งานทรัพยากรบุคคล คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

งานทรัพยากรบุคคล คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ประชาสัมพันธ์ข่าว จากงานทรัพยากรบุคคล คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล (EGHR)

14/11/2024
04/11/2024

🎉 ขอแสดงความยินดี กับ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วนิดา คูอมรพัฒนะ
หัวหน้าภาควิชาวิศวกรรมเคมี
ในโอกาสได้รับการรับรองมาตรฐานคุณภาพอาจารย์ตามกรอบมาตรฐานวิชาชีพของสหราชอาณาจักร (The Professional Standards Framework; PSF 2023)

24/10/2024

ตื่นตอนไหน ก็ได้งาน
รวม 7 เทคนิคการบริหารเวลา
เคยสงสัยไหมว่าทำไมบางคนถึงมักจะพูดเสมอว่า “ไม่มีเวลา” ทั้งที่จริงแล้วพวกเขาอาจจะไม่รู้จักวิธีที่จะบริหารเวลาก็ได้ ซึ่งในบริบทนี้ เราไม่ได้พูดถึงกลุ่มคนทำงานตัวเล็ก ๆ ที่ต้องทำงานหามรุ่งหามค่ำเพื่อดูแลครอบครัว แต่เรากำลังหมายถึงกลุ่มผู้บริหารที่เป็นผู้นำองค์กร หากใครมองว่าพวกเขาทำงานจนไม่มีเวลาพัก นั่นมันก็สะท้อนถึงปัญหาในการจัดการเวลา มากกว่าจะเป็นการไม่มีเวลาจริง ๆ
ซึ่ง Victoria Repa CEO และ ผู้ก่อตั้งของ BetterMe ให้ความเห็นว่าองค์กรประกอบหนึ่งในสำคัญของการเป็นผู้นำที่ประสบความสำเร็จไม่ฝช่แค่การบริหารคนให้เป็น แต่เป็นการบริหารเวลาที่สามารถทำผลงานให้ออกมาอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุดได้
ถ้าคุณลองมองผู้นำองค์กรระดับโลก คุณจะเห็นได้ว่าใน 1 วันของการทำงาน เขาสามารถสร้างสรรค์ผลงานออกมาได้มากมาย นั่นไม่ใช่เพราะพวกเขาทุ่มเวลาไปการทำงานทั้งหมด แต่เป็นเพราะพวกเขาจัดสรรเวลาให้ทุกอย่างไม่กดดันและมีความยืดหยุ่นมากพอที่จะสามารถสร้างงานที่มีคุณภาพได้ต่างหาก
ต่อไปนี้คือเทคนิคการบริหารเวลาสำหรับผู้นำ หรือแม้แต่คนทำงานที่นำมาปรับใช้ได้ เพื่อให้งานทุกอย่างออกมามีประสิทธิภาพ ในระยะเวลาที่กำหนด และไม่กดดันตัวเองจนเกินไป เพราะสิ่งสำคัญของการทำงานคือสุขภาพที่ดี ไม่ใช่แค่งานที่ดีเพียงอย่างเดียว
เขียนและเรียบเรียงโดย 100WEALTH
(Reference in comment)
———
“ทำเงินได้ ทุกช่วงเวลา”
100WEALTH l ไปให้ถึง100ล้าน


#ไปให้ถึง100ล้าน

24/10/2024

👉 เชิญชวนร่วมสร้างนวัตกรรมในพื้นที่สำหรับนักศึกษาและนักวิจัย ณ “Innogineer Studio” คณะวิศวกรรมศาสตร์ ม.มหิดล
🔸🔹🔸🔹🔸🔹🔸🔹🔸🔹🔸
ขอเชิญชวนนักศึกษา อาจารย์ และบุคลากร เข้าใช้ ”Innogineer Studio“ โดยสามารถ Walk-in เพื่อเข้าใช้งานได้เลยค่ะ

📍Innogineer Studio Services📍
🔹Co-Working Space สำหรับการนั่งทำงาน ประชุมงาน เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็น
🔹Innovative Maker Spaces บริการอุปกรณ์และเครื่องมือสำหรับการสร้างต้นแบบนวัตกรรม
🔹Inspiring Events and Workshops กิจกรรมอบรม เพื่อพัฒนาความรู้ในด้านต่าง ๆ
🔹Networking Opportunities ช่วยสร้างเครือข่ายงานวิจัย บริการวิชาการ ร่วมกับหน่วยงานภาครัฐและเอกชน

📍 ชั้น 1 อาคาร 3 คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล (ตึกแดง)
📍เปิดให้บริการวันจันทร์-วันศุกร์📍
🗓️วันจันทร์ พุธ พฤหัสบดี และศุกร์ เปิดให้บริการเวลา 9.00 – 16.30 น.
🗓️วันอังคาร เปิดให้บริการเวลา 9.00 – 20.00 น.

❗️สามารถ Walk-in เพื่อเข้าใช้งานได้เลย หรือสแกน QR Code เพื่อลงทะเบียนเข้าใช้ห้องล่วงหน้า ❗️
______________________
หมายเหตุ
▪️ขอสงวนสิทธิ์ในการงดการใช้บริการหากมีงานหรือกิจกรรมภายในสถานที่
▪️ต้องได้รับอนุญาตก่อนใช้เครื่องมือ และมีผู้ดูแล

ติดต่อสอบถาม
💌 Email : [email protected]
📞 02-8892138 ต่อ 6163

15/10/2024

"ทุกงานดูเหมือนด่วนและสำคัญ! จะจัดลำดับยังไงดี? 🏃‍♀️🔥"

เคยเป็นไหม? งานทุกอย่างที่ทำอยู่เหมือนต้องทำทันทีและทุกอย่างก็สำคัญไปหมด 🤯 แต่เราจะจัดลำดับความสำคัญยังไงดีเมื่อทุกอย่างดูเหมือนเร่งด่วนและจำเป็นต้องทำเดี๋ยวนี้เลย!?
..แต่ว่าก็มีเราตอนนี้อยู่คนเดียวด้วยเนี่ยสิ 😖...

นี่คือเคล็ดลับที่จะช่วยแยกแยะ "งานสำคัญ" และ "งานด่วน" ให้ชัดเจนขึ้น

อย่าลืมว่า ไม่ใช่งานทุกงานที่ต้องทำเดี๋ยวนี้ การรู้จักจัดลำดับความสำคัญจะช่วยให้คุณทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นและไม่เครียดจนเกินไป 💪

11/10/2024

"วัฒนธรรมองค์กร" เป็นทั้งเชื้อเพลิงที่ช่วยเติมพลังหรือเผาไหม้ขวัญและกำลังใจของคนในองค์กรได้ ไม่ว่าคุณจะทำงานอยู่ในองค์กรขนาดเล็กหรือองค์กรขนาดใหญ่ วัฒนธรรมองค์กรในสถานที่นั่นๆ ย่อมส่งผลต่อความมีพลังหรือหมดพลังของคนทำงาน

บทความนี้ A Cup of Culture จะชวนสำรวจ “9 ตัวดูดพลังงานชีวิตของคนทำงาน” และปัจจัยส่งเสริมที่ช่วย “เพิ่มพลังงานของคนในองค์กร” ดังนี้⁣
⁣....................................⁣

🟥 9 ตัวดูดพลังชีวิตคนทำงาน⁣

1) บริหารแบบจุจี้จุกจิก (Micromanagement)⁣
: เมื่อผู้นำจู้จี้จุกจิกพวกเขาจะลิดรอนความเป็นอิสระที่พนักงานต้องการเพื่อให้รู้สึกมีอำนาจในบทบาทของตน การควบคุมนี้จะขัดขวางความคิดสร้างสรรค์และก่อให้เกิดความขุ่นเคือง⁣

2) ขาดการสื่อสาร (Lack of Communication)⁣
: การขาดการสื่อสารที่ชัดเจนและเปิดกว้างทำให้เกิดความเข้าใจผิด ทำให้หลายสิ่งหลายอย่างถูกซุกซ่อนไว้ใต้พรม ประเด็นที่อาจเป็นปัญหาก็ไม่ได้รับการแก้ไข ⁣

3) เป้าหมายไม่ชัดเจน (Unclear Goals)⁣
: หากขาดวัตถุประสงค์ที่ชัดเจนและสอดคล้องกัน ทีมจะรู้สึกสูญเสียพลังงานและสับสน ทำให้การส่งมอบผลงานทำได้ยากขึ้น การขาดทิศทางยังเพิ่มความเครียดและความสับสนอีกด้วย⁣

4) การเมืองในที่ทำงาน (Office Politics)⁣
: วัฒนธรรมองค์กรที่มีรากฐานมาจากการตำหนิและการเมืองในที่ทำงาน ก่อให้เกิดความไม่ไว้วางใจและทำให้พนักงานรู้สึกว่าไม่ได้รับการสนับสนุน⁣

5) ขาดการยอมรับ (Lack of Recognition)⁣
: เมื่อพนักงานไม่ได้รับการยอมรับในผลงานของพวกเขา และการตัดสินใจเกิดขึ้นแบบลับๆ ทำให้ขวัญกำลังใจของพนักงานลดลงอย่างรวดเร็ว⁣

6) การประชุมที่มากเกินไป (Excessive Meetings)⁣
: การประชุมที่ขาดจุดมุ่งหมายหรือขาดการกำหนดผลลัพธ์ที่ชัดเจน เป็นการเสียเวลาและเสียพลังงานเป็นอย่างมาก เมื่อพนักงานถูกดึงเข้าไปในการประชุมที่ไม่เกิดประสิทธิผลอยู่ตลอดเวลา พวกเขาก็จะมีเวลาน้อยลงในการโฟกัสงานที่มีความหมายหรือทำให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด⁣

7) ขาดความโปร่งใส (Lack of Transparency)⁣
: เมื่อผู้นำตัดสินใจโดยไม่อธิบายเหตุผลหรือสื่อสารให้พนักงานรับทราบ จะทำให้เกิดสภาพแวดล้อมที่ไม่ไว้วางใจ ความลับนี้มักทำให้พนักงานรู้สึกแปลกแยกและสับสน ซึ่งส่งผลต่อขวัญกำลังใจ⁣

อ่านฉบับเต็มต่อได้ที่ ➾⁣ brightsidepeople.com/ตัวดูดพลังชีวิตคนทำงาน/



A Cup of Culture⁣
────⁣
#วัฒนธรรมองค์กร⁣



==================⁣
ติดต่อสอบถามและพูดคุยกับที่ปรึกษาในการสร้างวัฒนธรรมองค์กร⁣
📞: 0939322445 📧: [email protected]
(คุณเจตน์ Business Development Manager)

08/10/2024

🎉 ขอต้อนรับบุคลากรใหม่คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล 🎉
อาจารย์ ดร.ศิวพล เจริญฉาย (โม)
อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า
______

🎉 Welcome our new staff to the Faculty of Engineering, Mahidol University 🎉
Dr. Siwapon Charoenchai (Mo)
Lecturer in the Department of Electrical Engineering.

07/10/2024

วัฒนธรรมองค์กรที่ดี เป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อความสำเร็จและการพัฒนาทั้งขององค์กรและพนักงาน วัฒนธรรมองค์กรที่ดีจะสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการทำงานอย่างมีความสุข มีประสิทธิภาพ และเสริมสร้างความร่วมมือระหว่างสมาชิกในองค์กร ซึ่งวัฒนธรรมที่ดีมักมีองค์ประกอบสำคัญดังต่อไปนี้

07/10/2024

🎉 คณะวิศวกรรมศาสตร์ ขอแสดงความยินดีกับ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. โษฑศ์รัตต ธรรมบุษดี
เนื่องในโอกาสได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง
ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลขององค์กร
คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

คลิกอ่านเพิ่มเติม https://www.eg.mahidol.ac.th/egmu/about/administration.html

01/10/2024

🎉 วิศวะฯ มหิดล ได้รับผลการประเมิน ITA ที่ระดับคะแนน 88.13 (ระดับผ่าน)

มาร่วมสร้างวิศวะมหิดล สู่หน่วยงานของมหาวิทยาลัยแห่งความโปร่งใสและธรรมาภิบาล ไปด้วยกัน

อ่านต่อที่ https://www.eg.mahidol.ac.th/egmu/all-news/3877-mahidol-engineering-received-ita-evaluation-results-at-a-score-of-88-13-passing-level.html

-----------------
👩🏻‍💻 ทำความรู้จัก วิศวะมหิดล เพิ่มเติมได้ที่
Website: www.eg.mahidol.ac.th
Twitter: https://twitter.com/mahidoleg
Instagram: https://instagram.com/mahidol_engineering
TikTok: https://www.tiktok.com/
Threads: https://www.threads.net/
YouTube: https://youtube.com/
#วิศวะมหิดล

30/09/2024

จัดการชีวิตที่ยุ่งเหยิง
ด้วยการบริหาร “เวลา” ที่ดี
คนเรามี 24 ชั่วโมงเท่ากัน แต่ต่างกันที่การบริหารจัดการเวลา ใครใช้เวลาได้คุ้มกว่า คนนั้นมีโอกาสมากกว่า ทำให้ทุกนาทีมีค่ามากกว่าเดิมแล้วผลลัพธ์ที่ตามมาในชีวิตจะ “ดีกว่าเดิม”
การจัดการเวลาที่ดี ไม่ได้ช่วยแค่ให้เรามีเวลาไปทำอย่างอื่นมากกว่าที่ทำในชีวิตประจำวัน แต่ยังเป็นสิ่งสำคัญที่เรามักหลงลืมว่า...นี่แหละต้นทางของความสำเร็จในชีวิต
รวมแอปจัดการเวลาที่ควรมีติดเครื่อง ใช้ได้ทั้งนักเรียน นักศึกษาและคนทำงาน
1.Asana : เป็นแอปจัดการโปรเจกต์และงานต่าง ๆ แบ่งประเภทงานและบุคคล ช่วยให้ง่ายต่อการทำงานเป็นทีม ดีต่อการบริหารเวลาในแง่การจัดการความวุ่นวายที่จะเกิด ไม่เสียเวลาไล่เรียงงาน
2.Trello : คล้าย ๆ Asana สร้างบอร์ดการทำงาน เพิ่มการ์ดสะดวก ติดตามงานของแต่ละคนง่าย
3.Google Calendar : แพลนตารางชีวิต กำหนดเวลาสำหรับวันและกิจกรรมต่าง ๆ ที่จะเกิด แจ้งเตือนกันลืม
4.Slack : ใช้คุยงาน ส่งรูปส่งไฟล์ได้หมดหรือโทรคุยผ่านแอปได้ เป็นสื่อกลางในการทำงาน ไม่ต้องเสียเวลาสลับแอปไปมา
5.Tasks : จัดลำดับความสำคัญงาน กำหนดDeadline จัดการการทำงานได้ทั้งแบบ Board และ Checklist
6.Filpd : จับเวลาในการทำกิจกรรมต่าง ๆ ทำให้มีสมาธิกับสิ่งที่ทำมากขึ้น
7.ตารางเวลา : ใช้บันทึกเพื่อเตือนความจำในกิจกรรมหรือวิชาเรียน ใช้ง่าย หน้าตาในแอปสวยงาม เป็นที่นิยมในหมู่นักเรียน นักศึกษา
8.CalenderCute : เป็นแอปที่เหมาะกับการวางแผนเวลา มีทั้งปฏิทิน , To do list และ Diary ให้จด
9.TimeBlocks : สายขี้ลืมต้องชอบ ออกแบบแอปมาน่ารัก สามารถตั้ง Widget ที่หน้าจอ IOS ได้ด้วย
จัดเวลาใหม่ เพื่อชีวิตที่ง่ายและเป็นระบบมากขึ้น ย่นระยะเวลางานให้น้อยลง เพิ่มเวลาชีวิตส่วนอื่นให้มากขึ้น
สำหรับใครที่มีแอปดี ๆ อยากมาแชร์ สามารถคอมเมนต์พูดคุยกันได้ใต้โพสต์เลย
เขียนและเรียบเรียงโดย 100WEALTH
--
“ทำเงินได้ ทุกช่วงเวลา”
100WEALTH l ไปให้ถึง100ล้าน


#ไปให้ถึง100ล้าน

มาแล้วคลิปเรียนย้อนหลัง AI Power Up ยกระดับประสิทธิภาพการทำงานยุคดิจิทัล 🤖💪🏻⭐️ Click 📌 https://kmmasterclass.mahidol.ac....
30/09/2024

มาแล้วคลิปเรียนย้อนหลัง AI Power Up ยกระดับประสิทธิภาพการทำงานยุคดิจิทัล 🤖💪🏻⭐️
Click 📌 https://kmmasterclass.mahidol.ac.th/posts/1040 📌
บุคลาการ EGMU พัฒนา Skill ด้าน AI ไปด้วยกันนะคะ 🥰❤

Digital KM Masterclass is a learning space from the knowledge of Mahidol University’s personnel by gathering knowledge from all sectors and integrating it to create new knowledge

30/09/2024

มาแล้ว! คลิปเรียนย้อนหลัง AI Power Up : ยกระดับประสิทธิภาพการทำงานยุคดิจิทัล
By อ.ดร.เจษฎา อานิล 🤖💪🏻⭐️

Click - https://kmmasterclass.mahidol.ac.th/posts/1040

บุคลากร EGMU พัฒนาทักษะการใช้ AI ไปด้วยกัน 🥰❤

Send a message to learn more

27/09/2024

การสร้างวัฒนธรรมการทำงานเชิงบวกถือเป็นส่วนสำคัญขององค์กรใดๆ ที่ต้องการมุ่งสู่ความสำเร็จในระยะยาว ซึ่งช่วยส่งเสริมให้เกิดการมีส่วนร่วมของพนักงานมากขึ้น Productivity เพิ่มมากขึ้น และอัตราการลาออกลดลง ⁣

บทความนี้ จะชวนมาสำรวจ A ถึง Z ในการสร้างสภาพแวดล้อมการทำงานเชิงบวก โดยแต่ละตัวอักษรแสดงถึงองค์ประกอบสำคัญที่ผู้นำสามารถนำไปปรับใช้ในแนวทางปฏิบัติขององค์กรได้ ดังนี้⁣
⁣..........................⁣

🔸A for Appreciate⁣

“การแสดงความชื่นชม” ในที่ทำงานไม่ใช่แค่การพูดว่า “ขอบคุณ” เท่านั้น แต่ยังหมายถึงการยอมรับและเห็นคุณค่าในผลงานของสมาชิกในทีมแต่ละคนด้วย การแสดงความชื่นชมสามารถเพิ่มขวัญกำลังใจและส่งเสริมวัฒนธรรมแห่งการยอมรับและความเคารพอีกด้วย⁣


🔸B for Balance⁣

“ความสมดุลระหว่างชีวิตกับการทำงาน” มีความสำคัญต่อระดับความพึงพอใจและความผูกพันของพนักงาน องค์กรควรสนับสนุนให้พนักงานรักษาสมดุลระหว่างชีวิตกับการทำงานเพื่อลดความเครียดและป้องกันภาวะหมดไฟ ซึ่งจะทำให้มีประสิทธิผลโดยไม่กระทบต่อชีวิตส่วนตัว⁣


🔸C for Collaborate⁣

“การทำงานร่วมกัน” ช่วยส่งเสริมให้เกิดความรู้สึกถึงการทำงานเป็นทีมและความรับผิดชอบร่วมกัน การสนับสนุนให้พนักงานทำงานร่วมกันและแบ่งปันแนวคิดสามารถนำไปสู่แนวทางแก้ไขที่สร้างสรรค์และสภาพแวดล้อมการทำงานที่เป็นหนึ่งเดียวกันมากขึ้น⁣


🔸D for Develop⁣

“โอกาสในการพัฒนา” เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการเติบโต การจัดโอกาสให้พนักงานได้เรียนรู้และเติบโตอย่างต่อเนื่องช่วยให้พนักงานรู้สึกมีคุณค่าและมีส่วนร่วมในอาชีพการงานของตน⁣


🔸E for Engage⁣

“การมีส่วนร่วม” ของพนักงานมีความเชื่อมโยงโดยตรงกับการรับรู้บทบาทหน้าที่ของตนเอง การสนับสนุนให้พนักงานเชื่อมโยงงานของตนเองเข้ากับเป้าหมายขององค์กร จะทำให้การทำงานประจำวันของพวกเขามีความหมายมากขึ้น⁣


🔸F for Fulfillment⁣

“การเติมเต็ม” การสนับสนุนความถนัดความชอบของพนักงานให้สอดคล้องกับเป้าหมายขององค์กร สามารถนำไปสู่ความพึงพอใจและความสำเร็จในงานที่มากขึ้น องค์กรควรพยายามทำความเข้าใจและสนับสนุนแรงบันดาลใจส่วนตัวของพนักงานด้วย⁣


🔸G for Generosity⁣

“ความมีน้ำใจ” วัฒนธรรมแห่งความเอื้อเฟื้ออาทรเกี่ยวข้องกับการสนับสนุนและตอบแทนพนักงาน ซึ่งอาจเป็นตั้งแต่การให้รางวัล การแบ่งผลประโยชน์ ไปจนถึงการให้พนักงานเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการตัดสินใจ⁣

อ่านฉบับเต็มต่อได้ที่ ➾⁣ brightsidepeople.com/abcs-ของการสร้างวัฒนธรรมอง/



A Cup of Culture⁣
────⁣
#วัฒนธรรมองค์กร⁣



==================⁣
ติดต่อสอบถามและพูดคุยกับที่ปรึกษาในการสร้างวัฒนธรรมองค์กร⁣
📞: 0939322445 📧: [email protected]
(คุณเจตน์ Business Development Manager)⁣

27/09/2024

วิธีดูแล Talent เก่ง ๆ ไม่ให้รีบลาออก
ต้องเป็นองค์กรที่ 'ลงทุนกับคน'
ไม่ใช่บริษัทสร้างภาพ ล่ารางวัล
เพราะทรัพยากรที่มีค่าที่สุดขององค์กรก็คือ ‘คน’
สรุป Session Retaining Marketing & Tech Talents โดยคุณบี อภิชาติ ขันธวิธิ จาก QGEN Consultant เจ้าของเพจ HR - The Next Gen และ ดร.ต้า วิโรจน์ จิรพัฒนกุล MD, Skooldio ในงาน Marketing Insight & Technology Conference 2024
👉Talent คืออะไรและสถานการณ์เป็นอย่างไรในปัจจุบัน
Talent คือคนที่ Perform ดีและมี Potential นั่นหมายถึงคนที่มีประวัติการทำงานที่ดีและมีโอกาสที่จะสามารถพัฒนาได้ในอนาคต รวมถึงสามารถช่วยให้องค์กรสามารถเติบโตไปข้างหน้าได้
ตอนนี้ Tech Talent เป็นที่ต้องการเพิ่มมากขึ้น ทั้งในมุมของจำนวนคนที่ต้องการ และ ‘ทักษะ’ ที่พนักงานจำเป็นจะต้องมีด้วย ส่งผลให้ค่าตัวของ Tech Talent สูงขึ้น องค์กรจึงต้องเผชิญกับความท้าทายในการหาพนักงานใหม่ การพัฒนาและรักษาพนักงานที่อยู่ในปัจจุบัน รวมถึงต้องต่อสู้กับการแข่งขันในการย้ายงานไปยังต่างประเทศด้วย องค์กรไหนยังไม่ปรับตัวก็ถือว่ามีความเสี่ยงแล้วเช่นกัน
การที่โลกเปลี่ยนไว นอกจากจะสร้างความเสี่ยงที่องค์กรต้องเจอแล้ว ยังส่งผลให้คนในยุคนี้อยากจะ ‘สำเร็จไว’ ถือเป็นกับดักคนของทำงานเองด้วย หลาย ๆ คนมองว่าตัวเองนั้นมีความสามารถ เป็น High Performer ใคร ๆ ก็แย่งตัว จนกลายเป็น Job Hoppers ที่องค์กรอาจมองข้าม
ดังนั้น คนทำงานเองจึงควรเริ่มกลับมาทบทวนตัวเองว่า อะไรคือ Skills ที่เราต้องมี อะไรคือจุดแข็งที่จะทำให้เรายังคงมีค่ากับองค์กร เพื่อให้เราสามารถเป็นคนเก่งทั้งในอดีต ปัจจุบัน และอนาคตได้ ไม่ใช่เป็นเพียงแค่สร้างประวัติศาตร์แต่ไม่สร้างอนาคต
⎯⎯⎯⎯⎯⎯⎯⎯⎯⎯⎯
👉เลือกคนให้ตอบโจทย์ธุรกิจว่ายาก แต่สิ่งที่ยากกว่าคือการดูแล
🔹ในมุมของคุณบีเองมองว่าเรื่องที่ยังคงสำคัญคือเรื่องเงิน ที่ต้องสามารถแข่งขันกับตลาดได้ โดยเฉพาะคนที่อยู่ใน Strategic Position เพราะคนเหล่านี้ถ้าลาออกไปจะส่งผลกระทบอย่างมากต่อองค์กร แต่นอกจากการดูตลาดแล้ว ต้องกลับมาดูภายในด้วย ตำแหน่งใกล้ ๆ กัน Impact จากการทำงานใกล้กัน การจ่ายค่าตอบแทนนั้นใกล้เคียงกันหรือไม่ และอย่าลืมดูความสามารถในการจ่ายขององค์กร แม้ว่าคนจะมาซื้อตัวคนเก่งจากเราไป ถ้าเราไม่สามารถสู้ไหวสุดท้ายเราก็ต้องปล่อยไป
นอกจากเรื่องเงินแล้ว ความท้าทายในการทำงานก็เป็นอีกปัจจัยที่คนส่วนใหญ่ให้ความสำคัญ เพราะ Talent สนใจ Growth Opportunity การทำแต่งานเดิมซ้ำ ๆ นั้นจะไม่ช่วยให้คนเก่งเหล่านั้นเก่งขึ้น และทำให้คนเหล่านั้นรู้สึกเติบโตได้ช้า
และสุดท้ายคือการสร้าง Positive Culture เช่น ความตรงต่อเวลา ไม่มีการทำงานแบบ Micromanagement แต่สิ่งเหล่านี้นั้นงค์กรจะต้องเป็นคนกำหนดและให้คำนิยาม ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะเกิดขึ้นได้ต้องเริ่มจากการสร้าง Experience ให้ดีตั้งแต่ต้น ไปตลอดทุก ๆ Touchpoint
ยิ่งไปกว่านั้นหนังสือ Drive ของ Daniel Pink บอกเอาไว้ว่าการจะรักษาคนเก่งได้นั้นต้องมี 3 ข้อคือ Mastery คือส่งเสริมให้คนเก่งขึ้น, Autonomy มีอิสระในการทำงานและ Purpose ได้ทำงานที่ีมีความหมาย และตรงกับ Personal Values หัวหน้าจึงจำเป็นจะต้องเข้าใจความต้องการที่แท้จริงของพนักงานแต่ละคน
🔸คุณต้าเสริมว่าสิ่งที่องค์กรต้องกลับมาพิจารณาคือ Maslow's Hierarchy of Needs ที่บอกเอาไว้ว่าคนจะมีความต้องการตั้งแต่พื้นฐานปัจจัย 4 ความปลอดภัย ค่าตอบแทน ความสัมพันธ์ภายใน การได้รับการยอมรับ ไปจนถึงยอดพีระมิดซึ่งคือ Self-Actualization ที่สร้างได้ผ่านการทำงานที่ท้าทายและมีความหมาย เพราะนั่นแสดงให้เห็นว่าเขาได้รับความไว้วางใจและองค์กรเห็นคุณค่าในตัวเขา
และการจะรู้ได้ว่างานแบบไหนที่เหมาะสมกับน้องแต่ละคน องค์กรและหัวหน้าจะต้องทำความเข้าใจความต้องการที่เป็น Personal Goals ของแต่ละคน เพราะคนเราจะยอมทำงานหนักหรือทุ่มสุดตัวก็ต่อเมื่อรู้สึกว่างานที่ทำอยู่นั้นคือการทำงานเพื่อตัวเอง และไม่ใช่ทุกคนที่จะเลือกทำงานเพื่อองค์กรโดยไม่สนใจตัวเอง ดังนั้นหน้าที่ของผู้นำไม่ใช่การ Drive Result แต่ต้อง Drive People ผ่านการ Empower ให้อำนาจในการตัดสินใจกับทีม, Unleash ช่วยปลดล็อกอุปสรรคต่าง ๆ และ Inspire ให้ทุกคนเห็นอนาคต
⎯⎯⎯⎯⎯⎯⎯⎯⎯⎯⎯
👉รู้กว้างหรือรู้ลึก คือคำตอบที่แท้จริงของ Talent
การรู้กว้างและรู้ลึกอาจไม่ใช่แค่คำตอบเดียวที่จะทำให้ใครกลายเป็น Talent แต่อาจจะต้องมองหาความสมดุลในองค์กร ถ้าคนในองค์กรรู้ลึกมากแล้ว ขาดคนมองภาพกว้าง คนที่เป็น Generalist เข้าใจภาพรวมก็สำคัญไม่แพ้กับ Specialist ที่จะช่วย Execute ให้เกิดผลลัพธ์จริง
ดังนั้น Talent หรือคนทำงานเองควรจะหันกลับมาถามตัวเองมากกว่าว่าตลาดต้องการอะไร และเราควรจะเดินไปในทางไหน และไม่ใช่ว่าการเลือกทางใดทางนึงแล้วจะจบ เพราะคนทำงานยังคงต้องรักษาความรู้ต่าง ๆ ในงานที่เราถนัดเอาไวด้วยเพื่อให้สามารถเติบโตในสายอาชีพได้ แต่นอกจาก Technical Skills แล้ว Soft Skills อย่าง Leadership เองก็สำคัญไม่แพ้กัน หรือ Communication และ Networking เพราะ Know How ไม่เพียงพออีกต่อไป ต้อง Know Who เพื่อให้สามารถสร้างโอกาสให้กับชีวิตได้ด้วย
โดยสรุปคือ Skills ที่เราควรมีในฐานะ Talent คือต้องมีทั้ง Enduring Human Skills หรือ Soft Skills, The New Literacy ทั้ง Data และ AI และสุดท้าย Advanced Skills พร้อมเรียนรู้เรื่องใหม่ให้ก้าวทันโลกและก้าวนำคนอื่นตลอดเวลา และถ้าเรามีทั้ง 3 ทักษะนี้แล้ว เราก็จะสามารถเลือกงานที่ตรงกับ Value ของเรา และสามารถมีความสุขและความสนุกไปกับชีวิตการทำงานได้
⎯⎯⎯⎯⎯⎯⎯⎯⎯⎯⎯
👉Talent ต้องเลือกองค์กรแบบไหนให้ไปได้ไกลกว่าเดิม
เลือกองค์กรที่ ‘ลงทุน’ กับคน ไม่ใช่แค่การสร้างภาพลักษณ์ ล่ารางวัล แต่ต้องกลับมาลงทุนให้ความสำคัญกับการดูแลคนภายในทั้งในการพัฒนาคนให้เก่งขึ้น พร้อมที่จะจ่ายให้กับคนเก่ง ๆ เพื่อรักษาคนเก่งไว้ และลองกลับมาถามตัวเองอยู่เสมอ ๆ ว่าใน 3-6 เดือนที่ผ่านมา เราเก่งอะไรขึ้นบ้าง และนั่นจะช่วยให้เราได้คำตอบว่า เรากำลังอยู่ในองค์กรที่ส่งเสริมพนักงานหรือไม่
แต่การลงทุน ต้องไม่ใช่การลงทุนแบบ ‘ถัว’ เพราะไม่ใช่ว่าทุกคนในองค์กรจะสำคัญเท่ากัน รวมถึงองค์กรนั้นจะต้องเป็นองค์กรที่ไม่ได้ให้ค่ากับความสำเร็จในอดีตเพียงเท่านั้น เพราะคนแต่ละคนอาจมีพื้นฐานไม่เท่ากัน โตมาในสิ่งแวดล้อมและได้รับโอกาสที่ต่างกัน แต่ต้องเลือกองค์กรที่จะมองคนจาก Potential ที่มี

ที่อยู่

25/25 ถนนพุทธมณฑลสาย4 ตำบลศาลายา อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม
Nakhon Pathom
73170

เบอร์โทรศัพท์

+6628892138

แจ้งเตือน

รับทราบข่าวสารและโปรโมชั่นของ งานทรัพยากรบุคคล คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลผ่านทางอีเมล์ของคุณ เราจะเก็บข้อมูลของคุณเป็นความลับ คุณสามารถกดยกเลิกการติดตามได้ตลอดเวลา

ติดต่อ ธุรกิจของเรา

ส่งข้อความของคุณถึง งานทรัพยากรบุคคล คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล:

แชร์

ตำแหน่งใกล้เคียง บริษัท สื่อ

  • 10M-Movie

    10M-Movie

    25 หมู่ที่ 6 Phutthamonthon Sai 4 Road, Bangkok

เว็บไซต์ข่าวและสื่อ อื่นๆใน Nakhon Pathom

แสดงผลทั้งหมด