08/06/2020
สุดๆเลยแนวคิดของรัฐแต่ละอย่าง
เข้า CPTPP "ผูกขาดเมล็ดพันธุ์" แลก "รักษาเงินบาทไม่ให้แข็งค่า"?
สภาผู้ส่งสินค้าฯ เสนอ ธปท. หนุนไทยเข้าร่วมเจรจา CPTPP เพื่อสร้างแรงกระตุ้นให้กับระบบเศรษฐกิจรักษาเสถียรภาพของอัตราแลกเปลี่ยนไม่ให้แข็งค่ากว่า 34 บาทต่อเหรียญสหรัฐ เพื่อไม่ให้กระทบส่งออก
3 มิ.ย. 2563 ในทวิเตอร์ประเทศไทยแฮชแท็ก กลับมาติดเทรนด์อีกครั้ง โดยมีกว่า 600K ทวีต หลังมีข่าวว่า กัณญภัค ตันติพิพัฒน์พงศ์ ประธานสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย (สรท.) มีข้อเสนอให้ธนาคารแห่งประเทศไทย รักษาเสถียรภาพของอัตราแลกเปลี่ยนไม่ให้แข็งค่ากว่า 34 บาทต่อเหรียญสหรัฐ เพื่อไม่ให้กระทบส่งออก เร่งใช้งบประมาณภาครัฐเพื่อลงทุนสร้างความยั่งยืนให้กับระบบเศรษฐกิจ สนับสนุนให้ประเทศไทยเข้าร่วมเจรจา CPTPP เพื่อสร้างแรงกระตุ้นให้กับระบบเศรษฐกิจ
สำหรับ CPTPP หรือการเข้าร่วมความตกลงที่ครอบคลุมและก้าวหน้าสำหรับหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก (Comprehensive and Progressive Agreement for Tran-Pacific Partnership) โดยมีกลุ่มศึกษาข้อตกลงเขตการค้าเสรีภาคประชาชน หรือ FTA Watch ออกมาเสนอข้อมูลผลกระทบอย่างต่อเนื่อง และแฮชแท็ก การติดเทรนด์ทวิตเตอร์ในครั้งนี้ไม่ใช่ครั้งแรก ช่วงปลายเดือน เม.ย.ที่ผ่านมา ก็ติดเทรนด์ในทวิตเตอร์ เพื่อต่อต้านกรณีที่คณะรัฐมนตรีเตรียมลงมติเข้าร่วม CPTPP ตามข้อเสนอของ สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกฯ ที่เสนอเรื่อง หนังสือแสดงเจตจำนงเข้าร่วม โดยข้อกังวลหลักๆ ของผู้ต่อต้านการเข้าร่วม CPTPP เนื่องจากเกรงว่าจะส่งผลกระทบ เช่นการผูกขาดเมล็ดพันธุ์ ทำลายความมั่นคงทางอาหาร ความมั่นคงทางยา ส่งผลกระทบต่อธุรกิจขนาดกลาง/ขนาดเล็กของไทย รวมทั้ง การจำกัดพื้นที่สาธารณะของรัฐในการคุ้มครองประชาชน อีกทั้งไม่มีการประเมินผลกระทบต่อเศรษฐกิจและสังคมหลังวิกฤติโควิด-19 ด้วย
📌 จับตา’บาทแข็งค่า’ สวนทางขาดดุลบัญชีเดินสะพัด
ค่าเงินบาทเผชิญกับแรงกดดัน 2 ปัจจัย คือ จากเกินดุลบัญชีเดินสะพัดและการเก็งกำไรของนักลงทุนที่มองว่าเป็นสินทรัพย์ปลอดภัย แต่จากนี้ไปแรงกดดันจากเกินดุลบัญชีเดินสะพัดที่ลดลง เนื่องมาจากผลกระทบจากภาคท่องเที่ยว
นายทิตนันทิ์มัลลิกะมาส ผู้ช่วยผู้ว่าการสายนโยบายการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย และเลขานุการ คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) กล่าวว่า แนวโน้มเศรษฐกิจในระยะถัดไปยังมีความไม่แน่นอนสูงภายใต้สภาพแวดล้อมของเศรษฐกิจและตลาดการเงินโลกในปัจจุบัน และมีความเสี่ยงที่เศรษฐกิจจะหดตัวมากกว่าที่ประเมินไว้
กนง.ประเมินจีดีพีครั้งล่าสุด คาดว่าจะติดลบ 5.3% ในปีนี้ และขยายตัว 3% ในปีหน้า
นายิตนันทิ์ กล่าวว่าการประชุม กนง. ในครั้งก่อน คณะกรรมการฯ มีความกังวลต่อสถานการณ์เงินบาทที่อาจกลับมาแข็งค่าขึ้นและอาจกระทบต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ จึงเห็นควรให้ติดตามและดูแลสถานการณ์ในตลาดการเงินและตลาดอัตราแลกเปลี่ยนอย่างใกล้ชิด
ด้านดุลบัญชีเดินสะพัดล่าสุดเดือนเมษายน 2563 ขาดดุล 0.7 พันล้านดอลลาร์ และหากไม่รวมทองคำ ดุลบัญชีเดินสะพัดจะขาดดุลสูงถึง 3.1 พันล้านดอลลาร์ นับเป็นมูลค่าการขาดดุลสูงสุดในช่วงกว่า 2 ทศวรรษ
ในระยะถัดไป คาดว่าราคาน้ำมันที่อาจปรับสูงขึ้นและข้อจำกัดในการเดินทางของนักท่องเที่ยวต่างชาติจากการปิดประเทศจะทำให้ดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลลดลงต่อเนื่อง
“ดุลบัญชีเดินสะพัดต่อเดือนในช่วงที่เหลือของปีจะเข้าใกล้สมดุลมากขึ้นจนกว่าสถานการณ์ของนักท่องเที่ยวต่างชาติจะฟื้นตัว ซึ่งลดลงจากที่เคยเกินดุลถึงประมาณ 3-4 พันล้านดอลลาร์ต่อเดือนในช่วงหลายปีที่ผ่านมา” นายทิตนันท์กล่าว
แนวโน้มดังกล่าวสะท้อนทิศทางของดุลบัญชีเดินสะพัดและพลวัตของค่าเงินบาทที่เปลี่ยนแปลงไปหลังเกิด COVID-19 ซึ่งทำให้คาดว่าการเกินดุลบัญชีเดินสะพัดจะไม่ใช่แรงกดดันต่อค่าเงินบาทที่สำคัญในระยะถัดไป