นิตยสารสาระวิทย์

นิตยสารสาระวิทย์ นิตยสารสาระวิทย์ โดย สวทช. "ย่อยโลกข้อมูลข่าวสารวิทยาศาสตร์เพื่อคุณ"

สาระวิทย์ เป็นนิตยสารอิเล็กทรอนิกส์รายเดือน (Free e-Magazine) เพื่อเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารและความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ให้แก่กลุ่มผู้อ่านที่เป็นเยาวชน และประชาชนทั่วไป

อ่านฟรีได้ที่ https://www.nstda.or.th/sci2pub/sarawit/

จัดทำโดย ฝ่ายสร้างสรรค์สื่อและผลิตภัณฑ์
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)
ติดต่อกองบรรณาธิการ / ติดต่อลงโฆษณา
[email protected]

วิจัยสร้างมูลค่าเพิ่มสารสกัด 'มะม่วงหาวมะนาวโห่' #มะม่วงหาวมะนาวโห่ เป็นพืชสมุนไพรที่ใช้ประโยชน์ด้านการบำรุงและรักษาโรคม...
29/12/2024

วิจัยสร้างมูลค่าเพิ่มสารสกัด 'มะม่วงหาวมะนาวโห่'
#มะม่วงหาวมะนาวโห่ เป็นพืชสมุนไพรที่ใช้ประโยชน์ด้านการบำรุงและรักษาโรคมายาวนาน แต่ที่ผ่านมายังขาดข้อมูลทางวิทยาศาสตร์เพื่อสนับสนุนสรรพคุณของผลไม้ชนิดนี้ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) จึงวิจัยสารสกัดมะม่วงหาวมะนาวโห่ผลห่ามเพื่อทดสอบฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาและพิษวิทยา โดยผลจากการทดสอบพบว่า สารสกัดจากผลมะม่วงหาวมะนาวโห่ผลห่ามมีส่วนช่วยลดการสร้างเซลล์ไขมันได้ดี และเมื่อนำมาทดสอบการลดระดับไขมันในเลือดของสัตว์ทดลองที่ผ่านการเหนี่ยวนำให้เกิดภาวะไขมันในเลือดสูง พบว่าสัตว์ที่ได้รับสารสกัดมีระดับคอเลสเตอรอลและไตรกลีเซอไรด์ในเลือดลดลงอย่างมีนัยสำคัญด้วย
จากผลดังกล่าว ทีมวิจัยได้นำสารสกัดมาพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์อาหารเสริมจากมะม่วงหาวมะนาวโห่ในรูปแบบเจลลี และพร้อมถ่ายทอดเทคโนโลยีเชิงพาณิชย์แล้ว
ℹ️ ที่มาและรายละเอียดเพิ่มเติม: Thailand Plus
www.thailandplus.tv/archives/884085

 #ไบโอซีเมนต์ แก้ปัญหาดินเค็มไม่อุ้มน้ำกรมชลประทานร่วมกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มธจ.) และภาคเอกชน พัฒนาเ...
28/12/2024

#ไบโอซีเมนต์ แก้ปัญหาดินเค็มไม่อุ้มน้ำ
กรมชลประทานร่วมกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มธจ.) และภาคเอกชน พัฒนาเทคโนโลยีผลิตไบโอซีเมนต์ทนทานต่อการกัดกร่อนของเกลือและซ่อมแซมตนเองเมื่อเกิดรอยแตกขนาดจิ๋ว (micro cracks) เพื่อใช้แก้ปัญหาดินเค็มไม่อุ้มน้ำของพื้นที่เพาะปลูกในภาคอีสาน ส่วนประกอบสำคัญที่นำมาใช้ผลิตคือจุลินทรีย์จากกากน้ำปลาที่สร้างผลึกแคลเซียมคาร์บอเนตได้และมีความทนทานต่อความเค็มสูง เปลือกไข่สำหรับเป็นอาหารของจุลินทรีย์ และกากแร่จากหินอัคนีที่มีซิลิกาและอลูมินาเป็นส่วนประกอบ
ปัจจุบันทีมวิจัยได้นำไบโอซีเมนต์ที่พัฒนาไปทดลองติดตั้งในพื้นที่เพาะปลูกข้าวเพื่อทดสอบประสิทธิภาพการหน่วงน้ำให้ซึมลงพื้นดินช้าลง และลดการแพร่ความเค็มจากพื้นดินขึ้นสู่นาข้าวแล้ว นักวิจัยเผยว่าหากผลงานนี้ประสบความสำเร็จด้วยดีจะพัฒนาเพื่อประยุกต์ใช้งานด้านอื่น ๆ เช่น ปะการังเทียม วัสดุก่อสร้างคลองส่งน้ำและพื้นที่กักเก็บน้ำใต้ดิน ต่อไป
ℹ️ ที่มาและรายละเอียดเพิ่มเติม : ผู้จัดการออนไลน์ https://mgronline.com/science/detail/9670000106684

🎙 Podcast รายการ Sci เข้าหู EP.82 - คุณหมอมาเอง! เคลียร์ทุกข้อสงสัยเกี่ยวกับสุขภาพกระดูกและข้อต่อเจาะลึกเรื่องราวที่หลาย...
27/12/2024

🎙 Podcast รายการ Sci เข้าหู EP.82 - คุณหมอมาเอง! เคลียร์ทุกข้อสงสัยเกี่ยวกับสุขภาพกระดูกและข้อต่อ
เจาะลึกเรื่องราวที่หลายคนอาจกำลังเผชิญอยู่ นั่นก็คือ ปัญหาสุขภาพเกี่ยวกับกระดูกและข้อต่อ ไม่ว่าจะเป็น ปวดคอ ปวดหลัง ปวดสะโพก หรือแม้แต่โรคกระดูกพรุนที่น่ากลัว รายการ Sci เข้าหู โดย นิตยสารสาระวิทย์ สวทช. จะพาทุกท่านไปไขข้อข้องใจทุกคำถามที่คาใจ ผ่านการพูดคุยกับ พันโท ผู้ช่วยศาสตราจารย์ นายแพทย์ รุ่งรัฐ จิตตการ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านกระดูกสันหลัง ที่จะมาให้ความรู้และคำแนะนำดีๆ เพื่อดูแลสุขภาพกระดูกและข้อต่อของเราให้แข็งแรง
ติดตามรับฟัง Podcast รายการ Sci เข้าหู ได้ที่
🎧 𝐘𝐨𝐮𝐓𝐮𝐛𝐞: https://youtu.be/2tnNeyxHkKU
🎧 𝗣𝗼𝗱𝗯𝗲𝗮𝗻: https://bit.ly/3ZYOyca
🎧 𝗔𝗽𝗽𝗹𝗲 𝗣𝗼𝗱𝗰𝗮𝘀𝘁: https://apple.co/41QQcz4
🎧 𝗦𝗽𝗼𝘁𝗶𝗳𝘆: https://spoti.fi/409eiUp

Magnetic Horn เรื่องและภาพโดย “ไอซี” วริศา ใจดีสาระวิทย์ฉบับที่แล้ว ฉันเล่าถึงวิธีการผลิตลำอนุภาคนิวทริโน พร้อมองค์ประกอ...
26/12/2024

Magnetic Horn
เรื่องและภาพโดย “ไอซี” วริศา ใจดี
สาระวิทย์ฉบับที่แล้ว ฉันเล่าถึงวิธีการผลิตลำอนุภาคนิวทริโน พร้อมองค์ประกอบต่างๆในเส้นทางการผลิต (การศึกษาวิจัยอนุภาค โดยทั่วไปแล้วจะมีขั้นตอนเริ่มต้น คือการผลิตอนุภาคที่เราต้องการจะศึกษา เพื่อสร้างลำอนุภาคเข้มข้นพร้อมส่งต่อมาใช้ในการทดลองได้) ในฉบับนี้ ฉันอยากจะมาเล่าถึงเจ้า Magnetic Horn หรือ อุปกรณ์โฟกัสลำอนุภาคด้วยสนามแม่เหล็ก ที่เป็นหนึ่งองค์ประกอบสำคัญในแทบจะทุกการทดลองที่เกี่ยวข้องกับฟิสิกส์อนุภาค รอติดตามตอนต่อไปว่าหลักการฟิสิกส์เรื่องรังสีแม่เหล็กไฟฟ้าจะช่วยอธิบายกลไกการทำงานของเจ้า Magnetic Horn ได้อย่างไร!
วันนี้ขอเมอร์รี่คริสมาส และสวัสดีวันปีใหม่ล่วงหน้าค่ะ!
ติดตามบทความเต็มๆได้ที่คอลัมน์สาระวิทย์ในศิลป์ นิตยสารสาระวิทย์ ฉบับเดือนธันวาคม https://www.nstda.or.th/sci2pub/sarawit/
#สาระวิทย์ในศิลป์

🎙 Podcast รายการ Sci เข้าหู EP.81 - Zero-G Experiment ขั้นตอนสำคัญของงานวิจัยด้านอวกาศทีมวิจัย TIGERS-X ได้ขึ้นไปทดลองผส...
26/12/2024

🎙 Podcast รายการ Sci เข้าหู EP.81 - Zero-G Experiment ขั้นตอนสำคัญของงานวิจัยด้านอวกาศ
ทีมวิจัย TIGERS-X ได้ขึ้นไปทดลองผสมสารและของเหลวใน #สภาวะแรงโน้มถ่วงต่ำ บนเครื่องบิน Boeing 727 เพื่อศึกษาผลกระทบของแรงโน้มถ่วงต่อกระบวนการนี้ โดยต่อยอดองค์ความรู้จากการพัฒนาอาหารอวกาศ หวังใช้ผลลัพธ์พัฒนาเทคโนโลยีการผลิตอาหาร ยา และเครื่องสำอางบนโลก
นิตยสารสาระวิทย์ สวทช. ชวนคุยกับ 2 นักวิจัย จากทีมวิจัย TIGERS-X นำโดย ผศ. ดร.วเรศ จันทร์เจริญ อาจารย์ประจำ วิทยาลัยแพทยศาสตร์ศรีสวางควัฒน ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ และนายศรัณย์ สีหนาม นักวิจัย
ติดตามรับฟัง Podcast รายการ Sci เข้าหูได้ที่

🎧 𝐘𝐨𝐮𝐓𝐮𝐛𝐞: https://youtu.be/DwsJDAawSFg
🎧 𝗣𝗼𝗱𝗯𝗲𝗮𝗻: https://bit.ly/3PaY07e
🎧 𝗔𝗽𝗽𝗹𝗲 𝗣𝗼𝗱𝗰𝗮𝘀𝘁: https://apple.co/4gPtf3c
🎧 𝗦𝗽𝗼𝘁𝗶𝗳𝘆: https://spoti.fi/3P9hKrA

🌲 ต้นคริสต์มาสแห่งห้วงอวกาศChristmas Tree Clusterภาพกระจุกดาวต้นคริสต์มาสนี้เกิดจากการผสมผสานภาพถ่ายดาราศาสตร์ โดยแสงสีฟ...
25/12/2024

🌲 ต้นคริสต์มาสแห่งห้วงอวกาศ
Christmas Tree Cluster

ภาพกระจุกดาวต้นคริสต์มาสนี้เกิดจากการผสมผสานภาพถ่ายดาราศาสตร์ โดยแสงสีฟ้าและสีขาวระยิบระยับเหมือนไฟประดับคือรังสีเอกซ์ที่เปล่งออกมาจากดาวฤกษ์อายุน้อย ซึ่งตรวจจับได้โดยกล้องโทรทรรศน์อวกาศจันทรา ส่วนแสงสีเขียวที่ดูเหมือนกับใบสนเขียวขจีคือกลุ่มแก๊สในเนบิวลา ซึ่งกล้องโทรทรรศน์ WIYN ของมูลนิธิวิทยาศาสตร์แห่งชาติสหรัฐอเมริกาบันทึกไว้ และแสงสีขาวคือดาวฤกษ์ต่าง ๆ ซึ่งโครงการ Two Micron All Sky Survey (2MASS) บันทึกได้จากการสำรวจอวกาศในย่านอินฟราเรด ภาพนี้หมุนตามเข็มนาฬิกาประมาณ 160 องศาตามมาตรฐานของนักดาราศาสตร์ที่กำหนดให้ทิศเหนืออยู่ด้านบนภาพจึงดูคล้ายต้นคริสต์มาส

เครดิต: NASA

วันนี้แอดมี E-book ความรู้เกี่ยวกับ DNA Barcoding เครื่องมือสำคัญที่ช่วยไขปริศนาและทำให้เรารู้จักสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ อย่าง...
25/12/2024

วันนี้แอดมี E-book ความรู้เกี่ยวกับ DNA Barcoding เครื่องมือสำคัญที่ช่วยไขปริศนาและทำให้เรารู้จักสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ อย่างลึกซึ้ง ซึ่งแต่งโดยทีมอาจารย์จากหน่วยวิจัยด้านจีโนมิกส์และทรัพยากรชีวภาพสัตว์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มาแนะนำให้อ่านกันครับ

"🧬 DNA Barcoding: เครื่องมือทรงพลังเพื่อความเข้าใจธรรมชาติ 🌏"
DNA Barcoding เป็นอีกเครื่องมือหนึ่งที่สำคัญเพื่อช่วยในการระบุชนิดอย่างมีนัยสำคัญ !! ซึ่งเป็นก้าวสำคัญในการศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพ การอนุรักษ์ ของทรัพยากรธรรมชาติ ด้วยการวิเคราะห์รหัสพันธุกรรมอันน่าทึ่ง !!!!!!

DNA BARCODING: A Window on Species Identification and Biodiversity

คู่มือสำคัญขั้นพื้นฐานตลอดจนถึงการประยุกต์ใช้งานในโลกความจริง หนังสือเล่มนี้ประกอบด้วย:
✅ แนวคิดพื้นฐานที่เข้าใจง่าย
✅ ขั้นตอนปฏิบัติการ
✅ การวิเคราะห์ข้อมูลและตัวอย่างการใช้งานจริง

เราเชื่อว่าหนังสือเล่มนี้จะสร้างแรงบันดาลใจให้ผู้อ่านนำและลองปฎิบัติ DNA Barcoding ไปประยุกต์ใช้ในการศึกษาของตน พร้อมทั้งส่งเสริมความร่วมมือและความเข้าใจที่ลึกซึ้งยิ่งขึ้นเกี่ยวกับสิ่งมีชีวิตและคำว่า DNA

อ่านฟรีได้แล้ววันนี้ !
สแกน QR code ด้านล่าง หรือคลิกลิงก์
https://anyflip.com/keexk/swnw/
มาเริ่มต้นการเรียนรู้และสร้างอนาคตแห่งการอนุรักษ์ไปด้วยกัน 🌱

✨ คำคมนักวิทย์ โดย ดร.นำชัย ชีววิวรรธน์ ✨"คณิตศาสตร์ไม่รู้จักเชื้อชาติหรือเขตแดนทางภูมิศาสตร์ สำหรับคณิตศาสตร์แล้ว โลกทา...
25/12/2024

✨ คำคมนักวิทย์ โดย ดร.นำชัย ชีววิวรรธน์ ✨

"คณิตศาสตร์ไม่รู้จักเชื้อชาติหรือเขตแดนทางภูมิศาสตร์ สำหรับคณิตศาสตร์แล้ว โลกทางวัฒนธรรมเป็นดินแดนหนึ่งเดียวกันหมด"
- ดาวิด ฮิลแบร์ต

"Mathematics knows no races or geographic boundaries; for mathematics, the cultural world is one country"
- David Hilbert

--------------------

ดาวิด ฮิลแบร์ต
(23 มกราคม ค.ศ. 1862 – 14 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1943)

นักคณิตศาสตร์ชาวเยอรมัน ผู้ค้นพบและพัฒนาแนวคิดพื้นฐานหลายอย่าง เช่น invariant theory, calculus of variations, algebraic number theory ฯลฯ เขาพัฒนาเครื่องมือสำคัญทางคณิตศาสตร์ที่ใช้กับฟิสิกส์สมัยใหม่จำนวนมาก เป็นนักคณิตศาสตร์ที่ทรงอิทธิพลที่สุดคนหนึ่งในยุคของตัวเอง

#คำคมนักวิทย์ #คำคม #แรงบันดาลใจ #วิทยาศาสตร์ #สาระวิทย์

🍦 วาฟเฟิลโคนกับการค้นพบวิธีพิสูจน์ทฤษฎีบทพีทาโกรัสเรื่องโดย วีณา เนาวประทีปเมื่อเร็ว ๆ นี้มีข่าวที่น่าตื่นเต้นในวงการคณิ...
23/12/2024

🍦 วาฟเฟิลโคนกับการค้นพบวิธีพิสูจน์ทฤษฎีบทพีทาโกรัส
เรื่องโดย วีณา เนาวประทีป
เมื่อเร็ว ๆ นี้มีข่าวที่น่าตื่นเต้นในวงการคณิตศาสตร์ นักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย 2 คน คือ นีคียา ดี. แจ็กสัน (Ne’Kiya D. Jackson) และแคลซี รูเจียน จอห์นสัน (Calcea Rujean Johnson) ค้นพบการพิสูจน์ #ทฤษฎีบทพีทาโกรัส วิธีใหม่ และนำเสนอบทพิสูจน์นี้ในงาน AMS Spring Southeastern Sectional Meeting ในปี ค.ศ. 2023 ที่ผ่านมา
ℹ️ อ่านต่อ https://www.nstda.or.th/sci2pub/new-proofs-of-the-pythagorean-theorem/

ชีววิทยาของซอมบี 🧟‍♂️เรื่องโดย ผศ. ดร.ป๋วย อุ่นใจเมื่อไม่นานมานี้ผมได้รับเชิญไปออกรายการ Sci & Tech Movies ของช่อง ThaiP...
19/12/2024

ชีววิทยาของซอมบี 🧟‍♂️
เรื่องโดย ผศ. ดร.ป๋วย อุ่นใจ
เมื่อไม่นานมานี้ผมได้รับเชิญไปออกรายการ Sci & Tech Movies ของช่อง ThaiPBS และมูฟวีที่ทีมงานขอให้ผมช่วยไปเมาท์มอยวิจารณ์คือ “ #ผีชีวะ (Resident Evil)” ภาพยนตร์ซอมบีชื่อดังที่สร้างจากเกมยิงซอมบีที่ดังไม่แพ้กัน
เรื่องวิทยาศาสตร์ไม่ค่อยกังวล แต่ที่สับสนที่สุดคือดีเทลและโครงเรื่องของหนัง (และเกม) เพราะตัวหนังเองก็เคยดูอยู่เมื่อนานมาแล้ว ภาคหลัง ๆ ก็ไม่ได้ดูเลย พอจะต้องไปคุยเรื่องหนังก็เลยกระอักเล็ก ๆ
แต่ที่มึนที่สุดคือเรื่องนี้มันไม่ได้มีแค่หนังแต่มีเกมด้วย ! และจากที่ไปขุดคุ้ยมา รายละเอียดในหนังและในเกมมันไม่เหมือนกัน เเละที่สำคัญ ไอเดียทางวิทยาศาสตร์ข้างในจริง ๆ ของทั้งหนังและเกมนั้นมีแค่แตะผิวขอบของข้อเท็จจริงทางวิทยาศาสตร์ เนื้อเรื่องส่วนใหญ่จะเขียนขึ้นมาจากจินตนาการ นักวิทย์สร้างไวรัสเพื่อรักษาโรคร้ายของลูกสาว เรียกว่า ทีไวรัส (T virus) แต่ในเวลาต่อมาเกิดผลไม่คาดฝัน ทีไวรัสที่ถูกสร้างขึ้นมาแพร่กระจายและเปลี่ยนมนุษย์และสัตว์ให้กลายเป็นซอมบีที่ดุร้าย ที่เหลือก็เป็นเรื่องของการต่อสู้ของอลิซ สาวสวยหุ่นแซ่บที่เป็นหนึ่งในการทดลองที่ได้ผลและกลุ่มคนที่ยังเหลือรอด กับฝั่งบริษัทที่ยังทดลองสร้างนักรบรุ่นใหม่ต่อไปอย่างไม่จบสิ้น เกิดเป็นเรื่องราวบู๊ล้างผลาญโดยมีเมืองร้างและซอมบีอีกมากมายมหาศาลเป็นฉากหลัง
แม้ว่าข้อเท็จจริงจะแอบมึน ๆ งง ๆ ไปอยู่ แต่ถ้าดูให้ลึก ๆ ก็ยังพอมีอะไรให้เมาท์มอยอยู่พอประมาณ
ทั้งเรื่องโรค เรื่องไวรัส เรื่องพิษ และเรื่องซอมบี เรื่องโรคกับไวรัสนี่ไม่กังวลเพราะปกติก็ทำวิจัยเกี่ยวกับไวรัสอยู่แล้ว อันนี้เป็นอะไรที่เมาท์มอยได้เยอะ เรื่องพิษนี่ก็ไม่น่าจะเป็นปัญหาเพราะก็เคยวิจัยอยู่ แถมเคยร่วมกับน้อง ๆ ในแล็บเปิดเพจพิษวิทยา “Toxicant เพราะทุกสิ่งล้วนเป็นพิษ“ เพราะงั้นพวกนี้มีข้อมูลเยอะจึงไม่น่าเป็นปัญหา แต่ที่ไม่ค่อยชิลล์คือเรื่อง #ซอมบี อันนี้นี่ต้องหา
ที่จริงจากที่เคยสอนเรื่องความหลากหลายทางชีวภาพ เรื่องราวต่าง ๆ ก็เริ่มแว้บ ๆ ขึ้นมา !
ℹ️ อ่านต่อ https://www.nstda.or.th/sci2pub/zombie-biology/

🧪 𝑺𝙘𝒊 𝑸𝙪𝒊𝙯: บ้านนักคิดสวัสดีฮะ ฉบับนี้เรามาเล่นเกมครอสเวิร์ดคำศัพท์คณิตศาสตร์ง่าย ๆ ส่งท้ายปีกันดีกว่าฮะ พร้อมแล้วก็ลุยเ...
18/12/2024

🧪 𝑺𝙘𝒊 𝑸𝙪𝒊𝙯: บ้านนักคิด

สวัสดีฮะ ฉบับนี้เรามาเล่นเกมครอสเวิร์ดคำศัพท์คณิตศาสตร์ง่าย ๆ ส่งท้ายปีกันดีกว่าฮะ พร้อมแล้วก็ลุยเลย

🎁 ของรางวัลประจำฉบับที่ 141
- รางวัลพิเศษ ครีมกันแดด Reishural จำนวน 1 รางวัล
- กิฟต์เซตจานรองแก้ว จำนวน 2 รางวัล

📧 ส่งคำตอบมาร่วมสนุก
e-mail: [email protected]
อย่าลืมเขียนชื่อ ที่อยู่ มาด้วยนะฮะ

📆 หมดเขตส่งคำตอบ
วันที่ 31 ธันวาคม 2567

คำตอบจะเฉลยพร้อมประกาศรายชื่อผู้ได้รับรางวัลในสาระวิทย์ ฉบับที่ 142 สำหรับของรางวัล เราจะจัดส่งไปให้ทางไปรษณีย์ 📮

ดาวน์โหลดฟรี #นิตยสารสาระวิทย์
https://www.nstda.or.th/sci2pub/sarawit

 #นิตยสารสาระวิทย์ โดย สวทช. ฉบับที่ 141 เดือนธันวาคม 2567อีกไม่นานก็จะถึง  #วันขึ้นปีใหม่ พ.ศ. 2568 บรรยากาศแห่งการเฉลิ...
16/12/2024

#นิตยสารสาระวิทย์ โดย สวทช. ฉบับที่ 141 เดือนธันวาคม 2567
อีกไม่นานก็จะถึง #วันขึ้นปีใหม่ พ.ศ. 2568 บรรยากาศแห่งการเฉลิมฉลองอบอวลไปทั่ว หลายท่านคงกำลังวางแผนเดินทางท่องเที่ยวพักผ่อน หรือใช้เวลาร่วมกับครอบครัวและคนที่รัก แต่สำหรับใครที่ยังไม่มีแผนไปไหน สาระวิทย์ฉบับนี้ก็พร้อมมอบความรู้ให้แก่ทุกท่านเช่นเคยครับ
⏬ ดาวน์โหลดฟรี
https://www.nstda.or.th/sci2pub/sarawit/
⚛ เรื่องจากปก
วาฟเฟิลโคนกับการค้นพบวิธีพิสูจน์ทฤษฎีบทพีทาโกรัส
โดย วีณา เนาวประทีป

▪️ แกะกล่องงานวิจัย
Traffy Fondue อัปเดต ‘ฟีเจอร์ใหม่’ แจ้งง่าย ติดตามสะดวก บวกเรียกดูสถิติได้
โดย วัชราภรณ์ สนทนา และ วีณา ยศวังใจ

▪️ Sci Variety
8 เรื่องราวอัปเดตวงการแพทย์ในอวกาศ
ตอนที่ 7 ทีเซลล์ที่อ่อนแอกับแรงโน้มถ่วงที่เปลี่ยนไป
โดย ปาลิตา สุฤทธิ์

▪️ สภากาแฟ
ชีววิทยาของซอมบี
โดย ป๋วย อุ่นใจ

▪️ สาระวิทย์ในศิลป์
ส่งท้ายปีกับปริศนา Magnetic Horn
โดย วริศา ใจดี

▪️ ห้องภาพสัตว์ป่าไทย
ค้างคาวหน้ายักษ์หมอนโค้ง
โดย ประทีป ด้วงแค

▪️ ปั้นน้ำเป็นปลา
ชีวภูมิศาสตร์ ภูมินิเวศน้ำจืด และระบบแม่น้ำของปลาน้ำจืดในประเทศไทย
โดย ชวลิต วิทยานนท์

▪️ พรรณไม้ถิ่นเดียวของไทย : Endemic to Thailand
มะซางกาญจน์
โดย ปราโมทย์ ไตรบุญ

▪️ สาระสัตว์
ราญรอนก่อนแหลกลาญ การจัดการปลาหมอคางดำและผู้รุกรานต่างถิ่น
โดย AGB Research Unit Team

▪️ เรื่องเล่าเราโลก
สีสันของอัญมณี
โดย ณัฐพงศ์ โมนฤมิตร
นิตยสารสาระวิทย์ โดย สวทช.
Facebook: https://www.facebook.com/SarawitNSTDA
YouTube: https://youtube.com/
Website: https://www.nstda.or.th/sci2pub
Twitter: https://twitter.com/sarawitnstda

#นิตยสารสาระวิทย์ #สาระวิทย์ #สวทช

 #สวนทุเรียน ยุคใหม่ ปรับตัวอย่างไรให้รอดพ้นภัยแล้งเรื่องโดย ชวินธร อัครทัตตะจันทบุรีเป็นจังหวัดที่ประชากรส่วนใหญ่มีอาชี...
16/12/2024

#สวนทุเรียน ยุคใหม่ ปรับตัวอย่างไรให้รอดพ้นภัยแล้ง
เรื่องโดย ชวินธร อัครทัตตะ
จันทบุรีเป็นจังหวัดที่ประชากรส่วนใหญ่มีอาชีพเกษตรกรรมโดยเฉพาะอย่างยิ่งการทำสวนทุเรียน พืชเศรษฐกิจที่มีชื่อเสียงและทำรายได้สู่ประเทศสูงถึงหนึ่งแสนล้านบาทต่อปี และมีแนวโน้มว่าจะเพิ่มขึ้นอีกในปีถัดไป
ผมเป็นลูกหลานชาวสวนทุเรียนในอำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี ทั้งชีวิตผมเห็นพ่อกับปู่ผูกพันกับสวนมาตลอด ปู่ของผม นายวิวัฒน์ อัครทัตตะ เกษตรกรผู้ปลูกทุเรียนมายาวนานกว่า 60 ปี มักจะสอนเสมอว่า “ทุเรียนขาดน้ำไม่ได้ ถ้าแหล่งน้ำไม่ดีและไม่เพียงพอห้ามปลูกทุเรียนเด็ดขาด”
นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2566 ผมติดตามข่าวภาวะเอลนิญโญมาโดยตลอด พบว่าประเทศไทยกำลังจะพบกับภัยแล้งและอากาศร้อนจัด ซึ่งความร้อนนี้กำลังเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
“ถ้าไม่มีน้ำจากชลประทานให้ทุเรียนแล้วจะรับมืออย่างไร” ผมตั้งคำถามกับตัวเอง
ด้วยความเป็นห่วงสวนทุเรียนของปู่กับพ่อ และญาติพี่น้องผู้ปลูกทุเรียนเช่นเดียวกัน ผมจึงเข้าปรึกษากับ ผศ. ดร.สรวงอัยย์ อนันทวิจักษณ์ อาจารย์ประจำมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ วิทยาเขตปราจีนบุรี ถึงวิธีการรับมือกับภัยแล้งที่ชาวสวนอย่างเราสามารถทำได้ด้วยตัวเองและทันเวลา ก่อนจะออกไปสำรวจ สัมภาษณ์ และรวบรวมข้อมูลด้วยกัน เพื่อนำมาใช้วิเคราะห์และหาวิธีการจัดการแหล่งน้ำให้เพียงพอในภาวะวิกฤตภัยแล้ง
ℹ️ อ่านต่อ https://www.nstda.or.th/sci2pub/how-modern-durian-orchards-adapt-to-survive-droughts/

🍽️ กินเกลี้ยงจาน ลดขยะอาหาร ลดโลกร้อนเรื่องโดย อนุชิต กงซุยการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศเป็นการเปลี่ยนแปลงลักษณะอากาศโดยเฉลี่ย...
15/12/2024

🍽️ กินเกลี้ยงจาน ลดขยะอาหาร ลดโลกร้อน
เรื่องโดย อนุชิต กงซุย
การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศเป็นการเปลี่ยนแปลงลักษณะอากาศโดยเฉลี่ยในแต่ละพื้นที่ เกิดจากกิจกรรมของมนุษย์ทั้งทางตรงและทางอ้อมที่ปล่อยแก๊สเรือนกระจกสู่สิ่งแวดล้อม ทำให้องค์ประกอบของอากาศเปลี่ยนแปลงไปจากปกติ โลกมีอุณหภูมิเฉลี่ยสูงขึ้นซด์และเกิดปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่รุนแรงยากต่อการคาดการณ์ พืชและสัตว์น้อยใหญ่ รวมทั้งมนุษย์ต่างได้รับผลกระทบอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
หลายปีที่ผ่านมาจะสังเกตได้ว่าประเทศไทยได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศหลายด้าน เช่น อุณหภูมิเฉลี่ยอากาศสูงขึ้น ปรากฏการณ์ปะการังฟอกขาว ไฟป่า ภัยแล้ง น้ำท่วม โรคระบาดที่คร่าชีวิตผู้คนจำนวนมาก หรือแม้กระทั่งการเพิ่มขึ้นของประชากรศัตรูพืชที่ส่งผลกระทบต่อผลผลิตการเกษตรในวงกว้าง ถึงเวลาหรือยังที่เราทุกคนจะต้องร่วมด้วยช่วยกันปกป้องบ้านของเรา หยุดวิกฤตการณ์นี้ไปด้วยกัน
การสร้างความรู้ ความเข้าใจ และความตระหนักเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศและผลกระทบดังกล่าวเป็นเรื่องที่ท้าทายสำหรับครูและแวดวงการศึกษาเช่นกัน โดยเฉพาะการออกแบบกระบวนการและสร้างสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้ที่จะทำให้ผู้เรียนเกิดความรู้ ความเข้าใจ และความตระหนัก ซึ่ง STEM Education เป็นหนึ่งในแนวทางการจัดการเรียนรู้ที่มุ่งเน้นบูรณาการกลุ่มวิชาโดยไม่แยกส่วน มีทั้ง 4 มิติ ได้แก่ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์ และคณิตศาสตร์ ผสมผสานกันเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ ได้ลงมือทำ ควบคู่กับการคิด ตั้งคำถาม แก้ปัญหา สืบค้นข้อมูล วิเคราะห์ข้อค้นพบใหม่ ๆ และประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้ อีกทั้งยังส่งเสริมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ได้อย่างลงตัวและแยบยล
ℹ️ อ่านต่อ https://www.nstda.or.th/sci2pub/done-all-dishes/

ปลาพลวง ดัชนีสุขภาพป่าไม้ และแนวทางการอนุรักษ์เรื่องโดย ABG Research Unit Team #ปลาพลวง (Neolissochilus spp.) เป็นปลาที่...
09/12/2024

ปลาพลวง ดัชนีสุขภาพป่าไม้ และแนวทางการอนุรักษ์
เรื่องโดย ABG Research Unit Team
#ปลาพลวง (Neolissochilus spp.) เป็นปลาที่อยู่ในวงศ์ปลาตะเพียน มีลักษณะเกล็ดขอบเรียบ มีก้างในเนื้อจำนวนมาก ครีบหูอยู่ในระดับต่ำ มีครีบหลังตอนเดียว ไม่มีฟันที่ขากรรไกร แต่มีฟันในหลอดคอ ประเทศไทยพบปลาพลวงทั้งหมด 6 ชนิด ได้แก่ ปลาพลวงหิน (Neolissochilus stracheyi) พบแพร่กระจายทั่วประเทศ ปลาพลวงถ้ำ (N. subterraneous) พบเฉพาะในถ้ำที่จังหวัดเพชรบูรณ์ ปลาพลวงใต้ (N. paucisquamatus) พบในภาคใต้ ปลาพลวงสุมาตรา (N. sumatranus) พบในภาคใต้และภาคตะวันออก ปลาพลวงแถบดำ (N. vittatus) พบยากและพบเฉพาะในลุ่มน้ำสาละวิน จังหวัดแม่ฮ่องสอน และปลาพลวงตะวันตก (N. soroides) พบตั้งแต่ภาคใต้ขึ้นมาจนถึงลุ่มน้ำแม่กลอง
ปลาพลวงมักอาศัยอยู่ในวังน้ำลึกบริเวณที่มีกิ่งก้านของต้นไม้ใหญ่ปกคลุม โดยเฉพาะต้นที่มีผลหล่นลงมาให้ปลากินได้ เช่น ต้นมะเดื่อ ปลาจะอาศัยร่วมกันเป็นฝูง มีการแบ่งชั้นตามขนาดของปลา ทั้งตัวใหญ่และเล็กต่างอยู่ในพื้นที่เดียวกันได้ ปลาพลวงจะว่ายไปวางไข่ในพื้นที่ต้นน้ำ ให้ลูกปลาเติบโตในลำธารขนาดเล็กที่มีแหล่งอาหารและที่หลบภัยจากศัตรูธรรมชาติ
ปลาพลวงเป็นปลาต้นน้ำจึงมีบทบาทสำคัญในระบบนิเวศ คือ เป็นตัวบ่งชี้ถึงความอุดมสมบูรณ์ของแหล่งน้ำ หากมีการตัดไม้ทำลายป่าในพื้นที่ต้นน้ำก็จะส่งผลโดยตรงต่อถิ่นที่อยู่อาศัยของปลาพลวง ซึ่งอาจทำให้จำนวนประชากรปลาพลวงลดลง
มีความเชื่อว่าปลาพลวงเป็นปลาศักดิ์สิทธิ์ กินแล้วจะเกิดผลร้าย นับเป็นกลยุทธ์ที่ทำให้ประชาชนช่วยกันดูแลและไม่จับปลาชนิดนี้
ℹ️ อ่านต่อ https://www.nstda.or.th/sci2pub/neolissochilus-spp/

เสริมพลังผู้ประกอบการด้วยฐานข้อมูลวัฏจักรชีวิตของผลิตภัณฑ์เรื่องโดย วีณา ยศวังใจการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของโลกก่อให้เ...
08/12/2024

เสริมพลังผู้ประกอบการด้วยฐานข้อมูลวัฏจักรชีวิตของผลิตภัณฑ์
เรื่องโดย วีณา ยศวังใจ
การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของโลกก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสิ่งแวดล้อมมากมาย ส่งผลกระทบต่อการดำรงอยู่ของสิ่งมีชีวิตทุกชนิดบนโลก โดยสาเหตุหลักมาจากกิจกรรมของมนุษย์ที่ปล่อยแก๊สเรือนกระจกสู่ชั้นบรรยากาศในปริมาณที่มากเกินไป เป็นผลให้เกิดภาวะโลกร้อนซึ่งกลายเป็นปัญหาใหญ่ที่ทั่วโลกกำลังเผชิญอยู่ในปัจจุบัน ทุกภาคส่วนจึงต้องหันมาร่วมมือกันลดการปล่อยแก๊สเรือนกระจกอย่างจริงจังเพื่อบรรเทาผลกระทบและมุ่งสู่สังคมคาร์บอนต่ำ แนวทางหนึ่งที่จะช่วยให้บรรลุเป้าหมายการลดการปล่อยแก๊สเรือนกระจกคือ “การประเมินวัฏจักรชีวิตของผลิตภัณฑ์” และ “การคำนวณคาร์บอนฟุตพรินต์” เพื่อขอรับรองฉลากคาร์บอนฟุตพรินต์
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดย สถาบันเทคโนโลยีและสารสนเทศเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ( ) ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ ( #เอ็มเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ( #สวทช.) ได้จัดทำฐานข้อมูลวัฏจักรชีวิตของวัสดุพื้นฐานและพลังงานของประเทศ (Thai National Life Cycle Inventory Database) ซึ่งเป็นฐานข้อมูลการใช้ทรัพยากรและการปล่อยมวลสารสู่สิ่งแวดล้อมของการผลิตผลิตภัณฑ์หนึ่งหรือกิจกรรมใดกิจกรรมหนึ่ง ตามแนวทางการประเมินตลอดวัฏจักรชีวิต (life cycle assessment: LCA)
ℹ️ อ่านต่อ : https://www.nstda.or.th/sci2pub/thai-national-life-cycle-inventory-database/

 #พรรณไม้ถิ่นเดียวของไทย(Endemic to Thailand)โดย ดร.ปราโมทย์  ไตรบุญธนาคารทรัพยากรชีวภาพแห่งชาติ #พรหมโมลี : Dorcoceras ...
06/12/2024

#พรรณไม้ถิ่นเดียวของไทย
(Endemic to Thailand)

โดย ดร.ปราโมทย์ ไตรบุญ
ธนาคารทรัพยากรชีวภาพแห่งชาติ
#พรหมโมลี : Dorcoceras brunneum C. Puglisi

พรรณไม้ที่พบตามพื้นที่เขาหินปูนในป่าผลัดใบผสมป่าไผ่ จัดอยู่ในวงศ์ชาฤๅษี (Gesneriaceae)
ลักษณะเป็นไม้ล้มลุกหลายปี ลำต้นสั้น รากแทรกและยึดติดแน่นอยู่ตามดินหรือซอกหิน ใบเดี่ยว เรียงเวียนเป็นกระจุกเกิดเป็นกลุ่มแน่นอยู่ที่ปลายยอด แผ่นใบค่อนข้างหนา รูปรีหรือรูปช้อน ช่อดอกแบบช่อกระจุกสองด้านเชิงประกอบ ดอกสีม่วงอ่อนอมฟ้า กลีบเลี้ยง 5 กลีบแยกกัน รูปคล้ายดาว กลีบดอก 5 กลีบ ส่วนโคนเชื่อมติดกันเป็นรูปถ้วยตื้น เกสรเพศผู้ 5 เกสรที่สมบูรณ์ 2 เกสร อีก 3 เกสรที่เหลือเป็นหมันและลดรูป เกสรเพศเมียอยู่ตรงกลาง ยอดเกสรเพศเมียเป็นตุ่มเล็ก ผลแบบผลแห้งแตก รูปทรงกระบอกแคบ บิดเกลียวเมื่อแก่ มีกลีบเลี้ยงขยายขนาดติดทนขนาดเล็กอยู่ที่โคนผล ตามผิวผลมีขนต่อมกระจายอยู่ทั่วไป มีหลายเมล็ด
พรหมโมลีพบได้ตามนิเวศหินปูนในจังหวัดกาญจนบุรี
ตัวอย่างต้นแบบของ Dorcoceras brunneum คือ Middleton, Karaket, Suddee & Triboun 5283 เก็บจากอำเภอไทรโยค ในเขตจังหวัดกาญจนบุรี
อ้างอิง: Carmen, P. and Middleton, D. J. 2017. A revision of Dorcoceras (Gesneriaceae) in Thailand. Thai Forest Bulletin (Botany) 45(1): 10-17.

ที่อยู่

111 Thailand Science Park
Pathum Thani
12120

เว็บไซต์

แจ้งเตือน

รับทราบข่าวสารและโปรโมชั่นของ นิตยสารสาระวิทย์ผ่านทางอีเมล์ของคุณ เราจะเก็บข้อมูลของคุณเป็นความลับ คุณสามารถกดยกเลิกการติดตามได้ตลอดเวลา

ติดต่อ ธุรกิจของเรา

ส่งข้อความของคุณถึง นิตยสารสาระวิทย์:

วิดีโอทั้งหมด

แชร์