สวท.พัทลุง กรมประชาสัมพันธ์

สวท.พัทลุง กรมประชาสัมพันธ์ สถานีวิทยุเครือข่ายกรมประชาสัมพันธ์ Radio Thailand Phatthalung FM 98 MHz.
(22)

18/07/2024

รายการหนูนุ้ยคุ้ยข่าว วันศุกร์ที่ 19 กรกฎาคม 2567

18/07/2024

รายการธรรมะรับอรุณ วันศุกร์ที่ 19 กรกฎาคม 2567

18/07/2024

ข่าวท้องถิ่นประจำวัน วันที่ 18 กรกฎาคม 2567

18/07/2024

📣เสาร์นี้ห้ามพลาด รายการ ‘คุยกับเศรษฐา‘ เทปพิเศษ เปิด 10 โครงการเฉลิมพระเกียรติรับปีมหามงคล

“ขอเชิญชวนทุกท่านติดตามรายการ ‘คุยกับเศรษฐา’ ตอนพิเศษ เนื่องในโอกาสปีมหามงคลนี้พร้อมกัน ในวันเสาร์ที่ 20 กรกฎาคม 2567 เวลา 08.00 น. ทางช่อง NBT และ ททบ. 5 และจะรีรันอีกครั้งในเวลา 11.30 น. ทางช่อง 9MCOT HD

#คุยกับเศรษฐา #กรมประชาสัมพันธ์

18/07/2024

ก.เกษตรฯ เดินหน้าแก้ปัญหาปลาหมอคางดำแพร่ระบาดเร่งด่วนและรอบด้าน

18/07/2024

นายกฯ แจงตั้งงบรายจ่ายเพิ่มเติมปี 67
จำนวน 1.22 แสนล้าน
จำเป็น - ใช้กระตุ้นเศรษฐกิจ

สำนักประชาสัมพันธ์เขต 6 กรมประชาสัมพันธ์ จัดกิจกรรมสโมสรคนสื่อ อบรม “ เครือข่ายสื่อประชาสัมพันธ์ ร่วมผลิตคลิปวีดีโอ ผลัก...
18/07/2024

สำนักประชาสัมพันธ์เขต 6 กรมประชาสัมพันธ์ จัดกิจกรรมสโมสรคนสื่อ อบรม “ เครือข่ายสื่อประชาสัมพันธ์ ร่วมผลิตคลิปวีดีโอ ผลักดัน Soft Power สร้างเศรษฐกิจสู่ชุมชน ”

สำนักประชาสัมพันธ์เขต 6 กรมประชาสัมพันธ์ จัดการฝึกอบรม กิจกรรม “สโมสรคนสื่อ” ตามโครงการสำรวจความต้องการรับรู้ข้อมูลข่าวสารของประชาชน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 เพื่อสร้างเครือข่ายสื่อให้มีความเข้าใจเกี่ยวกับการผลิตสื่ออย่างรู้เท่าทันสื่อ และเครือข่ายสื่อสามารถพัฒนาการผลิตและเผยแพร่สื่อประชาสัมพันธ์ที่ส่งเสริมการรู้เท่าทันสื่อให้ดีขึ้น นำไปสู่การสร้างภูมิคุ้มกันให้แก่ประชาชน เกิดสังคมแห่งการเรียนรู้ปลอดภัยและสร้างสรรค์ ระหว่างวันที่ 18 – 19 กรกฎาคม 2567 ณ โรงแรมบีพี สมิหลาบีช อ.เมือง จ.สงขลา โดยมีนางมุจรินทร์ ทองนวล ผู้อำนวยการสำนักประชาสัมพันธ์เขต 6 เป็นประธานเปิดการอบรมฯ

สำนักประชาสัมพันธ์เขต 6 กรมประชาสัมพันธ์ เป็นหน่วยงานหลักด้านการประชาสัมพันธ์ของรัฐ มีหน้าที่ในการประชาสัมพันธ์นโยบายและการดำเนินงานของรัฐเพื่อให้ประชาชน รับรู้ เข้าใจในยุทธศาสตร์ชาติและนโยบายสำคัญของรัฐบาล ส่งเสริมความเข้าใจอันดีระหว่างรัฐบาลกับประชาชน การจัดกิจกรรมในครั้งนี้ เป็นการสร้างความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการดำเนินงานประชาสัมพันธ์นโยบายของรัฐบาล โดยเฉพาะประเด็น “นโยบาย Soft Power 11 ด้าน ได้แก่ เฟสติวัล ท่องเที่ยว อาหาร ศิลปะ ออกแบบ กีฬา ดนตรี หนังสือ ภาพยนตร์แฟชั่น และเกม การผลิตสื่อประชาสัมพันธ์ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับ Soft Power จะกลายเป็นพลังดึงดูดนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างประเทศทั่วโลกให้อยากเข้ามาเที่ยว มาทำงาน และมาใช้ชีวิตในประเทศไทย สร้างอาชีพสร้างรายได้สู่ชุมชนท้องถิ่น นำไปสู่คุณภาพชีวิตของประชาชนที่ดีขึ้น
นอกจากนี้กิจกรรมดังกล่าว ยังทำให้เกิดความร่วมมือกันระหว่างหน่วยงานกรมประชาสัมพันธ์กับเครือข่ายสื่อประชาสัมพันธ์ ในการผลิตและเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์ไปสู่ประชาชน ได้อย่างถูกต้อง รวดเร็ว และทันสถานการณ์ นำไปสู่การสร้างภูมิคุ้มกันให้แก่ประชาชนเกิดสังคมแห่งการเรียนรู้ปลอดภัยและสร้างสรรค์มากยิ่งขึ้น
กิจกรรมจัดในรูปแบบการบรรยายให้ความรู้ โดยวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ ผศ.ธรรมนิตย์ นิคมรัตน์ ศิลปินแห่งชาติประจำปี 2564 ให้เกียรติมาให้ความรู้เกี่ยวกับ Soft Power กับศิลปวัฒนธรรมด้านมโนรา และวิทยากรผู้เชี่ยวชาญด้านการผลิตสื่อออนไลน์ ดร.ศุภฤกษ์ เวศยาสิรินทร์ กรรมการบริหารหลักสูตรนิเทศศาสตร์บัณฑิต คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา มาพร้อมกับ ว่าที่ร้อยตรี ฐานันดร ไพโรจน์ อาจารย์ประจำหลักสูตรนิเทศศาสตร์บัณฑิต คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา ให้สมาชิกเครือข่ายสื่อในพื้นที่ 7 จังหวัดภาคเหนือตอนล่าง และเจ้าหน้าที่สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัด รวมทั้งหมด 40 คน ที่เข้าร่วมกิจกรรม ได้ฝึกปฏิบัติ (Workshop) พร้อมคัดเลือกผลงานเด่นการผลิตคลิปวีดีโอ นำเสนอนโยบายต่างๆ ของภาครัฐ ความยาวไม่เกิน 3 นาที รับเงินรางวัล จำนวน 5 รางวัล รวมมูลค่า 7,000.- บาท ทั้งนี้ผู้ผ่านการคัดเลือกทั้ง 5 คน จะได้เข้าร่วมกิจกรรมเครือข่ายสัมพันธ์กับสำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดต่อไป.

17/07/2024

รายการ ... หนูนุ้ยคุ้ยข่าว
ประจำวันพฤหัสบดีที่ 18 เดือนกรกฎาคม พ.ศ.2567

17/07/2024

รายการ ... ธรรมะรับอรุณ
ประจำวันพฤหัสบดีที่ 18 เดือนกรกฎาคม พ.ศ.2567

โครงการสินเชื่อเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ (ปชช.รายย่อย) – สินเชื่อซอฟต์โลน 1 แสนล้านของธนาคารออมสินครม. มีมติเห็นชอบการแยกบัญช...
17/07/2024

โครงการสินเชื่อเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ (ปชช.รายย่อย) – สินเชื่อซอฟต์โลน 1 แสนล้านของธนาคารออมสิน

ครม. มีมติเห็นชอบการแยกบัญชีโครงการให้สินเชื่อตามมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจและช่วยเหลือประชาชนรายย่อย และโครงการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ (Soft Loan) GSB Boost Up ของธนาคารออมสินเป็น *บัญชีธุรกรรมนโยบายรัฐ (Public Service Account: PSA) พร้อมทั้งมอบหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป ตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอ
*บัญชีธุรกรรมนโยบายรัฐ หมายถึง บัญชีที่จัดทําขึ้นเพื่อบันทึกผลการดําเนินโครงการตามนโยบายของรัฐที่ดําเนินการผ่านสถาบันการเงินเฉพาะกิจที่ได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี โดยการบันทึกบัญชีจะแยกออกจากบัญชีการดําเนินธุรกรรมตามปกติของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ ทั้งนี้ หากเกิดความเสียหายจากการดําเนินโครงการตามนโยบายของรัฐ ผลการดําเนินโครงการจะไม่ถูกนําไปรวมกับผลการดําเนินการตามปกติของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ

ออมสินออก 2 โครงการ กระตุ้นเศรษฐกิจและช่วยเหลือประชาชนรายย่อย
จากรายงานของกระทรวงการคลัง พบว่า ภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัว สวนทางกับต้นทุนการผลิต และระดับราคาสินค้าทั่วไปที่ปรับตัวเพิ่มสูงขึ้น รวมไปถึงแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยขาขึ้นยังคงทรงตัวอยู่ในระดับสูง ทำให้ค่าครองชีพของประชาชน และต้นทุนในการประกอบอาชีพปรับตัวสูงขึ้น ซึ่งส่งผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจของผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ทำให้กำไรลดลงและประสบกับปัญหาด้านสภาพคล่อง ดังนั้น เพื่อแก้ไขและบรรเทาความเดือดร้อนจากปัญหาดังกล่าว ธนาคารออมสินจึงได้ดำเนินโครงการให้สินเชื่อตามมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจและช่วยเหลือประชาชนรายย่อย และโครงการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ (Soft Loan) GSB Boost Up (เป็นโครงการที่ธนาคารออมสินดำเนินการเองโดยไม่ได้ของบประมาณจัดสรรเพิ่มเติม)

โครงการให้สินเชื่อตามมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจและช่วยเหลือประชาชนรายย่อย มีรายละเอียดสำคัญ ดังนี้
1. กลุ่มสินเชื่ออัตราดอกเบี้ยต่ำภาคอสังหาริมทรัพย์ (4 มาตรการ) ประกอบด้วย
1.1 สินเชื่ออัตราดอกเบี้ยต่ำสำหรับกลุ่มลูกค้าที่ประกอบธุรกิจภาคอสังหาริมทรัพย์ มีวัตถุประสงค์เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจภาคอสังหาริมทรัพย์ และส่งเสริมผู้ประกอบธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ให้สร้างโครงการที่อยู่อาศัยสำหรับผู้มีรายได้น้อย วงเงินรวม 10,000 ล้านบาท (2 มาตรการ)
• สินเชื่อ GSB D - Home กระตุ้นเศรษฐกิจ: อัตราดอกเบี้ยเริ่มต้นร้อยละ 3.99 ต่อปี ระยะเวลากู้ไม่เกิน 4 ปี
• สินเชื่อ GSB D - Home สร้างบ้านเพื่อคนไทย: อัตราดอกเบี้ยเริ่มต้นร้อยละ 3.5 ต่อปี ระยะเวลากู้ไม่เกิน 4 ปี
1.2 สินเชื่ออัตราดอกเบี้ยต่ำสำหรับกลุ่มประชาชนรายย่อยที่ต้องการซื้อหรือปลูกสร้างที่อยู่อาศัย มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจภายในประเทศและลดความเหลื่อมล้ำของการมีที่พักอาศัยเป็นของตนเอง วงเงินรวม 10,000 ล้านบาท (2 มาตรการ)
• สินเชื่อบ้านออมสินเพื่อคนไทย เพื่อซื้อ/ปลูกสร้างที่อยู่อาศัย: อัตราดอกเบี้ยเริ่มต้นร้อยละ 1.95 ต่อปี วงเงินกู้ไม่เกิน 7 ล้านบาท
• สินเชื่อ Top Up เพื่อซื้อเฟอร์นิเจอร์ ตกแต่งบ้าน หรือสิ่งจำเป็นอื่นในการเข้าอาศัย: อัตราดอกเบี้ยเริ่มต้นร้อยละ 3.49 ต่อปี

2. กลุ่มสินเชื่ออัตราดอกเบี้ยต่ำเพื่อบรรเทาผลกระทบและแก้ไขปัญหาหนี้ครัวเรือนด้วยการ Refinance สินเชื่อที่มีดอกเบี้ยสูงในตลาด มาใช้สินเชื่อดอกเบี้ยต่ำของธนาคารออมสิน ภายใต้โครงการ “สินเชื่อ
รีไฟแนนซ์เพื่อสังคม” 4 มาตรการ ประกอบด้วย
2.1 สินเชื่อรีไฟแนนซ์สำหรับกลุ่มลูกค้าฐานราก (2 มาตรการ)
• สินเชื่อรีไฟแนนซ์สินเชื่อผู้ประกอบอาชีพอิสระ (Re - Nano) เพื่อชำระหนี้สินเชื่อ *Nano Finance ที่กู้ไปเพื่อลงทุนประกอบอาชีพ: อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 18 ต่อปี (จากเดิมสูงสุดร้อยละ 33 ต่อปี) วงเงินกู้สูงสุดไม่เกิน 200,000 บาทต่อราย ผ่อนชำระสูงสุดไม่เกิน 8 ปี โดยมีบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อยค้ำประกันสินเชื่อ
* Nano Finance มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า สินเชื่อรายย่อยเพื่อการประกอบอาชีพภายใต้การกำกับ เป็นสินเชื่อที่ภาครัฐต้องการให้การสนับสนุน เนื่องจากเห็นปัญหาของประชาชนรายย่อยที่ต้องการใช้เงินทุนเพื่อการประกอบอาชีพ แต่ไม่สามารถเข้าถึงสินเชื่อในระบบสถาบันการเงินได้ เพราะไม่มีเอกสารหลักฐานที่ใช้แสดงแหล่งที่มาของรายได้ และไม่มีทรัพย์สินที่จะนำมาเป็นหลักประกันในการกู้ยืมเงิน เช่น พ่อค้า แม่ค้า หรือผู้ที่ประกอบอาชีพเสริม
• สินเชื่อรีไฟแนนซ์สินเชื่อส่วนบุคคล (*Re P - loan) เพื่อชำระหนี้สินเชื่อส่วนบุคคล (P - loan) ของสถาบันการเงินหรือผู้ประกอบธุรกิจการเงินที่ไม่ใช่สถาบันการเงิน (Non - Bank): อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 15 ต่อปี (จากเดิมสูงสุดร้อยละ 25 ต่อปี) วงเงินกู้สูงสุดไม่เกิน 100,000 บาทต่อราย ผ่อนชำระสูงสุดไม่เกิน 5 ปี
* Re P - loan (Personal Loan) คือ สินเชื่ออเนกประสงค์ในรูปแบบที่เป็นเงินก้อนพร้อมใช้ ให้กู้ยืมแก่บุคคลธรรมดา ที่มีเอกสารแสดงรายได้ที่ชัดเจน ไม่ว่าจะด้วยวัตถุประสงค์อะไรก็ตาม โดยไม่ต้องมีทรัพย์สินเข้ามาเป็นหลักประกัน หรือบุคคลค้ำประกัน
2.1 สินเชื่อรีไฟแนนซ์สำหรับกลุ่มลูกค้ารายย่อยบุคคล (2 มาตรการ)
• สินเชื่อรีไฟแนนซ์สินเชื่อบัตรเครดิต (Re - Card) เพื่อชำระหนี้บัตรเครดิตของสถาบันบการเงิน หรือ Non - Bank มาผ่อนชำระในรูปแบบเงินกู้ระยะยาว: อัตราดอกเบี้ยเริ่มต้นร้อยละ 8.99 ต่อปี (จากเดิมสูงสุดร้อยละ 16 ต่อปี) วงเงินกู้สูงสุดไม่เกิน 500,000 บาทต่อราย ผ่อนชำระสูงสุดไม่เกิน 7 ปี
• สินเชื่อรีไฟแนนซ์สินเชื่อที่อยู่อาศัย (Re - Home) เพื่อไถ่ถอนจำนองที่อยู่อาศัยจากสถาบันการเงินอื่น: อัตราดอกเบี้ยเริ่มต้นที่ร้อยละ 1.95 ต่อปี (จากเดิมร้อยละ 6 - 7 ต่อปี วงเงินกู้สูงสุดไม่เกิน 5 ล้านบาทต่อราย ผ่อนชำระสูงสุดไม่เกิน 40 ปี

โครงการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ (Soft Loan) GSB Boost Up มีรายละเอียดสำคัญ ดังนี้
วัตถุประสงค์: เพื่อสนับสนุนผู้ประกอบการ SMEs ในด้านการลงทุนและเสริมสภาพคล่อง

วิธีดำเนินงาน:
• ธนาคารออมสินสนับสนุนแหล่งเงินทุนดอกเบี้ยต่ำวงเงินรวม 100,000 ล้านบาท ให้แก่สถาบันการเงินที่เข้าร่วมโครงการฯ ทั้งธนาคารพาณิชย์และสถาบันการเงินเฉพาะกิจ โดยคิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 0.01 ต่อปี เป็นระยะเวลา 2 ปี
• สถาบันการเงินที่เข้าร่วมโครงการให้สินเชื่อแก่ผู้ประกอบการ SMEs ในอัตราร้อยละ 3.5 ต่อปี เป็นระยะเวลา 2 ปี วงเงินสินเชื่อสูงสุดต่อรายไม่เกิน 40 ล้านบาท (รวมทุกสถาบันการเงิน) ทั้งนี้ ภายใต้วงเงินดังกล่าวธนาคารออมสินสามารถให้สินเชื่อแก่ผู้ประกอบการโดยตรงในหลักเกณฑ์และเงื่อนไขเดียวกับสถาบันการเงินที่เข้าร่วมโครงการฯ

ระยะเวลาดำเนินงาน: ผู้ประกอบการ SMEs ที่สนใจสามารถยื่นขอสินเชื่อกับสถาบันการเงินที่เข้าร่วมโครงการได้ถึงวันที่ 30 ธันวาคม 2568 หรือจนกว่าวงเงินสินเชื่อรวมในโครงการจะหมด (แล้วแต่ระยะเวลาใดจะถึงก่อน) โดยให้เบิกจ่ายสินเชื่อให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 30 ธันวาคม 2569

ขอความร่วมมือ ธปท. ตรวจสอบ สถาบันการเงินที่เข้าร่วมโครงการฯ
ทั้งนี้ เพื่อให้การดำเนินโครงการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ (Soft Loan) GSB Boost Up เป็นไปตามวัตถุประสงค์และหลักเกณฑ์โครงการ จึงเห็นควรขอความร่วมมือจากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เข้าตรวจสอบการปล่อยสินเชื่อของสถาบันการเงินที่เข้าร่วมโครงการฯ โดยให้สถาบันการเงินที่เข้าร่วมสอบทานกระบวนการอนุมัติสินเชื่อ และสุ่มทานสินเชื่อรายลูกหนี้ในโครงการให้เป็นไปตามเงื่อนไขของโครงการ พร้อมทั้งจัดทำรายงานสรุปผลการสอบทานดังกล่าว แยกจากธุรกรรมสินเชื่อประเภทอื่น ๆ เป็นประจำทุกไตรมาสและรวบรวมรายงานดังกล่าวไว้สำหรับการเข้าตรวจสอบสถาบันการเงินประจำปีของ ธปท. และ เพื่อให้เกิดความโปร่งใสในการกํากับดูแล การตรวจสอบและการประเมินผล การดําเนินงานของสถาบันการเงินเฉพาะกิจในการทําหน้าที่เป็นกลไกของรัฐเพื่อฟื้นฟูและช่วยเหลือกลุ่มประชาชนและธุรกิจเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ และป้องกันความเสี่ยงทางเศรษฐกิจที่อาจเกิดขึ้น กระทรวงการคลัง จึงเห็นควรเสนอการแยกบัญชีโครงการให้สินเชื่อของธนาคารออมสินที่กล่าวมาข้างต้นเป็นบัญชี PSA

17/07/2024

ออมสินออก 2 โครงการ กระตุ้นเศรษฐกิจและช่วยเหลือประชาชนรายย่อย

17/07/2024

ครม. เห็นชอบ การส่งเสริมการออมทรัพย์ ของ กอช.

🟢 ครม.เห็นชอบหวยเกษียณ เพื่อเป็นเงินออมสำหรับวัยเกษียณ - ลุ้นรางวัล(16 กรกฎาคม 2567) ครม. มีมติเห็นชอบหลักการตามแนวทางใน...
17/07/2024

🟢 ครม.เห็นชอบหวยเกษียณ เพื่อเป็นเงินออมสำหรับวัยเกษียณ - ลุ้นรางวัล

(16 กรกฎาคม 2567) ครม. มีมติเห็นชอบหลักการตามแนวทางในการส่งเสริมการออมทรัพย์ของสมาชิกกองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.)
เพื่อรองรับการเกษียณผ่านโครงการสลากสะสมทรัพย์เพื่อเงินออม
ยามเกษียณ หรือ หวยเกษียณ ตามที่ กระทรวงการคลัง เสนอ

วัตถุประสงค์
1. ขยายโอกาสให้ผู้ประกันตนตามพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 มาตรา 40 และกลุ่มแรงงานนอกระบบมีทางเลือกในการออมแบบสมัครใจเพิ่มมากขึ้น
2. กระตุ้นและเพิ่มแรงจูงใจให้ประชาชนทุกกลุ่มเป้าหมายเข้าสู่ระบบ การออมเพื่อให้เกิดความมั่นคงทางการเงินในวัยเกษียณ
3. ลดภาวะพึ่งพิงของผู้สูงอายุกลุ่มเปราะบางที่อาจจะกลายเป็นคนยากจนในวัยเกษียณอายุ
4. ลดภาระทางการคลังในระยะยาวสำหรับการดูแลผู้สูงอายุ รวมทั้งสามารถลดการจัดสรรงบประมาณเพื่อเป็นเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ

ผู้มีสิทธิซื้อสลาก
• สมาชิก กอช. ปัจจุบัน ผู้ประกันตนตามมาตรา 40 แห่งพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533
• ผู้ประกอบอาชีพอิสระ
• แรงงานนอกระบบที่มีอายุไม่เกิน 60 ปีบริบูรณ์

เป้าหมายของโครงการ : การมีจำนวนสมาชิกประเภท ข. (บุคคลสัญชาติไทยซึ่งมีอายุไม่ต่ำกว่า 15 ปีบริบูรณ์ แต่ไม่เกิน 60 ปีบริบูรณ์ ไม่น้อยกว่า
5 ล้านคน ภายในระยะเวลา 3 ปี คาดว่าจะมีสมาชิกที่จะเข้าร่วมโครงการ 0.36 - 21 ล้านคนต่อปี

รูปแบบการดำเนินโครงการ
1. ออกสลากเริ่มต้นประมาณ 5 ล้านใบต่องวด (ต่อสัปดาห์) หรือ 260 ล้านใบต่อปี โดยกำหนดออกรางวัลทุกวันศุกร์ เวลา 17.00 น. (รวม 52 งวดต่อปี) ในราคาขายใบละ 50 บาท คิดเป็นเงิน 250 ล้านบาทต่องวด หรือ 13,000 ล้านบาทต่อปี
2. กำหนดรูปแบบสลากเป็นสลากดิจิทัล (สลากขูดดิจิทัล) โดยผู้ซื้อลงทะเบียนการซื้อและซื้อผ่านช่องทางออนไลน์ในลักษณะแอปพลิเคชัน ที่ผูกกับบัญชีธนาคาร ทั้งนี้ จำกัดการซื้อสลากต่อคนได้สูงสุดไม่เกิน 3,000 บาทต่อเดือน หรือคนละไม่เกิน 60 ใบต่องวด
3. จำนวนเงินที่ซื้อสลากจะถูกเก็บเป็นเงินสะสมเฉพาะบุคคล โดยจะได้รับเงินที่ซื้อสลากคืนทั้งหมดในรูปแบบเงินบำเหน็จเมื่ออายุครบ 60 ปีบริบูรณ์ ทั้งนี้ รัฐบาลจะไม่สมทบเงินให้กับผู้ซื้อสลากและไม่รับประกันผลตอบแทนจากการซื้อสลาก
4. เมื่อสมาชิกประเภท ข. อายุครบ 60 ปีบริบูรณ์ กอช. จะจ่ายเงินบำเหน็จผ่านพร้อมเพย์เลขบัตรประจำตัวประชาชน หรือจ่ายเงินบำเหน็จให้กับผู้รับผลประโยชน์ผ่านพร้อมเพย์เลขบัตรประจำตัวประชาชน (กรณีสมาชิกประเภท ข. เสียชีวิต)

ตัวอย่าง การซื้อสลากทุกเดือน จำนวน 3,000 บาท หรือ 60 ใบต่อเดือน
- อายุ 15 – 60 ปี จำนวนปีที่ซื้อสลาก 45 ปี เงินบำเหน็จ 1.62 ล้านบาท
- อายุ 30 – 60 ปี จำนวนปีที่ซื้อสลาก 30 ปี เงินบำเหน็จ 1.08 ล้านบาท
- อายุ 50 – 60 ปี จำนวนปีที่ซื้อสลาก 10 ปี เงินบำเหน็จ 0.36 ล้านบาท

เงินรางวัล
1. เงินรางวัลกรณีถูกรางวัลจะได้รับเมื่อประกาศผลตามวันเวลาที่คณะกรรมการ กอช. กำหนด
2. กำหนดรูปแบบรางวัลต่องวด (1 สัปดาห์) รวมเงินรางวัล 780 ล้านบาท ต่อปี ดังนี้
- รางวัลที่ 1 จำนวน 1 ล้านบาท จำนวน 5 รางวัล รวมเงินรางวัล 5 ล้านบาท - รางวัลที่ 2 จำนวน 1,000 บาท จำนวน 10,000 รางวัล รวมเงินรางวัล 10 ล้านบาท
3. การออกรางวัลจะดำเนินการโดย กอช. ร่วมกับสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล
4. การรับเงินรางวัล กอช. จะจ่ายเงินรางวัลให้กับผู้ถูกรางวัลผ่านบัญชีพร้อมเพย์หมายเลขบัตรประชาชนไม่เกินวันถัดไป (ผู้ถูกรางวัลจะสามารถถอนเงินรางวัลได้ทันที หากรางวัลออกไม่ครบ ทบไปงวดต่อไป) ไม่ว่าถูกรางวัล หรือไม่ถูกรางวัล เงินที่ซื้อสลากทุกบาท จะถูกเก็บไว้ในบัญชีเงินออมของแต่ละบุคคล ผ่าน กอช. และจะสามารถถอนคืนได้ตอนอายุ 60 ปี เพื่อการออมทรัพย์รองรับการเกษียณ

#หวยเกษียณ #เงินออมวัยเกษียณ

📢 ขอประชาสัมพันธ์โครงการฯด้วยงานโครงการพิเศษและการบริการชุมชน วิทยาลัยเทคนิคพัทลุง  ดำเนินการจัดโครงการศูนย์ซ่อมสร้างเพื...
17/07/2024

📢 ขอประชาสัมพันธ์โครงการฯ
ด้วยงานโครงการพิเศษและการบริการชุมชน วิทยาลัยเทคนิคพัทลุง ดำเนินการจัดโครงการศูนย์ซ่อมสร้างเพื่อชุมชน Fix it – จิตอาสา กิจกรรมวันเฉลิมพระเกียรติฯ เนื่องในวันเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทร มหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ หรือ 72 พรรษา

โดยจัดตั้งศูนย์ฯ เพื่อให้บริการประชาชน ซ่อมเครื่องมือ เครื่องจักรทางการเกษตร ยานพาหนะ เครื่องใช้ไฟฟ้า เครื่องใช้ในครัวเรือน และบริการสร้างอาชีพในรายวิชาการจับจีบผ้า

🗓️ ระหว่างวันที่ 24 – 26 กรกฎาคม 2567
📍 ณ บริเวณหน้าอาคารปฏิบัติการสาขาวิชาการโรงแรมและการท่องเที่ยว โรงแรมโนราวิลล์ วิทยาลัยเทคนิคพัทลุง
📌📌 กำหนดจัดพิธีเปิดวันพุธ ที่ 24 กรกฏาคม 2567 เวลา 9.00 น.
🔸 การแต่งกายสวมเสื้อโทนสีเหลือง

17/07/2024
17/07/2024

พัทลุง ฝนตกหนัก
ทั้งลมทั้งฝน !!!
พี่น้องพันพรือกันมั้ง

16/07/2024

รายการหนูนุ้ยคุ้ยข่าว วันที่ 17 กรกฎาคม 2567

16/07/2024

รายการธรรมะรับอรุณ วันที่ 17 กรกฎาคม 2567

16/07/2024

🙏 ทรงพระเจริญ 🙏
ถวายพระพรชัยมงคล ในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว 28 กรกฎาคม 2567 โดย นายวัชรพงศ์ พูนชุม ผู้อำนวยการสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย จังหวัดพัทลุง

16/07/2024

🙏 ทรงพระเจริญ 🙏
ถวายพระพรชัยมงคล ในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว 28 กรกฎาคม 2567 โดย นายสมนึก ทอแสงทอง อัยการจังหวัดพัทลุง

กรมอู่ทหารเรือเปิดให้ประชาชนที่เข้าชมการฝึกซ้อมกำลังพลฝีพายเรือพระที่นั่ง ณ กรมอู่ทหารเรือ อู่แห้งหมายเลข 1 ถนนอรุณอมริน...
16/07/2024

กรมอู่ทหารเรือเปิดให้ประชาชนที่เข้าชมการฝึกซ้อมกำลังพลฝีพายเรือพระที่นั่ง ณ กรมอู่ทหารเรือ อู่แห้งหมายเลข 1 ถนนอรุณอมรินทร์ระหว่างวันที่ 15-19 และ 23 - 26 กรกฎาคม 2567

อู่ทหารเรือธนบุรี กรมอู่ทหารเรือ ได้เปิดให้ประชาชนที่เข้าชมการฝึกซ้อมกำลังพลฝีพายเรือพระที่นั่ง ณ อู่แห้งหมายเลข 1 ได้ศึกษาเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์และโบราณสถาน ในพื้นที่อู่ทหารเรือธนบุรี

ตามที่ คณะกรรมการจัดเตรียมความพร้อมขบวนเรือพระราชพิธี เชิญชวนให้ประชาชนได้เข้าชมการฝึกซ้อมกำลังพลฝีพายเรือพระที่นั่งทั้ง 4 ลำได้แก่ เรือพระนั่งสุพรรณหงส์ เรือพระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณ รัชกาลที่ 9 เรือพระที่นั่งอนันตนาคราช และเรือพระที่นั่งอเนกชาติภุชงค์ อย่างใกล้ชิด ในระหว่างวันที่ 15-19 และ 23 - 26 กรกฎาคม 2567 ณ อู่ทหารเรือธนบุรี กรมอู่ทหารเรือ พร้อมกันนั้นอู่ทหารเรือธนบุรี กรมอู่ทหารเรือ ได้เปิดให้ประขาชนศึกษาเยี่ยมชมโบราณสถานและพิพิธภัณฑ์ในพื้นที่อู่ทหารเรือธนบุรี กรมอู่ทหารเรือ โดยจะมีวิทยากรนำชมในวันและเวลาราชการ จำนวน 2 รอบๆ ที่ 1 ในเวลา 10.00 น. และรอบที่ 2 เวลา 15.30 น. สามารถแจ้งความประสงค์เข้าชมได้ที่ นาวาโทหญิง รศนา สมพงษ์ (โทร.0863017736) หรือ ตาม QR code

สำหรับรูปแบบการจัดขบวนเรือพยุหยาตราทางชลมารค เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 การพระราชพิธีเสด็จพระราชดำเนินถวายผ้าพระกฐิน ณ วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหารจะใช้เรือพระราชพิธีจำนวนทั้งสิ้น 52 ลำ จัดขบวนเป็น 5 ริ้ว ความยาว 1,200 เมตร กว้าง 90 เมตร โดยใช้กำลังพลประจำเรือในขบวนเรือพระราชพิธี จำนวนทั้งสิ้น 2,200 นาย จะเริ่มทำการซ้อมย่อยเป็นรูปขบวนเรือในแม่น้ำเจ้าพระยา จำนวน 10 ครั้ง ได้แก่ วันที่ 1 ,8 ,15 ,22 สิงหาคม วันที่ 3 ,12 ,19 ,26 กันยายน วันที่ 1 และ 10 ตุลาคม

ส่วนการซ้อมใหญ่ จำนวน 2 ครั้ง ในวันที่ 15 และ 22 ตุลาคม และซ้อมเก็บความเรียบร้อยในวันที่ 24 ตุลาคม โดยพระราชพิธีกำหนดจัดขึ้นในวันที่ 27 ตุลาคม 2567

#พระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา๖รอบ #เรือพระราชพิธี #การฝึกฝีพายขบวนพยุหยาตราทางชลมารค #เรือพระราชพิธี #กองทัพเรือ #พระกฐิน

นายกฯ สั่งการเร่งแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนประชาชน โดยเฉพาะปัญหาหนี้ครัวเรือน เร่งมาตรการระยะสั้นรัฐบาล...
16/07/2024

นายกฯ สั่งการเร่งแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนประชาชน โดยเฉพาะปัญหาหนี้ครัวเรือน เร่งมาตรการระยะสั้น

รัฐบาลให้ความสำคัญต่อปัญหาเศรษฐกิจ ซึ่งการแก้ปัญหาเศรษฐกิจจำเป็นต้องใช้เวลา ไม่สามารถฟื้นเศรษฐกิจในประเทศได้อย่างทันที รัฐบาลมุ่งให้ความสำคัญแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจระยะสั้นเพื่อบรรเทาความเดือดของพี่น้องประชาชน โดยเฉพาะจากปัญหาหนี้ครัวเรือน

นายกฯ ย้ำรัฐบาลให้ความสำคัญปัญหาปากท้องของพี่น้องประชาชน
(15 ก.ค. 67) นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี เป็นประธานประชุมหารือประเด็นเศรษฐกิจ ครั้งที่ 3/2567ณ ห้องสีเขียว ตึกไทยคู่ฟ้า ทำเนียบรัฐบาลโดยที่ประชุมได้รายงานสถานการณ์หนี้ 3 เสาหลักของเศรษฐกิจ ดังนี้
• หนี้ครัวเรือน พบว่ามีจำนวน 13.6 ล้านล้านบาท
• หนี้ธุรกิจ SMEs จำนวน 1.5 ล้านล้านบาท
• หนี้รัฐบาล พบว่าสิ้นเดือนพฤษภาคม 2567 มูลค่าหนี้อยู่ที่ 64.3% ของ GDP แต่ยังอยู่ในกรอบหนี้สาธารณะ โดยคาดว่าจะเริ่มคลายแรงกดดันลงในปี 2569 เพราะรายได้รัฐบาลขยายตัวมากกว่ารายจ่ายของรัฐบาล

นอกจากนี้ ในที่ประชุมยังได้รับทราบการเร่งรัดเบิกจ่ายรายจ่ายลงทุนภาครัฐปีงบประมาณ 2567 และการลงทุนผ่านสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI)พร้อมกำหนด 7 มาตรการแก้ปัญหาหนี้ ประกอบด้วย
1. การปรับโครงสร้างหนี้ที่อยู่อาศัย
2. มาตรการแก้ปัญหาหนี้รถยนต์
3. มาตรการแก้ปัญหาหนี้บัตรเครดิต
4. มาตรการแก้ปัญหาหนี้สินรายย่อย
5. มาตรการแก้ปัญหาหนี้กู้ยืมเพื่อการศึกษา
6. โครงการค้ำประกันสินเชื่อ PGS 11 (บสย.)
7. มาตรการแก้ปัญหาหนี้นอกระบบ

นายกฯสั่งการเร่งแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจเพื่อบรรเทาความเดือดร้อน
ภายหลังรับฟังรายงานสถานการณ์ปัญหาเศรษฐกิจและรับทราบมาตรการแก้ปัญหา นายกฯ สั่งการต่อที่ประชุม 6 เรื่อง ดังนี้
1. เร่งแก้ไขเรื่องหนี้บ้าน และขอความร่วมมือธนาคารพาณิชย์เข้าร่วมแก้ไขปัญหา
2. เร่งแก้ไขเรื่องหนี้บัตรเครดิต และขอความร่วมมือบริษัทบัตรเครดิตเข้าร่วมแก้ไขปัญหา
3. เร่งแก้ไขหนี้กู้ยืมเพื่อการศึกษา โดยให้แจ้งยืนยันผู้มีสิทธิได้รับเงินคืน และผู้ที่มีหนี้ลดลง
4. ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ไปพิจารณาความเดือดร้อนของเกษตรกรในด้านต่าง ๆ เพื่อนำกลับมาเสนอในครั้งต่อไป
5. ให้เข้มงวดกวดขันเรื่องสินค้าที่นำเข้ามาจากต่างประเทศ
6. เร่งรัดโครงการลงทุนที่อยู่ในกระบวนการของ BOI เพื่อให้โครงการลงทุนเกิดเป็นเม็ดเงินจริงลงสู่ระบบเศรษฐกิจโดยเร็ว
นายกฯ โพสต์ยืนยัน รัฐบาลไม่ได้นิ่งนอนใจเรื่องปัญหาเศรษฐกิจ เร่งออก

มาตรการเร่งด่วนเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนในระยะ 3 เดือนข้างหน้า
นายกฯ โพสต์บนเฟซบุ๊กส่วนตัวถึงแนวทางการแก้ปัญหาด้านเศรษฐกิจว่า เข้าใจถึงความท้าทายทางเศรษฐกิจที่ทุกคนกำลังเผชิญอยู่ ขอยืนยันว่า รัฐบาลไม่ได้นิ่งนอนใจ และได้เร่งออกมาตรการเร่งด่วน
เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนในระยะ 3 เดือนข้างหน้าโดย นายกฯ ได้สั่งการให้เร่งแก้ไขปัญหาหนี้สินอย่างรอบด้าน ทั้งหนี้บ้าน หนี้บัตรเครดิต หนี้รายย่อย และหนี้กู้ยืมเพื่อการศึกษา รวมถึงเดินหน้าแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบ โดยร่วมมือกับสถาบันการเงินต่าง ๆ นอกจากนี้ ยังให้ความสำคัญกับการช่วยเหลือเกษตรกร การควบคุมคุณภาพสินค้านำเข้า การลดค่าครองชีพ และการสนับสนุนการท่องเที่ยวช่วง Low Seasonมาตรการเหล่านี้จะช่วยฟื้นฟูเศรษฐกิจของประเทศในระยะสั้น พร้อมกับวางรากฐานสำหรับการเติบโตที่ยั่งยืนในระยะยาว รัฐบาลจะทำงานอย่างหนักเพื่อให้คนไทยทุกคนได้เห็นผลเป็นรูปธรรมโดยเร็ว และจะทยอยออกมาตรการเพิ่มเติมอย่างต่อเนื่องไปจนถึงสิ้นปี 2567 ซึ่ง เชื่อว่าด้วยความร่วมมือร่วมใจ จะทำให้สามารถผ่านพ้นช่วงเวลาที่ท้าทายนี้ไปได้

#นายกฯสั่งการเร่งแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ #ภารกิจนายกฯ #กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ #กระทรวงมหาดไทย #นโยบายรัฐบาล20กระทรวง

ความคืบหน้าโครงการเติมเงิน 10,000 บาท ผ่านDigital Wallet เร่งจัดทำรายละเอียด แหล่งเงินชัด ป้องกันการทุจริตการกระทำผิดเงื...
16/07/2024

ความคืบหน้าโครงการเติมเงิน 10,000 บาท ผ่านDigital Wallet เร่งจัดทำรายละเอียด แหล่งเงินชัด ป้องกันการทุจริตการกระทำผิดเงื่อนไขโครงการฯ
รัฐบาลพร้อมเดินหน้าโครงการฯ Digital Wallet มอบหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งจัดทำรายละเอียดให้ชัดเจน

(15 ก.ค. 67) นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการนโยบายโครงการเติมเงิน 10,000 บาท ผ่าน Digital Wallet ครั้งที่ 4/2567 ณ ตึกภักดีบดินทร์ ทำเนียบรัฐบาลซึ่งการประชุมคณะกรรมการนโยบายโครงการฯDigital Walletเป็นการรับทราบการดำเนินงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาชี้แจงเกี่ยวกับรายละเอียดการดำเนินโครงการฯDigital Wallet ให้มีความชัดเจนขึ้นเช่น การเตรียมความพร้อมสำหรับการเปิดลงทะเบียน ประเภทสินค้า และแนวทางการป้องกันการทุจริตประพฤติมิชอบเป็นต้น ส่วนกรณีที่มีผู้ไม่หวังดีมีการแอบอ้างให้โหลดแอปพลิเคชันต่าง ๆ นั้น นายกฯ ย้ำขอให้คอยฟังจากทางหน่วยงานรัฐบาลเท่านั้น

ที่ประชุมมีมติเห็นชอบแหล่งเงินใหม่
นายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่าที่ประชุมได้มีมติเห็นชอบในแหล่งที่มาของเงินใหม่ โดยได้ดำเนินการตามข้อห่วงใยของหน่วยงานตรวจสอบและไปดูแหล่งที่มาและกรอบวงเงินที่ตัวเลข 4.5 แสนล้านบาท แต่ไม่มีการปรับขนาดโครงการยังคงเป็น 50 ล้านคน หากมีคนลงทะเบียนน้อยกว่าหรือมากกว่าจะใช้กลไกในการบริหารงบประมาณเพื่อให้มีเงินทุกบาททุกสตางค์เพียงพอสําหรับโครงการดังกล่าว

สำหรับเรื่องตัวเงินที่เตรียมไว้ที่ประชุมมีมติเห็นชอบในแหล่งที่มาของเงินใหม่ คือไม่มี มาตรา 28 พ.ร.บ.วินัยการเงินการคลังของรัฐ โดยงบประมาณที่ใช้ประกอบด้วยงบประมาณปี 2567 และ ปี 2568 ซึ่งเพียงพอและสามารถดำเนินการได้ภายในกรอบของงบประมาณ โดยแหล่งเงินจากงบประมาณปี 2567 และปี 2568 มีดังนี้
(1) การบริหารการคลังและการบริหารจัดการเงินงบประมาณร่ายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2567 วงเงิน 165,000 ล้านบาท ประกอบด้วย แหล่งเงินจากงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม ปีงบประมาณ 2567 วงเงิน 122,000 ล้านบาท และที่เหลืออีก 43,000 ล้านบาท เป็นการบริหารการคลังและบริหารจัดการเงินงบประมาณตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ

(2) การบริหารการคลังและการบริหารจัดการเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2568 วงเงิน 285,000 ล้านบาท ประกอบด้วย งบประมาณรายจ่ายปีงบประมาณ 2568 ที่ตั้งไว้แล้ว 152,700 ล้านบาท และการบริหารการคลังและบริหารจัดการเงินงบประมาณตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ วงเงิน 132,300 ล้านบาท

เงินดิจิทัลซื้ออะไรได้บ้าง
สำหรับสินค้า Negative List(Negative List หมายถึง รายการเครื่องจักรและอุปกรณ์ที่มีผลิตหรือประกอบในราชอาณาจักร จึงจะไม่ได้รับอนุมัติให้นำเข้าโดยได้รับยกเว้น หรือลดหย่อนอากรขาเข้า)ที่ประชุมได้เห็นชอบตามมติคณะอนุกรรมการกำกับฯ เสนอ แต่มีข้อสังเกตในที่ประชุมเปิดความยืดหยุ่นให้กระทรวงพาณิชย์พิจารณาตามความจำเป็น เหมาะสม เช่น สินค้าอาวุธยุทโธปกรณ์ อาทิ ปืน ซึ่งเป็นอีกหนึ่งกลุ่มพิจารณา ที่ให้กระทรวงพาณิชย์ไปพิจารณาว่าเหมาะสมร่วมโครงการหรือไม่ นอกจากนี้ ยังมีข้อเสนอให้ตัดสิทธิกลุ่มที่เคยทำผิดเงื่อนไขโครงการรัฐในอดีต เช่น การถูกเรียกเงินคืน ทั้งในส่วนร้านค้าและประชาชนออกด้วย

ส่วนกรณีที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) มีความเห็นและข้อห่วงใยเรื่องระบบการโอนเงิน จะต้องปลอดภัยและมั่นคงนั้น เรื่องนี้เป็นไปตามมาตรฐาน และอยู่ในกรอบความมั่นคงปลอดภัยสูงสุด ยืนยันว่า ไทม์ไลน์โครงการยังอยู่ในกรอบเดิม คือเงินถึงมือประชาชนในไตรมาส 4 โดยความชัดเจนทั้งหมดนายกรัฐมนตรีจะมีการแถลงในวันที่ 24 กรกฎาคมนี้ และจะนำเสนอให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาต่อไป

#ความคืบหน้าโครงการฯDigitalWallet #ดิจิทัลวอลเล็ต #กระทรวงการคลัง #กระทรวงพาณิชย์ #นโยบายรัฐบาล20กระทรวง

16/07/2024

รายการ "ที่นี่เมืองลุง" ช่วงเมืองลุงวันนี้ กับ สสจ.พัทลุง
ประจำวันอังคารที่ 16 กรกฎาคม 2567
📌 ประเด็นเรื่อง : การใช้สิทธิบัตรทองและการยื่นคำร้องขอรับเงินช่วยเหลือเบื้องต้น ตามมาตรา 41
👉 โดย นายกิติศักดิ์ เมืองหนู หัวหน้ากลุ่มงานประกันสุขภาพ และนายศราวุธ พาหุพันธ์ เจ้าพนักงานสาธารณสุขชำนาญงาน กลุ่มงานประกันสุขภาพ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพัทลุง

16/07/2024

รัฐมนตรีต่างประเทศพบปะหารือรัฐมนตรีลงทุนซาอุดีอาระเบีย

16/07/2024

ความคืบหน้าโครงการฯ เติมเงิน 10,000 บาท ผ่าน Digital Wallet

16/07/2024

รายการ "ที่นี่เมืองลุง"
ประจำวันอังคารที่ 16 กรกฎาคม 2567
ประเด็น : การแจ้งเตือนและรับมือสถานการณ์ฝนตกหนักถึงหนักมาก ระหว่างวันที่ 14-18 กรกฎาคม 2567 🌧 🌪 🌨
โดย นายอาชวงศ์ สาริพัฒน์ หัวหน้าสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดพัทลุง

ที่อยู่

Phatthalung
93000

เบอร์โทรศัพท์

+6674829899

เว็บไซต์

แจ้งเตือน

รับทราบข่าวสารและโปรโมชั่นของ สวท.พัทลุง กรมประชาสัมพันธ์ผ่านทางอีเมล์ของคุณ เราจะเก็บข้อมูลของคุณเป็นความลับ คุณสามารถกดยกเลิกการติดตามได้ตลอดเวลา

ติดต่อ ธุรกิจของเรา

ส่งข้อความของคุณถึง สวท.พัทลุง กรมประชาสัมพันธ์:

วิดีโอทั้งหมด

แชร์


สถานีวิทยุ อื่นๆใน Phatthalung

แสดงผลทั้งหมด