Thoughtful Media Group Thailand

Thoughtful Media Group Thailand One of the leading MCN (Multi-Channel Network) in Thailand.

เราเป็น Global Multi Platform Network (MPN) ที่เชี่ยวชาญด้านการสร้างการเติบโตให้กับ Influencers ใน YouTube, Facebook, TikTok, Instagram, Twitter และ Social Network อื่น ๆ ซึ่งมีสาขาอยู่ในหลายประเทศทั่วโลก เช่น ประเทศสหรัฐอเมริกา, จีน และไทย

เราทำหน้าที่เป็นคนกลางที่เชื่อมระหว่างแบรนด์กับ Influencers เข้าหากันด้วยการผลิตโฆษณาที่มีประสิทธิภาพและคุ้มค่าที่สุดในสื่อดิจิตอลผ่านการใช้ Influencers ในหลา

กหลายสาขาเช่น บันเทิง ความงาม เกม และอื่นๆ

เราใช้ความเป็นตัวตนของ Influencers ในการผลักดันให้เขาผลิตงานที่สร้างสรรค์โดยมีเราเป็นผู้คอยดูแลอย่างใกล้ชิดและช่วยวางไอเดีย

http://thailand.thoughtfulmedia.com/

🔗รวม 7 แพลตฟอร์ม Affiliate Marketing ที่ครีเอเตอร์ต้องรู้! พร้อมกลยุทธ์สร้างคอนเทนต์โดนใจปี 2025😍🚀ในปี 2025 การทำ Affili...
15/01/2025

🔗รวม 7 แพลตฟอร์ม Affiliate Marketing ที่ครีเอเตอร์ต้องรู้! พร้อมกลยุทธ์สร้างคอนเทนต์โดนใจปี 2025😍🚀
ในปี 2025 การทำ Affiliate Marketing ยังคงเป็นกลยุทธ์สำคัญที่ครีเอเตอร์และอินฟลูเอนเซอร์ใช้ในการสร้างรายได้ผ่านโซเชียลมีเดีย ด้วยการเติบโตของตลาด E-commerce และการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้บริโภค การใช้ประโยชน์จากจุดเด่นของแต่ละแพลตฟอร์มจะช่วยเพิ่มโอกาสในการประสบความสำเร็จ
จากข้อมูลเว็บไซต์ Authority Hacker ระบุว่าอุตสาหกรรม Affiliate Marketing มีมูลค่ามากกว่า 17 พันล้านดอลลาร์ และคาดว่าจะเติบโตถึง 27.78 พันล้านดอลลาร์ในปี 2027 โดยมีการเติบโตต่อเนื่อง 10% ต่อปี และกว่า 81% ของแบรนด์ใช้ Affiliate Marketing เพื่อเพิ่มยอดขายและการรับรู้แบรนด์ นอกจากนี้ ครีเอเตอร์ยังสามารถใช้ SEO และแพลตฟอร์มต่างๆ เพื่อเพิ่มรายได้จากค่าคอมมิชชั่น
สำหรับครีเอเตอร์และอินฟลูเอนเซอร์ การทำ Affiliate Marketing ไม่เพียงแต่เป็นช่องทางในการสร้างรายได้เท่านั้น แต่ยังเป็นโอกาสในการสร้างความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นกับผู้ติดตาม ด้วยการนำเสนอสินค้าที่ตรงกับความสนใจและความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย
ในโพสต์นี้ เราจะสำรวจจุดเด่น ค่าคอมมิชชั่น และกลยุทธ์การสร้างคอนเทนต์ที่เหมาะสมสำหรับแต่ละแพลตฟอร์ม เพื่อให้ครีเอเตอร์สามารถนำไปปรับใช้และเพิ่มประสิทธิภาพในการทำ Affiliate Marketing ได้อย่างเต็มที่ ไปดูกันเลย👇
ข้อมูลจาก:
Rainmaker: https://shorturl.at/FXAYW
Authority Hacker: https://shorturl.at/BY6ER
Marketingoops: https://shorturl.at/H9u9V

14/01/2025

😱Mark Zuckerberg ประกาศเลิกใช้ระบบ Fact-Check บน Facebook, Instagram เน้นยอด Engagement มากกว่าความถูกต้อง!? (อ่านด่วน👇)

สรุป 4 เทรนด์ผู้บริโภคและกลยุทธ์การตลาด ปี 2025 จาก Ipsos Global Trendsการเข้าใจเทรนด์และพฤติกรรมผู้บริโภคเป็นสิ่งสำคัญอ...
13/01/2025

สรุป 4 เทรนด์ผู้บริโภคและกลยุทธ์การตลาด ปี 2025 จาก Ipsos Global Trends
การเข้าใจเทรนด์และพฤติกรรมผู้บริโภคเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง โพสต์นี้ได้สรุป 4 เทรนด์หลักที่กำลังจะมีบทบาทสำคัญในปี 2025 โดยอ้างอิงจากรายงาน Ipsos Global Trends เพื่อช่วยให้นักการตลาดและผู้ที่สนใจเข้าใจถึงการเปลี่ยนแปลงที่กำลังจะเกิดขึ้น และสามารถนำไปปรับใช้ในการวางกลยุทธ์ได้อย่างเหมาะสม ไปดูกันเลยค่ะ
🥰1. Self-sumers - Me,Myself & I: เมื่อผู้บริโภคใส่ใจกับตัวเอง และพึ่งพาตัวเองมากขึ้น โดยเน้นการดูแลสุขภาพทั้งกายและใจ การพัฒนาตัวเอง และการใช้ชีวิตแบบยั่งยืน
- จากสถานการณ์ความไม่แน่นอนต่างๆ ผู้บริโภคหันมาให้ความสำคัญกับปัจจุบันมากขึ้น มีทัศนคติแบบ YOLO (You Only Live Once) ต้องการใช้ชีวิตให้เต็มที่และแสวงหาความสุขในปัจจุบัน
- ผลสำรวจ Ipsos Thailand พบว่า 72% ของคนไทยเลือกใช้ชีวิตให้มีความสุขในวันนี้ และ 84% เชื่อว่าอนาคตไม่แน่นอน จึงใช้ชีวิตเพื่อวันนี้
- ผู้บริโภคพร้อมที่จะใช้จ่ายเงินเพื่อสิ่งที่มอบความสุขให้ตนเอง แม้ในสถานการณ์เศรษฐกิจที่ไม่แน่นอน สะท้อนจากปรากฏการณ์ต่างๆ เช่น ความนิยมใน "หมูเด้ง" และกระแส Taylor Swift Mania
- ผู้บริโภคให้ความสำคัญกับภาพลักษณ์ของตนเองทั้งในโลกจริงและออนไลน์ 65% ของคนไทยชอบซื้อสินค้าหรือประสบการณ์ที่จะทำให้ตนเองดูดีในรูปที่โพสต์ออนไลน์ โดยเฉพาะกลุ่ม Gen Z ที่พร้อมจะเข้าไปมีตัวตนในโลก Metaverse และแพลตฟอร์มใหม่ ๆ เช่น Roblox, Sandbox และ Fortnite ทำให้เส้นแบ่งระหว่างโลกจริงและเสมือนจริงบางลง
✅พฤติกรรมผู้บริโภคยุค AI ที่ส่งผลต่อการตลาด
- Personalization: ผู้บริโภคคาดหวังสินค้าหรือบริการที่ปรับแต่งเฉพาะตัว เช่น การแนะนำสินค้าผ่าน AI หรือการเลือกแพ็กเกจสุขภาพตามความต้องการ
- Wellness & Self-Care: สินค้าเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพ เช่น วิตามิน สกินแคร์ หรือการสมัครคอร์สฟิตเนส ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้น
- Digital Empowerment: ผู้บริโภคใช้ข้อมูลจากอินเทอร์เน็ตและโซเชียลมีเดียในการตัดสินใจเอง เช่น การอ่านรีวิวหรือคำแนะนำจากคอมมูนิตี้ออนไลน์
🎯โอกาสและสิ่งที่แบรนด์ควรทำ
- ตอบโจทย์ความสุขของผู้บริโภค:
แบรนด์ต้องสร้างสินค้าหรือบริการที่ทำให้ผู้บริโภครู้สึกดีและเติมเต็มความสุข เช่น สินค้าที่ช่วยเพิ่มภาพลักษณ์หรือสร้างประสบการณ์พิเศษ
- เข้าสู่โลกเสมือนจริง:
การนำสินค้าหรือร้านค้าเข้าสู่โลกเสมือนจริง (Metaverse) เป็นโอกาสในการสร้าง "แผนส่งเสริมการขาย" รูปแบบใหม่ และสร้างประสบการณ์ที่แปลกใหม่ให้กับผู้บริโภค
- สร้างรายได้จาก Hybrid Worlds:
โลกเสมือนจริงไม่ใช่แค่พื้นที่โฆษณาอีกต่อไป แต่เป็น ช่องทางการสร้างรายได้ใหม่ เช่น การขายสินค้าเสมือน (Virtual Goods), การขายสินค้าดิจิทัล และการจัดกิจกรรมใน Metaverse
🤖2. Seamlessness: ประสบการณ์ไร้รอยต่อ โดยเน้นที่การใช้งาน AI
AI กับบทบาทในชีวิตประจำวันของคนไทย
- คนไทยสนใจ AI เป็นอันดับ 3 ของโลก รองจากจีนและอินโดนีเซีย
- 73% ของคนไทยระบุว่า AI ได้เปลี่ยนแปลงชีวิตประจำวันในช่วง 3-5 ปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะในด้านความบันเทิงและการประหยัดเวลา
ข้อกังวลเกี่ยวกับ AI ในประสบการณ์ลูกค้า
- แม้ AI จะช่วยเพิ่มความสะดวก แต่หลายครั้งกลับสร้างประสบการณ์ที่ไม่ตอบโจทย์ เช่น ระบบ Self-Checkout ที่ควรลดเวลา แต่กลับทำให้ลูกค้าเสียเวลามากขึ้น
- 55% ของผู้บริโภครู้สึกว่าประสบการณ์ที่ได้รับแย่กว่าคาดหวัง
- 74% ของผู้บริโภคยินดีจ่ายเพิ่มเพื่อให้ได้รับบริการที่ดีกว่า โดยเฉพาะกลุ่ม Baby Boomers ที่ยังให้ความสำคัญกับ Human Interaction คือ ยังคงชอบการโต้ตอบกับคนมากกว่า AI
✅พฤติกรรมผู้บริโภคยุค AI ที่ส่งผลต่อการตลาด
- ความคาดหวังที่สูงขึ้น:
ผู้บริโภคต้องการประสบการณ์ที่ไร้รอยต่อและสอดคล้องกับความคาดหวังในทุก Touchpoint ของ Customer Journey
- ความสมดุลระหว่าง AI และมนุษย์:
แม้ AI จะช่วยเพิ่มความสะดวกสบาย แต่ปฏิสัมพันธ์ของมนุษย์ (Human Interaction) ยังคงสำคัญในการสร้างความไว้วางใจและความพึงพอใจ
- ประเด็นด้าน Automation:
ตัวอย่างเช่น ระบบ Self-Checkout ที่ควรลดเวลารอคิว แต่กลับสร้างปัญหาเพิ่มเติม เช่น สแกนสินค้าไม่ได้ ทำให้ลูกค้ารู้สึกเสียเวลา
🎯โอกาสและสิ่งที่แบรนด์ควรทำ
- ปรับปรุง Customer Journey:
ใช้ AI เพื่อเสริมประสบการณ์ในแต่ละ Touchpoint แต่ควรมีการปรับปรุง Customer Journey อย่างต่อเนื่องให้สอดคล้องกับความคาดหวังของลูกค้า และต้องไม่ละเลยปฏิสัมพันธ์กับมนุษย์ โดยเฉพาะในด้านการบริการลูกค้าที่ยังคงต้องการการพูดคุยกับคนจริง ๆ
- ออกแบบด้วย Empathy:
AI สามารถยกระดับประสบการณ์ลูกค้าได้จริง หากนำมาใช้อย่างเหมาะสม โดยคำนึงถึงความต้องการของผู้บริโภคและออกแบบโดยยึดหลัก "Empathy" (การเอาใจเขามาใส่ใจเรา) ควบคู่ไปกับการสร้างปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับลูกค้า
- กำหนดและสื่อสารความคาดหวัง:
แบรนด์ควรชี้แจงชัดเจนเกี่ยวกับสิ่งที่ลูกค้าจะได้รับ และรักษาสัญญาในทุกจุดสัมผัส
- ผสาน AI กับมนุษย์อย่างเหมาะสม:
ใช้ AI ในงานที่เหมาะสม พร้อมฝึก AI ให้รู้ว่าเมื่อใดควรเปลี่ยนจากบอตเป็นพนักงาน เพื่อให้การบริการราบรื่นและมีประสิทธิภาพ

- ความสำคัญของ CX:
ประสบการณ์ของลูกค้า (CX) เป็นปัจจัยสำคัญในการสร้างความภักดีต่อแบรนด์ แบรนด์จึงต้องวางแผนและปรับปรุง Customer Journey อย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้สอดคล้องกับความคาดหวังของลูกค้า
🛡3. Security: ความกังวล ด้านความปลอดภัยของข้อมูล
- เทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันมากขึ้น ทำให้ผู้บริโภคกังวลเรื่องความปลอดภัยของข้อมูล โดยเฉพาะกลุ่ม Baby Boomers ที่กังวลเรื่องข้อมูลส่วนตัวมากที่สุด
- มิจฉาชีพมีแนวโน้มใช้ AI ในการหลอกลวงมากขึ้น เช่น ปลอมแปลงเป็นบุคคลอื่น ทำให้การหลอกลวงแนบเนียนและยากต่อการตรวจสอบ
- แม้ผู้บริโภคต้องการความสะดวกและรวดเร็วในการใช้เทคโนโลยี แต่ความปลอดภัยของข้อมูลยังคงเป็นเรื่องสำคัญ ทำให้เกิดความขัดแย้งระหว่างความเร็วและความปลอดภัย
- 82% เชื่อว่าการสูญเสียความเป็นส่วนตัวจากเทคโนโลยีใหม่เป็นสิ่งหลีกเลี่ยงไม่ได้ และ 81% ยังกังวลเกี่ยวกับการใช้ข้อมูลส่วนตัวที่เก็บจากออนไลน์
แนวโน้มที่คาดการณ์
- การเพิ่มขึ้นของมิจฉาชีพที่ใช้ AI สร้างรูปแบบฉ้อโกงที่ซับซ้อนขึ้น
- ความต้องการเทคโนโลยีที่ปลอดภัยแต่ใช้งานง่ายและไม่ยุ่งยาก
🎯โอกาสสำหรับธุรกิจ
- เกิดโอกาสสำหรับ Startup ที่มุ่งเน้นด้านความปลอดภัย เช่น Fintech สำหรับผู้สูงอายุ หรือการใช้ AI เพื่อตรวจจับมิจฉาชีพ
- แบรนด์ควรให้ความสำคัญกับความปลอดภัยของข้อมูลควบคู่ไปกับการพัฒนาเทคโนโลยีที่ทันสมัย เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภค
💡สิ่งที่แบรนด์ควรทำ
- สร้างความสมดุลระหว่างความสะดวกสบายและความปลอดภัย โดยไม่ทำให้กระบวนการรักษาความปลอดภัยยุ่งยากจนเกินไป
- ให้ความรู้แก่ผู้บริโภคเกี่ยวกับภัยคุกคามทางไซเบอร์และวิธีการป้องกันตัวเอง
- ลงทุนในเทคโนโลยีและระบบรักษาความปลอดภัยที่ทันสมัย เพื่อป้องกันข้อมูลของผู้บริโภค
- ออกแบบฟีเจอร์ที่ช่วยปกป้องผู้บริโภคจากการฉ้อโกง เช่น ระบบแจ้งเตือนและการชะลอธุรกรรม การโอนเงินไปยังบัญชีใหม่หรือการใช้อุปกรณ์แปลกปลอม พร้อมระบบ Fraud Shield ที่ใช้ AI กรองการฉ้อโกงและแจ้งเตือนผู้ใช้งานก่อนการทำธุรกรรมสำคัญ
- สื่อสารกับผู้บริโภคถึงมาตรการรักษาความปลอดภัย เพื่อสร้างความมั่นใจ
🌳4. Sustainability: การพัฒนาอย่างยั่งยืนที่มองไกลกว่า ความยั่งยืนทางด้านสิ่งแวดล้อม
พฤติกรรมผู้บริโภคและความกังวลด้านสิ่งแวดล้อม:
- 89% ของคนไทยพยายามรักษาสิ่งแวดล้อมอย่างเต็มที่
- 79% ของผู้บริโภคมองว่าแบรนด์ยังไม่ใส่ใจปัญหาสิ่งแวดล้อมมากพอ
- 87% ของผู้บริโภคในไทย เชื่อว่าแบรนด์สามารถสร้างรายได้ไปพร้อมกับการทำสิ่งดีๆ เพื่อสังคมได้
- ผู้บริโภคเชื่อว่าการดูแลสิ่งแวดล้อมเป็นหน้าที่ของแบรนด์มากกว่าการผลักภาระให้ลูกค้า
- ผู้บริโภคกังวลเรื่องความยั่งยืน แต่ภาวะเศรษฐกิจทำให้ลังเลที่จะจ่ายเพิ่มสำหรับสินค้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (Green Products/Green Premium)
- ผู้บริโภคยุค "Self-sumers" มีความต้องการหลากหลาย แต่ไม่ได้หมายความว่าจะยินดีจ่ายเพิ่ม (Willingness to Pay) โดยเฉพาะในเรื่องความยั่งยืน
- การสื่อสารเรื่องความยั่งยืนยังคงสำคัญ แต่ควรเป็นข้อความเสริม ไม่ใช่ข้อความหลัก เพื่อประสิทธิภาพในการสื่อสารที่ดีขึ้น
🎯โอกาสและสิ่งที่แบรนด์ควรทำ
- ความจริงใจและความโปร่งใส: แบรนด์ต้องแสดงความจริงใจในการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม การกล่าวอ้างทั่วไป เช่น "ใช้วัสดุชีวภาพ" อาจไม่เพียงพอ ต้องมีนวัตกรรมที่จับต้องได้และแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่าเงินที่จ่ายเพิ่มนำไปใช้อย่างไร
- การชี้ว่าแคมเปญที่เน้นประโยชน์หลักของสินค้าและเสริมด้วยข้อความเรื่อง Sustainability จะมีประสิทธิภาพสูงกว่า
- กลยุทธ์ Win-Win-Wow: สร้างผลประโยชน์ให้ทั้งแบรนด์ สังคม และสร้างภาพลักษณ์ที่ดี (Wow Image) ให้กับผู้บริโภค
- การตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค: แบรนด์ต้องตอบสนองความต้องการที่หลากหลายของผู้บริโภคในแต่ละช่วงเวลา
- การสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ: สื่อสารเรื่องความยั่งยืนเป็นส่วนเสริมของประโยชน์หลักของสินค้า เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการสื่อสาร
- การสร้างความเชื่อมั่น: สร้างความเชื่อมั่นด้วยการสนับสนุนและดูแลสังคม แสดงความจริงใจ และสื่อสารอย่างชัดเจน โดยเฉพาะในเรื่องสังคมและธรรมาภิบาล
✅3 ข้อแนะนำสำหรับแบรนด์
- Be Informed: ติดตามข้อมูลและปรับตัวตามพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงรวดเร็ว
- Be Active: ใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีใหม่ ๆ และพัฒนาโซลูชันที่ตอบโจทย์ Self-sumers
- Be Inclusive: ทบทวนกลุ่มเป้าหมายและเลือกใช้เทคโนโลยีให้เหมาะสม เพื่อสร้างโอกาสทางการตลาดที่หลากหลาย
📑โหลดหนังสือ e-book และอ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่: https://1mx.app.box.com/s/lrv2yhsms1rncddowz0tzh76xc2r0pet

✂️📱สร้าง Shorts ง่ายกว่าเดิม! YouTube ทดสอบฟีเจอร์ใหม่ ‘ตัดไฮไลต์อัตโนมัติ’ จากวิดีโอยาวYouTube กำลังพัฒนาวิธีการสร้าง S...
09/01/2025

✂️📱สร้าง Shorts ง่ายกว่าเดิม! YouTube ทดสอบฟีเจอร์ใหม่ ‘ตัดไฮไลต์อัตโนมัติ’ จากวิดีโอยาว
YouTube กำลังพัฒนาวิธีการสร้าง Shorts ให้สะดวกยิ่งขึ้น โดยเพิ่มฟีเจอร์ใหม่ที่สามารถตัดไฮไลต์ (Create a video highlight) โดยเลือกส่วนที่น่าสนใจจากวิดีโอยาวให้กลายเป็นวิดีโอสั้นได้อัตโนมัติ ช่วยให้ประหยัดเวลาและใช้งานได้สะดวก ทั้งสำหรับมืออาชีพและมือใหม่
แถมยังสามารถเผยแพร่เป็นวิดีโอใหม่ในสัดส่วน 16:9 ได้ทันที ซึ่งถ้าครีเอเตอร์อยู่ในกลุ่มที่ได้ทดลองฟีเจอร์นี้ จะเห็นตัวเลือก ‘สร้างไฮไลต์วิดีโอ’ หรือ ‘Create a video highlight’ ในเครื่องมือแก้ไขวิดีโอของ YouTube Studio บนเดสก์ท็อป ความเจ๋งของฟีเจอร์นี้ คือ จะช่วยครีเอเตอร์เลือกส่วนที่ดึงดูดผู้ชมมากที่สุดจากวิดีโอยาว เช่น ช่วงที่คนดูเยอะหรือมีการมีส่วนร่วมสูง แล้วแปลงออกมาเป็น Shorts ให้อัตโนมัติ ไม่ต้องเสียเวลาตัดเอง แต่ถ้าอยากให้วิดีโอสมบูรณ์ขึ้นก็สามารถแก้ไขเพิ่มเติมได้ค่ะ
ฟีเจอร์ใหม่นี้ถือว่ามีประโยชน์สำหรับครีเอเตอร์มาก ๆ เพราะช่วยให้การสร้างวิดีโอสั้นลงในช่องเป็นเรื่องง่ายขึ้นแบบไม่ต้องยุ่งยาก และยังช่วยเพิ่มการมีส่วนร่วม (Engagement) ในช่องโดยรวมอีกด้วย ยิ่งตอนนี้ Shorts เป็นคอนเทนต์ที่เติบโตเร็วสุดของ YouTube มียอดชมมากกว่า 70 พันล้านครั้งต่อวัน ใครเพิ่มวิดีโอสั้นเข้าไปก็มีโอกาสขยายฐานผู้ชมและเพิ่มความน่าสนใจให้ช่องได้ง่ายขึ้น
อย่างไรก็ตาม ฟีเจอร์นี้ยังอยู่ในช่วงทดลอง ใช้ได้เฉพาะครีเอเตอร์กลุ่มเล็ก ๆ ที่สร้างวิดีโอภาษาอังกฤษเท่านั้น แต่ถ้าพัฒนาต่อจนเปิดให้ใช้แบบเต็มรูปแบบ คงเป็นตัวช่วยที่ครีเอเตอร์หลายคนรอคอยแน่นอนค่ะ
ข้อมูลจาก: https://www.socialmediatoday.com/news/youtube-tests-automated-shorts-creation

🔎▶อย่าเพิ่งอัปโหลดวิดีโอ ถ้ายังไม่ได้ทำ 14 เช็กลิสต์ YouTube SEO นี้!หลายๆ คนอาจจะเคยได้ยินคำว่า YouTube SEO กันมาบ้างแล...
08/01/2025

🔎▶อย่าเพิ่งอัปโหลดวิดีโอ ถ้ายังไม่ได้ทำ 14 เช็กลิสต์ YouTube SEO นี้!
หลายๆ คนอาจจะเคยได้ยินคำว่า YouTube SEO กันมาบ้างแล้ว แต่สำหรับใครที่ยังงง ๆ ว่ามันคืออะไรกันแน่ วันนี้เราจะขออธิบายพื้นฐานของ YouTube SEO ให้เข้าใจกันก่อนค่ะ
YouTube SEO คืออะไร และทำงานยังไง?
YouTube SEO หรือ Search Engine Optimization สำหรับ YouTube พูดง่ายๆ ก็คือ การที่เราพยายามปรับแต่งวิดีโอและช่อง YouTube ของเรา ให้ระบบค้นหาของ YouTube 'เข้าใจ' ว่าวิดีโอของเราเกี่ยวกับอะไร และนำไปแสดงผลให้กับคนที่กำลังค้นหาเนื้อหาที่เกี่ยวข้อง โดยดูจากหลายๆ อย่าง เช่น ชื่อวิดีโอ คำอธิบาย แท็ก และอื่นๆ เพื่อให้วิดีโอที่ตรงกับความต้องการของผู้ค้นหามากที่สุดแสดงขึ้นมาเป็นอันดับแรก ๆ
มีสถิติที่น่าสนใจว่า 90% ของวิดีโอที่ติดอันดับต้นๆ มักมีคำสำคัญ (Keyword) อยู่ในเนื้อหา นอกจากเนื้อหาที่ดีแล้ว ภาพหน้าปก (Thumbnail) ที่ดึงดูดสายตา ก็มีส่วนสำคัญอย่างมาก เพราะมันสามารถเพิ่มยอดการรับชมได้ถึง 2 เท่า และช่วง 10-15 วินาทีแรกของวิดีโอถือเป็นช่วงเวลาที่สำคัญที่สุด เพราะเป็นช่วงที่ผู้ชมจะตัดสินใจว่าจะดูวิดีโอของเราต่อหรือไม่
สรุปแล้วการทำ YouTube SEO คือการทำให้อัลกอริทึมรู้ว่าวิดีโอของเราเกี่ยวกับอะไร เพื่อเพิ่มโอกาสในการแสดงผลแก่กลุ่มเป้าหมาย ช่วยเพิ่มยอดวิวและผู้ติดตามนั่นเอง
✅เมื่อเข้าใจหลักการของ YouTube SEO แล้ว มาดู 14 Checklist สำคัญที่จะช่วยเพิ่มโอกาสให้วิดีโอของเราติดอันดับการค้นหาและเข้าถึงผู้ชมได้มากขึ้นบน YouTube กันค่ะ
1. หาคำที่คนชอบค้นหา (Keyword Research):
เหมือนเราหาคำสำคัญๆ ที่คนมักใช้ค้นหาเกี่ยวกับเนื้อหาของเรา เริ่มจากค้นคำสำคัญที่คนใช้บ่อยเวลาค้นหาบน YouTube หรือ Google เช่น ถ้าทำวิดีโอสอนทำอาหาร ลองพิมพ์คำว่า "ทำอาหาร" แล้วดูคำแนะนำที่ YouTube เด้งมาให้ คำพวกนี้คือไอเดียดี ๆ เอามาใส่ในข้อมูล Metadata ของวิดีโอได้
2. เลือกกลุ่มเป้าหมาย (Target Audience):
เราต้องรู้ว่าวิดีโอของเราทำขึ้นมาให้ใครดู เหมาะกับเด็ก วัยรุ่น หรือผู้ใหญ่? สนใจเรื่องอะไร? เช่น ถ้าช่องเกี่ยวกับเกม ก็อาจเน้นคนที่ชอบเล่นเกมหรืออยากเก่งเกมนี้ ลองดูว่าคู่แข่งเขาทำยังไง แล้วเอามาปรับให้เหมาะกับเรา
3. ตั้งชื่อวิดีโอให้โดนใจ (Good Video Title):
ชื่อวิดีโอต้องดึงดูดใจ กระชับ และมีคำสำคัญ (Keyword) ที่เราลองค้นหามา เช่น "แต่งหน้าไปทำงานง่าย ๆ ใน 5 นาที!" ชื่อแบบนี้อาจจะทำให้คนอยากคลิกเข้ามาดูมากขึ้นได้
4. ทำ Thumbnail ให้ดูน่าสนใจ (Custom Thumbnails):
ภาพหน้าปกวิดีโอต้องสวยงาม ชัดเจน และสื่อถึงเนื้อหาในวิดีโอ อาจใส่ข้อความสั้น ๆ หรือใช้สีสด ๆ เป็นเหมือนป้ายหน้าร้าน ที่จะดึงดูดให้คนเข้ามาดู
5. ตั้งชื่อไฟล์วิดีโอก่อนอัปโหลด (Edit Filename):
ก่อนอัปโหลดวิดีโอ ให้เปลี่ยนชื่อไฟล์เป็นคำสำคัญ อย่าอัปไฟล์แบบชื่อมั่ว ๆ เช่น "video123.mp4" เพราะ YouTube อ่านชื่อไฟล์ได้ ควรตั้งชื่อให้เกี่ยวกับเนื้อหา เช่น "how-to-cook-omelette.mp4" เพื่อให้ YouTube รู้ว่าวิดีโอของเราเกี่ยวกับอะไร
6. เพิ่มแท็กให้วิดีโอ (Add Tags):
การใส่แท็กก็คือการใส่คำหรือวลีที่เกี่ยวกับวิดีโอของเรา เพื่อให้ YouTube รู้ว่าวิดีโอเราเกี่ยวกับอะไร แม้จะพิมพ์คำค้นผิด เช่น ใส่ทั้งคำถูกและคำที่อาจสะกดผิดอย่าง “แต่งหน้า” และ “แต่งหนา” แนะนำใช้แท็กที่เกี่ยวข้องโดยตรง 10-15 แท็ก เพื่อเพิ่มการมองเห็นแล้วก็ช่วยให้วิดีโอเราไปแสดงในการค้นหาที่ตรงกับเนื้อหามากขึ้น
7. เขียนคำอธิบายให้ครบถ้วน (Smart Descriptions):
ในคำอธิบายควรเขียนบอกว่าคลิปเกี่ยวกับอะไร ใส่คำสำคัญ ลิงก์ที่เกี่ยวข้องหรือ CTA ไปยังช่องทางอื่น ๆ เช่น Facebook, Instagram รวมถึงใส่ Timestamp และแฮชแท็ก
8. ใช้คำสำคัญจากคู่แข่ง (Steal Keyword Ideas):
วิเคราะห์และสังเกตช่องคู่แข่งที่ทำเนื้อหาคล้าย ๆ เรา ดูว่าเขาใช้คำสำคัญ (Keyword) อะไร เช่น ชื่อวิดีโอ คำอธิบาย หรือแฮชแท็ก แล้วลองเอาคำเหล่านั้นมาปรับใช้ในวิดีโอของเราดู จากนั้นคอยเช็กผลลัพธ์ว่าช่วยเพิ่มยอดวิวหรือไม่
9. ใส่คำบรรยายและซับไตเติ้ล (Transcriptions & Captions):
การใส่ซับไตเติ้ลจะช่วยให้คนดูเข้าใจเนื้อหามากขึ้น และยังเป็นผลดีต่อ SEO อีกด้วย
10. โปรโมตวิดีโอบนแพลตฟอร์มอื่น (Promote on Different Platforms):
แชร์วิดีโอของเราบน Facebook, Twitter, Instagram หรือแพลตฟอร์มอื่นๆ เพื่อเพิ่มการมองเห็น
11. สร้างเพลย์ลิสต์ (Create a Playlist):
จัดวิดีโอของเราเป็นหมวดหมู่ เช่น "แต่งหน้า everyday look" "แต่งหน้าออกงาน" เพื่อให้คนดูดูวิดีโอของเราได้ต่อเนื่อง
12. ใช้ End Screens และ YouTube Cards:
ท้ายวิดีโอควรใส่ End Screen หรือใช้ YouTube Card ให้คนคลิกดูวิดีโอที่เกี่ยวข้องได้ เพื่อให้คนดูอยู่กับเรานานขึ้น
13. ฝังวิดีโอในเว็บไซต์หรือบทความ (Embed for Better SEO):
นำวิดีโอไปใส่ในเว็บไซต์หรือบล็อกของเรา เพื่อเพิ่มการมองเห็นและ Backlink
14. ลองปรับความยาววิดีโอ (Experiment with Video Length):
วิดีโอควรยาวแค่ไหน? จริง ๆ แล้วขึ้นอยู่กับเนื้อหา ลองทำหลายแบบ ทั้งสั้นและยาว แล้วดูว่าแบบไหนคนชอบมากกว่า
อย่าลืม Checklist ตามเคล็ดลับที่เราได้แชร์ไป ก่อนอัปโหลดวิดีโอกันนะคะ😍

📑เหล่าครีเอเตอร์และอินฟลูเอนเซอร์ทุกคน เตรียมตัวให้พร้อม ถึงเวลายื่นภาษีปี 67 กันแล้ว!ปีใหม่แล้ว เรื่องภาษีก็เป็นเรื่องส...
06/01/2025

📑เหล่าครีเอเตอร์และอินฟลูเอนเซอร์ทุกคน เตรียมตัวให้พร้อม ถึงเวลายื่นภาษีปี 67 กันแล้ว!
ปีใหม่แล้ว เรื่องภาษีก็เป็นเรื่องสำคัญที่เราต้องจัดการให้เรียบร้อย เพื่อป้องกันปัญหาปวดหัวที่อาจตามมา เช่น โดนเรียกเก็บภาษีย้อนหลัง ซึ่งคงไม่มีใครอยากเจอใช่ไหมล่ะคะ?
รู้ไหมว่า ครีเอเตอร์หรืออินฟลูเอนเซอร์ก็มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเหมือนกับอาชีพอื่น ๆ ดังนั้น การวางแผนและยื่นภาษีให้ถูกต้องจึงสำคัญมาก ๆ ถ้าเราไม่ยื่นแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.90 หรือ 94 ภายในกำหนด ก็อาจโดนปรับไม่เกิน 2,000 บาท หรือถ้าจ่ายภาษีไม่ตรงเวลา ก็ต้องเสียเงินเพิ่ม 1.5% ต่อเดือนเลยทีเดียว แถมถ้ารายได้ทั้งปีเกิน 1.8 ล้านบาท ก็ต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) และเรียกเก็บภาษี 7% ส่งกรมสรรพากรอีกด้วย
เพื่อความสะดวกและถูกต้องในการคำนวณภาษี เราควรแยกประเภทรายได้ให้ชัดเจน จะได้ไม่สับสนและไม่เจอปัญหาภาษีย้อนหลังค่ะ
ในปีนี้สามารถยื่นภาษีบุคคลธรรมดาออนไลน์ได้ตั้งแต่วันนี้ ถึงวันที่ 8 เมษายน 2568 เตรียมเอกสารให้พร้อม แล้วยื่นภาษีออนไลน์ง่าย ๆ ด้วยตัวเองได้ที่เว็บไซต์ www.rd.go.th ได้เลยค่ะ
หากใครอยากเข้าใจเรื่องภาษีของครีเอเตอร์หรืออินฟลูเอนเซอร์มากขึ้น ลองคลิกเข้าไปอ่านบทความด้านล่างนี้เพิ่มเติมได้เลยค่ะ 👇
หวังว่าข้อมูลนี้จะเป็นประโยชน์และช่วยให้ทุกคนจัดการภาษีได้ง่ายขึ้นนะคะ ถ้ามีอะไรสงสัยเพิ่มเติม ลองศึกษาข้อมูลจากกรมสรรพากร หรือปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านภาษีได้เลยค่า
#ยื่นภาษีออนไลน์2568 #ยื่นภาษี #ยื่นภาษีออนไลน์

ปฏิเสธไม่ได้ว่า 'YouTube Creator และ Influencer' กลายมาเป็นอีกอาชีพหนึ่งที่คนรุ่นใหม่ให้ความสนใจ และเกิดความนิยมมากขึ้น จน...

🚀YouTube Updates อัปเดตฟีเจอร์ใหม่! ที่ช่วยให้ครีเอเตอร์สร้างสรรค์คอนเทนต์ได้สนุกยิ่งขึ้น▶️อัปเดตสำหรับชาว YouTube ทั้งค...
06/01/2025

🚀YouTube Updates อัปเดตฟีเจอร์ใหม่! ที่ช่วยให้ครีเอเตอร์สร้างสรรค์คอนเทนต์ได้สนุกยิ่งขึ้น▶️
อัปเดตสำหรับชาว YouTube ทั้งครีเอเตอร์และคนดู เพราะ YouTube ได้ปล่อยฟีเจอร์ใหม่ ๆ เพียบ บอกเลยว่าแต่ละอย่างน่าสนใจมาก จะมีอะไรบ้าง ไปดูกันเลยค่ะ
1. Super Chat Goals
ตอนนี้ครีเอเตอร์ที่เปิดใช้งาน Super Chat สามารถตั้งเป้าหมายหรือ 'Goal' ได้ เช่น กำหนดจำนวน Super Chat หรือยอดเงินที่ต้องการภายในเวลาที่กำหนด ฟีเจอร์นี้ช่วยเพิ่มวิธีใหม่ ๆ ให้ครีเอเตอร์พูดคุยและสร้างการมีส่วนร่วมกับคนดู พร้อมกระตุ้นให้แฟน ๆ หรือคนดูช่วยกันทำเป้าหมายให้สำเร็จ
2. การแท็กสินค้าในคำอธิบายบน Desktop (Shopping Product Tagging in Description)
การแท็กสินค้าในคำอธิบายวิดีโอ (Description) บนคอมพิวเตอร์ทำได้ง่ายขึ้น โดยย้ายปุ่มแท็กไปไว้ด้านล่างของช่องคำอธิบาย ครีเอเตอร์สามารถแท็กสินค้าได้โดยตรงขณะแก้ไขคำอธิบายวิดีโอ เพียงคลิกไอคอน "Products" แล้วกด "+" จากนั้นค้นหาสินค้าที่ต้องการแท็กและเลือกจากรายการได้เลย
3. ขยายฟีเจอร์ Shopping Browser Extension ใน APAC
YouTube ได้เปิดตัวส่วนขยายเบราว์เซอร์สำหรับ YouTube Shopping ในอินเดีย อินโดนีเซีย ไทย และเวียดนาม เพื่อช่วยให้ครีเอเตอร์สามารถแท็กสินค้า Affiliate ในคอนเทนต์ได้ง่ายขึ้น โดยส่วนขยายนี้ช่วยให้ครีเอเตอร์ค้นหาและบันทึกสินค้าจากเว็บไซต์ร้านค้า เพื่อนำมาใช้แท็กในวิดีโอได้สะดวกมากยิ่งขึ้น.
4 Q&A Stickers บน Live แนวตั้ง
ครีเอเตอร์ที่ไลฟ์ในแนวตั้งผ่านแอปมือถือ สามารถเพิ่มสติกเกอร์ถาม-ตอบ (Q&A) ระหว่างสตรีม เพื่อสร้างโอกาสในการพูดคุยและโต้ตอบกับคนดูได้มากขึ้น
5. แอป YouTube Kids โฉมใหม่
แอป YouTube Kids บนมือถือ (ทั้ง iOS และ Android) ได้รับการออกแบบใหม่ทั่วโลก ด้วยดีไซน์ทันสมัยยิ่งขึ้น รองรับการค้นหาและการเรียกดูในแนวตั้ง พร้อมแถบนำทางใหม่ เช่น เพิ่มไอคอนหรือปุ่มที่ชัดเจนและใช้งานสะดวก แต่เนื้อหาและการควบคุมโดยผู้ปกครองยังคงเหมือนเดิม
6. ฟีเจอร์ Posts Gen AI
บน Short ล่าสุด มีการเปิดตัวฟีเจอร์ AI ใหม่ที่ช่วยให้ครีเอเตอร์สร้างโพสต์ได้โดดเด่นและน่าสนใจยิ่งขึ้น ฟีเจอร์เหล่านี้ช่วยปรับแต่งโพสต์ เช่น เพิ่มเอฟเฟกต์ เลือกรูปประกอบ หรือปรับโทนข้อความ ให้เนื้อหาดูสร้างสรรค์และดึงดูดคนดู เหมาะสำหรับการนำเสนอไอเดียหรือโปรโมตเนื้อหาในสไตล์ที่สะท้อนเอกลักษณ์ของครีเอเตอร์ได้อย่างชัดเจน
ข้อมูลจาก: YouTube

03/01/2025

รู้จัก 'Generation Beta' ผู้บริโภคแห่งอนาคต พวกเขาเป็นใคร? มีอะไรน่าสนใจ?
ติดตามได้ในคอมเมนต์เลย👇

02/01/2025

7 เคล็ดลับวางแผนทำคอนเทนต์ ปั้นคอนเทนต์ปังรับปีใหม่
(ดูในคอมเมนต์เลย👇)

"Happy New Year 2025! 🎉 Wishing you a year full of growth, success, and exciting opportunities from all of us at Thought...
31/12/2024

"Happy New Year 2025! 🎉 Wishing you a year full of growth, success, and exciting opportunities from all of us at Thoughtful Thailand!"
🥳 ก้าวเข้าสู่ปีใหม่ 2568 อย่างเป็นทางการ 'Thoughtful Thailand' ขอขอบคุณครีเอเตอร์ อินฟลูเอนเซอร์ และพาร์ทเนอร์ทุกท่านที่ร่วมสร้างความทรงจำดี ๆ ตลอดปีที่ผ่านมา ✨ ขอให้ปีใหม่นี้นำพาความสุข ความสำเร็จ และโอกาสใหม่ๆ มาให้ทุกท่านนะคะ 💖
#สวัสดีปีใหม่ #ปีใหม่

🏆 ส่งท้ายปี 2024! เปิดโพล 10 ช่องครีเอเตอร์ของ Thoughtful Thailand ที่มียอดวิวสูงสุดแห่งปี 2024 🎉ปี 2024 ถือเป็นอีกหนึ่ง...
27/12/2024

🏆 ส่งท้ายปี 2024! เปิดโพล 10 ช่องครีเอเตอร์ของ Thoughtful Thailand ที่มียอดวิวสูงสุดแห่งปี 2024 🎉
ปี 2024 ถือเป็นอีกหนึ่งปีที่วงการครีเอเตอร์สร้างสรรค์ผลงานโดดเด่นมากมาย Thoughtful Thailand ได้รวบรวม 10 ช่องครีเอเตอร์ยอดฮิตในเน็ตเวิร์คที่มียอดวิวรวมสูงที่สุดแห่งปี มาให้ทุกคนได้อัปเดตกันค่ะ มาดูกันเลยว่าช่องไหนติดอันดับบ้าง
1. Studio Wabi Sabi – ช่องซีรีส์วายคุณภาพที่เต็มไปด้วยความฟินและความอบอุ่นหัวใจ
2. Nickymouth – ความสนุกที่มาพร้อมเสน่ห์เฉพาะตัว
3. Isan Lam Ploen Channel – เสียงเพลงและวัฒนธรรมอีสานสุดตราตรึง
4. ป๋าเต็ด – ตัวจริงเรื่องความบันเทิงและสาระ
5. Soloist Channel – คอนเทนต์ครบรส สนุกได้ทุกวัย
6. Fun Family – ช่องครอบครัวที่นำเสนอเรื่องราวสนุกสนานพร้อมแง่คิดดีๆ
7. DJ PP THAILAND REMIX – ดนตรีมันส์ๆ ที่ครองใจคนไทย
8. มวยเด็ด789 – รวมสุดยอดไฟต์มันส์จากวงการมวย
9. ดีเจแบล็คแค๊ท – ดนตรีและสไตล์ที่ไม่ซ้ำใคร
10. EE – ช่องที่นำเสนอคลิป Minecraft ในรูปแบบ Shorts สนุกและรวดเร็ว
🔥 เรียกได้ว่าครีเอเตอร์แต่ละช่องขนความสร้างสรรค์มาแบบจัดเต็ม ใครชื่นชอบช่องไหน อย่าลืมสนับสนุนด้วยการกดติดตาม และแชร์ให้เพื่อนๆ ได้สนุกไปด้วยกันนะคะ
#ครีเอเตอร์ ิยม #ที่สุดแห่งปี2024

🔥มาร่วมย้อนดูทุกโมเมนต์สุดฮิตที่สร้างปรากฏการณ์บน TikTok ประเทศไทยใน ‘Year on TikTok 2024’ ปีแห่งความเติบโตของ TikTok Sh...
26/12/2024

🔥มาร่วมย้อนดูทุกโมเมนต์สุดฮิตที่สร้างปรากฏการณ์บน TikTok ประเทศไทยใน ‘Year on TikTok 2024’ ปีแห่งความเติบโตของ TikTok Shop และการแจ้งเกิดของครีเอเตอร์รุ่นใหม่ที่เต็มไปด้วยความสามารถ
ปี 2024 คือปีที่ TikTok สร้างปรากฏการณ์และเทรนด์ฮิตมากมายในประเทศไทย ทั้งไวรัลคอนเทนต์ เพลงฮิตติดหู และชาเลนจ์ที่ใครๆ ก็ต้องลอง แต่ที่น่าทึ่งที่สุดคงจะเป็นการเติบโตอย่างก้าวกระโดดของ TikTok Shop และการประสบความสำเร็จของครีเอเตอร์ไทยที่สร้างสรรค์คอนเทนต์คุณภาพ พร้อมผลักดันธุรกิจให้เติบโตไปอีกขั้นอย่างยั่งยืน
📌สรุปประเด็นสำคัญของเทรนด์ TikTok ในไทยปี 2024
✅การเติบโตของ TikTok Shop
1. จำนวนครีเอเตอร์ที่ใช้ฟีเจอร์ตะกร้าช้อปปิ้งในคอนเทนต์เพิ่มขึ้น 3 เท่าระหว่างเดือนมกราคม-สิงหาคม 2567
2. การร่วมมือระหว่างแบรนด์และครีเอเตอร์เพิ่มขึ้นถึง 4 เท่า
3. การจับมือกันระหว่างครีเอเตอร์และแบรนด์ช่วยผลักดันความสำเร็จด้านอีคอมเมิร์ซ
✅การเติบโตของธุรกิจผ่าน TikTok Shop
- TikTok Shop พลิกโฉมอีคอมเมิร์ซโดยผสานคอนเทนต์ การค้นพบสินค้า และการซื้อขายเข้าด้วยกัน มอบประสบการณ์ช้อปปิ้งที่แตกต่างและดึงดูดใจผู้บริโภค
✅การส่งเสริมธุรกิจ SMBs และครีเอเตอร์ในไทย
- แพลตฟอร์มนี้ช่วยแบรนด์ท้องถิ่นและธุรกิจขนาดเล็กสร้างการมีส่วนร่วมและยอดขาย โดยเน้นคอนเทนต์และการตลาดแบบครบวงจร
ตัวอย่างความสำเร็จที่โดดเด่น ได้แก่
1. : ใช้กลยุทธ์แคมเปญ 7.7 เปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่ สร้างยอดขายกว่า 10,000 ออเดอร์ใน 3 วัน เพิ่มยอดขาย 30% เมื่อเทียบกับแคมเปญก่อนหน้า
2. .camille: เปิดตัวลิปสติก "ลิ้นกระต่าย" ไวรัล ขาย 50,000 ชิ้นใน 7 วัน ด้วยกลยุทธ์ที่ผสมผสานคอมมูนิตี้เทรนด์บิวตี้
3. : ใช้ TikTok Shop และไลฟ์สตรีมดึงดูดยอดขายสูงสุด 5 ล้านบาทในแคมเปญเดียว
🚀สรุปปรากฏการณ์เทรนด์ฮิตที่สร้างสีสันทั่วไทย
TikTok ยังคงเป็นแพลตฟอร์มที่สร้างเทรนด์และกระแสไวรัลอย่างต่อเนื่องในปี 2024 ไม่ว่าจะเป็น
1. ไวรัลคอนเทนต์
🐶สัตว์น่ารักครองใจ
- สัตว์น่ารักจากทั่วโลกได้รับความนิยมอย่างมาก เช่น "หมูเด้ง" ฮิปโปแคระจากไทย และ "Pesto" กับเพนกวินจากออสเตรเลีย ความนิยมเหล่านี้เชื่อมโยงผู้คนรักสัตว์และสร้างบทสนทนาเรื่องสวัสดิภาพและการอนุรักษ์สัตว์
- "นปโปะหม่ำๆ" น้องหมาคอร์กี้ที่ร้องเพลงให้กำลังใจตัวเองตอนกินอาหาร เพลงน่ารักนี้สร้างแรงบันดาลใจให้ผู้ใช้สร้างโพสต์กว่า 146,000 โพสต์
🍫TikTok กับวงการอาหาร
TikTok มีอิทธิพลต่อวงการอาหาร ทำให้เมนูต่างๆ ดังระดับโลก ตัวอย่างเช่น Dubai Chocolate Bar จาก Fix Dessert Chocolatier ที่ได้รับความนิยมในไทยและทั่วโลก
💄 สู่
เทรนด์ ได้รับความนิยมในวงการความงามและแฟชั่นทั่วโลก ถูกพัฒนาต่อยอดเป็น สไตล์เมคอัพไทยโบราณจากประเทศไทย ด้วยยอดโพสต์กว่า 3,500 โพสต์ นำเสนอความงามแบบไทยโบราณ สร้างความประทับใจและดึงดูดครีเอเตอร์จากประเทศเพื่อนบ้าน
2. เพลงฮิตติดชาร์ต
TikTok เป็นแพลตฟอร์มที่ทรงพลังในวงการเพลง ช่วยสร้างกระแสให้เพลงและศิลปินใหม่เข้าสู่กระแสหลัก ที่สำคัญ คือ ช่วยศิลปินหน้าใหม่แจ้งเกิดและโปรโมตเพลง ผู้ใช้งานในไทยมีแนวโน้มค้นพบศิลปินหน้าใหม่บน TikTok มากกว่าช่องทางอื่น 2 เท่า และ 62% ของผู้ใช้งานในไทยบอกว่าเสียงเพลงเป็นส่วนหนึ่งของกิจวัตรประจำวัน
🎵ตัวอย่างเพลงไวรัลในปี 2024
- "เมร่อน" (): เพลงไวรัลยอดฮิตหน้าร้อนและสงกรานต์ มียอดโพสต์ 714,000 โพสต์
- "วาสนาผู้ใด" (): เพลงอบอุ่นใจจากศิลปินหน้าใหม่ สร้างแรงบันดาลใจให้โพสต์กว่า 904,000 โพสต์
- "ฟ้ารักพ่อ (DILF)" (): เพลง T-Pop ไวรัลพร้อมท่าเต้นยอดฮิต
- "Sorry" (): เพลง Afrobeats โดยสามสาว DREAMGALS จุดประกายคอนเทนต์สร้างสรรค์
- "Hit Me Up" (): เพลงมันส์พร้อมชาเลนจ์เต้นที่คนดังร่วมสนุก
- "Magic" (): เพลงเพราะจากศิลปินหน้าใหม่ ครองใจคนฟังทั่วประเทศ
3. เทรนด์สร้างสรรค์
TikTok เป็นมากกว่าแพลตฟอร์มวิดีโอสั้น แต่ยังช่วยเชื่อมโยงคอมมูนิตี้ กระตุ้นกระแสวัฒนธรรม และสร้างปรากฏการณ์ที่ส่งผลต่อวงการหนังสือและป๊อปคัลเจอร์ระดับโลก
📚 จุดเปลี่ยนวงการหนังสือ
- คอมมูนิตี้คนรักการอ่านที่ทรงพลังใน TikTok ช่วยเปลี่ยนหนังสือที่ไม่ค่อยมีคนรู้จักให้เป็นหนังสือขายดี
- มีโพสต์เกี่ยวกับ กว่า 1.2 ล้านโพสต์ ในช่วง 10 เดือนแรกของปี 2567
- ผู้ใช้งาน TikTok ในไทยมีแนวโน้มซื้อหนังสือเพิ่มขึ้น 1.6 เท่า โดยมีแฮชแท็ก #อ่านตามTikTok เป็นฮับสำคัญสำหรับนักอ่านชาวไทย ที่รวมโพสต์กว่า 128,000 โพสต์
😍บทบาทของ TikTok ในป๊อปคัลเจอร์ปี 2024
- แพลตฟอร์มนี้ยังคงเป็นแหล่งรวมวัฒนธรรมดิจิทัลและแรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์
- เทรนด์เด่น เช่น วลีติดหู “very demure, very mindful” จาก Jools Lebron ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงในภาษาและการแสดงออกของผู้คน
- วลี ได้รับการยกย่องเป็น "คำแห่งปี 2024" โดย Dictionary.com
4. TikTok กับการส่งเสริมการท่องเที่ยวไทย
TikTok มีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมการท่องเที่ยวไทยในปี 2567 โดยร่วมมือกับการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย () สร้างกระแสไวรัลผ่านแคมเปญ เช่น ี่ยว และ #เที่ยวไทย ที่ช่วยเปลี่ยนสถานที่ท่องเที่ยวที่ยังไม่เป็นที่รู้จักให้กลายเป็นจุดหมายปลายทางระดับโลก
ความสำเร็จเด่นชัดในแคมเปญ Amazing Thailand Passion Ambassador ที่สามารถสร้างรายได้จากสินค้าและบริการท่องเที่ยวกว่า 80 ล้านบาทในเดือนแรก ขณะเดียวกัน ช่วงเทศกาลสงกรานต์ TikTok มีส่วนในการสร้างการมีส่วนร่วมสูงสุดบนโซเชียลมีเดียถึง 96% จากยอดรวมกว่า 3 พันล้านครั้ง ด้วยกลยุทธ์เล่าเรื่องที่ดึงดูดใจและแคมเปญสร้างการมีส่วนร่วม TikTok ได้เปลี่ยนวิธีที่นักเดินทางค้นหาและเชื่อมต่อกับประเทศไทย พร้อมตอกย้ำภาพลักษณ์ประเทศให้เป็นจุดหมายปลายทางที่ต้องเยือน
👉อ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่: https://newsroom.tiktok.com/th-th/year-on-tiktok-thailand
#เทรนด์TikTok2024

🎅🎄 Wishing you a warm and joyful Christmas! 🎁✨สุขสันต์วันคริสต์มาสนะคะทุกคน! Thoughtful Thailand ขอขอบคุณจากใจที่ทุกคนสน...
24/12/2024

🎅🎄 Wishing you a warm and joyful Christmas! 🎁✨
สุขสันต์วันคริสต์มาสนะคะทุกคน! Thoughtful Thailand ขอขอบคุณจากใจที่ทุกคนสนับสนุนและอยู่เคียงข้างกันเสมอมา
ในเทศกาลแห่งความสุขนี้ เราขอส่งต่อความรักและความปรารถนาดี ขอให้ทุกคนมีช่วงเวลาที่อบอุ่นและเปี่ยมด้วยความสุข ประสบความสำเร็จในทุกสิ่งที่ตั้งใจ และขอให้คริสต์มาสปีนี้เป็นวันที่แสนพิเศษสำหรับทุกคนค่ะ 💖
#คริสต์มาส2567

💡อัปเดต! '25 คีย์เวิร์ด' แห่งอนาคตที่โลกจับตามองในปี 2025🚀ในปี 2025 โลกยังคงเผชิญกับวิกฤตที่ซับซ้อนและเชื่อมโยงกัน ซึ่งส...
23/12/2024

💡อัปเดต! '25 คีย์เวิร์ด' แห่งอนาคตที่โลกจับตามองในปี 2025🚀
ในปี 2025 โลกยังคงเผชิญกับวิกฤตที่ซับซ้อนและเชื่อมโยงกัน ซึ่งสร้างความวุ่นวายและความไม่แน่นอนให้กับการใช้ชีวิต การเข้าใจแนวโน้มสำคัญจึงเปรียบเสมือนแผนที่นำทางที่จะช่วยให้เราพร้อมรับมือกับความเปลี่ยนแปลงที่อาจเกิดขึ้นได้ทุกเมื่อ
หนังสือ “เจาะเทรนด์โลก 2025 (TREND 2025: BEYOND IMAGINATION)” จาก “คิด” Creative Thailand ได้รวบรวม 25 คีย์เวิร์ดที่สะท้อนแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงในมิติของสังคม เทคโนโลยี และพฤติกรรมของผู้คนทั่วโลกในปี 2025 แต่ละเทรนด์ไม่เพียงชี้ให้เห็นถึงสิ่งที่กำลังจะมาถึง แต่ยังช่วยจุดประกายแรงบันดาลใจ ให้เราปรับตัวและเตรียมพร้อมก้าวเข้าสู่อนาคตอย่างมั่นใจ
ลองมาดูกันว่าในปี 2025 จะมีเทรนด์อะไรที่น่าสนใจและส่งผลต่อชีวิตเราในแบบที่อาจเกินจินตนาการบ้าง
1. Ageism (การเหยียดอายุ)
คือการเหมารวมและเลือกปฏิบัติตามอายุ ซึ่งพบได้ในทุกวัย โดยเฉพาะกลุ่ม Gen X ที่มักเจออคติในงาน ชีวิตประจำวัน และออนไลน์
2. Tri-life Crisis (วิกฤตชีวิตวัยสามสิบ)
วิกฤตที่คนวัย 30+ เผชิญกับความกดดันเรื่องงาน การเงิน ความสัมพันธ์ และเป้าหมายในชีวิต เกิดจากการเปรียบเทียบตัวเองกับคนอื่นและความคาดหวังที่ไม่เป็นจริง นำไปสู่ความเครียดและความสงสัยในตัวเอง
3. MZ (กลุ่มผู้บริโภคมิลเลนเนียลและเจนซี)
กลุ่ม MZ (Millennials และ Gen Z) เป็นกลุ่มผู้บริโภคที่มีอิทธิพลต่อเทรนด์ใหม่ ๆ ในวงกว้าง โดยชื่นชอบการช้อปปิ้งออนไลน์เพราะสะดวกและคุ้มค่า ตัดสินใจซื้อสินค้าได้รวดเร็ว และมักใช้แบรนด์ที่ชอบสะท้อนตัวตนของตนเองอย่างอิสระ
4. JOLO (ความสุนทรีย์เมื่อได้ออฟไลน์)
พฤติกรรมของ Gen Z ที่เลือกล็อกเอาต์จากโซเชียลมีเดียเพื่อหลีกเลี่ยงความรู้สึกเหงาและความกดดันจากการสร้างภาพลักษณ์ออนไลน์ หันไปหากิจกรรมออฟไลน์ เช่น การท่องเที่ยว หรือการเข้าร่วมกิจกรรมที่ช่วยให้รู้สึกอิสระและเป็นตัวเองมากขึ้นโดยไม่ต้องกลัวการวิพากษ์วิจารณ์จากผู้อื่น
5. Sharenting (การแชร์เรื่องลูกบนโซเชียล)
การที่พ่อแม่แชร์เรื่องราวของลูกบนโซเชียลมีเดียโดยไม่ได้รับความยินยอมจากลูก ซึ่งอาจส่งผลเสีย เช่น ความเสี่ยงต่อความเป็นส่วนตัว การกลั่นแกล้งออนไลน์ หรือการนำรูปภาพไปใช้ในทางไม่ดี โดยเฉพาะกับเด็ก Gen Alpha ที่เติบโตในโลกออนไลน์ที่พ่อแม่แชร์ชีวิตของพวกเขาตลอดเวลา
6. Alphluencer (อินฟลูเอนเซอร์เจนอัลฟา)
Alphluencer คือกลุ่มอินฟลูเอนเซอร์ที่เป็นเด็ก Gen Alpha ซึ่งเติบโตในโลกออนไลน์และคุ้นเคยกับการใช้โซเชียลมีเดียอย่างคล่องแคล่ว มักได้รับอิทธิพลจากพ่อแม่ที่แชร์ชีวิตออนไลน์ (Sharenting) และมีแนวโน้มที่จะเลียนแบบพฤติกรรมอินฟลูเอนเซอร์หรือคอนเทนต์ครีเอเตอร์อื่น ๆ
7. RaaS (วิทยาการหุ่นยนต์ในฐานะการบริการ)
RaaS ย่อมาจาก Robotics-as-a-Service คือโมเดลธุรกิจที่ใช้เทคโนโลยีหุ่นยนต์และอัตโนมัติในการบริการ เช่น ในอุตสาหกรรมยานยนต์และโลจิสติกส์ ช่วยควบคุมคุณภาพและลดข้อผิดพลาด มีแนวโน้มที่จะขยายตัวในหลายธุรกิจเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและความสามารถในการแข่งขัน
8. Polarized Internet (กระแสแบ่งขั้วทางสังคมบนอินเทอร์เน็ต)
กระแส Polarized Internet เกิดจากอัลกอริทึมที่กรองข้อมูลสนับสนุนความคิดเดิมของผู้ใช้ ส่งผลให้เกิดการแบ่งขั้วทางสังคม มุมมองสุดโต่ง และความไม่เท่าเทียมในโลกออนไลน์.
9. Persuasion Fatigue (อาการเหนื่อยล้าจากการโน้มน้าวใจผู้อื่น)
การพยายามโน้มน้าวใจผู้อื่นอย่างต่อเนื่องบนโซเชียลมีเดียทำให้ผู้ใช้งานรู้สึกเหนื่อยล้า โดยเฉพาะกลุ่มเจ้าของธุรกิจและคอนเทนต์ครีเอเตอร์ที่ต้องแข่งขันเพื่อยอดวิวและยอดขาย
10. Diaphobia (อาการกลัวคอนเทนต์บนโซเชียลมีเดีย)
Diaphobia คืออาการกลัวและวิตกกังวลกับคอนเทนต์ของผู้อื่นบนโซเชียลมีเดีย ซึ่งอาจทำให้ผู้ที่มีอาการนี้รู้สึกหมดไฟและขาดแรงบันดาลใจในการสร้างคอนเทนต์ของตัวเอง
11. Planetary Empathy (ความเห็นอกเห็นใจต่อโลก)
Planetary Empathy คือแนวคิดที่ส่งเสริมความใส่ใจต่อธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยธุรกิจสามารถสร้างความยั่งยืน ลดคาร์บอนฟุตพรินต์ และเพิ่มความน่าสนใจให้สินค้า ผ่านความร่วมมือกับผู้เชี่ยวชาญด้านต่าง ๆ เพื่อตอบโจทย์เทรนด์ผู้บริโภคที่ใส่ใจสิ่งแวดล้อมมากขึ้น
12. Q***r Ecology (นิเวศวิทยาแบบเควียร์)
การผสมผสานวัฒนธรรมความหลากหลายทางเพศกับนิเวศวิทยา เพื่อเสนอแนวทางใหม่ในการแก้ปัญหาที่ซับซ้อน เช่น ความยั่งยืนและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยเปิดโอกาสให้ธุรกิจยอมรับความยืดหยุ่นและการพึ่งพากันมากขึ้น เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่ตอบโจทย์ผู้บริโภคยุคใหม่ได้ดีขึ้น
13. New Nihilism (สุญนิยมแนวใหม่)
การปรับแนวคิดสุญนิยมให้เป็นเชิงบวก โดยมองการปลดปล่อยตัวเองจากกรอบสังคมเดิมเป็นโอกาสสร้างชีวิตเรียบง่าย มีความสุขกับปัจจุบัน และมีความหมายในแบบของตัวเอง พร้อมสร้างผลกระทบเชิงบวกต่อสังคม ท่ามกลางโลกที่ซับซ้อนและวุ่นวาย
14. Q-Commerce (ว่องไวพาณิชย์)
การซื้อของออนไลน์ที่เน้นความรวดเร็วในการส่งสินค้า โดยเฉพาะอาหารและของใช้จำเป็นที่ส่งถึงมือภายใน 30 นาทีถึง 1 วัน
15. Polychronic (โพลีโครนิก)
แนวทางการทำงานที่มีความยืดหยุ่นและให้ความสำคัญกับความสัมพันธ์มากกว่าผลลัพธ์ โดยทำหลายสิ่งพร้อมกันและไม่ยึดตารางเวลาตายตัว ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นในกลุ่มที่ต้องการสมดุลระหว่างการทำงานและการใช้ชีวิตแบบผ่อนคลายและยืดหยุ่นมากขึ้น
16. Bleisure (ทำงานได้ พักผ่อนด้วย)
การท่องเที่ยวที่ผสมผสานระหว่างการทำงานและการพักผ่อนในทริปเดียวกัน เพื่อสร้าง Work-Life Balance โดยกลุ่มมิลเลนเนียลเป็นแรงผลักดันสำคัญ ธุรกิจโรงแรมจึงปรับตัวด้วยบริการที่ตอบโจทย์ทั้งการทำงานและการพักผ่อนอย่างยืดหยุ่น
17. Well-topia (แดนสุขภาวะดี)
แนวคิดเมืองแห่งอนาคตที่ให้ความสำคัญกับสุขภาพและคุณภาพชีวิตที่ดีสำหรับทุกกลุ่มคน โดยยกระดับสุขภาพกายและใจ ผ่านการออกแบบเมืองที่สนับสนุนการเคลื่อนไหวและการเข้าถึงสภาพแวดล้อมที่ดี เช่น สวนสาธารณะและพื้นที่เดินได้สะดวก โดยนำแนวคิดจากพื้นที่ที่มีประชากรอายุยืนมาใช้
18. Glimmer (แสงสว่างเล็ก ๆ)
ช่วงเวลาเล็ก ๆ ของความสุขในชีวิตประจำวันที่ช่วยให้ลดความเครียดและสร้างความหวัง ช่วยลดอารมณ์เชิงลบและสร้างความสุข เช่น การฟังเพลงโปรดหรือการเพลิดเพลินกับทิวทัศน์ เป็นเครื่องมือที่ช่วยผ่อนคลาย ลดเครียด และเสริมความหวังในแต่ละวัน
19. Funemployment (บันเทิงใจในระหว่างว่างงาน)
การมองเห็นโอกาสในช่วงเวลาว่างงานเพื่อผ่อนคลายและเติมเต็มประสบการณ์ชีวิต เช่น การท่องเที่ยว อาสาสมัคร หรือดูแลตัวเอง เป็นช่วงที่คนในวัย 20-30 ปีใช้โอกาสนี้เพื่อเติมเต็มชีวิตโดยไม่ต้องกังวลกับการหางาน
20. Fluidity (ความลื่นไหล)
การที่ผู้คน โดยเฉพาะ Gen Z ไม่ผูกติดกับอัตลักษณ์ใด ๆ ไม่ผูกติดกับเพศ สถานที่เกิด หรือความเชื่อ และสามารถพัฒนาอัตลักษณ์ตัวเองได้อย่างอิสระตามประสบการณ์และความต้องการ เช่น การแยกแยะระหว่างความดึงดูดทางเพศและความรัก
21. Inclusive Design (การออกแบบที่นับรวมคนทุกกลุ่ม)
การออกแบบเมืองและบริการที่รองรับทุกกลุ่มคน โดยไม่จำกัดเพศ รูปร่าง หรือความบกพร่องทางร่างกาย เพื่อสร้างเมืองที่เข้าถึงได้สำหรับทุกคน พร้อมคำนึงถึงมิติทางสังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม เพื่อลดความเหลื่อมล้ำและเปิดโอกาสให้ทุกคนมีส่วนร่วม
22. Lo-Fi Strategy (หย่อนใจไปกับโลกแอนะล็อก)
เทรนด์ที่ชาว Gen Z และ Millennials หันกลับมาสนใจประสบการณ์แบบออฟไลน์ เพื่อลดผลกระทบจากโลกออนไลน์ เช่น การสะสมแผ่นเสียง หรือการเล่นเกมยุคเรโทร และธุรกิจเริ่มสร้างคอมมิวนิตี้เพื่อให้ผู้คนได้มาใช้เวลาร่วมกันแบบออฟไลน์
23. Impactainment (ความบันเทิงเพื่อสร้างผลเชิงบวก)
การสร้างความบันเทิงที่มุ่งสร้างผลเชิงบวก เพื่อสร้างประสบการณ์ที่ไม่เพียงให้ความรู้และความสนุก แต่ยังสามารถกระตุ้นให้ผู้คนลงมือทำจริง ๆ ด้วยการใช้วิทยาศาสตร์พฤติกรรมและจิตวิทยามาสนับสนุนการสร้างการเปลี่ยนแปลงที่ดีในสังคม
24. Brand Fiction (จักรวาลแห่งเรื่องเล่า)
การสร้างจักรวาลเรื่องเล่าที่ลึกซึ้งและเฉพาะเจาะจง เพื่อดึงดูดผู้บริโภคให้ติดตามและเชื่อมโยงกับแบรนด์เหมือนกับการติดตามซีรีส์ ขยายประสบการณ์และความบันเทิงผ่านเนื้อหาที่มีเอกลักษณ์และเรื่องราวที่ซับซ้อน
25. ilco (อิลโค)
ilco (일코) คือ วัฒนธรรมแฟนด้อมที่คนไม่เปิดเผยตัวตน ผ่านการใช้สัญลักษณ์หรือสินค้าที่สะท้อนถึงความชอบส่วนตัวโดยไม่เปิดเผยตัวตนชัดเจน เป็นแนวทางใหม่ในการเข้าใจพฤติกรรมของกลุ่มนี้ในตลาด
ข้อมูลจาก: Creative Thailand
อ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่: https://www.creativethailand.org/article-read?article_id=34695&fbclid
#เทรนด์โลก2025

ที่อยู่

Summer Point Building Unit 301 & 302 , 1553 Sukhumvit Road, Phra Khanong Nuea, Watthana Bangkok, Thailand
Klong Toey
10110

เวลาทำการ

จันทร์ 09:30 - 18:00
อังคาร 09:30 - 18:00
พุธ 09:30 - 18:00
พฤหัสบดี 09:30 - 18:00
ศุกร์ 09:30 - 18:00

เว็บไซต์

แจ้งเตือน

รับทราบข่าวสารและโปรโมชั่นของ Thoughtful Media Group Thailandผ่านทางอีเมล์ของคุณ เราจะเก็บข้อมูลของคุณเป็นความลับ คุณสามารถกดยกเลิกการติดตามได้ตลอดเวลา

ติดต่อ ธุรกิจของเรา

ส่งข้อความของคุณถึง Thoughtful Media Group Thailand:

วิดีโอทั้งหมด

แชร์