THE PEN ❝The PEN❞ สื่อที่ทำกิจการเพื่อสังคม โดย?
(1)

حول شيج دأود الفطاني งานยิ่งใหญ่แห่งปี Haul Syeikh Daud รำลึกถึงชีวประวัติและเกียรติประวัติเชคดาวูดฟาฏอนีย์29 สิงหาคม 25...
29/08/2024

حول شيج دأود الفطاني
งานยิ่งใหญ่แห่งปี Haul Syeikh Daud รำลึกถึงชีวประวัติและเกียรติประวัติเชคดาวูดฟาฏอนีย์
29 สิงหาคม 2567
สถานที่: สภาอูลามะอฺ ฟาฏอนีย์ ดารุสสลาม บ้านปาเระ ต.บาราโหม อ.เมือง จ.ปัตตานี
(ฝ่ายสตรีจัดช่วงบ่ายที่มัสยิดกรือเซะ)

29/08/2024

حول شيج داود الفطاني

26/08/2024

ชายแดนใต้: เผยช่องว่างความเหลื่อมล้ำ 20 เท่า แก้จนด้วยนวัตกรรม

ในปี 2566 สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้แก่ ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส มีประชากรทั้งสิ้น 2,510,000 คน โดยมีสัดส่วนคนจนถึง 249,300 คน หรือเกือบ 1 ใน 3 ของประชากรทั้งหมด ซึ่งตัวเลขนี้สูงกว่าระดับประเทศถึง 3.8 เท่า นอกจากนี้ รายได้เฉลี่ยของคนในพื้นที่นี้ยังต่ำสุดเพียง 5,725 บาทต่อเดือน ซึ่งต่ำกว่าค่าเฉลี่ยทั้งประเทศที่ 9,409 บาทต่อเดือน ความเหลื่อมล้ำระหว่างคนรวยที่สุดและคนจนที่สุดในพื้นที่นี้ก็สูงถึง 20.6 เท่า โดยกลุ่มคนรวยได้รับส่วนแบ่งรายได้ถึง 41.4% ขณะที่กลุ่มคนจนมีส่วนแบ่งเพียง 2% เท่านั้น

ดร.ไอร์นี แอสะดง รองหัวหน้าโครงการวิจัย “โครงการแก้จนคนตานี” ซึ่งเป็นโครงการวิจัยแก้ไขปัญหาความยากจนจังหวัดปัตตานี สนับสนุนโดย บพท. หรือ หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ กล่าวว่าครัวเรือนยากจนในพื้นที่ส่วนใหญ่ประสบปัญหาการขาดแคลนทุน 5 ด้าน อันได้แก่ ทักษะอาชีพ(ทุนมนุษย์) เงินออม(ทุนการเงิน) การช่วยเหลือกันในชุมชน(ทุนสังคม) ที่ดินทำกิน(ทุนกายภาพ) และบ้านอยู่ในพื้นที่เสี่ยงภัยพิบัติ(ทุนธรรมชาติ)

เพื่อแก้ไขปัญหานี้ โครงการวิจัยได้พัฒนาขึ้นมาทั้งหมด 104 โมเดลแก้จน ซึ่งครอบคลุมหลายมิติ ทั้งการสนับสนุนแบบครัวเรือน การเสริมศักยภาพการรวมกลุ่ม และการยกระดับเครือข่ายเพื่อให้ความช่วยเหลือครอบคลุมกว้างขวางขึ้น

เมื่อคนรวยกับคนจนมีช่องว่างของรายได้ถึงกว่า 20 เท่า ก็ยากจะปฏิเสธว่าการแก้ปัญหาความยากจนในพื้นที่ชายแดนใต้เป็นสิ่งที่ไม่อาจละเลยได้อีกต่อไป

#ทุนท้องถิ่น #ชายแดนใต้ #ความยากจน #ความเหลื่อมล้ำ #ปัตตานี #เศรษฐกิจ #ความยั่งยืน

26/08/2024

แก้จนด้วยนวัตกรรม

25/08/2024

BOOK TALK “เกิดบนเรือนมลายู” พูดคุยในความธรรมดาสามัญและความเป็นมนุษย์ของชาวมลายูผ่านสายตา “คนใน” จากหนังสือ “เกิดบนเรือนมลายู” เขียนโดย ณายิบ อาแวบือซา กับบทสนทนาในหลากความทรงจำต่างมุมมองกับ
💬ศ.ดร.นิติ ภวัครพันธุ์ อดีตอาจารย์ประจำภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
💬รศ.ดร.ยุกติ มุกดาวิจิตร อาจารย์ประจำคณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
💬คุณดลยารัตน์ บากา
คุณณายิบ อาแวบือซา ผู้เขียน หนังสือ “เกิดบนเรือนมลายู”
💬คุณดลยารัตน์ บากา
ดำเนินรายการโดย นวลน้อย ธรรมเสถียร บรรณาธิการหนังสือ “เกิดบนเรือนมลายู” และคอลัมนิสต์ Decode.plus

23/08/2024

ศาลนราธิวาสประทับรับฟ้องคดีตากใบ
ที่ชาวบ้าน 48 คนฟ้องเอง
จำเลย 7 คน (จาก 9คน) ข้อหาร่วมกันฆ่าผู้อื่น ตามมาตรา 288 ประมวลกฎหมายอาญา

 #หากพรุ่งนี้ศาลไม่รับฟ้องคดีตากใบ ? ก่อนคดีจะหมดอายุความเก็บตกจากวงเสวนา หัวข้อ “คืนความยุติธรรมให้ตากใบ คืนลมหายใจให้ป...
22/08/2024

#หากพรุ่งนี้ศาลไม่รับฟ้องคดีตากใบ ? ก่อนคดีจะหมดอายุความ

เก็บตกจากวงเสวนา หัวข้อ “คืนความยุติธรรมให้ตากใบ คืนลมหายใจให้ประชาชน” จัดโดย สมัชชาประชาสังคมเพื่อสันติภาพ เมื่อวันที่ 19 สิงหาคม 2567 ณ โรงแรมอิมพีเรียล อ. เมือง จ.นราธิวาส ก่อนที่ศาลจังหวัดนราธิวาสนัดอ่านคำสั่งว่าจะประทับรับฟ้องหรือไม่ ในวันพรุ่งนี้ 23 สิงหาคม 2567 ในคดีอาญาที่ผู้เสียหายจำนวน 48 คนฟ้องเจ้าหน้าที่รัฐเอง ก่อนที่คดีจะหมดอายุความ 20 ปีในวันที่ 25 ตุลาคม 2567 นี้
คำถามสำคัญ คือหากศาลมีคำสั่งไม่รับฟ้อง คดีตากใบจะจบลงแค่นี้หรือยังมีช่องทางไหนได้อีกที่จะทำให้ผู้เสียหายได้ความยุติธรรมอย่างแท้จริง และคนทำผิดได้รับการลงโทษ

#ตั้งศาลประชาชน กลไกค้นหาความจริง

นางสาวพรเพ็ญ คงขจรเกียรติ ผู้อำนวยการมูลนิธิผสานวัฒนธรรม กล่าวว่า ถ้าพรุ่งนี้ (23 สิงหาคม 2567) ศาลมีคำสั่งที่เป็นคำสั่งที่มีมูลไม่สามารถอุทธรณ์ ฎีกาได้ แต่ถ้าไม่รับฟ้องสามารถอุทธรณ์ ฎีกาได้
“ถ้าสิ้นสุดกระบวนการยุติธรรมของไทยแล้ว ในทางต่างประเทศก็ยังทำได้อีกหลายมิติ เรียกว่า ศาลประชาชน เมื่อกลไกยุติธรรมในประเทศล้มเหลว ก็มีโอกาสที่ภาคประชาสังคมทั้งในและต่างประเทศสามารถริเริ่มการดำเนินการด้านกระบวนการยุติธรรมในลักษณะศาลประชาชน ไม่ใช่ศาลเตี้ยที่หมายถึงการใช้อำนาจตัดสินก่อนการพิพากษาคดี อย่างประเทศเราเรียกว่าวิสามัญฆาตกรรมบางประเทศเรียกว่าศาลเตี้ย”
นางสาวพรเพ็ญ กล่าวว่า ศาลประชาชน คือการจัดตั้งศาลจำลอง โดยผ่านกระบวนการให้มีผู้พิพากษารับเชิญ อาจจะเป็นผู้พิพากษาจากต่างประเทศ จากในประเทศ คณะมนตรีอะไรต่างๆ มาจัดสรรให้เป็นพื้นที่ในการรับฟัง คือการค้นหาความจริงรูปแบบหนึ่ง และบันทึกไว้ แล้วให้ผู้พิพากษาหรือผู้เชี่ยวชาญต่างๆที่ได้เชิญมาได้ตัดสินคดีในลักษณะที่เป็นคำพิพากษาของประชาชน ก็จะมีขั้นตอนที่สามารถทำได้ในบริบทสากล

#นี่คือโอกาสของกระบวนการยุติธรรมไทย ถ้ากลัวยกระดับเป็นเรื่องระหว่างประเทศ

นายรอมฎอน ปันจอร์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคประชาชน กล่าวว่า นี่เป็นความรับผิดชอบของรัฐไทยทั้งหมด ไม่ใช่แค่เรื่องอำนาจทาง ด้านหนึ่ง นี่คือสุดมือแล้วสุดทางแล้ว มันไปได้แค่นี้แล้ว ไม่สามารถให้ความยุติธรรมได้จริงๆ ก็เลยเป็นเงื่อนไขว่า ถ้ากลไกภายในประเทศมันสุดทาง กลไกที่อื่นๆซึ่งอาจจะรวมถึงกลไกระหว่างประเทศจะเข้ามาแทนหรือเติมเต็ม
“ผมทราบดีว่า กอ.รมน. และหน่วยงานความมั่นคงหลายหน่วยกังวลต่อการยกระดับปัญหาจังหวัดขายแดนภาคใต้ขึ้นเป็นเรื่องระหว่างประเทศ หลักใหญ่ใจความคือกรณีตากใบเป็นจุดเริ่มต้นของความหวาดกลัวที่จะยกระดับเป็นเรื่องระหว่างประเทศ เพราะอะไร รู้ไหมว่าสภาผู้แทนราษฎรมาเลเซียพูดเรื่องตากใบนายกรัฐมนตรีมาเลเซียพูดเรื่องตากใบ อดีตนายกมหาเดร์พูดเรื่องตากใบ OIC เรื่องตากใบ และส่งคนมาในพื้นที่ในอีกไม่กี่เดือนหลังจากเหตุการณ์”
นายรอมฎอน กล่าวว่า นายมหาเดร์เทียบเคียงกรณีที่ปัตตานีกับปาเลสไตน์ สำหรับโลกมุสลิมเรื่องใหญ่มาก เพราะการจัดการภายในการบริหารราชการหรือว่าการรับมือกับสถานการณ์ภายในรับมือไม่ได้ มันเป็นเหตุผลโดยตัวมันเองให้เรื่องนี้เป็นที่พูดถึงในเวทีนานาชาติ เพราะฉะนั้นนี่คือโอกาสของกระบวนการยุติธรรมไทยว่าสามารถเดินไปให้สุดทางและอำนวยความยุติธรรมประชาชน
“พรรคก้าวไกลเดิม พูดถึงเรื่องตากใบเทียบเคียงกับกรณีการล้อมปราบที่ตาย 99 คน ที่นี่ตาย 85 คน เป็นการตายขนาดใหญ่แล้วไม่มีคนรับผิดชอบ เพราะฉะนั้นเรากำลังพูดถึงการเปิดโอกาสให้ศาลอาญาระหว่างประเทศเข้ามาไต่สวนเฉพาะกรณี ย้อนหลังได้ด้วย ซึ่งเคยมีในกรณีที่ไอวอรี่โคสต์ในแอฟริกา แต่ประเทศไทยไม่เคยทำประเทศในอาเซียนก็ไม่เคยทำ แต่ถ้ามันตันจริงๆ ก็อาจจะต้องไปทุกช่องทาง”
นายรอมฎอน กล่าวว่า ทำไมเรื่องตากใบเราอยากให้ยุติได้อย่างยุติธรรม เหมือนที่บอกว่าเรื่องแบบนี้ต้องไม่เกิดขึ้นอีก แต่หลักประกันคืออะไร เรื่องเลวร้ายแบบนี้ต้องมีคนรับผิดชอบ ต้องมีการลงโทษ อันที่ 2 ต้องมีหลักประกันอย่างเช่น การไปผูกพันธะกับกฎหมายระหว่างประเทศ คือธรรมนูญกรุงโรม แต่ประเทศไทยยังไม่ลงนามให้สัตยาบัน

justice, no peace
นายฮาร่า ชินทาโร่ นักแปลสารแห่งมลายูปัตตานี กล่าวว่า คนทั่วโลกมักจะพูดว่าเป็นภาษาอังกฤษ พูดว่า No justice, no peace แปลว่า หากไม่มีความยุติธรรม ก็ไม่มีสันติภาพ ความยุติธรรมเป็นเงื่อนไขสำคัญสำหรับการสร้างสรรค์สันติภาพ
“ด้วยเหตุนี้สันติภาพที่ปราศจากความยุติธรรมก็เท่ากับของปลอมที่ไม่มีค่าเลย ในที่นี้การสร้างสันติภาพเป็นนโยบายของรัฐอยู่แล้ว แต่ปัญหาคือว่ารัฐบาลไทยตั้งแต่สมัยก่อนจนถึงบัดนี้ไม่เคยแสดงถึงเจตจำนงทางการเมืองที่แน่ชัดที่จะสร้างสันติภาพ โดยเฉพาะในเรื่องของการอำนวยความยุติธรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งเกี่ยวกับคดีตากใบ”
นายฮาร่า กล่าวว่า ถ้าศาลไม่รับคดีนี้หรือปฏิเสธที่จะชี้แจงความรับผิดชอบต่อเหตุการณ์หมายความว่า ต่อไปเราต้องใช้ชีวิตบนความเสี่ยง เพราะเหตุการณ์ลักษณะนี้อาจจะเกิดขึ้นได้อีกครั้งเพราะไม่มีการลงโทษหรือไม่มีการรับผิดชอบทางอาญาไม่ใช่ทางแพ่ง
นายฮาร่า กล่าวว่า ดังนั้น คำตัดสินของศาลที่จะออกมาในวันที่ 23 สิงหาคม ไม่ใช่มีความหมายในด้านกฎหมายอย่างเดียว เราเชื่อมั่นว่ามีผลต่อสถานการณ์ในพื้นที่ด้วยและอย่าลืมว่าการที่ประชาชนรู้สึกว่าไม่ได้รับความยุติธรรม อย่างเช่นผู้เสียหายจากคดีตัดใบก็ยังรู้สึกว่าไม่ได้รับความเป็นธรรม
“ขอให้การตัดสินครั้งนี้พิสูจน์ว่ากระบวนการยุติธรรมในประเทศนี้ยังมีความเป็นธรรม จะสามารถสร้างสันติภาพได้บนพื้นฐานของความยุติธรรม”
นายฮาร่า ชินทาโร่ กล่าวในช่วงท้ายว่า ผมขอฝากว่าคดีตากใบจะเป็นโอกาสของรัฐไทย อย่าคิดว่าถ้าเจ้าหน้าที่ถูกลงโทษรัฐจะเสียหน้า แต่อาจจะเป็นสิ่งที่ดีว่ารัฐมีความยุติธรรม ผมเคยคุยกับทาง BRN ว่าทำไมต้องต่อสู้ใต้ดิน เขาบอกว่าเพราะต่อสู้บนดินไม่ได้ ผมคิดว่าคดีนี้ถ้าศาลไม่รับคดีนี้ ผมคิดว่าเขาก็จะมีการต่อสู้ใต้ดินต่อไป สันติภาพจะไม่เกิดขึ้น แต่ถ้าหากศาลรับผมคิดว่าจะมีแสงสว่างปลายอุโมงค์

#กฎหมายเยียวยาจะเพิ่มเรื่องคุณภาพชีวิต
นายนันทพงศ์ สุวรรณรัตน์ รองเลขาธิการ ศอ.บต. กล่าว่า ภารกิจที่ ศอ.บต.ต้องมาทำก็คือการเยียวยาช่วยเหลือ แต่เดิมเราพูดถึงเรื่องการจ่ายเงิน แต่กำลังเปิดในส่วนของการเยียวยาช่วยเหลือที่เป็นเรื่องคุณภาพชีวิต
โดย พ.ร.บ.เยียวยาจะเพิ่มเติมเยียวยาเรื่องคุณภาพชีวิต เล็งเห็นการเกิดผลกระทบที่เกิดขึ้นกับผู้ได้รับผลกระทบ ที่ขาดเสาหลักของครอบครัวไป การเยียวยา ด้านอาชีพ ด้านจิตใจ ด้านการศึกษา เป็นต้น ซึ่งกำลังจะเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรีใหม่นี้

#ถ้าฟ้องแล้วรัฐบาลเรียกเงินคืน?

พันเอกอุทัย รุ่งสังข์ รองผู้อำนวยการศูนย์ สันติวิธี กล่าวว่า การไต่สวนการเสียชีวิตการขนย้ายผู้ชุมนุม 78 ศพ ศาลจังหวัดสงขลาสรุปคดีว่า ผู้ตายขาดอากาศหายใจแม้จะตายในระหว่างการควบคุมของเจ้าหน้าที่แต่โดยเจ้าหน้าที่ได้ปฏิบัติราชการตามหน้าที่ถือเป็นอันยุติ
“สิ่งหนึ่งที่ผมคาใจผมสงสัยทำไมพึ่งจะมีการฟ้องตอนที่จะหมดอายุความ ทำปล่อยให้ยืดยาวจนเหลือไม่กี่วันจะหมดอายุความ ทำไมไม่ฟ้องกันตั้งแต่เมื่อ 11-12 ปีที่แล้วหลังจากได้รับเงินเยียว 7.5 ล้านบาท ถ้าคิดว่าได้รับเงินมาแล้วไม่รับความยุติธรรมก็ไม่ต้องเซ็นสัญญายอมรับเงินแล้วจะไม่ฟ้องคดีอาญา เพราะถ้าฟ้องแล้วรัฐบาลเรียกเงินคืนจะเอาเงินที่ไหนไปคืน”

#นั่นคือสัญญาที่ไม่เป็นธรรม เป็นโมฆะในตัวมันเอง

นางสาวพรเพ็ญ คงขจรเกียรติ ผู้อำนวยการมูลนิธิผสานวัฒนธรรม ตอบประเด็นนี้ว่า ข้อสัญญาดังกล่าว เป็นสัญญาที่ไม่เป็นธรรมมีลักษณะเป็นโมฆะในตัวมันเอง ไม่สามารถบังคับใช้ได้ เพราะเป็นอาญาแผ่นดิน แม้จะมีการไกล่เกลี่ยแล้วก็เป็นการไกล่เกลี่ยทางแพ่ง การรับเงินเยียวยาเป็นเรื่องการรับผิดทางแพ่ง ไม่สามารถที่จะยกโทษให้กันได้ในทางอาญา
“การทำสัญญาฉบับนั้นอยู่ในบรรยากาศทางการเมืองที่ทำให้ชาวบ้านไม่อาจที่จะปฏิเสธการลงนามไกล่เกลี่ยได้ ทางแก้ที่ดีที่สุดก็คือการนำให้ผู้กระทำความผิดเท่าที่มีหลักฐานยืนยันว่ามีส่วนเกี่ยวข้องในการสั่งการหรือการปฏิบัติการในช่วงนั้นขึ้นสู่กระบวนการยุติธรรม”

#เราไม่ได้แก้แค้นแต่ทวงความยุติธรรม

ผู้ร่วมฟังเสวนาแสดงความคิดเห็น ว่า ในนามตัวแทนญาติผู้เสียชีวิต รู้สึกคาใจกับคำถามที่ทำไมเพิ่งมาฟ้องตอนที่จะหมดอายุความ จริงๆแล้วเงินเยียวยาที่ได้ 7 ล้านกว่าบาทถ้าเทียบกับชีวิตคนหนึ่งคนไม่คุ้ม ที่เงียบไม่ฟ้องไม่ใช่เพราะพอใจกับเงินที่ได้ แต่เพราะกลัวตาย กลัวถูกจับกุม กลัวความไม่ปลอดภัยเพราะส่วนใหญ่ประชาชนไม่รู้กฎหมายทำให้กลัว ไม่รู้ว่าจะต่อสู้คดีอย่างไร เพื่อให้ได้รับความยุติธรรม
“ในวันนี้ที่เราสู้ไม่ใช่จะแก้แค้น แต่เพื่อทวงความยุติธรรมให้คนที่เสียชีวิต ไม่อยากให้คนที่เสียชีวิตเสียเปรียบ จะทำยังไงกับเขาก็ได้ ที่เราเพิ่งมาฟ้องตอนจะหมดอายุความ เพราะหลายเหตุผลที่เรารู้สึกคาใจ คดีจะหมดอายุความก็เรื่องหนึ่ง เขาบอกว่าสำนวนหายก็เรื่องหนึ่ง มันหมายถึงอะไร และที่ลากมายาวนานก็ไม่ใช่เพราะเราพอใจ”
เขากล่าวว่า ขอบคุณองค์กรที่ลงมาสอบถามความเป็นอยู่หลังจากเกิดเหตุการณ์ ถ้าลงมาสอบถามด้วยความจริงใจประชาชนในพื้นที่จะตอบด้วยความจริงใจ ถ้ารัฐจะฟ้องกลับเพราะเราจะหาความยุติธรรมเราก็ต้องยอม ที่ผ่านมาที่ยังไม่ฟ้องเพราะเราไม่รู้จะพึ่งใคร ไม่รู้วิธีการไม่มีคนช่วยแนะนำ

พบกัน เร็วๆนี้ ที่ปัตตานีดีโคตร“Unparalleled” ถอดรหัสความเท่และรสนิยมการแต่งกายคนปัตตานี Melayu Living กลุ่มนักสร้างสรรค...
07/08/2024

พบกัน เร็วๆนี้ ที่ปัตตานีดีโคตร
“Unparalleled” ถอดรหัสความเท่และรสนิยมการแต่งกายคนปัตตานี

Melayu Living กลุ่มนักสร้างสรรค์ในย่านเมืองเก่าปัตตานีร่วมกับภาคีเครือข่าย โดยการสนับสนุนจาก บริษัท สกาย ไอซีที จำกัด (มหาชน) การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย และ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (CEA) เตรียมจัดงาน Pattani Decoded 2024 ในธีมที่ชื่อว่า “Unparalleled” ชวนผู้คนมาร่วมกันถอดรหัสคนปัตตานีผ่านรสนิยมการแต่งกายอันจัดจ้านจากอดีตจนถึงปัจจุบัน ระหว่างวันที่ 24 ส.ค. - 1 ก.ย.67 ใน 4 ย่านของเมืองคือ ถนนปัตตานีภิรมย์ ตลาดเทศวิวัฒน์ ถนนปรีดา และ ชุมชนจะบังติกอ

เทศกาลปัตตานีดีโคตร คือการถอดรหัสมรดกทางวัฒนธรรมในแง่มุมต่าง ๆ ผ่านความคิดสร้างสรรค์และการออกแบบ ฮาดีย์ หะมิดง ประธานจัดงาน Pattani Decoded 2024 บอกกล่าวถึงเทศกาลในปีนี้ว่า เชิญทุกคนมาร่วมกันถอดรหัสความจัดจ้านของคนปัตตานีที่สำแดงผ่านรสนิยมการแต่งกาย ความเป็นคนปัตตานีที่ต้องต่อรองอยู่เสมอ ระหว่างความเป็นจารีตกับสมัยใหม่ การยืนหยัดรักษาและการเปลี่ยนแปลง ความเป็นตัวเองและความเป็นอื่น

“สิ่งเหล่านี้คือการต่อรองระหว่างเส้นขนานที่แตกต่างกัน โดยมีผลลัพธ์ผ่านวิธีคิด วัฒนธรรม รสนิยมต่าง ๆ เดินทางผ่านมาและออกไป หลายเรื่องเป็นความทรงจำอันสวยงาม พร้อมพัฒนา หากผู้คนยังคงอยู่เพื่อหลอมรวมคุณค่าเก่าแก่ผสมกลมกลืนสิ่งใหม่”

นิทรรศการและกิจกรรมที่น่าสนใจในงาน Pattani Decoded 2024

UNPARALLELED บอกเล่าถึงไทม์ไลน์ประวัติศาสตร์การเปลี่ยนแปลงของเมืองที่ส่งผลถึงผู้คนที่อยู่อาศัยในเมืองแห่งนี้ในปัจจุบัน การจัดแสดงรูปแบบของเสื้อผ้าที่สะท้อนถึงยุคต่างๆ
ฮิญาบ นิทรรศการที่จะชวนให้ผู้คนสนทนาถึงฮิญาบในแง่มุมต่าง ๆ ผ่านมุมมองของนักเขียน นักสร้างสรรค์ และช่างภาพ

Fashion Lab นิทรรศการห้องทดลอง ปะติดปะต่อเรื่องราว นำเสนอเบื้องหลังวิธีคิดด้านการแต่งกายของผู้คนในพื้นที่ผ่านมุมมองด้านประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม กระแสสังคม รวมทั้งเทรนด์แฟชั่นในยุคต่าง ๆ

Made in Pattani นิทรรศการที่ Pattani Decoded ร่วมกับสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (CEA) จัดแสดงผลงานของ 10 ผู้ประกอบการร้านค้าเก่าแก่ในย่านที่ได้ทำงานร่วมกับนักสร้างสรรค์ทั้งในและนอกพื้นที่ โดยใช้เครื่องมืองานออกแบบและความคิดสร้างสรรค์มา พัฒนา ต่อยอด บนพื้นฐานของทักษะดั้งเดิมและเอกลักษณ์ของพื้นที่

นิทรรศการแสง Pattani Decoded ได้ร่วมกับ ทีม LIGHT IS ออกแบบและจัดแสดงแสงไฟบนอาคารของมัสยิดรายอฟาฏอนี สถานที่ประวัติศาสตร์และเป็นศูนย์รวมกิจกรรมทางศาสนาของคนในชุมชนเป็นเวลาร่วม 180 ปี การออกแบบได้ขับเน้นให้อาคารมัสยิดแห่งนี้เปล่งประกายในเวลากลางคืนเพื่อสะท้อนถึงรูปแบบสถาปัตยกรรมอันสวยงามและเรื่องราวที่รายล้อมมัสยิดแห่งนี้ตลอดมา

เกิดบนเรือนมลายู กิจกรรมเปิดตัวหนังสือเกิดบนเรือนมลายูที่รวบรวมเรื่องราวอันแสนธรรมดาสามัญของชีวิตที่เกิดและเติบโตบนเรือนมลายู หากกาลเวลากลับร้อยรวมเรื่องราวจนกลายเป็นสิ่งแตกต่างจากที่อื่น

Jentayu หนึ่งใน Installation ของงานที่ถอดรหัสจากบันทึกของคณะสำรวจชาวอังกฤษ W.W. Skeat ที่เดินทางมาถึงเมืองปัตตานีในปี 1899 ในห้วงเวลาที่กำลังจะมีงานแต่งงานที่สำคัญของเมือง Skeat ได้บันทึกรายละเอียดของขบวนแห่งานแต่งเช่น ต้นบุหงาซีเร๊ะ ประดับด้วยนกหลายชนิดโดยเฉพาะนก Jentayu ซึ่งถือว่าเป็นหนึ่งในนกที่มีความสำคัญในวรรณคดีมลายู Skeat ยังได้บันทึกพิธีกรรมต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานแต่งงานไว้อย่างน่าสนใจ

Bek Woh กิจกรรมซึ่งมีรากคำมาจากภาษาอังกฤษว่า Big Work หมายถึงการจัดกิจกรรมกินเลี้ยงในชุมชนที่ต้องใช้แรงงานของผู้คนเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะงานแต่งงานของสมาชิกในชุมชน ช่วงเวลานี้ทุกคนจะได้กินอาหารเมนูพิเศษที่มักจะมีอยู่แค่ในงานแต่งเช่น Gula Besar หรือแกงเนื้อชิ้นใหญ่ที่หาทานยากในช่วงเวลาปกติ

PRIDA St. ตลาดสร้างสรรค์ข้างโรงแรมจงอาที่จะเป็นศูนย์รวมของผู้ประกอบการแฟชั่นรุ่นใหม่ในด้านต่าง ๆ เช่น เสื้อผ้า ของทำมือ เป็นต้น

Lorong Ruedee ศูนย์รวมของเสื้อผ้าวินเทจและรถวินเทจที่จะตั้งอยู่หน้าตลาดเทศวิวัฒน์

Pasar Raya ตลาดชุมชนบริเวณมัสยิดรายอ เป็นการจัดกิจกรรมตลาดชุมชนสร้างสรรค์ ชูจุดเด่นและอัตลักษณ์ของพื้นที่ชุมชนย่านเมืองเก่าจะบังติกอ โดยใช้ความคิดสร้างสรรค์และการออกแบบเป็นเครื่องมือสําคัญ ด้วยการพัฒนาตลาดสร้างสรรค์ของชุมชน

25/07/2024

هاڽ خيالن ساج
تاڤي جادي بوکو
محمد أيوب چئنأ
کيس ترتودوه ملايو راي ٢٠٢٢

25/07/2024

Melayu Raya
25 ก.ค.67 นักกิจกรรม 9 คนที่ถูกดำเนินคดีชุดมลายู เข้ารายงานตัวต่ออัยการจังหวัดปัตตานี นำโดยนายอับดุลกอฮาร์ อาแวปูเต๊ะ ทนายความมูลนิธิศูนย์ทนายความมูสลิม

โดยอัยการนัดรับฟังคำสั่งฟ้องหรือไม่ ในวันที่ 28 สิงหาคม 2567 โดยระบุว่าฝ่าฝืนมาตรา 1 ในลงไปใบนัดคดีด้วย

ทั้ง 9 คน ถูกดำเนินคดี ม.116 และอั้งยี่ ซ่องโจร จากการจัดกิจกรรมมลายูรายอ ที่ อ.สายบุรี จ.ปัตตานี เมื่อปี 2565

ทั้ง 9 คน มาในชุดมลายู ยืนยันความบริสุทธิ์ในการจัดกิจกรรมส่งเสริมอัตลักษณ์มลายู โดยมีมวลชน เพื่อน และญาติๆ มาให้กำลังใจจำนวนมาก ได้แก่

1.นายมูฮำหมัดอาลาดี เด็งนิ
2.นายฮาซัน ยามาดีบุ
3.นายสอบูรี สาอิ
4.นายมาหมูด บือซา
5.นายมะยุ เจ๊ะนะ
6.นายอานัส ดือเระ
7.นาย ซัมบรี ตาลี
8.นายซูกิฟลี กาแม
9.นายซาลาฮูดดีน กาดำ

หน่วย บพท. โชว์ 104 โมเดลแก้จนชายแดนใต้ชู 6 ผลงานเด่นพร้อมใช้ และ 1 โมเดลธุรกิจมูลค่าสูงเปิดมิติใหม่สลายความรุนแรงด้วยพล...
08/07/2024

หน่วย บพท. โชว์ 104 โมเดลแก้จนชายแดนใต้
ชู 6 ผลงานเด่นพร้อมใช้ และ 1 โมเดลธุรกิจมูลค่าสูง
เปิดมิติใหม่สลายความรุนแรงด้วยพลังความรู้สร้างอาชีพ

เครือข่ายสถาบันอุดมศึกษาจัดสัมมนา “พหุภาคีในพื้นที่จังหวัดภาคใต้ตอนล่างและสามจังหวัดชายแดนใต้” ยกระดับคุณภาพชีวิตและเศรษฐกิจฐานราก โชว์ 104 โมเดลแก้จน 6 ห่วยงานร่วมลงนาม MOU ขับเคลื่อนข้อมูลเพื่อการตัดสินใจ (DSS) พัฒนาพื้นที่วิจัยเชิงยุทธศาสตร์เพื่อขจัดความยากจนและยกระดับฐานะทางสังคม เปิดมิติใหม่สลายความรุนแรงชายแดนใต้ด้วยพลังความรู้สร้างอาชีพ ชู 6 ผลงานเด่นโมเดลพร้อมใช้ และ 1 โมเดลธุรกิจมูลค่าสูงเพื่อแก้จน

ชมไลฟ์สดงานได้ที่ https://www.facebook.com/psupattanicampus/videos/937140501546130
ติดตามผลงานโครงการได้ที่เพจ ศูนย์สื่อสารวิจัยภาคใต้

วันที่ 8 กรกฎาคม 2567 ที่ห้องน้ำพราว โรงแรมซีเอส จ.ปัตตานี หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) ร่วมกับมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (ม.อ.) วิทยาเขตปัตตานี และเครือข่ายสถาบันอุดมศึกษาในพื้นที่ภาคใต้ตอนล่าง จัดสัมมนา “พหุภาคีในพื้นที่จังหวัดภาคใต้แก้ไขปัญหาความยากจนแบบบูรณาการ ภายใต้หัวข้อ “โหม๋ภาคีพร้อมพรั่ง เพิ่มพลังแก้จน ... ปรับปรนผลงาน ความรู้ เทคโนโลยีพร้อมใช้ โยงใยสู่ชุมชนนักปฏิบัติ” เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิต และเศรษฐกิจฐานรากในพื้นที่อย่างแท้จริง

โดยมีแพทย์หญิงเพชรดาว โต๊ะมีนา ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เป็นประธาน

ในโอกาสนี้มีการลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ”เรื่องการขับเคลื่อนข้อมูลเพื่อการตัดสินใจพัฒนาพื้นที่วิจัยเชิงยุทธศาสตร์เพื่อขจัดความยากจนและยกระดับฐานะทางสังคมในจังหวัดชายแดนภาคใต้“ประกอบด้วย ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้, ผู้ว่าราชการจังหวัดปัตตานี, ม.อ. วิทยาเขตปัตตานี, มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา, มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ และ บพท. ร่วมลงนาม เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการแลกเปลี่ยนข้อมูล และร่วมกันบูรณาการความร่วมมือระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อขับเคลื่อนข้อมูลเพื่อการตัดสินใจ (DSS) พื้นที่วิจัยเชิงยุทธศาสตร์เพื่อขจัดความยากจนและยกระดับฐานะทางสังคมในจังหวัดชายแดนใต้ ซึ่งเป็นการเปิดมิติใหม่สลายความรุนแรงชายแดนใต้ด้วยพลังความรู้สร้างอาชีพ

สาระสำคัญในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือดังกล่าว มี 4 ประการ ประกอบด้วย

1.เพื่อส่งเสริม สนับสนุนการแลกเปลี่ยนข้อมูล การพัฒนาระบบและโครงสร้างการแก้ไขปัญหาความยากจนด้วยการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน และนำมาพัฒนาเป็นระบบสารสนเทศเพื่อการตัดสินใจ
2.เพื่อขับเคลื่อนข้อมูลเพื่อการตัดสินใจที่เบ็ดเสร็จ แม่นยำในการพัฒนาพื้นที่วิจัยเชิงยุทธศาสตร์ และขจัดความยากจน และยกระดับฐานะทางสังคม ในจังหวัดชายแดนภาคใต้
3.เพื่อสนับสนุนการดำเนินโครงการวิจัยและนวัตกรรมขจัดความยากจน และยกระดับฐานะทางสังคมในพื้นที่วิจัยเชิงยุทธศาสตร์ และ
4.เพื่อบูรณาการความร่วมมือระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ สถาบันวิชาการ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม ในการแก้ไขปัญหาและพัฒนาคนจนเป้าหมาย ให้มีคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น รวมถึงส่งเสริมการเรียนรู้ การพัฒนาทักษะ และหาแนวทางในการปรับปรุงเงื่อนไขที่จำเป็นต่อการดำรงชีพให้เอื้อต่อการสร้างหรือเพิ่มรายได้ เพื่อให้คนจนเป้าหมายสามารถดูแลตัวเองและครอบครัวได้อย่างมั่นคง

แพทย์หญิงเพชรดาว โต๊ะมีนา ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) กล่าวว่า ได้ติดตามการกระบวนการดำเนินงานและผลงานจากโครงการวิจัยแก้ไขปัญหาความยากจน ทั้ง 6 มหาวิทยาลัย ได้รับการสนับสนุนจากหน่วย บริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.)มาอย่างต่อเนื่อง เห็นบทบาทสำคัญของมหาวิทยาลัยในการขับเคลื่อนการนำองค์ความรู้ด้านการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม หรือ (อววน.) สู่การพัฒนาพื้นที่นับว่าเป็นอีกหนึ่งก้าวสำคัญของงาน นั่นคือ การใช้วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมมาหนุนเสริมงานแก้ไขปัญหาความยากจนที่ปรากฏผลอย่างเป็นรูปธรรม ดังตัวอย่างผลงานกว่า 100 โมเดลแก้จน และเทคโนโลยีพร้อมใช้ทุกสถาบันการศึกษา ที่นำมาจัดแสดงในครั้งนี้

ผศ.ดร.อรุณีวรรณ บัวเนี่ยว รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและพันธกิจสังคม มหาวิทยาลัยสงขลา นครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี เปิดเผยว่า ในงานนี้มีการนำโมเดลแก้จน และนวัตกรรม รวมทั้งเทคโนโลยีพร้อมใช้ ที่ผ่านการพิสูจน์ประสิทธิภาพ ประสิทธิผลมาแล้ว รวม 8 ด้าน จากคณะนักวิจัย 6 มหาวิทยาลัย คือ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา มหาวิทยาลัยฟาฏอนี มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตพัทลุง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย มาจัดแสดง ประกอบด้วย

1).โมเดลแก้จนด้านสังคมและคุณภาพชีวิต
2).นวัตกรรมพลังงานและเทคโนโลยีชีวมวล
3).เทคโนโลยี การเกษตรและการแปรรูปผลผลิตทางการเกษตรประเภทผัก ผลไม้
4).นวัตกรรมการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์จากวัสดุธรรมชาติ
5).เทคโนโลยีปศุสัตว์และอาหารสัตว์
6).เทคโนโลยีดิจิทัลและอิเล็กทรอนิกส์
7).เทคโนโลยีอาหาร สมุนไพร และการแปรรูป และ
8).เทคโนโลยีการแปรรูปอาหารทะเล”

ดร.กิตติ สัจจาวัฒนา ผู้อำนวยการ บพท. กล่าวว่า ถือเป็นการเปิดมิติใหม่ของการแก้ปัญหาความรุนแรงในจังหวัดชายแดนใต้ที่เรื้อรังยาวนานมากว่า 20 ปี ด้วยแนวทางสันติวิธี จากการสร้างรายได้-เสริมความมั่นคงด้านอาชีพ ด้วย 104 นวัตกรรมและเทคโนโลยีพร้อมใช้บนฐานงานวิจัย เพื่อยกระดับศักยภาพและขับเคลื่อนระบบวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โดยการสนับสนุนจากระบบกองทุน อววน. ภายใต้ความร่วมมือกันของภาคีทุกภาคส่วนในพื้นที่”

6 ผลงานเด่นโมเดลพร้อมใช้

โดยในเวทีมีการนำเสนอ 6 ผลงานเด่นโมเดลพร้อมใช้ของ 6 สถาบันการศึกษา และชุมชนนักปฏิบัติ และ 1 โมเดลธุรกิจมูลค่าสูงเพื่อแก้จน ได้แก่
ผลงานกระจูดแก้จนและขยายผล Soft Power มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตพัทลุง
ยกมูลค่าประมงต้นทาง สู่อาหารฮาลาลพรีเมียม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
การยกระดับผลิตภัณฑ์น้ำผึ้งชันโรง เสม็ดขาว มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์
เสบียงเมืองโมเดล กระบวนการแก้จนไร้รอยต่อ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา
กาแฟฟาฏอนี Fatoni Roastery มหาวิทยาลัยฟาฏอนี
กระบวนการทางสังคมเพื่อการรับ ปรับ ใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย และ
การยกระดับรายได้และคุณภาพชีวิตด้วยโมเดลธุรกิจมูลค่าสูงเพื่อแก้จนโครงการสร้างเครือข่ายธุรกิจชุมชนร่วม (Cluster) เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก บพท.

09/05/2024

ดูชัดๆ (2)
ฝายมีชีวิต กับ ฝายคอนกรีต
ณ บ้านกูวา ต.ห้วยกระทิง อ.กรงปินัง จ.ยะลา

04/05/2024

ดูชัดๆ (1)
หน้าแล้ง แต่ที่นี่น้ำไม่แห้ง ด้วยฝายมีชีวิต
ณ บ้านสาวอฮูลู อ.รือเสาะ จ.นราธิวาส
โต๊ะอิหม่ามอับดุลฮาลิม วาเซ็ง

15/04/2024

Assalamualaikum
Bismillah…

IKRAR PEMUDA SE-PATANI

Kami segenap Pemuda SE-Patani, selaku anak bangsa bumi putra.

AKAN BERJANJI...
Demi Allah, bahwa kami akan rela bergorban, jiwa, raga, harta benda dan ilmu pengentahuan serta pengalaman untuk berbakti segala aktiviti kemasyarakatan dan kerakyatan. Dengan ketekunan dan kesedaran bagi kesejahteraan bangsa Melayu Patani.

KAMI BERJANI…
• Akan sanggup melindungi dan membela penderitaan rakyat demi menghapuskan segala bentuk penindasan dan kezaliman.

• Akan menegakkan dan menjunjung tinggi nilai-nilai keadilan dan kemanusiaan.

• Akan setia pada Agama, Nusa Bangsa dan Tanah Air. Demi kesatuan dan perpaduan Bangsa yang teguh.

KAMI BERJANJI Akan memelihara Marwah Bangsa, jati diri dan keharmonian komuniti Patani

Hidup Pemuda harapan bangsa,
Demi kesatuan panji Wahdah Ummah.

Atas Nama Pemuda Se- Patani
Teluban,
4 Syawal 1445 Hijriyah
bersamaan 13 April 2024

Wasslamualaikum Wr.Wb.

13/04/2024

กระหึ่มสายบุรี
Perhimpunan Melayu Raya 2024
รวมคลิป

Perhimpunan Melayu Raya 2024กลุ่มเยาวชนชายจากพื้นที่ต่างๆ ในปาตานี/ชายแดนใต้ ทยอยเดินทางเข้าร่วมงานชุมนุมมลายูรายอ 2024 ...
13/04/2024

Perhimpunan Melayu Raya 2024

กลุ่มเยาวชนชายจากพื้นที่ต่างๆ ในปาตานี/ชายแดนใต้ ทยอยเดินทางเข้าร่วมงานชุมนุมมลายูรายอ 2024 ซึ่งจัดโดยสมัชชาประชาสังคมเพื่อสันติภาพ(CAP) ณ หาดวาสุกรี อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี โดยการสวมชุดมลายูเต็มยศอย่างสวยงาม

ในงานมีนิทรรศการต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่นบูธเกี่ยวกับตำราศาสนาอิสลามและตำราภาษามลายู บูธเครื่องแต่งกายชุดมลายู โดยเฉพาะ Tanjak ซึ่งเป็นเครื่องประดับศีรษะตามวัฒนธรรมมลายูดั้งเดิม

สำหรับกิจกรรมในวันนี้จะเริ่มกิจกรรมบนเวทีและตั้งแต่ช่วง 13:00 น เป็นต้นไป ส่วนในวันพรุ่งนี้ก็จะเป็นกิจกรรมสำหรับเยาวชนผู้หญิง

โดยธีมของงานในวันนี้ คือ Buka Patani Doa Palistin

การชุมนุมปีนี้เป็นปีที่ 3 แล้ว โดยผู้จัดกำหนดที่จะจัดขึ้นทุกปีหลังวันรายออีดิ้ลฟิตรีสิ้นสุดการถือศีลอดในเดือนรอมฎอน

คาดว่าในช่วงบ่ายจะมีเยาวชนชายจากหมู่บ้านต่างๆเข้าร่วมจำนวนมาก รวมทั้งกลุ่มเยาวชนจากมาเลเซียประเทศเพื่อนบ้านเข้ามาร่วมด้วย พร้อมกับมีการนำธงระดับประดาประจำหมู่บ้านต่างๆ เข้ามาในงานด้วย

เป้าหมายของงานคือการ รณรงค์ทางวัฒนธรรมและ สร้างสำนึกรักในการอนุรักษ์อัตลักษณ์ดังเดิมของท้องถิ่น

31/03/2024
กลุ่มสื่อใต้ ชวนผู้ใหญ่ใจดีมอบอาหารละศีลอดให้น้องๆ เด็กกำพร้าที่พิการและด้อยโอกาส ศูนย์พัฒนาอาชีพ กลุ่มร่วมด้วยช่วยกันชา...
23/02/2024

กลุ่มสื่อใต้ ชวนผู้ใหญ่ใจดีมอบอาหารละศีลอดให้น้องๆ เด็กกำพร้าที่พิการและด้อยโอกาส

ศูนย์พัฒนาอาชีพ กลุ่มร่วมด้วยช่วยกันชายแดนใต้ ซึ่งเป็นการรวมตัวของบรรดาผู้สื่อข่าวในภาคใต้ร่วมทำกิจกรรมสร้างความสงบสุขให้ประชาชนในพื้นที่ โดยมีแผนจะมอบอาหารละศีลอดตลอดเดือนรอมฎอน ให้น้องๆ เด็กกำพร้าที่พิการและด้อยโอกาส ทั้งหมด 368 คน ขณะนี้มียอดเงินรวม 6,300 บาท จึงอยากเชิญชวนผู้ใหญ่ใจดีทุกท่าน ร่วมมอบอาหารละศีลอดให้น้องๆ ด้วยกัน

โดยสามารถส่งเป็นสิ่งของมาที่ ศูนย์พัฒนาอาชีพ กลุ่มร่วมด้วยช่วยกันชายแดนใต้ เลขที่ 161/1 ม.8 ต.ยะหา อ.ยะหา จ.ยะลา 95120 โทร. 0831715419 หรือหากท่านใดสนใจสนับสนุนผ่านบัญชีธนาคาร ชื่อบัญชี “การจัดการจุดเสี่ยงเพื่อป้องกันอุบัติเหตุทางถนน” ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย เลขที่บัญชี 0961091347

ทั้งนี้ หากในวันที่ 10 มีนาคม 2567 ที่สำนักจุฬาราชมนตรีกำหนดดูดวงจันทร์เพื่อกำหนดวันแรกของเดือนรอมฎอน มีผู้พบเห็นดวงจันทร์ ทางศูนย์ฯจะเริ่มมอบอาหารวันแรกของเดือนรอมฎอนทันที
มาร่วมมอบอาหารให้น้องๆกันนะค่ะ

“แม่น้ำเปลี่ยนทาง ธรรมชาติไม่อาจฟื้นได้ใน 1-2 ปี”เครือข่าย Tanah Kita จับมือตั้งเครือข่ายป้องกันภัยพิบัติ รับมือน้ำท่วมย...
19/02/2024

“แม่น้ำเปลี่ยนทาง ธรรมชาติไม่อาจฟื้นได้ใน 1-2 ปี”
เครือข่าย Tanah Kita จับมือตั้งเครือข่ายป้องกันภัยพิบัติ รับมือน้ำท่วมยั่งยืน

เครือข่าย Tanah Kita Network ชุมชนปกป้องสิทธิที่ดินเตรียมประกาศเขตอุทยานซีโปจับมือตั้งเครือข่ายป้องกันภัยพิบัติ เรียนรู้และรับมือน้ำท่วมอย่างยั่งยืน เผยแม่น้ำเปลี่ยนทาง ธรรมชาติไม่อาจฟื้นได้ใน 1-2 ปี ความหลากหลายลดลงป้องกันดินสไลด์ไม่ได้

เครือข่ายประชาชนปกป้องสิทธิในที่ดินรอบพื้นที่เตรียมประกาศเขตอุทยานแห่งชาติน้ำตกซีโป (Tanah Kita Network) ร่วมกับ #สมาคมวิถีชนบท #สมัชชาคนจน และ #เครือข่ายนักวิชาการศึกษานโยบายการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ (คนศ.จชต.) จัด “กิจกรรมเพื่อเสริมศักยภาพชุมชนในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ : การจัดการที่ดิน ระบบเกษตร และระบบนิเวศ เพื่อเรียนรู้และรับมือกับภัยพิบัติน้ำท่วมอย่างยั่งยืน” เมื่อวันเสาร์ที่ 10 กุมภาพันธ์ 2567 ที่ผ่านมา

ทั้งนี้ เนื่องจากสถานการณ์อุทกภัยครั้งล่าสุดเมื่อปลายเดือนธันวาคม 2567 ที่ผ่านมา เกิดจ่กฝนที่ตกหนักมากเป็นประวัติการณ์ในรอบกว่า 50 ปี ทำให้ประชาชนในพื้นที่รอบภูเขาเมาะแต และใกล้เคียง ใน อ.ระแงะ อ.ศรีสาคร อ.จะแนะ และ อ.รือเสาะ จ.นราธิวาส ได้รับความเดือดร้อนอย่างหนักจากน้ำป่าไหลหลากและดินโคลนหินถล่ม

กิจกรรมประกอบด้วย 1) การลงพื้นที่ไปดูสภาพร่องรอยทางน้ำและความเสียหายจากดินโคลนหินถล่มและพูดคุยกับผู้ได้รับผลกระทบ ที่บ้านกาหนั๊วะ ต.กาลิซา และ บริเวณน้ำตกซีโป ต.เฉลิม อ.ระแงะ จ.นราธิวาส และ 2) การถอดบทเรียนและแลกเปลี่ยนในหัวข้อ “ชุมชนพื้นที่ต้นน้ำกับการเรียนรู้และรับมือกับภัยพิบัติน้ำท่วมอย่างยั่งยืน”

โดยมี ดร.สมพร ช่วยอารีย์ อาจารย์ประจำภาควิชาคณิตศาสตร์และวิทยาการคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และ ผู้อำนวยการสำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี เป็นวิทยากร

แม่น้ำเปลี่ยนทาง ธรรมชาติไม่อาจฟื้นได้ใน 1-2 ปี

นายอาหะหมัด เบนโน ที่ปรึกษาเครือข่าย Tanah Kita กล่าวในเวทีถึงภาพรวมภัยพิบัติครั้งนี้ว่า หนักหนามาก ถึงขนาดทำให้แม่น้ำเปลี่ยนเส้นทาง เป็นความเสียหายที่ไม่อาจฟื้นคืนสภาพได้ภายใน 1-2 ปี และเกินกว่ากำลังที่ประชาชนจะทำการบูรณะด้วยตนเองได้ จึงจำเป็นอย่างมากที่หน่วยงานรัฐต้องเข้ามาช่วยและนั่งวางแผนร่วมกับคนในพื้นที่ แต่จนบัดนี้ก็ยังไม่มีหน่วยงานใดที่เข้ามา

นายอาหะหมัด ได้ตั้งข้อสังเกตว่า ดินโคลนได้ถล่มมาจากที่สูงซึ่งเป็นบริเวณป่าที่มีต้นไม้สูงใหญ่ที่แทบไม่มีใครขึ้นไปแผ้วถางหรือทำไม้ แต่ฝนที่ตกอย่างหนักทำให้แม้แต่ดินในป่าใหญ่ก็ยังอุ้มน้ำไว้ไม่อยู่ ดินไม่ได้ถล่มลงมาจากบริเวณเชิงเขาที่เป็นสวนยางหรือสวนทุเรียนของชาวบ้านที่อยู่ด้านล่าง แต่สวนของชาวบ้านได้กลายเป็นที่รองรับหินดินโคลนที่ถล่มลงมา

ความหลากหลายลดลง ป้องกันดินสไลด์ไม่ได้

ดร.สมพร ช่วยอารีย์ อธิบายว่า อุทกภัยครั้งนี้ไม่จำเป็นว่าจะต้องเกิดจากการบุกรุกป่าหรือการเข้าทำสวนปลูกพืชแผนใหม่ เช่น ยางพารา ทุเรียน แต่เป็นเรื่องโครงสร้างของป่าที่มีต้นไม้คล้ายๆ กัน อันเกิดจากการขยายพันธุ์ตามธรรมชาติของต้นไม้ชนิดใดชนิดหนึ่งผ่านเวลาอันยาวนานจนกลายเป็นพืชหลักในบริเวณนั้นๆ ทำให้รากต้นไม้ไม่มีความหลากหลายและมีความลึกเท่าๆ กัน จึงไม่สามารถชะลอน้ำที่อยู่ซึมใต้ดินได้ดีและพร้อมที่จะเกิดดินพังทลาย (แลนด์สไลด์)

ชุมชนรอบอุทยานซีโปจับมือตั้งเครือข่ายป้องกันภัยพิบัติ

ดร.สมพร มองว่า ภัยพิบัติครั้งนี้น่าจะเป็นจุดเริ่มต้นที่ชาวบ้านจะได้รวมกันเป็นเครือข่ายเพื่อป้องกันและช่วยกันอัพเดทข้อมูลภัยพิบัติ ช่วยกันสังเกตลมฟ้าอากาศ ตลอดจนเก็บข้อมูลสภาพพื้นที่ที่เปลี่ยนไปจากภัยพิบัติที่ผ่านมา เพื่อมาวางแผนในอนาคต

ดร.สมพร ยังได้บรรยายถึงปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับดินโคลนถล่ม ตลอดจนกรณีพื้นที่อื่นๆ เช่น ที่บ้านกระทูน จ.นครศรีธรรมราช บ้านน้ำปาด จ.อุตรดิตถ์ การบริหารจัดการภัยพิบัติทั้งในช่วงก่อนภัยมา ขณะเกิดภัย และหลังภัยผ่าน พื้นฐานของชุมชนในการเตรียมการอย่างยั่งยืน รวมถึงโจทก์สำหรับชุมชนในการเป็นเครือข่ายป้องกันภัยพิบัติ

เปิดคำกล่าวหัวหน้าคณะพูดคุย BRN บนโต๊ะเจรจาย้ำฝ่ายไทยต้องทบทวนบทเรียน แล้วมุ่งแก้ที่รากเหง้าปัญหา อาจารย์ ฮาร่า ชินทาโร่...
08/02/2024

เปิดคำกล่าวหัวหน้าคณะพูดคุย BRN บนโต๊ะเจรจา
ย้ำฝ่ายไทยต้องทบทวนบทเรียน แล้วมุ่งแก้ที่รากเหง้าปัญหา

อาจารย์ ฮาร่า ชินทาโร่ นักวิชาการอิสระ และผู้เชี่ยวชาญด้านภาษามลายู ได้โพสต์ข้อความผ่านเพจส่วนตัว ระบุว่า ฝ่ายคณะพูดคุยของ BRN ติดต่อและส่งคำกล่าวเปิดการพูดคุยครั้งที่ 7 (วันที่ 6 – 7 กุมภาพันธ์ 2567 ที่ผ่านมา) ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ เป็นภาษามลายูมาให้ จึงได้ทำการแปลเอกสารดังกล่าว เนื่องจากเชื่อว่าเป็นข้อมูลชิ้นสำคัญที่แสดงถึงจุดยืนของคณะพูดคุยฝ่าย BRN ต่อกระบวนการสันติภาพ สภาพปัญหา และแนวทางแก้ไข

#ต้อง“ถอยหลังคนละก้าว” เพื่อทบทวนกระบวนการที่ผ่านมา

เอกสารดังกล่าวระบุว่า “กระผม อนัส อับดุลเราะห์มาน หัวหน้าคณะพูดคุยเจรจาสันติภาพของแนวร่วมปฏิวัติแห่งชาติมลายูปาตานี (BRN) ก่อนริเริ่มการเจรจาในยุคใหม่ภายใต้การบริหารของรัฐบาลไทยชุดใหม่ที่เกิดจากการเลือกตั้งอย่างเป็นประชาธิปไตย พวกเราจำเป็นต้องถอยหลังคนละก้าวเพื่อพิจารณาและทบทวนการเจรจาสันติภาพที่ดำเนินมาก่อนหน้านี้

#แม้จริงจัง แต่อุปสรรคยังมากมายและถูกมองข้ามตลอด

พวกเราได้เห็นพองต้องกันว่า การเจรจาสันติภาพเป็นทางเลือกที่ดีที่สุดและถูกต้องเพื่อแสวงหาแนวทางแก้ไขเพื่อนำไปสู่สันติภาพอันแท้จริงและยั่งยืน ความพยายามเพื่อสร้างสันติภาพที่ปาตานีได้ดำเนินมาเป็นเวลากว่าหนึ่งทศวรรษ โดยเฉพาะระหว่าง BRN กับคณะพูดคุยของรัฐบาลไทย อย่างไรก็ตาม กระบวนการสันติภาพมักจะพบกับทางตันที่เกิดจากปัจจัยบางอย่างที่เป็นอุปสรรคสำหรับความคืบหน้าในกระบวนการเจรจา เช่น

1. ยังไม่มีจุดร่วมที่มีนัยสำคัญระหว่าง BRN กับคณะพูดคุยของรัฐบาลไทย

2. รัฐบาลทหารไทยก่อนหน้านี้พยายามจะหลีกเลี่ยงการพูดคุยในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับรากเหง้าของปัญหาความขัดแย้งที่แท้จริง ทั้ง ๆ ที่ BRN ได้พิสูจน์ให้เห็นถึงความจริงจังมาหลาย ๆ ครั้งในรูปแบบการหยุดยิงหลาย ๆ ครั้งก็ตาม เช่นการหยุดยิงฝ่ายเดียวในเดือนเมษายน 2560 เพื่อแสดงถึงความจริงจังในการสร้างสันติภาพให้แก่ประชาชนปาตานีและสังคมนานาชาติ และการหยุดยิ่งฝ่ายเดียวในช่วงโรคระบาด Covid-19 ถึงแม้ว่าฝ่ายความมั่นคงของรัฐบาลทหารในขณะนั้นฉวยโอกาสหลายครั้งเพื่อโจมตีนักต่อสู้ปาตานี จนหลายสิบคนเสียชีวิตเป็นชะฮีด แต่ BRN ใช้ความอดทนเพื่อแสดงถึงความจริงจัง

3. ข้อเสนอแนะสำหรับแนวทางแก้ไขความขัดแย้งจากฝ่ายนักต่อสู้ปาตานีถูกมองข้ามตลอด และไม่เคยได้รับความสนใจอย่างจริงจัง

4. จุดอ่อนหลายอย่างที่เกิดขึ้นก่อนหน้านี้ในการเจรจาควรได้รับการแก้ไข เช่นวิธีการดำเนินการเจรจา กลไกการนำปฏิบัติข้อตกลงและความสอดคล้องกับมาตรฐานการเจรจาสากลที่ถูกนำมาใช้อยู่ในสังคมนานาชาติ

#รัฐบาลประชาธิปไตยคือพลวัตสำคัญ แต่ยังหวั่นบางหน่วยงานรัฐ

ประเด็นเหล่านี้ควรเป็นบทเรียนสำหรับทั้ง 2 ฝ่าย เพื่อขับเคลื่อนการเจรจาให้มีความคืบหน้าต่อไป และการจัดตั้งรัฐบาลผ่านวิธีการประชาธิปไตยหลังการเลือกตั้งเมื่อปีที่แล้ว ถือเป็นพลวัตสำคัญในการสร้างสันติภาพ ซึ่งเป็นสิ่งที่ประชาคมปาตานีทั้งปวงรอคอยและคาดหวังมานาน และ สังคมนานาชาติก็อยากเห็นว่า สันติภาพอันแท้จริง หรือสันติภาพเชิงบวก (positive peace) เกิดขึ้นที่ปาตานี

อย่างไรก็ตาม ยังมีอุปสรรคจากบางฝ่าย โดยเฉพาะยังมีหน่วยงานของรัฐบาลไทยเองที่สร้างบรรยากาศที่คุกคาม และขีดกั้นกระบวนการสันติภาพ และอาจจะทำลายความน่าเชื่อถือของโต๊ะเจรจาที่กำลังเกิดขึ้นได้ด้วย

#ดำเนินคดีนักกิจกรรมทำลายบรรยากาศพูดคุย

ตัวอย่างเช่น ณ ตอนนี้ก็มีการกดขี่ การคุกคามและการข่มขู่นักกิจกรรมภาคประชาสังคมที่ปาตานีโดยใช้วิธีการที่เรียกว่า “การดำเนินคดีเชิงยุทธศาสตร์เพื่อระงับการมีส่วนร่วมของประชาชนในกิจการสาธารณะ (Strategic Lawsuit Against Public Participation, SLAPP)” ซึ่งเป็นพฤติกรรมที่ขัดกับหลักประชาธิปไตย ที่กดดันและยังขัดขวางการมีส่วนร่วมของประชาชนในกิจกรรมการปรึกษาหารือกับประชาชน ซึ่งเป็นหนึ่งในประเด็นสารัตถะที่ได้รับการบันทึกไว้ในหลักการทั่วไปก่อนหน้านี้ และยังบังคับใช้กฎหมายที่ไม่สมควรเพื่อข่มขู่ ควบคุม ปิดปากและจำกัดพื้นที่ทางการเมืองสำหรับนักกิจกรรมภาคประชาสังคมที่ปาตานี

การกระทำเช่นนี้จะส่งผลกระทบโดยตรงต่อการเจรจาสันติภาพที่กำลังเกิดขึ้น และอาจจะทำให้ประชาชนปาตานีไม่มั่นใจและไม่เชื่อมั่นในการสร้างสันติภาพที่ดำเนินโดยรัฐบาลไทย

#การมีส่วนร่วมของประชาชนเป็นปัจจัยความสำเร็จ
.. การมีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการเจรจาสันติภาพเป็นปัจจัยสำคัญและยังเป็นตัวกำหนดความสำเร็จของกระบวนการสันติภาพ จึงต้องได้รับความเคารพและการพิจารณา

รัฐบาลประชาธิปไตยที่นำโดยนายกรัฐมนตรี เศรษฐา ทวีสิน และข้าราชการในรัฐบาลไทยทั้งหลายในยุคประชาธิปไตยนี้ ควรสร้างความมั่นใจในหมู่ประชาชนปาตานี ประชาชนไทยและสังคมนานชาติว่า การแก้ไขความขัดแย้งที่ปาตานีด้วยแนวทางทางการเมือง เป็นทางเลือกที่ดีที่สุดเพื่อยุติความขัดแย้งในพื้นที่นั้นอย่างมีศักดิ์ศรี ยั่งยืนและอย่างแท้จริง

#ขอ3ข้อ เปิดทางสันติภาพปาตานี ‘กฎหมายรองรับ-กมธ.ถาวร-พูดคุยรากเหง้า’

ทั้งนี้ เพื่อแสดงความจริงจัง BRN ขอเรียกร้องให้รัฐบาลไทยดำเนินการประเด็นต่อไปนี้เพื่อสร้างความมั่นใจให้แก่ทุกฝ่าย ได้แก่

1. รัฐบาลไทยต้องบัญญัติกฎหมายฉบับหนึ่งเพื่อรองรับประเด็นที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการสันติภาพปาตานีทุกประเด็น

2. รัฐสภาไทยจำเป็นต้องจัดตั้งคณะกรรมาธิการถาวรชุดหนึ่งตามกลไกรัฐสภา ที่รับผิดชอบโดยตรงต่อกระบวนการสันติภาพปาตานี

3. เพื่อแก้ไขความขัดแย้งที่ปาตานีอย่างยั่งยืนและมีศักดิ์ศรี รัฐบาลไทยต้องพร้อมที่จะพูดคุยในประเด็นรากเหง้าของปัญหาความขัดแย้งที่ยืดเยื้อนี้ และแสวงหาแนวทางแก้ไขที่ตรงจุดและสอดคล้องกับความใฝ่ฝันและความต้องการของประชาชนปาตานีในประชาคมปาตานี

ดังนั้น พวกเราคาดหวังว่า ในการประชุมครั้งนี้ ทั้ง 2 ฝ่ายจะสามารถพูดคุยประเด็นเกี่ยวกับทิศทางของกระบวนการเจรจาสันติภาพได้ ซึ่งเป็นการต่อยอดจากการพูดคุยรอบก่อนหน้านี้ เป็นก้าวไปข้างหน้า และประสิทธิภาพกับประสิทธิผลในการแลกเปลี่ยนประเด็นสำคัญเกี่ยวกับวิธีการดำเนินการพูดคุย กลไกในการนำมาปฏิบัติข้อตกลง และรายละเอียดของหลักการทั่วไปและแผนปฏิบัติการร่วมเพื่อสร้างสันติสุขแบบองค์รวม”

#สันติภาพปาตานี

#พูดคุยสันติสุข

ที่อยู่

300/109 ถ. หนองจิก ม. 4 ต. รูสะมิแล อ. เมือง จ. ปัตตานี
Pattani
94000

เบอร์โทรศัพท์

+66882357777

เว็บไซต์

แจ้งเตือน

รับทราบข่าวสารและโปรโมชั่นของ THE PENผ่านทางอีเมล์ของคุณ เราจะเก็บข้อมูลของคุณเป็นความลับ คุณสามารถกดยกเลิกการติดตามได้ตลอดเวลา

ติดต่อ ธุรกิจของเรา

ส่งข้อความของคุณถึง THE PEN:

วิดีโอทั้งหมด

แชร์

About THE PEN

THE PEN เป็นองค์กรที่พยายามทำงานมุ่งไปสู่การเป็น “สื่อเพื่อสร้างสรรค์สังคม” โดยจะนำเสนอ เรื่องราว เนื้อหา มุมมอง ความคิด ที่มีความแปลกใหม่ แตกต่าง เท่าทันกระแส มีกลิ่นอายชวนถกเถียง แต่มีประโยชน์ต่อการสร้างการเรียนรู้ การสร้างสรรค์ และการสร้างความร่วมมือ โดยหวังว่าจะนำไปสู่การสร้างการเปลี่ยนแปลงในแบบที่สอดคล้องกับบริบทชุมชนวัฒนธรรมและบริบทสังคมสมัยใหม่ บนพื้นฐานความต้องการของประชาชนในพื้นที่ ปตานี/ชายแดนใต้

THE PENเป็นองค์กรสื่อที่มุ่งพัฒนารูปแบบการสื่อสารใหม่ๆ ที่หลากหลาย เพื่อวัตถุประสงค์..

1. เพื่อ “เป็นช่องทางสร้างการมีส่วนร่วม” จากทุกภาคส่วนในการแก้ไขปัญหา พัฒนา จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยหวังว่าจะนำไปสู่การสร้างการเปลี่ยนแปลงในแบบที่สอดคล้องกับบริบทของชุมชน บริบทของสังคม และความต้องการของภาคประชาชนในพื้นที่อย่างแท้จริง

2. เพื่อ “การเป็นพื้นที่สื่อสารทำความเข้าใจ” ถึงความคิด ความรู้ มุมมอง และเสียง ของกลุ่มคนที่แตกต่างหลากหลาย หรือ คล้ายกัน ไม่ว่าจะเป็นภาคราชการ ภาคประชาชน ภาควิชาการ ภาคธุรกิจ และภาคชุมชน


บริษัทด้านสื่อ/ข่าวสาร อื่นๆใน Pattani

แสดงผลทั้งหมด

คุณอาจจะชอบ