Thanee Modsanga เครื่องเสียง - โฮมเธียเตอร์ และเพลง

ทุกครั้งที่ชายผู้นี้แวะมา.. เขามักจะหิ้วอะไรดีๆ มาให้ลองฟังเสมอ..!!! ลองทายซิว่า คราวนี้เขาเอาอะไรมาให้ฟัง..??
03/09/2024

ทุกครั้งที่ชายผู้นี้แวะมา.. เขามักจะหิ้วอะไรดีๆ มาให้ลองฟังเสมอ..!!! ลองทายซิว่า คราวนี้เขาเอาอะไรมาให้ฟัง..??

บรรยากาศงานเวิร์คช็อปเรื่อง "เทคนิคการเซ็ตอัพ+ปรับจูนซิสเต็มระดับ Extreme Hi-End" เมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมาที่ร้าน HD HiFi ...
03/09/2024

บรรยากาศงานเวิร์คช็อปเรื่อง "เทคนิคการเซ็ตอัพ+ปรับจูนซิสเต็มระดับ Extreme Hi-End" เมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมาที่ร้าน HD HiFi สมาชิกที่สนใจมาเปิดรับประสบการณ์พิเศษครั้งนี้กันอย่างล้นหลาม (ถ่ายภาพตอนหกโมง ซึ่งตอนห้าโมงมีคนกลับไปก่อน 3-4 คน)
เวิร์คช็อปครั้งนี้ทำให้เราเห็นว่า ไม่ว่าจะมีขนาดใหญ่แค่ไหน ไม่ว่าจะมีราคาสูงแค่ไหน ถ้าขึ้นชื่อว่า "ลำโพง" ล้วนต้องการ "ตำแหน่ง" การจัดวางที่ถูกต้องจึงจะให้เสียงออกมาดีที่สุด ซึ่งคุณสมบัติที่สำคัญที่สุดที่เป็น "แก่นกลาง" ของคุณภาพเสียงก็คือ "โฟกัส" พอลำโพงทั้งสองข้างถูกขยับเคลื่อนจนเข้ามาอยู่ในระยะจัดวางที่ลงตัว คลื่นเสียงจากลำโพงทั้งสองข้างแผ่เข้ามาซ้อนกลืนกันได้สนิทในลักษณะที่เรียกว่า in-phase มากที่สุด ณ จุดนั้น เสียงโดยรวมจะออกมาดีที่สุดใน "ทุกๆ ด้าน" โดยเฉพาะทางด้าน "ไทมิ่ง" ที่กำหนดอารมณ์ของเพลงก็จะถูกถ่ายทอดออกมาได้อย่างครบถ้วนมากที่สุดด้วย ทุกคนที่เข้าร่วมเวิร์คช็อปในวันนั้นน่าจะได้บทสรุปกลับไปว่า การถ่างลำโพงซ้าย-ขวาให้ฉีกห่างออกไปเยอะๆ ไม่ได้ทำให้เวทีเสียงกว้างขึ้นอย่างที่คิด แต่พอเฟสของลำโพงซ้าย-ขวาไม่ซ้อนทับกันสนิท มีผลให้เสียงโดยรวมแย่ลงทุกด้าน..
ต้องขอขอบคุณทางเจ้าภาพคือ บริษัท CH Home Media กับร้าน HD HiFi ซึ่งเป็นบริษัทผู้นำเข้าเครื่องเสียงและร้านค้าเครื่องเสียงที่เล็งเห็นถึงความสำคัญในการถ่ายทอดประสบการณ์ให้กับเพื่อนๆ นักเล่นฯ ได้กรุณาสนับสนุนชุดเครื่องเสียงระดับ Extreme Hi-Fi กับห้องฟังขนาดใหญ่เพื่อให้พวกเราได้มีโอกาสเข้ามาสัมผัสกับประสบการณ์ที่มีค่าในครั้งนี้..!
*** คุณนพ ฝากแจ้งมาว่า ท่านที่ไม่ได้เข้าร่วมกิจกรรม ถ้าต้องการเข้าไปทดลองฟังเสียงของซิสเต็มนี้ก็สามารถเข้าไปลองฟังได้เพราะซิสเต็มนี้จะยังเซ็ตอัพอยู่ที่ร้าน HD HiFi อีกระยะหนึ่ง (โทร. นัดหมายที่ คุณแมน 063-236-6193)

#เวิร์คช็อปเครื่องเสียง




Storage vs. Server----------ทั้ง Storage และ Server มีส่วนประกอบที่เหมือนกันอยู่อย่างหนึ่ง นั่นคือ ส่วนที่เรียกว่า "ฮาร์...
02/09/2024

Storage vs. Server
----------
ทั้ง Storage และ Server มีส่วนประกอบที่เหมือนกันอยู่อย่างหนึ่ง นั่นคือ ส่วนที่เรียกว่า "ฮาร์ดดิส" (harddisk) ซึ่งเป็นส่วนของฮาร์ดแวร์ที่ใช้ในการจัดเก็บข้อมูลหรือไฟล์เพลง ส่วนสาเหตุที่ทำให้ Storage กับ Server มีความต่างกันก็คือ อุปกรณ์เก็บไฟล์เพลงที่เรียกว่า Server จะมีซอฟท์แวร์ฝังอยู่ในตัวฮาร์ดแวร์เพื่อทำหน้าที่ "คุย" กับอุปกรณ์ตัวอื่นผ่านทางเครือข่ายเน็ทเวิร์ค และจะ "แชร์" ไฟล์เพลงที่อยู่ในตัวมันออกไปให้กับอุปกรณ์ตัวอื่นที่เชื่อมต่ออยู่ในเน็ทเวิร์คเดียวกัน อย่างเช่น ส่งไปให้ลำโพงไร้สาย Bluetooth ที่ถูกกำหนดให้เป็น output ของแอพลิเคชั่นเล่นไฟล์เพลงบนมือถือ หรือส่งไปให้ตัว Streamer เมื่อได้รับการร้องขอจากโปรแกรมเล่นไฟล์เพลงที่สั่งงานผ่านมาทางตัวสตรีมเมอร์ ในขณะที่อุปกรณ์เก็บข้อมูลหรือไฟล์เพลงประเภทที่เรียกว่า Storage อาทิเช่น USB flashdrive หรือฮาร์ดดิสของคอมพิวเตอร์ จะไม่สามารถแชร์ไฟล์เพลงที่อยู่ในตัวมันออกไปให้กับ Streamer หรืออุปกรณ์อื่นๆ ได้โดยตรง ต้องมีโปรแกรมเล็กๆ ที่เรียกว่า media server program ที่อยู่ภายนอก Storage เข้ามาช่วยอีกทีหนึ่ง
ด้วยเหตุนี้ ถ้าเล่นไฟล์เพลงด้วยการสตรีมมิ่งผ่านทางเน็ทเวิร์คจึงควรเก็บไฟล์เพลงไว้ในฮาร์ดดิสที่เชื่อมต่อกับอุปกรณ์ตัวอื่นทางเน็ทเวิร์คได้ (NAS = Network Attached Storage) ซึ่งนอกจากจะทำให้คุณสามารถแชร์ไฟล์เพลงที่เก็บอยู่ในนั้นไปให้กับ Streamer ที่เชื่อมต่ออยู่กับเน็ทเวิร์คเดียวกันได้หลายตัวพร้อมกันแล้ว (ผ่านระบบมัลติรูม-มัลติโซน) การที่โปรแกรมเล่นไฟล์เพลงดึงไฟล์เพลงเข้ามาที่ตัวสตรีมเมอร์ผ่านทางเน็ทเวิร์คก็จะทำให้ได้ "คุณภาพเสียง" ที่ดีกว่าดึงไฟล์เพลงจาก USB Storage ผ่านเข้ามาทางอินเตอร์เฟซ USB อีกด้วย



ในอดีตนั้น สิ่งที่นักพัฒนาลำโพงต้องการคือ "เสียงที่หลุดตู้" เป็นลักษณะของเสียงที่มีความเป็นอิสระอย่างที่เกิดขึ้นในธรรมชา...
01/09/2024

ในอดีตนั้น สิ่งที่นักพัฒนาลำโพงต้องการคือ "เสียงที่หลุดตู้" เป็นลักษณะของเสียงที่มีความเป็นอิสระอย่างที่เกิดขึ้นในธรรมชาติ เป็นเสียงที่เกิดขึ้นจากการสั่นของไดอะแฟรมของไดเวอร์เพียวๆ โดยไม่มี "เรโซแนนซ์ของตัวตู้" เข้ามาผสม ซึ่งในยุคก่อนที่นักพัฒนาลำโพงยังควานหาวิธีขจัดเรโซแนนซ์ของตัวตู้ไม่เจอ เราจึงพบว่า ลำโพงขนาดใหญ่ให้เสียงที่ไม่โปร่งกระจ่างสดใส ไม่หลุดตู้อิสระได้ดีเท่ากับลำโพงขนาดเล็ก สาเหตุเป็นเพราะว่า ตัวตู้ของลำโพงขนาดใหญ่มันจะสั่นกระพรือมากเมื่อเปิดดังๆ ทำให้เกิดความถี่เรโซแนนซ์เข้าไปผสมกับการทำงานของไดเวอร์ ส่งผลทำให้เสียงโดยรวมออกมาพร่ามัว และขุ่นทึบ
โดยพื้นฐานแล้ว ลำโพงใหญ่จะได้เปรียบลำโพงเล็ก "ทุกด้าน" เพราะลำโพงใหญ่ให้ทั้ง "แบนด์วิธ" (ความถี่ตอบสนอง) ที่เปิดกว้างกว่า และให้ "ความดัง" (ไดนามิกเร้นจ์) ที่สวิงได้กว้างกว่า และเมื่อนักพัฒนาลำโพงในยุคปัจจุบันค้นพบวิธีขจัดปัญหาเรโซแนนซ์ของตัวตู้ออกไปได้อย่างหมดจด จึงทำให้ลำโพงใหญ่ในปัจจุบันมีความสามารถในการถ่ายทอดเสียงออกมาได้ "ใกล้เคียง" กับต้นฉบับของสัญญาณเสียงที่รับเข้ามาทางอินพุตมากขึ้น ในขณะที่ลำโพงเล็กจะมีข้อจำกัดในการ "ถ่ายทอดรายละเอียดในย่านความถี่ต่ำ" (จำกัดทางด้านความถี่ตอบสนอง) และให้ "อัตราสวิงของความดัง" ที่ไม่เปิดกว้างเท่ากับลำโพงใหญ่ (จำกัดทางด้านไดนามิกเร้นจ์)
Blade One Meta คู่นี้ได้แสดงให้เห็นว่า ลำโพงใหญ่ที่ (ออกแบบมา) ดีจริงๆ นั้น ควรจะให้เสียงออกมาแบบไหน.? คือจะต้องไม่ออกมาในลักษณะ "ได้อย่าง-เสียอย่าง" เมื่อเทียบกับลำโพงเล็กนั่นเอง..!!

#คุยกันวันอาทิตย์
#เรื่องของลำโพง

ทำไมถึงอธิบายยากนัก.!!----------"จารย์พูดมาตรงๆ เลยครับ คือได้ยินยังไงก็พูดไปตามนั้น ง่ายๆ เลย.!!" การอธิบายให้คนอื่นฟัง...
31/08/2024

ทำไมถึงอธิบายยากนัก.!!
----------
"จารย์พูดมาตรงๆ เลยครับ คือได้ยินยังไงก็พูดไปตามนั้น ง่ายๆ เลย.!!"
การอธิบายให้คนอื่นฟังเกี่ยวกับเสียงที่เราได้ยินจากชุดเครื่องเสียงของเรา มันไม่ได้ง่ายอย่างที่คิดหรอกนะ เพราะว่าคำศัพท์ที่เป็นคำพูดที่จะใช้อธิบายมันมีขอบเขตจำกัด อย่างเช่น คำว่า "ชัดเจน" โดยตัวของมันเองเชื่อว่าทุกคนที่ได้ยินคำนี้ก็คงจินตนาการได้ว่ามันคือลักษณะเสียงแบบไหน แต่ถ้าเป็น "ความชัดเจน" ของเสียงที่ได้จากลำโพงคู่ละ 1.5 ล้าน จะอธิบายเป็นคำพูดยังไงให้คนอื่นเข้าใจว่ามันชัดเจนต่างจากลำโพงคู่ละ 5 หมื่นอย่างไร.?
เหตุผลที่มันยาก ก็เพราะว่า "ความรู้สึก" ที่ถูกกระตุ้นจากการ "ได้ยิน" เสียงจากชุดเครื่องเสียงมันเป็นผลที่เกิดขึ้นเฉพาะตัวของคนฟังแต่ละคนที่อาจจะแตกต่างกัน เป็น subjective ที่อิงอยู่กับ "ประสบการณ์" ในอดีตของผู้ฟังแต่ละคน แน่นอนว่า เสียงของลำโพงคู่ละ 1.5 ล้านต้องมีความแตกต่างจากเสียงของลำโพงคู่ละ 5 หมื่นบาทแน่ๆ แต่เชื่อเลยว่า คนสองคนที่ฟังจากซิสเต็มเดียวกัน พร้อมกัน และในสถานที่เดียวกัน ก็ไม่มีทางที่จะอธิบาย "ลักษณะความแตกต่างของเสียง" ที่ลำโพงทั้งสองคู่นั้นให้ออกมาได้เหมือนกัน
ทุกครั้งที่มีคนถามถึงลักษณะเสียงของอุปกรณ์เครื่องเสียงที่ได้ทดสอบไป ผมจะใช้ความระมัดระวังอย่างมากในการอธิบายเสียงของมัน เหตุผลก็เพราะว่าไม่อยากจะให้เข้าใจผิด อย่างที่เกริ่นมาข้างต้นนั่นแหละ พอใช้คำว่า "นุ่มนวล" กับเสียงของลำโพงคู่ละ 5 หมื่นไปแล้ว พอจะต้องอธิบาย "ความนุ่มนวล" ของเสียงจากลำโพงคู่ละ 1.5 ล้าน ก็ไม่รู้ว่าจะต้องใช้คำศัพท์แบบไหนมาอธิบายให้เข้าใจว่ามันต่างกัน ครั้นจะไปหาศัพท์แปลกๆ มาใช้อธิบายก็ดูจะเป็นนามธรรมเกินไป ซึ่งเครื่องเสียงที่มีราคาสูงมากๆ มันก็มักจะมีลักษณะอย่างที่ว่าซะด้วย เมื่อได้ฟังเสียงของมันนานพอ จะเข้าใจถึงสิ่งที่มันถ่ายทอดออกมาให้รับรู้ คือเหมือนกับว่า เครื่องเสียงแพงๆ มันพยายามจะ "ตีแผ่" ความหมายของศัพท์พื้นๆ ที่เราได้ยินจากอุปกรณ์เครื่องเสียงที่มีราคาต่ำกว่าให้ลึกลงไปมากกว่า อย่างเช่นคำว่า "นุ่มนวล" ถ้าใช้กับเสียงของลำโพงคู่ละ 5 หมื่นบาท เราก็พูดสั้นๆ ว่า "นุ่มนวล" แค่นี้จบ ไม่คาใจ ไม่กังวลว่าคนฟังจะไม่เข้าใจ เพราะเชื่อว่าคนฟังส่วนใหญ่จะเข้าใจได้ว่าหมายถึงเสียงแบบไหน แต่พอฟังเสียงของลำโพงคู่ละ 1.5 ล้านเสร็จแล้ว ใจมันก็นึกถึงคำว่า "นุ่มนวล" นั่นแหละ แต่ในขณะเดียวกัน มันจะมีความรู้สึกแย้งขึ้นมาว่า มันไม่ใช่ "ความนุ่มนวล" ที่เคยได้ยินมาก่อนนะ แต่มันเป็นความนุ่มนวลที่มี "อะไร" เจือปนออกมามากกว่านั้น มันเป็น "ความรู้สึก" ที่เกิดขึ้นจากการถูก "ความนุ่มนวล" ของเสียงจากลำโพงคู่ละ 1.5 ล้านกระตุ้นขึ้นมา มันเป็น "ประสบการณ์" ใหม่ที่การอธิบายด้วยคำพูดไม่สามารถทำได้..!!!


#ความรู้สึกที่ถูกกระตุ้นด้วยเสียงที่ดีมันมีความลึกซึ้งมากกว่าแค่ได้ยินเสียงที่ดี
#เสียงที่ดีจากลำโพงส่วนใหญ่ได้ยินแล้วก็ผ่านไปแต่เสียงจากลำโพงบางคู่มันฝังเข้าไปในใจ

สมัยก่อน เวลาเราเห็นลำโพงตั้งพื้นขนาดใหญ่ ส่วนมากจะนึกถึงเสียงเบสตูมๆ กับเสียงทุ้มที่อะร้า อะร่ามอวบใหญ่ ส่วนเสียงกลางได...
30/08/2024

สมัยก่อน เวลาเราเห็นลำโพงตั้งพื้นขนาดใหญ่ ส่วนมากจะนึกถึงเสียงเบสตูมๆ กับเสียงทุ้มที่อะร้า อะร่ามอวบใหญ่ ส่วนเสียงกลางได้ยินบ่อยมากที่มักจะพูดกันว่า สู้ลำโพงเล็กไม่ได้.!
ผมเคยได้ยินคำกล่าวทำนองนี้มาตั้งแต่สมัยเล่นเครื่องเสียงใหม่ๆ จนถึงปัจจุบันก็ยังเคยได้ยินบ้างแต่น้อยลง ถามว่า เป็นจริงตามนั้นมั้ย.? ตอบเลยว่า มีทั้งจริงและไม่จริงครับ คือถ้าย้อนกลับไปสัก 30 ปีที่แล้ว ลำโพงตั้งพื้นขนาดใหญ่ส่วนมากจะให้เสียงกลางสู้ลำโพงวางขาตั้งขนาดเล็กไม่ได้ ซึ่งประเด็นที่สู้ไม่ได้จะไปอยู่ที่คุณสมบัติทางด้าน "คอนทราสน์ ไดนามิก" เป็นหลัก คือถ้าฟังเสียงร้องของนักร้องผู้ชายและนักร้องผู้หญิง ลำโพงเล็ก (ที่มีคุณภาพดี) มักจะให้คอนทราสน์ ไดนามิกที่ดีกว่าลำโพงตั้งพื้นขนาดใหญ่
'คอนทราสน์ ไดนามิก' อยู่ตรงไหนของเสียงร้อง.? มันคือความต่อเนื่อง ลื่นไหล ของอาการสูงๆ ต่ำๆ ของเสียงร้อง ที่แสดงให้เห็นถึงลักษณะการควบคุมเสียงร้องของนักร้องที่ "ตั้งใจ" ปลดปล่อยลีลาออกมากับ "แต่ละคำร้อง" ในเนื้อเพลงที่เกี่ยวเนื่องเชื่อมโยงกันไป จากคำร้องหนึ่งไปสู่คำร้องที่อยู่ติดกันและต่อไปที่คำร้องที่อยู่ถัดไปเรื่อยๆ และเรื่อยๆ .. ซึ่งทั้งหมดนี้สะท้อนให้ผู้ฟังสัมผัสได้ถึง "อารมณ์" ของนักร้องที่ถ่ายทอดออกมากับ "แต่ละคำร้อง" เหล่านั้นนั่นเอง
เมื่อวานผมเข้าไปทดลองเซ็ตอัพ+ไฟน์จูนลำโพง Focal 'Stella Utopia EM EVO' เพราะอยากจะทดสอบดูว่า ลำโพงตั้งพื้นขนาดใหญ่คู่นี้จะสามารถถ่ายทอด "คอนทราสน์ ไดนามิก" ของเสียงร้องออกมาได้ดีแค่ไหน.? ใครที่เข้าไปร่วมกิจกรรมเวิร์คช็อปที่ HD HiFi ตอนบ่ายวันพรุ่งนี้ เราจะได้พิสูจน์ร่วมกัน..!!
----------
พรุ่งนี้ใครว่างอยากไปหาประสบการณ์ทดสอบร่วมกัน โทร. ไปเช็คที่นั่งได้ที่เบอร์ 063-236-6193 (คุณแมน)

#ทำลำโพงใหญ่ให้เสียงร้องออกมาดีกว่าลำโพงเล็ก
#มาทดลองฟังและปรับจูนเสียงของซิสเต็มหลักสิบล้านกัน

"ชุดเครื่องเสียง" ที่จะใช้เซ็ตอัพและปรับจูนในงานเวิร์คช็อปวันเสาร์ที่จะถึงนี้ มีอะไรบ้าง.?----------ตอนนี้ได้รับข้อมูลมา...
29/08/2024

"ชุดเครื่องเสียง" ที่จะใช้เซ็ตอัพและปรับจูนในงานเวิร์คช็อปวันเสาร์ที่จะถึงนี้ มีอะไรบ้าง.?
----------
ตอนนี้ได้รับข้อมูลมาครบแล้ว กระซิบให้ว่า เป็นชุดใหญ่ไฟกระพริบจริงๆ ราคาทั้งชุดรวมกันเกิน 10 ล้านบาท ประกอบด้วยอุปกรณ์เครื่องเสียงหลักๆ 3 ส่วน คือ แหล่งต้นทางสัญญาณ, แอมปลิฟาย และลำโพง ด้านล่างนี้คือรายละเอียดโดยสังเขปของอุปกรณ์แต่ละส่วนในซิสเต็มที่เราจะใช้สาธิตในการ "เซ็ตอัพ + ปรับจูน" วันเสาร์ที่จะถึงนี้..
----------
1. Naim Audio รุ่น NSS 333
ตัวนี้เป็น "มิวสิค สตรีมเมอร์" ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์รุ่นใหญ่สุดใน Series 300 ของ Naim Audio ทำหน้าที่เป็นแหล่งต้นทางสัญญาณหลักของซิสเต็มนี้ จุดเด่นคือสามารถรองรับไฟล์เพลงฟอร์แม็ตหลักๆ ด้วยการสตรีมผ่านเน็ทเวิร์คได้ครบถ้วนทั้ง WAV, AIFF, FLAC และ DSF และรองรับสัญญาณดิจิตัลอินพุตฟอร์แม็ต PCM ได้สูงถึง 32/384 รวมถึงสัญญาณอินพุตฟอร์แม็ต DSD ด้วย และสามารถสตรีมไฟล์เพลงจาก TIDAL ได้ - (*วันเสาร์นี้ จะมาพร้อมภาคเพาเวอร์ซัพพลายรุ่น NPX 300 ซึ่งเป็นอ๊อปชั่นพิเศษด้วย)
----------
2. Musical Fidelity รุ่น NU-VISTA PRE
เป็นปรีแอมป์ที่นำเอารูปแบบการดีไซน์วงจรแบบ “fully balanced” ที่แยกการจัดการกับสัญญาณซ้าย-ขวาอิสระ เข้ามาประสานงานร่วมกับวงจรบัฟเฟอร์ที่ภาคเอ๊าต์พุตซึ่งออกแบบโดยใช้หลอด Nuvistor เบอร์ 6S51N ทำงานในโหมด discrete class A - (* เดิมทีนั้น Nuvistor เป็นหลอดขนาดเล็กที่ออกแบบมาเพื่อใช้ในภาคขยายของอุปกรณ์ที่ใช้ในสตูดิโอโดยเฉพาะ อาทิเช่น ใช้ในเครื่องบันทึกเทปยี่ห้อ Ampex รุ่น MR-70 และใช้ขยายสัญญาณในไมโครโฟนระดับสตูดิโอของ AKG/Norelco C12a, Neumann รุ่น U 47 ซึ่งหลังจากพัฒนาทรานซิสเตอร์ขึ้นมา หลอด Nuvistor ก็ถูกแทนที่ด้วยทรานซิสเตอร์ จนกระทั่ง Musical Fidelity นำเอาหลอด Nuvistor ตัวนี้มาใช้ออกแบบเป็นภาคบัฟเฟอร์ในแอมปลิฟายซีรี่ย์ NU-VISTA ออกมา ได้เสียงที่ดีมาก ทำให้แอมป์ซีรี่ย์นี้ได้รับความนิยมจนมีชื่อเสียงโด่งดัง)
----------
3. Musical Fidelity รุ่น NU-VISTA PAM
ตัวนี้เป็นเพาเวอร์แอมป์คู่บุญของปรีแอมป์รุ่น NU-VISTA PRE ซึ่งออกแบบวงจรขยายแบบ fully balanced และมีการขยายสัญญาณซีกซ้าย-ขวาแยกออกจากกัน "อย่างเด็ดขาด" ในลักษณะที่เรียกว่า mono-block โดยใช้การจัดวงจรขยายทางด้านเอ๊าต์พุตด้วยเทคนิค bridged mono ซึ่งแต่ละข้างใช้ทรานซิสเตอร์แบบ High Power จำนวน 5 คู่ช่วยกันขยาย ซึ่งให้กำลังขับสูงถึง 600W ที่ 8 โอห์ม, 1000W ที่ 4 โอห์ม และ 1500W ที่ 2 โอห์ม โดยมีวงจร discrete class A ที่ทำงานโดยหลอด Nuvistor 6S51N ทำหน้าที่เป็นบัฟเฟอร์ ช่วยเกลาให้เสียงโดยรวมมีทั้งพลังและความนวลเนียนออกมาพร้อมกัน - (*ในงานวันเสาร์นี้ จะมาแบบเต็มสูบ คือพ่วงภาคเพาเวอร์ซัพพลายที่แยกตัวถังออกจากวงจรขยายหลักทั้งข้างซ้ายและข้างขวาด้วย)
----------
4. Focal รุ่น Stella Utopia EM EVO
เป็นลำโพงตั้งพื้นขนาดใหญ่ที่แยกการทำงานของไดเวอร์ทั้ง 5 ตัวออกจากกันด้วยวงจรตัดแบ่งความถี่ (วงจรเน็ทเวิร์ค) แบบ 3 ทาง ซึ่งลำโพงรุ่น Stella Utopia EM คู่นี้เป็นหนึ่งในจำนวน 2 รุ่นที่มีเทคโนโลยีพิเศษที่ทาง Focal เรียกว่า 'EM’ (Electromagnetic) ซึ่งเป็นระบบแม่เหล็กไฟฟ้าที่ให้ประสิทธิภาพ "สูงกว่า" ระบบแม่เหล็กถาวรที่ใช้กันอยู่ในลำโพงทั่วๆ ไป ไม่ว่าจะทางด้านพลังงานที่สูงกว่าและความเสถียร นอกจากนั้นลำโพงคู่นี้ยังมีเทคโนโลยีพิเศษติดตั้งมาอีกเกือบ 10 อย่าง ที่พิเศษและมีผลกับการเซ็ตอัพอย่างมากก็คือ "วงจรเน็ทเวิร์ค" ที่เปิดโอกาสให้ผู้ใช้สามารถปรับจูนพารามิเตอร์ได้ ซึ่งเป็นความสามารถที่ลำโพงระดับล่างๆ ลงมาไม่สามารถทำได้ - (*ตรงนี้คือไฮไล้ท์ฯ ที่เราจะทำการปรับจูนร่วมกันในกิจกรรมนี้)
----------
เวิร์คช็อป “เทคนิคการเซ็ตอัพและปรับจูนซิสเต็มระดับ Extreme High End”
วัน : เสาร์ที่ 31 สิงหาคม 2567
เวลา : 13:00 – 16:00 น.
----------
สถานที่ : ร้าน HD HiFi Rama IX
โทรฯ สำรองที่นั่ง : 063-236-6193 (คุณแมน)
*** รีบจองด่วน เพราะมีที่นั่งจำกัด.!

ื่องเสียง
#มาทดลองฟังและปรับจูนเสียงของซิสเต็มหลักสิบล้านกัน
#มีคนใจดีอนุญาตให้เราเล่น

ความสนุกอีกอย่างหนึ่งของการเล่นเครื่องเสียงก็คือ "สังคม" ของเพื่อนที่ชอบแบบเดียวกัน ได้มีโอกาสเข้ามาอยู่ในสภาพแวดล้อมที่...
28/08/2024

ความสนุกอีกอย่างหนึ่งของการเล่นเครื่องเสียงก็คือ "สังคม" ของเพื่อนที่ชอบแบบเดียวกัน ได้มีโอกาสเข้ามาอยู่ในสภาพแวดล้อมที่แตกต่างจากสภาพแวดล้อมที่เล่นอยู่คนเดียว ซึ่งข้อดีคือทำให้ได้แลกเปลี่ยนมุมมองในการฟังและวิเคราะห์เสียงระหว่างกัน เพราะเรื่องของการพัฒนาทักษะในการฟังต้องอาศัยประสบการณ์ที่ได้จากการฟังเสียงของซิสเต็มจริง พร้อมกันหลายๆ คน แล้วแลกเปลี่ยนสิ่งที่ได้ยิน แลกเปลี่ยนมุมมองในการวิเคราะห์ซึ่งกันและกัน กิจกรรมแบบนี้จะช่วยพัฒนาทักษะในการฟังได้ดี ซึ่งคนที่พร้อมเปิดรับอะไรใหม่ๆ เข้ามาจะสามารถพัฒนาได้เร็วขึ้นโดยที่ไม่ต้องเสียทั้งเงิน-ทอง และเสียทั้งเวลาในการลองผิดลองถูก..
เมื่อวานคุณเพิ่มพูน เจ้าของแบรนด์ CODAS Audio กับคุณโอ๋ นักเล่นฯ สายเพอร์ฟอมานซ์ แวะเข้ามาฝึกปรือวิทยายุทธในการฟังและวิเคราะห์ร่วมกันโดยมีลำโพง KEF รุ่น Blade One Meta กับปรี+เพาเวอร์แอมป์ Mola Mola รุ่น Makua + Perca กับ music server + DAC ของ Rockna รุ่น Wavelight Server + Wavelight DAC เป็นครูสอน..

#เรื่องของการฟังต้องฝึกด้วยการฟัง

28/08/2024

มาแล้ว..!!
----------
กิจกรรมพิเศษในหัวข้อ "เปิดเผย.. เทคนิคการแม็ทชิ่ง, เซ็ตอัพ และปรับจูนชุดเครื่องเสียงระดับ Extreme Hi-End!” ซึ่งนี่เป็นครั้งแรกที่เปิดโอกาสให้เพื่อนๆ ได้สัมผัสกับเทคนิคการ "แม็ทชิ่ง+เซ็ตอัพ+ปรับจูน" ชุดเครื่องเสียงราคาหลักหลายล้านบาทกันแบบ "ลองจริง-ฟังจริง" ทุกขั้นตอน.!!
ทุกคนที่เข้าร่วมกิจกรรมจะได้รับรู้ถึงแนวคิดในการแม็ทชิ่ง + เซ็ตอัพ + ปรับจูน และรับทราบถึงความพิเศษของอุปกรณ์เครื่องเสียงระดับ Extreme Hi-End ว่ามีความแตกต่างกับอุปกรณ์เครื่องเสียงระดับกลางและระดับเริ่มต้นอย่างไร.? มีฟังท์ชั่นพิเศษอะไรที่เครื่องเสียงระดับกลางไม่มีมาให้บ้าง.? และฟังท์ชั่นพิเศษเหล่านั้นมีส่วนช่วยให้เสียงดีได้ยังไง.?
และที่พิเศษกว่านั้นจะอยู่ที่ "ภาคปฏิบัติ" ซึ่งครั้งนี้ พวกเราทุกคนในห้อง จะได้ช่วยกันฟังเพื่อวิเคราะห์และสรุปผลของเสียงที่ได้จากการทดลองปรับจูนเสียงของซิสเต็มผ่านฟังท์ชั่นพิเศษที่ลำโพง, แอมป์ และแหล่งต้นทางให้มาเพื่อการปรับจูนเสียงโดยเฉพาะ ซึ่งเป็นคุณสมบัติที่ไม่มีมาให้ใช้ในเครื่องเสียงระดับกลางๆ ลงมาถึงระดับล่าง มาช่วยกันจูนดูซิว่า นักเล่นเครื่องเสียงที่ครอบครองซิสเต็มระดับ Extreme Hi-End แบบนี้เขาฟังเสียงแบบไหนกัน.? และเมื่อปรับจูนจนถึงที่สุดแล้ว เสียงของซิสเต็มระดับ Extreme Hi-End อย่างนี้ มันจะให้ประสบการณ์ในการฟังกับเรามากแค่ไหน.??
บอกเลยว่า เวิร์คช็อปครั้งนี้เป็นประสบการณ์ที่ไม่ได้มีบ่อย เรียกว่าถ้าไม่ได้มีเงินมากมายหลายสิบล้านขึ้นไปก็ยากที่จะมีโอกาสได้สัมผัส ได้ลองเล่น ได้ลองฟัง และได้ทดลองปรับจูนด้วยหูของตัวเองแบบนี้.!!
----------
วัน-เวลา :
เสาร์ที่ 31 สิงหาคม 2567
ตั้งแต่ 13:00 – 16:00 น.
----------
สถานที่ :
ร้าน HD HiFi Rama IX
โทรฯ สำรองที่นั่ง : 063-236-6193 (คุณแมน) ฟรี.!!
*** รีบจองด่วน รับจำกัดแค่ 15 ที่เท่านั้น.!

ื่องเสียง
#มาทดลองฟังและปรับจูนเสียงของซิสเต็มหลักหลายล้านกัน
#มีคนใจดีอนุญาตให้เราเล่น

เครื่องเสียง - โฮมเธียเตอร์ และเพลง

เจอโปรฯ แรงๆ แบบนี้ บอกเลยว่า ใครที่ยังไม่ขยับมาเล่นมิวสิค สตรีมมิ่ง น่าจะถึงเวลาแล้วล่ะ ถ้าแอมป์ที่ใช้อยู่เดิมยังแจ๋วอย...
27/08/2024

เจอโปรฯ แรงๆ แบบนี้ บอกเลยว่า ใครที่ยังไม่ขยับมาเล่นมิวสิค สตรีมมิ่ง น่าจะถึงเวลาแล้วล่ะ ถ้าแอมป์ที่ใช้อยู่เดิมยังแจ๋วอยู่ก็ลองสอยตัวสตรีมเมอร์รุ่น 7000N Play ไปเสริมน่าจะลงตัวเพราะมีภาค DAC ในตัวเสร็จสรรพ สตรีมเพลงมาที่ 7000N Play ปั๊บต่อเอ๊าต์พุตอะนาลอกจาก 7000N Play เข้าแอมป์ปุ๊บ.. ฟังได้เลย! หรือถ้าแอมป์ตัวเดิมของใครที่ใช้อยู่มันเริ่มงอแง หาโอกาสเปลี่ยนใหม่อยู่พอดีก็แนะนำว่าลองยก 6000A Play ไปเปลี่ยน จะได้ประโยชน์คุ้มค่าเหมือนยิงปืนนัดเดียวได้นกหลายตัว คือนอกจากจะได้อัพเกรดแอมป์ใหม่แล้ว ยังได้สตรีมเมอร์กับภาค DAC แถมมาในตัวด้วย.!!
น่าสนใช่มั้ยล่ะ.. แต่คงต้องรีบหน่อยแล้ว ลืมมองไปว่า โปรฯ นี้จะหมดเขตสิ้นเดือนนี้ (หมดเขตวันที่ 31 สิงหาคมนี้)

เมื่อวานนี้ ทีม "เพื่อน-ช่วย-เพื่อน" โดยมีผม-คุณนัท และคุณโอ๋ เดินทางไปช่วยเซ็ตอัพลำโพงและชุดเครื่องเสียงที่บ้านคุณอ๊อฟ ...
26/08/2024

เมื่อวานนี้ ทีม "เพื่อน-ช่วย-เพื่อน" โดยมีผม-คุณนัท และคุณโอ๋ เดินทางไปช่วยเซ็ตอัพลำโพงและชุดเครื่องเสียงที่บ้านคุณอ๊อฟ ที่นครปฐม เป็นห้องฟังที่ให้ประสบการณ์กับทุกคนเยอะมาก พวกเราใช้เวลาอยู่ที่บ้านคุณอ๊อฟตั้งแต่บ่ายสามนิดๆ ไปจนถึงเกือบสองทุ่ม เป็นมีตติ้งที่สนุกมาก มีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์กันอย่างกว้างขวาง ต้องขอขอบคุณคุณอ๊อฟกับภรรยาที่ให้การต้อนรับขับสู้พวกเราดีมากๆ เกรงใจมาก ไว้วันหลังจะแวะไปรบกวนอีก
คุณอ๊อฟเป็นนักเล่นฯ ที่มีประสบการณ์เยอะ เล่นทั้งเครื่องมาตรฐานและ DIY เองด้วย เขาลงมือจัดการแทบทุกอย่างในห้องฟังด้วยตัวเอง ซึ่งห้องนี้เป็นตัวอย่างของความพยายามปราบลำโพงใหญ่ให้ฟิตเข้ากับห้องฟังที่มีขนาดเล็กกว่า "สเปคตรัม" ของความถี่ที่ลำโพงปลดปล่อยออกมา ซึ่งผู้ผลิตเคลมไว้ว่าได้ตั้งแต่ 25Hz – 40kHz หากมองในแง่ของ "ความหนาแน่น" ของมวลเสียงช่วงความถี่ตั้งแต่ 550Hz ลงไปจนถึง 25Hz (เฉพาะจากหน้าดอก) นั้นต้องถือว่ามากเกินที่ห้องขนาดนี้จะรับมือได้แบบคลีนๆ คือได้ทั้งปริมาณและไดนามิกที่สวิงได้เต็มสเกลบนวอลลุ่มที่ดังมากโดยไม่มีอาการล้น เพราะวูฟเฟอร์ที่ใช้สร้างความถี่ย่านดังกล่าวออกมานั้นเป็นไดเวอร์กรวยเคลฟล่าขนาด 11 นิ้วของ Eton ซึ่งมีชื่อเสียงในแง่ของการปั๊มความถี่ต่ำที่แน่น สะอาด และเร็ว ซึ่งมักจะเชิญชวนให้เจ้าของลำโพง "อัด" มันออกมาดังๆ เพื่อสนองความสะใจ เพราะถ้าเปิดเบาๆ เอนเนอจี้ของเบสจะหายไปเยอะ.!!
พอเร่งวอลลุ่มดังๆ ในห้องขนาดที่มีพื้นที่อากาศจำกัดแบบนี้ สิ่งสำคัญที่สุดที่ต้องจัดการก็คือ "การจัดสมดุล" ของโทนัลบาลานซ์ด้วยการ "เหลา" เอา "ความถี่ต่ำส่วนเกิน" ออกไปให้มีปริมาณที่ใกล้เคียงกับเสียงในย่านกลาง-แหลมได้อย่างลงตัวมากที่สุด
ลำโพงใหญ่ แต่ห้องไม่ใหญ่พอ ถ้าเปิดวอลลุ่มเบาๆ เพื่อให้เสียงทุ้มออกมาน้อยๆ จะได้มั้ย.? ได้.. ในแง่ที่ไม่ทำให้เสียงทุ้มกวน แต่ไดนามิกกับรายละเอียดของเสียงทั้งย่านก็จะแย่ลง ส่งผลให้อรรถรสในการเสพเข้าถึงอารมณ์ของเพลงก็จะหายไปด้วย เหมือนดื่มกาแฟที่ผสมน้ำเยอะ เชื่อว่าไม่น่าจะมีนักเล่นฯ คนไหนยอมรับได้กับวิธีรอมชอมลักษณะนั้น เพราะเหตุผลที่เลือกลำโพงขนาดใหญ่ก็เพราะต้องการความถี่ครบ โดยเฉพาะในย่านต่ำ ซึ่งจริงๆ แล้วเราไม่ได้ต้องการแค่ "ปริมาณ" ของความถี่ต่ำ แต่เราต้องการทั้งแง่ของ "ปริมาณ" และ "คุณภาพ" ที่มาพร้อมกัน ซึ่งคนส่วนใหญ่มักจะนึกถึงในแง่ของปริมาณมาก่อน คืออยากให้มีเบสเยอะๆ แต่ถ้าไม่มีประสบการณ์มากพอในการจัดการ ก็มักจะเจอกับปัญหาที่เสียงเบส (ส่วนเกิน และไม่เป็นระเบียบ) สร้างขึ้นมาในภายหลัง
ด้วยเหตุนี้ ถ้าสังเกตลักษณะการปรับสภาพอะคูสติกห้องฟังของคุณอ๊อฟที่ทำไว้ จะพบว่า เขาใช้อุปกรณ์ปรับอะคูสติกเยอะมาก ทั้งติดบนผนังซ้าย-ขวา/หน้า-หลังตั้งแต่พื้นเกือบจรดเพดาน, บนฝ้าก็มี และวางบนพื้นกับซุกไว้ที่มุมห้องก็มี คิดเป็นเปอร์เซ็นต์แล้วอัตราส่วนของการดูดซับ vs สะท้อน จะอยู่ราวๆ 65/35 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งเหตุผลที่ต้องใช้เยอะขนาดนั้น ข้อแรก - เป็นเพราะปริมาณของเสียงทุ้มที่ซิสเต็มสร้างออกมามันมากเกินไป บวกกับข้อสอง - เป็นเพราะอาการฟุ้งของเสียงที่ยังไม่โฟกัสกันสนิทด้วย พอโฟกัสของลำโพงซ้าย-ขวาไม่เป๊ะ จึงมีผลทำให้เกิดคลื่นเสียงที่ out-of phase ฟุ้งกระจายออกมาเป็น glare ผสมโรงเต็มไปหมด
ลำดับการพิจารณาต่อมาคือแอมป์ที่ขับเป็นแอมป์หลอด ซึ่งมีแนวโน้มที่อาจจะทำให้เสียงทุ้มจากลำโพงมีลักษณะที่อวบอิ่มมากขึ้น แต่หลังจากตรวจเช็คแล้วพบว่ากรณีนี้ไม่น่ากังวลมาก เพราะแอมป์หลอดตัวนี้ทำงานในโหมด push/pull ultra linear ให้กำลังขับสูงถึง 100W ไม่ใช่หลอดวัตต์ต่ำ และฟังจากเสียงโดยรวมก่อนการเซ็ตอัพแล้วก็คิดว่า แอมป์กับลำโพงไปกันได้ในแง่ของแม็ทชิ่ง ซึ่งนี่เป็นเงื่อนไข "อย่างที่สอง" ที่ต้องพิจารณาหลังจากพิจารณาความแม็ทชิ่งระหว่างขนาดลำโพงกับขนาดห้องแล้ว
ขั้นตอนและรายละเอียดในการเซ็ตอัพประเด็นสำคัญๆ จะขอใส่ไว้ในคำอธิบายรูปแต่ละรูปนะครับ
เมื่อวานเราใช้เวลาเซ็ตอัพกันอยู่ประมาณ 3 – 4 ชั่วโมงก็ได้ผลลัพธ์เป็นที่น่าพอใจ..
----------
ขนาดสัดส่วนห้อง: กว้าง 330cm x ลึก 495cm x สูง 350cm (จุดที่สูงสุด และฝ้าเพดานเป็นมุมป้าน)
----------
แหล่งต้นทาง:
1. streaming player: Eversolo รุ่น A6 Wireless
2. file player: Mini Pc + LPSU + โปรแกรม Jriver
3. DAC: Audio gd รุ่น R8
----------
อินติเกรตแอมป์: Cary รุ่น SLI100
----------
ลำโพง : Usher รุ่น Compass Be-10 DMD
----------
สายลำโพง: Siltech รุ่น 770L
จั๊มเปอร์: JPS
----------
สายไฟเอซี:
DIY, ESP MusicCord PRO, life audio
----------
สาย USB: JPS
สายสัญญาณ: JPS XLR + RCA adapter
----------
ฟิวส์: hifi tuning
----------

#เพื่อนช่วยเพื่อน

#มีเพื่อนไปช่วยหลายหัวดีกว่าทำอยู่คนเดียว

นั่นซิ... คุณว่ามีมั้ย.? ถ้ามองในมุมที่ว่า ไม่ว่าจะเป็นแหล่งต้นทาง, แอมป์ หรือลำโพง ต่างก็เป็นอุปกรณ์เครื่องเสียงที่ต้อง...
25/08/2024

นั่นซิ... คุณว่ามีมั้ย.? ถ้ามองในมุมที่ว่า ไม่ว่าจะเป็นแหล่งต้นทาง, แอมป์ หรือลำโพง ต่างก็เป็นอุปกรณ์เครื่องเสียงที่ต้องเข้าไปประกอบอยู่ในชุดเครื่องเสียงจนครบทั้งระบบถึงจะมีเสียงออกมาจากลำโพง เมื่อเป็นแบบนี้ เครื่องเสียงแต่ละชิ้นก็น่าจะมีบุคลิกเสียงของมันเอง เพราะถ้าเปลี่ยนอุปกรณ์ชิ้นใดชิ้นหนึ่งเข้าไปแทนที่กัน อย่างเช่น ถ้าเอาลำโพงแบรนด์ A เข้าไปแทนที่ลำโพงแบรนด์ B ที่ใช้อยู่ในซิสเต็มเดิม หรือเอาแอมป์แบรนด์ C เข้าไปแทนที่แอมป์แบรนด์ D ที่อยู่ในซิสเต็มเดิมเสียงก็จะเปลี่ยนไป อือม.! เมคเซ็นต์มั้ย..?
ว่าแต่ว่า เราจะจดจำเสียงของเครื่องเสียงแต่ละตัวได้อย่างไร.??

#คุยกันวันอาทิตย์

ลำโพง KEF คู่นี้มีความสูงมากถึง 159 ซ.ม. แม้ว่าแผงหน้าจะค่อนข้างแคบ คืออยู่ที่ 36.3 ซ.ม. แต่มีความลึกมากถึง 54 ซ.ม. น้ำห...
24/08/2024

ลำโพง KEF คู่นี้มีความสูงมากถึง 159 ซ.ม. แม้ว่าแผงหน้าจะค่อนข้างแคบ คืออยู่ที่ 36.3 ซ.ม. แต่มีความลึกมากถึง 54 ซ.ม. น้ำหนักตัวอยู่ที่ 57.2 ก.ก. ต่อข้าง ใช้วูฟเฟอร์ขนาด 9 นิ้วข้างละ 4 ตัว ซึ่งถือว่าเป็นลำโพงขนาดใหญ่ ผมเริ่มต้นเซ็ตอัพตำแหน่งวางลำโพงในห้องฟังของผมด้วยการจัดวางลำโพงทั้งสองข้างลงไปที่ตำแหน่งซ้าย-ขวาห่างกัน = 180 ซ.ม. และลำโพงทั้งสองข้างห่างจากผนังหลัง = ความลึกของห้อง หารด้วยสาม = 540 / 3 = 180 ซ.ม. (ตรงลูกศรชี้) โดยที่ลำโพงทั้งสองวางอยู่ในลักษณะหน้าตรง ไม่โทอิน
หลังจากเปิดเพลงไฟน์จูนด้วยการขยับตำแหน่งลำโพงแล้วฟังเสียงอยู่เกือบชั่วโมง สุดท้ายก็พบตำแหน่งที่ให้เสียงลงตัวมากที่สุด ซึ่งเป็นตำแหน่งที่ห่างออกไปจากจุดเริ่มต้นไม่มาก นั่นคือลำโพงทั้งสองข้างถูกดึงลงไปชิดผนังหลังประมาณ 5 ซ.ม. เท่ากับว่าระยะห่างผนังหลังเท่ากับ 180 – 5 = 175 ซ.ม. และดึงลำโพงทั้งสองข้างให้ถ่างออกจากจุดเริ่มต้นที่ 180 ซ.ม. ออกไปข้างละ 6 ซ.ม. ทำให้ได้จุดลงตัวของระยะห่างซ้าย-ขวา = 192 ซ.ม. (180 + 12 ซ.ม.) ซึ่ง ณ ตำแหน่งนี้ เสียงโดยรวมที่ออกมาถือว่าอยู่ในเกณฑ์ที่ดีมาก เป็นไปตามคุณภาพของลำโพงที่ควรจะให้ได้ (*ขับด้วยปรี+เพาเวอร์แอมป์ของ Mola Mola รุ่น Pakua + Perca)(*สัดส่วนห้องอยู่ที่ 3.6/3.8 x 6.6 เมตร)
ผลของเสียงที่ได้จากการเซ็ตอัพลำโพง KEF คู่นี้ช่วยยืนยันให้เห็นว่า สูตร "ความลึกของห้องหาร 3 + ความกว้างซ้าย-ขวา = 180 ซ.ม.” เป็นสูตรที่ใช้ได้ทั้งกับลำโพงเล็กและลำโพงใหญ่ ซึ่งระยะลงตัวจะวนเวียนอยู่รอบๆ ตำแหน่งเริ่มต้นไม่มาก..

#ถ้าไม่เคยลองแนะนำให้ลอง
#อย่าเพิ่งคิดว่าลำโพงใหญ่ต้องวางห่างๆ

คุณป้อม เจ้าสำนัก komfortsound กับคุณโอ๋ จากสำนัก Bulldog แวะเข้ามาช่วยเซ็ตอัพ music server ของ Rockna ซึ่งผมเชื่อมต่อกั...
23/08/2024

คุณป้อม เจ้าสำนัก komfortsound กับคุณโอ๋ จากสำนัก Bulldog แวะเข้ามาช่วยเซ็ตอัพ music server ของ Rockna ซึ่งผมเชื่อมต่อกับเน็ทเวิร์คไม่ได้มาหลายวัน พอคุณป้อมมาถึงจิ้ม ipad สอง-สามจึ้กก็ต่อได้เลย แหม..!! ต้องลำบากให้เดินทางมาซะไกล สรุปคือ เทคนิคมันอยู่ที่การกดเปิดกับกดปิดเครื่องเท่านั้นเอง คือผมกดสลับกัน ที่ถูกคือต้องกดแช่ยาวๆ ตอนปิดเครื่อง และกดสั้นๆ แค่ครั้งเดียวตอนเปิดเครื่อง… แค่นี้เอง.!!!

#เปิดปิดเน็ทเวิร์คก็ให้คิดแบบเดียวกับเปิดปิดคอมพิวเตอร์นั่นแหละ

23/08/2024

เสียงของลำโพง KEF รุ่น Blade One Meta จับคู่กับเพาเวอร์แอมป์ที่ใช้วงจรขยาย class-D ของ Mola Mola รุ่น Perca (125W@8/Ohm, 300W@4/Ohm) โดยใช้ปรีแอมป์ของ Mola Mola รุ่น Pakua ส่วนแหล่งต้นทางสัญญาณประกอบด้วย Innuos รุ่น PULSE + external DAC ของ Rockna รุ่น Wavelight DAC
----------
*บันทึกด้วยไมโครโฟนในตัว iPhone12
*ขอบคุณค่ายใบชาซองค์ สำหรับเพลงที่ใช้เปิดโชว์ จากอัลบั้มชุด "ดอกไม้ที่กลับมา" ของปาน ธนพร

รีวิว CODAS AUDIO รุ่น CODAS XL **********ชั้นวางเครื่องเสียง เป็น "อุปกรณ์เสริม" ที่หลายคนมองข้าม แต่ทุกคนที่ได้มีโอกาส...
23/08/2024

รีวิว CODAS AUDIO รุ่น CODAS XL
**********
ชั้นวางเครื่องเสียง เป็น "อุปกรณ์เสริม" ที่หลายคนมองข้าม แต่ทุกคนที่ได้มีโอกาสทดลองใช้ชั้นวางเครื่องเสียงดีๆ ที่ออกแบบมาสำหรับใช้วางอุปกรณ์เครื่องเสียงโดยตรง มักจะพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า "ชั้นวางเครื่องเสียง" ช่วยอัพเกรดคุณภาพเสียงของซิสเต็มให้ขยับขึ้นไปอีกระดับจริงๆ สาเหตุก็เพราะว่า อุปกรณ์เสริมบางประเภท จะช่วยอัพเกรดคุณภาพเสียงของอุปกรณ์เครื่องเสียงแค่ชิ้นเดียวที่อยู่ในซิสเต็ม ในขณะที่ชั้นวางเครื่องเสียงช่วยอัพเกรดคุณภาพเสียของอุปกรณ์ "ทุกชิ้น" ที่วางอยู่บนชั้นวางพร้อมๆ กัน นี่คือเหตุผลที่ชั้นวางเครื่องเสียงให้ผลลัพธ์ในการยกระดับคุณภาพเสียงของซิสเต็มที่รับรู้ได้อย่างชัดเจน.!!
ชั้นวางเครื่องเสียงแบ่งเป็น 3 ประเภทตามระดับความแน่นหนาและความสามารถในการขจัดเรโซแนนซ์ เรียงตามลำดับได้แก่ประเภท Low Mass, Medium Mass และ High Mass ซึ่งประเภท High Mass จะมีประสิทธิภาพสูงที่สุด รองลงไปคือ Medium Mass และ Low Mass ชั้นวางของ CODAS AUIO รุ่น CODAS XL นี้เป็นชั้นวางแบบ High Mass ที่ใช้วัสดุชั้นดีในทุกชิ้นส่วน ผสมผสานกับการคำนวนอย่างละเอียดด้วยเทคนิค Finite Element Method (FEM) อยากรู้ว่า ชั้นวางเครื่องเสียงตัวนี้ให้เสียงออกมาเป็นแบบไหน.? คลิ๊กที่ลิ้งค์ในคอมเม้นต์เข้าไปอ่านรีวิวตัวเต็มได้เลย..!!!
----------
ออกแบบและผลิตโดย CODAS AUDIO
----------
จัดจำหน่ายโดย :
HD HiFi Rama IX
https://goo.gl/maps/zgEfF33H5EGUiZ6f6
โทร.
063-236-6193 (คุณแมน)
Line ID : novara2561
081-918-0901 (คุณต้อง)
Line ID : 0819180901
081-309-0095 (คุณต้น)
Line ID : 0813090095
083-317-6634 (คุณน๊อต)
Line ID : not05410

ถ้าลองเข้าไปพลิกดูข้อมูล specification ในคู่มือของลำโพงทุกคู่ ที่ระบุตัวเลข "ความถี่ตอบสนอง" (frequency response) ของลำโ...
22/08/2024

ถ้าลองเข้าไปพลิกดูข้อมูล specification ในคู่มือของลำโพงทุกคู่ ที่ระบุตัวเลข "ความถี่ตอบสนอง" (frequency response) ของลำโพงคู่นั้นๆ คุณจะพบว่า ที่ส่วนท้ายของตัวเลขที่แสดงเร้นจ์ความถี่ตอบสนองตั้งแต่ "ต่ำสุด" ขึ้นไปถึง "สูงสุด" จะมีวงเล็บระบุ "ระดับความแตกต่าง" ของความดังของความถี่เสียงตลอดทั้งย่านตอบสนองนั้นเปรียบเทียบกับระดับความดังที่ 0dB ซึ่งจะแสดงเป็นช่วง +/- ซึ่งส่วนใหญ่จะปรับจูนความดังตลอดย่านตอบสนองความถี่ให้สวิงสูงๆ ต่ำๆ อยู่ในระดับ +/-3dB
ยกตัวอย่างสเปคฯ ความถี่ตอบสนองของลำโพงรุ่น Blade One Meta ของแบรนด์ KEF ซึ่งเป็นลำโพงตั้งพื้นขนาดใหญ่ สูงท่วมหัว ใช้วูฟเฟอร์ขนาด 9 นิ้ว มากถึง 4 ตัวต่อข้างในการสร้างความถี่ตั้งแต่ 350Hz ลงไปถึง 35Hz ซึ่งที่ความถี่ "35Hz” ของลำโพงคู่นี้คือปลายสุดของความถี่ต่ำที่ถูกปล่อยผ่านออกมาจากไดเวอร์ของลำโพงคู่นี้ ซึ่งแม้ว่าจะยังลงไปไม่ถึง 20Hz แต่ก็นับว่า 35Hz เป็นระดับความถี่ที่ "ต่ำมาก" แล้ว มากพอที่จะครอบคลุมเสียงของ "หัวโน๊ต" ของเครื่องดนตรีสากลเกือบทุกชนิดที่ใช้กันอยู่ในวงการเพลงแล้ว
แต่.. เมื่อนำลำโพงคู่นี้ (และคู่ไหนๆ) ไปใช้ในห้องฟังทั่วไป ซึ่งมีลักษณะของผนัง-พื้น-เพดานของห้องที่ประกอบกันขึ้นมาเหมือน "กล่อง" สี่เหลี่ยมขนาดใหญ่ เมื่อความถี่ต่ำจากลำโพงไปตกกระทบลงบนผนัง-พื้น-เพดานของห้องแล้ว "สะท้อนกลับ" เข้ามาในห้อง โดยที่คลื่นความถี่ต่ำที่สะท้อนจากผนังที่อยู่ "ตรงข้ามกัน" วกกลับมาเจอกันในห้องด้วยมุมเฟสที่ต่างกัน จึงมีโอกาสที่จะทำให้เกิดปรากฏการณ์ 2 อย่าง อย่างแรกคือ ความถี่ต่ำเหล่านั้นจะเกิดการ "หักล้าง" (cancel) กันเอง ถ้าช่วงที่ความถี่นั้นเคลื่อนที่มาเจอกันด้วยจังหวะเฟสที่อยู่ "ตรงข้ามกัน" (เฟสบวกเจอกับเฟสลบ) อย่างที่สองคือ ความถี่ต่ำนั้นจะถูก "เสริมกัน" ให้ดังขึ้นกว่าปกติ ถ้าจังหวะที่ความถี่นั้นเดินทางมาเจอกันด้วย "มุมเฟสเดียวกัน" (เฟสบวกเจอกับเฟสบวก)
กรณีที่ห้องมีสัดส่วนไม่ดี มี roommode ที่สร้างปัญหา "เสริมกัน" และ "หักล้างกัน" ในย่านความถี่ต่ำเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว เมื่อเอาลำโพงที่มีขนาดใหญ่ ให้เสียงทุ้มเยอะเข้าไปเซ็ตอัพในห้องนั้น ก็จะทำให้เกิดปัญหากับเสียงทุ้มบางส่วนถูกหักล้างหายไป (เบาลงไป) ในขณะที่ความถี่ต่ำบางย่านถูกเสริมให้ดังขึ้นมามากจนไปรบกวนความถี่อื่น
ใช้การปรับอะคูสติกของห้องฟังเข้ามาแก้ไขได้มั้ย.? ได้.. แต่พื้นฐานของการใช้อุปกรณ์ปรับอะคูสติกเข้ามาแก้ไขปัญหาเสียงทุ้มที่เกิดขึ้นเพราะคุณสมบัติทางด้าน roommode ของห้องก็คือการ "เกลี่ย" ความถี่ต่ำที่ถูกเสริมขึ้นมาให้ลดต่ำ (เบา) ลง ซึ่งโดยมากก็คือการ "เอาออกไป" สุดท้ายแล้ว ปัญหาของเสียงทุ้มที่ "โด่ง" อยู่ในห้องฟังจะถูกขจัดออกไปพร้อมกับ "ปริมาณ (ความดัง) ของความถี่ต่ำ" ส่วนใหญ่ก็จะถูกทำ (กด) ให้เบาบางลงไปด้วย ไม่ได้ออกมาเต็มสเกลตามที่ผู้ผลิตลำโพงคู่นั้นๆ ออกแบบเอาไว้
ตรงนี้แหละ.. ที่ลำโพงซับวูฟเฟอร์จะสร้างความถี่ต่ำส่วนที่เบาบางลงเข้ามาเสริมให้ แต่.. การเอาลำโพงซับวูฟเฟอร์เข้ามาเสริมตรงจุดนี้มันต้องมี "วิธีปฏิบัติ" ในการ
1. กำหนดตำแหน่งติดตั้งลำโพงซับวูฟเฟอร์
2. ปรับตั้งค่า "จุดตัด-เฟส-ความดัง" ของลำโพงซับวูฟเฟอร์
เข้ามาช่วย เพื่อทำให้เสียงทุ้มจากซับวูฟเฟอร์แผ่เข้ามาผสมกับเสียง "ทุ้ม-กลาง-แหลม" ของลำโพงหลักได้อย่างกลมกลืน ไร้รอยต่อ "ทุกมิติ" จึงจะถือว่าเป็นการเพิ่มลำโพงซับวูฟเฟอร์เข้ากับลำโพงฟังเพลงที่ได้ผลลัพธ์ตามอุดมคติร้อยเปอร์เซ็นต์
ถ้าอยากรู้ว่า "วิธีปฏิบัติ" สองขั้นตอนข้างต้นนั้นต้องทำอย่างไรบ้าง.? วันเสาร์ที่ 24 นี้ว่างมั้ยล่ะ.? แวะเข้าไปที่ร้าน HiFi Tower ซิ.. จะมีกิจกรรมบรรยายและสาธิตวิธีปฏิบัติทุกขั้นตอนในการเอาลำโพงซับวูฟเฟอร์เข้าไปเสริมกับลำโพงฟังเพลง ที่สำคัญคือคุณจะได้ลองฟังด้วยหูตัวเองด้วยว่า คำว่า "กลืน" กับ "ไม่กลืน" คือยังไง.? ตรงนี้สำคัญมาก.! คือถ้ายังไม่เคยฟังเสียงที่ปรับจูนจนกลืนกันจริงๆ มาก่อน ไปนั่งจูนเองจะหาจุดลงตัวไม่เจอ ถ้าสนใจเข้าร่วมกิจกรรม รีบโทร. จองที่นั่งด่วนเลย ตอนนี้น่าจะยังพอเหลือที่นั่งอยู่เล็กน้อย โทร. ไปจองที่ร้าน HiFi Tower เบอร์นี้ โทร. 02-881-7273-5 หรือ 093-689-7987 / 081-682-7577 งานนี้ฟรีด้วยนะ.. แล้วพบกัน!!

#กิจกรรมเวิร์คช็อปสำหรับคนเล่นเครื่องเสียง
#เสริมซับวูฟเฟอร์ให้กับชุดฟังเพลงสองแชนเนล

ลำโพง + เพาเวอร์แอมป์ คู่นี้เป็นตัวอย่างที่แสดงให้เห็นถึงศักยภาพของ “เทคโนโลยี” อย่างถึงแก่นจริงๆ.!!เทคโนโลยีกลาง/แหลม U...
21/08/2024

ลำโพง + เพาเวอร์แอมป์ คู่นี้เป็นตัวอย่างที่แสดงให้เห็นถึงศักยภาพของ “เทคโนโลยี” อย่างถึงแก่นจริงๆ.!!
เทคโนโลยีกลาง/แหลม Uni-Q + เทคโนโลยีระบบเบส Force Cancelling ของลำโพง KEF คู่นี้ได้แสดงให้เห็นว่า ความกลมกลืนเป็นหนึ่งเดียวที่เกิดจากความเสมอสมานของ phase ของความถี่ที่ผสานกันอย่างลงตัวตลอดทั้งย่านความถี่ตอบสนองของลำโพงแบบนี้มันให้เสียงที่น่าตื่นตะลึงมากแค่ไหน.? เป็นครั้งแรกที่ผมได้ยิน “เสียงหลุดตู้” แบบคลีนๆ จากลำโพงตั้งพื้นที่มีความสูงเท่าคน.!!
เพาเวอร์แอมป์ของ Mola Mola รุ่น Perca ตัวนี้คือตัวอย่างที่แสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพที่น่าตกใจของภาคขยาย class-D ที่ออกแบบมาได้เข้าใกล้กับคำว่า “อุดมคติ” มากที่สุด เพราะมันไม่ได้ให้แค่ “กำลังขับ” ที่มากเกินพอสำหรับลำโพงยักษ์คู่นี้ แต่มันยังมีความสามารถในการ “แจกแจง” และ “แยกแยะ” รายละเอียดของเสียงออกมาได้อย่างหมดจดอีกด้วย ทุกสรรพเสียงที่ถูกมิกซ์มาในแต่ละเพลงได้ถูกชำแหละออกมาให้ได้ยินแบบไม่มีซ่อนเร้น (*ใช้ปรีแอมป์ของ Mola Mola รุ่น Makua ที่ออกมาคู่กัน)
ลำโพง + แอมป์ คู่นี้คือความมหัศจรรย์ของเทคโนโลยีแห่งยุคปัจจุบันอย่างแท้จริง.!!!




งานการคืนนี้..
20/08/2024

งานการคืนนี้..

มาอีกแล้วคำถามแบบนี้.. การเล่นเครื่องเสียงมีหลายรูปแบบ ใครจะเลือกเล่นแบบไหนก็ขึ้นอยู่กับปัจจัยแวดล้อมของคนนั้น เราไม่ควร...
20/08/2024

มาอีกแล้วคำถามแบบนี้.. การเล่นเครื่องเสียงมีหลายรูปแบบ ใครจะเลือกเล่นแบบไหนก็ขึ้นอยู่กับปัจจัยแวดล้อมของคนนั้น เราไม่ควรจะไปบูลลี่คนอื่นที่เล่นไม่เหมือนเรา ม่ายงั้นจะเกิดดราม่าแบ่งฝักแยกฝ่ายขึ้นในวงการ เดี๋ยวจะไม่สนุก.. พูดถึงคำถามที่ว่า "ซีเรียสไปมั้ย.?” ผมมีอะไรตลกๆ จะเล่าให้ฟังเรื่องนึง
ณ บ้านหลังใหญ่ของผู้มีฐานะดีครอบครัวหนึ่งที่มีอาม่ากับอาตี๋บุตรชายกับบริวารจำนวนหนึ่งอาศัยอยู่ ด้วยความที่อาม่าอายุเยอะแล้ว วันๆ จึงไม่ได้ไปไหน อยู่โยงเฝ้าบ้าน ในขณะที่อาตี๋ที่เป็นหนุ่มใหญ่ต้องออกไปทำงานบริษัทใหญ่โต กว่าจะกลับถึงบ้านก็มืดค่ำ มิหนำซ้ำ วันหยุดเสาร์-อาทิตย์ยังต้องออกไปตีกอล์ฟร่วมก๊วนกับเจ้านายอีก เย็นวันเสาร์วันหนึ่ง อาตี๋กลับมาจากเล่นกอล์ฟด้วยอาการเหนื่อยเพลีย เหงื่อออกโทรมกาย ก่อนเข้าบ้านเจออาม่ายืนรออยู่หน้าประตูด้วยความเป็นห่วง เห็นอาตี๋กลับมาด้วยอาการเหนื่อยล้าเช่นนั้น อาม่าก็เอ่ยถามขึ้นมาว่า ".. ลื้อจะไปตีกอล์ฟให้มันเหนื่อยขนาดนี้ไปทำไมวะ อั๊วไม่เข้าใจ ดูซิ! เหงื่อไหลไคลย้อยขนาดนี้ คนใช้เราก็มีเยอะแยะ ทำไมลื้อไม่ให้คนใช้ไปตีแทนล่ะ..?? จะได้ไม่เหนื่อย..”
วันหลัง ถ้ามีใครถามคุณด้วยคำถามที่ว่า "ซีเรียสไปมั้ย.? กับแค่ฟังเพลง” แนะนำให้คุณตอบเขาไปว่า คุณไม่ได้แค่ฟังเพลง แต่คุณกำลัง "เล่นเครื่องเสียง" โดยใช้เพลงเป็นส่วนประกอบในการเล่น เพราะอะไรก็ตามที่ขึ้นต้นด้วยคำว่า "เล่น" แล้ว ผู้ลงเล่นจะมีความเข้าใจเองว่าจะต้องทำอะไรบ้าง ที่จะทำให้การ "เล่น" สิ่งนั้นมีความสนุก ก็เหมือนการเล่นกีฬาทุกประเภทนั่นแหละ ทุกคนที่เล่นจะต้องลงแรง เวลา และต้องเรียนรู้กติกาเพื่อให้เล่นเป็น เล่นแล้วสนุก มิหนำซ้ำ ตอนลงเล่นก็ยังต้องเสียค่าใช้จ่ายให้กับค่าเช่าสนาม ค่าชุด ค่าอุปกรณ์ที่ใช้เล่นอีก สารพัดที่จะต้องจ่าย คนที่ไม่ได้เล่นอาจจะไม่เข้าใจว่าทำอะไรเยอะแยะเหล่านั้นไปเพื่ออะไร มีแต่ "คนเล่น" ด้วยกันเท่านั้นที่จะรู้ว่าเป้าหมายของเราคืออะไร..!!

#เขียนเหมือนกันแต่ความหมายอาจจะแตกต่างกัน
#ชอบแบบไหนก็เล่นไปแบบนั้นทางใครก็ทางมัน
#คนเล่นเท่านั้นที่รู้

ที่อยู่

199/235 หมู่บ้านศุภาลัย การ์เด้นวิลล์ กรุงเทพ-ปทุมธานี
Pathum Thani
12000

เบอร์โทรศัพท์

+66992347887

เว็บไซต์

แจ้งเตือน

รับทราบข่าวสารและโปรโมชั่นของ Thanee Modsangaผ่านทางอีเมล์ของคุณ เราจะเก็บข้อมูลของคุณเป็นความลับ คุณสามารถกดยกเลิกการติดตามได้ตลอดเวลา

ติดต่อ ธุรกิจของเรา

ส่งข้อความของคุณถึง Thanee Modsanga:

วิดีโอทั้งหมด

แชร์

ประเภท

“เครื่องเสียง” กับ “เพลง”

ถ้าคุณมีโอกาสได้ฟังเพลงที่ชอบกับเครื่องเสียงที่มีคุณภาพสูง คุณจะค้นพบว่า เพลงที่คุณชอบและเคยฟังมันมาหลายร้อย หรืออาจจะหลายพันครั้ง ได้กลายเป็นเพลงใหม่ที่คุณไม่เคยได้ยินมาก่อน.! เครื่องเสียงที่มีคุณภาพดีจะทำให้ “เพลง” แสดงคุณค่าของมันออกมาให้ได้ยินอย่างที่มันถูกสร้างขึ้นมาในสตูดิโอจริงๆ


สื่อ อื่นๆใน Pathum Thani

แสดงผลทั้งหมด