02/05/2024
กรอบกฏหมาย AI ใหม่และการมีส่วนร่วมกับ GDRP
ปัญญาประดิษฐ์(AI) ได้เข้ามาปรับแปลี่ยนมุมมองต่าง ๆ ในสังคม จึงทำให้เกิดความกังวลมากมายของการเป็นเหมือนดาบสองคมของเทคโนโลยีนี้ ที่อาจจะกระทบต่อความเป็นส่วนตัวของข้อมูลและในข้อศีลธรรม จึงทำให้หลาย ๆ องค์กรพยายามเข้ามาควบคุมเช่น สหภาพยุโรปได้ออกพระราชบัญญัติปัญญาประดิษฐ์ (AI Act) และคำสั่งความรับผิดด้านปัญญาประดิษฐ์ (AILD) เพื่อควบคุมการพัฒนา AI และปกป้องสิทธิส่วนบุคคลให้เป็นไปตามกฎระเบียบให้ความคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของผู้บริโภค (GDPR)
เพื่อคายความกังวลด้านความเป็นส่วนตัวของข้อมูล โดยมีบบทความของคุณเอียน บอร์เนอร์ได้มีการอธิบายในเรื่องนี้ไว้ตามหมวดหมูาประมาณว่า
หมวดหมู่ความเสี่ยงของ AI
พระราชบัญญัติ AI ใช้แนวทางที่อิงตามความเสี่ยง โดยแบ่งระบบ AI ออกเป็นประเภทความเสี่ยงต่างๆ อยู่ 4 อย่างคือ
-ความเสี่ยงที่ยอมรับไม่ได้ คือ AI ที่เป็นภัยคุกคามอย่างชัดเจน ทั้งด้านคามปลอดภัย การดำลงชีวิต และสิทธิของบุคคล ในเคสที่เห็นได้ชัดคือการที่นำ AI สร้างเสียงเพื่อป่วนการเลือกตั้งในสหรัฐในช่วงสิ้นปีก่อนนั้นเอง อีกทั้งยังกระทบในระบบการสั่งการด้วยเสียงที่อาจจะมีการนำ AI เข้ามาปลอมเสียงเพื่อสั่งการณ์ได้อีกด้วย ซึ่งเป็นความเสี่ยงที่ไม่สามารถยอมรับได้อย่างเด็ดขาด
-ความเสี่ยงสูง จากความก้าวหน้าของโมเดล AI ต่าง ๆ อาจจะทำให้เกิดอันตรายต่อความปลอดภัยหรือสิทธิขั้นพื้นฐาน เช่นเครื่องมือสแกนเรซูเม่หรือระบบระบุตัวตนไบโอเมตริกระยะไกล
-ความเสี่ยงที่จำกัด คือความโปร่งใสของระบบ AI และแชทบอท เช่นผู้ใช้งานนั้นต้องรับรู้ว่ากำลังพุดคุยกับ AI เป็นต้น
-ความเสียงน้อย คือโมเดล AI ที่ไม่มีความเสี่ยงหรือความเสี่ยงน้อย
อ่านเพิ่มเติม >>> ในคอมเม้น
#ปัญญาประดิษฐ์