25/08/2024
🥥 FOMO หรือ "Fear of Missing Out" ทำไมทาร์ตมะพร้าวอ่อนโอชินถึงเป็นกระแส อร่อยจริงหรือแค่กินเพราะกลัวตกเทรนด์?
🌴 พูดได้เลยว่าช่วงนี้ทาร์ตมะพร้าวอ่อนโอชินมาแรงเกือบแซงร้านขนมน้องหมีเนยกันเลยทีเดียว เนื่องจากผู้ใช้ TikTok รายนึง "happybeingsai(ทราย)" ได้หยิบทาร์ตมะพร้าวอ่อนในตำนานที่แอดมินชอบทานมากๆมารีวิวจนยอดวิวพุ่งหลักล้าน
ทำให้ไม่ว่าจะเลื่อนฟีตหรือปัดสตอรี่ไปทางไหนก็มีแต่คนอีทเจ้าทาร์ตลำๆแบรนด์นี้ ถึงขั้นมีคนรับหิ้วและบวกราคาเพิ่มจากหน้าร้านสร้างรายได้เสริมให้นักหิ้วอีกเป็นล่ำเป็นสัน ปกติทาร์ตมะพร้าวอ่อนก็จะขายดีอยู่แล้ว ทำให้ของขายดีจนขาดสต็อกผลิตกันไม่ทันเลยทีเดียว
คอนเทนต์นี้เราไม่ได้มารีวิวทาร์ตมะพร้าวอ่อนแสนอร่อย(ย้ำว่าอร่อยจริงเพราะแอดมินไปซื้อทานเป็นประจำ) แต่เราจะมาพูดถึง FOMO ย่อมาจาก "Fear of Missing Out" ซึ่งในภาษาไทยมักเรียกว่า "โรคกลัวตกกระแส" หรือ "อาการกลัวตกรถ"
FOMO Marketing หรือ การตลาดแบบกลัวตกกระแส คือ กลยุทธ์ทางการตลาดที่ใช้ประโยชน์จากความกลัวของผู้บริโภคที่จะพลาดโอกาสดีๆ หรือสิ่งที่กำลังเป็นที่นิยม (Fear of Missing Out) เพื่อกระตุ้นให้เกิดการตัดสินใจซื้อหรือดำเนินการบางอย่างอย่างรวดเร็ว
หลักการสำคัญของ FOMO Marketing คือการสร้างความรู้สึกเร่งด่วน (Sense of Urgency) และความรู้สึกว่าสินค้าหรือบริการนั้นมีจำกัด (Scarcity) ทำให้ลูกค้ารู้สึกว่าหากไม่รีบตัดสินใจ จะพลาดโอกาสที่จะได้รับข้อเสนอที่ดี หรือสินค้าที่ต้องการอาจหมดไป
ตัวอย่างของเทคนิค FOMO Marketing ที่นิยมใช้ :
⌛️ การจำกัดเวลา : เช่น "โปรโมชั่นนี้เฉพาะวันนี้เท่านั้น" หรือ "สินค้ามีจำนวนจำกัด หมดแล้วหมดเลย"
🔢 การแสดงจำนวนสินค้าคงเหลือ : เช่น "เหลือสินค้าเพียง 5 ชิ้นสุดท้าย"
⚠️ การใช้คำกระตุ้น : เช่น "ห้ามพลาด" หรือ "อย่ารอช้า"
🥰 การสร้างความรู้สึกพิเศษ : เช่น "เฉพาะสมาชิกเท่านั้น" หรือ "สิทธิพิเศษสำหรับลูกค้ากลุ่มแรก"
🔖 การใช้ Social Proof : เช่น แสดงจำนวนผู้ที่กำลังดูสินค้า หรือรีวิวจากลูกค้าคนอื่นๆ
FOMO Marketing สามารถเป็นกลยุทธ์ที่มีประสิทธิภาพในการเพิ่มยอดขายและกระตุ้นการตัดสินใจซื้อของลูกค้า แต่ก็ต้องระมัดระวังในการใช้งาน เพื่อไม่ให้ลูกค้ารู้สึกถูกกดดันหรือถูกหลอกลวงจนเกินไป
การใช้ FOMO Marketing ควบคู่ไปกับการสร้างคุณค่าและความน่าเชื่อถือให้กับแบรนด์ จะช่วยให้ธุรกิจเติบโตได้อย่างยั่งยืนในระยะยาว
#ไปไหมไป #ไปไหมไปธุรกิจ