สุขใจในธรรม

สุขใจในธรรม เพจเผยแผ่ธรรมะ เพื่อบรรเทาทุกข์แด่

(บูชาพระธรรมตามคำตถาคต ย่อมได้ประโยชน์กว่าบูชาสิ่งอื่นใด บูชาสิ่งผิดก็พาสู่นรกได้) นรกน่ากลัวอย่างไร?ภิกษุทั้งหลาย ! พวก...
02/04/2024

(บูชาพระธรรมตามคำตถาคต ย่อมได้ประโยชน์กว่าบูชาสิ่งอื่น
ใด บูชาสิ่งผิดก็พาสู่นรกได้) นรกน่ากลัวอย่างไร?

ภิกษุทั้งหลาย ! พวกเธอจะสำคัญความข้อนั้น
เป็นอย่างไรเล่า ? บุรุษนั้น ถูกแทงด้วยหอกสามร้อยเล่ม
พึงเสวยทุกขโทมนัสเพราะการที่ถูกแทงนั้นเป็นเหตุบ้าง
หรือหนอ ?
ข้าแต่พระองคผู้เจริญ ! บุรุษนั้นถูกแทงด้วยหอกแม้เล่มเดียว
ก็เสวยทุกขโทมนัสเพราะเหตุที่ถูกแทงนั้นได ้ ป่วยการกล่าวถึงหอก
ตั้งสามร้อยเล่ม.
ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคทรงหยิบแผ่นหินย่อมๆ
ขนาดเท่าฝ่ามือ แล้วตรัสถามภิกษุทั้งหลายว่า..
ภิกษุทั้งหลาย ! พวกเธอจะสำคัญความข้อนั้น
เป็นอย่างไรเล่า? แผ่นหินย่อมๆ ขนาดเท่าฝ่ามือที่เราถือนี้
กับภูเขาหลวงหิมพานต์อย่างไหนหนอแลใหญ่กว่ากัน ?
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! แผ่นหินย่อมๆ ขนาดเท่าฝ่ามือ
ที่ทรงถือนี้ มีประมาณน้อยนัก เปรียบเทียบภูเขาหลวงหิมพานต์แล้ว
ย่อมไม่ถึงแม้ความนับ ย่อมไม่ถึงแม้ส่วนแห่งเสี้ยว ย่อมไม่ถึง
แม้การเทียบกันได้.
ภิกษุทั้งหลาย ! ฉันนั้นเหมือนกันแล ทุกขโทมนัส
ที่บุรุษกำลังเสวยเพราะการถูกแทงด้วยหอกสามร้อยเล่ม
เป็นเหตุ เปรียบเทียบทุกข์ของนรกยังไม่ถึงแม้ความนับ
ยังไม่ถึงแม้ส่วนแห่งเสี้ยว ยังไม่ถึงแม้การเทียบกันได้.
- อุปริ. ม. ๑๔/๓๑๑-๓๑๕/๔๖๘-๔๗๔.

ผู้ใดเห็นธรรม, ผู้นั้นเห็นเราตถาคต    อย่าเลย วักกลิ !  ประโยชน์อะไร ด้วยการเห็นกายเน่านี้.   ดูก่อนวักกลิ !  ผู้ใดเห็นธ...
12/05/2022

ผู้ใดเห็นธรรม, ผู้นั้นเห็นเราตถาคต

อย่าเลย วักกลิ ! ประโยชน์อะไร ด้วยการเห็นกายเน่านี้. ดูก่อนวักกลิ ! ผู้ใดเห็นธรรม, ผู้นั้นเห็นเรา; ผู้ใดเห็นเรา, ผู้นั้นเห็นธรรม. ดูก่อนวักกลิ ! เพราะว่าเมื่อเห็นธรรมอยู่ ก็คือเห็นเรา; เมื่อเห็นเราอยู่ ก็คือเห็นธรรม...…๒
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! แม้ภิกษุจับชายสังฆาฏิ เดินตามรอยเท้าเราไปข้างหลังๆ, แต่ถ้าเธอนั้นมากไปด้วยอภิชฌา มีกามราคะกล้า มีจิตพยาบาท มีความดำริแห่งใจเป็นไปในทางประทุษร้าย มีสติหลงลืม ไม่มีสัมปชัญญะ มีจิตไม่เป็นสมาธิ แกว่งไปแกว่งมา ไม่สำรวมอินทรีย์ แล้วไซร้; ภิกษุนั้น ชื่อว่าอยู่ไกลจากเรา แม้เราก็อยู่ไกลจากภิกษุนั้น โดยแท้. เพราะเหตุไรเล่า ? ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! เพราะว่าภิกษุนั้น ไม่เห็นธรรม : เมื่อไม่เห็นธรรมก็ชื่อว่าไม่เห็นเรา (ธมฺมํ หิ โส ภิกฺขเว ภิกฺขุ น ปสฺสติ : ธมฺมํ อปสฺสนฺโต มํ น ปสฺสติ)... [แล้วได้ตรัสไว้ โดยนัยตรงกันข้ามจากภิกษุนี้คือตรัสเป็นปฏิปักขนัย โดยนัยว่า แม้จะอยู่ห่างกันร้อยโยชน์ ถ้ามีธรรม เห็นธรรม ก็ชื่อว่า เห็นพระองค์ (ธมฺมํ หิ โส ภิกฺขเว ภิกฺขุ ปสฺสติ: ธมฺมํ ปสฺสนฺโต มํ ปสฺสติ)].๓

“ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! เราจักแสดง ปฏิจจสมุปบาท แก่พวกเธอทั้งหลาย, พวกเธอทั้งหลายจงฟัง ปฏิจจสมุปบาทนั้น, จงทำในใจให้สำเร็จประโยชน์, เราจักกล่าวบัดนี้”.
ครั้นภิกษุทั้งหลายเหล่านั้น ทูลสนองรับพระพุทธดำรัสแล้ว, พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ตรัสถ้อยคำเหล่านี้ว่า :-
“ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! อะไรเล่า ที่เรียกว่า ปฏิจจสมุปบาท ? ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! :
เพราะมีอวิชชา เป็นปัจจัย จึงมี สังขารทั้งหลาย;
เพราะมีสังขาร เป็นปัจจัย จึงมี วิญญาณ;
เพราะมีวิญญาณ เป็นปัจจัย จึงมี นามรูป;
เพราะมีนามรูป เป็นปัจจัย จึงมี สฬายตนะ;
เพราะมีสฬายตนะ เป็นปัจจัย จึงมี ผัสสะ;
เพราะมีผัสสะ เป็นปัจจัย จึงมี เวทนา;
เพราะมีเวทนา เป็นปัจจัย จึงมี ตัณหา;
เพราะมีตัณหา เป็นปัจจัย จึงมี อุปาทาน;
เพราะมีอุปาทาน เป็นปัจจัย จึงมี ภพ;
เพราะมีภพ เป็นปัจจัย จึงมี ชาติ;

เพราะมีชาติ เป็นปัจจัย, ชรามรณะ โสกะปริเวทะทุกขะโทมนัสอุปายาสทั้งหลาย จึงเกิดขึ้นครบถ้วน : ความเกิดขึ้นพร้อมแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! นี้เรียกว่า ปฏิจจสมุปบาท.
เพราะความจางคลายดับไปโดยไม่เหลือ แห่งอวิชชานั้นนั่นเทียว, จึงมีความดับแห่งสังขาร;
เพราะมีความดับ แห่งสังขาร จึงมีความดับ แห่งวิญญาณ;
เพราะมีความดับ แห่งวิญญาณ จึงมีความดับ แห่งนามรูป;
เพราะมีความดับ แห่งนามรูป จึงมีความดับ แห่งสฬายตนะ;
เพราะมีความดับ แห่งสฬายตนะ จึงมีความดับ แห่งผัสสะ;
เพราะมีความดับ แห่งผัสสะ จึงมีความดับ แห่งเวทนา;
เพราะมีความดับ แห่งเวทนา จึงมีความดับ แห่งตัณหา;
เพราะมีความดับ แห่งตัณหา จึงมีความดับ แห่งอุปาทาน;
เพราะมีความดับ แห่งอุปาทาน จึงมีความดับ แห่งภพ;
เพราะมีความดับ แห่งภพ จึงมีความดับ แห่งชาติ;
เพราะมีความดับ แห่งชาตินั่นแล ชรามรณะโสกะปริเทวะทุกขะโทมนัสอุปายาสทั้งหลาย จึงดับสิ้น : ความดับลงแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมี ด้วยอาการอย่างนี้”, ดังนี้.

________________________________
๑.มหาหัตถิปโทปมสูตร มู.ม.๑๒/๓๕๙, ๓๖๐/๓๔๖.
๒.วักกลิสูตร เถรวรรค มัชฌิมปัณณาสก์ ขนฺธ. สํ.๑๗/๑๔๖-๗/๒๑๖, ตรัสแก่พระวักกลิ ที่กุมภการนิเวสน์.

ที่อยู่

ราชดำเนิน
Nakhon Si Thammarat
80000

เว็บไซต์

แจ้งเตือน

รับทราบข่าวสารและโปรโมชั่นของ สุขใจในธรรมผ่านทางอีเมล์ของคุณ เราจะเก็บข้อมูลของคุณเป็นความลับ คุณสามารถกดยกเลิกการติดตามได้ตลอดเวลา

แชร์

ประเภท


สื่อ อื่นๆใน Nakhon Si Thammarat

แสดงผลทั้งหมด