CREATIVE TALK "The Future Belongs to Your Creativity"

ติดต่อฝากข่าวประชาสัมพันธ์/Media Partner: [email protected]

สนใจลงโฆษณา: [email protected]

ยุคนี้ ‘เสียเงินไม่ว่า เสียหน้าไม่ได้!’ ถอดรหัสพฤติกรรม ‘กินตาม-ซื้อตาม’ ผ่านการตลาดแบบ เออ-ออ (ER-OR Marketing) โดย CMM...
15/01/2025

ยุคนี้ ‘เสียเงินไม่ว่า เสียหน้าไม่ได้!’ ถอดรหัสพฤติกรรม ‘กินตาม-ซื้อตาม’ ผ่านการตลาดแบบ เออ-ออ (ER-OR Marketing) โดย CMMU
✨ มีข้อมูลที่น่าสนใจจากวิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล เผยผลวิจัย "ER-OR MARKETING: การตลาดแบบเออ-ออ
ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาพฤติกรรมการซื้อสินค้าและบริการของคนไทยเปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว โดยมีสาเหตุหลัก ๆ จากอิทธิพลของสื่อโซเชียลมีเดียที่ทำให้การเผยแพร่และแชร์ข้อมูลข่าวสารเป็นไปอย่างรวดเร็วและเรียลไทม์ส่งผลให้เกิด Customer Journey ที่สั้นและเร็วกว่าเดิม
โดยผู้บริโภคมักตัดสินใจซื้อสินค้าหรือบริการเพียงเพราะเห็นคนรอบข้าง ผู้มีอิทธิพลทางความคิด (Influencers) หรือคนส่วนใหญ่นิยมใช้สินค้าและบริการเหล่านั้น เพราะเชื่อว่าคนส่วนใหญ่น่าจะเลือกสิ่งที่ถูกต้องและหากไม่ซื้อตามอาจพลาดสิ่งดี ๆ ไป จนทำเกิดกระแส "คล้อยตาม" หรือ “ซื้อตามกัน” อย่างรวดเร็ว โดยไม่ต้องผ่านกระบวนการค้นหาหรือศึกษาข้อมูลนาน ๆ เหมือนแต่ก่อน
ซึ่งพฤติกรรมเหล่านี้ได้เปลี่ยนโฉมหน้าการตลาดในประเทศไทยไปอย่างสิ้นเชิง และทำให้เกิดเทรนด์การตลาดใหม่ที่เรียกว่า “การตลาดแบบเออ-ออ หรือ ER-OR MARKETING” หรือ พฤติกรรมตามกระแสของคนไทยในปัจจุบัน" โดยข้อมูลวันนี้นอกเหนือจากงานวิจัยจาก CMMU แล้วยังมีอีก 3 ท่านที่จะมาเจาะ Insight สำคัญ ได้แก่ คุณมาวิน ทวีผล (เพจ มาวินฟินเฟ่อร์), คุณอิก - บรรพต ธนาเพิ่มสุข (เพจ ถามอีก กับอิก Tam-Eig) และ คุณภาพเพรง เลี้ยงสุข (Techsauce)
✨ เจาะลึกงานวิจัย ER-OR MARKETING: การตลาดแบบเออ-ออ หรือ พฤติกรรมตามกระแสของคนไทยในปัจจุบัน
พฤติกรรม เออ-ออ! คือพฤติกรรมการ “คล้อยตาม” หรือ “ทำตามกัน” ของคนในสังคม โดยอิงกับความเชื่อที่คนส่วนใหญ่น่าจะเลือกสิ่งที่ถูกต้อง โดยแรงจูงใจถูกวัดออกมาได้ 3 ด้าน
🥇 อันดับ 1: Social Influence หรืออิทธิพลทางสังคมที่ส่งผลต่อความคิด ความรู้สึก หรือพฤติกรรมของบุคคล
🥈 อันดับ 2: Brand Wagon Motivation พฤติกรรมการซื้อที่กำลังได้รับความนิยมเพราะอยากถูกยอมรับ
🥉 อันดับ 3: FOMO ความกังวลที่กลัวว่าตัวเองจะพลาดอะไรไป หรือถูกตัดขาดจากสังคม
อีกด้านของการวิจัยครั้งนี้คืออินไซต์ 3 ธุรกิจสำคัญที่มักมี เออ-ออ ตามกันมากที่สุด ทั้งยังเกี่ยวข้องกับการใช้จ่ายของคนไทยในชีวิตประจำวัน
🎯 ธุรกิจที่ 1: อาหาร
- จากการสำรวจพบว่า ‘หมวดอาหาร-เครื่องดื่ม’ มีอัตราการเออ-ออ มากที่สุดถึง 60%
- โดยเพศหญิง GEN Z มีอัตราการเออ-ออ กินตามกระแสมากที่สุด
- ประเภทอาหารที่เลือกกินตามกันมักเป็น บุฟเฟต์, คาเฟ่ และร้านอาหารนานาชาติ
- กินอะไรดีถ้าคิดไม่ออก ตัวเลข 36.4% ระบุว่า อิทธิพลที่มีผลให้คนกลุ่มนี้ เออ-ออ ตามกันคือเพื่อน เพราะเพื่อนว่าดี เราก็ว่าดี และตามรีวิวในแพลตฟอร์ม TikTok เป็นอันดับ 1
🎯 ธุรกิจที่ 2: เทคโนโลยี
- กลุ่มตัวอย่างมองว่า ‘เทคโนโลยีมาไวไปไว และมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา การได้ใช้ก่อนใครคือกำไรชีวิต’
- โดยเพศชายเกินครึ่ง GEN Y เออ-ออ ตามกระแสเทคโนโลยีมากที่สุด
- โทรศัพท์, แท็บเล็ต & เครื่องใช้ไฟฟ้า ทำให้คนเออ-ออ กันมากที่สุด เพราะตอบโจทย์การใช้งาน สร้างภาพลักษณ์ได้ดี
- คนไทยส่วนใหญ่ 45.6% หาที่พึ่งพาจากผู้เชี่ยวชาญ คนส่วนใหญ่มัก เออ-ออ ตามผู้เชี่ยวชาญใน YouTube เพราะเชื่อว่าข้อมูลครบถ้วนและน่าเชื่อถือ
- กลับกัน Gen Babyboomer เชื่อตัวเองเป็นหลัก (ซึ่งมาจากประสบการณ์ที่เขามี) โดยมีข้อมูลเสริมบ้างจากพนักงานขาย
🎯 ธุรกิจที่ 3: การลงทุน
- คนแต่ละ Gen ลงความเห็นว่า ‘ทองคำ’ น่า เออ-ออ ลงทุนตามกระแสมากที่สุด
- โดยรวมแล้ว GenZ เป็นวัยที่มองหาการลงทุนที่ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ ทันสมัย คล่องตัว เน้นการเติบโตในระยะยาว
- นักลงทุนส่วนใหญ่หาไอเดีย และ เออ-ออ ตามผู้เชี่ยวชาญจาก YouTube & Facebook แต่ก็ไม่ลืมที่จะเชื่อในตัวเอง
- ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจลงทุนตามกระแสคือ สภาวะเศรษฐกิจ, สภาวะตลาด, มูลค่าของสิ่งที่สนใจลงทุนนั้น ๆ และ ความคาดหวังผลตอบแทน ด้วยการที่หลายคน กลัวจะพลาดโอกาส จึงเกิดสิ่งที่เรียกว่า Fomo เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของสังคม รู้สึกว่าตัวเองจะไม่ตกรถ และมีความหวังว่าอาจจะประสบความสำเร็จ จึงทำให้เป็นตัวแปรสำคัญในการกระตุ้นตัดสินใจเพื่อลงทุน
✨ เข้าถึงกลยุทธ์ ER-OR STRATEGY เพื่อรับมือกับพฤติกรรมของผู้บริโภคทั้งแบบเฉพาะหน้า ควบคู่ไปกับการสร้างความสัมพันธ์ที่ยั่งยืน และความภักดีต่อแบรนด์ในระยะยาว
🔸 E - Engagement สร้างปฏิสัมพันธ์ที่ยั่งยืน ไม่ฉาบฉวย
สร้างความสัมพันธ์ทางอารมณ์ และการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างแบรนด์กับผู้บริโภคผ่านกิจกรรม แคมเปญ รวมถึงคอนเทนต์ที่น่าสนใจและทำให้เกิดการมีส่วนร่วม เช่น การทำโพลล์, การคอมเมนต์ หรือการแชร์เนื้อหาและประสบการณ์ส่วนตัว เพื่อให้ผู้บริโภครู้สึกเป็นส่วนหนึ่งและกระตุ้นการตัดสินใจ
🔸 R - Reliability สร้างความน่าเชื่อถือและไว้วางใจได้
สร้างความมั่นใจว่าแบรนด์น่าเชื่อถือและไว้ใจได้ ด้วยการรักษาคุณภาพผลิตภัณฑ์และบริการ ยิ่งแบรนด์ภาพลักษณ์ที่น่าเชื่อถือมากเท่าไหร่ แนวโน้มที่คนหมู่มากจะคล้อยตามการรีวิวจากผู้ใช้จริงหรือคำแนะนำของผู้มีอิทธิพลก็จะยิ่งง่ายขึ้น จงจำไว้ว่าไม่ว่าคุณจะเป็นคนทำธุรกิจ หรือ Content Creator ก็ตามเราต้องสร้าง ‘ความไว้วางใจ’ ที่ผ่านสินค้าและบริการ รวมถึงรีวิวที่น่าเชื่อถือ
🔸 O - Outstanding สร้างความโดดเด่นและแตกต่างเหนือคู่แข่ง
เพื่อเลี่ยงความผิดหวังจากการคล้อยตามกันธุรกิจต้องสร้าง ‘ความโดดเด่น’ ให้กับผลิตภัณฑ์ โดยเน้นคุณค่าที่ไม่เหมือนใครคุณภาพที่เหนือกว่า หรือคุณสมบัติที่แตกต่าง ทำให้แบรนด์เป็นที่จดจำ และเป็นตัวเลือกที่เหนือกว่าคู่แข่ง
🔸 R - Relationship สร้างความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้น
การสร้างความสัมพันธ์แน่นแฟ้นมากพอจะเกิด Brand Loyalty ยิ่งเราสามารถสื่อสารอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ รับฟังและตอบสนองความคิดเห็นของลูกค้าพร้อมมอบสิทธิพิเศษต่าง ๆ เช่น โปรแกรมความภักดีที่ตอบโจทย์และเข้าใจความต้องการของลูกค้า ทำให้ลูกค้าอยากกลับมาซื้อซ้ำเรื่อย ๆ หรือมอบประสบการณ์สุดพิเศษสำหรับลูกค้าคนพิเศษ เพื่อให้ลูกค้ารู้สึกว่าได้เป็นส่วนหนึ่งของชุมชนที่มีคุณค่าและอยากแนะนำให้คนอื่น ๆ มาใช้สินค้าและบริการนั่นเอง
เรียกได้ว่าพฤติกรรมของคนไทยเราเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา การเออ-ออ เองก็เช่นกันมันเป็นเรื่องที่ดีนะ แต่การเออ-ออ แบบไม่คิดไตร่ตรองให้ดีก็สุ่มเสี่ยงในเวลาเดียวกัน ในวันนี้เราต้องคิดให้เยอะขึ้น อย่างเช่นเรื่องของการลงทุนเองมันก็ไม่มีสูตรสำเร็จ มันมีแต่จุดประสงค์ว่าเราลงทุนไปเพื่ออะไร ใช้สติให้มากก่อนจะเออ-ออ อะไรก็ตาม หรือในมุมของการสร้างตัวตน เราจะเออ-ออ ทำตามคนอื่นมันก็ไม่ผิด แต่ถ้าคุณตามเขา คุณจะก็ไม่มีตัวตนที่ชัดเจน ดังนั้นการสร้างตัวตนสำคัญ เออ-ออ เพื่อจับเทรนด์ได้ แต่อย่าตามคนอื่นไปซะหมด
อย่ารอให้คำว่า ‘เออ-ออ’ เป็นเพียงคำพูดลอย ๆ วันนี้ถ้ายังไม่เริ่มทำอะไรเลย ลองตอบตัวเองดูว่า เออ….จะรออยู่ทำไม ลองเริ่ม เพื่อกล้าจะผิดพลาด แล้วในวันนึงคุณอาจจะเป็นผู้นำเทรนด์ที่มีคุณภาพ เพื่อสร้างการ ‘เออ-ออ’ ที่ชักชวนให้คนดู หรือแฟน ๆ ของคุณ มีคุณภาพในแบบเดียวกับคุณ
✍🏻 เรียบเรียง: กิตติภพ ปานล้ำเลิศ
🎨 ภาพประกอบ: ชนสรณ เวชสิทธิ์
#กินตาม #ซื้อตาม #พฤติกรรม

อยากให้ทีมได้ Challenge แต่ก็กลัวทีมจะ Burnout ลอง 5 เทคนิคพาทีมออกจาก Comfort zone แบบไม่อ่อมหนึ่งในการสร้างความท้าทายใ...
15/01/2025

อยากให้ทีมได้ Challenge แต่ก็กลัวทีมจะ Burnout ลอง 5 เทคนิคพาทีมออกจาก Comfort zone แบบไม่อ่อม
หนึ่งในการสร้างความท้าทายให้กับทีม ไม่ควรเริ่มต้นแบบ ‘do-or-die’
บทบาทสำคัญของคนเป็นหัวหน้าทีม คือต้องคอยช่วยพัฒนาศักยภาพทีมให้พวกเขาเก่งขึ้น แต่เรื่องยากนึงที่คนเป็นหัวหน้ามักจะเจอคือพอให้โจทย์ใหม่ ๆ ไป บางทีกลับทำทีมหมดไฟ หมดใจ ไม่ไหวจะไปต่อ เลยทำให้เราก็อาจจะกล้า ๆ กลัว ๆ ว่าควรจะ Challenge ทีมอย่างไรดีถึงจะโอเค
จากบทความ How To Challenge Your Team Without Burning People Out ของเว็บไซต์ Forbes ได้พูดถึง ‘Healthy challenges’ หรือความท้าทายที่ดีต่อสุขภาพคนทำงาน ต้องเป็นความท้าทายที่มีพื้นที่ให้ทีมได้ล้มลุกคลุกคลาน มีการซัพพอร์ตที่ดี
ลองนึกภาพว่าถ้าต้องไปออกวิ่งในระยะที่มากกว่าเดิม แต่ถ้าไม่มีการเตรียมร่างกายให้พร้อม ก็อาจจะไปถึงเป้าหมายที่ตั้งไว้ได้ยาก
ผู้เขียนหนังสือ The Human Team: So You Created a Team but People Showed Up เคยพูดถึง ‘The Six Facets of Human Needs’ ที่พูดถึงกรอบความต้องการของมนุษย์ ที่ได้พยายามอธิบายว่าความท้าทายที่ดีที่จะทำให้พนักงานไม่หมดไฟต้องมีความชัดเจน ว่าใครต้องทำอะไร โจทย์ที่ได้มีความเชื่อมโยงกับเป้าหมายใหญ่ของทีม ของบริษัท และเห็นได้ว่าจะได้รับการสนับสนุนจากหัวหน้า และทีมคนอื่นอย่างไรบ้าง
สำหรับหัวหน้าที่อยากลองส่งมอบความท้าทาย ดึงทีมออกจาก Comfort Zone ลองดู 5 เทคนิคนี้ดู ที่น่าจะพอช่วยให้เราได้สร้างศักยภาพใหม่ ๆ ให้กับทีมได้
🔥 1. ให้โจทย์แบบร่วมมือกัน ไม่ใช่ออกคำสั่ง
เวลาโยนโจทย์ให้ทีมทำอย่าใช้วิธีการสั่งให้ทำ แล้วก็ปล่อยเบลอ แต่ต้องการเป็นการชวนทำ มาร่วมมือกันลองทำบางอย่าง ให้พื้นที่ทีมได้ลองเสนอถึงข้อจำกัด ความเป็นไปได้ต่าง ๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นในมุมของพวกเขา เพื่อทำให้ทีมรู้สึกถึง ‘การเป็นส่วนหนึ่ง’ และไม่รู้สึกหักดิบเขาจาก Comfort Zone มากเกินไป
🔥 2. ให้วิ่ง ให้ซิ่ง ก็อย่าลืมให้ทีมพัก
การให้โจทย์ท้าทายอย่างต่อเนื่องอาจพาทีมไปสู่ความเหนื่อยล้า และยิ่งต้องเผชิญกับความล้มเหลว ความผิดหวังซ้ำแล้วซ้ำเล่า อาจทำให้ใจทีมบอบช้ำพอสมควร ดังนั้นการต้องทำในสิ่งเดิมซ้ำ ๆ ถี่เกิน ก็อาจทำให้คนทำงานเบื่อ หรือหมดไฟได้ ดังนั้นจะหยอดเชื้อเพลิงก็ต้องสังเกตให้ดีว่าตอนนี้สภาวะทีมอยู่ในระดับไหน ประเมินก่อนว่าความท้าทายที่จะให้ทีมจำเป็นแค่ไหนที่ต้องให้ในเวลานั้น ๆ
🔥 3. ความท้าทายต้องช่วยพัฒนา ไม่ใช่ทำลาย
อย่างที่บอกไปตั้งแต่แรก ๆ ว่าการให้โจทย์ที่ท้าทายกับทีม เป็นการค่อย ๆ ปลดทีมออกจากพื้นที่ปลอดภัยเดิม ๆ ไม่ใช่เป็นการไปพังพื้นที่เดิมของเขาทิ้ง ลองนึกภาพการเติมลมลูกโป่ง หากเติมลมให้ขยายเร็วเกิน ลูกโป่งก็จะแตกออก แต่ถ้าเราค่อย ๆ เติมลมลูกโป่งก็จะค่อย ๆ ขยายได้ใหญ่ขึ้น ซึ่งจะช่วยให้ทีมคุณไม่อึดอัดเวลาได้รับความท้าทายใหม่ ๆ
ในฐานะหัวหน้า การมอบความท้าทายให้ทีมที่ดีต้องเป็นการส่งเสริมการเติบโตของพวกเขาแบบที่ไม่ใช่งานเดียวแล้วจบ แต่เป็นการพัฒนาผ่านกระบวนการคิด การทำงานต่าง ๆ ไปเรื่อย ๆ ต้องใช้เวลา และความสม่ำเสมอ รวมถึงความอดทนจนกว่าจะเห็นผลลัพธ์
🔥 4. ภาพต้องชัดเจน
ความชัดเจนในโจทย์เป็นสิ่งสำคัญมากเมื่อเราต้องแจกงานให้ใครสักคน เป้าหมายที่คลุมเครือ คำแนะนำที่ฟังแล้วเบลอ ๆ นึกภาพไม่ออก อาจนำไปสู่งานที่ไม่ตอบโจทย์ และอาจนำไปสู่การผัดวันประกันพรุ่ง ดังนั้นควรสื่อสารสิ่งที่หัวหน้าคาดหวังไว้ให้ชัดเจนเสมอ ที่สำคัญต้องมีการติดตามผลอย่างสม่ำเสมอ แบบที่ไม่ได้ Micro Management จนเกินไป
🔥 5. ควรโฟกัสที่ ‘กระบวนการ’ ไม่ใช่ ‘ชัยชนะ’
แน่นอนชัยชนะก็สำคัญแหละ แต่ท้ายที่สุดกระบวนการระหว่างทางก็เป็นสิ่งสำคัญในการที่จะผลักดันพัฒนาการของทีม แม้สุดท้ายงานนั้นอาจจะล้มเหลว ผลลัพธ์อาจจะไม่ได้เปรี้ยงปังอย่างที่คิด แต่สุดท้ายหากทีมได้เติบโต ได้เรียนรู้บางอย่างจากสิ่งที่ทำ นั่นแหละคือสิ่งสำคัญที่สุดที่หัวหน้าจะต้องโฟกัส และช่วยให้ทีมรู้สึกถึงการเติบโตจากการทำงานกับเราด้วย
จากบทสนทนาหนึ่งของ Marie Forleo และ Simon Sinek ได้พูดถึงเรื่องนี้เอาไว้ว่า “เมื่อคุณอยู่ในตำแหน่งผู้นำทีม สิ่งที่คุณต้องรับผิดชอบอาจไม่ใช่ผลลัพธ์ของคุณต่อบริษัท แต่คุณจะต้องรับผิดชอบผู้คนที่ส่งผลต่อผลลัพธ์เหล่านั้นต่างหาก”
หัวหน้าจะไม่ทำงานเองทุกอย่าง วิธีการทำงานของแต่ละคนต่างกัน เราไม่ได้มีหน้าเอาวิธีการของเราไปวางให้คนทำตาม ๆ ในทุกงาน แต่เรามีหน้าที่ในการช่วยเหลือ พัฒนาให้คนในทีมเติบโตไปพร้อมกับองค์กร ค่อย ๆ พาทีมออกจาก Comfort Zone ผ่านความท้าทายใหม่ ๆ
#ทีม #เทคนิค

บริษัทที่คนอยากร่วมงานด้วยมากที่สุด ปี 2025 🌟มาแล้วกับผลสำรวจที่หลายคนรอคอย การประกาศรางวัลครั้งใหญ่แห่งปี “QMAC: QGEN T...
14/01/2025

บริษัทที่คนอยากร่วมงานด้วยมากที่สุด ปี 2025 🌟
มาแล้วกับผลสำรวจที่หลายคนรอคอย การประกาศรางวัลครั้งใหญ่แห่งปี “QMAC: QGEN Thailand Most Attractive Companies 2025”
เปิดผลสำรวจ QMAC 2025 กับรางวัล ‘55 บริษัทที่คนอยากร่วมงานด้วยมากที่สุด ปี 2025’ โดย QGEN Consultant บริษัทที่ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้าน People & Organization ของไทย จากกลุ่มตัวอย่างอายุ 20-40 ปี ทั้งหมด 5424 ผลสำรวจ โดยแบบสำรวจนี้ให้แต่ละคนระบุบริษัทที่อยากร่วมงานด้วยมากที่สุด 3 บริษัท (ไม่เรียงอันดับ) ผ่านช่องทางออนไลน์เมื่อปลายปีที่ผ่านมา ระหว่างวันที่ 27 พ.ย.-20 ธ.ค. 2024
ผลจะเป็นอย่างไร บริษัทไหนที่ชนะใจคนทำงานมากที่สุดในปีนี้ มาลุ้นไปพร้อมกัน!
และนี่คือ Top 10 บริษัทที่ชนะใจคนทำงานมากที่สุดในปี 2025
1. Srichand - แบรนด์เครื่องสำอางสัญชาติไทยระดับตำนาน
2. SCG - บริษัทปูนซิเมนต์ไทยที่ครองใจคนทำงานมาอย่างยาวนาน
3. Google - บริษัทเทคโนโลยีระดับโลกที่ใคร ๆ ก็ใฝ่ฝัน
4. PTT - องค์กรพลังงานยักษ์ใหญ่ของไทย
5. ThaiBev - บริษัทเครื่องดื่มชั้นนำที่เติบโตสู่ระดับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
6. SC Asset - บริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ชั้นนำของไทย
7. AP Thai - บริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ชั้นนำของไทย
8. Khotkool - บริษัท Content Creator ผลิตรายการและมีช่องออนไลน์ทางแพลตฟอร์มดิจิทัลต่าง ๆ
9. C.P. Group - เครือเจริญโภคภัณฑ์ กลุ่มธุรกิจที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย
10. Toyota - ผู้ผลิตรถยนต์รายใหญ่ของโลก
ปีนี้มาแรงแซงทางโค้ง! "ศรีจันทร์" แบรนด์เครื่องสำอางสัญชาติไทยที่อยู่คู่คนไทยมากว่า 75 ปี คว้าอันดับ 1 บริษัทที่คนอยากร่วมงานด้วยมากที่สุด
ตามมาติด ๆ ด้วยยักษ์ใหญ่อย่าง SCG และ Google ที่ครองอันดับ 2 และ 3 ตามลำดับ โดยยังคงครองใจคนทำงานอยู่ใน Top 10 มา 3 ปีติด และน่าสนใจว่าใน Top 10 มีบริษัทรุ่นใหม่มาแรงอย่าง Khotkool ติดอันดับที่ 8
มาต่อกันที่อีก 45 อันดับ
11. Central Group
12. LINE
13. Agoda
14. Sansiri
15. AIS
16. Apple (อันดับร่วม)
17. Kasikornbank (อันดับร่วม)
18. Boon Rawd Brewery (อันดับร่วม)
19. Workpoint (อันดับร่วม)
20. GMM Grammy
21. Shopee (อันดับร่วม)
22. Siam Commercial Bank (อันดับร่วม)
23. True Corporation
24. CP All
25. Goodday
26. Bitkub (อันดับร่วม)
27. Netflix (อันดับร่วม)
28. Thai Airways
29. Microsoft
30. Meta
31. BJC Big C
32. Honda (อันดับร่วม)
33. Lazada (อันดับร่วม)
34. LINE MAN Wongnai (อันดับร่วม)
35. Unilever (อันดับร่วม)
36. Land & Houses
37. Bangchak Corporation
38. King Power
39. Tesla
40. AOT
41. HomePro (อันดับร่วม)
42. Siam Piwat (อันดับร่วม)
43. THE STANDARD (อันดับร่วม)
44. Ichitan Group
45. Krungthai Bank (อันดับร่วม)
46. Thepleela (อันดับร่วม)
47. TikTok (อันดับร่วม)
48. Thaioil
49. Minor International
50. Betagro
51. Mitr Phol (อันดับร่วม)
52. Samsung (อันดับร่วม)
53. Lotus's
54. Nestlé (อันดับร่วม)
55. Osotspa (อันดับร่วม)
จากผลสำรวจเห็นได้ว่ามีการผสมผสานระหว่างบริษัทใหญ่ดั้งเดิม และบริษัทรุ่นใหม่ที่เติบโตอย่างก้าวกระโดด สะท้อนให้เห็นว่าคนทำงานยังคงมองหาทั้งความมั่นคงและโอกาสในการเติบโต
QGEN ขอแสดงความยินดีกับทุกองค์กรที่ได้รับรางวัล QMAC: QGEN Thailand Most Attractive Companies ประจำปี 2025 ที่พิสูจน์ความโดดเด่นของแบรนด์ได้อย่างน่าประทับใจ
องค์กรในฝันของคุณติดโผหรือไม่ แชร์ให้ทุกคนรู้ไปด้วยกัน 🌟

14/01/2025

ลือแซ่ด! จีนพิจารณาขาย TikTok ใน U.S. ให้ Elon Musk

แบรนด์ที่ ‘ทำ’ เพื่อเรา คือแบรนด์ที่จะถูก ‘จดจำ’ ในใจเรา คาดการณ์ 7 เทรนด์การสร้างแบรนด์ในปี 2025 โดย 7 ผู้ทรงอิทธิพลชั้...
14/01/2025

แบรนด์ที่ ‘ทำ’ เพื่อเรา คือแบรนด์ที่จะถูก ‘จดจำ’ ในใจเรา คาดการณ์ 7 เทรนด์การสร้างแบรนด์ในปี 2025 โดย 7 ผู้ทรงอิทธิพลชั้นนำของโลก
ล่าสุด! เว็บไซต์สื่อธุรกิจชั้นนำอย่าง fastcompany ได้พูดถึงประเด็นที่น่าสนใจอย่าง The biggest branding trends coming in 2025 โดยมี 7 ผู้เชี่ยวชาญด้านการสร้างแบรนด์มาคาดการณ์ถึง 7 เทรนด์ที่จะมีบทบาทสำคัญในปี 2025
ย้อนกลับไปเมื่อปี 2024 การสร้างแบรนด์ส่วนใหญ่ถูกนิยามว่าเป็นปีแห่ง ‘Brat’
Mark Wilson บรรณาธิการด้านการออกแบบ ได้เล่าว่า เมื่อปี 2024 มีการนิยามว่าเป็นปีแห่ง “Brat” ซึ่งคำคำนี้ไม่ได้หมายถึงเด็กนิสัยไม่ดีนะ แต่ในเชิงสัญลักษณ์มันหมายถึง “ความโดดเด่น, ความกล้าหาญ และการแสดงออกที่ไม่ยอมยึดตามกรอบเดิม ๆ” ในด้านการออกแบบและการสร้างแบรนด์ เช่น สีสันที่โดดเด่น, การใช้ฟอนต์ที่ดูไม่สมบูรณ์ หรือการเล่าเรื่องที่เป็นเอกลักษณ์ เป็นต้น เราจะเห็นตัวอย่างได้ชัดเจนจาก แคมเปญ "Brat Summer" ของ Charli XCX เป็นตัวแทนที่แสดงถึงเทรนด์นี้ ด้วยการเลือกใช้โทนสีเขียวที่เด่นชัด และสไตล์การออกแบบที่ไม่ตามกรอบเดิม
แล้วในปี 2025 นี้ล่ะ อะไรคือกระแสใหม่สำหรับแบรนด์ ?
คุณ Mark Wilson ได้ตั้งคำถามนี้และพูดคุยกับ brand designers ชั้นนำของโลก และสิ่งที่ได้ตกผลึกจากเรื่องราวเหล่านั้นแนวคิด Brat”จะยังคงอยู่ แต่สิ่งใหม่ที่เข้ามาคือการเล่นกับเรื่องของเวลาในเชิงภาพ และการสื่อสารที่จริงใจ รวมไปถึงการนำเรื่องของ AI เข้ามามีส่วนเติมเต็มด้วยนั่นเอง
7 เทรนด์ที่น่าสนใจของคนทำแบรนด์ในปี 2025
🌏 Trend 1: ฉีกกรอบเดิม ๆ ด้วยความตั้งใจ คือความท้าทายที่คู่ควร
คุณ Lisa Smith หนึ่งใน Global Executive Creative Director (ECD) ของ JKR (Jones Knowles Ritchie) ได้กล่าวถึงเทรนด์แรกนี้ว่า ปีที่ผ่านมาเราได้เห็นหลายแบรนด์ชั้นนำทำลายกรอบเดิม ๆ ไม่ว่าจะ Skims, Jaguar หรือการมาของ Charli XCX กับแคมเปญ Brat Summer แม้ว่าจะมีการถกเถียงถึงความเหมาะสม แต่สิ่งหนึ่งที่ชัดคือ ทุกแบรนด์และทุกตัวตนมีความตั้งใจที่ชัดเจนอยู่เบื้องหลัง ซึ่งพวกเขาได้ก้าวข้ามกฎเกณฑ์เดิม ๆ ในอุตสาหกรรม
การฉีกกรอบในแต่ละอุตสาหกรรมไม่ใช่เรื่องง่าย หลายแบรนด์ยังมองว่าเสี่ยงเกินไป อย่างในกรณีของ Jaguar ที่มีการเปลี่ยนโลโก้ใหม่ก็ถือเป็นการแสดงจุดยืนที่ชัดเจน แม้จะมีเสียงวิพากษ์วิจารณ์ค่อนข้างเยอะ แต่การกล้าได้กล้าเสียในครั้งนี้กลับเป็นมิติใหม่ของวงการรถยนต์ไฟฟ้า ที่ Jaguar พร้อมโลดแล่นเข้าสู่วงการนี้แบบเต็มตัว
ทุกวันนี้ แบรนด์ต่าง ๆ แข่งกันดึงดูดความสนใจจากผู้บริโภค ที่ต้องเจอกับข้อมูลจำนวนมากจนล้น แต่ส่วนใหญ่กลับไม่ค่อยได้ผลเท่าที่ควร โดยงานวิจัยที่คุณ Lisa Smith ค้นพบระบุว่า 85% ของงบประมาณที่แบรนด์ใช้จ่ายในด้านการตลาดและสร้างสินทรัพย์แบรนด์ (Brand Assets) เช่น โลโก้ โฆษณา หรือแคมเปญส่งเสริมการขาย มักไม่ได้รับความสนใจจากผู้บริโภค หรือถูกมองข้ามไป
ในปี 2025 เราจะได้เห็นการรีแบรนด์ หรือ แคมเปญ และการเปิดตัวที่แปลกใหม่และน่าสนใจยิ่งขึ้น สิ่งสำคัญคือควรหลีกเลี่ยงการตลาดที่ธรรมดาหรือตามกระแสมากเกินไป และส่วนที่ควรเติมเต็มให้มากคือการมุ่งเน้นสร้างประสบการณ์และแคมเปญที่มีความหมายและน่าสนใจ และพยายามออกแบบสินทรัพย์แบรนด์ที่สะท้อนตัวตน และสามารถสร้างการจดจำได้ในระยะยาว
🌏 Trend 2: อดีต ปัจจุบัน อนาคต รวมกันได้ในหนึ่งดีไซน์
คุณ Brenda Milis เธอเป็น Principal of Consumer and Creative Insights ที่ Adobe ซึ่งเป็นหนึ่งในบริษัทซอฟต์แวร์ชั้นนำระดับโลก เธอมีบทบาทสำคัญในการวิเคราะห์แนวโน้มผู้บริโภคผ่านข้อมูลเชิงลึก โดนกล่าวถึงเทรนด์ Time Warp หรืออัตลักษณ์เหนือกาลเวลา เป็นการผสมผสานขององค์ประกอบภาพจากอดีต ปัจจุบัน และอนาคต เป็นเหมือนการผสมผสานทางประวัติศาสตร์และมุมมองใหม่ของ Retro-Futurism
ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ความสนใจในเชิงจิตวิทยาอย่าง Nostalgia หรือการรำลึกถึงความทรงจำเก่า ๆ เพิ่มขึ้นอย่างมาก โดยเราจะเริ่มเห็นโฆษณาจำนวนมากในหลายอุตสาหกรรมที่นำเทรนด์นี้มาใช้ โดยเป็นการเคารพอดีต พร้อมกับการนำเสนอวิสัยทัศน์ที่นวัตกรรมและดึงดูดใจในอนาคต
ตัวอย่างเช่น Gucci มักใช้แนวทาง "ย้อนยุคผสมล้ำสมัย" ในคอลเลกชันและโฆษณา โดยดึงแรงบันดาลใจจากแฟชั่นยุคต่าง ๆ เช่น ยุค 70s หรือ 80s และผสานเข้ากับการออกแบบล้ำยุคในยุคปัจจุบัน หรืออย่าง แคมเปญ "Real Magic" Coca-Cola เชื่อมโยงความทรงจำจากอดีตกับโลกอนาคตผ่านแพลตฟอร์มดิจิทัล และสร้างปฏิสัมพันธ์กับผู้บริโภคผ่านเทคโนโลยี
คุณ Brenda Milis เชื่อว่าในปี 2025 นี้ เทรนด์นี้จะสะท้อนถึงอิทธิพลของอดีต ไม่ว่าจะเป็น ค่านิยมร่วมกัน ความก้าวหน้าทางประวัติศาสตร์ หรือข้อผิดพลาดที่ถูกแก้ไข เพื่อนำไปสู่การสร้างอนาคตที่ดีกว่า เช่น ในด้านความยั่งยืน, เทคโนโลยี, สุขภาพกายและใจ, การออกแบบ เป็นต้น
🌏 Trend 3: พูดให้น้อยลง ทำให้มากขึ้น
คุณ Emily Heyward เป็นผู้ร่วมก่อตั้งของ Red Antler บริษัทที่มีชื่อเสียงในด้านการสร้างแบรนด์และกลยุทธ์สำหรับธุรกิจสตาร์ตอัปและแบรนด์ที่กำลังเติบโต โดยกล่าวถึงเทรนด์นี้ว่า แบรนด์ในอนาคตจะมุ่งเน้น "การพูดให้น้อยลงเพื่อสร้างผลลัพธ์ที่มากขึ้น"
ทุกวันนี้ แบรนด์ต่าง ๆ เผชิญกับแรงกดดันอย่างมากในการตามทันกระแสวัฒนธรรมที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้พวกเขาต้องรีบกระโดดตามเทรนด์ใหม่ ๆ มีมล่าสุด หรือช่วงเวลาไวรัลต่าง ๆ จนการสื่อสารเต็มไปด้วยคำแสลง อีโมจิ และความพยายามอย่างยิ่งที่จะดูเป็นกันเอง แต่ความพยายามเหล่านี้กลับส่งผลเสีย เพราะผู้บริโภคยุคใหม่ไม่เพียงฉลาดกว่าเดิมเท่านั้น แต่ยังรู้สึกเหนื่อยล้าจากความพยายามดึงดูดความสนใจที่มากเกินไป
คีย์สำคัญของปี 2025 นี้แบรนด์ควรโฟกัสไปที่การตั้งใจสร้างปฏิสัมพันธ์ที่มีความหมาย โดยไม่วิ่งไล่จับเทรนด์ทุกกระแส เพื่อทำให้เห็นว่าความเชี่ยวชาญของแบรนด์มีหน้าตาเป็นอย่างไร เราไม่ได้หลงไปกับสีสันมากจนเกินไป จนทำให้ผู้บริโภครู้สึกถึงความไม่จริงใจ ดังนั้นแบรนด์ที่ใช่คือแบรนด์ที่ให้คุณค่าและความจริงใจอย่างลึกซึ้งกับผู้บริโภค มากกว่าความนิยมที่มาไวไปเร็ว เพื่อสร้างความเชื่อมโยงฉาบฉวยเพียงข้ามคืน
🌏 Trend 4: ก้าวข้ามเรื่องของ "Quiet Luxury"
คุณ Nikita Walia เป็น Strategy Director ที่ U.N.N.A.M.E.D. ซึ่งมีความชำนาญด้าน Creative and Data-Driven Strategies จากข้อมูลเชิงลึกที่ศึกษามาในระยะเวลาหนึ่ง ซึ่งเธอกล่าวถึงเทรนด์นี้ว่า เทรนด์ Quiet Luxury ผ่านมาหลายปีแล้ว ผู้คนมักจะเข้าใจถึงความหมายของคำนี้ในเชิงความร่ำรวย มั่งคั่งผ่านความมินิมอล
แต่ในปี 2025 เรื่องของ Quiet Luxury เราจะเห็นการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในวงการสินค้า luxury มากขึ้น ซึ่งจะถูกนำเสนอในมิติที่ซับซ้อนและลุ่มลึกมากกว่าเดิม การนำเสนอสินค้าแบรนด์เนมไม่ใช่การโอ้อวดสถานะแบบเดิม ๆ แต่มันคือการสะท้อนถึงมิติที่ลึกกว่านั้น เช่น …..
💎 ความมั่งคั่งด้านเวลา (Time Wealth) ตัวอย่างเช่น สินค้า handmade, งานสั่งทำพิเศษ หรือสินค้าที่ต้องรอคิว
💎 ทุนทางวัฒนธรรม (Cultural Capital) ซึ่งลึกซึ้งกว่าทุนทางการเงิน เช่น การนำเสนอตัวตนผ่านความรู้ ความเข้าใจในศิลปะ หรือวัฒนธรรม
💎 สินค้าและบริการที่แสดงถึงความรู้ภายใน (Insider Knowledge) ที่สะท้อนความเข้าใจในแวดวงเฉพาะ มากกว่าการแค่มีอำนาจซื้อเพียงอย่างเดียว
🌏 Trend 5: งานออกแบบไม่ได้ต้องเปลี่ยนโลก แต่ต้องเปลี่ยนวิธีที่ผู้คนมองโลก
คุณ Elliot Vredenburg เป็น Creative Director ที่ U.N.N.A.M.E.D. โดยเทรนด์นี้เป็นเรื่องของการออกแบบ (Design) เราจะเห็นว่างานออกแบบมักถูกมองว่าเป็นสะพานเชื่อมระหว่างความคิดสร้างสรรค์และการค้า งานจะปังไม่ปัง งานของเราจะขับเคลื่อนสังคมได้หรือไม่ ก็มักจะถูกกดดันเรื่องของงานออกแบบเสมอ จึงกลายเป็นบทบาทของความคาดหวังที่ยิ่งใหญ่ แต่คำถามสำคัญของเทรนด์การออกแบบปีนี้คือ สิ่งที่เราอธิบายเมื่อสักครู่มันยังสำคัญอยู่ไหม ?
แต่สิ่งสำคัญของงานออกแบบในปีนี้คือการปรับขอบเขตใหม่
“เพราะพลังที่แท้จริงของงานออกแบบไม่ได้ต้องเปลี่ยนโลก แต่ต้องเปลี่ยนวิธีที่ผู้คนมองโลก”
ดังนั้นทุกการออกแบบจงระวังเรื่องของ over-romanticization มันไม่ใช่ต้องเปลี่ยนโลก แต่ต้องออกแบบเพื่อต้องช่วยแก้ปัญหาเฉพาะอย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้นมันถึงเวลาแล้วที่นักออกแบบทั่วโลกจะต้องถ่อมตัว ไม่โอ้อวดผลงานที่สวยแต่รูป แต่ต้องมุ่งเน้นไปที่การสร้างความหมาย และแก้ปัญหาต่อผลกระทบเหล่านั้นได้จริง
แต่สิ่งที่คาดว่าจะเกิดมากขึ้นคือ “การสร้างแบรนด์เชิงแสดงออกเพื่อสร้างผลกระทบ” (Performative Impact Branding) ซึ่งเป็นการสื่อถึงความเปลี่ยนแปลงโดยที่ไม่ได้ลงมือทำจริง เป็นคำเตือนว่าแบรนด์ควรสร้างผลกระทบที่แท้จริง ไม่ใช่แค่ "แสดงออกว่าใส่ใจ" เพราะในระยะยาว ผู้บริโภคจะคาดหวังความจริงใจและการกระทำที่จับต้องได้จากแบรนด์ ถือเป็นเรื่องที่ควรพึงระวังต่อการสร้างแบรนด์อย่างมาก
🌏 Trend 6: แบรนด์ที่เป็นตัวแทนเรา และทำเพื่อเรา
คุณ Dipanjan Chatterjee เป็น Vice President ของ Forrester Research ซึ่งได้กล่าวถึงเทรนด์นี้ไว้ว่า ในปี 2025 นี้เราเจอกับความก้าวหน้าครั้งใหญ่ของ AI ด้วยการเปิดมาที่ภาพแรก Generative AI (GenAI) ช่วยให้เราพูดคุยกับเครื่องจักรได้อย่างเข้าใจง่าย หรือ ChatGPT เป็นเทคโนโลยีในลักษณะเดียวกันได้เปลี่ยนวิธีที่เราขอข้อมูลและรับข้อมูลเปลี่ยนพฤติกรรมของเราไปตลอดกาล หรือการมี Agentic AI ที่สามารถทำงานแทนเราได้ เช่น ในโปรเจกต์ Mariner ของ Google ที่สามารถใช้ตัวแทนเสมือนในการช็อปปิ้งออนไลน์ตามสูตรอาหารที่เรากำหนดให้ได้ เป็นต้น
แต่ในทางกลับกัน ความกังวลเกี่ยวกับบทบาทของบริษัทเทคโนโลยีใหญ่ เช่น Meta, Google, และ Amazon ในการจัดการ "ตัวตนดิจิทัล" (Digital Double) ของเรา ซึ่งหมายถึงการที่บริษัทเหล่านี้มีข้อมูลส่วนตัวของเรามากพอที่จะสามารถ ตัดสินใจหรือทำงานแทนเรา ได้ เช่น การจองตั๋วเครื่องบิน ซื้อเสื้อผ้า หรือจัดตารางนัดหมาย เป็นต้น
ดังนั้นในปี 2025 นี้เราจะเห็นสิ่งที่เรียกว่า Entanglement หรือการเชื่อมโยงและฝังตัวในชีวิตผู้บริโภค ซึ่งหมายถึงการที่แบรนด์พยายามเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวันของผู้บริโภคให้ได้มากที่สุด เพื่อสร้างความผูกพันและเป็นที่ไว้วางใจ แม้ผู้บริโภคจะมีความกังวลและลังเลในการให้ข้อมูล แต่ถ้าหากความคาดหวังนั้นตอบโจทย์ และคุ้มค่ามากพอผู้บริโภคก็จะยอมตอบรับ สิ่งสำคัญโจทย์ของแบรนด์จะทำอย่างไรให้ใกล้ชิดกับผู้บริโภคมากขึ้น ทำอย่างไรให้ผู้บริโภคเชื่อใจ ไว้ใจ ในวันที่เทคโนโลยีเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว
🌏 Trend 7: การเกิดขึ้นของ Quantum Brand
คุณ Leland Maschmeyer เป็นผู้ร่วมก่อตั้งของ Collins บริษัทออกแบบและสร้างแบรนด์ที่มีชื่อเสียงระดับโลก ได้พูดถึงเทรนด์นี้ว่า Quantum Branding หรือ การสร้างแบรนด์เชิงควอนตัม ซึ่งเป็นแนวคิดใหม่ในวิธีที่องค์กรนำเสนอเอกลักษณ์ของตัวเองในยุคที่วัฒนธรรมและการรับรู้ของผู้บริโภคแตกย่อยออกเป็นกลุ่มเล็ก ๆ มากขึ้น ต่างจากการแบ่งส่วนตลาด (Segmentation) หรือการปรับให้เหมาะกับผู้ใช้ (Personalization) แบบดั้งเดิม
แต่ Quantum Branding หมายถึงการที่แบรนด์สามารถมีเอกลักษณ์หลายรูปแบบพร้อมกัน เช่น แบรนด์เดียวกันอาจเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมในสายตาของคนหนึ่ง แต่ในอีกมุมหนึ่งอาจแสดงถึงความล้ำหน้าทางเทคโนโลยีได้เช่นกัน เป็นต้น โดยแรงขับของเรื่องนี้ก็เกิดจากเทคโนโลยี AI 3 ประเภทนี้ที่เข้ามาเปลี่ยนแปลง
7.1 Generative AI: ช่วยให้แบรนด์สร้างเนื้อหาหลากหลายได้ไม่จำกัด ตัวอย่างเช่น การสร้างโฆษณาที่มีข้อความหรือดีไซน์เฉพาะเจาะจงสำหรับลูกค้าแต่ละคน เป็นต้น
7.2 General AI: เข้าใจและจัดการบริบททางวัฒนธรรมที่ซับซ้อนได้แบบเรียลไทม์ ด้วยความสามารถคล้ายมนุษย์ ตัวอย่างเช่น การที่แบรนด์เข้าใจว่าในแต่ละประเทศมีค่านิยมและวิธีสื่อสารที่แตกต่างกัน และปรับกลยุทธ์ให้เหมาะสม
7.3 Agentic AI: ทำให้แบรนด์กลายเป็นสิ่งที่ตอบสนองได้อย่างแท้จริง เป็น AI ที่สามารถ ตอบสนองและตัดสินใจได้เอง ในแบบที่ใกล้เคียงกับมนุษย์ ตัวอย่างเช่น การใช้ AI ช่วยลูกค้าค้นหาสินค้า แนะนำบริการ หรือจัดการปัญหาในแบบเรียลไทม์ เป็นต้น
นับเป็นความท้าทายของ Brand Managers ในปีนี้มาก ๆ การเปลี่ยนแปลงบทบาทของผู้จัดการแบรนด์ในอนาคต ที่อาจกลายเป็น Brand Programmers โดยใช้เทคโนโลยีและเครื่องมือที่ทันสมัยเพื่อสร้างและทดลองแนวคิดแบรนด์ในสภาพแวดล้อมจำลอง ก่อนจะนำไปใช้จริง มากกว่าการดูแลการตลาดผ่านแดชบอร์ดแบบเดิม ๆ ซึ่งก็ถือเป็นเรื่องที่น่าติดตามในปีนี้แบรนด์ไหนจะคว้าโอกาสในการนำเทคโนโลยีมาต่อยอดได้จริง!
และนี่ก็คือการคาดการณ์ 7 เทรนด์ที่น่าสนใจของคนทำแบรนด์ในปี 2025 ซึ่งถือเป็นอีกมิติของคนระดับโลกที่มีมุมมองแตกต่างจากปี 2024 อย่างชัดเจน หวังว่าเนื้อหานี้จะช่วยให้คนทำการตลาด และคนทำธุรกิจได้ลองคิดทบทวน กลับมานั่งตกผลึกอีกครั้งว่า เราจะเดินหน้าต่อไปอย่างไรในปี 2025 นี้!
✍🏻 เรียบเรียง: กิตติภพ ปานล้ำเลิศ
🎨 ภาพประกอบ: ชนสรณ เวชสิทธิ์
#แบรนด์ #คาดการณ์ #เทรนด์ #สร้างแบรนด์

🌟 Deep Blue Station - Immersive Sleeping Experience 🌟ท่ามกลางกระแสสุขภาพที่กำลังเติบโตทั่วโลก 🌍 การนอนหลับที่มีคุณภาพ 🛌 ...
13/01/2025

🌟 Deep Blue Station - Immersive Sleeping Experience 🌟
ท่ามกลางกระแสสุขภาพที่กำลังเติบโตทั่วโลก 🌍 การนอนหลับที่มีคุณภาพ 🛌 ได้กลายเป็นส่วนสำคัญของสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี
✨ Deep Blue Station Presented by AminoNite ✨ ผสมผสานความรู้เรื่องการนอนหลับและการออกแบบสุดล้ำ สร้างประสบการณ์ “Wellness Entertainment” ครั้งแรกในประเทศไทย โดยเปิดพื้นที่ให้ทุกคนได้สัมผัสกับความผ่อนคลายและการพักผ่อนร่วมกัน ในงาน Bangkok Design Week 2025
💤 สิ่งที่คุณจะได้สัมผัส:
ประสบการณ์การพักผ่อนเต็มอิ่มตลอด 60 นาที พร้อมทั้งเรียนรู้เกี่ยวกับ การพักผ่อนที่มีคุณภาพ และ การหลับลึก ซึ่งเป็นกุญแจสำคัญสู่การฟื้นฟูร่างกายและจิตใจ
🤝 ความร่วมมือของโปรเจกต์นี้:
AminoNite, KeySquare, Yimsamer, ห้องปฏิบัติการสื่อดิจิทัลและโลกเสมือน (Virtual Media Lab) และ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (CEA) ร่วมกันนำเสนอความสำคัญของการนอนหลับผ่าน ประสบการณ์อิมเมอร์ซีฟ ผสานข้อมูลเชิงวิทยาศาสตร์ และประสบการณ์ผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5

📍 สถานที่จัดงาน:
Virtual Media Lab, ชั้น 4, อาคารไปรษณีย์กลาง บางรัก
📅 ระหว่างวันที่ 8 – 23 กุมภาพันธ์ 2025
📲 ลงทะเบียนผ่าน Booku (ฟรีพร้อมมัดจำ 1,000 บาท):
โดยมีค่าบริการแพลตฟอร์มและค่าธุรกรรมธนาคารเพิ่มเติม 15% (150 บาท)
hellobooku.com/DEEP-BLUE-STATION
🎁 พิเศษสำหรับผู้ลงทะเบียน:
รับของที่ระลึกจากงาน "GOODS NITE KIT" ซึ่งประกอบไปด้วย:
- กระเป๋า BLUENITE AMENITY BAG
- ผ้าปิดตา BLUENITE SLEEPING MASK
- ผ้าห่ม BLUENITE BLANKET
- ชุดทดลอง AminoNite TESTER PACK
มาร่วมค้นพบความสงบและการพักผ่อนในรูปแบบใหม่ไปด้วยกัน! 🌙✨
#หลับลึกทุกคืนสดชื่นทุกเช้า

เป็นผู้นำดีอย่างเดียวไม่พอ แต่ต้องเป็นผู้นำที่เป็นเลิศ รวม 20 เรื่องที่จะเปลี่ยนคุณจาก Good สู่ Great LeadershipGood lea...
13/01/2025

เป็นผู้นำดีอย่างเดียวไม่พอ แต่ต้องเป็นผู้นำที่เป็นเลิศ รวม 20 เรื่องที่จะเปลี่ยนคุณจาก Good สู่ Great Leadership
Good leaders are everywhere.
Great leaders are rare.
ผู้นำที่ดีมีอยู่ทั่วไป
แต่ผู้นำที่เป็นเลิศนั้นหายาก
คำพูดนี้คุณ Luke Tobin เป็นผู้กล่าวไว้ โดยประวัติคร่าว ๆ ของเขานั้นเป็นผู้ประกอบการ, นักลงทุน และที่ปรึกษาธุรกิจชาวอังกฤษ เขาเป็นผู้ก่อตั้งและอดีต CEO ของ Digital Ethos ซึ่งเป็นเอเจนซี่การตลาดดิจิทัลที่เติบโตเร็วที่สุดในสหราชอาณาจักร ในปี 2022 เขาได้ขาย Digital Ethos ให้กับ Cadastra กลุ่มเอเจนซี่อิสระที่ใหญ่ที่สุดในอเมริกาใต้
และหลังจากนั้น Luke Tobin ได้ก่อตั้ง Tobin Capital บริษัทเงินทุนที่มุ่งเน้นการลงทุนในธุรกิจที่มีนวัตกรรมและศักยภาพสูง พอร์ตการลงทุนของเขารวมถึงแบรนด์ที่มีชื่อเสียง เช่น SpaceX, Earthly และ THIS รวมถึงยังเคยได้รับรางวัล Great British Entrepreneur of The Year ในปี 2020
ด้วยประสบการณ์มากมายมหาศาลนี้ ทำให้ Luke Tobin ค้นพบสิ่งที่เรียกว่า Good leaders are everywhere.
Great leaders are rare. ในมุมของผู้นำที่ Good VS ผู้นำที่ Great มีความแตกต่างกันชัดเจน โดยคุณ Luke Tobin ได้ทำสิ่งที่เรียกว่า “Good vs Great Leadership Cheatsheet” ในการจำแนกออกมาอย่างชัดเจนว่า ผู้นำที่ดี และ ผู้นำที่เป็นเลิศ มีคุณลักษณะที่แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง!
Good vs Great Leadership Cheatsheet 20 เรื่อง เพื่อก้าวข้ามผู้นำที่ดี ไปสู่ผู้นำที่เป็นเลิศ
1. ด้านการสื่อสาร (Communication)
🥉 Good Leadership: ชัดเจน และสม่ำเสมอ
🥇 Great Leadership: สร้างแรงบันดาลใจ และปรับให้เหมาะกับผู้ฟังหลากหลายกลุ่ม
2. ด้านการตัดสินใจ (Decision-making)
🥉 Good Leadership: ตัดสินใจทันเวลา
🥇 Great Leadership: กล้าตัดสินใจอย่างรอบคอบ พร้อมมองเป้าหมายระยะยาว
3. ด้านความเห็นอกเห็นใจ (Empathy)
🥉 Good Leadership: เข้าใจความรู้สึกของทีม
🥇 Great Leadership: สร้างวัฒนธรรมที่ทุกคนรู้สึกปลอดภัย และได้รับการสนับสนุน
4. ด้านวิสัยทัศน์ (Vision)
🥉 Good Leadership: ตั้งเป้าหมายที่เป็นไปได้
🥇 Great Leadership: ใช้วิสัยทัศน์ที่ทรงพลัง และเปลี่ยนแปลงได้เพื่อสร้างแรงบันดาลใจ
5. ด้านความรับผิดชอบ (Accountability)
🥉 Good Leadership: รับผิดชอบผลลัพธ์
🥇 Great Leadership: ส่งเสริมวัฒนธรรมการมีความรับผิดชอบในทุกระดับ
6. ด้านการมอบหมายงาน (Delegation)
🥉 Good Leadership: มอบหมายงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
🥇 Great Leadership: มอบอำนาจและสนับสนุนการเติบโต และความเป็นอิสระของผู้อื่น
7. ด้านการให้ฟีดแบ็ก (Feedback)
🥉 Good Leadership: ให้คำแนะนำสม่ำเสมอ
🥇 Great Leadership: สร้างวัฒนธรรมการให้ฟีดแบ็กอย่างต่อเนื่อง และสร้างสรรค์
8. ด้านความยืดหยุ่น (Resilience)
🥉 Good Leadership: ฝ่าฟันอุปสรรค
🥇 Great Leadership: เติบโตในความท้าทาย และเปลี่ยนอุปสรรคให้เป็นโอกาส
9. ด้านความฉลาดทางอารมณ์ (Emotional Intelligence)
🥉 Good Leadership: จัดการอารมณ์ได้
🥇 Great Leadership: เข้าใจและมีอิทธิพลต่อการทำงานร่วมกันในทีมอย่างเชี่ยวชาญ
10. ด้านนวัตกรรม (Innovation)
🥉 Good Leadership: เปิดรับไอเดียใหม่ ๆ
🥇 Great Leadership: สร้างสภาพแวดล้อม ที่ส่งเสริมการกล้าคิดสร้างสรรค์ และทดลองสิ่งใหม่
11. ด้านความซื่อสัตย์ (Integrity)
🥉 Good Leadership: ซื่อสัตย์และมีจริยธรรม
🥇 Great Leadership: เป็นแบบอย่างที่ดีในด้านจริยธรรมองค์กร
12. ด้านความปรับตัว (Adaptability)
🥉 Good Leadership: ปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงได้
🥇 Great Leadership: มองการณ์ไกล และนำการเปลี่ยนแปลงเชิงรุก
13. ด้านการแก้ปัญหาความขัดแย้ง (Conflict Resolution)
🥉 Good Leadership: จัดการข้อขัดแย้ง
🥇 Great Leadership: เปลี่ยนความขัดแย้งให้เป็นโอกาสในการเติบโต
14. ด้านการสร้างทีม (Team Building)
🥉 Good Leadership: สร้างทีมที่ทำงานได้ดี
🥇 Great Leadership: สร้างทีมที่มีประสิทธิภาพสูงและทำงานร่วมกันอย่างลงตัว
15. ด้านการรู้จักตัวเอง (Self-awareness)
🥉 Good Leadership: รู้จุดแข็งและจุดอ่อน
🥇 Great Leadership: แสวงหาการเติบโตอย่างต่อเนื่อง และเป็นตัวอย่างในการพัฒนาตนเอง
16. ด้านการวางแผนเชิงกลยุทธ์ (Strategic Thinking)
🥉 Good Leadership: วางแผนในอนาคต
🥇 Great Leadership: วางรากฐานอนาคตด้วยกลยุทธ์ที่สร้างสรรค์
17. ด้านแรงจูงใจ (Motivation)
🥉 Good Leadership: ส่งเสริมการทำงานของทีม
🥇 Great Leadership: ปลุกพลังและแรงจูงใจในตัวผู้อื่น
18. ด้านความกระตือรือร้นในการเรียนรู้ (Learning Agility)
🥉 Good Leadership: พร้อมเรียนรู้
🥇 Great Leadership: เป็นผู้เรียนรู้ที่กระตือรือร้น และนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในหลายด้าน
19. ด้านการยอมรับความหลากหลาย (Inclusivity)
🥉 Good Leadership: เคารพความหลากหลาย
🥇 Great Leadership: ใช้ความหลากหลายเพื่อเพิ่มความคิดสร้างสรรค์ และประสิทธิภาพในการทำงาน
20. ด้านการจัดการวิกฤต (Crisis Management)
🥉 Good Leadership: รับมือวิกฤตอย่างสงบ
🥇 Great Leadership: เปลี่ยนวิกฤตให้กลายเป็นโอกาสสำหรับการเติบโต และนวัตกรรม
ความเป็นผู้นำที่เป็นเลิศ คือการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
การเป็นผู้นำที่ดี เป็นเรื่องที่ดีแล้ว แต่การไปสู่ความเป็นเลิศ โดยไม่หยุดพัฒนา ไม่ได้หยุดดีแค่วันนี้สำคัญมาก เพราะท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงที่ไม่แน่นอนแบบนี้ องค์กรจำเป็นต้องมี ผู้นำแบบ Great Leadership ในการขับเคลื่อน เพราะผู้นำแบบ Great Leadership ไม่ได้เก่งเพียงลำพัง แต่เป็นผู้ขับเคลื่อนให้เก่งทั้งองค์กร
พยายามพัฒนาตัวเองในทุกด้านเหล่านี้ทุกวัน
แล้วทีมของคุณ และองค์กรจะได้รับผลลัพธ์ที่ดีจากความพยายามของคุณ
✍🏻 แปล เรียบเรียง: กิตติภพ ปานล้ำเลิศ
🎨 ภาพประกอบ: ชนสรณ เวชสิทธิ์
#ผู้นำ

ที่อยู่

บจก. ครีเอทีฟทอล์ค 1248 Pattanakarn Road Suanluang
Bangkok
10250

เวลาทำการ

จันทร์ 10:00 - 19:00
อังคาร 10:00 - 19:00
พุธ 10:00 - 19:00
พฤหัสบดี 10:00 - 19:00
ศุกร์ 10:00 - 19:00

เบอร์โทรศัพท์

+6620131490

เว็บไซต์

แจ้งเตือน

รับทราบข่าวสารและโปรโมชั่นของ CREATIVE TALKผ่านทางอีเมล์ของคุณ เราจะเก็บข้อมูลของคุณเป็นความลับ คุณสามารถกดยกเลิกการติดตามได้ตลอดเวลา

ติดต่อ ธุรกิจของเรา

ส่งข้อความของคุณถึง CREATIVE TALK:

วิดีโอทั้งหมด

แชร์