Kehakaset Magazine วารสารเคหการเกษตร

Kehakaset Magazine วารสารเคหการเกษตร คลังความรู้ สำหรับชาวสวนและเกษตรกร

สมัครสมาชิก วารสารเคหการเกษตร ทักอินบอกส์

-สมาชิก สมาชิกเว็บไซต์ 1 ปี 600 บาท

รายละเอียดการชำระเงิน

ธนาณัติสั่งจ่ายในนาม น.ส.สุปานี ณ สงขลา สั่งจ่าย ปณ.ติวานนท์ (เมืองทอง)
โอนเงินเข้าบัญชีในนาม น.ส.สุปานี ณ สงขลา บัญชีออมทรัพย์
ธ.กสิกรไทย เลขที่บัญชี 575-2-33035-4 สาขาย่อยเซ็นทรัลแจ้งวัฒนะ
ธ.กรุงเทพ เลขที่บัญชี 008-7-19714-1 สาขาเซ็นทรัลแจ้งวัฒนะ
ธ.กรุงไทย เลขที่บัญชี 962-0-15396-0 สาขาเ

ซ็นทรัลแจ้งวัฒนะ
ธ.ทหารไทย เลขที่บัญชี 235-2-19394-6 สาขาเซ็นทรัลแจ้งวัฒนะ
ธ.ไทยพาณิชย์ เลขที่บัญชี 404-4-97216-6 สาขาเซ็นทรัลแจ้งวัฒนะ
ธ.ออมสิน เลขที่บัญชี 0-2004658810-7 สาขาไอที สแควร์
ส่งหลักฐานการชำระเงินพร้อมแจ้งชื่อ-ที่อยู่ในอินบอกส์ หรือ แจ้งผ่านทางอีเมล ที่ [email protected] โดยท่านสามารถแสดงความเป็นเจ้าของยอดเงินด้วยวิธีการโอนเป็นเศษสตางค์ เช่น 600.09 บาท เป็นต้น
- หรือส่งจดหมายมาที่ หจก.มิตรเกษตรการตลาดและโฆษณา 55/615 โครงการ สุโขทัย อเวนิว 99 ถ.บอนด์ สตรีท ต.บางพูด อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี 11120

สำหรับ สมาชิกเว็บไซต์ ภายหลังได้รับการยืนยันการโอนเงินอย่างถูกต้องเป็นที่เรียบร้อย ทางวารสารเคหการเกษตรจะทำการส่ง E-mail เพื่อแจ้ง username และ password ไปให้ท่านภายใน 24 ชั่วโมง

( Username และ Password ที่ท่านได้รับสามารถกำหนดใหม่เองได้)

ขอขอบพระคุณในความไว้วางใจ
วารสารเคหการเกษตร

13/03/2025
13/03/2025

Jefo Synchronized precision intestinal nutrition

13/03/2025

The Big Dutchman เรื่องหมูๆ ที่ไม่หมู

13/03/2025

Vencomatic group เทคโนโลยี select ไข่ อย่างแม่นยำ

นวัตกรรมผสานแรงบันดาลใจ: อนาคตของอุตสาหกรรมเนื้อสัตว์และโปรตีนที่งาน IFFA 2025แฟรงก์เฟิร์ต อัม ไมน์ วันที่ 15 มกราคม 256...
12/03/2025

นวัตกรรมผสานแรงบันดาลใจ: อนาคตของอุตสาหกรรมเนื้อสัตว์และโปรตีนที่งาน IFFA 2025

แฟรงก์เฟิร์ต อัม ไมน์ วันที่ 15 มกราคม 2568 - งาน IFFA มุ่งเน้นประเด็นสำคัญที่จะกำหนดอนาคตของอุตสาหกรรมเนื้อสัตว์และโปรตีน ซึ่งจะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 3 - 8 พฤษภาคม 2568 ภายใต้แนวคิด "มุมมองใหม่ด้านเนื้อสัตว์และโปรตีน" ทั้งนี้ งานแสดงสินค้าชั้นนำระดับนานาชาตินี้จะนำเสนอภาพรวมที่ครอบคลุมตลอดทั้งห่วงโซ่คุณค่า ตั้งแต่กระบวนการแปรรูปและบรรจุภัณฑ์ ไปจนถึงส่วนผสมนวัตกรรมและเทรนด์ล่าสุด ณ จุดขาย โดยขณะนี้พื้นที่จัดแสดงงานได้รับการจองเกือบเต็มแล้ว และบริษัทผู้นำตลาดได้ยืนยันการเข้าร่วมงานเรียบร้อยแล้วด้วย สำหรับประเด็นสำคัญที่จะมีการนำเสนอในปี 2568 นั้น ได้แก่ การเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานให้สูงสุด การเพิ่มมูลค่าด้วยข้อมูล การนำแนวคิดด้านความยั่งยืนไปใช้จริง และนวัตกรรมผลิตภัณฑ์รูปแบบใหม่

ในฐานะงานจัดแสดงที่สำคัญที่สุดของวงการอุตสาหกรรม IFFA (เทคโนโลยีสำหรับเนื้อสัตว์และโปรตีนทางเลือก) จะรวบรวมผู้ประกอบการจากทั่วทุกมุมโลก พร้อมนำเสนอกระบวนการผลิตอย่างครบวงจร ซึ่งจะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 3 - 8 พฤษภาคม 2568 อีกทั้งทาง Messe Frankfurt คาดการณ์ว่าจะมีผู้จัดแสดงประมาณ 1,000 ราย ที่จะจัดแสดงเทคโนโลยี เครื่องจักร และโซลูชันล่าสุด บนพื้นที่จัดแสดงรวม 116,000 ตารางเมตร (พื้นที่รวม) ในฮอลล์ 8, 9, 11 และ 12 นอกจากนี้ ผู้จัดแสดงยังประกอบด้วยทั้งผู้นำตลาด บริษัทขนาดเล็กที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะทาง และสตาร์ทอัพจากประมาณ 50 ประเทศ ซึ่งนอกจากบริษัทจากยุโรปจำนวนมากแล้ว ยังมีผู้เข้าร่วมงานจำนวนมากที่มาจากสหรัฐอเมริกา บราซิล และจีนอีกด้วย

การจัดผังฮอลล์รูปแบบใหม่นี้ ไม่เพียงแต่ที่จะแสดงให้เห็นถึงความหลากหลายของเทคโนโลยีเท่านั้น แต่ยังช่วยเชื่อมโยงแต่ละขั้นตอนการผลิตเข้าด้วยกันได้ดียิ่งขึ้นอีกด้วย โดยไฮไลท์ใหม่ของงานคือ IFFA Worlds ซึ่งเป็นการแบ่งโซนตามกลุ่มหัวข้อ เพื่อที่จะรวบรวมกลุ่มผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ และช่วยให้ผู้เข้าชมงานสามารถเข้าถึงส่วนต่าง ๆ ของงานได้อย่างเป็นระบบ ได้แก่:

โลกแห่งการแปรรูป: โซลูชันสำหรับการแปรรูปเนื้อสัตว์และโปรตีนที่ปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ
โลกแห่งบรรจุภัณฑ์: แนวคิดเชิงนวัตกรรมเพื่อปกป้อง ถนอมรักษา และจัดแสดงผลิตภัณฑ์อาหาร
โลกแห่งส่วนผสม: องค์ประกอบสำคัญที่มีผลต่อรสชาติ โครงสร้าง และคุณภาพ
โลกแห่งโปรตีนทางเลือก: เทคโนโลยี ส่วนผสม และงานวิจัยเกี่ยวกับอาหารทดแทนเนื้อสัตว์ทุกประเภท
โลกแห่งงานฝีมือและการขาย: องค์ความรู้และทักษะเพื่องานฝีมือระดับเยี่ยมและสร้างความประทับใจให้แก่ลูกค้า

IFFA ถือเป็นงานแสดงสินค้าระดับแนวหน้าของอุตสาหกรรมนี้ โดดเด่นด้วยการมีผู้เข้าร่วมงานจากนานาชาติในสัดส่วนที่สูงถึงร้อยละ 71 จากประมาณ 150 ประเทศทั่วโลก ประเทศที่มีผู้เข้าชมงานสูงสุด ประกอบด้วย เนเธอร์แลนด์ อิตาลี สเปน โปแลนด์ สหรัฐอเมริกา บราซิล ออสเตรีย สหราชอาณาจักร และสวิตเซอร์แลนด์ ผู้เข้าชมงานส่วนใหญ่เป็นผู้ประกอบการจากอุตสาหกรรมแปรรูปผลิตภัณฑ์โปรตีน ธุรกิจจำหน่ายเนื้อสัตว์ ภาคอุตสาหกรรมอาหาร ธุรกิจร้านอาหารและจัดเลี้ยง ตลอดจนอุตสาหกรรมซัพพลายเออร์ที่เกี่ยวข้อง

นายวูล์ฟกัง มาร์ซิน ประธานกรรมการและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร Messe Frankfurt กล่าวว่า
"งานแสดงสินค้าเป็นเวทีสำคัญที่เชื่อมโยงทุกภาคส่วนของอุตสาหกรรมเข้าด้วยกัน และ IFFA 2025 จะเป็นการพิสูจน์ความสำเร็จนี้อย่างชัดเจน เราได้รับการตอบรับอย่างท่วมท้นจากผู้ประกอบการที่ร่วมแสดงสินค้า และเรามีความยินดีที่จะได้นำเสนอนวัตกรรมล้ำสมัยมากมายในอุตสาหกรรมเนื้อสัตว์และโปรตีน โดยบริษัทต่าง ๆ จะจัดแสดงโซลูชันที่ครอบคลุมสำหรับฟาร์มทุกขนาด ผลิตภัณฑ์โปรตีนทุกประเภท และทุกภูมิภาคทั่วโลก ยิ่งไปกว่านั้น IFFA ยังเป็นโอกาสอันดีในการพบปะเจรจาธุรกิจ การสร้างเครือข่ายพันธมิตร และการเพิ่มพูนองค์ความรู้ใหม่ ๆ กล่าวได้ว่า นี่คืองานมหกรรมแห่งปีของอุตสาหกรรมอย่างแท้จริง"

การเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานให้สูงสุดในอุตสาหกรรมแปรรูปเนื้อสัตว์และโปรตีนเป็นหนึ่งในประเด็นสำคัญของงาน IFFA 2025 แหล่งที่มา: Messe Frankfurt

อุตสาหกรรมร่วมกันกำหนดทิศทางอนาคต
การค้าเครื่องจักรแปรรูปเนื้อสัตว์ในตลาดโลกมีการเติบโตอย่างต่อเนื่องมาหลายปี โดยในปี 2566 สร้างสถิติใหม่ด้วยมูลค่าการค้าสูงถึง 2.7 พันล้านยูโร สมาคมผู้ผลิตเครื่องจักรแปรรูปอาหารและบรรจุภัณฑ์แห่งเยอรมนี (VDMA NuV) คาดการณ์ว่าความต้องการเครื่องจักรที่มีความปลอดภัยและประสิทธิภาพสูงจะยังคงเติบโตอย่างต่อเนื่องในปี 2567 ซึ่งนับเป็นสัญญาณที่ดีว่างาน IFFA 2568 จะประสบความสำเร็จ อย่างไรก็ตาม ภาคอุตสาหกรรมกำลังเผชิญความท้าทายหลายประการ ทั้งความผันผวนของเศรษฐกิจโลก ต้นทุนด้านพลังงาน ค่าแรง และวัตถุดิบที่ปรับตัวสูงขึ้น ตลอดจนการขาดแคลนบุคลากรที่มีทักษะ ซึ่งสร้างแรงกดดันต่อผู้ประกอบการอย่างต่อเนื่อง นายริชาร์ด คลีเมนส์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร VDMA NuV หนึ่งในผู้สนับสนุนหลักของงาน IFFA กล่าวว่า "IFFA ถือเป็นงานแสดงสินค้าระดับโลกที่สำคัญที่สุดสำหรับผู้ผลิตเทคโนโลยีกระบวนการผลิตและบรรจุภัณฑ์สำหรับอุตสาหกรรมเนื้อสัตว์และโปรตีนทางเลือก งานนี้ได้รับการออกแบบให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดที่เติบโตและเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา เปิดโอกาสให้ผู้เชี่ยวชาญจากทั่วโลกได้สัมผัสนวัตกรรมเทคโนโลยีที่ครบครัน เพื่อต่อยอดแนวคิดผลิตภัณฑ์อันหลากหลาย IFFA จึงเป็นเข็มทิศสำคัญที่ครอบคลุมทุกมิติของอุตสาหกรรม และมีส่วนในการกำหนดทิศทางการเติบโตของภาคธุรกิจ"

นอกจากนี้ IFFA ยังเป็นศูนย์รวมที่สำคัญของอุตสาหกรรมธุรกิจจำหน่ายเนื้อสัตว์ เปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการได้เรียนรู้เกี่ยวกับการพัฒนาล่าสุดและวางแผนการลงทุนอย่างรอบคอบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาวะที่การขาดแคลนแรงงานฝีมือกำลังผลักดันให้หลายบริษัทหันมาใช้ระบบอัตโนมัติมากขึ้น นายเฮอร์เบิร์ต ดอห์ร์มันน์ นายกสมาคมผู้ประกอบการธุรกิจเนื้อสัตว์แห่งเยอรมนี เน้นย้ำว่า "IFFA เป็นงานสำคัญยิ่งต่ออุตสาหกรรมของเรา ในยุคที่เราต้องเผชิญความท้าทายทั้งด้านความยั่งยืน พฤติกรรมการบริโภคที่เปลี่ยนแปลง การขาดแคลนแรงงานฝีมือ และความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี การลงทุนพัฒนาบุคลากรและช่องทางการจำหน่ายจึงเป็นสิ่งจำเป็นต่อการสร้างอนาคตที่มั่นคง ในงานแสดงสินค้าชั้นนำระดับโลกแห่งนี้ เราไม่เพียงได้พบกับทางออกสำหรับความท้าทายปัจจุบัน แต่ยังได้รับแรงบันดาลใจสำหรับแนวทางนวัตกรรมด้านการผลิตและการจำหน่าย งานนี้จึงเป็นพื้นที่สำหรับการแลกเปลี่ยนความคิด การสร้างเครือข่าย และการแบ่งปันประสบการณ์ระหว่างผู้ร่วมวิชาชีพ"

ประเด็นสำคัญในปี 2568
IFFA เป็นเวทีแห่งการวางแผนอนาคต การแลกเปลี่ยนแนวทางแก้ไข และการจุดประกายความคิดสร้างสรรค์สำหรับปีต่อๆ ไป โดยงานแสดงสินค้าและกิจกรรมสัมมนาวิชาการในครั้งนี้มุ่งเน้น 4 แกนหลัก ได้แก่ "การเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานให้สูงสุด" "การสร้างมูลค่าจากฐานข้อมูล" "การพัฒนาอย่างยั่งยืนในภาคปฏิบัติ" และ "นวัตกรรมผลิตภัณฑ์ไร้ขีดจำกัด" ซึ่งครอบคลุมประเด็นสำคัญดังนี้:

การยกระดับประสิทธิภาพและระบบอัตโนมัติ: อุตสาหกรรมการแปรรูปเนื้อสัตว์และโปรตีนจะเพิ่มขีดความสามารถของเครื่องจักรและระบบการผลิตได้อย่างไร นวัตกรรมเทคโนโลยี อาทิ ปัญญาประดิษฐ์ ระบบหุ่นยนต์ และเทคโนโลยีเซนเซอร์ กำลังเปิดมิติใหม่ในการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตของอุตสาหกรรมอาหาร

การใช้ข้อมูลเป็นกุญแจสู่ความสำเร็จ: ปัจจุบันมีการจัดเก็บข้อมูลจำนวนมหาศาลตลอดห่วงโซ่การผลิต การนำข้อมูลมาใช้ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดไม่เพียงช่วยพัฒนากระบวนการผลิต แต่ยังสร้างความโปร่งใสผ่านระบบการบันทึกข้อมูลที่ครบถ้วนและการตรวจสอบย้อนกลับที่สมบูรณ์ นอกจากนี้ การนำข้อมูลพฤติกรรมผู้บริโภคและการค้ามาใช้ในการวางแผนการผลิตโดยตรงยังเปิดโอกาสใหม่ที่ไม่เคยมีมาก่อน

การบรรลุเป้าหมายความยั่งยืน: อุตสาหกรรมควรดำเนินมาตรการเพื่อเพิ่มความยั่งยืนในกระบวนการผลิต การพัฒนาประสิทธิภาพการใช้พลังงาน การใช้พลังงานหมุนเวียน และเทคโนโลยีขับเคลื่อนสมัยใหม่ล้วนมีบทบาทสำคัญ ขณะที่เทคโนโลยีบรรจุภัณฑ์ก็กำลังมุ่งสู่แนวคิดที่ยั่งยืน ทั้งการรีไซเคิล การลดปริมาณพลาสติก และการใช้วัสดุชีวภาพ

กระแสโภชนาการใหม่และความหลากหลายของผลิตภัณฑ์: ไม่ว่าจะเป็นโปรตีนจากเนื้อสัตว์ พืช หรือเห็ด ความหลากหลายของผลิตภัณฑ์โปรตีนกำลังขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ความต้องการด้านเครื่องจักรเพิ่มสูงขึ้น ระบบการผลิตที่มีความยืดหยุ่นจึงเป็นกุญแจสำคัญในการแข่งขันผ่านผลิตภัณฑ์เฉพาะตามฤดูกาลหรือท้องถิ่น ในขณะเดียวกัน นักวิจัยและสตาร์ทอัพก็กำลังพัฒนาแนวคิดใหม่ ๆ อย่างต่อเนื่องเพื่อตอบโจทย์การผลิตโปรตีนอย่างยั่งยืนสำหรับประชากรโลกที่เพิ่มขึ้น

กิจกรรมภายในงาน: การค้นพบ แลกเปลี่ยน และสร้างแรงบันดาลใจ
นอกจากนวัตกรรมที่ผู้จัดแสดงนำมาจัดแสดงแล้ว IFFA ยังมีกิจกรรมพิเศษที่จะช่วยให้เข้าใจประเด็นสำคัญของอุตสาหกรรมในทุกมิติ โดย Messe Frankfurt ได้ร่วมมือกับพันธมิตรหลัก ได้แก่ VDMA สมาคมผู้ประกอบการธุรกิจเนื้อสัตว์แห่งเยอรมนี และองค์กรชั้นนำด้านโปรตีนทางเลือก เช่น Balpro, Proveg และ Good Food Institute Europe ภายในงานมีโซน IFFA Kitchen ที่ผู้เข้าชมสามารถร่วมฟังการเสวนาที่สร้างแรงบันดาลใจ พร้อมชมการสาธิตและการทำอาหารสด ส่วน IFFA Factory จะนำเสนอโซลูชันต้นแบบเพื่อแก้ปัญหาการขาดแคลนแรงงานฝีมือในภาคการผลิต นอกจากนี้ยังมี IFFA Discovery Tours ที่จัดเป็นทัวร์ตามหัวข้อของ IFFA Worlds เพื่อพาผู้เข้าชมสำรวจและทำความเข้าใจนวัตกรรมต่าง ๆ ที่ผู้จัดแสดงนำมาในงาน ไฮไลท์สำคัญอื่น ๆ ในงานประกอบด้วยการประกวดคุณภาพที่จัดโดยสมาคมผู้ประกอบการธุรกิจเนื้อสัตว์แห่งเยอรมนี ซึ่งจะแสดงให้เห็นความเป็นเลิศของงานฝีมือแบบดั้งเดิม งานกาล่าประกาศผล 'สุดยอดผู้ประกอบการธุรกิจเนื้อสัตว์แห่งปี 2568' และพิธีมอบรางวัล 'New Meat Award' โดยสำนักพิมพ์ Deutscher Fachverlag

Messe Frankfurt สนับสนุนการเติบโตของอุตสาหกรรมอาหารอย่างต่อเนื่องผ่านงานแสดงสินค้าระดับนานาชาติ 4 งานใน 3 ทวีป โดยจัดขึ้นในอาร์เจนตินา ไทย สหรัฐอเมริกา และเยอรมนี งานเหล่านี้เป็นศูนย์กลางที่ผู้เชี่ยวชาญจากทั่วโลกมาพบปะ แลกเปลี่ยนแนวคิด และสร้างเครือข่ายธุรกิจ พร้อมทั้งนำเสนอนวัตกรรมและแนวโน้มล่าสุดของอุตสาหกรรมอาหาร สามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่:
www.food-technologies.messefrankfurt.com

รายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับ IFFA: www.iffa.com

IFFA
เทคโนโลยีสำหรับอุตสาหกรรมเนื้อสัตว์และโปรตีนทางเลือก
IFFA จะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 3 - 8 พฤษภาคม 2025

ติดตามข่าวสารของ IFFA ได้ทางช่องทางออนไลน์:
www.iffa.com/follow-iffa

ติดต่อ:
Antje Schwickart
โทร: +49 69 75 75-6474
[email protected]

Messe Frankfurt Exhibition GmbH Ludwig-Erhard-Anlage 1
60327 Frankfurt am Main

www.messefrankfurt.com

ข้อมูลเกี่ยวกับ Messe Frankfurt
www.messefrankfurt.com/background-information

ความยั่งยืนที่ Messe Frankfurt
www.messefrankfurt.com/sustainability-information

Basic Yellow 2 ไม่มีในสวนทุเรียน 📣✅     เมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2568 ที่ผ่านมา กรมวิชาการเกษตร สมาคมอารักขาพืชไทย คณะเกษตร...
12/03/2025

Basic Yellow 2 ไม่มีในสวนทุเรียน 📣✅

เมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2568 ที่ผ่านมา กรมวิชาการเกษตร สมาคมอารักขาพืชไทย คณะเกษตรกำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และ สมาคมดินและปุ๋ยแห่งประเทศไทย จัดเสวนาครั้งใหญ่ “Basic Yellow 2 (BY2) ไม่มีในสวนทุเรียน” ณ ห้องประชุม ชั้น 1 กองวิจัยและพัฒนาวิทยาการหลังการเก็บเกี่ยวและแปรรูปผลิตผลเกษตร กรมวิชาการเกษตร กรุงเทพฯ โดยมี นายรพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตรเป็นผู้กล่าวเปิดพิธีการประชุมเสวนาในครั้งนี้ว่า ภาพรวมการส่งออกทุเรียนไปจีนเมื่อปี 2567 มีทั้งหมด 53,688 ครั้ง มีการแจ้งเตือนศัตรูพืชจากสำนักงานศุลกากรแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน (General Administration of Customs of the People's Republic of China, GACC) จำนวน 289 ครั้งคิดเป็น 0.53% และการแจ้งเตือนแคดเมียม 26 ครั้งคิดเป็น 0.048% ส่วนการแจ้งเตือน BY2 มีเพียง 1 ครั้งคิดเป็น 0.001 % ดังนั้น ภาพรวมการส่งออกทุเรียนในปี 2567 ถือว่าเรายังคงเป็นหนึ่งในการส่งออกทุเรียน ถ้าเรามีการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ของการผลิตทางการเกษตรที่ดีและเหมาะสมสำหรับพืช หรือ Good Agriculture Practices (GAP) และเลือกซื้อปัจจัยทางการเกษตรผ่านร้านค้าที่ได้รับมาตรฐาน Q Shop ซึ่งปัจจัยทางการผลิตหรือปุ๋ยยาที่ขึ้นทะเบียนกับกรมวิชาการเกษตรไม่มี BY2 100% ✅

นายรพีภัทร์ กล่าวต่อว่า ตั้งแต่ต้นปี 2568 จนถึงปัจจุบัน มีการส่งออกทุเรียนทั้งหมด 1,558 ครั้ง จำนวน 20,307.45 ตัน มูลค่า 2,513.4 ล้านบาท มีการแจ้งเตือน BY2 จำนวน 11 ครั้งคิดเป็น 0.71% ทางจีน GACC แจ้งกรมฯ เมื่อวันที่ 8 ม.ค. 2568 และได้ประกาศมาตรการ BY2 เมื่อวันที่ 10 ม.ค. 2568 ว่าต้องไม่นำสีที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพมนุษย์มาใช้ในอาหาร ❌ ดังนั้นหลังวันที่ 10 ม.ค. 2568 การส่งออกทุเรียนทุกครั้งจะต้องแจ้งผลการตรวจสอบจากห้องปฏิบัติการที่ได้รับการยินยอมจากทางจีน ซึ่งขณะนี้มีขึ้นทะเบียนอยู่ 8 ห้องปฏิบัติการและกำลังอยู่ระหว่างการขอขึ้นทะเบียนเพิ่มเป็น 13 ห้องปฏิบัติการ รองรับการตรวจถึง 3,000 ตัวอย่างต่อวัน ซึ่งเพียงพอต่อฤดูกาลการส่งออกทุเรียนที่กำลังจะถึงนี้ (ภาคตะวันออกมีดแรก 4 เมษายน 2568) นายรพีภัทร์ กล่าวต่อไปว่า สถิติจากวันที่ 19 ก.พ. 2568 จนถึง 8 มี.ค. 2568 ไม่มีการตรวจพบสาร BY2 ที่ด่านจีน แต่อย่างใรก็ตามยังคงมีการปนเปื่อนของสาร BY2 อยู่เมื่อวันที่ 3 – 4 มี.ค. ที่ผ่านมากรมวิชาการเกษตรได้ตรวจพบสารฯ ระหว่างการขนส่งทุเรียนไปยังด่าน 3 ชิปเม้นท์ แต่ทางกรมฯ ได้สกัดกั้นไว้ได้ทันก่อนที่จะถึงด่านจึงไม่เกิดปัญหาขึ้น เพราะฉะนั้นการสร้างความเชื่อมั้นให้แก่ทางจีนจึงถือเป็นหัวใจสำคัญในการลดการเข้มงวดในการแนบผลตรวจวิเคราะห์สาร BY2 ทุกครั้งในการขนส่งลง

รายงานผลการทดสอบระหว่างวันที่ 19 ม.ค. 2568 ถึงวันที่ 8 มี.ค. 2568 มีการส่งออกทุเรียนทั้งหมด 1,685 ชิปเม้นท์ ผ่านเกณฑ์การตรวจสอบ BY2 1,620 ชิปเม้นท์ ไม่ผ่านเกณฑ์ 62 ชิปเม้นท์จาก 33 โรงคัดบรรจุ คิดเป็น 3.86% โรงคัดบรรจุเหล่านั้นจะต้องปรับปรุงมาตรฐานที่ได้รับการเห็นชอบจากจีนด้วยมิเช่นนั้นหากพบเจออีกครั้งจะถูกถอดถอนใบอนุญาตในการส่งออก อุปกรณ์ที่ปนเปื้อนสารฯ ไปแล้วแนะนำให้เปลี่ยนใหม่ การทำความสะอาดอาจจะไม่หมดไป เพราะสาร BY2 ไม่สามารถล้างด้วยน้ำเปล่าได้หมดจะต้องใช้แอลกอฮอล์ล้างทำความสะอาดด้วย ตามมาตรการ Big Cleaning ยกระดับคุณภาพทุเรียนไทย ตามมาตรการ 4 ไม่ ❌ คือ 1. ไม่อ่อน 2. ไม่หนอน 3. ไม่สวมสิทธิ์ 4. ไม่มีสี ไม่มีสาร ❌ หากพบการฝ่าฝืนจะถูกดำเนินตามกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง “เรากินแบบไหน จีนหรือว่าผู้บริโภคทั้งในและต่างประเทศก็ควรทานแบบนั้น” หากเกษตรกรผู้ปลูกทุเรียนต้องการค้นข้อมูลทุเรียนสามารถค้นได้ผ่าน AI Chatbot ผ่าน line id : นายรพีภัทร์ กล่าว

ดร.พงศ์ไท ไทโยธิน รองอธิบดีกรมวิชาการเกษตร ได้ให้เกียรติมาบรรยายในหัวข้อ แนวทางการแก้ไขปัญหาการส่งออกทุเรียนผลสดไปสาธารณรัฐประชาชนจีน สิ่งแรกที่ต้องทำคือ ผู้ประกอบการที่จะส่งออกทุเรียนต้องแจ้งสถานที่ตั้งของโรงคัดบรรจุมาที่กรมวิชาการเกษตรว่า มีความประสงค์จะส่งออกทุเรียนไปที่ด่านไหน ทางกรมฯ จะส่งเจ้าหน้าที่ไปสุ่มตรวจเก็บตัวอย่าง เพื่อนำไปตรวจโรคแมลงและศัตรูพืช สิ่งที่เพิ่มมาคือจะต้องแจ้งห้องปฏิบัติการที่ได้รับการรับรองจาก GACC เพื่อส่งเจ้าหน้าที่มาสุ่มเก็บตัวอย่างนำไปตรวจสาร BY2 โดยจะทำการสุ่มเก็บตัวอย่าง 10 จุดด้วยกันและใน 10 จุดนั้นก็สุ่มเก็บอีก 5 จุดเพื่อนำไปตรวจในห้องปฏิบัติการโดยแยกตรวจเปลือกและเนื้อจะใช้เวลาไม่เกิน 48 ชม. ก็จะทราบผล ระหว่างวิเคราะห์นั้นทางผู้ประกอบการสามารถบรรจุทุเรียนลงตู้และเคลื่อนย้ายยานพาหนะไปรอที่ด่านเพื่อฟังผลตรวจได้ หากไม่พบสาร BY2 ทางกรมฯ ก็จะออกเอกสารใบรับรองปลอดศัตรูพืช (Phytosanitary certificate : PC ) เพื่อยื่นที่ด่านตามระเบียบการส่งออกต่อไป

การเสวนาในครั้งนี้ กรมวิชาการเกษตรต้องการให้ผู้ประกอบการ ผู้ส่งออกและชาวสวนทุเรียนได้เข้าใจถึงความสำคัญของขั้นตอนจากสวนจนถึงโรงคัดบรรจุเพื่อส่งออกที่จะต้องมีความปลอดภัย มีมาตรฐานนอกจากแมลงศัตรูพืชแล้ว สารอันตรายที่สำคัญที่ทางการจีนเข้มงวดมากในฤดูการส่งออกที่กำลังจะถึงนี้คือ BY2 ที่ทราบกันโดยทั่วไปแล้ว ดังนั้นขอให้ชาวสวนตั้งสติอย่างรอบคอบในการสร้างระบบความปลอดภัยต่อผลผลิตอันเป็นรายได้สำคัญที่จะมาถึง ไปจนถึงโรงคัดบรรจุเพื่อส่งออกที่จะต้องปฏิบัติการ Big Cleaning ให้ปลอดสาร BY2 อย่างแท้จริง

ช่วงเสวนาเรื่องBY2ไม่มีในทุเรียน
ณ กรมวิชาการเกษตร 10 มี.ค. 2568

การเสวนา Basic Yellow 2 (BY2) ไม่มีในสวนทุเรียน ได้รับเกรียติจาก นายรพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ นายกสมาคมดินและปุ๋ยแห่งประเทศไทยและอธิบดีกรมวิชาการเกษตร ดร.วีรวัฒน์ จีรวงส์ ปราชญ์เกษตรของแผ่นดิน สาขาปราชญ์เกษตรดีเด่น ปี 2566 ผู้แทนผู้ส่งออกทุเรียน นายณัฐกฤษฏ์ โอฬารหิรัญรักษ์ อุปนายกสมาคมการค้าธุรกิจเกษตรไทย-จีน นายสมศักดิ์ สมานวงศ์ นายกสมาคมอารักขาพืชไทย ดร.พีรพงษ์ แสงวนางค์กูล ผู้เชี่ยวชาญด้านวิทยาการหลังการเก็บเกี่ยว คณะเกษตรกำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ดร.รุจิรา ดีวัฒนวงศ์ นักวิจัยอาวุโส ศูนย์เชี่ยวชาญนวัตกรรมเกษตรสร้างสรรค์ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย และนายสุเมธ ภูดารัตน์ เจ้าของเพจ ควายดำทำเกษตร โดยมี รศ.ดร. ชัยณรงค์ รัตนกรีฑากุล รองคณบดีคณะเกษตร กำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เป็นผู้ดำเนินการเสวนา

นายรพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ ได้ตอกย้ำถึง ปุ๋ยและสารอารักขาพืชที่ขึ้นทะเบียนกับกรมวิชาการเกษตรนั้นไม่มีสาร BY2 อย่างแน่นอน เราทานอย่างไรก็ขอให้คนไทย คนจีน ผู้บริโภคทานอย่างนั้น ปัจจุบันผู้บริโภคมีความรู้ในการอุปโภคบริโภคมากยิ่งขึ้นและนิยมบริโภคทุเรียนที่ไม่ชุบสี

นายณัฐกฤษฏ์ โอฬารหิรัญรักษ์ อุปนายกสมาคมการค้าธุรกิจเกษตรไทย-จีน ได้เปิดเผยว่า ข่าวในประเทศไทยที่เป็นภาพลบส่งถึงผู้บริโภคในประเทศจีนได้ไวมาก แต่ความนิยมของทุเรียนไทยยังคงไม่ลดเพราะสาร BY2 ติดอยู่ที่เปลือกไม่เข้าถึงเนื้อและไม่ได้มีข่าวด้านลบไปเพิ่มเติม ทำให้ผู้บริโภคในจีนยังคงมั่นใจ และยังจะสามารถส่งออกทุเรียนได้ ราคาทุเรียนไม่ได้ลงแต่อย่างใด

ดร.วีรวัฒน์ จีรวงส์ ปราชญ์เกษตรของแผ่นดิน สาขาปราชญ์เกษตรดีเด่น ปี 2566 เปิดเผยถึงเหตุการณ์ BY2 ที่เกิดในเดือน ม.ค. ว่ามีผลกระทบต่อจิตใจชาวสวนเป็นอย่างมาก แต่ทางกรมฯ ก็ได้ออกแถลงอย่างรวดเร็วสร้างความมั่นใจให้แก่เกษตรกรมากยิ่งขึ้น แต่จะทำอย่างไรให้ทางจีนมั่นใจ ต้องเริ่มต้นด้วยเกษตรกรเอง ต้องใช้ปัจจัยการผลิตที่มีมาตรฐานอย่าใช้ของเถื่อนเด็ดขาดเพราะไม่มีทางรู้ว่าผู้ผลิตใส่อะไรมาบ้าง นอกจากนี้ชาวสวนต้องตระหนักรู้ว่าดินมีสิ่งปนเปื้อนอยู่ ควรใช้เข่งในการขนส่งและบรรจุเก็บทุเรียนทุกครั้ง หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับดินโดยตรงอย่างเด็ดขาด

ดร.รุจิรา ดีวัฒนวงศ์ นักวิจัยอาวุโส ศูนย์เชี่ยวชาญนวัตกรรมเกษตรสร้างสรรค์ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย กล่าวถึงความกังวลของชาวสวนเกิดขึ้นหลายอย่าง อีกทั้งข่าวไม่อนุญาตให้ขึ้นทะเบียนโรงคัดบรรจุเพื่อส่งออก (ล้ง) ใหม่ จะส่งผลกระทบต่อราคาทุเรียนที่กำลังจะออกหรือไม่ การใช้ปัจจัยการผลิตที่มีสีเป็นผงยังจะใช้ได้หรือไม่ คำตอบคือได้หากปฏิบัติตามฉลากข้างขวดและตามมาตรฐาน GAP เกษตรกรบางกลุ่มแนะนำถึงการตรวจก่อนที่จะตัดเพื่อเพิ่มความมั่นใจในผลผลิตของตนเองอีกด้วย

นายสมศักดิ์ สมานวงศ์ นายกสมาคมอารักขาพืชไทย กล่าวว่า ตอนแรกที่ได้ยินเรื่อง BY2 ก็คิดว่าคือ สีที่อยู่ในอุตสาหกรรมย้อมผ้า ไม่ได้น่าจะเกี่ยวข้องกับปัจจัยการผลิตทางด้านการเกษตรแต่อย่างใด ก่อนที่สารอารักขาพืชจะขึ้นทะเบียนกับกรมวิชาการเกษตรได้จะต้องมีผลวิจัยและทดลองหลายๆ ด้านเช่น ข้อมูลพิษวิทยา ความเป็นพิษตั้งแต่ พิษเฉียบพลัน พิษปานกลาง พิษเรื้อรัง และพิษต่อสิ่งแวดล้อม ตลอดจนการสลายตัวอย่างไร สารออกฤทธิ์ (Active Ingredient) และส่วนประกอบต่าง ๆ ซึ่งข้อมูลเหล่านี้จะต้องส่งให้กรมวิชาการเกษตรพิจารณาและวิเคราะห์ก่อน โดยส่วนประกอบต่างๆ ซึ่งไม่มี BY2 อยู่แล้ว อย่างไรก็ตามทางสมาคมฯ ไม่ได้นิ่งนอนใจ ได้แนะนำให้สมาชิกสมาคมฯ ส่งผลิตภัณฑ์ของตัวเองไปตรวจว่ามี BY2 และ แคดเมียม (Cd) หรือไม่ และนำ Fact Sheet มาแสดงต่อร้านค้าและเกษตรกรเพื่อสร้างความมั่นใจต่อผู้ใช้มากยิ่งขึ้น ส่วนเกษตรกรนั้นก็ควรปฏิบัติตามมาตรฐาน GAP ระยะปลอดสารป้องกันกำจัดศัตรูพืช ก่อนการเก็บเกี่ยวและซื้อปัจจัยการผลิตผ่านร้านค้าเคมีเกษตรที่ขึ้นทะเบียน Q Shop นายสมศักดิ์ กล่าวต่อไปว่า สมาคมจะยังดำเนินการจัดกิจกรรมรณรงค์ Safe Use การใช้สารฯ อย่างถูกต้องและปลอดภัยต่อผู้ใช้และผู้บริโภค รวมไปถึงสิ่งแวดล้อมด้วย

ดร.พีรพงษ์ แสงวนางค์กูล ผู้เชี่ยวชาญด้านวิทยาการหลังการเก็บเกี่ยว คณะเกษตรกำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กล่าวว่า เมื่อก่อนล้งใช้ขมิ้นเพื่อกลบรอยแผลในทุเรียน แต่บางบริษัทอาจจะใส่สีส่วนผสมอื่น ๆ เพื่อให้ชุบได้ดีมากยิ่งขึ้นจึงเกิดการปนเปื้อน ตามความเป็นจริงแล้วทุเรียนไม่จำเป็นต้องชุบสี การชุบสีทุเรียนจะยิ่งเป็นการเพิ่มต้นทุนให้ล้งอีกด้วย ยังมีตลาดทุเรียนที่ไม่นิยมการชุบสีเช่น ฮ่องกง ดร.พีรพงษ์ กล่าวต่อไปว่า การใช้สารเคมีชุบลูกทุเรียนอาจจะไม่ถูกระงับแค่ตู้ทุเรียนที่ส่งออกแต่อาจจะถูกระงับการขึ้นทะเบียนโรงคัดบรรจุเพื่อส่งออก หรือใบรับรองจากกรมฯ อีกด้วย นอกจากนี้เราควรจะเฝ้าระวังประเทศเพื่อนบ้านเช่น เวียดนามถูกระงับการส่งออกทุเรียนเนื่องจากตรวจพบแคดเมียมมาก่อนเรา เราก็ควรจะเตรียมตัวรับมือกับปัญหานี้หากเกิดขึ้นกับทุเรียนไทย นอกจากนี้ ดร.พีรพงษ์ แนะนำการใช้อีทีฟอนว่าควรจะป้ายเฉพาะขั้ว เพราะหากนำทุเรียนไปชุบจะทำให้เปลือกทุเรียนยุ่ยและเน่าเสียง่าย หากทางจีนนำไปตรวจอาจจะเจอสารตกค้างเพราะทางจีนตรวจทั้งเปลือกและเนื้อรวมกัน

นายสุเมธ ภูดารัตน์ เจ้าของเพจ ควายดำทำเกษตร เปิดเผยว่า ชาวสวนปลูกทุเรียนเล่นโซเชียลมีเดียเป็นอันดับหนึ่ง จะรับรู้ข่าวได้ไวและตื่นตระหนกต่อข่าวที่ไม่ดี แต่อย่างไรก็ตามทางกรมฯ ได้เผยแพร่ข่าวข้อเท็จจริงเกี่ยวกับ BY2 ได้รวดเร็วจึงจำกัดผลกระทบได้ไวมาก รวมไปถึงทางผู้ประกอบการเองก็ตื่นตัวและนำผลิตภัณฑ์ของตนเองไปตรวจและนำผลที่ได้มาแสดงต่อร้านค้าและเกษตรกรอีกด้วย อย่างไรก็ตามอยากจะให้ทางกรมฯ ออกข่าวประชาสัมพันธ์เป็นทางการ ให้มากกว่านี้เพราะเป็นแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ พ่อค้าบางคนเอาเรื่อง BY2 ไปกดราคาทุเรียนเพราะชาวสวนบางคนที่ไม่เล่นโซเชียลมีเดียจะขาดข้อมูลที่แท้จริงดังนั้นอยากจะฝากทางนักส่งเสริมการเกษตรที่มีการจัดประชุมตามกลุ่มต่างๆ นำข้อมูลเท็จจริงไปเผยแพร่

รศ.ดร. ชัยณรงค์ รัตนกรีฑากุล รองคณบดีคณะเกษตร กำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กล่าวเสริมว่า เกษตรกรเมื่อซื้อผลผลิตทางการเกษตรแล้วควรจะต้องเก็บใบเสร็จไว้ทุกครั้ง หากมีปัญหาขึ้นก็จะสามารถตรวจสอบย้อนกลับได้ตามระบบมาตรฐาน GAP ที่เกษตรกรทุกสวนควรจะทำ

ขณะนี้ใกล้ถึงฤดูเก็บเกี่ยวทุเรียนเข้ามาแล้ว หากทุกๆ ฝ่ายเข้าใจและร่วมมือกันอย่างเต็มกำลัง วิกฤติดังกล่าวนี้ก็จะผ่านไปได้อย่างแน่นอน 🤝

12/03/2025

FarmConnect

12/03/2025

Champ Tractor

12/03/2025

Trolmaster Agro Instruments, Speedy

12/03/2025

Drone

12/03/2025

VSC

12/03/2025

Depa

12/03/2025

Kanok Product , ระบบน้ำ

12/03/2025

Indo Us biotech , เมล็ดพันธุ์
บริษัทเมล็ดพันธุ์จากอินเดีย เข้ามาหาตลาดใหม่ๆ เป็นเมล็ดพันธุ์ผักออร์แกนิก ใครสนใจเข้าชมได้ในงานนะคะ

12/03/2025

งานแถลงข่าว IFFA

10/03/2025

เสวนา Basic Yellow 2 (BY2)
ไม่มีในสวนทุเรียน 🫱🏻‍🫲🏼🪴
วันจันทร์ที่ 10 มีนาคม 2568 เวลา 08.30-12.00 น.
ณ ห้องประชุม ชั้น 1 กองวิจัยและพัฒนาวิทยาการหลังการเก็บเกี่ยวและแปรรูปผลิตผลเกษตร กรมวิชาการเกษตร กรุงเทพฯ

ต่อฯ

ที่อยู่

55/615 M. 9 Bond Street Bangpood
Pak Kret
11120

เวลาทำการ

จันทร์ 08:30 - 17:00
อังคาร 08:30 - 17:00
พุธ 08:30 - 17:00
พฤหัสบดี 08:30 - 17:00
ศุกร์ 08:30 - 17:00
เสาร์ 08:30 - 12:00

เบอร์โทรศัพท์

+6625032054-5

เว็บไซต์

แจ้งเตือน

รับทราบข่าวสารและโปรโมชั่นของ Kehakaset Magazine วารสารเคหการเกษตรผ่านทางอีเมล์ของคุณ เราจะเก็บข้อมูลของคุณเป็นความลับ คุณสามารถกดยกเลิกการติดตามได้ตลอดเวลา

ติดต่อ ธุรกิจของเรา

ส่งข้อความของคุณถึง Kehakaset Magazine วารสารเคหการเกษตร:

วิดีโอทั้งหมด

แชร์

ประเภท