05/01/2025
📌3/2568 การใช้สิทธิ์โดยสุจริต
สำหรับการใช้สิทธิ์ของบุคคลตามกฎหมายจะต้องใช้สิทธิ์โดยสุจริตนั้นกฎหมายกำหนดว่าบุคคลแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
1.บุคคลธรรมดา
2.นิติบุคคล ซึ่งนิติบุคคลอาจจดทะเบียนถูกต้องตามกฎหมายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์หรือตามพระราชบัญญัติบริษัทมหาชนจำกัด
โดยบุคคลตามกฎหมายจะใช้สิทธิที่ตนมีตามที่กฎหมายกำหนดไว้นั้นจะต้องใช้โดยสุจริต ซึ่งการใช้สิทธิ์นั้นกฎหมายให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าบุคคลทุกคนกระทำการโดยสุจริต ตามความที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ในมาตรา 5 บัญญัติว่า "ในการใช้สิทธิ์แห่งตนก็ดีในการชำระหนี้ก็ดีบุคคลทุกคนต้องกระทำโดยสุจริต" และในมาตรา 6 บัญญัติไว้ว่า "ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าบุคคลทุกคนกระทำการโดยสุจริต"
ซึ่งคำว่า กระทำการโดยสุจริตหรือไม่นั้น เป็นเรื่องที่ต้องพิสูจน์กันโดยมักพบคำนี้ในกันฟ้องและต่อสู้คดี
ในการบรรยายฟ้องของโจทก์นั้นต้องได้รับบทสันนิษฐานว่าเป็นการฟ้องโดยใช้สิทธิ์สุจริตซึ่งจำเลยมักจะให้การต่อสู้ว่าฟ้องโจทก์นั้นใช้สิทธิ์ไม่สุจริตในการฟ้องจำเลยมิได้กระทำความผิดตามฟ้องโจทก์ โจทก์ไม่มีอำนาจ ฟ้องโจทก์ใช้สิทธิ์ไม่สุจริตในการฟ้อง ซึ่งหากภายหลังศาลพิพากษาว่า การฟ้องของโจทก์นั้นใช้สิทธิ์โดยสุจริต แต่จำเลยไม่ได้กระทำความผิดตามฟ้อง เพราะเป็นเรื่องเข้าใจผิดหรืออย่างไรก็ตาม จำเลยไม่มีสิทธิ์ฟ้องโจทก์กลับเพื่อเรียกร้องค่าเสียหาย
แต่ในทางกลับกันหากศาลพิพากษาตั้งแต่ต้นว่า โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องและการใช้สิทธิ์ของโจทก์นั้นไม่สุจริต ในลักษณะเช่นนี้ย่อมถือได้ว่าโจทก์ใช้สิทธิ์ไม่สุจริตในการฟ้องจำเลยมีสิทธิ์ที่จะฟ้องโจทก์กลับเป็นอีกคดีหนึ่ง โดยตั้งฟ้องเป็นคดีละเมิด เรียกค่าเสียหาย
#ปรึกษาปัญหากฎหมายมีค่าใช้จ่ายโทรหาทนายพราวรวี0924505998
ให้ความรู้กฎหมาย รับว่าความ-รับทำสัญญา สอนว่าความจริงในศาล