04/08/2024
🙌🏻 เวียนกลับมาพบกันอีกครั้ง
สำหรับ Crackersblogs ประจำสัปดาห์
📣 ในครั้งนี้พบกับบทความของ กมเลศ โพธิกนิษฐ
อาจารย์ประจำภาควิชาสังคมวิทยา และมานุษยวิทยา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
📖 บทความชื่อ SOFT POWER จากความสามารถในการจูงใจสู่กลยุทธ์ทางการเมืองระหว่างประเทศ และกลไกการได้มาซึ่งอำนาจนำ (Hegemony)
https://crackersbooks.com/blogs-soft-power-hegemony
✏️ บทความชิ้นดังกล่าวได้ชี้ให้เห็นถึงความหมายของคำว่า Soft Power ตามแนวคิดของ โจเซฟ เอส. เนย์ จูเนียร์ (Joseph S. Nye Jr.) นอกเหนือจากนี้ ยังแสดงให้เห็นถึงความเชื่อมโยงระหว่างกรอบแนวคิดเรื่อง Soft Power และ กรอบแนวคิดเรื่องการครองอำนาจนำ (Hegemony) ของ อันโตนิโอ กรัมชี่ (Antonio Gramsci) ว่ามีความเชื่อมโยงกันในทางกรอบทฤษฏีอย่างไร
💭 คำว่า “SOFT POWER” กำลังถูกใช้อย่างแพร่หลาย ในปัจจุบัน ทั้งในส่วนของภาครัฐ เอกชน และในโลกวิชาการ ซึ่งต่างก็พยายามนำเสนอแนวคิด และมุม มองต่อคำดังกล่าวอย่างหลากหลาย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อ คำว่า “SOFT POWER” ได้กลายเป็นประเด็นสำคัญตามแนวนโยบายด้านการส่งเสริม วัฒนธรรมของรัฐบาลปัจจุบันที่นำโดยนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี โดยจากคำแถลงนโยบายของคณะรัฐมนตรีแถลงต่อรัฐสภา เมื่อวันจันทร์ที่ 11 กันยายน 2566 นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี ได้เน้นย้ำถึงนโยบายสนับสนุนการสร้างพลังสร้างสรรค์ผ่านการส่งเสริมวัฒนธรรม หรือนโยบาย Soft Power ของประเทศไทย โดยมีเป้าหมายที่สำคัญเพื่อยกระดับและพัฒนาความสามารถด้านความรู้ความสามารถ และความคิดสร้างสรรค์ของคนไทยให้ สร้างมูลค่าและสร้างรายได้รวมทั้งการอนุรักษ์ ฟื้นฟูและพัฒนาต่อยอดศิลปะ วัฒนธรรมและส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อนำมาต่อยอดในการสร้างมูลค่า เพิ่ม นอกจากนี้รัฐบาลจะสร้างงาน สร้างรายได้ผ่านการส่งเสริม 1 ครอบครัว 1 ทักษะ Soft Power
ซึ่งในรายละเอียดนั้น นางสาวแพทองธาร ชินวัตร ในฐานะรองประธานคณะกรรมการยุทธศาสตร์ซอฟต์พาวเวอร์แห่งชาติ ได้กล่าวไว้เมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2566 ในการบรรยายพิเศษ "Soft Power The Great Challenger ในการสัมมนา THAILAND 2024 : beyond RED OCEAN เส้นทางใหม่ เป้าหมายใหม่ ที่มั่นคง" จัดขึ้นโดย ประชาชาติธุรกิจและประชาชาติธุรกิจออนไลน์ ว่า “… "Soft Power" คือ อำนาจในการทำให้ประเทศหนึ่งหรือสังคมหนึ่ง พร้อมโอบรับวัฒนธรรมอื่นๆ ให้เข้ามา โดยที่ไม่ได้มีการบังคับ… "Soft Power" เป็นการพัฒนาต้นทุนทางวัฒนธรรมที่นำมาซึ่งเศรษฐกิจที่ดีขึ้น และโอกาส ให้ประชาชน….” ทั้งนี้ ในการสร้าง Soft Power ในส่วนแรกจะเป็นการเน้นไปที่การพัฒนาอุตสาหกรรม ผ่านการตั้งหน่วยงานที่มีชื่อว่า Thacca-Thailand Creative Content Agency ซึ่งจะเป็นกลไกสะท้อนเสียงจากภาคเอกชน ให้เข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนานโยบาย จะประกอบไปด้วยคณะอนุกรรมการ ทั้งหมด 12 คณะ ขับเคลื่อนการสร้างและพัฒนา "Soft Power" ใน 12 ลักษณะ ประกอบไปด้วย 1) แฟชั่น, 2) หนังสือ, 3) ภาพยนตร์, 4) ละครและซีรีส์, 5) เฟสติวัล, 6) อาหาร, 7) ออกแบบ, 8)ท่องเที่ยว, 9) เกม, 10) ดนตรี, 11) ศิลปะ และ 12) กีฬา (ไทยรัฐออนไลน์, 2566)
แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณา คำว่า “SOFT POWER” ด้วยกรอบแนวคิดเชิงทฤษฎีแล้วกลับพบว่า ปฐมบทของคำดังกล่าวนั้นกลับมีนิยามความหมายที่ แตกต่างออกไปจากการตีความของรัฐบาลที่มุ่งเน้นไปที่การส่งเสริมวัฒนธรรม ตามแนวคิดการสร้างเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ในข้างต้น ดังนั้น บทความนี้จึงมี วัตถุประสงค์หลักเพื่อนำเสนอกรอบแนวคิดเชิงทฤษฎีที่ว่าด้วย SOFT POWER ตลอดจนวิเคราะห์และนำเสนอความเชื่อมโยงไปสู่แนวคิดทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง กับเป้าหมายหลักของฐานคิดเรื่อง SOFT POWER ที่ว่าด้วยการใช้อำนาจ เพื่อครองใจผู้อื่น โดยที่ไม่รู้สึกว่าอยู่ภายใต้การใช้อำนาจ (บางส่วนจากบทความ)
📚อ่านสาระความรู้ดีๆบน Blogs ของสำนักพิมพ์ Crackers Books https://crackersbooks.com/blogs
📣 หนังสือวิชาการเล่มแรกของเราจะช่วยทุกท่าน Crack ความรู้เกี่ยวกับทฤษฎีมาร์กซ์แบบ 101 https://crackersbooks.com/academic สนใจทัก Inbox ได้เลย
🌎 ศูนย์รวมความรู้สไตล์ Crackers Books ชมข้อมูลทั้งหมดเกี่ยวกับเราได้ที่ https://crackersbooks.com