

การทำสัมปทานไม้ของบริษัทบอมเบย์เบอร์ม่า ได้เข้ามาสร้างปางไม้ โดยนำช้างและอุปกรณ์เครื่องมือในการทำไม้ต่าง ๆ อยู่ในบริเวณพื้นที่บ้านเกาะทุ่งม่าน ต.ป่าพลู อ.บ้านโฮ่ง จ.ลำพูน การทำไม้ของบริษัทบอมเบย์เบอร์ม่า จะตัดไม้จากป่าต่าง ๆ แล้วใช้ช้างลากไม้ซุงลงแม่น้ำลี้ เพื่อนำมากองไว้ที่ปางไม้ ว่ากันว่าไม้ซุงที่ตัดนั้นมีจำนวนมากหลายหมื่นต้น แต่ละต้นมาหน้าตัดกว้างไม่ต่ำกว่า 1 เมตร ซุงบางต้นมีความสูงของหน้าตัดสูงท่วมหัวก็มี หากมีทางสะดวกก็บรรทุกบนรถบรรทุก(ตามภาพ)หลังจากที่นำไม้ซุงมากองพักไว้ที่ปางไม้แล้ว บริษัทบอมเบย์เบอร์ม่า ยังได้สร้างทางรถไฟเพื่อใช้ลำเลียงไม้ซุงจากปางไม้บ้านเกาะทุ่งม่าน ไปยังบ้านหนองปลาสะวาย ขนถ่ายไม้ลงในแม่น้ำปิงไหลล่องไปลงแม่น้ำเจ้าพระยาถึงกรุงเทพมหานครก่อนจะนำขึ้นเรือกลับสู่ประเทศอังกฤษ

ในการทำไม้ในเขตอำเภอบ้านโฮ้งของบริษัทบอมเบย์เบอร์ม่า นอกจากจะก่อสร้างทางรถไฟสายเล็กขึ้น

ซึ่งปัจจุบันทางรถไฟได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของถนนสายลำพูน – ลี้ การทำไม้ยังสร้างรายได้เล็ก ๆ ให้กับคนในชุมชนบริเวณแห่งนี้อีกด้วย

แม่หลวงไว ธรรมสิทธิ์ อายุ 92 ปี ท่านเกิดใน ปีพ.ศ.2460 เคยอยู่ร่วมกับเหตุการณ์สัมปทานทำไม้ของบริษัทบอมเบย์เบอร์ม่า แม่หลวงเล่าว่า บริษัทบอมเบย์เบอร์ม่าจะนำไม้สักที่ตัดมาพักไว้บริเวณบ้านเกาะทุ่งม่าน ซึ่งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำลี้ ซุงไม้สักจะตัดจากป่าร่องมาตามน้ำลี้ เมื่อมาถึงไม้ก็จะมากองสุมกันเต็มน้ำ จากนั้นจึงใช้ช้างลากมาบรรทุกใส่รถไฟ ซึ่งมีอยู่ 3 ขบวน สร้างทางเลียบไปทางลำน้ำลี้เริ่มจากท่าหลุก – วังปาน ผ่านบ้านทุ่งม่าน บ้านระแกะ บ้านห้วยกาน บ้านป่าดำไปจนถึงบ้านหนองปลาสะวาย เพื่อขนไม้ไปลงแม่น้ำปิง

ในช่วงที่มีการสัมปทานทำไม้ แม่หลวงไว ยังได้นำข้าวปลาอาหารมาขายให้กับคนงานตัดไม้ในปาง โดยทำบุหรี่ หมากพลูขายในราคามวนละ 1 สตางค์ ส่วนกับข้าวทำแกงไก่ขายในราคา 2 สตางค์ นอกจากนั้นยังมีชาวบ้านผู้ชายบางคนไปรับจ้างตัดไม้แบบ (ไม้หมอน) สำหรับทำรางรถไฟในราคาเล่มละ 3 สตางค์

แม่หลวงไว ยังเล่าอีกว่า พอถึงเวลาสิ้นเดือน นายห้างซึ่งเป็นฝรั่งคุมงาน ก็จะนำเงินแถบบรรจุกระสอบใส่บนหลังช้าง 2 ตัว เพื่อนำเงินมาจ่ายให้กับคนงานทำไม้ ซึ่งมีหลายชาติพันธ์ปะปนกัน ทั้งเงี้ยว ไทใหญ่ ม่าน(พม่า) กะเหรี่ยง ขมุ ภายหลังจากที่สัมปทานไม้หมดไป คนงานเหล่านั้นก็พากับเดินทางกลับ แต่ก็มีบางส่วนที่อาศัยอยู่ที่นี่จนมีครอบครัวสืบต่อมาจนถึงปัจจุบัน

นอกจากนั้นแล้วในพื้นที่ ต.ป่าพลู อ.บ้านโฮ่ง ยังมีเรื่องราวของคนเลี้ยงช้าง ซึ่งเกิดขึ้นในช่วงเวลาใกล้เคียงกันกับการทำสัมปทานไม้ของบริษัทบอมเบย์เบอร์ม่า พ่อไท สมราช อายุ 83 ปี อดีตเจ้าของช้างปู้บุญส่ง ซึ่งเคยชักลากไม้อยู่ในพื้นที่ป่าแม่หาด เล่าว่า ตนเองได้ซื้อช้างมาจากลุงโม้ ชาวบ้านอำเภอแม่ทาในราคา 65,000 บาท เมื่อประมาณ ปีพ.ศ.2498 เพื่อใช้ลากไม้ โดยเริ่มแรกนำช้างมาลากไม้เพื่อสร้างบ้านให้กับตนเองก่อน หลังจากนั้นจึงนำช้างออกตระเวนรับจ้างลากไม้ ในเขตป่าแม่ป๊อก ป่าแม่ตื่น ซึ่งได้รับสัมปทานป่าของโรงเลื่อย ทำงานลากไม้อยู่ 5 ปี ก่อนที่จะตระเวนออกไปรับจ้างลากไม้ถึงจังหวัดแม่ฮ่องสอน

พ่อไท เล่าอีกว่า การเดินทางไปลากไม้ที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน จะไปกันเป็นคาราวาน มีช้างประมาณ 20 เชือก เดินทางไปตามป่าเขาจนถึงแม่ฮ่องสอน แล้วจึงรับจ้างลากไม้ ใช้เวลาประมาณ 3 เดือน เมื่อสัมปทานไม้ที่จังหวัดแม่ฮ่องสอนหมดลงจึงพากับเดินทางกลับ สมัยที่ทำงานลากไม้อยู่นั้นได้เงินค่าจ้างคนละ 40,000 บาท

การทำสัมปทานไม้สิ้นสุดลง ภายหลังเมื่อรัฐบาลได้ประกาศปิดป่าเมื่อ ปีพ.ศ.2518 ทิ้งไว้เหลือเพียงตำนานแห่งการทำไม้ในเขตป่าบ้านโฮ้งพื้นที่ ๆ ได้ชื่อว่ามีป่าไม้ที่อุดมสมบูรณ์ที่สุดแห่งหนึ่งของภาคเหนือ.....

การที่อังกฤษถือสัมปทานป่าไม้ทั่วภาคเหนือและตัดเอาตามอำเภอใจ ทำให้ปัจจุบันเหลือทิ้งซากความยิ่งใหญ่ของป่าไม้ภาคเหนือไว้จนแทบจะไม่เหลือ ยิ่งแต่ก่อนไม่ได้มีกรมป่าไม้คุมครองการตัดไม้ ชาวบ้านก็ยิ่งย่ามใจตัดไม้มาสุมกองไว้ในที่ที่ของตนเองเพื่อทยอยขาย การตัดไม้ทำลายป่าเป็นการฆ่าตัวเองของมนุษย์ชัดๆ ภูมิประเทศเปลี่ยนไป ภูมิอากาศร้อนขึ้น สุขภาพชีวิตแปรไปตลอดกาล ต้นน้ำถูกทำลาย ขาดแคลนน้ำในช่วงหน้าแล้ง เกิดอุทกภัยดินโคลนถล่มในช่วงน้ำหลาก สมุนไพรผักป่าสูญพันธุ์ไปไม่หวนกลับ....
เครดิตเรื่องราว จักรพงษ์ คำบุญเรือง เรื่องเล่าชาวล้านนา

เครดิตภาพ เพจทางรถไฟสายเก่า ดอยหลังถ้ำ

ช่วงปีใหม่ หรือ กี่จึ๊ ผูกข้อมือรับขวัญปีใหม่ของชาวกะเหรี่ยง จะเป็นอีกวาระหนึ่งที่จะมีการหยิบเครื่องดนตรีต่าง ๆ ไม่ว่าจะ...
27/02/2025

ช่วงปีใหม่ หรือ กี่จึ๊ ผูกข้อมือรับขวัญปีใหม่ของชาวกะเหรี่ยง จะเป็นอีกวาระหนึ่งที่จะมีการหยิบเครื่องดนตรีต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นกลอง ฆ้อง ฉาบ หรือเขาควาย มาทำการละเล่นเพื่อสร้างความบันเทิงให้กับงานประเพณี นอกจากนี้ในพิธีแต่งงาน หรืองานรื่นเริงต่าง ๆ ก็จะมีการสร้างความคึกคักด้วยเสียงดนตรีอันเรียบง่ายเหล่านี้

ช่วงนี้น่าจะมีหลายบ้านที่มีพิธีกี่จึ๊ หรือ ปีใหม่ ก็ขอให้มีแต่ความสนุกสนานรื่นเริง การละเล่นการแสดงอะไรที่หายห่างไป ก็อยากให้ชวนกันนำมาเล่นกันอีกครั้งนะครับ ลูก ๆ หลาน ๆ เห็นแล้ว เผื่อเขาอยากจะสืบสานให้เป็นความรื่นเริงคู่กับชุมชนสืบไป
. . . . .
Source & Photo: The Karen People of Burma: A Study in Anthropology and Ethnology | By Rev. Harry Ignatius Marshall, M.A. (1878-)

27/02/2025

ตุยลินทัตมีชื่อติดทีมชาติเมียนมาร์
เพื่อที่จะเข้าร่วมแข่งกีฬาซีเกมส์ในปีนี้

#สังคมมวยยุคใหม่ #แบบฝึกหัดให้หลายเพจมวย

ทุกอย่างเปลี่ยนไปตามกาลเวลา
27/02/2025

ทุกอย่างเปลี่ยนไปตามกาลเวลา

กาลเวลา หนุ่มสุดเฟี้ยวชาว #กะเหรี่ยงโปว์ #เมื่อ57ปีก่อน ปัจจุบันอายุ70 กว่าปี เป็นคุณตาแล้ว ตำนานที่ยังมีชีวิต
อาศัยอยู่ที่ ห้วยหมากหนัง ต.แม่เหาะ อ. #อมก๋อย #เชียงใหม่

ภาพตอนหนุ่ม ถูกถ่ายไว้โดยชาวต่างชาติ
โดยคุณแม่เจน-อาจารย์คายส์
ผู้มีคุณูปการด้านอุษาคเนย์ศึกษาประเทศ
https://digital.lib.washington.edu/researchworks/handle/1773/18351

หนุ่มน้อยชาวกะเหรี่ยงโปว์ เมื่อ 57 ปีก่อน
แต่งกายสมัยใหม่ แต่ ทำผมสุดเท่ ลงดอยเข้าเมือง
ภาพถ่ายในแม่สะเรียง จ.แม่ฮ่องสอน
ประเทศไทย
พฤศจิกายน พ.ศ. 2511

ภาพ ขวา คือภาพปัจจุบัน
ขอบพระคุณภาพจาก กิตติวัฒน์ วิเศษขัน

Pwo Karen young man in Mae Sariang , Amphoe Mae
Sariang, Changwat Mae Hong Son, Thailand,
November 1968
Credit : Keyes, E. Jane

#เชียงใหม่ที่คุณไม่เคยเห็น

25/02/2025

“ #เจ้าอาวาสวัดสมานรัตนาราม” รับเป็นพ่ออุปถัมภ์
ให้กับ “ #น้องมีบุญ” ประกาศตามหาพ่อแม่ของเด็ก
หากคิดได้ สำนึกได้ ขอให้โทรเบอร์ตรง
ของเจ้าอาวาสวัดสมานฯ ที่เบอร์ 091- 959- 5995
ได้ตลอด 24 ชม. จะเก็บเป็นความลับให้

เข้าใจอารมณ์ที่อาจจะขาดการยั้งคิด
แต่หากพ่อแม่ดูแลไม่ไหว วัดจะรับอุปการะให้
แค่ขอให้มาแสดงตัว อีก 5 ปี หรือ 10 ปี
เมื่อพอมีกำลังไหว อาจรับลูกกลับไปอุปการะ
อยากให้น้องมีบุญได้มีพ่อแม่จริง ๆ
ตอนนี้จะรับเป็นพ่ออุปถัมภ์ให้ก่อน

#เชียงใหม่ที่คุณไม่เคยเห็น

HAPPY KAREN NEW YEAR FOR 2757!Dear Karen friends,On this very special day, from the bottom of my heart I would like to s...
25/02/2025

HAPPY KAREN NEW YEAR FOR 2757!

Dear Karen friends,

On this very special day, from the bottom of my heart I would like to send each of you my warmest wishes for physical health and spiritual serenity. May these blessings follow you and all those you love throughout the next twelve months.

You are lucky enough to have an ancient history and a rich culture. So, as this New Year dawns, please allow me to extend the following wishes:
_ Without reference to the country you live in (Burma, Thailand or a third country), keep on speaking and writing Karen language, at least as a second language.
_ Ignoring your social status (from the most humble to the most prestigious) don’t fail to wear traditional clothing as often as possible.
_ Regardless of your religion (Buddhism, Christianity, Animism), try to give to your children a Karen first name (alone or combined with another forename).
_ No matter what your age (from children to elders), keep on performing (or admiring…) Don Dance and Bamboo Dance on the occasion of community festivals.
_ Without considering your own narrow community (Sgaw, Pwo, Kayah, Pa-Oh…), ensure to highlight Karen cooking at the time of your family meals.
_ Despite your own artistic tastes, from time to time don’t forget to listen the music of your ancestors: bronze drums and traditional harp.
_ And, setting aside your political opinions, make sure to respect your Karen flag and to take part in the national celebrations throughout the year.

Then, not only will the Karen nation survive, but it will be strengthened and there will be grounds for hope!

Last year, to go along with my wishes, I published online the very first illustration of Karens ever shown in Western iconography: an engraving displaying an anonymous Karen couple of the 18th century (cf. my post dated December 29, 2016). This year, I propose you three documents almost as scarce as the previous one: here again it’s about drawings, but drawings that depict this time (and for the first time) Karen leading figures precisely identified. We owe these portraits to the British author and illustrator Colesworthy Grant (1813-1880), established in India since his early teens.

The first picture -in black and white- dates back to Grant’s different stays in Lower Burma in the 1840s (particularly in Rangoon by 1846) and represents two Karen teachers from Moulmein, Ko Tsa Thu and Tsau Shué Mai, whom the artist had met on the occasion of a journey in the Tenasserim at that time. This work, along with a two-page note devoted to Karen people, appeared several years later, in 1853, in a book published by the author in Calcutta (an account of his trips with numerous illustrations).

The two other drawings -in colour- were performed in 1855. That year, Lord Dalhousie (Governor General of India) sent an embassy to the Burmese king Mindon in Amarapura. Colesworthy Grant was due to accompany this diplomatic trip led by Major Arthur Phayre as its official artist. The expedition started from Rangoon and travelled up the Irrawaddy River to the royal capital. Some years later, Grant issued an album consisted of 106 watercolours (landscapes and portraits) including most of the works produced during his trip. This book (a very limited edition) remained little known for a long time, which explains that the portraits of Kyan-Lau-Gee and Kiouk-Kei, two Karens living in Kemendine (then a suburb of Rangoon) also remained widely unknown. These two men were veterans of the Second Anglo-Burmese War.

Thus, the first four nominally identified Karens of whom we have kept a pictorial memory are two schoolmasters and two warriors. In truth, dear friends, you can’t dream of more inspiring leading lights. I’m sure that, beyond centuries, these figures of times gone by join me in wishing you all a Happy Karen New Year!

______________________________________________

JOYEUX NOUVEL AN KAREN POUR 2757 !

Chers amis Karens,

En cette journée très spéciale, du fond du cœur je tiens à présenter à chacun d’entre vous mes meilleurs vœux de santé pour le corps et de sérénité pour l’esprit. Puissent ces bénédictions vous combler, vous et vos proches, et perdurer tout au long des douze prochains mois.

Vous avez la chance de posséder une histoire ancienne et une riche culture. Aussi, à l’aube de cette nouvelle année, qu’il me soit permis de former les vœux suivants :
_ Sans considération pour votre pays de résidence (Birmanie, Thaïlande ou pays tiers), continuez à pratiquer la langue karenne, au moins comme seconde langue.
_ Par-delà votre position sociale (de la plus humble à la plus prestigieuse) pensez à porter le plus souvent possible les tenues vestimentaires traditionnelles.
_ Quelle que soit votre religion (Bouddhiste, Chrétienne, Animiste), n’omettez pas de donner à vos enfants un nom karen (seul ou associé à un autre prénom).
_ Quel que soit votre âge (des enfants jusqu’aux aux Anciens), continuez à pratiquer (ou à admirer…) la Danse du Don et la Danse des bambous à l’occasion des fêtes communautaires.
_ Quelle que soit votre communauté particulière (Sgaw, Pwo, Kayah, Pa-Oh…), veillez à mettre régulièrement à l’honneur la gastronomie karenne lors de vos repas de famille.
_ Au-delà de vos propres goûts artistiques, essayez d’écouter de temps à autres la musique de vos ancêtres : tambours de bronze et harpe traditionnelle.
_ Et quelles que soient vos options politiques, faites en sorte d’honorer votre drapeau et de célébrer vos fêtes tout au long de l’année.

Alors, non seulement la nation karenne survivra, mais elle se fortifiera et tous les espoirs seront permis pour l’avenir !

L’an dernier, pour accompagner mes vœux, j’avais mis en ligne la toute première illustration ayant jamais représenté des Karens dans l’iconographie occidentale : il s’agissait d’un dessin montrant un couple anonyme de Karens de la fin du XVIIIeme siècle (cf. ma publication du 29 décembre 2016). Cette année, je vous propose trois documents presque aussi rares : il s’agit là encore de dessins, mais qui figurent cette fois-ci (et pour la première fois) des personnalités karennes précisément identifiées. On doit ces portraits à l’auteur et illustrateur britannique Colesworthy Grant (1813-1880), installé en Inde depuis son adolescence.

La première image remonte aux séjours que fit Grant en Basse Birmanie dans les années 1840 (notamment à Rangoon en 1846) et montre deux enseignants karens de Moulmein, Ko Tsa Thu et Tsau Shué Mai, que l’artiste avait rencontré lors d’un voyage dans le Tenasserim. Ce dessin, accompagné de deux pages de notes plus générales sur le peuple karen dans son ensemble, fut publié en 1853 dans un ouvrage que l’auteur fit paraître à Calcutta.

Les deux autres dessins ont été exécutés en 1855. Cette année-là, le Gouverneur Général de l’Inde, Lord Dalhousie, dépêcha une ambassade à la cour du roi Mindon à Amarapura. Dirigée par le Major Arthur Phayre, cette mission diplomatique comptait dans ses rangs Colesworthy Grant en tant qu’artiste officiel. L’expédition partit de Rangoon et remonta le cours de l’Irrawaddy jusqu’à la capitale royale. Quelques années plus t**d, Grant fit paraître un album de 106 aquarelles (paysages et portraits) reprenant l’essentiel des œuvres produites lors de ce voyage. Cet ouvrage au tirage très limité demeura longtemps confidentiel, ce qui explique que les portraits de Kyan-Lau-Gee et Kiouk-Kei, deux Karens résidant à Kemendine (à l’époque un faubourg de Rangoon) restèrent eux aussi largement méconnus.

Ainsi, les quatre premiers Karens nommément identifiés dont nous ayons gardé un souvenir pictural se trouvent être deux maîtres d’école et deux guerriers. En vérité, de quelles plus belles figures tutélaires pouviez-vous rêver ? Je suis sûr que par-delà les siècles, ces personnalités karennes de jadis se joignent à moi pour vous souhaiter à toutes et à tous une Bonne et Heureuse année !

21/02/2025

🎤 "พวกเราเจอภัยพิบัติ เจอการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศ เราต้องการคนที่เข้าใจธรรมชาติที่ลึกซึ้งและสามารถปรับตัว มีเมล็ดพันธุ์ มีพันธุกรรมที่พึ่งตัวเองได้
และหลายพื้นที่ที่ได้ประกาศพื้นที่คุ้มครองฯ ไปแล้ว นอกจากเขาจะรักษาวิถีชีวิตต่าง ๆ ไว้แล้ว เขายังมีภูมิปัญญาในการฟื้นต้นน้ำและทำให้ป่าไม้ไม่ถูกทำลาย
ภูมิปัญญาและองค์ความรู้ของพี่น้องชาติพันธุ์ที่มีอยู่ในประเทศไทยสมควรที่จะนำมาบันทึก ศึกษา นี่คือทางรอดของมนุษยชาติ"
📌 กัลยา ใหญ่ประสาน - Kanlaya Yaiprasan สมาชิกวุฒิสภา จ.ลำพูน กลุ่มชาวนาและเกษตรกรปลูกพืชล้มลุก ได้พูดถึงประโยคข้างต้นในตอนหนึ่งของการอภิปรายร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองและส่งเสริมวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์ พ.ศ. ... เมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2568 ที่กล่าวถึงความสำคัญของภูมิปัญญาและองค์ความรู้ของกลุ่มชาติพันธุ์ที่ควรได้รับการคุ้มครองและส่งเสริมผ่านกระบวนการจดบันทึก จัดเก็บเป็นฐานข้อมูลเพื่อต่อยอดเป็นหลักสูตรการเรียนรู้ในสถานศึกษาระดับต่าง ๆ โดยยกตัวอย่างกรณีศึกษาจากชุมชนชาวปกาเกอะญอในประกอบการอภิปราย
🌳🌾 เกอเจอโข่เดาะท่อเล้อแชว้
เกอเลอโข่เดาะท่อเล้อแชว้
ซะปก่าแลซะปก่าจะแกล้
โพ้ส่าแลโพ้ส่าจะแกล้
ต่าเตอจะแกลเหม่เปอแด้
แลดะแวฮะเผล่าะดะแว้
ประโยคดังกล่าวที่กัลยาหยิบยกมากล่าวก่อนเริ่มอภิปรายเป็นบทเพลงพื้นบ้านของชาวปกาเกอะญอที่เรียกว่า "อื่อธา" ซึ่งอื่อธาหรือบทกวีดังกล่าวมีความหมายดังนี้
🌳🌾 บนภูเขามีหญ้ามีหนาม
บนเทือกเขามีหญ้ามีหนาม
ผู้ใหญ่ไป ผู้ใหญ่ถามทาง
เด็ก ๆ ไปเด็ก ๆ ถามทาง
ที่ไม่ถามทางก็คือกระต่าย
ไปเองหลงทางเอง
กัลยาได้พูดถึงที่มาของบทธาดังกล่าวที่เกิดจากประสบการณ์เมื่อช่วง 6 ตุลา 2519 ที่ต้องลี้ภัยไปอยู่กับพี่น้องปกาเกอะญอแล้วได้พบว่า ที่นั่นคือมหาวิทยาลัยแห่งชีวิตที่เราได้เรียนรู้ว่าคนมีศักยภาพที่แท้จริง คนนั้นสามารถปลูกข้าวเลี้ยงครอบครัว ปลูกฝ้ายทำเสื้อผ้า รู้จักสีธรรมชาติจากเปลือกไม้และรากไม้ รู้จักยาสมุนไพร มีหมอพื้นบ้าน หมอตำแยของตัวเอง และสามารถสร้างบ้านให้เสร็จภายในวันเดียวได้
"ดิฉันได้เรียนรู้ภาษา วัฒนธรรม วิถีชีวิต จนสามารถอ่านออกเขียนได้และมีบันทึกของปราชญ์เกษตรที่อยู่บ้านแม่แฮใต้ (อ.แม่แจ่ม จ.เชียงใหม่) ซึ่งเป็นปราชญ์ของขุนเขา เราได้ร่วมกันแปลหนังสือซึ่งเป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่สามารถประกอบการเรียนรู้ในมหาวิทยาลัยได้หลายแห่ง ซึ่งถ้าพวกเราได้อ่าน ได้ซึมซับจะทราบว่า พี่น้องปกาเกอะญอ ลัวะ ม้ง หรือพี่น้องที่มีชีวิตอยู่ร่วมกับเราล้วนมีภูมิปัญญา มีความสามารถในการที่จะปกป้องธรรมชาติ วิถีชีวิต"
"จากประสบการณ์ชีวิต 4 ปีเศษที่ดิฉันได้ใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับพี่น้องเหล่านี้ที่มีความลึกซึ้งมากในการอธิบายโลก ปรัชญาชีวิต ซึ่งเราไม่น่าเชื่อเลยว่า คนที่ไม่ได้เรียนหนังสือ ไม่รู้ภาษา แต่เขามีบทกวีที่ซึมซับเข้าไปในจิตวิญญาณ"
🌾 "คนบนดอยมีข้าวหลายสายพันธุ์ที่อร่อยมาก ดิฉันได้นำเรื่องนี้ไปหารือกับ รศ.ดร.ภญ.พาณี ศิริสะอาด อาจารย์ประจำคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ แล้วได้รับทุนไปวิจัยข้าวพื้นบ้านในลุ่มน้ำแม่แฮใต้ 7 หมู่บ้านพบว่ามี 241 ครัวเรือน แต่มีพันธุ์ข้าวพื้นบ้านมากถึง 36 สายพันธุ์ ซึ่งนักวิจัยพื้นบ้านได้เขียนรายงานมาเป็นตัวอย่าง เช่น ข้าวพันธุ์ที่เขาปลูกมากที่สุดคือ "บือโกะโละ" เพราะทนแล้ง ทนฝน ไม่ล้ม ทนลม ทนโรค เปลือกบาง สีข้าวสารได้มาก แกลบน้อย กินไม่เปลือง กินแล้วอิ่มท้อง"
🌾🍚 "อีกสายพันธุ์หนึ่งคือ "บือหว่าโพ้" ต้นต่ำ ใบน้อย เมล็ดถี่ น้ำหนักดี ไม่ค่อยทน ผลผลิตดีและเร็วกว่าข้าวทุกชนิด นิยมปลูกเพื่อแก้ปัญหาเฉพาะหน้า หรืออีกสายพันธุ์หนึ่งชื่อ "บือหมื่อโพ้" ต้นเตี้ย ทนทาน ดอกยาว เหลืองเร็ว ทนลม ปลูกแล้วงอกดี เก็บเกี่ยวก่อนบือโกะโละ ได้กินแน่นอน"
กัลยายังได้ระบุถึงตัวอย่างสายพันธุ์ข้าวอื่น ๆ ที่มีคุณสมบัติให้ผลผลิตที่ดีไม่แพ้กัน ซึ่งบางสายพันธุ์สามารถนำไปต้มเป็นยาสมุนไพร สามารถบำรุงและรักษาโรคได้ทั้งคนและสัตว์เลี้ยง ซึ่งต่อมาทางคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ได้นำมาวิจัยเพิ่มเติมแล้วพบว่า หลายสายพันธุ์ข้าวมีสารต่อต้านอนุมูลอิสระสูง สามารถป้องกันมะเร็งได้
"ถ้าเราอนุรักษ์วิถีชีวิต คุ้มครองวิถีวัฒนธรรมของพวกเขา จะเป็นทางรอด เป็นคำตอบให้กับมนุษยชาติ"
🌳📌 "ยกตัวอย่างพื้นที่คุ้มครองฯ ที่ลำพูนมีบ้านดอยช้างป่าแป๋ที่อำเภอบ้านโฮ่ง เขาดูแลพื้นที่รวมแล้วไม่ต่ำกว่า 10,000 ไร่ แต่เขาสามารถนำเอาวิถีสมัยใหม่เข้าไปประยุกต์ใช้ในการคุ้มครองไม่ให้เกิดไฟป่า และส่งผลให้อากาศบนบ้านของเขาแม้จะเป็นหน้าร้อนแต่ยังมีอากาศเย็นสบาย"
👉 อ้างอิง : การถ่ายทอดสดการประชุมวุฒิสภา วันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2568 และสรุปการรายงานข่าวโดย The Active : Thai PBS
#กฎหมายชาติพันธุ์ #พื้นที่คุ้มครองชาติพันธุ์ #ชาติพันธุ์ก็คือคน #คนเท่ากัน #ชนเผ่าพื้นเมือง #ลำพูน

20/02/2025
ยังไงจ๊ะ ไหนบอกเป็นเเค่ผู้ให้เช่าที่ดินนิ
19/02/2025

ยังไงจ๊ะ ไหนบอกเป็นเเค่ผู้ให้เช่าที่ดินนิ

17/02/2025

เปิดใจครั้งแรก

ที่อยู่

ท่าโพธิ์
Phitsanulok
65000

เบอร์โทรศัพท์

+66656095473

แจ้งเตือน

รับทราบข่าวสารและโปรโมชั่นของ เรื่องเล่าชาวกะเหรี่ยง tawan Chanelผ่านทางอีเมล์ของคุณ เราจะเก็บข้อมูลของคุณเป็นความลับ คุณสามารถกดยกเลิกการติดตามได้ตลอดเวลา

ติดต่อ ธุรกิจของเรา

ส่งข้อความของคุณถึง เรื่องเล่าชาวกะเหรี่ยง tawan Chanel:

วิดีโอทั้งหมด

แชร์