ร้านพระเครื่องมาดามเดียร์

ร้านพระเครื่องมาดามเดียร์ รับเช่า-จำนำ-เหมาพระบ้านทุกวัน 24 ชั่วโมง

 #ช่างปั๊มเหรียญมาคัดเองรับประกันรางวัลตรงปก #รุ่นอุดมทรัพย์พระอาจารย์ต้อมวัดท่าสะแบง #ยินดีสำหรับผู้ไดชนะการประกวดด้วยน...
18/01/2025

#ช่างปั๊มเหรียญมาคัดเองรับประกันรางวัลตรงปก

#รุ่นอุดมทรัพย์พระอาจารย์ต้อมวัดท่าสะแบง

#ยินดีสำหรับผู้ไดชนะการประกวดด้วยนะคับ

กราบขอบพระคุณทุกท่านที่มาร่วมสนับสนุนกิจกรรมในครั้งนี้

งานประกวดพระเครื่อง
จัดโดยนิตยสารพระท่าพระจันทร์
ณ โรงเรียนนายร้อยสามพราน จ.นครปฐม
รายการประกวดโต๊ะ รุ่นอุดมทรัพย์

โต๊ะพระอาจารย์ต้อม ปภสฺสโร วัดท่าสะแบง จ.ร้อยเอ็ด

#มาดามเดียร์ผู้สนับสนุนหลักอย่างเป็นทางการ

 #ร้านมาดามเดียร์ #รับเช่า-จำนำ-จัดหา-เหมาพระบ้านทุกวัน 24 ชั่วโมง
14/01/2025

#ร้านมาดามเดียร์

#รับเช่า-จำนำ-จัดหา-เหมาพระบ้านทุกวัน 24 ชั่วโมง

📌ประกาศงานประกวดพระเครื่องงานใหญ่ระดับประเทศโดยสมาคมผู้นิยมพระเครื่องพระบูชาไทย“รุ่นอุดมทรัพย์ พระอาจารย์ต้อมวัดท่าสะแบง...
12/01/2025

📌ประกาศงานประกวดพระเครื่องงานใหญ่ระดับประเทศ
โดยสมาคมผู้นิยมพระเครื่องพระบูชาไทย

“รุ่นอุดมทรัพย์ พระอาจารย์ต้อมวัดท่าสะแบง”

-เปิดโอเพ่นไม่จำกัดรุ่น โต๊ะที่83-84-

-18มกราคม2568-

Fcเหรียญรุ่นอุดมทรัพย์ใครมีเหรียญสวยๆเตรียมตัวเฉิดฉายกันไว้เลยรายละเอียดตามนี้เลยค้าบบบ👇👇👇

 #เนื่องในโอกาสขึ้นปีใหม่2568 ขอเป็นตัวแทนมาดามเดียร์  #กราบสวัสดีปีใหม่ ป๋าต้อย เมืองนนท์ขอให้ท่าน เจริญด้วย อายุ วรรณะ...
01/01/2025

#เนื่องในโอกาสขึ้นปีใหม่2568 ขอเป็นตัวแทนมาดามเดียร์

#กราบสวัสดีปีใหม่ ป๋าต้อย เมืองนนท์
ขอให้ท่าน เจริญด้วย อายุ วรรณะ สุขะ พลัง

ท่านพิศาล เตชะวิภาค
อุปนายกสมาคมผู้นิยมพระเครื่องพระบูชาไทย

“สวัสดีปีใหม่ เพื่อน พี่น้อง ที่เคารพ วงการพระเครื่องทุกๆท่านด้วยครับ”🙏😇

ขอให้ทุกท่านมีความสุขมาก เฮงๆรวยๆ
เป็นกัลยาณมิตรที่ดีเสมอมา“🙏❤️

 #เนื่องในโอกาสขึ้นปีใหม่2568 ขอเป็นตัวแทนมาดามเดียร์  #กราบสวัสดีปีใหม่ ป๋าพยัพ คำพันธุ์ ขอให้ท่าน เจริญด้วย อายุ วรรณะ...
01/01/2025

#เนื่องในโอกาสขึ้นปีใหม่2568 ขอเป็นตัวแทนมาดามเดียร์

#กราบสวัสดีปีใหม่ ป๋าพยัพ คำพันธุ์
ขอให้ท่าน เจริญด้วย อายุ วรรณะ สุขะ พลัง

ท่านพยัพ คำพันธุ์
นายกสมาคมผู้นิยมพระเครื่องพระบูชาไทย

“สวัสดีปีใหม่ เพื่อน พี่น้อง ที่เคารพ วงการพระเครื่องทุกๆท่านด้วยครับ”🙏😇

ขอให้ทุกท่านมีความสุขมาก เฮงๆรวยๆ
เป็นกัลยาณมิตรที่ดีเสมอมา“🙏❤️

 #มวลสารรุ่นอุดมทรัพย์ จากหนังสือหน้าที่ 279ค้นหาใบรับรองพระแท้จากสมาคมได้เว๊ปสมาคมพระเครื่องพระบูชาไทย เลขที่ใบเซอร์ GH...
28/12/2024

#มวลสารรุ่นอุดมทรัพย์ จากหนังสือหน้าที่ 279
ค้นหาใบรับรองพระแท้จากสมาคมได้เว๊ปสมาคมพระเครื่องพระบูชาไทย เลขที่ใบเซอร์ GH01-C433B

“องค์นี้หากสวยๆราคาเช่าหาผ่านมือที่หลักล้าน”

#เหรียญหลวงพ่อบ้านแหลมรุ่นแรก จะ.สมุทรสงคราม ปี2460

“หลวงพ่อบ้านแหลม” เป็นพระพุทธรูปประธานภายในพระอุโบสถ วัดเพชรสมุทรวรวิหาร โดยถือเป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองของ จ.สมุทรสงคราม

องค์พระพุทธรูปหล่อด้วยทองเหลือง แสดงอิริยาบถประทับยืน ปางอุ้มบาตร แสดงให้เห็นว่าเป็นฝีมือช่างรุ่นหลังกรุงศรีอยุธยาลงมาแล้วนะครับ เพราะความนิยมในการสร้างพระพุทธรูปลอยตัวปางต่างๆ ที่มักเรียกรวมๆ กันว่า พระพุทธรูป 80 ปางนั้น เป็นคตินิยมที่เริ่มปรากฏหลักฐานหลังจากกรุงศรีอยุธยาแตกลงเมื่อ พ.ศ.2310 ลงมา

ตำนานที่มาของหลวงพ่อบ้านแหลมที่สำคัญ มีอยู่ 2 ตำนาน

ตํานานแรกเกี่ยวข้องกับชื่อวัดบ้านแหลม และประวัติของพื้นที่ โดยมีเรื่องเล่าสืบต่อกันมาว่า ในช่วงปลายรัชสมัยของพระเจ้าเอกทัศ ซึ่งเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์สุดท้ายของกรุงศรีอยุธยานั้น ได้มีภัยจากโจรผู้ร้ายชาวพม่าเข้ามาปล้นสะดมชาวบ้านแหลม ในเมืองเพชรบุรี (ปัจจุบันคือเขตพื้นที่ ต.บ้านแหลม อ.บ้านแหลม จ.เพชรบุรี) อยู่เนืองๆ

ชาวบ้านแหลมกลุ่มหนึ่งจึงได้หนีภัยเข้ามาอยู่ที่เมืองสมุทรสงคราม โดยตั้งรกรากกันอยู่แถบปากคลองแม่กลองฝั่งใต้ ใกล้กับวัดศรีจำปา ผู้คนจึงพากันเรียกชุมชนที่ย้ายมาอยู่ใหม่นี้ว่า “บ้านแหลม” ตามชื่อหลักแหล่งดั้งเดิมของผู้คนเหล่านั้น

ประชากรชาวบ้านแหลมที่ย้ายมาใหม่ส่วนใหญ่แล้วเป็นชาวประมง จึงได้ออกทะเลหาปลาและสัตว์น้ำต่างๆ วันหนึ่งก็ได้ไปล้อมอวนจับปลาที่ปากอ่าวแม่กลอง แต่กลับได้พระพุทธรูปติดอวนมา 2 องค์

องค์หนึ่งเป็นพระพุทธรูปประทับยืน ปางอุ้มบาตร แต่บาตรได้สูญหายไปในทะเลแล้ว ภายหลังสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช ได้ประทานบาตรให้ใหม่เป็นบาตรแก้วสีน้ำเงิน แน่นอนว่า พระพุทธรูปองค์นี้ต่อมาจะถูกเรียกว่า “หลวงพ่อบ้านแหลม”

ส่วนพระพุทธรูปรูปอีกองค์หนึ่งนั้น เป็นพระพุทธรูปประทับนั่ง ปางมารวิชัย ชาวบ้านจึงได้แบ่งให้ญาติของตน ซึ่งอาศัยอยู่ที่บางตะบูน (ปัจจุบันคือ ต.บางตะบูน อ.บ้านแหลม จ.เพชรบุรี โดยตั้งอยู่ติดกับพื้นที่ ต.บ้านแหลม) ไป แล้วประดิษฐานไว้ที่วัดเขาตะเครา ซึ่งก็คือ “หลวงพ่อวัดเขาตะเครา” นั่นเอง

เดิมทีชาวบ้านแหลมที่แม่กลอง ไม่อยากจะนำพระพุทธรูปปางอุ้มบาตรที่ได้มา ไปประดิษฐานไว้ที่วัดศรีจำปา ที่อยู่ในพื้นที่ชุมชนของตนเอง เพราะเป็นวัดร้าง มีทั้งป่าจาก ต้นโกงกางขึ้นอยู่มาก และมีหญ้ารกรุงรัง จึงตั้งใจจะนำไปประดิษฐานที่วัดใหญ่ ซึ่งตั้งอยู่เหนือปากคลองแม่น้ำแม่กลอง แต่ว่าในขณะที่นำพระพุทธรูปขึ้นไปนั้น กลับเกิดพายุใหญ่จนนำขึ้นวัดไม่ได้ จึงต้องนำกลับมาประดิษฐานไว้ที่วัดศรีจำปา

ชาวบ้านแหลมจึงจำต้องช่วยกันบูรณะวัดศรีจำปาให้ดีขึ้น แล้วเปลี่ยนชื่อใหม่เป็น “วัดบ้านแหลม” ดังนั้น จึงพากันเรียกพระพุทธรูปองค์นี้ว่า “หลวงพ่อบ้านแหลม” ไปด้วยนั่นเอง

ส่วนตำนานของ “หลวงพ่อบ้านแหลม” อีกตำนานหนึ่งนั้นเล่าว่า มีพระพุทธรูป 5 องค์ ลอยน้ำมาจากเมืองเหนือ เมื่อมาถึงภาคกลางแล้ว ก็แยกย้ายไปอยู่แต่ละจังหวัด แตกต่างกันไป ได้แก่

องค์แรก ลอยมาตามแม่น้ำบางปะกง และได้ถูกนำไปประดิษฐานไว้ที่วัดโสธรวรารามวรวิหาร จ.ฉะเชิงเทรา จึงได้ชื่อว่า หลวงพ่อโสธร

องค์ที่ 2 ลอยมาตามแม่น้ำนครชัยศรี และได้ถูกนำไปประดิษฐานไว้ที่วัดไร่ขิง เมืองนครชัยศรี (อ.สามพราน) จ.นครปฐม จึงได้ชื่อว่า หลวงพ่อวัดไร่ขิง

องค์ที่ 3 ลอยมาตามแม่น้ำเจ้าพระยา และได้ถูกนำไปประดิษฐานไว้ที่วัดบางพลีใหญ่ใน หรือที่เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า วัดพลับพลาชัยชนะสงคราม อ.บางพลี จ.สมุทรปราการ ชาวบ้านเรียกว่า หลวงพ่อโต

องค์ที่ 4 ลอยมาตามแม่น้ำแม่กลอง และได้ถูกนำไปประดิษฐานที่วัดเพชรสมุทรวรวิหาร เมืองแม่กลอง จ.สมุทรสงคราม คือหลวงพ่อบ้านแหลม

และองค์สุดท้าย ลอยมาตามแม่น้ำเพชรบุรี และได้ถูกนำไปประดิษฐานที่วัดเขาตะเครา จ.เพชรบุรี จึงได้ชื่อว่า หลวงพ่อเขาตะเครา

หลวงพ่อวัดบ้านแหลม เป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์
ลอยน้ำมา เป็น1 ใน5 พี่น้อง ด้วยพุทธคุณเด่นด้านเมตตาแคล้วคลาดอธิษฐานขอสำเร็จ
จึงเป็นนับถือ แก่ประชาชนทั่วไป
พุทธคุณความศักดิ์สิทธิ์เป็นที่กล่าวขวัญกันมา
แต่โบรํ่าโบราณ นับตั้งแต่เริ่มอาราธนา
มาประดิษฐาน ณ วัดบ้านแหลม ซึ่งเดิมเป็นป่ารกชัฏ
ก็มีการพัฒนาจนเจริญรุ่งเรืองขึ้นเป็นลำดับ
และมาเป็นที่กล่าวขานระบือไกล
เมื่อคราวเกิด “อหิวาตกโรค” ระบาดในประเทศไทย ประมาณปี พ.ศ.2416 เจ้าคุณสนิทสมณคุณ (เนตร) ท่านเจ้าอาวาสวัดบ้านแหลมในสมัยนั้น
เกิดนิมิตถึงหลวงพ่อวัดบ้านแหลม
จึงได้นำพระคาถามาทำนํ้ามนต์และแจกจ่ายให้ชาวบ้านดื่มและอาบกัน ปรากฏว่าโรคอหิวา ตกโรค
ก็ค่อยๆ สงบลงและหมดไปในที่สุด

หลวงพ่อบ้านแหลม เป็นพระพุทธรูปยืน ปางอุ้มบาตร สูงประมาณ 2 เมตร 80 เซนติเมตร หล่อด้วยทองเหลืองปิดทอง ประดิษฐานอยู่ในพระอุโบสถวัดเพชรสมุทรวรวิหารหรือที่เรียกว่าวัดบ้านแหลม เป็นพระพุทธรูปสำคัญของชาวเมืองแม่กลอง หรือจังหวัดสมุทรสงคราม

 #มวลสารรุ่นอุดมทรัพย์ จากหนังสือหน้าที่ 279ค้นหาใบรับรองพระแท้จากสมาคมได้เว๊ปสมาคมพระเครื่องพระบูชาไทย เลขที่ใบเซอร์ GG...
22/12/2024

#มวลสารรุ่นอุดมทรัพย์ จากหนังสือหน้าที่ 279
ค้นหาใบรับรองพระแท้จากสมาคมได้เว๊ปสมาคมพระเครื่องพระบูชาไทย เลขที่ใบเซอร์ GG11-65E1C

“องค์นี้หากสวยๆราคาเช่าหาผ่านมือที่หลักล้าน”

#เหรียญเสมาหลวงปู่เอี่ยมวัดสะพานสูงรุ่นแรก

หลวงปู่เอี่ยม ปฐมนาม
( อ่านว่า ปะถะมะนามะ หรือ ปถมนาม )
เกิดในรัชกาลที่ ๒ เมื่อปีฉลู(วัว) พ.ศ. 2359
เป็นบุตรนายนาค นางจันทร์
โดยมีพี่น้องท้องเดียวกัน รวมด้วยกัน 4 คน คือ

1. หลวงปู่เอี่ยม
2. นายฟัก
3. นายขำ
4. นางอิ่ม

บ้านเกิดของหลวงปู่เอี่ยมอยู่ที่
ตำบลบานแหลมใหญ่ ฝั่งใต้ ข้างวัดท้องคุ้ง
อำเภอ ปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี
เมื่อปี พ.ศ.2381(รัชกาลที่3พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว)
อายุท่านได้ 22 ปี ได้อุปสมบท ที่วัดบ่อ ตำบลปากเกร็ด อำเภอปากเกร็ด (วัดบ่อนี้อยู่คิดกับตลาดในท่าน้ำปากเกร็ด) ท่านอุปสมบท ได้ประมาณหนึ่งเดือน ท่านก็ได้ย้ายไปประจำพรรษาอยู่ที่วัดกัลยาณมิตร ธนบุรี
ซึ่งในขณะนั้นพระพิมลธรรมพร เป็นเจ้าอาวาส ซึ่งย้ายมาจากวัดราชบูรณะ พระนคร

หลวงปู่เอี่ยมท่านได้ศึกษาพระปริยัติธรรม และแปลพระธรรมบทอยู่ที่วัดนี้อยู่ได้ถึง 7 พรรษาท่านจึงได้ย้ายไปจำพรรษาอยู่ที่วัดประยูรวงศาวาส ฝั่งธนบุรี ใกล้วัดกุฎีจีน บางกอกใหญ่ ที่จะไป ท่าเตียน บ้านหม้อ เยาวราช สำเพ็ง

เมื่อปี พ.ศ. 2388 อยู่วัดประยูรวงศาวาสได้ 3 พรรษา ถึงปี พ.ศ. 2389 นายแขก สมุห์บัญชีได้นิมนต์หลวงปู่เอี่ยม ไปจำพรรษาเจริญพระกัมมัฏฐานเป็นเริ่มแรก และได้ศึกษาอยู่ 5 พรรษา ถึงปี 2396 มาถึงสมัย(พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่4)ญาติโยมพร้อมด้วยชาวบ้านภูมิลำเนาเดิมในคลองแหลมใหญ่ (ซึ่งปัจจุบันนี้ คือคลองพระอุดม) อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี ได้เดินทางมา อาราธนานิมนต์หลวงปู่เอี่ยม กลับไปปกครองวัดสว่างอารมณ์ หรือวัดสะพานสูง ในปัจจุบันนี้

สาเหตุที่เปลี่ยนชื่อวัดสว่างอารมณ์เดิมมาเป็นชื่อวัดสะพานสูงนั้น มีเรื่องเล่าต่อๆ กันมาว่า ในสมัยนั้นสมเด็จกรมพระยาวชิญาณวโรรส ท่านได้เสร็จไปตรวจการคณะสงฆ์ได้เสด็จขึ้นที่วัดสว่างอารมณ์นี้ ได้ทอดพระเนตรเห็นสะพานสูงข้ามคลองวัด (คลองพระอุดมปัจจุบันนี้)

ซึ่งชาวบ้านมักจะเรียกวัดสว่างอารมณ์นี้ว่า วัดสะพานสูง จึงทำให้วัดนี้มีชื่อเรียกกัน 2 ชื่อ ฉะนั้น สมเด็จกรมพระยาวชิรญาณวโรรสทรงเห็นว่า สะพานสูงนี้ก็เป็นนิมิตดีประจำวัดประการหนึ่ง และอีกประการหนึ่งชาวบ้านก็นิยมเรียกกันติดปากว่าวัดสะพานสูง จึงได้ประทานเปลี่ยนชื่อวัดสว่างอารมณ์ มาเป็น "วัดสะพานสูง" จนตราบเท่าทุกวันนี้

หลวงปู่เอี่ยม มาวัดสะพานสูงใหม่ๆ ที่วัดนี้มีพระประจำวันพรรษาอยู่เพียง 2 รูปเท่านั้น

ขณะที่ท่านหลวงปู่เอี่ยม ได้ย้ายมาอยู่วัดสะพานสูงได้ 8 เดือน ก่อนวันเข้าพรรษาหลวงพิบูลย์สมบัติ บ้านท่านอยู่ปากคลองบางลำภู พระนคร ได้เดินทางมานมัสการหลวงปู่เอี่ยม หลวงปู่เอี่ยมได้ปรารภถึงความลำบาก ด้วยเรื่องการทำอุโบสถและสังฆกรรม(หลวงพิบูลย์สมบัตินี้อาจจะรู้จักหลวงปู่เอี่ยมสมัยที่อยู่ฝั่งธนก็เป็นได้)

เนื่องจากสถานที่เดิมได้ชำรุดทรุดโทรมมาก จึงอยากจะสร้างให้เป็นถาวรสถานแก่วัดให้เจริญรุ่งเรือง หลวงพิบูลยสมบัติ ท่านจึงได้บอกบุญเรี่ยไรหาเงินมา เพื่อก่อสร้างโบสถ์ และถาวรสถานขึ้น จึงเป็นที่เข้าใจกันว่าหลวงปู่เอี่ยม ได้เริ่มสร้างพระปิดตาและตะกรุดเป็นครั้งแรก

เพื่อเป็นของชำร่วยแก่ผู้บริจาคทรัพย์และสิ่งของที่ใช้ในการก่อสร้างพระอุโบสถและถาวรสถาน ต่อมาถึง พ.ศ. 2431 (พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่5)ได้สร้างศาลาการเปรียญ หลังจากนั้นอีกหลวงปู่เอี่ยมได้สร้างพระเจดีย์ฐาน 3 ชั้นขึ้นในปี พ.ศ. 2439 ขณะที่ท่านหลวงปู่เอี่ยม ท่านได้มาอยู่วัดสะพานสูง ท่านได้ไปธุดงค์ไปทางแถบประเทศเขมร

โดยมีลูกวัดติดตามไปด้วยเสมอ
แต่ท่านจะให้ลูกวัดออกเดินทางล่วงหน้าไปก่อน 6-7 ชั่วโมง แล้วจะนัดกันไปพบที่แห่งใดแห่งหนึ่ง แล้วท่านหลวงปู่เอี่ยม ได้ไปพบชีปะขาวชาวเขมรท่านหนึ่งชื่อว่าจันทร์หลวงปู่เอี่ยม จึงได้เรียนวิชาอิทธิเวทย์ จากท่านอาจารย์ผู้นี้อยู่หลายปี จนกระทั่งชาวบ้านแหลมใหญ่นึกว่าท่านออกธุดงค์ไปได้ถึงแก่มรณภาพไปแล้ว เนื่องจากหลวงปู่เอี่ยม ท่านไม่ได้กลับมาที่วัดหลายปี

จึงได้ทำสังฆทานแผ่ส่วนกุศลไปให้ท่าน ทำให้ท่านหลวงปู่เอี่ยม ทราบในญาณของท่านเอง และท่านหลวงปู่เอี่ยม จึงได้เดินทางกลับมายังวัดสะพานสูง การไปธุดงค์ครั้งนี้ หลวงปู่เอี่ยม ได้ไปเป็นเวลานาน และอยู่ในป่าจึงปรากฏว่าท่านหลวงปู่เอี่ยม ท่านไม่ได้ปลงผม ผมจึงยาวถึงบั้นเอว จีวรก็ขาดรุ่งริ่ง หมวดท่านยาวเฟิ้มพร้อมมีสัตว์ป่าติดตามท่านหลวงปู่เอี่ยม มาด้วย อาทิเช่น หมี, เสือ, และงูจงอาง ฯลฯ

จากการเจริญกรรมฐานนี้ จึงทำให้หลวงปู่เอี่ยมสำเร็จ "โสรฬ" มีเรื่องเล่ากันว่ามีต้นตะเคียนต้นหนึ่งมีน้ำมันตกและดุมากเป็นที่เกรงกลัวแก่ชาวบ้านแถบนั้น หลวงปู่จึงช่วยยืนเพ่งอยู่ 3 วันเท่านั้น ต้นตะเคียนก็เฉาและยืนต้นตาย หลวงปู่เป็นผู้มีอาคมฉมัง วาจาสิทธิ์ มักน้อยและสันโดษ ท่านเป็นต้นแบบในการพัฒนาวัดให้เจริญรุ่งเรืองจนถึงปัจจุบันนี้ ท่านได้สร้างถาวรวัตถุที่ได้เห็นกันอยู่ในทุกวันนี้คือพระอุโบสถ พระวิหาร ศาลาการเปรียญ พระเจดีย์ จึงเป็นที่มาของการสร้างพระปิดตา และตะกรุดโทนมหาโสฬสมงคลอันลือลั่นนั่นเอง

ท่านหลวงปู่เอี่ยม เป็นพระผู้มีอาคมขลัง มีวาจาศักดิ์สิทธิ์ มักน้อย ถือสันโดษ ด้วยเหตุนี้เองทำให้หลวงปู่เอี่ยม ท่านมีลูกศิษย์ลูกหามากมาย ทั้งชาวบ้านและเจ้านายผู้ใหญ่ในพระนครนับถือท่านมากจนกระทั่งถึงวาระสุดท้ายของชีวิต ก่อนที่หลวงปู่เอี่ยมจะมรณภาพด้วยโรคชรา นายหรุ่น แจ้งมา ซึ่งเป็นลูกศิษย์ที่ใกล้ชิดคอยอยู่ปรนนิบัติท่านหลวงปู่เอี่ยมได้ขอร้องท่านว่า “ท่านอาจารย์มีอาการเต็มที่แล้ว ถ้าท่านมีอะไรก็กรุณาได้สั่ง และให้ศิษย์เป็นครั้งสุดท้าย” ซึ่งท่านหลวงปู่เอี่ยมก็ตอบว่า “ถ้ามีเหตุทุกข์เกิดขึ้นให้ระลึกถึงท่านและเอ่ยชื่อท่านก็แล้วกัน”หลวงปู่เอี่ยมท่านได้มรณภาพ เมื่อปี พ.ศ.2439(รัชกาลที่5) รวมอายุได้ 80 ปี บวชได้ 59 พรรษา

ก่อนที่ท่านจะมรณภาพได้มีศิษย์ผู้ใกล้ชิดเป็นตัวแทนของชาวบ้าน และผู้เคารพนับถือศรัทธา ที่มีและไม่มีของมงคลท่านไว้บูชา กราบเรียนถามหากว่าเมื่อหลวงปู่เอี่ยม ได้มรณภาพแล้วจักทำประการใด ท่านจึงได้มีปัจฉิมวาจาว่า " มีเหตุสุข ทุกข์ เกิดนั้น ให้ระลึกถึงชื่อของเรา"

จึงเป็นที่ทราบและรู้กันว่า หากผู้ใดต้องการมอบตัวเป็นศิษย์หรือต้องการให้ท่านช่วยแล้วด้วยความศรัทธายิ่ง ก็ให้เอ่ยระลึกถึงชื่อของท่าน ท่านจะมาโปรดและคุ้มครองและหากเป็นเรื่องหนักหนาก็บนตัวบวชให้ท่าน รูปหล่อเท่าองค์จริงของหลวงปู่เอี่ยม ท่านประดิษฐานอยู่หน้าพระอุโบสถ สร้าง(หล่อ) ขึ้นเมื่อพ.ศ. 2480 (พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดลรัชกาลที่8)ในสมัยหลวงปู่กลิ่น ผู้ปกครองวัดต่อจากท่าน เพื่อการสักการะบูชา ต่อมาจนทุกๆวันจะมีผู้ศรัทธาจากทุกสารทิศมากราบไหว้และบนบานฯ ตลอดเวลาตราบแสงอาทิตย์ยังไม่ลับขอบฟ้า ท่านชอบกระทงใส่ดอกไม้เจ็ดสี จะมีผู้นำมาถวายและแก้บนแทบทุกวันโดยเฉพาะในวันพระแม้แต่ผงขี้ธูปและน้ำในคลองหน้าวัดก็ยังมีความ"ขลัง" อย่างน่าอัศจรรย์ยิ่ง

และหลังจากที่ท่านมรณภาพล่วงไปเนิ่นนานแล้วก็ตามที ด้วยความศักดิ์สิทธิ์ของท่าน ผลปรากฏว่าฐานที่ท่าน เคยถ่ายทุกข์เอาไว้และปิดตาย คราวที่เกิดไฟไหม้ป่าช้า ฐานของหลวงปู่เอี่ยม เพียงหลังเดียวเท่านั้นที่ไม่ไหม้ไฟ

เมื่อความอัศจรรย์ปรากฏขึ้นเช่นนั้น ผู้คนจึงค่อยมาตัดเอาแผ่นสังกะสีไปม้วนเป็นตะกรุดจนหมดสิ้น นอกจากนั้นแล้ว ยังมารื้อเอาตัวไม้ไปบูชาจนไม่เหลือหรอ ยิ่งไปกว่านั้น คนที่ไม่ได้อะไรเลยก็มาขุดเอาอุจจาระของท่านไปบูชา

 #มวลสารรุ่นอุดมทรัพย์ จากหนังสือหน้าที่ 278ค้นหาใบรับรองพระแท้จากสมาคมได้เว๊ปสมาคมพระเครื่องพระบูชาไทย เลขที่ใบเซอร์ GH...
22/12/2024

#มวลสารรุ่นอุดมทรัพย์ จากหนังสือหน้าที่ 278
ค้นหาใบรับรองพระแท้จากสมาคมได้เว๊ปสมาคมพระเครื่องพระบูชาไทย เลขที่ใบเซอร์ GH01-0D81B

“องค์นี้หากสวยๆราคาเช่าหาผ่านมือที่หลักล้านบาท”

#มวลสารสร้างพระมาดามเดียร์

#เหรียญเสมา หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม จ.นครปฐม ปี2497

ประวัติหลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม
หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม หรือ พระราชธรรมาภรณ์ ซึ่งพระเครื่อง"หลวงพ่อเงิน จนฺทสุวณฺโณ
วัดดอนยายหอม" เป็นที่ต้องการของนักสะสมพระเครื่องเป็นอย่างมาก เนื่องจากพุทธคุณ
จากประสบการณ์ของผู้ที่พกพาเป็นที่ประจักษ์
ให้พบเห็นกันบ่อยๆ ท่านเป็นทั้งพระนักพัฒนา
พระปฏิบัติ มีเมตตาธรรม ต่อประชาชนทั่วไป
และหลวงพ่อเงิน ท่านยังเคร่งครัดในพระธรรมวินัยอย่างมาก ความรู้ด้านวิชา คาถาอาคมของท่าน
ก็ไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าใคร
ท่านเกิดเมื่อวันอังคารที่ ๑๖ กันยายน พ.ศ.๒๔๓๓
ตรงกับวันขึ้น ๓ ค่ำ เดือน ๑๐ ปีขาล ในรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ เป็นบุตรคนที่ ๔ ของ นางกลอง-นายพรม
นามสกุล ด้วงพลู ครอบครัวของหลวงพ่อเงิน
ถือได้ว่าว่าเป็นผู้มีอันจะกินครอบครัวหนึ่งใน
ต.ดอนยายหอม ในขณะนั้น
หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม ท่านมีพี่น้องทั้งหมด ๘ คน คือ นายอยู่ ด้วงพลู
นายแพ ด้วงพลู
นายทอง ด้วงพลู
หลวงพ่อเงิน
นายแจ้ง ด้วงพลู
นายเนียม ด้วงพลู
นางสายเพ็ญ ด้วงพลู
และนางเมือง ด้วงพลู

หลวงพ่อเงิน ได้อุปสมบทเมื่อ
วันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ.2453 โดยมี
พระปลัดฮวย เจ้าอาวาสวัดดอนยายหอม ในขณะนั้น เป็นพระอุปัชฌาย์ ได้ฉายา “จนฺทสุวณฺโณ”
เมื่อหลวงพ่อได้เข้าสู่เพศบรรพชิตแล้ว
ท่านได้บอกแก่โยมพ่อของท่านว่า
"อาตมาสละหมดทุกอย่างแล้ว โดยขอให้สัจจะปฏิญาณแก่พี่น้องชาวตำบลนี้ว่า อาตมาจะไม่ขอลาสิกขา อาตมาจะเป็นแสงสว่างทางให้เพื่อนมนุษย์
ขอให้โยมร่วมอนุโมทนาด้วยความยินดี
และมั่นใจ” ตั้งแต่เริ่มอุปสมบท หลวงพ่อเงิน
ท่านมีความตั้งใจอย่างมาก มีขันติ วิริยะ
สามารถท่องปาติโมกข์จบ และแสดงในเวลาทำสังฆกรรมได้ตั้งแต่พรรษาแรก หมั่นบำเพ็ญเพียร
ในการปฏิบัติสมถะ และวิปัสสนากรรมฐาน
ตามที่โยมพ่อพรมของท่านแนะนำ เป็นเวลาถึง 4 ปีเต็ม
ในปลายพรรษาที่ 5 หลวงพ่อเงินพร้อมด้วยพระที่วัดอีก 2 รูป ได้ออกธุดงค์ไปตามชนบท มุ่งหน้าขึ้นภาคเหนือ ผ่านป่าสระบุรี ลพบุรี เรื่อยขึ้นไปถึงนครสวรรค์ ค่ำที่ไหนก็ปักกลดพักแรมที่นั่น อาหารที่ฉันก็เพียงมื้อเดียว การเดินทางในสมัยนั้น เดินทางด้วยเท้าเปล่า บ้านคนก็ไม่ค่อยมี ป่าก็เป็นป่าดงดิบ
ที่เต็มไปด้วยสัตว์ร้ายนานาชนิด
ซึ่งยากที่พระภิกษุผู้ที่ไม่มีอาวุธ
หรือเครื่องมือเพื่อป้องกันภัย
จะธุดงค์ได้ตลอดรอดฝั่งด้วยความปลอดภัย
เพราะเหตุที่ต้องประสบกับความยากลำบาก
ในการออกธุดงค์ในครั้งนั้น จึงมีเรื่องเล่าต่อมา
ภายหลังจากที่หลวงพ่อเงินกลับจากธุดงค์
เป็นเวลา 4 เดือน หลวงพ่อเงิน ได้มาปักกลด
อยู่ข้างบ้านดอนยายหอม โดยที่มีผิวกายดำกร้าน ร่างกายซูบผอมราวกับคนชรา
ชาวบ้านที่เดินผ่านไปมาจึงจำท่านไม่ได้
แม้แต่นายแจ้งซึ่งเป็นพี่ ชาย
ก็คิดว่าเป็นพระธุดงค์มาจากที่อื่น
แต่พอเข้าไปดูใกล้ๆ ก็ตกตะลึง
แทบจะปล่อยโฮออกมา พอได้สติจึงยกมือไหว้
แล้วถามท่านว่า
“คุณเงินหรือนี่” ซึ่งหลวงพ่อเงินก็ตอบ
พร้อมกับหัวเราะว่า “ฉันเอง โยมพี่ทิดแจ้ง”
ฉันแปลกมากไปเชียวหรือ จึงจำฉันไม่ได้
ฉันมาปักกลดอยู่ที่นี่นานแล้ว
เห็นพวกบ้านเราเขาเดินผ่านไปผ่านมาหลายคน
แต่ไม่มีใครทักฉันเลย ฝ่ายพ่อพรมนั้น
พอทราบข่าวว่า พระลูกชายกลับจากธุดงค์
ด้วยความปลอดภัยแล้ว ก็เต็มไปด้วยความปลาบปลื้มยินดี สาเหตุที่ หลวงพ่อเงิน
ท่านไม่อยากครองชีวิตแบบคฤหัสถ์ กล่าวกันว่า
เพราะท่านมองเห็นว่า ความสุขทางโลกไม่จีรังยั่งยืน เหมือนความสุขทางธรรม เรื่องของทางโลก
มีแต่ความยุ่งยาก วุ่นวาย เดือดร้อน ข่มเหง เบียดเบียน และอิจฉาริษยากันไม่สิ้นสุด
ผู้เสพรสของความหรรษาทางโลก
ย่อมมียาพิษเจือปนอยู่เสมอ
ส่วนผู้เสพรสพระธรรม ไม่มีพิษไม่มีโทษแต่อย่างใด
หลวงพ่อเงิน มักจะปรารภให้ผู้ใกล้ชิด ฟังอยู่บ่อยๆ ว่า ร่างกายมนุษย์เรานี้ ไม่มีแก่น
เกิดมาเวียนว่ายอยู่ในวัฏสงสาร
ที่เต็มไปด้วยกองทุกข์ มนุษย์จะหนี ทุกข์ได้
มิใช่มากด้วยสมบัติพัสถาน หรือข้าทาสบริวาร
ตรงกันข้าม สิ่งเหล่านี้เป็นพันธะยึดเหนี่ยวจิต
เสมือนจิตถูกจองจำด้วยโซ่ตรวน
ต้องพะวักพะวนเศร้าหมอง

หลวงพ่อเงิน ได้ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดดอนยายหอม เมื่อปี พ.ศ.2466
และท่านได้ละสังขารด้วยอาการอันสงบ
เมื่อวันที่ 13 มกราคม 2520 ณ โรงพยาบาลรามาธิบดี

แม้ท่านจะมรณภาพไปนานแล้วก็ตาม
แต่สิ่งต่างๆ ยังคงตราตรึงอยู่ในความทรงจำ
ของบรรดาลูกศิษย์ลูกหา
โดยเฉพาะชาวดอนยายหอมอย่างไม่มีวันลืม
ต่างยังรำลึกนึกถึงท่านอย่างไม่มีวันเลือนหายไป
จากความทรงจำ ทั้งนี้ท่านได้สร้าง
พระเครื่อง-วัตถุมงคลไว้เพื่อเป็นมรดกถึงรุ่นลูกหลาน วัตถุมงคลของท่านยอดเยี่ยมด้านคงกระพันชาตรี เปี่ยมด้วยเมตตามหานิยมยิ่งนัก

 #มวลสารรุ่นอุดมทรัพย์ จากหนังสือหน้าที่ 278ค้นหาใบรับรองพระแท้จากสมาคมได้เว๊ปสมาคมพระเครื่องพระบูชาไทย เลขที่ใบเซอร์ GH...
21/12/2024

#มวลสารรุ่นอุดมทรัพย์ จากหนังสือหน้าที่ 278
ค้นหาใบรับรองพระแท้จากสมาคมได้เว๊ปสมาคมพระเครื่องพระบูชาไทย เลขที่ใบเซอร์ GH01-1FEED

“องค์นี้หากสวยๆราคาเช่าหาผ่านมือที่หลักล้านบาท”

#เหรียญหลวงพ่อสุดวัดกาหลงรุ่นแรก

หลวงพ่อสุด วัดกาหลง หรือ พระครูสมุห์ ธรรมสุนทร บิดาท่านชื่อ นายมาก มารดาท่านชื่อ นางอ่อนศรี ครอบครัวของท่านเป็นชาวนา อำเภอ พนมไพร จังหวัดร้อยเอ็ด
เกิดเมื่อวันที่ 7 พฤษาภาคม 2445 ในสมัย ร.5 ตอนอายุได้ 16 ปี ท่านได้บวชบรรพชาเป็นสามเณร ณ วัดกลางพนมไพร อ.พนมไพร จ.ร้อยเอ็ด เมื่อวันที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2461
โดยมีท่านพระครูเม้า เป็นพระอุปัชฌาย์ ต่อมาได้ท่านพระครูเม้าเป็นพระอาจารย์องค์สำคัญที่หลวงพ่อให้ความเคารพนับถืออย่างมาก
เมื่อบวชเณรได้ระยะหนึ่ง หลวงพ่อสุด ท่านได้ออกเดินทางรอนแรมจากร้อยเอ็ดมุ่งเข้าสู่กรุงเทพ เพื่อแสวงหาความรู้ทางธรรมและวิชาอาคมต่างๆ
เข้าใจว่า ท่านคงจะมาบวชเป็นพระที่วัดกาหลง นี่เอง ทั้งนี้เพราะใน พ.ศ. 2481 ท่านอายุได้ 36 ปี
ท่านได้สอบนักธรรมชั้นเอก สำนักเรียนวัดกาหลง
ด้านการปกครอง
พ.ศ.2478 เป็นเจ้าอาวาสวัดกาหลง
พ.ศ.2479เป็นเจ้าคณะหมวด
พ.ศ.2484เป็นเจ้าคณะตำบล
พ.ศ.2495เป็นสาธารณูปการอำเภอ
ด้านการศึกษา
พ.ศ.2482เป็นผู้อุปการะโรงเรียนวัดกาหลง
พ.ศ.2485 เป็นครูสอนพระปริยัติธรรม
พ.ศ.2495 เป็นกรรมการการตรวจธรรมสนามหลวง

ด้านสมณศักดิ์
พ.ศ.2490 เป็นพระครูสัญญบัตร ชั้นตรี
พ.ศ.2511 เป็นพระครูสัญญบัตร ชั้นโท
พ.ศ.2517 เป็นพระครูสัญยญบัตรชั้นเอก

หลวงพ่อสุด ถึงแม้ท่านมิใช่คนสมุทรสาคร แต่ชาวสมุทรสาครก็นับถือเคารพรักท่านเป็นอย่างมาก เพราะท่านได้ช่วยเหลือและให้ความเมตตา ท่านจึงเป็นที่รักของลูกศิษย์ลูกหาและชาวสมุทรสาคร
ด้านวิชาศึกษาด้านอาคม (พระอาจารย์ของหลวงพ่อสุด)
1.หลวงปู่เม้า วัดกลางพนมไพร(พระที่บวชให้ท่านในสมัยตอนเป็นเณร)
2.หลวงพ่อรุ่ง วัดท่ากระบื่อ (สำหรับหลวงพ่อรุ่ง ในปี 2484 หลวงพ่อสุดเป็นเจ้าคณะตำบล หลวงพ่อรุ่งได้จัดเหรียญรุ่นแรกของท่าน
หลวงพ่อสุดได้อยุ่ในการร่วมสร้างเหรียญนี้ด้วยเช่นกัน)
3.หลวงพ่อคง วัดบางกระพล้อม (เป็นพระที่หลวงพ่อสุดนับถือมาก)
หลวงพ่อสุด ท่านเป็นอาจารย์ของ ตี๋ใหญ่ จอมโจรในอดีต และท่านเป็นเจ้าของยันต์ตะกร้อและเสือแผ่นที่ทำให้อยู่ยงกระพันที่โด่งดังมากในสมัยนั้น

ผ้ายันต์ตะกร้อ ยังเป็นที่กล่าวขานและเป็นที่นิยมกันใน ชาว จ.สมุทรสาคร อีกด้วย
ยันต์ตะกร้อ เป็นยันต์ที่ท่านได้ปลุกเสกขึ้นมา เมื่อตอนปลุกเสกนั้นหลวงพ่อท่านได้ลงคาถาอาคมโดยใช้ภาษาขอม เขมร และลาว โดยที่บทสวดที่ท่านสวดมีใจความว่า
“จะกระสุนก็ดี จะไฟก็ดี ก็สามารถจะทำอะไรเนื้อหนัง และกระดูกได้”
ตี๋ใหญ่ มักไปมาหาสู่หลวงพ่อสุดอยู่บ่อยๆ ตี๋ใหญ่มีของดีคือมีผ้ายันต์กับตะกรุดของหลวงพ่อสุดไว้ป้องกันตัว ถึงขนาดถูกตำรวจเป็นร้อยล้อมจับก็ยังสามารถหนีเอาตัวรอดไปได้ จนมีเสียงร่ำลือกันว่าตี๋ใหญ่มีวิชาล่องหนหายตัวได้
มีเรื่องเล่าถึงวันที่ ตี๋ใหญ่เสียชีวิต คือวันนั้นก่อนที่จะหนีไปหลบซ่อนตัว ตี๋ใหญ่สั่งให้ลูกน้องขับรถพามาหาหลวงพ่อสุด ที่วัดกาหลง เพราะต้องการมาขอผ้ายันต์และตะกรุด แต่มาแล้วไม่พบท่าน จึงกลับออกมา ระหว่างที่รถวิ่งออกมาก็โดนถล่มจากตำรวจจำนวนมากทั้งสองข้างทาง

หลวงพ่อสุด ท่านมรณภาพเมื่อวันที่ 14 สิงหาคม ปี 2526 รวมอายุได้ 81 ปี หลังจากที่หลวงพ่อสุดมรณะภาพ มีการเผาศพของท่านได้เป็นข่าวดังทางหน้าหนังสือพิมพ์รายวันหลายฉบับ
ในเนื้อข่าวน่ากล่าวถึงศพของท่านโดนไฟเผาไหม้ไม่หมด ร่างกายที่เป็นเนื้อหนังกระดูกเผาหมดแล้วแต่กระดูกของท่านยังอยู่ในภาพที่สมบูรณ์มาก ไม่บิ่นหรือแตกร้าวเป็นชิ้นๆ แบบการเผาศพทั่วๆไปเลย
ปัจจุบันทางวัดกาหลงได้นำร่างที่เป็นโครงกระดูกของท่านมาบรรจุไว้ในโลงแก้วตั้งให้ประชาชนไปกราบนมัสการอยู่ที่ชั้น 2 ของศาลาการเปรียญ
เพื่อให้ประชาชนทั่วไปสักการะกราบไหว้

 #มวลสารรุ่นอุดมทรัพย์ จากหนังสือหน้าที่ 277ค้นหาใบรับรองพระแท้จากสมาคมได้เว๊ปสมาคมพระเครื่องพระบูชาไทย เลขที่ใบเซอร์ GH...
21/12/2024

#มวลสารรุ่นอุดมทรัพย์ จากหนังสือหน้าที่ 277
ค้นหาใบรับรองพระแท้จากสมาคมได้เว๊ปสมาคมพระเครื่องพระบูชาไทย เลขที่ใบเซอร์ GH01-80182

“องค์นี้หากสวยๆราคาเช่าหาผ่านมือที่หลักล้านบาท”

#เหรียญหลวงพ่อแดงวัดเขาบันไดอิฐรุ่นแรก

วัดเขาบันไดอิฐ ต.ไร่ส้ม อ.เมือง จ.เพชรบุรี นับเป็นวัดเก่าแก่ตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัย ตั้งอยู่บนเขา มีถ้ำใหญ่น้อยมากมาย ภายในถ้ำประดิษฐานพระพุทธรูปปางต่างๆ จำนวนมาก

ทั้งยังมีตำนานโบร่ำโบราณกล่าวถึงอยู่หลายเรื่อง อาทิ ในสมัยพระบรมราชาที่ 2 (พระเชษฐาธิราช) แห่งกรุงศรีอยุธยา ใช้เป็นที่คุมขังของพระศรีศิลป์ ผู้คิดก่อการกบฏ หรือเป็นสถานที่วิปัสสนากรรมฐานของพระเกจิผู้วิชาอาคมหลายรูป เช่น เจ้าอธิการแสง พระอาจารย์ของพระเจ้าเสือ สมัยกรุงศรีอยุธยา และพระอาจารย์เหลือ ผู้ทรงวิทยาคมเข้มขลัง ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น เป็นต้น

ทั้งยังกล่าวกันว่า เจ้าอาวาสวัดเขา บันไดอิฐทุกรูป ล้วนมีวิชาอาคมเข้มขลัง และถ่ายทอดกันมาจากรุ่นสู่รุ่น
จนมาถึง พระครูญาณวิลาศ หรือ “หลวงพ่อแดง”ผู้มีญาณสมาธิแก่กล้า มีพุทธาคมสูงส่ง โดยเฉพาะด้านคงกระพันชาตรี

หลวงพ่อแดง รัตโต เกิดที่ ต.บางจาก อ.เมือง จ.เพชรบุรี เมื่อวันพุธที่ 17 กันยายน พ.ศ.2422 โยมบิดา-มารดา ชื่อ นายแป้น-นางนุ่ม อ้นแสง ในวัยเด็กต้องช่วยพ่อแม่ทำไร่ทำนา ไม่มีโอกาสได้ร่ำเรียนหนังสือ จนอายุ 22 ปี จึงได้อุปสมบทที่วัดเขาบันไดอิฐ

โดยมี พระอาจารย์เปลี่ยน เจ้าอาวาส เป็นพระอุปัชฌาย์ ได้รับฉายาว่า “รัตโต” แปลว่า สีแดง ศึกษาร่ำเรียนพระธรรมวินัย วิปัสสนากรรมฐาน และกฤตยาคมต่างๆ จากพระอาจารย์เปลี่ยนจนแตกฉาน จากนั้นได้ขออนุญาตพระอาจารย์ไปฝากตัวเป็นศิษย์ หลวงพ่อฉุย วัดคงคาราม จ.เพชรบุรี เพื่อศึกษาวิทยาการต่างๆ เพิ่มเติม

เมื่อพระอาจารย์เปลี่ยนมรณภาพ ในปี พ.ศ.2461 จึงได้รับตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดสืบต่อ ท่านเป็นพระเกจิผู้มีเมตตาธรรมสูง ไม่ชอบดุด่า ไม่พูดคำหยาบคาย โดยเฉพาะถึงพ่อแม่ ท่านห้ามขาด โดยกล่าวว่า “การด่าถึงบุพการีทำให้ความดีงามเสื่อมถอย ถึงห้อยพระ พระท่านก็ไม่คุ้มครอง”

ยามว่างจากภารกิจที่มีมากมาย ท่านก็จะปฏิบัติธรรม นั่งสมาธิในถ้ำ เพื่อแสวงหาวิมุตติภาวนาทุกวัน ญาณสมาธิจึงแก่กล้าบริสุทธิ์ กล่าวกันว่า ท่านมีหูทิพย์ ตาทิพย์ แต่ไม่เคยอวดอ้างใดๆ

จนเมื่อผู้คนปรากฏประจักษ์ด้วยตัวเองในหลายครั้งหลายครา ไม่ว่าจะเป็นเรื่องโรคระบาด การศึกสงคราม โดยเฉพาะช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ชื่อเสียงของท่านเริ่มโด่งดังขจรไกล ลูกศิษย์ลูกหามากมาย วัตถุมงคลและเครื่องรางต่างๆ ที่ท่านสร้างจึงเป็นที่นิยมแสวงหาอย่างสูงสืบมาถึงปัจจุบัน

ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์สุดท้ายที่ “พระครูญาณวิลาศ” ท่านมรณภาพในปี พ.ศ. 2517 สิริอายุ 96 ปี พรรษา 74 โดยก่อนมรณภาพได้สั่งเสียกับพระปลัดบุญส่ง ธัมมปาโล รองเจ้าอาวาสวัดขณะนั้น

ว่า “เมื่อฉันหมดลมหายใจแล้วอย่าเผา ให้เก็บร่างฉันไว้ที่หอสวดมนต์ และให้เอาเหรียญที่ปลุกเสกรุ่น 1 ใส่ปากไว้พร้อมเงินพดด้วง 1 ก้อน ส่วนนี้ฉันเอาไปได้และให้เอาขมิ้นมาทาตัวฉันให้เหลืองเหมือนทองคำ”
สรีระของท่านจึงได้รับการบรรจุในโลง ณ หอสวดมนต์ วัดเขาบันไดอิฐ จวบจนปัจจุบัน

 #มวลสารรุ่นอุดมทรัพย์ จากหนังสือหน้าที่ 277ค้นหาใบรับรองพระแท้จากสมาคมได้เว๊ปสมาคมพระเครื่องพระบูชาไทย เลขที่ใบเซอร์ GG...
20/12/2024

#มวลสารรุ่นอุดมทรัพย์ จากหนังสือหน้าที่ 277
ค้นหาใบรับรองพระแท้จากสมาคมได้เว๊ปสมาคมพระเครื่องพระบูชาไทย เลขที่ใบเซอร์ GG02-57719

“องค์นี้หากสวยๆราคาเช่าหาผ่านมือที่หลักสิบล้านบาท”

#เหรียญหลวงพ่อกลั่น วัดพระญาติ รุ่นแรก พิมพ์หลังเสี้ยนตอง ปี2469

“หลวงพ่อกลั่น ธัมมโชโต”
หรือ พระอุปัชฌาย์กลั่น
วัดพระญาติการาม ต.ไผ่ลิง อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา พระเกจิชื่อดังในอดีต
เดิมมีชื่อว่า “อู๊ด” แต่บิดาเห็นว่าเป็นเด็กเฉลียวฉลาด
และกล้าหาญ จึงเปลี่ยนให้ใหม่ว่า “กลั่น”
เกิดราว พ.ศ.2390 ปีมะแม ต.อรัญญิก อ.นครหลวง จ.พระนครศรีอยุธยา ครอบครัวฐานะยากจน
พ่อแม่รับจ้างทั่วไป ต้องต่อสู้เพียงลำพังคนเดียว

หลวงพ่อกลั่น ธมฺมโชติ ผู้เป็นพระอาจารย์
ชื่อเสียงโด่งดังที่สุดของเมืองไทย
ในบรรดาพระอาจารย์เจ้าของเหรียญ
คือเป็นพระอาจารย์ที่ปลุกเสก
เหรียญรูปเหมือนของท่านด้วยตัวของท่านเอง
เหรียญของท่านที่เป็นพิมพ์นิยมนั้น
ราคาแพงอันดับหนึ่งในเมืองไทย แพงเป็นล้านบาท
จริงๆว่ากันไปแล้ว หลวงพ่อเงิน บางคลาน จังหวัดพิจิตร
ท่านก็ดังมากแต่เหรียญรูปเหมือนของท่าน
ยังไม่แพงเหมือนหลวงพ่อกลั่น
หรืออย่างหลวงพ่อศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า
ซึ่งประวัติอภินิหารความศักดิ์สิทธิ์ของท่านนั้น
ขลังมากมาย แต่ก็เป็นที่น่าแปลกอย่างมาก
ที่เหรียญของท่านแพงสู้เหรียญของหลวงพ่อกลั่นไม่ได้
ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยานั้น
พระอาจารย์ยุคเก่าๆ หลายท่านมีวิชาความรู้
ในด้านธรรมชั้นสูง ด้านกรรมฐาน ด้านวิชาอาคมขลัง
อย่างยอดเยี่ยมหลายๆท่านด้วยกัน
พระอาจารย์หลายท่านสมัยก่อนฯ
ที่ลงตำราพิชัยสงครามได้ ในจังหวัดต่างๆ
ของเมืองไทยไม่มีที่ไหนบอกเอาไว้เลยว่า
ลงเครื่องพิชัยสงครามได้มีแต่ที่กรุงเก่าเท่านั้น
ยุคของหลวงพ่อกลั่น พระเกจิฯ ที่มีชื่อเสียง
อย่างมากในกรุงเก่ามีด้วยกันหลายรูป
หลวงพ่อปุ้มวัดสำมะกัน อำเภอนครหลวง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
หลวงพ่อรอด วัดสามไถ
หลวงพ่อขัน วัดนกกระจาบ
หลวงพ่อนวม วัดกลาง
หลวงพ่อกรอง วัดเทพขันทร์ลอย
หลวงพ่ออ่ำ วัดวงษ์ฆ้อง ท่านเก่งทางรักษาโรคด้วย
สามารถมองหน้าคนก็รู้ว่าเป็นโรคอะไร
ท่านเก่งทางรักษาโรคขึ้นชื่อที่สุด
นอกจากนี้ยังมีหลวงพ่อแพ วัดโตนด นครหลวง
หลวงพ่อแพ วัดกลางคลอง เสนา ท่านก็เก่ง
สำหรับพระอาจารย์ที่สร้างเหรียญเอาไว้
เป็นเหรียญที่เก่ามากอีกท่านหนึ่งก็คือ
พระอุปัชฌาย์เย ท่านเป็นเจ้าคณะแขวง
คือเจ้าคณะจังหวัดนั่นเองเหรียญท่านสร้าง
พ.ศ. 2467 แต่เหรียญท่านราคาไม่แพง
อุปสมบท
ท่านอุปสมบทเมื่ออายุ 27 ปี ที่วัดโลกยสุทธาศาลาปูน
โดยมีพระญาณไตรโลก (สะอาด) เป็นพระอุปัชฌาย์
พระกุศลธรรมธาดา วัดขุนญวน
กับพระอธิการชื่น วัดพระญาติการาม เป็นพระคู่สวด
ท่านติดตามพระอธิการชื่น มาจำพรรษาที่วัดพระญาติ ร่ำเรียนด้านวิปัสสนากัมมัฏฐาน
เวลาออกพรรษาก็ถือธุดงค์เป็นวัตรไม่ค่อยอยู่ติดวัด
ใกล้เข้าพรรษาก็กลับมาวัดเสียครั้งหนึ่ง
แม้ได้เป็นเจ้าอาวาสแล้ว ก็ยังออกเดินธุดงค์
จนกระทั่งอายุมากขึ้นจึงได้หยุด
วัดพระญาติการาม หรือชื่อเดิมว่า “วัดพบญาติ”
เป็นวัดเก่าแก่คู่เมืองกรุงเก่ามาแต่อดีต
แม้สงครามเสียกรุงจะทำให้วัด
หยุดความเจริญไปพักหนึ่ง แต่ก็กลับมาเจริญอีกในที่สุด
ด้วยบารมีของหลวงพ่อกลั่น
ด้วยรูปลักษณ์หลวงพ่อกลั่นจะเป็นนักเลงโบราณ
หน้าตาค่อนข้างดุ พูดจาตรงๆ แรงๆ
แต่กอปรด้วยความเมตตายิ่ง ท่านชอบเลี้ยงสัตว์
เช่น ลิง นก สุนัข แมว กา ไก่ และชะนี
สัตว์ทุกชนิดจะเชื่องมาก
ลูกศิษย์หลวงพ่อกลั่น ในสมัยนั้นมีทั้งมาเรียนวิทยาคม
เรียนกระบี่กระบองป้องกันตัว หรือเรียนกลองยาว
เล่นในพิธีบวชนาค สงกรานต์ แห่ผ้าป่าและกฐิน
วิชาเหล่านี้ท่านลงมือสอนด้วยตัวเองทั้งสิ้น
ด้านพระเครื่องและวัตถุมงคลที่ท่านปลุกเสกไว้
ล้วนเป็นที่ปรารถนา โดยเฉพาะเหรียญเสมารุ่นแรก
ซึ่งเป็นเหรียญหลักยอดนิยมของวงการพระในปัจจุบัน
บั้นปลายชีวิต
วันที่ 21 ก.ค.2477 มรณภาพด้วยโรคชรา
รวมอายุ 87 ปี พรรษา 60 เล่ากันว่า
ในวันที่จะมรณภาพอีกานับพันตัวมาออกันทั่ววัด
ส่งเสียงตะเบ็งเซ็งแซ่ ครั้นเมื่อหลวงพ่อกลั่นสิ้นลม
อีกาเหล่านั้นเงียบเสียงเป็นปลิดทิ้ง
แล้วโผบินจากไปเป็นกลุ่มๆ ครั้นถึงวันฌาปนกิจ
รุ่งขึ้นมีการทำบุญอัฐิ อีกาก็กลับมาอีกครั้ง
เป็นครั้งสุดท้าย พวกมันบินมาเกาะที่เชิงตะกอน
และลานวัด ก่อนจะบินวนอยู่ 3 รอบและตั้งแต่วันนั้น
ก็ไม่มีใครได้เห็นอีกาที่วัดพระญาติการามอีกเลย

 #มวลสารรุ่นอุดมทรัพย์ จากหนังสือหน้าที่ 273ค้นหาใบรับรองพระแท้จากสมาคมได้เว๊ปสมาคมพระเครื่องพระบูชาไทย เลขที่ใบเซอร์ GH...
20/12/2024

#มวลสารรุ่นอุดมทรัพย์ จากหนังสือหน้าที่ 273
ค้นหาใบรับรองพระแท้จากสมาคมได้เว๊ปสมาคมพระเครื่องพระบูชาไทย เลขที่ใบเซอร์ GH03-D1AFA

“องค์นี้หากสวยๆราคาเช่าหาผ่านมือที่หลักสิบล้านบาท”

#พระซุ้มกอพิมพ์กลาง

“มึงมีกูไว้ไม่จน” วลีอมตะของพระกำแพงซุ้มกอ
พุทธคุณครบครันทั้งเมตตา มหานิยม แคล้วคลาด
โชคลาภ จะเป็นพิมพ์ไหน จะเนื้อดิน เนื้อว่าน
หรือเนื้อชิน พุทธคุณเหมือนกันหมด

 #มวลสารรุ่นอุดมทรัพย์ จากหนังสือหน้าที่ 253ค้นหาใบรับรองพระแท้จากสมาคมได้เว๊ปสมาคมพระเครื่องพระบูชาไทย เลขที่ใบเซอร์ GH...
20/12/2024

#มวลสารรุ่นอุดมทรัพย์ จากหนังสือหน้าที่ 253
ค้นหาใบรับรองพระแท้จากสมาคมได้เว๊ปสมาคมพระเครื่องพระบูชาไทย เลขที่ใบเซอร์ GH03-4F523

“องค์นี้หากสวยๆราคาเช่าหาผ่านมือที่หลักสิบล้านบาท”

#พระซุ้มกอพิมพ์กลาง

“มึงมีกูไว้ไม่จน” วลีอมตะของพระกำแพงซุ้มกอ
พุทธคุณครบครันทั้งเมตตา มหานิยม แคล้วคลาด
โชคลาภ จะเป็นพิมพ์ไหน จะเนื้อดิน เนื้อว่าน
หรือเนื้อชิน พุทธคุณเหมือนกันหมด

“พระกำแพงซุ้มกอ” จัดอยู่ในชุดเบญจภาคี
ของพระเครื่องเมืองไทย ทำจากเนื้อดินผสมว่านและเกสรดอกไม้เนื้อพระซุ้มกอมีลักษณะนุ่มมัน นอกจากเนื้อดิน
ยังพบเนื้อชินและเนื้อว่านล้วน ๆ ก็มีแต่น้อยมาก
ขุดค้นพบบริเวณวัดบรมธาตุ วัดพิกุล วัดฤๅษี
และบริเวณลานทุ่งเศรษฐี

พุทธลักษณะพระกำแพงซุ้มกอเป็นการผสานระหว่าง
ศิลปะสุโขทัยกับศิลปะลังกา ทั้งมีลายกนกและไม่มีลายกนก นั่งสมาธิมีลายกนกอยู่ด้านข้างขององค์พระ นั่งประทับบนบัวเล็บช้าง ขอบพิมพ์พระโค้งมนลักษณะคล้ายตัว ก.ไก่ คนเก่า ๆ จึงเรียกว่า "พระซุ้มกอ" ที่ขุดพบมีด้วยกัน 5 พิมพ์ ได้แก่
พิมพ์ใหญ่ พิมพ์กลาง พิมพ์เล็ก พิมพ์เล็กพัดโบก
และพิมพ์ขนมเปี๊ยะ พระกำแพงซุ้มกอ
จึงเป็นพระอมตพระกรุอันทรงคุณค่า
ที่ควรค่าแก่การแสวงหา
นำมาเพื่อเป็นสิริมงคล

 #มวลสารรุ่นอุดมทรัพย์ จากหนังสือหน้าที่ 270ค้นหาใบรับรองพระแท้จากสมาคมได้จากเว๊ปสมาคมพระเครื่องพระบูชาไทย เลขที่ใบเซอร์...
19/12/2024

#มวลสารรุ่นอุดมทรัพย์ จากหนังสือหน้าที่ 270
ค้นหาใบรับรองพระแท้จากสมาคมได้จากเว๊ปสมาคมพระเครื่องพระบูชาไทย เลขที่ใบเซอร์ GH02-44933

“องค์นี้หากสวยๆราคาเช่าหาผ่านมือที่หลักล้านบาท”

#พระผงสุพรรณ พิมพ์หน้าแก่ วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ พระพิมพ์ยอดนิยมของเมืองสุพรรณบุรี

พระผงสุพรรณ พิมพ์หน้าแก่ วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ สุพรรณบุรี พระพิมพ์ยอดนิยมหมายเลข ๑ ของเมืองสุพรรณบุรี พุทธศิลป์แห่งยุคอู่ทอง ที่ได้รับคัดเลือกเป็น ๑ ใน ๕ พระของแผ่นดิน ชุดเบญจภาคี

พระผงสุพรรณเชื่อว่ามีพุทธคุณเป็นเลิศ ทั้งด้านโภคทรัพย์ แคล้วคลาด มหาอุด และอยู่ยงคงกระพัน เหตุการณ์ที่ทำให้ราคาพระผงสุพรรณดีดตัวขึ้นสูงทันที คือการลอบยิง เสถียร เสถียรสุต เซียนพระและเจ้าของค่ายมวยดัง แต่เขารอดจากคมกระสุนมาอย่างน่าอัศจรรย์

 #มวลสารรุ่นอุดมทรัพย์ จากหนังสือหน้าที่ 266ค้นหาใบรับรองพระแท้จากสมาคมได้เว๊ปสมาคมพระเครื่องพระบูชาไทย เลขที่ใบเซอร์ GH...
19/12/2024

#มวลสารรุ่นอุดมทรัพย์ จากหนังสือหน้าที่ 266
ค้นหาใบรับรองพระแท้จากสมาคมได้เว๊ปสมาคมพระเครื่องพระบูชาไทย เลขที่ใบเซอร์ GH03-FE4CO

“องค์นี้หากสวยๆราคาเช่าหาผ่านมือที่หลักล้านบาท”

#พระสมเด็จวัดเกศไชโย พิมพ์ 7 ชั้นนิยม

การแตกกรุของพระสมเด็จวัดเกศไชโย
เกิดขึ้นเมื่อปีพ.ศ.2430
เมื่อพระบามสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ได้มีพระบรมราชโองการ
ให้เจ้าพระยารัตนบดินทร (บุญรอด กัลยาณมิตร)
เป็นแม่งานในการบูรณะวัดไชโยใหม่

จนกระทั่งพระสมเด็จวัดเกศไชโย
พิมพ์ใหญ่นิยม 7 ชั้นพิมพ์เอ
และพิมพ์หกชั้นอกตลอด
ได้ถูกค้นพบคราวเปิดกรุพระสมเด็จวัดบางขุนพรหม เมื่อคราวเปิดกรุอย่างเป็นทางการในปีพ.ศ.2500
ซึ่งเป็นหลักฐานสำคัญเชื่อมโยงว่า
สมเด็จพระพุฒาจารย์(โต)
เป็นผู้สร้างสมเด็จวัดเกศไชโยนั่นเอง

พระสมเด็จเกศไชโย องค์นี้มีหลักฐานยืนยันว่า
เปี่ยมด้วยอานุภาพศักดิ์สิทธิ์

ด้านอานุภาพพุทธคุณ ก็มีทั้งเมตตา
มหานิยม มหาโชค มหาลาภ
คุ้มครองป้องกันให้แคล้วคลาดภัย
เหมือน “พระสมเด็จ” ร่วมตระกูล
แถม คงกระพันชาตรี ที่มีประสบการณ์มากมาย
ให้เลื่องลือจากอดีตถึงปัจจุบัน
ซึ่งมีผู้ยอมรับแสวงหากันมาก

ได้รับการยอมรับว่าสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต)
ท่านได้สร้างพระรุ่นนี้จริง นับตั้งแต่นั้นมา
พระสมเด็จวัดเกศไชโย
เริ่มเป็นที่เสาะหาและราคาก็พุ่งสูงขึ้นตามลำดับ

เรียน ลูกค้าทุกท่านขอแจ้งหมายเลขพัสดุในการจัดส่ง สำหรับท่านที่สั่งจองหนังสืออุดมทรัพย์พระอาจารย์ต้อมวัดท่าสะแบง ทางร้านฯ...
19/12/2024

เรียน ลูกค้าทุกท่าน
ขอแจ้งหมายเลขพัสดุในการจัดส่ง สำหรับท่านที่สั่งจองหนังสืออุดมทรัพย์พระอาจารย์ต้อมวัดท่าสะแบง ทางร้านฯ ดำเนินการจัดส่งให้เรียบร้อยแล้ว สามารถตรวจสอบหมายเลขพัสดุได้เลยค่ะ
ขอบคุณค่ะ 🙏
***กรุณาถ่ายวีดีโอขณะแกะกล่องพัสดุแบบไม่ตัดต่อ เพื่อใช้เคลมสินค้าหากสินค้าได้รับความเสียหาย หากไม่มีหลักฐาน ของดรับเคลมสินค้าทุกกรณีค่ะ***

 #มวลสารรุ่นอุดมทรัพย์ จากหนังสือหน้าที่ 265ค้นหาใบรับรองพระแท้จากสมาคมได้เว๊ปสมาคมพระเครื่องพระบูชาไทย เลขที่ใบเซอร์ GH...
19/12/2024

#มวลสารรุ่นอุดมทรัพย์ จากหนังสือหน้าที่ 265
ค้นหาใบรับรองพระแท้จากสมาคมได้เว๊ปสมาคมพระเครื่องพระบูชาไทย เลขที่ใบเซอร์ GH01-BC15A

“องค์นี้หากสวยๆราคาเช่าหาผ่านมือที่หลักล้านบาท”

#พระสมเด็จวัดเกศไชโย พิมพ์ 7 ชั้นนิยม

การแตกกรุของพระสมเด็จวัดเกศไชโย
เกิดขึ้นเมื่อปีพ.ศ.2430
เมื่อพระบามสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ได้มีพระบรมราชโองการ
ให้เจ้าพระยารัตนบดินทร (บุญรอด กัลยาณมิตร)
เป็นแม่งานในการบูรณะวัดไชโยใหม่

จนกระทั่งพระสมเด็จวัดเกศไชโย
พิมพ์ใหญ่นิยม 7 ชั้นพิมพ์เอ
และพิมพ์หกชั้นอกตลอด
ได้ถูกค้นพบคราวเปิดกรุพระสมเด็จวัดบางขุนพรหม เมื่อคราวเปิดกรุอย่างเป็นทางการในปีพ.ศ.2500
ซึ่งเป็นหลักฐานสำคัญเชื่อมโยงว่า
สมเด็จพระพุฒาจารย์(โต)
เป็นผู้สร้างสมเด็จวัดเกศไชโยนั่นเอง

พระสมเด็จเกศไชโย องค์นี้มีหลักฐานยืนยันว่า
เปี่ยมด้วยอานุภาพศักดิ์สิทธิ์

ด้านอานุภาพพุทธคุณ ก็มีทั้งเมตตา
มหานิยม มหาโชค มหาลาภ
คุ้มครองป้องกันให้แคล้วคลาดภัย
เหมือน “พระสมเด็จ” ร่วมตระกูล
แถม คงกระพันชาตรี ที่มีประสบการณ์มากมาย
ให้เลื่องลือจากอดีตถึงปัจจุบัน
ซึ่งมีผู้ยอมรับแสวงหากันมาก

ได้รับการยอมรับว่าสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต)
ท่านได้สร้างพระรุ่นนี้จริง นับตั้งแต่นั้นมา
พระสมเด็จวัดเกศไชโย
เริ่มเป็นที่เสาะหาและราคาก็พุ่งสูงขึ้นตามลำดับ

ที่อยู่

ถนนงามวงศ์วาน
Nonthaburi
11000

เบอร์โทรศัพท์

+66636253241

เว็บไซต์

http://www.taradpra.com/NaMoPuTaYa

แจ้งเตือน

รับทราบข่าวสารและโปรโมชั่นของ ร้านพระเครื่องมาดามเดียร์ผ่านทางอีเมล์ของคุณ เราจะเก็บข้อมูลของคุณเป็นความลับ คุณสามารถกดยกเลิกการติดตามได้ตลอดเวลา

ติดต่อ ธุรกิจของเรา

ส่งข้อความของคุณถึง ร้านพระเครื่องมาดามเดียร์:

วิดีโอทั้งหมด

แชร์