วัดศรีคำชมภู - Wat Srikumchomepoo ตำบลป่าบง อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่

วัดศรีคำชมภู - Wat Srikumchomepoo ตำบลป่าบง อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ วัดศรีคำชมภูตั้งอยู่ที่ 97 หมู่3. ต.ป่าบง อ.สารภี จ.เชียงใหม่

บัดนี้ บรรลุถึงอภิลักขิตสมัยมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๖ รอบ ของสมเด็จบรมบพิตร พระราชสมภารเจ้า ผู้ทรงพระคุณอันประเสริฐ อาตม...
27/07/2024

บัดนี้ บรรลุถึงอภิลักขิตสมัยมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๖ รอบ ของสมเด็จบรมบพิตร พระราชสมภารเจ้า ผู้ทรงพระคุณอันประเสริฐ อาตมภาพ ขอพระราชทานถวายพระพร ด้วยเดชานุภาพแห่งคุณพระศรีรัตนตรัย โปรดประสิทธิ์พระพรถวายให้ สมเด็จพระปรเมนทรธรรมิกมหาราชาธิราชเจ้าของชาวไทย ทรงสำราญพระราชหฤทัยทุกทิพาราตรี มีพระชนมพรรษาเจริญยั่งยืน พระพรรณะสดชื่นผ่องใส ทรงพระเกษมสุขและพระกำลังพรั่งพร้อมเสมอไป

ขอจงทรงบริบูรณ์ด้วยสรรพมงคลทุกสถาน เสด็จสถิตเนานานในมไหศูรยสิริราชสมบัติ ขอให้ได้ทอดพระเนตรเห็นแต่ความเจริญสวัสดิ์อยู่ทุกเมื่อ ขอปวงเทพยดาผู้ทรงมหิทธานุภาพไพศาล จงตามรักษาพระองค์ตราบกาลเป็นนิตย์

ขอถวายพระพร

🕯️สว่างตาด้วยแสงไฟ สว่างใจด้วยแสงธรรม🕯️ขอเชิญผู้มีจิตศรัทธาทุกท่าน ร่วมกันเป็นเจ้าภาพถวายเทียนพรรษา เพื่อเป็นพุทธบูชา  พ...
18/07/2024

🕯️สว่างตาด้วยแสงไฟ สว่างใจด้วยแสงธรรม

🕯️ขอเชิญผู้มีจิตศรัทธาทุกท่าน
ร่วมกันเป็นเจ้าภาพถวายเทียนพรรษา
เพื่อเป็นพุทธบูชา พร้อมจตุปัจจัยไทยธรรม

🕯️ในเทศกาลเข้าพรรษา ๒๕๖๗
กองบุญละ 99 บาท หรือตามจิตเจตนาศรัทธา
ณ วัดศรีคำชมภู
ถวายเทียนพรรษาในเย็นวันเสาร์ที่ 20 กรกฎาคม 2567(วันอาสาฬหบูชา)

🕯️🕯️รายชื่อผู้ร่วมเป็นเจ้าภาพ🕯️🕯️
1. อ.ปัญญา + ลำดวน บุญมาคำ 200 บาท
2. คุณปทุมมา วงค์หลวง 200 บาท
3. คุณจุลดิษฐ์+จิราภรณ์ พรหมภูวงศ์ 200 บาท (โอน)
4. คุณมยุรี กองธรรมชัย 100 บาท
5. คุณพัฒนา ตระกูลขัติยะ 500 บาท (โอน)
6.แม่ตวงพร ไชยวังษา 100 บาท (โอน)
7.สถิต+นุสรา+รวีวิชญ์ ตาคำ 300 บาท (โอน)
8. คุณกรวรรณ จันทร์ใจ 100 บาท (โอน)
9. คุณสุนีย์ ขึ้นมาเมือง 200 บาท (โอน)
10. คุณทัศนีย์ กัณทวี 100 บาท (โอน)
11. คุณอรุณ อภัยรุญ 200 บาท
12. จ.ส.อ.เทอดชัย +อนงค์ รินสม 200 บาท
13. ครอบครัว พ.ท. ชนะชัย แสนคำ 200 บาท (โอน)
14. คุณสมัย ปัญญาอาจ 200 บาท
15. แม่ศิริเพ็ญ ศรีดี 200 บาท (โอน)
16. ครอบครัว ศ.ดร.สมเดช ศรีชัยรัตนกูล 300บาท(โอน)
17. แม่บัวจันทร์ น.ส.ปิยาภรณ์ นาคำ 200 บาท
18. แม่สมศรี นาคำ 100 บาท
19. อ.ถนอมกิต อ.ภัทรพรรณ มะธุ 200 บาท (โอน)
20. ครอบครัว อ.สุรพล อ.ทับทีม
อินตะยศ 300 บาท
21. คุณณัฐพงษ์ นารินทร์ 200 บาท (โอน)
22. คุณทศพร +ลำดวน ใจแก้ว 200 บาท (โอน)
23. คุณศิริลักษณ์ คำฟู 200 บาท (สด)
24. คุณแสงหล้า แข่งขัน 200 บาท(สด)
25. ป้าคำหน้อย ตนเล็ก 200 บาท
26. น.ส.กัลยา ตนเล็ก 200 บาท
27.คุณประนอม ตาคำ 100บาท (สด)
28. พ่อหลวงยงยุทธ แม่หลวงศิริกุล นารินทร์ 200 บาท
29. แม่ประภัสสร สุวรรณทัต 100 บาท
30.ป้าสุภาภรณ์ ใจคำ 100 บาท
31. ป้าลำดวน ขัติยะ 100 บาท
32. คุณวสันต์+ชมพูนุช สมเกตุ 200 บาท
33. คุณอัญญาภัคร์ สมเกตุ 200 บาท
34. คุณปิยธิดา ตุงคนาคร 200บาท(โอน)
35. คุณประนอม สุวรรณ 200 บาท (โอน)
36. น.ส.กฤติกา แก้วสมุทร 100 บาท (โอน)
37. คุณณัฐชานันท์ ด.ญ.ฐณิการ พันธ์อิ่ม บาท 200 (โอน)
38. พ่อดวง มะธุ นางประมวล น.ส.กรกนกคำผุย 200 (โอน)
39.นายประสิทธิ์ นางสุภาทิพย์ ไชยเวช 100 (โอน)
40. ครอบครัวแม่เหรียญทอง อุตมะ พร้อมด้วย คุณพลพล เพชรดี คุณรัชนี อุตมะ ร่วมทำบุญ 500 บาท
41.ครอบครัวคุณนิเวศน์ คุณจินตนา ศรีไชยวงค์ พร้อมด้วย บุตรหลาน ร่วมทำบุญ 200 บาท
42. นายเสกสรรค์ รัตนวงค์,นางสาวศุภลักษณ์ ไชยวงษ์ 200 บาท(โอน)
43.คุณรัชนี แสงบุญ 200 บาท(โอน)
44. น.ส.พัทธมน เมืองแก้ว 200 บาท(โอน)
45.ครอบครัวนายเสน่ห์ นางวันเพ็ญ แสนสุข 200 บาท(โอน)
46.น.ส.แสงด้าย รินคำ 100 บาท(โอน)
47.ครอบครัวตาชมภู 200 บาท
48.นางดวงฤทธิ์ สายแก้ว 100 บาท
49.นางสาวเกศริน ชัยมงคล 1,100 บาท(โอน)
50.นายกสุพัฒน์ นาคำ 500 บาท
51. น.ส.ลัดดาวัลย์ บุญสุข พร้อมครอบครัว 100 บาท(โอน)
52.คุณอนุวัฒน์ 99 บาท(โอน)
53.คุณพุฒิศักดิ์ 99 บาท(โอน)
54.คุณพชรพัชร์ วิธิษกุลศิริ/คุณปกรณ์ยศ น้อยไพโรจน์ 999 บาท(โอน)
55.คุณณัฐนิช 99 บาท(โอน)
56.น.ส.เปมิกา กันทะวงค์ 198 บาท(โอน)
57.คุณสมภพ อุปวงค์ 100 บาท(โอน)
58.คุณอัญชลีรัตน์ สมสมัย 99 บาท(โอน)
59.คุณณิณรตา สิริโสภณธีรกุล 200บาท(โอน
60.คุณณัฐวัฒน์ รัตนพรพิทักษ์ 200บาท(โอน)
61. พลอยมณีนฤมาส ปัณณิสามัย
และครอบครัว 1,000 บาท(โอน)
62.นายจักรกฤษณ์ แก้วสมุทร์ 200 บาท(โอน)

ทีฆายุโก โหตุ สังฆราชาวันที่ ๒๖ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๖๗เนื่องในมงคลสมัยเจริญพระชนมายุครบ ๙๗ พรรษาสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณสมเด็จพ...
25/06/2024

ทีฆายุโก โหตุ สังฆราชา
วันที่ ๒๖ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๖๗
เนื่องในมงคลสมัยเจริญพระชนมายุครบ ๙๗ พรรษา
สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ
สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
(อัมพร อมฺพโร ป.ธ.๖)
สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๒๐ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์

เจ้าอาวาสวัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร
เจ้าคณะใหญ่ธรรมยุต
ประธานกรรมการมหาเถรสมาคม

ทรงพระเจริญด้วยเกล้าด้วยกระหม่อมข้าพเจ้า คณะสงฆ์ คณะศรัทธาวัดศรีคำชมภู
03/06/2024

ทรงพระเจริญ

ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม
ข้าพเจ้า คณะสงฆ์ คณะศรัทธาวัดศรีคำชมภู

วันนี้ วันพระ “  #วันอัฏฐมีบูชา ”วันแรม ๘ ค่ำ เดือน วิสาขะ (๖)( ปีนี้ตรงกับ วันพฤหัสบดี ที่ ๓๐ พฤษภาคม ๒๕๖๗ )“วันอัฏฐมีบ...
29/05/2024

วันนี้ วันพระ “ #วันอัฏฐมีบูชา ”
วันแรม ๘ ค่ำ เดือน วิสาขะ (๖)
( ปีนี้ตรงกับ วันพฤหัสบดี ที่ ๓๐ พฤษภาคม ๒๕๖๗ )
“วันอัฏฐมีบูชา”
คือ วันถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระของพระพุทธเจ้า หลังเสด็จดับขันธปรินิพพานได้ ๘ วัน ถือเป็นวันสำคัญวันหนึ่งของพระพุทธศาสนา ซึ่งตรงกับ วันแรม ๘ ค่ำ เดือนวิสาขะ ( ตรงกับเดือน ๖ ของไทย )
เมื่อองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพานไปแล้ว ๘ วัน มัลละกษัตริย์ แห่งเมืองกุสินารา พร้อมด้วยประชาชน และพระสงฆ์ มีพระมหากัสสปะเถระเป็นประธาน พร้อมกันกระทำการถวายพระเพลิงพุทธสรีระ ณ มกุฎพันธเจดีย์ แห่งเมืองกุสินารา เมื่อวันแรม ๘ ค่ำ เดือน ๖ ซึ่งนิยมเรียกกันว่า “วันอัฏฐมี”
หลังจากที่พระเพลิงซึ่งเผาไหม้พระพุทธสรีระดับมอดลงแล้ว บรรดากษัตริย์มัลละทั้งหลายจึงได้อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุทั้งหมดใส่ลงในหีบทองคำแล้วนำไปรักษาไว้ภายใน นครกุสินารา
ส่วนเครื่องอัฏฐบริขารต่างๆของพระพุทธเจ้า ได้มีการอัญเชิญไปประดิษฐานตามที่ต่างๆ อาทิ ผ้าไตรจีวร อัญเชิญไปประดิษฐานที่แคว้นธาระ บาตรอัญเชิญไปประดิษฐานที่ปาตลีบุตร เป็นต้น
การประกอบพิธี “อัฏฐมีบูชา” ในประเทศไทยนั้น นิยมทำกันในตอนค่ำ และปฏิบัติเช่นเดียวกันกับการประกอบพิธีในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาอื่นๆ เช่น วันวิสาขบูชา เป็นต้น.
# ท. ส. ปัญญวุฑโฒ -รวบรวม #
-----------------------------------------
“วันอัฏฐมีบูชา”
วันสำคัญอีกวันหนึ่งที่เกี่ยวพันกับ “วันวิสาขบูชา”
สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ ( ป. อ. ปยุตฺโต )
“วันอัฏฐมีบูชา” เป็นเรื่องที่สืบเนื่องมาจาก “วันวิสาขบูชา” คือในวันวิสาขบูชานั้น เราทำพิธีบูชาระลึกพระคุณของพระพุทธเจ้า ในการที่พระองค์ได้ประสูติ ตรัสรู้ ปรินิพพาน เหตุการณ์สามอย่างนี้มาลงในวันเดียวกัน เหตุการณ์สุดท้าย ก็คือปรินิพพาน เพราะฉะนั้นวันวิสาขบูชาจึงเป็นวันที่รวมพระชนมชีพของพระพุทธเจ้าทั้งหมด
เมื่อพระพุทธเจ้าปรินิพพานแล้ว มีเรื่องกล่าวถึงในพระไตรปิฎก เล่าถึง “การถวายพระเพลิงพุทธสรีระ” พูดอย่างชาวบ้านก็คือ “ การเผาพระบรมศพหรือพระสรีระของพระองค์ ” ซึ่งจัดขึ้นหลังจากนั้นไปแล้ว ๗ วัน ตรงกับวันที่เราเรียกว่า วันแรม ๘ ค่ำ ซึ่งเรียกเป็นภาษาบาลีว่า “ วันอัฏฐมี ” เราก็เลยมีการบูชา ทำพิธีระลึกพระคุณของพระพุทธเจ้า แสดงให้เห็นความสำคัญของเหตุการณ์ในการถวายพระเพลิงพุทธสรีระนั้นด้วย
คนโบราณในเมืองไทยเราจัดพิธีวันอัฏฐมีบูชา ก็คือจัดพิธีบูชาพระพุทธเจ้า เพื่อระลึกถึงเหตุการณ์สำคัญคือการถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระ แต่ต่อมาระยะหลังนี้ พิธีวันอัฏฐมีบูชานี้เสื่อมจางหายไป เพราะว่าพวกเราชาวพุทธรุ่นใหม่นี้ เพียงจะรักษาวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาที่มีมาแต่เดิมให้เหลืออยู่ก็ยากเสียแล้ว เพราะฉะนั้นจึงเลือกเอาวันที่สำคัญมากๆ ไว้ วันอัฏฐมีนั้นมีความสำคัญน้อยกว่า ก็เลยค่อยๆ จางไป
เรื่องนี้ก็คล้ายว่า เมื่อพุทธศาสนาได้รับความสนใจเอาใจใส่จากประชาชนมาก คนทำการบูชาในวันวิสาขบูชายังไม่พอ ก็ขยายมาวันอัฏฐมีต่อ เมื่อรักษาไว้ไม่ไหว วันอัฏฐมีก็หดหายไป ก็เหลือวันวิสาขบูชา แล้วก็ยังมีวันมาฆบูชา วันอาสาฬหบูชาด้วย วันอัฏฐมีบูชาพูดง่ายๆ ก็เป็นวันพ่วงมากับวันวิสาขบูชา”
ที่มา : จากธรรมนิพนธ์เรื่อง “ มองวิสาขบูชา หยั่งถึงอารยธรรมโลก ”
#วันอัฏฐมีบูชา
#วันถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระของพระพุทธเจ้า
#หลังเสด็จดับขันธปรินิพพานได้ ๘ วัน
#มกุฎพันธเจดีย์_เมืองกุสินารา

วันวิสาขบูชา นั้นได้รับการยกย่องจากพุทธศาสนิกชนทั่วโลกให้เป็นวันสำคัญสากลทางพระพุทธศาสนา เนื่องจากเป็นวันที่บังเกิดเหตุก...
21/05/2024

วันวิสาขบูชา นั้นได้รับการยกย่องจากพุทธศาสนิกชนทั่วโลกให้เป็นวันสำคัญสากลทางพระพุทธศาสนา เนื่องจากเป็นวันที่บังเกิดเหตุการณ์สำคัญ 3 เหตุการณ์ ที่เกี่ยวเนื่องกับพระพุทธเจ้าและจุดเริ่มต้นของศาสนาพุทธ ซึ่งเหตุการณ์ทั้งหมดได้เกิดขึ้นเมื่อ 2,500 กว่าปีก่อน ณ ดินแดนที่เรียกว่าชมพูทวีปในสมัยพุทธกาล โดยเหตุการณ์แรก เมื่อ 80 ปี ก่อนพุทธศักราช เป็น "วันประสูติของเจ้าชายสิทธัตถะ" ณ ใต้ร่มสาลพฤกษ์ ในพระราชอุทยานลุมพินีวัน (อยู่ในเขตประเทศเนปาลในปัจจุบัน) และเหตุการณ์ต่อมา เมื่อ 45 ปี ก่อนพุทธศักราช เป็น "วันที่เจ้าชายสิทธัตถะได้บรรลุพระสัมมาสัมโพธิญาณ ตรัสรู้เป็นองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า" ณ ใต้ร่มโพธิ์พฤกษ์ ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม (อยู่ในเขตประเทศอินเดียในปัจจุบัน) และเหตุการณ์สุดท้าย เมื่อ 1 ปี ก่อนพุทธศักราช เป็น "วันเสด็จดับขันธปรินิพพานขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า" ณ ใต้ร่มสาลพฤกษ์ ในสาลวโนทยาน พระราชอุทยานของเจ้ามัลละ เมืองกุสินารา (อยู่ในเขตประเทศอินเดียในปัจจุบัน) โดยเหตุการณ์ทั้งหมดล้วนเกิดตรงกับวันเพ็ญเดือน 6 หรือเดือนวิสาขะนี้ทั้งสิ้น ชาวพุทธจึงนับถือว่าวันเพ็ญเดือน 6 นี้ เป็นวันที่รวมวันคล้ายวันเกิดเหตุการณ์สำคัญ ๆ ของพระพุทธเจ้าไว้มากที่สุด และได้นิยมประกอบพิธีบำเพ็ญบุญกุศลและประกอบพิธีพุทธบูชาต่าง ๆ เพื่อเป็นการถวายสักการะรำลึกถึงแด่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าสืบมาจนปัจจุบัน

วิสาขบูชา มีการนับถือปฏิบัติกันในหลายประเทศที่นับถือพระพุทธศาสนาทั้งมหายานและเถรวาททุกนิกายมาช้านานแล้ว ในบางประเทศเรียกพิธีนี้ว่า "พุทธชยันตี" (Buddha Jayanti) เช่นใน ประเทศอินเดียและประเทศศรีลังกา ในปัจจุบันมีหลายประเทศที่ยกย่องให้วันวิสาขบูชาเป็นวันหยุดราชการ เช่น ประเทศอินเดีย ประเทศไทย ประเทศพม่า ประเทศศรีลังกา สิงคโปร์ และอินโดนีเซีย เป็นต้น (ส่วนใหญ่เป็นประเทศที่มีสัดส่วนประชากรที่นับถือพระพุทธศาสนานิกายเถรวาทมากที่สุด) ในฝ่ายของประเทศที่นับถือพระพุทธศาสนาเถรวาทในปัจจุบัน ส่วนใหญ่ได้รับคติการปฏิบัติบูชาในวันวิสาขบูชามาจากลังกา (ประเทศศรีลังกา) ในประเทศไทยปรากฏหลักฐานว่ามีการจัดพิธีวิสาขบูชามาตั้งแต่สมัยสุโขทัย

วันวิสาขบูชา ถือได้ว่าเป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาสากล เพราะชาวพุทธทุกนิกายจะพร้อมใจกันจัดพิธีพุทธบูชาในวันนี้พร้อมกันทั่วทั้งโลก[7] (ซึ่งไม่เหมือนวันมาฆบูชา และวันอาสาฬหบูชา ที่เป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาที่นิยมนับถือกันเฉพาะในประเทศไทย, ลาว, และกัมพูชา) และด้วยเหตุนี้ ประชุมใหญ่สมัชชาสหประชาชาติจึงยกย่องให้วันวิสาขบูชาเป็น "วันสำคัญสากล" (International Day) ตามข้อมติสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติที่ 54/112 ลงวันที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2542
ปัจจุบัน ประเทศไทยได้ประกาศให้วันวิสาขบูชาเป็นวันหยุดราชการ โดยพุทธศาสนิกชนทั้งพระบรมวงศานุวงศ์ พระสงฆ์ และประชาชน จะมีการประกอบพิธีต่าง ๆ เช่น การตักบาตร การฟังพระธรรมเทศนา การเวียนเทียน เป็นต้น เพื่อเป็นการบูชารำลึกถึงพระรัตนตรัยและเหตุการณ์สำคัญ 3 เหตุการณ์ดังกล่าว ที่ถือได้ว่าเป็นวันคล้ายวันที่ "ประสูติ" ของเจ้าชายสิทธัตถะ ผู้ซึ่งต่อมาได้ "ตรัสรู้" เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้ทรงกอปรไปด้วย "พระบริสุทธิคุณ", "พระปัญญาคุณ" ผู้ซึ่งได้ทรงสั่งสอนประกาศพระสัจธรรม คือ ความจริงของโลก แก่ชนทั้งปวงโดย "พระมหากรุณาธิคุณ" จวบจนทรง "เสด็จดับขันธปรินิพพาน" ในวาระสุดท้าย ทั้งสามเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นสืบเนื่องในวันเพ็ญเดือน 6 นี้ทำให้พระพุทธศาสนาได้บังเกิดและสืบต่อมาอย่างมั่นคงจนถึงปัจจุบัน

02/04/2024
🙏🏻สมณะศรัทธา และมูลละศรัทธาวัดศรีคำชมภู เดินทางร่วมอนุโมทนาบุญงานปอยหลวง1.วัดกอประจำโฮง2.วัดโพธิมงคล3.วัดสันกลางใต้🙏🏻ทาง...
02/03/2024

🙏🏻สมณะศรัทธา และมูลละศรัทธาวัดศรีคำชมภู เดินทางร่วมอนุโมทนาบุญงานปอยหลวง

1.วัดกอประจำโฮง
2.วัดโพธิมงคล
3.วัดสันกลางใต้

🙏🏻ทางวัดศรีคำชมภู ขอขอบคุณอนุโมทนา คณะช่างฟ้อน พร้อมด้วยคณะศรัทธาร่วมขบวนในครั้งนี้

🙏🏻ขออานิสงส์แห่งบุญนี้สำเร็จประโยชน์
ดังคำอธิษฐานของท่าน ด้วยเทอญฯ

24 กุมภาพันธ์ 2567 วันมาฆบูชาวันมาฆบูชา หมายถึง การบูชา ในวันเพ็ญเดือน 3 เนื่องในโอกาสคล้าย วันที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงโอวา...
23/02/2024

24 กุมภาพันธ์ 2567 วันมาฆบูชา

วันมาฆบูชา หมายถึง การบูชา ในวันเพ็ญเดือน 3 เนื่องในโอกาสคล้าย วันที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงโอวาทปาติโมกข์ แก่พระภิกษุจำนวน 1,250 รูป

"มาฆะ" เป็นชื่อของเดือน 3 มาฆบูชานั้น ย่อมาจากคำว่า"มาฆบุรณมี" แปลว่าการบูชาพระในวันเพ็ญเดือน 3 วันมาฆบูชาจึงตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3 แต่ถ้าปีใดมีเดือนอธิกมาส คือมีเดือนแปดสองครั้ง วันมาฆบูชาก็จะเลื่อนไปเป็นวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 4 เป็นวันสำคัญวันหนึ่ง ในวันพุทธศาสนา

ความสำคัญวันมาฆบูชา

วันมาฆบูชา เป็นวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3 มีเหตุการณ์อัศจรรย์ที่ พระสงฆ์สาวกของพระพุทธเจ้าจำนวน 1,250 รูป มาเฝ้าพระพุทธเจ้า ณ วัดเวฬุวัน เมืองราชคฤห์ แคว้นมคธ โดยมิได้นัดหมายกันพระสงฆ์ ทั้งหมดเป็นพระอรหันต์

ผู้ได้อภิญญา 6 และเป็นผู้ที่ได้รับการอุปสมบท โดยตรงจากพระพุทธเจ้า ในวันนี้พระพุทธเจ้าได้ทรงแสดงโอวาทปาติโมกข์ ในที่ประชุมสงฆ์เหล่านั้น ซึ่งเป็นทั้งหลักการอุดมการณ์และวิธีการปฏิบัติที่ นำไปใช้ได้ทุกสังคม มีเนื้อหา โดยสรุปคือให้ละความชั่วทุกชนิด ทำความดี ให้ถึงพร้อมและทำจิตใจให้ผ่องใส

ความเป็นมาวันมาฆบูชา

ส่วนที่เกี่ยวกับพระพุทธเจ้า หลังจากพระพุทธเจ้าตรัสรู้ได้ 9 เดือนขณะนั้นเมื่อเสร็จพุทธกิจแสดงธรรมที่ถ้ำสุกรขาตาแล้ว เสด็จมาประทับที่วัดเวฬุวัน เมืองราชคฤห์ แคว้นมคธ ประเทศอินเดียในปัจจุบัน วันนั้นตรงกับวันเพ็ญ เดือนมาฆะหรือเดือน 3 ในเวลาบ่ายพระอรหันต์สาวกของพระพุทธเจ้า มาประชุม พร้อมกัน ณ ที่ประทับของพระพุทธเจ้า นับเป็นเหตุอัศจรรย์ ที่มีองค์ประกอบสำคัญ 4 ประการ เรียกว่าว่า วันจาตุรงคสันนิบาต

คำว่า "จาตุรงคสันนิบาต" แยกศัพท์ได้ดังนี้ คือ

"จาตุร" แปลว่า 4
"องค์" แปลว่า ส่วน
"สันนิบาต" แปลว่า ประชุม
ฉะนั้นจาตุรงคสันนิบาตจึงหมายความว่า "การประชุมด้วยองค์ 4" กล่าวคือมีเหตุการณ์พิเศษที่เกิดขึ้นพร้อมกันในวันนี้ คือ

เป็นวันที่ พระสงฆ์สาวกของพระพุทธเจ้า จำนวน 1,250 รูป มาประชุมพร้อมกันที่เวฬุวันวิหารในกรุงราชคฤห์ โดยมิได้นัดหมาย
พระภิกษุสงฆ์เหล่านี้ล้วนเป็น "เอหิภิกขุอุปสัมปทา" คือเป็นผู้ที่ได้รับการอุปสมบทโดยตรงจากพระพุทธเจ้าทั้งสิ้น
พระภิกษุสงฆ์ทุกองค์ที่ได้มาประชุมในครั้งนี้ ล้วนแต่เป็นผุ้ได้บรรลุพระอรหันต์แล้วทุก ๆองค์
เป็นวันที่พระจันทร์เต็มดวงกำลังเสวยมาฆฤกษ
มูลเหตุวันมาฆะบูชา

หลังจากพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ตรัสรู้ในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 และได้ทรงประกาศพระศาสนาและส่งพระอรหันตสาวกออกไปจาริกเพื่อเผยแพร่พระพุทธศาสนายังสถานที่ต่าง ๆ ล่วงแล้วได้ 9 เดือน ในวันที่ใกล้พระจันทร์เสวยมาฆฤกษ์ (วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3) พระอรหันต์ทั้งหลายเหล่านั้นต่างได้ระลึกว่า วันนี้เป็นวันสำคัญของศาสนาพราหมณ์ อันเป็นศาสนาของตนอยู่เดิม ก่อนที่จะหันมานับถือพระธรรมวินัยของพระพุทธเจ้า และในลัทธิศาสนาเดิมนั้นเมื่อถึงวันเพ็ญเดือนมาฆะ เหล่าผู้ศรัทธาพราหมณลัทธินิยมนับถือกันว่าวันนี้เป็นวันศิวาราตรี โดยจะทำการบูชาพระศิวะด้วยการลอยบาปหรือล้างบาปด้วยน้ำ แต่มาบัดนี้ตนได้เลิกลัทธิเดิมหันมานับถือพระธรรมวินัยของพระพุทธเจ้าแล้ว จึงควรเดินทางไปเข้าเฝ้าบูชาฟังพระสัทธรรมจากพระพุทธเจ้า พระอรหันต์เหล่านั้นซึ่งเคยปฏิบัติศิวาราตรีอยู่เดิม จึงพร้อมใจกันไปเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าโดยมิได้นัดหมาย

มีผู้กล่าวว่า สาเหตุสำคัญที่ทำให้พระสาวกทั้ง 1,250 องค์มาประชุมพร้อมกันโดยมิได้นัดหมาย มาจากในวันเพ็ญเดือน 3 ตามคติพราหมณ์ เป็นวันพิธีศิวาราตรี พระสาวกเหล่านั้นซึ่งเคยนับถือศาสนาพราหมณ์มาก่อนจึงได้เปลี่ยนจากการรวมตัวกันทำพิธีชำระบาปตามพิธีพราหมณ์ มารวมกันเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าแทน

โอวาทปาฏิโมกข์

หลักคำสอนสำคัญของพระพุทธศาสนา หรือคำสอนอันเป็นหัวใจของพระพุทธศาสนา ได้แก่ พระพุทธพจน์ 3 คาถากึ่ง ที่พระพุทธเจ้าตรัสแก่พระอรหันต์ 1,250 รูป ผู้ไปประชุมกันโดยมิได้นัดหมาย ณ พระเวฬุวนาราม ในวันเพ็ญเดือน 3 ที่เราเรียกกันว่าวันมาฆบูชา (ถรรถกถากล่าวว่า พระพุทธเจ้าทรงแสดงโอวาทปาฏิโมกข์นี้ แก่ที่ประชุมสงฆ์ตลอดมา เป็นเวลา 20 พรรษา ก่อนที่จะโปรดให้สวดปาฏิโมกข์อย่างปัจจุบันนี้แทนต่อมา)

คาถาโอวาทปาฏิโมกข

(หันทะ มะยัง โอวาทะปาฏิโมกขะคาถาโย ภะณามะ เส)

สัพพะปาปัสสะ อะกะระณัง (การไม่ทำบาปทั้งปวง)
กุสะลัสสูปะสัมปะทา (การทำกุศลให้ถึงพร้อม)
สะจิตตะปะริโยทะปะนัง (การชำระจิตของตนให้ขาวรอบ)
เอตัง พุทธานะ สาสะนัง (ธรรม 3 อย่างนี้เป็นคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย)
ขันตี ปะระมัง ตะโป ตีติกขา (ขันตี คือความอดกลั้นเป็นธรรมเครื่องเผากิเลสอย่างยิ่ง)
นิพพานัง ปะระมัง วะทันติ พุทธา (ผู้รู้ทั้งหลายกล่าวพระนิพพานว่าเป็นธรรมอันยิ่ง)
นะ หิ ปัพพะชิโต ปะรูปะฆาตี (ผู้กำจัดสัตว์อื่นอยู่ไม่ชื่อว่าเป็นบรรพชิตเลย)
สะมะโณ โหติ ปะรัง วิเหฐะยันโต (ผู้ทำสัตว์อื่นให้ลำบากอยู่ไม่ชื่อว่าเป็นสมณะเลย)
อะนูปะวาโท อะนูปะฆาโต (การไม่พูดร้าย, การไม่ทำร้าย)
ปาติโมกเข จะ สังวะโร (การสำรวมในปาฏิโมกข์)
มัตตัญญุตา จะ ภัตตัสมิง (ความเป็นผู้รู้ประมาณในการบริโภค)
ปันตัญจะ สะยะนาสะนัง (การนอนการนั่งในที่อันสงัด)
อะธิจิตเต จะ อาโยโค (ความหมั่นประกอบในการทำจิตให้ยิ่ง)
เอตัง พุทธานะสาสะนัง (ธรรม 6 อย่างนี้เป็นคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย)

สถานที่สำคัญเนื่องด้วยวันมาฆบูชา (พุทธสังเวชนียสถาน)

พระพุทธรูปยืนกลางมณฑลมหาสังฆสันนิบาต ในโบราณสถานวัดเวฬุวันมหาวิหาร เมืองราชคฤห์ รัฐพิหาร อินเดีย (เป็นพระพุทธรูปสร้างใหม่ ปัจจุบันเป็นสถานที่จาริกแสวงบุญสำคัญของชาวพุทธทั่วโลก)เหตุการณ์สำคัญที่เกิดในวันมาฆบูชา เกิดภายในบริเวณที่ตั้งของ "กลุ่มพุทธสถานโบราณวัดเวฬุวันมหาวิหาร" ภายในอาณาบริเวณของวัดเวฬุวันมหาวิหาร ซึ่งลานจาตุรงคสันนิบาตอันเป็นจุดที่เกิดเหตุการณ์สำคัญในวันมาฆบูชานั้น ยังคงเป็นที่ถกเถียงและหาข้อสรุปทางโบราณคดีไม่ได้มาจนถึงปัจจุบัน

วัดเวฬุวันมหาวิหาร
"วัดเวฬุวันมหาวิหาร" เป็นอาราม (วัด) แห่งแรกในพระพุทธศาสนา ตั้งอยู่ใกล้เชิงเขาเวภารบรรพต บนริมฝั่งแม่น้ำสรัสวดีซึ่งมีตโปธาราม (บ่อน้ำร้อนโบราณ) คั่นอยู่ระหว่างกลาง นอกเขตกำแพงเมืองเก่าราชคฤห์ (อดีตเมืองหลวงของแคว้นมคธ) รัฐพิหาร ประเทศอินเดียในปัจจุบัน (หรือ แคว้นมคธ ชมพูทวีป ในสมัยพุทธกาล)

วัดเวฬุวันในสมัยพุทธกาล
เดิมวัดเวฬุวันเป็นพระราชอุทยานสำหรับเสด็จพระพาสของพระเจ้าพิมพิสาร เป็นสวนป่าไผ่ร่มรื่นมีรั้วรอบและกำแพงเข้าออก เวฬุวันมีอีกชื่อหนึ่งปรากฏในพระสูตรว่า "พระวิหารเวฬุวันกลันทกนิวาปสถาน"หรือ "เวฬุวันกลันทกนิวาป" (สวนป่าไผ่สถานที่สำหรับให้เหยื่อแก่กระแต) พระเจ้าพิมพิสารได้ถวายพระราชอุทยานแห่งนี้เป็นวัดในพระพุทธศาสนาหลังจากได้สดับพระธรรมเทศนาอนุปุพพิกถาและจตุราริยสัจจ์ ณ พระราชอุทยานลัฏฐิวัน (พระราชอุทยานสวนตาลหนุ่ม) โดยในครั้งนั้นพระองค์ได้บรรลุพระโสดาบัน เป็นพระอริยบุคคลในพระพุทธศาสนา และหลังจากการถวายกลันทกนิวาปสถานไม่นาน อารามแห่งนี้ก็ได้ใช้เป็นสถานที่สำหรับพระสงฆ์ประชุมจาตุรงคสันนิบาตครั้งใหญ่ในพระพุทธศาสนา อันเป็นเหตุการณ์สำคัญในวันมาฆบูชา

วัดเวฬุวันหลังการปรินิพพาน
หลังพระพุทธเจ้าเสด็จปรินิพพาน วัดเวฬุวันได้รับการดูแลมาตลอด โดยเฉพาะมูลคันธกุฎีที่มีพระสงฆ์เฝ้าดูแลทำการปัดกวาดเช็ดถูปูลาดอาสนะและปฏิบัติต่อสถานที่ ๆ พระพุทธเจ้าเคยประทับอยู่ทุก ๆ แห่ง เหมือนสมัยที่พระพุทธองค์ทรงพระชนมชีพอยู่มิได้ขาด โดยมีการปฏิบัติเช่นนี้ติดต่อกันกว่าพันปี
กิจกรรมต่างๆ ที่ควรปฏิบัติในวันมาฆบูชา

การปฎิบัติตนสำหรับพุทธศาสนาในวันนี้ก็คือ การทำบุญ ตักบาตรในตอนเช้า หรือไม่ก็จัดหาอาหารคาวหวานไปทำบุญฟังเทศน์ที่วัด ตอนบ่ายฟังพระแสดงพระธรรมเทศนา ในตอนกลางคืน จะพากันนำดอกไม้ ธูปเทียน ไปที่วัดเพื่อชุมนุมกันทำพิธีเวียนเทียน รอบพระอุโบสถ พร้อมกับพระภิกษุสงฆ์โดยเจ้าอาวาสจะนำว่า นะโม ๓ จบ จากนั้นกล่าวคำ ถวาย ดอกไม้ธูปเทียน ทุกคนว่าตาม จบแล้วเดิน เวียนขวา ตลอดเวลาให้ระลึกถึง พระพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสังฆคุณ จนครบ 3 รอบ แล้วนำดอกไม้ ธูปเทียนไปปักบูชาตามที่ทางวัด เตรียมไว้ เป็นอันเสร็จพิธี

การถือปฏิบัติวันมาฆบูชาในประเทศไทย

พิธีวันมาฆบูชานี้ เดิมทีเดียวในประเทศไทยไม่เคยทำมาก่อน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงอธิบายไว้ว่าเกิดขึ้นในสมัย พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ โดยทรงถือตามแบบของโบราณบัณฑิตที่ได้นิยมกันว่า วันมาฆะบูรณมี พระจันทร์เสวยฤกษ์มาฆะเต็มบริบูรณ์เป็นวันที่พระอรหันต์สาวกของ พระพุทธเจ้า 1,250 รูป ได้ประชุมกันพร้อมด้วยองค์ 4 ประการ เรียกว่า จาตุรงคสันนิบาต

พระพุทธเจ้าได้ตรัสเทศนาโอวาทปาติโมกข์ ในที่ประชุมสงฆ์เป็นการ ประชุมใหญ่ และเป็นการอัศจรรย์ในพระพุทธศาสนา นักปราชญ์ จึงถือเอาเหตุนั้นประกอบ การสักการบูชาพระพุทธเจ้าและพระอรหันต์สาวก 1,250 รูปนั้น ให้เป็นที่ตั้งแห่งความ เลื่อมใสการประกอบพิธีมาฆะบูชา ได้เริ่มในพระบรมมหาราชวังก่อน

ในสมัยรัชกาลที่ 4 มีพิธีการพระราชกุศลในเวลาเช้า พระสงฆ์ วัดบวรนิเวศวิหารและ วัดราชประดิษฐ์ 30 รูป ฉันในพระอุโบสถ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม เวลาค่ำ เสด็จออกทรงจุด ธูปเทียนเครื่อง มนัสการแล้ว พระสงฆ์สวดทำวัตรเย็นเสร็จแล้ว สวดมนต์ต่อไปมี สวดคาถาโอวาทปาติโมกข์ด้วยสวดมนต์ จบทรงจุดเทียนรายตามราวรอบพระอุโบสถ 1,250 เล่ม มีการประโคมอีกครั้งหนึ่งแล้วจึงมีการเทศนา โอวาทปาติโมกข์ 1 กัณฑ์เป็นทั้งเทศนาภาษาบาลีและ ภาษาไทย เครื่องกัณฑ์ มีจีวรเนื้อดี 1 ผืน เงิน 3 ตำลึง และขนมต่าง ๆ เทศนาจบพระสงฆ์ ซึ่งสวดมนต์ 30 รูป สวดรับการประกอบพระราชกุศลเกี่ยวกับ วันมาฆบูชาในสมัยรัชกาลที่ 4 นั้น พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จะเสด็จออกประกอบพิธีด้วยพระองค์เองทุกปีมิได้ขาด สมัยต่อมามีการเว้นบ้าง เช่น รัชกาลที่ 5 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จออกเองบ้าง มิได้ เสด็จออกเองบ้างเพราะมักเป็นเวลาที่ประสบกับเวลาเสด็จประพาส หัวเมืองบ่อย ๆ หากถูกคราวเสด็จไปประพาสบางปะอินหรือพระพุทธบาท พระพุทธฉาย พระปฐมเจดีย์ พระแท่นดงรัง ก็จะทรงประกอบพิธีมาฆบูชา ในสถานที่นั้น ๆ ขึ้นอีก ส่วนหนึ่งต่างหากจากในพระบรมมหาราชวังเดิมทีมีการประกอบพิธีในพระบรมมหาราชวัง ต่อมาก็ขยายออกไป ให้พุทธบริษัทได้ ปฏิบัติตามอย่างเป็นระบบสืบมาจนปัจจุบัน มีการบูชา ด้วยการเวียนเทียน และบำเพ็ญกุศลต่าง ๆ ส่วนกำหนดวันประกอบพิธีมาฆบูชานั้น ปกติตรงกับวันเพ็ญ เดือน 3 หากปีใด เป็นอธิกมาส คือ มีเดือน 8 สองหนจะเลื่อนไปตรงกับวันเพ็ญเดือน 4

หลักธรรมที่ควรนำไปปฏิบัติ

หลักธรรมที่ควรนำไปปฏิบัติได้แก่ โอวาทปาติโมกข์ หมายถึง หลักคำสอนคำสำคัญของพระพุทธศาสนาอันเป็นไปเพื่อป้องกัน และแก้ปัญหาต่าง ๆ ในชีวิตเป็นไปเพื่อความหลุดพ้น หรือคำสอน อันเป็นหัวใจพระพุทธศาสนา หลักธรรมประกอบด้วย หลักการ 3 อุดมการณ์ 4 วิธีการ 6 ดังนี้

หลักการ 3

การไม่ทำบาปทั้งปวง ได้แก่การงดเว้น การลด ละเลิก ทำบาปทั้งปวง ซึ่งได้แก่ อกุศลกรรมบถ ๑๐ ทางแห่งความชั่ว มีสิบประการ อันเป็น
ความชั่วทางกาย ทางวาจา และทางใจ ความชั่วทางกาย ได้แก่ การฆ่าสัตว์ การลักทรัพย์ การประพฤติ ผิดในกาม
ความชั่วทางวาจา ได้แก่ การพูดเท็จ การพูดส่อเสียด การพูดเพ้อเจ้อ
ความชั่วทางใจ ได้แก่ การอยากได้สมบัติของผู้อื่น การผูกพยาบาท และความเห็นผิดจากทำนองคลองธรรม

การทำกุศลให้ถึงพร้อม ได้แก่ การทำความดีทุกอย่างซึ่งได้แก่ กุศลกรรมบถ ๑๐ เป็นแบบของการทำฝ่ายดีมี ๑๐ อย่าง อันเป็นความดีทางกาย ทางวาจาและทางใจ
ความดีทางกาย ได้แก่ การไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ทำร้ายเบียดเบียนผู้อื่นมีแต่ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน การไม่ถือเอาสิ่งของที่เจ้าของเขาไม่ได้ให้ มาเป็นของตน มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ และการไม่ประพฤติผิดในกาม
การทำความดีทางวาจา ได้แก่ การไม่พูดเท็จ ไม่พูดส่อเสียด ไม่พูดคำหยาบ และไม่พูดเพ้อเจ้อพูดแต่คำจริง พูดคำอ่อนหวานพูดคำให้เกิดความสามัคคีและพูดถูกกาลเทศะ
การทำความดีทางใจ ได้แก่ การไม่โลภอยากได้ของของผู้อื่นมีแต่คิดเสียสละ การไม่ผูกอาฆาตพยาบาทมีแต่คิดเมตตาและ ปราถนาดีและมีความเห็นความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง ตามทำนองคลองธรรม เช่น เห็นว่าทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว

การทำจิตให้ผ่องใส ได้แก่ การทำจิตของตนให้ผ่องใส ปราศจากนวรณ์ซึ่งเป็นเครื่องขัดขวางจิตไม่ให้เข้าถึงความสงบ มี ๕ ประการ ได้แก่
ความพอใจในกาม (กามฉันทะ)
ความอาฆาตพยาบาท (พยาบาท)
ความหดหู่ท้อแท้ ง่วงเหงาหาวนอน (ถีนะมิทธะ)
ความฟุ้งซ่าน รำคาญ (อุทธัจจะกุกกุจจะ) และ
ความลังเลสงสัย (วิกิจฉา) เช่น สงสัยในการทำความดีความชั่ว ว่ามีผลจริงหรือไม่ วิธีการทำจิตให้ปฏิบัติสมถะผ่องใส ที่แท้จริงเกิดขึ้นจากการละบาปทั้งปวง ด้วยการถือศืลและบำเพ็ญกุศล ให้ถึงพร้อมด้วยการ และวิปัสสนา จนได้บรรลุอรหัตผล อันเป็นความผ่องใสที่แท้จริง
อุดมการณ์ 4

ความอดทน ได้แก่ ความอดกลั้น ไม่ทำบาปทั้งทางกาย วาจา ใจ
ความไม่เบียดเบียน ได้แก่ การงดเว้นจากการทำร้าย รบกวน หรือ เบียดเบียนผู้อื่น
ความสงบ ได้แก่ ปฏิบัติตนให้สงบทั้งทางกาย ทางวาจา และทางใจ
นิพพาน ได้แก่ การดับทุกข์ ซึ่งเป็นเป้าหมายสูงสุดในพระพุทธศาสนาเกิดขึ้นได้จาการดำเนินชีวิตตามมรรคมีองค์ 8
วิธีการ 6

ไม่ว่าร้าย ได้แก่ ไม่กล่าวให้ร้ายหรือ กล่าวโจมตีใคร
ไม่ทำร้าย ได้แก่ ไม่เบียดเบียนผู้อื่น
สำรวมในปาติโมกข์ ได้แก่ ความเคารพระเบียบวินัย กฎกติกา กฎหมาย รวมทั้งขนบธรรมเนียมประเพณีอันดีของสังคม
รู้จักประมาณ ได้แก่ รู้จักความพอดีในการบริโภคอาหารหรือการใช้สอยสิ่งต่าง ๆ
อยู่ในสถานที่ที่สงัด ได้แก่ อยู่ในสถานที่สงบมีสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสม
ฝึกหัดจิตใจให้สงบ ได้แก่ฝึกหัดชำระจิตให้สงบมีสุขภาพคุณภาพและประสิทธิภาพที่ดี

“ดีใจ๋ยิ่งแล้ว แขกแก้วมาเยือน”งานฉลองสมโภชปอยหลวงบูรณะวิหาร และเสนาสนะต่างๆของวัดศรีคำชมภู16-19 กุมภาพันธ์ 2567ขอกราบขอบ...
20/02/2024

“ดีใจ๋ยิ่งแล้ว แขกแก้วมาเยือน”
งานฉลองสมโภชปอยหลวงบูรณะวิหาร และเสนาสนะต่างๆของวัดศรีคำชมภู
16-19 กุมภาพันธ์ 2567

ขอกราบขอบพระคุณ หัววัดต่างๆที่มาร่วมอนุโมทนา คณะศรัทธาสาธุชนทุกท่าน ด้วยความยินดียิ่ง

วัดศรีคำชมภู ขออนุโมทนาแด่…บริษัทฤาชา เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์คอนซัลฑ์ 29โดย คุณวีรชาติ ลือชา พร้อมครอบครัวถวายอุปกรณ์ไฟฟ้าพ...
06/02/2024

วัดศรีคำชมภู ขออนุโมทนาแด่…

บริษัทฤาชา เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์คอนซัลฑ์ 29
โดย คุณวีรชาติ ลือชา พร้อมครอบครัว

ถวายอุปกรณ์ไฟฟ้าพร้อมติดตั้ง โรงครัววัดศรีคำชมภูทั้งหลัง

อานิสงส์ของผู้ที่ถวายโคมไฟหรือติดตั้งระบบไฟฟ้านี้ จะทำให้ผู้นั้นมีชีวิตเจริญรุ่งเรือง ชีวิตไม่ตกอับมืดมน มีผู้คอยอุปถัมภ์ค้ำจุนอยู่เสมอ เมื่อมีปัญหาก็จะพบทางออก เปรียบเสมือนมีสว่างนำทางให้ชีวิตเจริญรุ่งเรือง

สาธุ สาธุ สาธุ

19/01/2024

📣ประชาสัมพันธ์ งานบุญ วัดศรีคำชมภู
🌺เชิญร่วมบุญ ถวายระฆังเล็ก ( เด็งปันเมา ) ติดเชิงชายหลังคาวิหาร วัดศรีคำชมภู
👉จำนวน 120 ลูก ลูกละ 500 บาท

🌺สอบถาม พระสมุห์เกียรติศักดิ์ เขมจิตฺโต เจ้าอาวาสวัดศรีคำชมภู
หรือร่วมบุญ ชื่อบัญชี วัดศรีคำชมภู
0813716518 กสิกรไทย

🙏🙏🙏 อานิสงส์การถวายระฆัง

การสร้างระฆังถวายวัดเป็นยอดมหากุศล
อานิสงส์ถวายระฆัง
* เป็นที่สรรเสริญของนรชนและบัณฑิตทั้งหลาย
* เป็นที่รักของนรชนและบัณฑิตทั้งหลาย
* ละความตระหนี่
* ย่อมไม่หวาดหวั่นครั่นคร้ามเมื่อเข้าสู่สมาคม
* เป็นกำลังสำคัญในการอุปถัมภ์พระพุทธศาสนา
ส่วนผลในอนาคตนั้นย่อมมีอานิสงส์ในทิพยสมบัติ และเมื่อเคลื่อนจากอัตภาพนั้นแล้วไปบังเกิด ณ สถานที่ใดๆ จะเป็นผู้มีความสุขสบาย มีผิวพรรณวรรณะงดงาม บริบูรณ์ด้วยโภคสมบัติ ถึงพร้อมด้วยสติปัญญา และที่สำคัญโบราณจารย์ยังกล่าวไว้ว่า "จะมีเสียงดังก้องกังวาลไพเราะประดุจนกการเวก" หูจะไม่หนวก จะได้ยินเสียงชัดเจน มีเสียงอันไพเราะ ไม่เตี้ย พิการ ผู้ใดที่มีหนี้กรรมอยู่ก็จะหมดไป เมื่อละจากภพนี้ไปแล้วจะมีวิมานหลายชั้น และส่งผลให้ เมื่อเกิดภพชาติใดจะมีชื่อเสียงโด่งดัง ไปทั่วทุกสารทิศ ไปไหน ก็มีคนรู้จักเคารพนับถือ ไม่ว่าจะทำสิ่งใดก็จะเจริญก้าวหน้า เป็นเป็นผู้มีวาจาดังกังวาน และคำพูดศักดิ์สิทธิ์ เป็นที่น่าเกรงขาม น่าเชื่อถือน่าเคารพ ยังส่งผลดีในการติดต่อค้าขายเจรจา มีความจำเป็นเลิศ อายุยืนยาว เป็นการแก้กรรมให้กับผู้ที่ทำงานที่ต้องใช้ชื่อเสียง หรือเสียงอย่างนักร้อง ผู้ที่มีความบกพร่องทางเสียง พวกเสียงแหบ เสียงแห้ง ทั้งหลายและคนที่ต้องทำการค้า เจรจาต่อรอง

รายนามผู้ถวายเด็งปันเมา

1.-2.พระครูปลัดจิรวัฒน์ กิตฺติโสภโณ
เจ้าอาวาสวัดต้นผึ้ง/เลขานุการเจ้าคณะตำบลสารภี-หนองแฝก 2 ลูก(โอน)
3.คุณณัฐชานันท์ พันธ์อิ่ม 1 ลูก
4.ด.ญ.ฐณิการ พันธ์อิ่ม 1 ลูก
5.-6. นางนัฏกร นิพนต์ พร้อมครอบครัว 2 ลูก(โอน)
7. แม่ปรานอม พรหมชัย 1 ลูุก
8.พ่อสุทธิพร สุภา 1 ลูก
9.พระอธิการจักร์กฤษณ สุภา ชุติปัญโญ 1 ลูก
10. นายถิร นางกรวรรณ ท้าวเขื่อน 1 ลูก(อ)
11.คุณพชรพัชร์ วิธิษณ์กุลศิริ 1 ลูก
12.คุณปกรณ์ยศ น้อยไพโรจน์ 1 ลูก
13. นางอัญชลี กองเงิน พร้อมครอบครัว(อ)
14.นางพัชรินทร์ ไชยแก้วเมร์ พร้อมครอบครัว(อ)
15.นางสาวรัตนา สมฟอง พร้อมครอบครัว(อ)
16. นางศรีโสภา จิตอรุณ พร้อมครอบครัว(อ)
17.นางคำหน้อย ไชยวุฒิ พร้อมครอบครัว(อ)
18.คุณนงลักษณ์ ศรีวิลัย (อ)
19. ปิยธิดา ตุงคนาคร
20.ประนอม สุวรรณ
21. คุณพ่อสมวงค์ คุณแม่ด่วน ด่านกระโทก 1 ลูก(อ)
22.พระอาจารย์หวาน สุรปัญโญ 1 ลูก(อ)
23.

🙏🏻ขออนุโมทนาสาธุ แด่ท่านเจ้าภาพ🙏🏻💐รายชื่อเจ้าภาพกำแพงสร้างถวายวัดศรีคำชมภู อ.สารภี จ.เชียงใหม่🙏จำนวน 23 ช่อง 💐ช่องละ 10,...
08/01/2024

🙏🏻ขออนุโมทนาสาธุ แด่ท่านเจ้าภาพ🙏🏻

💐รายชื่อเจ้าภาพกำแพงสร้างถวายวัดศรีคำชมภู อ.สารภี จ.เชียงใหม่🙏

จำนวน 23 ช่อง
💐ช่องละ 10,000 บาท
💐เมตรล่ะ 5,000 บาท

1.คุณณัฐชานันท์ พันธ์อิ่ม
ผู้จัดการทีมบริหารความสัมพันธ์ลูกค้าบุคคล เหนือ 1
ด.ญ.ฐณิการ พันธ์อิ่ม
พร้อมครอบครัว
( 1 ช่อง )

2.คุณพชรพัชร์ วิธิษณ์กุลศิริ
โรงแรมเวียงท่าแพ รีสอร์ท
และคุณปกรณ์ยศ น้อยไพโรจน์
( 1 ช่อง )

3.คุณเพียงพร นวะมะวัฒน์
พร้อมครอบครัว
( 1 ช่อง )

4.คุณจงจิต แซ่ลิ่ว
พร้อมครอบครัว
บจก. โอชิน โฮมเมดเบเกอรี่
( 1 ช่อง )

5.คุณสมคิด แก้วผัด
พร้อมครอบครัว
บจก. โอชิน โฮมเมดเบเกอรี่
( 1 ช่อง )

6. สท.สุทธิพจน์ คุณสุรัมภา เตชะ พร้อมครอบครัว
( 1 ช่อง )

7. ผอ.ปัญญา คุณลำดวน บุญมาคำ
จ.ส.อ.เทอดชัย คุณอนงค์ รินสม
คุณธนาวุฒิ คุณบุษรินทร์ คงสินสุข
คุณจินตนา รินสม
( 1 ช่อง )

8.ครอบครัว อุทัยวรรณ หุตะโชค ( 1ช่อง )

9.นายวสันต์ นางชมพูนุช น.ส.อัญญาภัคร์ สมเกตุ (ช่อง) อุทิศให้พ่อศรีลา แม่คำมา ขัติยะ

10. แม่อำพร เมืองแก้ว พร้อมด้วยลูกหลาน
(1 ช่อง)

11.หจก. มณีแพรพลอย
และ ร้านมณีพลอยคาเฟ่
โดย คุณ แก้มขวัญสิริ ปันนิตามัย
คุณ บุญเดชช ปันนิตามัย
คุณ วันทอง ปันนิตามัย
คุณ พลอยมณีนฤมาส ปัณณิสามัย(1ช่อง)

12. คุณบัวเรียว ตาคำ อุทิศไปหา พ่ออุ๊ยคำ ตาคำ
( 1 ช่อง )

13.พ่ออินทร์ ไชยวาปิงพร้อมลูกหลาน(1ช่อง) (โอน)

14.โรงงานขนมกระปุก โดยคุณขันทอง คุณทองสุข จันทร์น้อย(1ช่อง)

15. แม่จันทร์สม กันจินะ
น.ส.กัญจนฉัตร กันจินะ
น.ส.กลัญญุตา กันจินะ(1ช่อง)

16.แม่อุ้ยปัน กองธรรม
พร้อมลูกหลาน(1เมตร)

17. นายวิชาญ ชัยมงคล
นางณิชาภา วงค์ริน
เด็กชายศุภฤกษ์ ชัยมงคล
(1ช่อง)

18. พระภวัต ระพีเจิดสวัสดิ์ (ครูบาทิพย์)
( 1ช่อง)

19.ศาสตราจารย์ดร.สมเดช คุณอรอนงค์ แพทย์หญิงภัทรณี นายแพทย์ ศิริชัย ศรีชัยรัตนกูล
อุทิศไปหาพ่อกำนันอ้าย แม่คำเอ้ย ศรีดี(1ช่อง)

20. คุณสมศักดิ์ กุลวิจิตร์รัตน์
คุณพัทธมน เมืองแก้ว (1ช่อง)

21. น.ส.ลัดดาวัลย์ บุญสุข
นายนพพันธ์ ด.ญ.ปภาวรินท์ เตชะ
(กำแพง 1 เมตร)

22.กำแพง 1 ช่อง
พล.ท.ชาตรี บุญทวี
นางกัญญาภัทร บุญทวี
พร้อมครอบครัว

🌸บุญด่วนทันใจ สร้างให้แล้วเสร็จก่อนงานฉลองสมโภชวัดในวันมี่ 17-19 ก.พ.นี้

07/01/2024

💐ขอเชิญร่วมเป็นเจ้าภาพ🙏

สร้างกำแพง ถวายวัดศรีคำชมภู
ต.ป่าบง อ.สารภี จ.เชียงใหม่
จำนวน 23 ช่อง
💐ช่องละ 10,000 บาท
( 2 เมตร)
💐เมตรล่ะ 5,000 บาท

หรือตามจิตเจตนาศรัทธา

🌸บุญด่วนทันใจ สร้างให้แล้วเสร็จก่อนงานฉลองสมโภชวัดในวันมี่ 17-19 ก.พ.2567🌸

🙏🏻 บัญชีธนาคารกสิกรไทย
วัดศรีคำชมภู
0813716518
หรือสแกนผ่านคิวอาร์โคด

💐อานิสงส์การสร้างกำแพงถวายวัด💐

1.ส่งผลให้สามารถทำงานที่ใหญ่โตได้สำเร็จโดยง่าย ไม่มีอุปสรรค
2.จะมีแต่สิ่งดีๆ เข้ามาในชีวิต
3.มีอำนาจ บารมี บริวารที่ดี
4.มีแต่ความร่มเย็นเป็นสุข ไม่ร้อนกาย ร้อนใจเหมือนดั่งที่หลังคาคอยคุ้มแดด คุ้มฝนให้แก่ผู้คนที่มาปฏิบัติธรรม
5.จะไม่มีคนคิดปองร้าย จะไม่ขาดแคลนปัจจัย 4
6.เกิดชาติไหนมีแต่คนนับหน้าถือตา
7.กิจการก็จะเจริญรุ่งเรืองก้าวหน้า

🙏🏻ผู้มีจิตศรัทธาเป็นเจ้าภาพ ช่องละ 10,000 บาท ทางวัดมอบพระพุทธมหาจักรพรรดิ์วัดศรีคำชมภู ขนาดหน้าตัก 5 นิ้ว 1 องค์ เป็นที่ระลึก

วัดศรีคำชมภูตั้งอยู่ที่ 97 หมู่3. ต.ป่าบง อ.สารภี จ.เชียงใหม่

กิจกรรมสวดมนต์ข้ามปีสร้างบารมีข้าม พ.ศ.ต้อนรับปีพุทธศักราช ๒๕๖๗ณ วัดศรีคำชมภู เชียงใหม่ขออานิสงส์แห่งปฎิบัติบูชาขอท่านทั...
01/01/2024

กิจกรรมสวดมนต์ข้ามปี
สร้างบารมีข้าม พ.ศ.
ต้อนรับปีพุทธศักราช ๒๕๖๗

ณ วัดศรีคำชมภู เชียงใหม่

ขออานิสงส์แห่งปฎิบัติบูชา
ขอท่านทั้งหลาย จงเป็นผลให้ท่านและครอบครัวมีความสุข สมปรารถนา ตลอดปี ตลอดไป สาธุฯ

🙏🏻ขอเรียนเชิญสาธุชนฯ🙏🏻ร่วมกิจกรรมอันเป็นมงคลแก่ชีวิตต้อนรับปีพุทธศักราช ๒๕๖๗
29/12/2023

🙏🏻ขอเรียนเชิญสาธุชนฯ🙏🏻
ร่วมกิจกรรมอันเป็นมงคลแก่ชีวิต
ต้อนรับปีพุทธศักราช ๒๕๖๗

๕ ธันวามหาราช วันพ่อแห่งชาติ.เนื่องในวันคล้ายวันพระบรมราชสมภพ ครบ ๘ รอบพระนักษัตร ปีที่ ๙๖ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร ...
04/12/2023

๕ ธันวามหาราช วันพ่อแห่งชาติ.เนื่องในวันคล้ายวันพระบรมราชสมภพ ครบ ๘ รอบพระนักษัตร ปีที่ ๙๖ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
วันที่ ๕ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๖๖
น้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณ อย่างหาที่สุดมิได้

กิจกรรมประเพณียี่เป็ง(ลอยกระทง)ประจำปี2566ของวัดศรีคำชมภู #ล่องสะเปาล้านนา
01/12/2023

กิจกรรมประเพณียี่เป็ง(ลอยกระทง)
ประจำปี2566ของวัดศรีคำชมภู
#ล่องสะเปาล้านนา

วัดศรีคำชมภู ขออนุโมทนา…แด่…คณะกฐินสามัคคี ทุกคณะ ทุกสายบุญเนื่องในงานทอดผ้ากฐินสามัคคีประจำปี 2566เสาร์ ที่ 25 พฤศจิกาย...
27/11/2023

วัดศรีคำชมภู ขออนุโมทนา…

แด่…คณะกฐินสามัคคี ทุกคณะ ทุกสายบุญ
เนื่องในงานทอดผ้ากฐินสามัคคี
ประจำปี 2566
เสาร์ ที่ 25 พฤศจิกายน 2566

ขออานิสงส์แห่งมหาทานบารมีนี้
สำเร็จประโยชน์ในทางโลกและทางธรรม
สมดังคำอธิษฐานของทุกท่าน จงทุกประการเทอญฯ

วัดศรีคำชมภู ขออนุโมทนาบุญ แด่เจ้าภาพโรงทานงานทอดกฐินสามัคคีประจำปี 2566*เปิดโรงทานเวลา 5 โมงเย็น*เปิดรับเจ้าภาพโรงทาน
21/11/2023

วัดศรีคำชมภู ขออนุโมทนาบุญ แด่
เจ้าภาพโรงทานงานทอดกฐินสามัคคี
ประจำปี 2566

*เปิดโรงทานเวลา 5 โมงเย็น
*เปิดรับเจ้าภาพโรงทาน

ที่อยู่

Chiang Mai
50140

เบอร์โทรศัพท์

+66661561995

เว็บไซต์

แจ้งเตือน

รับทราบข่าวสารและโปรโมชั่นของ วัดศรีคำชมภู - Wat Srikumchomepoo ตำบลป่าบง อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ผ่านทางอีเมล์ของคุณ เราจะเก็บข้อมูลของคุณเป็นความลับ คุณสามารถกดยกเลิกการติดตามได้ตลอดเวลา

ติดต่อ ธุรกิจของเรา

ส่งข้อความของคุณถึง วัดศรีคำชมภู - Wat Srikumchomepoo ตำบลป่าบง อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่:

วิดีโอทั้งหมด

แชร์

ประเภท

ตำแหน่งใกล้เคียง บริษัท สื่อ


สื่อ อื่นๆใน Chiang Mai

แสดงผลทั้งหมด

คุณอาจจะชอบ