พระไอซ์ สาสนธัมโม

พระไอซ์ สาสนธัมโม ขอบคุณที่ติดตามรับชมช่อง : Ice Channel

👇facebook 🇹🇭
พระไอซ์ สาสนธัมโม ( ครูบาไอซ์ )
เผยแผ่ธรรมะ คำสอน การปฏิบัติธรรม ฝึกสมาธิ ฝึกภาวนา ฝึกกรรมฐาน ตามหลักคำสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเพื่อเข้าสู่แดนวิมุตติหลุดพ้นสู่แดนพระนิพพาน

จาริกธุดงค์จันทบุรี - ปลายทางโคราช
02/11/2024

จาริกธุดงค์จันทบุรี - ปลายทางโคราช

พบผู้รู้ให้ทำลายผู้รู้,พบจิตให้ทำลายจิตจึงจะถึงความบริสุทธิ์อย่างแท้จริงคือการไม่ยึดมั่นถือมั่นในกองสังขารคือการไม่ยึดมั...
26/10/2024

พบผู้รู้ให้ทำลายผู้รู้,พบจิตให้ทำลายจิต
จึงจะถึงความบริสุทธิ์อย่างแท้จริง
คือการไม่ยึดมั่นถือมั่นในกองสังขาร
คือการไม่ยึดมั่นถือมั่นในอารมณ์ของจิต
เพราะสังขารเป็นกองทุกข์ เพราะจิตสิ่งที่ปรุ่งแต่งเป็นกองทุกข์ ดู,รู้,และปล่อยวาง
คือ ผู้รู้ ,ผู้ตื่น ,ผู้เบิกบาน

 #หลักการภาวนาผู้รู้ ตัวที่ 1 คือสังขาร รูปร่างกายผู้รู้ ตัวที่ 2 เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณผู้รู้ ตัวที่ 3 ก็คือ จิตของเ...
01/06/2024

#หลักการภาวนา

ผู้รู้ ตัวที่ 1 คือสังขาร รูปร่างกาย
ผู้รู้ ตัวที่ 2 เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
ผู้รู้ ตัวที่ 3 ก็คือ จิตของเรา ที่นึกคิดปรุ่งแต่งอยู่นี่เอง
ทั้ง 3 นี้คือ ตัว อวิชชา
หาตัวผู้รู้นี่ให้เจอ เพราะจิตมันจะคอยหลอกเรา
จิตตัวนี้แหละคือตัว อวิชชา ตัวสุดท้ายนี้คือป่มเงื่อนของอวิชชา พิจารณาให้เห็นความเกิดดับ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เมื่อเห็นแล้วก็ปล่อยวางมันลงไป มันจะค่อยๆหมุนเข้ามาสู่ใจ จิตก็จะเกิดความว่างเปล่า เหลือแต่เพียง ตัวผู้รู้ อยู่เท่านั้น
จิตเห็นจิต คือ มรรค (คือพุทธะ )
#พระป่ากรรมฐาน

“การทำสมาธิหรือทำจิตให้สงบนั้น มันไม่ได้คำนึงถึงว่าสิ่งภายนอก ว่างหรือไม่ว่าง แต่มันว่างของผู้รู้ต่างหาก สมาธิตัวละเอียด...
28/05/2024

“การทำสมาธิหรือทำจิตให้สงบนั้น มันไม่ได้คำนึงถึงว่าสิ่งภายนอก ว่างหรือไม่ว่าง แต่มันว่างของผู้รู้ต่างหาก สมาธิตัวละเอียด คือ ภายนอกมีหมด แต่ภายในนิ่งอยู่ รู้อยู่อย่างนั้น สงบหรือ ไม่สงบก็รู้ เอาแค่รู้ ไม่เกี่ยวกับสงบหรือไม่สงบ”
#พระป่ากรรมฐาน

ผู้ปฏิบัติธรรมท่านว่าให้รู้จัก รู้แจ้ง รู้จริง รู้อยู่ภายในตัว ภายในใจให้รอบรู้ทั่วถึง คำว่ารู้ทั่วถึง มันก็อยู่ที่จิตใจ...
22/05/2024

ผู้ปฏิบัติธรรมท่านว่าให้รู้จัก รู้แจ้ง รู้จริง รู้อยู่ภายในตัว ภายในใจให้รอบรู้ทั่วถึง คำว่ารู้ทั่วถึง มันก็อยู่ที่จิตใจสงบตั้งมั่น เมื่อจิตนี้สงบตั้งมั่นไม่หลงใหล มันก็รู้ได้ ,รู้ดี, รู้แจ้ง ,รู้จริง ,รู้ละ ,รู้ถอน ,รู้ปล่อย
รู้วาง รู้ไม่ยึดไม่ถือ ก็แจ้งเพราะจิต มารู้แจ้งอยู่ในจิต ในใจ ในตัวของตัวเอง มันไม่ใช่ว่าไปแจ้งที่อื่น
#พระป่าสายกรรมฐาน

สตินี้ จำเป็นต้องใช้อยู่ ทุกที่  ตั้งแต่เกิดจนตาย ตายหมดลมหายใจเมื่อใด จึงจะหยุดสติอันนี้ สตินี้ไม่ใช่สงบนะ คำว่าสงบ จิต...
21/05/2024

สตินี้ จำเป็นต้องใช้อยู่ ทุกที่ ตั้งแต่เกิดจนตาย ตายหมดลมหายใจเมื่อใด จึงจะหยุดสติอันนี้ สตินี้ไม่ใช่สงบนะ คำว่าสงบ จิตผู้รู้อยู่ สงบอยู่ในดวงจิตที่รู้นั้น ส่วนสตินี้ คือ ว่าระลึกได้อยู่ทุกเวลา ทุกอิริยาบถ ยืน เดิน นั่ง นอน
#พระป่าสายกรรมฐาน

การฝึกหัดทำจิตในสมาธิภายใน ให้ทําอยู่เสมอ ไม่ว่าเวลาใด จิตให้มีความระลึกอยู่ในดวงจิต ตวงที่รู้อยู่ภายในและคอยระวังจิตดวง...
18/05/2024

การฝึกหัดทำจิตในสมาธิภายใน ให้ทําอยู่เสมอ ไม่ว่าเวลาใด จิตให้มีความระลึกอยู่ในดวงจิต ตวงที่รู้อยู่ภายในและคอยระวังจิตดวงภายใน ไม่ให้หลงตามสังขารจิตตามกิเลส
#พระป่าสายกรรมฐาน #สมาธิ #วิปัสสนา

อนิจจัง ทุกขัง อนัตตาสังขาร ทั้งหลายทั้งปวงไม่เที่ยงสังขารทั้งหลายทั้งปวงเป็นทุกข์ คือทนได้ยาก และทุกข์และต้องสลายไม่มีอ...
12/05/2024

อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
สังขาร ทั้งหลายทั้งปวงไม่เที่ยง
สังขารทั้งหลายทั้งปวงเป็นทุกข์ คือทนได้ยาก และทุกข์และต้องสลายไม่มีอะไรยั่งยืนอยู่ได
ต้องแตกสลายพังทลายไปหมด
ภูเขาเลากาก็เป็นทุกข์คือต้องพังทลาย ต้นไม้ก็ต้องทุกข์คือต้องตายต้องสลายไป ไม่มีอะไรตั้งมั่นอยู่ได้แม้แผ่นดิน
ก็ยังต้องแตกยังถล่มทลาย
ล้วนแล้วแต่ทุกข์คือต้องแตกสลายทั้งสิ้น ไม่มีอะไรเลยในโลกนี้ที่จะมีความยั่งยืนเที่ยงแท้

• โพธิปักขิยธรรม • ( สามัคคีธรรม )    มี 37 ประการคือ   #สติปัฏฐาน 4 ( ฐานเป็นที่กำหนดของสติ👇)1. การตั้งสติกำหนดพิจารณาก...
09/04/2024

• โพธิปักขิยธรรม • ( สามัคคีธรรม )
มี 37 ประการคือ

#สติปัฏฐาน 4
( ฐานเป็นที่กำหนดของสติ👇)

1. การตั้งสติกำหนดพิจารณากาย (กายานุปัสสนา)
2. การตั้งสติกำหนดพิจารณาเวทนา(เวทนานุปัสสนา)
3. การตั้งสติกำหนดพิจารณาจิต (จิตตานุปัสสนา)
4. การตั้งสติกำหนดพิจารณาธรรม (ธรรมานุปัสสนา)

#สัมมัปปธาน 4
( หลักในการรักษากุศลธรรมไม่ให้เสื่อม👇)

1. การเพียรระวังไม่ให้บาปเกิดขึ้นในตน (สังวรปธาน)
2. การเพียรละบาปที่เกิดขึ้นแล้ว (ปหานปธาน)
3. การเพียรสร้างกุศลให้เกิดขึ้นในตน (ภาวนาปธาน)
4. การเพียรรักษากุศลที่เกิดขึ้นแล้ว ไม่ให้เสื่อมไป (อนุรักขปธาน)

#อิทธิบาท 4
( เป้าหมายของความเจริญ👇)

1. ความชอบใจทำ พอใจรักใคร่ในสิ่งนั้น (ฉันทะ)
2. ความแข็งใจทำ เพียรหมั่นประกอบในสิ่งนั้น (วิริยะ)
3. ความตั้งใจทำ เอาใจฝักใฝ่ในสิ่งนั้น ไม่ทอดทิ้งธุระ (จิตตะ)
4. ความเข้าใจทำ การใช้ปัญญาพิจารณาไตร่ตรองหาเหตุผลในสิ่งนั้น (วิมังสา)

#อินทรีย์ 5👇

1. ให้เกิดความเชื่อ (ศรัทธา)
2. ให้เกิดความเพียร (วิริยะ)
3. ให้เกิดความระลึกได้ (สติ)
4. ให้เกิดความตั้งมั่น (สมาธิ)
5. ให้เกิดความรอบรู้ (ปัญญา)

#พละ 5 กำลัง👇

1. ความเชื่อ (ศรัทธา)
2. ความเพียร (วิริยะ)
3. ความระลึกได้ (สติ)
4. ความตั้งมั่น (สมาธิ)
5. ความรอบรู้ (ปัญญา)

#โพชฌงค์ 7
( องค์แห่งการตรัสรู้👇)

1. มีความระลึกได้ (สติ)
2. มีความพิจารณาในธรรม (ธัมมวิจยะ)
3. มีความเพียร (วิริยะ)
4. มีความอิ่มใจ (ปีติ)
5. มีความสงบสบายใจ (ปัสสัทธิ)
6. มีความตั้งมั่น (สมาธิ)
7. มีความวางเฉย (อุเบกขา)

#อริยสัจ 4👇

1. ทุกข์ • คือ
สภาพที่ทนได้ยาก ภาวะที่ทนอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้ สภาพที่บีบคั้น ได้แก่

• ชาติ ' ชรา 'มรณะ '
• การประสบกับสิ่งอันไม่เป็นที่รัก
• การพลัดพรากจากสิ่งอันเป็นที่รัก
• การปรารถนาสิ่งใดแล้วไม่สมหวังในสิ่งนั้น

2. สมุทัย • คือ
สาเหตุที่ทำให้เกิดทุกข์ ได้แก่
ตัณหา ทั้ง 3 คือ

#กามตัณหา
• ความทะยานอยากในกาม
• ความอยากได้ทางกามารมณ์,

#ภวตัณหา
• ความทะยานอยากในภพ
• ความอยากเป็นโน่นเป็นนี่
• ( ภวทิฏฐิ ) หรือ ( สัสสตทิฏฐิ )

#วิภวตัณหา
• ความทะยานอยากในความปราศจากภพ
• ความอยากไม่เป็นโน่นเป็นนี่
• ( วิภวทิฏฐิ ) หรือ ( อุจเฉททิฏฐิ )

3. นิโรธ • คือ
ความดับทุกข์ ได้แก่
• ดับสาเหตุที่ทำให้เกิดทุกข์ คือ
• ดับตัณหาทั้ง 3 ได้อย่างสิ้นเชิง

4. มรรค • คือ
• แนวทางปฏิบัติที่นำไปถึงความดับทุกข์
( มีองค์ประกอบอยู่ 8 ประการ )

#มรรค 8
( หนทางดับทุกข์👇)

1. ใช้เพื่อเห็นชอบ คือ เห็นอริยสัจ (สัมมาทิฏฐิ)
2. ใช้เพื่อดำริชอบ คือ ดำริละเว้นในอกุศลวิตก (สัมมาสังกัปปะ)
3. ใช้เพื่อเจรจาชอบ คือ เว้นจากวจีทุจริต (สัมมาวาจา)
4. ใช้เพื่อทำการงานชอบ คือเว้นจากกายทุจริต (สัมมากัมมันตะ)
5. ใช้เพื่อทำอาชีพชอบ คือ เว้นจาก การเลี้ยงชีพในทางที่ผิด (สัมมาอาชีวะ)
6. ใช้เพื่อเพียรชอบ คือ สัมมัปปธาน (สัมมาวายามะ)
7. ใช้เพื่อระลึกชอบ คือ ระลึกในสติปัฏฐาน 4 (สัมมาสติ)
8. ใช้เพื่อตั้งใจมั่นชอบ คือ เจริญฌานทั้ง 4 และวิปัสสนา (สัมมาสมาธิ)

ที่อยู่

ปางลาว
Muang Chiang Rai

เบอร์โทรศัพท์

+66991064793

เว็บไซต์

แจ้งเตือน

รับทราบข่าวสารและโปรโมชั่นของ พระไอซ์ สาสนธัมโมผ่านทางอีเมล์ของคุณ เราจะเก็บข้อมูลของคุณเป็นความลับ คุณสามารถกดยกเลิกการติดตามได้ตลอดเวลา

ติดต่อ ธุรกิจของเรา

ส่งข้อความของคุณถึง พระไอซ์ สาสนธัมโม:

วิดีโอทั้งหมด

แชร์

ตำแหน่งใกล้เคียง บริษัท สื่อ


ครีเอเตอร์ดิจิทัล อื่นๆใน Muang Chiang Rai

แสดงผลทั้งหมด