พีทคนเลือดบวก - Pete Thitiwatt A Person Living With HIV

พีทคนเลือดบวก - Pete Thitiwatt A Person Living With HIV A Person living with HIV since 2016 disclosed to public since 2018. I'm an Factivist

07/12/2024

ฝากให้คิด … โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ (มัน 18+นะ แต่พยายามปรับภาษาแล้ว)

ระยะนี้มีผู้ป่วยมาปรึกษาโรคทางเพศสัมพันธ์มากขึ้น ผมมีข้อสังเกตบางประการจากประสบการณ์ส่วนตัวนะครับ

1.กลุ่มผู้ป่วยอายุน้อยลง เริ่มต่ำกว่า 18 มีทั้งชายและหญิงพอกัน รูปแบบความสัมพันธ์มีทั้งชายหญิง ชายชาย และหญิงหญิง และที่มีมากขึ้นคือสัมพันธ์มากกว่าสองคน ทั้งในเวลาเดียวกันและต่างเวลากัน

2.คนที่มาปรึกษา มักจะมีประวัติแบบนี้มาแล้วหลายครั้ง โดยเฉพาะผู้ชายและมักจะได้ประวัติว่า ถุงยางแตก บ่อยมาก

3.โอกาสจะได้รักษาคู่นอน ตามมาตรฐานการรักษาโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เกิดขึ้นได้น้อยมาก ไม่ว่าจะไม่กล้าบอก หรือตามคู่นอนคนนั้นมาไม่ได้

4.ผู้ป่วยและญาติ เปิดเผยมากขึ้น พ่อแม่พามาตรวจหรือพาพ่อแม่มาด้วย แบบนี้พบมากขึ้น จะเต็มใจหรือไม่พอใจอันนี้ไม่ทราบได้ แต่เปิดเผยมากขึ้น

5.ผู้ป่วยเกือบทุกรายที่ยังไม่เกิดอาการ มักจะกังวลเรื่อง HIV และทราบถึง post exposure prophylaxis มาพอสมควรแล้ว แต่ไม่ค่อยสนใจ หนองใน ซิฟิลิส ไวรัสตับอักเสบ เริม หรือการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์

มันก็ดีนะครับ ที่ผู้ป่วยใส่ใจมาปรึกษาตั้งแต่เริ่ม แต่ว่าถ้าป้องกันก่อนเกิดเหตุจะดีกว่า นี่แหละคือเรื่องที่อยากฝากให้คิด คือ เรื่องการป้องกัน

ในอดีตเราเคยถกเถียงกันว่าจะสอนเรื่องการป้องกันให้กับเด็กประถมมัธยมดีหรือไม่ จะเป็นการชี้โพรงให้กระรอกหรือไม่ ตอนนี้เราคงหมดคำถามไปแล้วว่าจะสอนดีไหม เพราะเราคงไม่สามารถไปป้องกันการมีเพศสัมพันธ์ได้ โลกยุคปัจจุบันมันยิ่งง่าย แค่ปลายนิ้ว เมื่อจำนวนการมีเพศสัมพันธ์มากขึ้น ตัวเลขผู้ติดเชื้อจะเพิ่มขึ้นไปด้วย ถ้าเราไม่อยากให้ตัวเลขมันเพิ่ม มีสองทาง ทางแรกคือ สอนการป้องกัน อีกทางคือ งดการมีเพศสัมพันธ์โดยสมบูรณ์ แล้วมาใช้ไม้เกาหลังกับนั่งขุดรูเป็นเพื่อนลุงหมอ

เราก็มาว่ากันด้วยเรื่องใช้ถุงยางนี่แหละ ไม่รู้ว่าปัจจุบันทำไมค่านิยมการใช้ถุงยางอนามัยลดลง ทั้ง ๆ ที่หาซื้อได้ง่าย ราคาไม่แพง และสะดวกซื้อทุกที่ ไอ้เรารึก็อยากจะซื้อมาใช้ แต่ก็คิดว่าถุงยางน่าจะหมดอายุก่อนได้ใช้

ประสิทธิภาพการป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ของการใช้ถุงยางอนามัยอยู่ที่ 86% (รวมทุกโรค) แต่ถ้าสวมใส่ถูกวิธี ถูกขนาด (อย่าใจใหญ่เกินขนาด) และเลือกสารหล่อลื่นถูกต้อง ประสิทธิภาพโดยรวมอยู่ที่ 97% โดยโรคที่ประสิทธิภาพสูงระดับ 90%-99% คือ โรคติดเชื้อไวรัสเอชไอวี และติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี เพราะติดเชื้อผ่านสารคัดหลั่ง

ส่วนโรคอื่นเช่นซิฟิลิส แผลริมอ่อน โรคเริม อัตราการป้องกันจะอยู่ที่ 60-90% เพราะยังมีการติดเชื้อจากการสัมผัสเช่นจากมือ จากนิ้ว จากเพศสัมพันธ์ทางปาก และโรคที่ป้องกันได้น้อยเช่น การติดเชื้อหูดและเอชพีวี เพราะผ่านการสัมผัสเสียเป็นส่วนมาก

และการติดเชื้อผ่านการสัมผัส จะป้องกันได้แค่ส่วนที่สวมถุง ถ้าคุณทำกิจกรรมผ่านส่วนที่ไม่สวมถุงก็ยังติดได้ โดยเฉพาะการมีเพศสัมพันธ์ทางปาก การใช้มือให้กัน

แต่ประเด็นสำคัญของความล้มเหลวในการป้องกันคือ ถุงแตก (โดยเฉพาะกลุ่มที่ชอบใส่ถุงยางสองชั้น !!) ใส่ผิดวิธี ถอดผิดวิธี มือสัมผัสส่วนเปียก (เวลาถอด) ใช้สารหล่อลื่นปิโตรเลียม(วาสลีน) กับถุงยางแบบยางลาเท็กซ์ มีคนที่ใช้ซ้ำและใช้ร่วมกันด้วยนะ

ดังนั้นทักษะการใช้ถุงยางอนามัยถือว่าสำคัญมากที่ผู้ชายต้องรู้และควรฝึกใช้ และลูกผู้หญิงเราก็ต้องรู้นะลูก อย่าคิดว่าไอ้หนุ่มมันจะใช้เป็น และที่สำคัญ

ถ้ามันไม่ใส่ก็อย่าให้มันเข้าเลยลูกเอ๊ย จะมาอ้างว่าแพ้ถุงยางก็ให้มันไปซื้อแบบโพลียูรีเทนมาใช้

องค์การอนามัยโลกได้แนะนำว่านอกจากการสวมถุงยางอนามัยทุกครั้งเวลามีเพศสัมพันธ์ แม้แต่การมีเพศสัมพันธ์ทางปาก ควรใช้ร่วมกับอย่ามีคู่สัมพันธ์หลายคน (องค์การอนามัยโลกช่างไม่อยู่ในโลกแห่งความเป็นจริง)

ส่วนถุงยางผู้หญิงแม้ว่าจะช่วยลดการตั้งครรภ์ได้ดี แต่ประสิทธิภาพการป้องกันโรคทางเพศสัมพันธ์ไม่ดีเท่าถุงยางผู้ชายครับ

แล้วคุณมีความเห็นอย่างไรกันบ้าง

02/12/2024

🔒 สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ขอเชิญเข้าร่วมอบรมสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล "โครงการพัฒนาทักษะและความเชี่ยวชาญของบุคลากรสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ภายใต้โครงการพัฒนาบุคลากรด้านการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของประเทศ สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล"

🔴 ออนไลน์ผ่าน Facebook : PDPC Thailand

📌วันที่ 3 ธันวาคม 2567
เวลา 13:30 – 15:30 น.
หัวข้อ: การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลที่ส่งหรือโอนข้อมูลส่วนบุคคลข้ามพรมแดน

📌วันที่ 4 ธันวาคม 2567
เวลา 09:30 – 11:30 น.
หัวข้อ: การบริหารข้อมูลส่วนบุคคลสำหรับธุรกิจ SMEs

🔹ผู้เข้าร่วมที่สนใจ สามารถดูรายละเอียด​กำหนดการได้ที่ https://drive.google.com/drive/folders/1-3oimSLoe0BQYsUPX7i_JBW5JJzU1nHq

🔹สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
โทร.02-111-8800 หรือ 095-167-1927

---------------------------------


#สคส
#ข้อมูลส่วนบุคคล
#ข้อมูลรั่วไหลเป็นศูนย์
#กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม

02/12/2024

Social Enterprise (SE) หรือ กิจการเพื่อสังคม คือรูปแบบของธุรกิจประเภทหนึ่งที่เกิดขึ้นมาเพื่อสร้างผลกระทบเชิงบวกให้กับสังคมในด้านต่างๆ โดยขับเคลื่อนด้วยโมเดลธุรกิจ ที่ช่วยให้กิจการสามารถสร้างรายได้และการเปลี่ยนแปลงทางสังคมไปพร้อมๆ กัน
โครงการ Banpu Champions for Change หรือ BC4C โดย บริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน) เกิดขึ้นโดยมีเป้าหมายในการปั้นผู้ประกอบการ SE รุ่นใหม่ ให้มาร่วมสร้างการเปลี่ยนแปลงทางสังคม ทั้งด้านสิ่งแวดล้อม ผู้คน และเศรษฐกิจของประเทศในองค์รวม และผลักดัน SE Ecosystem หรือระบบนิเวศของกิจการเพื่อสังคมในประเทศไทยให้เข้มแข็ง BC4C จัดต่อเนื่องมาเป็นปีที่ 13 โดยได้สนับสนุนทั้งองค์ความรู้และงบประมาณให้กับผู้ประกอบการกว่า 130 กิจการ สู่การสร้างประโยชน์ให้แก่ชุมชนและองค์กรต่างๆ รวมทั้งสิ้นกว่า 187 แห่ง และครอบคลุมผู้ได้รับผลประโยชน์กว่า 2.5 ล้านคน
ในปีล่าสุด BC4C มาพร้อมกับแนวคิด ‘Impactful Locals, National Boost: ชุมชนแกร่ง ไทยแกร่ง’ เปิดโอกาสให้ SE หน้าใหม่ที่ตั้งใจจะพัฒนาความเป็นอยู่ที่ดีของชุมชนตัวเองได้เข้าร่วมโครงการผ่านโปรแกรมบ่มเพาะระยะเริ่มต้น พร้อมสนับสนุนเงินทุนสำหรับดำเนินกิจการสำหรับทีมผู้เข้ารอบสุดท้าย ทีมละ 250,000 บาท และต่อไปนี้คือ 3 ธุรกิจผู้ชนะสุดยอดโมเดลธุรกิจจากโครงการ BC4C ปีที่ 13 ที่สามารถสร้าง impact ให้กับชุมชนของตัวเองได้จริง
อ่านบทความเพิ่มเติมได้ที่: https://thematter.co/brandedcontent/banpu-champions-for-change/234806
#พลังเปลี่ยนแปลงเพื่อสังคม #ธุรกิจชุมชน

02/12/2024

BRIEF: เบลเยียมให้สิทธิลาคลอด ลาพักร้อน และเงินบำนาญ กับ S*x Workers เป็นประเทศแรกในโลก
ในขณะที่ S*x Workers ในประเทศไทยยังไม่ถูกกฏหมาย แต่ S*x Workers ในเบลเยียม กำลังจะได้ทำสัญญาจ้างอย่างเป็นทางการ และได้รับสิทธิแรงงานเท่าเทียมกับอุตสาหกรรมอื่นๆ เช่น การลาคลอด ลาพักร้อน และได้รับเงินบำนาญด้วย
การเปลี่ยนแปลงนี้ บางคนบอกว่าเป็น ‘การปฏิวัติ’ ครั้งแรกของโลก ที่กำหนดสิทธิขั้นพื้นฐานให้กับ S*x Workers รวมถึงสิทธิที่จะปฏิเสธลูกค้า เลือกรูปแบบให้บริการ และสามารถ ‘หยุด’ การให้บริการได้ทุกเมื่อ
ความเคลื่อนไหวดังกล่าวเกิดขึ้นหลังจากที่ในปี 2022 เบลเยียมประกาศว่า การค้าบริการทางเพศไม่ใช่อาชญากรรม ซึ่งภายใต้กฎระเบียบใหม่ S*x Workers จะสามารถเข้าถึงประกันสุขภาพ วันลาพักร้อนที่จ่ายเงินเดือน สวัสดิการคลอดบุตร การสนับสนุนการว่างงาน และเงินบำนาญได้
นอกจากนี้ กฎหมายดังกล่าวยังกำหนดกฎเกณฑ์เกี่ยวกับชั่วโมงการทำงาน ค่าจ้าง และมาตรการด้านความปลอดภัย ซึ่งช่วยแก้ไขช่องว่างด้านการคุ้มครองทางกฎหมายที่มีมายาวนานสำหรับผู้ประกอบอาชีพนี้
“นี่ถือเป็นก้าวสำคัญอย่างไม่น่าเชื่อ นั่นหมายความว่าในที่สุดอาชีพของพวกเขาก็ได้รับการยอมรับว่าถูกต้องตามกฎหมายโดยรัฐบาลเบลเยียม จากมุมมองของนายจ้างเอง นี่จะถือเป็นการปฏิวัติเช่นกัน เพราะพวกเขาจะต้องยื่นคำร้องขออนุญาตจากรัฐเพื่อจ้าง S*x Workers” อิซาเบล จารามิลโล ผู้ประสานงานของ Espace P ซึ่งเป็นกลุ่มรณรงค์ที่เกี่ยวข้องกับการร่างกฎหมายดังกล่าวเล่า
อิซาเบล กล่าวต่อว่า ตอนนี้พวกเขา(นายจ้าง)จะต้องยื่นขออนุญาตจากรัฐเพื่อจ้างพนักงาน โดยจะต้องขออนุญาต ปฏิบัติตามมาตรการความปลอดภัยที่เคร่งครัด และปฏิบัติตามข้อกำหนด รวมถึงต้องไม่มีประวัติอาชญากรรมในคดีล่วงละเมิดทางเพศหรือค้ามนุษย์มาก่อน
นายจ้างต้องจัดหาผ้าปูที่นอนที่สะอาด ถุงยางอนามัย และผลิตภัณฑ์สุขอนามัย และติดตั้งปุ่มฉุกเฉินในสถานที่ทำงาน ขณะที่การค้าบริการทางเพศโดยอิสระยังคงได้รับอนุญาต แต่การจ้างบุคคลภายนอกที่ไม่ได้รับการควบคุม หรือการละเมิดกรอบกฎหมายจะถูกดำเนินคดี
อย่างไรก็ตาม นักวิจารณ์โต้แย้งว่ากฎหมายไม่สามารถแก้ไขความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับการค้าบริการได้อย่างเต็มที่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับ S*x Workers ที่ไม่มีเอกสาร
แม้ว่าประเทศต่างๆ เช่น เยอรมนี และเนเธอร์แลนด์ ทำให้ S*x Workers เป็นสิ่งถูกกฎหมาย แต่ไม่มีประเทศใดนำการคุ้มครองแรงงานมาใช้อย่างครอบคลุมเท่ากับเบลเยียม
อ้างอิงจาก
https://www.abc.net.au/news/2024-12-02/belgium-gives-sex-workers-world-first-labor-rights/104671816

https://news.sky.com/story/sex-workers-in-belgium-granted-employment-rights-including-maternity-pay-and-pensions-13264807

*xWorkers

02/12/2024

ขออภัยที่มะวาน ต้องยกเลิกไลฟ์โดยไม่ได้แจ้งให้ทราบ เนื่องจากฝนตกหนัก อินเตอร์เนตล่ม จึงไม่สามารถไลฟ์ได้ ไว้จะหาโอกาสมาชดเชยนะ

ผิดหวังกับการแถลงการณ์ของ DADP กับ กระทรวง DE ที่ไม่น่าจะหย่อนยานในหลักการที่น่าจะใช้ common sense ในการคิดได้ว่า .. ข้อ...
27/11/2024

ผิดหวังกับการแถลงการณ์ของ DADP กับ กระทรวง DE ที่ไม่น่าจะหย่อนยานในหลักการที่น่าจะใช้ common sense ในการคิดได้ว่า ..

ข้อมูลส่วนบุคคลที่บุคคลเหล่านั้น ได้ให้กับผู้ร้องขอข้อมูล .. การรักษาข้อมูลของผู้ให้ข้อมูล เป็นความรับผิดชอบและอยู่ในความดูแลและรักษาข้อมูลนั้นโดยผู้ร้องขอข้อมูล และการเปิดเผยข้อมูลอื่นใด โดยไม่ได้รับการยินยอมจากผู้เป็นเจ้าของข้อมูล ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลใดๆ ก็ช่าง ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลที่ละเอียดอ่อนต่อการถูกใช้ในธุรกรรม หรืออาจนำไปสู่การใช้ข้อมูลในทางมิชอบก็ตาม แม้กระทั่ง ชื่อ-สกุล หากผู้เป็นเจ้าของข้อมูลไม่ได้ยินยอม ผู้เก็บรวบรวมข้อมูลต้องเป็นผู้รับผิดชอบ .. แม้ว่าปัญหาการใช้ข้อมูลที่รั่วไหล จะยังไม่เกิดขึ้น แต่สิทธิ์ในข้อมูลส่วนบุคคล จะอนุญาตให้เปิดเผย หรือ อนุญาตแบบมีข้อจำกัด หรือ เปิดเผยแบบมีเงื่อนไข หรือ เปิดเผยแก่บุคคลอื่นทั้งระบุตัวตน/ไม่ระบุตัวตน(แก่ใครก็ตามที่ได้รับอนุญาต) ฯลฯ

การที่ The1 ทำระบบฐานข้อมูลสมาชิกเพื่อประโยชน์ทางธุรกิจและเพื่อรวยรวมฐานข้อมูลสมาชิก .. การที่ The1 ถือกรรมสิทธิ์ในข้อมูลของลูกค้า ที่ลูกค้ายินยอมมอบให้แก่ The1 เป็นพันธะผูกพัน และเป็นความรับผิดชอบของ The1 ในการรักษาข้อมูลเหล่านั้น และนำไปใช้ภายใต้ข้อตกลงในการใช้ข้อมูลเพื่อวัตถุประสงค์ใดๆ รวมถึงในข้อตกลง ต้องระบุเรื่องการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลสมาชิกไว้ด้วย

การที่สมาชิกให้ข้อมูลแก่ The1 แล้ว ทาง The1 จะใช้ข้อมูลลูกค้า เปิดเผย นำไปขายต่อแก่องค์กร third-party หรือ อื่นใด ไม่ได้ !

การให้ข้อมูลแก่ The1 คือการให้ข้อมูลตามที่สมาชิกได้ให้ไป เพิ่อการเป็นข้อมูลในการเป็นสมาชิกเพื่อประโยชน์โปรโมชั่นในการเป็นสมาชิก หาใช่ การให้ข้อมูลของสมาชิกคือการให้กรรมสิทธิ์ในข้อมูลนั้นแก่ The1ในการกระทำใดๆ แทน ประหนึ่งเป็นการ มอบอำนาจในการใช้ข้อมูลแทนสมาชิก

สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
ตำรวจไซเบอร์ – บช.สอท. Department of Information and Communications Technology - DICTกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ กระทรวงยุติธรรม
Institute of Human Rights and Peace Studies, Mahidol University UNDP Thailand United Nations Thailand สหประชาชาติ ประเทศไทย @ผู้ติดตาม

BRIEF: สรุปกรณีข้อมูลส่วนตัวประชาชนกว่า 5 ล้านรายทั้ง ชื่อ นามสกุล เบอร์โทรศัพท์ อีเมล บนบัตร The 1 ถูกแฮก
ที่ผ่านมาเกิดเหตุการณ์ ที่อาจทำให้ข้อมูลของคนมากกว่า 5 ล้านคนรั่วไหล เมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน 2567 มีแฮกเกอร์ชื่อ 0mid16B ได้อ้างว่าได้แฮกข้อมูลสมาชิกบัตร The 1 (เดอะวัน) หรือบัตรสะสมคะแนนของกลุ่มธุรกิจเซ็นทรัล พร้อมกับระบุว่าเป็น ‘การละเมิดข้อมูลสมาชิกครั้งใหญ่ ของบริษัทพาณิชย์ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย’
ประเด็นนี้ได้รับความสนใจอย่างมาก เนื่องจากเซ็นทรัลเป็นกลุ่มธุรกิจขนาดใหญ่ ที่ครอบคลุมสินค้าและบริการมากมาย ในหลายจังหวัด โดยหนึ่งในนั้นคือธุรกิจห้างที่หลายคนคุ้นเคย และเป็นสมาชิก ทั้งนี้เมื่อปี 2562 สำรวจพบว่าบัตร The 1 มีจำนวนสมาชิก มากกว่า 17 ล้านราย หรือนับเป็น 25% ของประชากรไทยทั้งประเทศ
รายละเอียดการแฮกข้อมูล
แฮกเกอร์ ระบุว่าได้แฮกข้อมูลส่วนบุคคลของสมาชิกจำนวน 5,108,826 ราย ซึ่งมีขนาดข้อมูลทั้งหมด 582MB โดยครอบคลุมทั้งชื่อ นามสกุล หมายเลขสมาชิก หมายเลขบัตรประชาชน ประเทศ เบอร์โทรศัพท์ และอีเมล
จากนั้นแฮกเกอร์อ้างว่า ได้ติดต่อฝ่ายบริหารแต่การเจรจาไม่ประสบผล จึงตัดสินใจประกาศขายข้อมูลของสมาชิกบัตร The 1 บนดาร์กเว็บ พร้อมเผยแพร่วิดีโอวิธีตรวจสอบข้อมูลตัวอย่าง และข้อมูลสมาชิกบางส่วน ทั้งนี้ระบุว่า “บริษัทไทยไม่ใส่ใจเรื่องการปกป้องข้อมูล เพราะจะไม่มีอะไรเกิดขึ้นกับพวกเขา ไม่มีค่าปรับ PDPA ไม่มีการชดเชยให้กับลูกค้า และไม่มีความรับผิดชอบ #ฮ่าๆ คนไทยไม่เรียกร้องสิทธิของตัวเอง”
การชี้แจงจากบริษัทฯ
ด้านบริษัท เดอะวันเซ็นทรัล ก็ได้ออกมาชี้แจง โดยสมาชิกบัตร The 1 หลายคนได้รับข้อความที่ยืนยันว่า
“ไม่มีข้อมูลส่วนบุคคลอ่อนไหว หรือข้อมูลทางการเงิน และยังไม่พบช่องโหว่หรือจุดบกพร่องด้านความปลอดภัย ของระบบจัดเก็บข้อมูล” โดยทางบริษัทฯ ระบุว่า ขออภัยอย่างจริงใจต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น และเข้าใจถึงความกังวลของลูกค้า
แถลงการณ์จากแฮกเกอร์
ไม่นานหลังจากนั้น 0mid16B กล่าวว่าได้รับการติดต่อจากนักข่าวไทยจำนวนมาก จึงมีแถลงการณ์ซึ่งระบุว่า ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา มีบริษัท และหน่วยงานภาครัฐของไทยหลายแห่ง ถูกแฮกข้อมูลส่วนตัวของประชาชนไป โดยเขาตั้งคำถามว่า “สังคมไทยเคยคิดบ้างไหม?” ว่าใครเป็นผู้รับผิดชอบ ประชาชนเคยได้รับการชดเชย เมื่อข้อมูลส่วนตัวถูกขโมยหรือไม่ และรัฐบาลเคยบังคับใช้กฎหมาย PDPA กับบริษัทเหล่านี้หรือไม่
ทั้งนี้แฮกเกอร์กล่าวในแถลงการณ์ว่า “สิ่งที่เราทำนั้นผิด เราไม่เคยบอกว่ามันถูกต้อง แต่หากไม่มีแฮกเกอร์อย่างเรา บริษัทต่างๆ จะสนใจที่จะปกป้องข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ใช้หรือไม่ กฎหมาย PDPA ในประเทศไทย – กฎหมายที่ไม่มีการบังคับใช้ ก็เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น”
PDPC เร่งตรวจสอบภายใน 7 วัน
ด้าน เวทางค์ พ่วงทรัพย์ รักษาการแทนเลขาธิการคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (สคส. หรือ PDPC) ได้กล่าวต่อสื่อ เมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน ว่าได้รับคำสั่งจาก ประเสริฐ จันทรรวงทอง รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (DE) ให้ตรวจสอบเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างเร่งด่วน พร้อมรายงานความคืบหน้า ภายใน 7 วัน
ทั้งนี้ เวทางค์ระบุว่า เจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Data Protection Officer หรือ DPO) ของบริษัทฯ แจ้งว่ากำลังดำเนินการตรวจสอบ แต่เบื้องต้นยังไม่พบช่องโหว่ หรือร่องรอยข้อมูลรั่วไหล รวมถึงได้แจ้งความดำเนินคดีกับตำรวจไซเบอร์ เพื่อลงโทษผู้กระทำผิดตามกฎหมาย
“รองนายกฯ ประเสริฐ ได้สั่งการให้เร่งหาข้อเท็จจริง และย้ำเตือนถึงการขายข้อมูลโดยมิชอบ หรือการเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลโดยผิดกฎหมาย ซึ่งมีโทษทั้งทางแพ่ง อาญา และปกครองตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ และ PDPA โดยกำชับให้มีการบังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัด” เวทางค์กล่าว
อย่างไรก็ตาม ล่าสุด 0mid16B ได้ประกาศปล่อยข้อมูลบางส่วน 5 แสนราย/สัปดาห์ โดยตัดส่วนที่เป็นข้อมูลการติดต่อออกไป ทั้งนี้เขาระบุว่าจะปล่อยข้อมูลอีก 5 แสนราย ในวันพรุ่งนี้ (27 พฤศจิกายน) หากบริษัทฯ ยังคงปฏิเสธความรับผิดชอบ
อ้างอิงจาก

https://www.thaipbs.or.th/news/content/346486
https://droidsans.com/hacker-timeline-hack-central/

#เซ็นทรัล #ข้อมูลรั่วไหล

คันปากยิบๆ ..  ใจนึวก็อยากพูดอะไรที่มันปลุกใจ วิชาชีพ ที่ยึดถือเป็นสรณะในการบ่งบอกถึง "ตำแหน่งงานวิชาชีพหนึ่ง ในบรรดาวิช...
22/11/2024

คันปากยิบๆ .. ใจนึวก็อยากพูดอะไรที่มันปลุกใจ วิชาชีพ ที่ยึดถือเป็นสรณะในการบ่งบอกถึง "ตำแหน่งงานวิชาชีพหนึ่ง ในบรรดาวิชาชีพทั้งหลายมากมายก่าบกอง ที่ความเป็น แพทบ์, เภสัชฯ บลาๆ มันเหมือนป็นสัญลักษณ์ในเชิง "สถานะของบุคคลที่ผ่านการศึกษาตามหลักสูตรวิชาชีพ ที่เหมือนเรียนมา ทำนั่นนี่ได้ ทำไปเพียงเพื่อให้ผ่านเกณธ์ขั้นต่ำ หรือ แค่เพียงแค่ให้การปฏิบัติวิชาชีพ แค่พอผ่านเกณฑ์ เพือให้ได้อยู่ใน้เกณฑ์ที่ มีความชอบธรรมที่จะนับรวมคนที่ผ่านเกณฑ์การวัดสอบวิชาชีพ ว่าเป็น บุคคลากรวิชาชีพที่ได้รับการการันตี ศักยภาพในการปฏิบัติหน้าที่ของคนในวิชาชีพนั้นๆ ว่า ผ่านมาตรฐาน/ผ่านเกณฑ์/ผ่านการประเมิน/ผ่านงทดสอบ ฯลฯ

ซึ่งการทำการทดสอบให้ผ่านเกณฑ์ขั้นต่ำ/เบื้องต้น/พื้นฐาน แล้วได้รับการรับรองวิชาชีพจาก สภาวิชาชีพใดๆ ไม่ได้หมายความว่า ..

"คนที่ผ่านเกณฑ์การประเมินการทำหน้าที่วิชาชีพ ที่ hold the line ให้ stay above the line เพียงเท่านั้น แต่กับคนที่ แม้การผ่านการเป็นวิชาชีพ แบ่งแยกชัดเจนระหว่าง บุคคลากรทั้วไป ที่ไม่ได้อยู่ใน Career Path ของการ ผ่านกระบวนการการเป็น บุคคลากรที่ถูกฝึกมาเพื่อปฏิบัติหน้าที่ที่มีความเฮฉพาะเจาะจง (Specific Healthcare Workers) เ่ช่น การให้บริการกลุ่มประชากรที่มีบริบทสุขภาพที่ต่างกัน เช่น ผู้ปฏิบัติงานกับ หญิงมีครรภ์ สุขภาพเด็ก ผู้สูงอายุ เป็นต้น .. ซึ่งบทบาทของการทำงานในมิติหนึ่งๆของการบริการสุขภาพ ไม่สามารถใช้วิชาชีพเดียว ในการให้บริการ.. หากแต่ตัอง บูรณาการการร่วมมือแบบสหวิชาชีพ (Personalized and Comprehensive Healthcare Services)

พูดละยาว . สรุปคือ !

การเป็นบุคคลากรวิชาชีพใดๆ .. คนที่มีอาชีพ เป็น ใดๆ วิชาชีพ กับ คนที่ปฏิบัติหน้าที่ในวืชาชีพได้อย่างมืออาชีพ !

การเป็นมืออาชีพนี่ แค่ผ่านเกณฑ์ขั้นต่ำ ในการเป็นมืออาชีพ มันขิงได้ กับคนที่ พัฒนาตัวเองตามหลังมา แต่การที่มาก่อน อยู่ในวงการมาก่อน อยู่ในนานกว่าใคร ล่วงกาลผ่านประสบการณ์มาครึ่งค่อนชีวิต ก็ใช่ว่า คุณคือ No.1 and The Only one who put they themselves as a Top-Tier like a no one's else can.

บางทีการที่คุณอยู้ฃ่มาก่อน ทำมาก่อน ไม่ได้หมายความว่า คุณเก่งกาจเกินใครเทียบได้ บางทีคุณแค่ เริ่มเดินบนทางนี้ก่อนตนอื่นเท่านั้น ถ้าเริ่มพร้อมกัน อยู่ในเส้นทางเดียวกัน ฝึกตนมานับปี แล้วถ้าเทียบ The Lastest snd Best Version of your professionalism อาจจะไม่ได้ดีเด่อะไร ขนาดนั้น

ขนาดที่ การทำหน้าที่ในบมบาท การทำงานแบบสหวิชาชีพ ที่ต่างคนต่างมีคนบทลาท และหน้าที่ของตนๆ หากการรู้กน้าที่ กระทำหน้าที่ขอฃจตนให้สมบูรณ์บริบูรณ์ ทำในสิ่งที่เรามีหน้าที่ตัองทำ สิ่งไหนไม่ใช่หน้าที่ ก็ให้คนที่มีหน้าที่มาทำหน้ามี่ !

การถือ ความเป็นแพทย์ /เภสัชฯ ใดๆ มันบอกให้เราในบทบาทของตนๆ ถ้างานมันทับซ้อนกัน ละมันจะมีให้หลายวิชาชีพไปทำไม !

เรื่องนี้มีสอฃสาเหตุ

คือ มีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ไม่ทำหน้าที่ของตน แต่กลับไปทำในสิ่งที่ไม่ใช่หน้าที่ตน !

ดับ มึคนที่ทำหน้าทึ่ของตนเอง ก็ใช่ว่าจะดีเด่อะไร แถมยัง ไปจัดการธุระในสิ่งที่ไม่ใช่ธุระของตน ขุดกัยไปมา

อ้างหลักการอะไรใดๆ ก็ช่าง .. คนที่ทำงานแบบมืออาชีพในสองสาขาวิชา ที่มีกรอบการทำงานชัดเจนในงานของตน จะมามีปัญกากัน เพียงเพราะความสับสนในการปฏิบัติหน้าที่ในบริบทตามสถานการณ์ แต่ไม่นู้ว่า How to play your role in currently situation to play your role as best as you can for the Greater Benefits for all kinds pf humam.

RECAP: สรุป ‘แพทยสภา vs. สภาเภสัชกรรม’ ประเด็นเจ็บป่วยเล็กน้อย 32 อาการ รับยาฟรีจากร้านยาด้วยสิทธิบัตรทอง
‘หมอ กับ เภสัชกร’ ถกเถียงกันเรื่องอะไร?
ช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา อาจได้เห็นแถลงการณ์และจดหมายเปิดผนึกหลายฉบับผ่านตาบนหน้าโซเชียลมีเดียกันอยู่บ้าง เป็นการโต้ตอบกันระหว่าง แพทยสภา กับ สภาเภสัชกรรม ถึงประเด็น ‘ร้านยาชุมชนอบอุ่น’ ที่ตาม ‘สิทธิบัตรทอง’ สามารถรรับยาเพื่อรักษาอาการเจ็บป่วยเล็กน้อย 32 อาการ ที่รับรองในหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ได้ ‘ฟรี’
แต่แล้ว แพทยสภากลับยื่นฟ้องต่อศาลปกครอง ให้ ‘หยุดและทบทวน’ โครงการนี้ใหม่อีกครั้ง ด้วยมีความเสี่ยงต่อสุขภาพของประชาชน จนกลายเป็นมหากาพย์ข้อถกเถียง ที่จนถึงขณะนี้ (22 พฤศจิกายน 2567) มีแถลงการณ์และจดหมายเปิดผนึกออกมาแล้วรวม 4 ฉบับ และยังไม่มีข้อสรุปที่เป็นตรงกลางระหว่างทุกฝ่ายแต่อย่างใด
แถลงการณ์และจดหมายแต่ละฉบับพูดถึงประเด็นอะไรบ้าง หมอและเภสัชกรทั่วไปมีความเห็นอย่างไร และเรื่องนี้จะกระทบเราอย่างไรต่อไป The MATTER สรุปให้
1. เรื่องเริ่มต้นจาก ‘ร้านยาชุมชนอบอุ่น’ หรือที่มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า โครงการดูแลอาการเจ็บป่วยเล็กน้อย 16 อาการโดยเภสัชกรในร้านยาที่อยู่ใน สปสช. ซึ่งต่อไปนี้จะเรียกโดยย่อว่า ‘โครงการ’ ที่เริ่มให้บริการมาตั้งแต่ 31 ตุลาคม 2565 ถึงปัจจุบัน และตั้งแต่ 3 กันยายน 2567 เป็นต้นมา สปสช. ยังได้ขยายกลุ่มอาการ รวมเป็น 32 อาการ
2. โครงการนี้ เกิดขึ้นเพื่อให้บริการทางสาธารณสุขสามารถเข้าถึงประชาชนทั่วไปได้สะดวกขึ้นในกรณีเจ็บป่วยเล็กน้อย ทั้งยังช่วยลดความแออัดในโรงพยาบาลได้อีกด้วย
3. ความแตกต่างของร้านยาในโครงการจากร้านยาทั่วไป คือ เภสัชกรสามารถให้คำแนะนำประชาชนที่มีอาการหรือเจ็บป่วยเบื้องต้น ติดตามดูแลอาการโรคเบื้องต้น หรือส่งต่อไปยังแพทย์เชี่ยวชาญ โดยผู้ป่วยสิทธิบัตรทองจะได้รับบริการยาและเวชภัณฑ์สำหรับผู้ป่วยโรคเรื้อรังโดยไม่มีค่าใช้จ่าย
4. แต่จากการหาข้อตกลงร่วมกันระหว่างทุกฝ่าย คือ แพทยสภา สภาเภสัชกรรม และ สปสช. กลับดูเหมือนว่าจะมีจุดที่มีความเห็นต่อการดำเนินการที่ไม่ตรงกัน จนแพทยสภา ยื่นคำฟ้องต่อศาลปกครอง เพื่อให้หยุดการดำเนินการโครงการนี้ไว้ก่อน และขณะนี้ ศาลปกครองสูงสุดรับคำร้องไว้พิจารณาแล้ว
5. 12 พฤศจิกายน 2567 สภาเภสัช จึงออกจดหมายเปิดผนึก ชี้แจงต่อกรณีที่แพทยสภาฟ้องศาลปกครองสูงสุดโดยเฉพาะ โดยมีใจความสำคัญที่ระบุว่า “ความปลอดภัยของผู้ป่วยเป็นสิ่งที่เภสัชกรทุกคนให้ความสำคัญสูงสุดเสมอ” หากพบว่าผู้ป่วยมีอาการที่สมควรพบแพทย์ เภสัชกรก็จะส่งต่อผู้ป่วยให้ได้รับการรักษาที่เหมาะสม
6. นอกจากนั้น ยังยืนยันถึงมาตรฐานของร้านยาที่ร่วมโครงการ ว่ามีเภสัชกรที่มีความรู้ในการจ่ายยากลุ่มยาอันตราย และยาที่จ่ายเป็นยาที่ไม่ต้องใช้ใบสั่งแพทย์ได้ถูกต้องตามกฎหมาย (พระราชบัญญัติยา) และปฏิบัติตามขั้นตอนที่ถูกต้องอย่างการซักประวัติ โรคประจำตัว ประวัติการแพ้ยา และอื่นๆ
7. ในจดหมายเปิดผนึกยังระบุถึงประโยชน์ อย่างการช่วยลดความแออัดในโรงพยาบาล ผู้ป่วยเข้าถึงบริการได้ง่ายและทันเวลา ประหยัดทั้งเวลาและค่าใช้จ่ายที่จะต้องไปโรงพยาบาล โดยปัจจุบันมีผู้ป่วยรับบริการที่ร้านยาแล้ว 1.74 ล้านคน รวม 4.8 ล้านครั้ง และเภสัชกรชุมชนได้ให้คำแนะนำให้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสี่ยงทางสุขภาพถึง 1.05 ล้านครั้ง
8. ตามมาติดๆ กับจดหมายเปิดผนึกฉบับที่ 2 ในวันที่ 17 พฤศจิกายน 2567 โดยเน้นสื่อสารให้เกิดความเข้าใจตรงกันหลังประเด็นนี้เริ่มเป็นที่ถกเถียงในวงกว้าง ยืนยันว่าการดำเนินการโดเภสัชกรนั้นถูกต้องตามกฎหมาย มีขั้นตอนซักประวัติคัดกรองอาการตามหน้าที่ และมิได้เป็นการก้าวล่วงวิชาชีพเวชกรรม
9. โดยยังระบุว่า ก่อนหน้าที่จะเริ่มโครงการนี้ ก็มีการหารือร่วมกันระหว่างทุกฝ่ายแล้ว ฝ่ายแพทยสภาเองก็เห็นด้วย
10. 19 พฤศจิกายน 2567 แพทยสภาออกแถลงการณ์ตอบโต้ เพื่อสร้างความเข้าใจต่อเจตนารมณ์ในการฟ้องต่อศาลปกครอง โดยระบุว่า แม้โครงการนี้จะมีประโยชน์ แต่ในอีกแง่หนึ่งก็อาจก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อประชาชน เพราะเป็นการจ่ายยาโดยไม่ทราบสาเหตุที่แท้จริง เพราะไม่ได้วินิจฉัยโรคก่อน เช่น แค่ปวดหัว แต่อาจเป็นอาการนำของเส้นเลือดในสมองแตก
11. ดังนั้น เมื่อปัจจุบันยังไม่มีแนวทางปฏิบัติที่ชัดเจนในการดูแลผู้ป่วยร่วมกันระหว่างแพทย์กับเภสัชกร จึงจำเป็นต้องยื่นคำร้องต่อศาลปกครอง เพื่อให้ ‘หยุดและทบทวน’ โครงการ
12. 21 พฤศจิกายน 2567 ผู้แทนแพทยสภายืนยันในที่ประชุมหารือร่วมกับ รมว. สาธารณสุข และสภาเภสัชกรรม ว่า ในภาพรวมเห็นด้วยกับโครงการ แต่หลังมีประกาศ สปสช. เรื่อง การจ่ายค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุขเพิ่มเติมฯ จึงไม่เห็นด้วยกับการให้เภสัชกรจ่ายยาให้กับผู้มาขอรับบริการเฉพาะในบางกลุ่มอาการได้ เพราะมีความเสี่ยง
13. รมว.​ สาธารณสุข ระบุว่า ได้เสนอให้จัดตั้งคณะกรรมการร่วมกันทั้ง 2 ฝ่าย เพื่อพิจารณากำหนดกลุ่มอาการของความเจ็บป่วยเล็กน้อยที่เภสัชกรจ่ายยาให้ได้ ซึ่งหากตกลงกันได้ ก็จะนำไปสู่การแก้ไขประกาศของ สปสช. ที่เกี่ยวข้องต่อไป
14. ในวันเดียวกัน สภาเภสัชออกจดหมายเปิดผนึกฉบับ 3 ซึ่งยังเน้นย้ำถึงมาตรฐานที่เภสัชกรทำได้ คือการซักประวัติเพื่อจ่ายยาดูแลอาการเจ็บป่วยเล็กน้อย ซึ่งทำมานานถึง 70 ปีแล้ว และเภสัชกรเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านยา
15. และยังพูดถึงประเด็นร้อน ที่มีกรรมการแพทยสภาโพสต์ข้อความว่า “การฟ้องร้อง สปสช. และสภาเภสัชกรรมโดยแพทยสภา ไม่เกี่ยวกับการห้ามเภสัชกร จ่ายยา ตามบริบทเดิม แม้แต่น้อย” ซึ่งอาจตีความได้ว่า กรณีผู้ป่วยจ่ายเงินเอง ไม่ขัดข้อง แต่หาก สปสช. จ่ายค่าบริการแทนประชาชน แพทยสภากลับฟ้องร้องว่าไม่ปลอดภัย จนน่าตั้งข้อสังเกตว่าการฟ้องร้องนี้เป็นไปเพื่อผลประโยชน์ของประชาชนเพียงใด
16. นอกจากนั้น จดหมายยังทิ้งท้ายให้แพทยสภาพิจารณาความปลอดภัยในการใช้ยาให้ครอบคลุมทั้งระบบ เช่น ใน ‘คลินิก’ ที่ฉลากยาไม่ระบุชื่อยาและรายละเอียด ทำให้ไม่สามารถตรวจสอบได้หากมีปัญหาในการใช้ยา หรือผู้ที่ส่งมอบยาก็อาจมิได้มีความรู้เรื่องยา ซึ่งไม่เป็นไปตามประกาศสาธารณสุขอีกด้วย
17. จากการโต้กันไปมาระหว่างสองฝ่ายนี้ มีทั้งประชาชนทั่วไป และคนในวิชาชีพที่ออกมาแสดงความคิดเห็นจำนวนมาก โดยเฉพาะบน Facebook และ X
18. ด้านเภสัชกร เล่าถึงเนื้อหาที่ศึกษามา ว่าแม้ว่าเภสัชกรจะมีภาพจำว่าเชี่ยวชาญด้านยา แต่ก็ไม่ได้เรียนแค่เรื่องยาเดี่ยวๆ เท่านั้น ยังเรียนเกี่ยวกับโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ ว่ามีสัญญาณบ่งบอกอย่างไร และใช้แนวทางปฏิบัติเดียวกันทั้งประเทศ ว่าความเจ็บป่วยเล็กน้อยหรือรุนแรงแค่ไหนจะต้องถึงมือหมอ
19. ประเด็นคลินิกจ่ายยา เภสัชกรออกมาเล่าว่าเป็นปัญหาอย่างมาก ถึงขั้นที่มีกลุ่มแชทไลน์ ‘เภสัชทั่วไทยช่วยกันระบุชื่อยาเม็ด’ ที่มีสมาชิกกว่า 7,500 คน เพื่อช่วยกันหาชื่อยาที่คนไข้นำมาจากคลินิกมาสอบถาม โดยเป็นซองยาที่ไม่เขียนฉลาก และเป็นเม็ดยาแบ่งขาย ไม่มีแผงยา แล้วบางครั้งคนไข้ใช้แล้วเกิดอาการแพ้ เมื่อโทรกลับไปสอบถามทางคลินิกก็ไม่ได้รับคำตอบว่าเป็นยาอะไร
20. ด้านแพทย์ จำนวนหนึ่งมาคอมเมนต์ใต้โพสต์ในเฟซบุ๊กของสภาเภสัชกรรมว่า แม้ตนจะเป็นแพทย์ แต่เห็นด้วยกับจดหมายเปิดผนึกของสภาเภสัชกรรม พร้อมส่งกำลังใจ
21. เฟซบุ๊กเพจ เรื่องเล่าจากโรงพยาบาล ที่เจ้าของเพจเป็นแพทย์ และมีผู้ติดตามถึง 1.9 แสนคน ออกมาแสดงความคิดเห็นว่า อาจมีระบบที่แพทยสภาไม่เห็นด้วย แต่ในที่ประชุมกลับเห็นตรงกันหมด และอาจเป็นประเด็นร้ายแรง จนถึงขึ้นที่จะต้องอาศัยอำนาจศาล
22. ดังนั้นตนจึงพอเข้าใจถึงเจตนาอันดีของแพทยสภา แต่สำหรับคนทั่วไปและเภสัชกร อาจอ่านประกาศแล้วรู้สึกเหมือนบอกว่าเภสัชกรไม่มีความรู้มากพอ ทำให้เกิดความรู้สึกไม่ดี และสะท้อนแนวทางความคิดเห็นที่ไม่ตรงกัน
23. นอกจากนั้น กรณีที่ยกตัวอย่างมายังอาจไม่สมเหตุสมผล เช่น ที่ระบุว่าการปวดหัวอาจเป็นอาการนำไปสู่เส้นเลือดในสมองแตก ซึ่งหากมีอาการเพียงเริ่มต้นเช่นนี้ ถึงเป็นแพทย์ผู้เชี่ยวชาญก็อาจไม่สามารถวินิจฉัยได้ และถึงไปพบแพทย์ก็อาจไม่ได้ตรวจละเอียดทุกราย รวมถึงทำให้ผู้ป่วยที่อ่านแถลงนี้ อาจเกิดความกังวลในอาการเจ็บป่วยเล็กน้อยมากยิ่งขึ้นได้
24. สำหรับประชาชนทั่วไป ส่วนหนึ่งเล่าถึงประสบการณ์เข้าใช้บริการร้านยาในโครงการ แล้วรู้สึกประทับใจ จากการซักประวัติและการบริการของเภสัชกร รวมถึงมีการติดตามอาการหลังทานยา
25. และที่สำคัญ คือเป็นการเปิดโอกาสให้ประชาชนสามารถเข้าถึงบริการทางสุขภาพได้จริงๆ เพราะนอกจากความสะดวกแล้วนั้น ค่าแรงในปัจจุบันสวนทางกับค่าครองชีพ รวมถึงยาที่หลายรายการมีราคาแพง โครงการนี้จึงลดค่าใช้จ่ายของประชาชนได้มาก
26. คนส่วนหนึ่งจึงมองในทางลบว่า ในเมื่อโครงการนี้ให้ประโยชน์กับประชาชน และยังให้ประโยชน์กับแพทย์ในด้านที่ลดความแออัดและลดภาระงานของแพทย์ในโรงพยาบาล ดังนั้นการออกมาฟ้องร้องครั้งนี้ เป็นเพราะแพทยสภาหรือแพทย์บางส่วนเสียประโยชน์อะไรหรือเปล่า เช่น คนไข้ไม่ไปคลินิก ทำให้เสียรายได้ในค่ายา
27. หลังจากนี้จึงต้องติดตามต่อไปว่า ทิศทางความเห็นจากฝ่ายสปสช.​ แพทยสภา สภาเภสัชกรรม และประชาชน จะเป็นอย่างไร จะหาข้อสรุปได้หรือไม่ และศาลปกครองสูงสุดจะมีคำสั่งในทิศทางใดต่อไป
อ้างอิงจาก
https://www.facebook.com/thaipharmacycouncil/posts/pfbid0je6DbiiZe8dsDAxNoUi6A14PKc76uy2fqq89TKEKoAUZZ7ejWysqLTf36xFtFwSil?locale=th_TH
https://tmc.or.th/index.php/News/News-and-Activities/1280
https://www.pharmacycouncil.org/index.php?option=content_detail&view=detail&itemid=3634&catid=30
https://www.pharmacycouncil.org/index.php?option=content_detail&view=detail&itemid=3635&catid=30
https://www.nhso.go.th/news/3772
https://hfocus.org/content/2024/11/32299

#บัตรทอง #สปสช #แพทยสภา #สภาเภสัชกรรม

21/11/2024

ที่อยู่

Hat Yai

เบอร์โทรศัพท์

+66970156314

เว็บไซต์

https://www.unaids.org/en/resources/presscentre/featurestories/2022/march/20220301_hiv-activ

แจ้งเตือน

รับทราบข่าวสารและโปรโมชั่นของ พีทคนเลือดบวก - Pete Thitiwatt A Person Living With HIVผ่านทางอีเมล์ของคุณ เราจะเก็บข้อมูลของคุณเป็นความลับ คุณสามารถกดยกเลิกการติดตามได้ตลอดเวลา

ติดต่อ ธุรกิจของเรา

ส่งข้อความของคุณถึง พีทคนเลือดบวก - Pete Thitiwatt A Person Living With HIV:

วิดีโอทั้งหมด

แชร์