10/11/2021
ตามรายงานของสหประชาชาติเมื่อปี 2019 พบว่า การผลิตเสื้อผ้าทั่วโลกเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่า ในปี 2000-2014 และอุตสาหกรรมนี้ “เป็นต้นตอของน้ำเสียทั่วโลกถึง 20%” โดยการผลิตกางเกงยีนส์ เพียงแค่ตัวเดียว ต้องใช้น้ำถึง 7,500 ลิตร
“ปัญหา คือ เสื้อผ้าไม่สามารถย่อยสลายเองได้และมีสารเคมี ดังนั้นจึงไม่สามารถฝังกลบในพื้นที่ของเทศบาลได้” แฟรงคลิน เซเปดา ผู้ก่อตั้ง EcoFibra บริษัทที่ผลิตแผ่นฉนวนกันความร้อน โดยใช้เสื้อผ้าที่ไม่ใช้แล้ว กล่าว
“ผมอยากเปลี่ยนจุดที่เป็นปัญหา ให้กลายเป็นทางออก” เขากล่าวถึงบริษัทของตัวเอง ที่สร้างขึ้นในปี 2018
Editor’s Pick: กระแสฟาสต์แฟชันกับการบริโภคที่มากขึ้นเรื่อย ๆ ก่อคำถามว่า เสื้อผ้าที่โลกไม่ต้องการไปที่ไหนต่อ?
◾◾◾
🔴 ฟาสต์แฟชันกับปัญหาระดับโลก
ทะเลทรายอาตากามา ประเทศชิลี ซึ่งเป็นทะเลทรายที่แห้งแล้งที่สุดในโลก กำลังได้รับผลกระทบอย่างหนัก จากมลภาวะที่เกิดจากฟาสต์แฟชันที่เติบโตรวดเร็วขึ้นเรื่อย ๆ เห็นได้จากภูเขาเสื้อผ้าที่ถูกทิ้งร้างกองมหึมา
ฟาสต์แฟชัน คือ แนวทางในการออกแบบ สร้างสรรค์ และการตลาดของแฟชันเสื้อผ้า ที่เน้นทำให้กระแสแฟชันเข้าถึงผู้บริโภคได้อย่างรวดเร็ว และมีราคาถูกที่สุด
ขณะที่ผลกระทบทางสังคม จากการบริโภคที่ลุกลามในอุตสาหกรรมเสื้อผ้า อาทิ การใช้แรงงานเด็กในโรงงาน หรือการกดค่าแรง ล้วนเป็นที่รู้จักกันดี แต่ผลกระทบร้ายแรงต่อสิ่งแวดล้อม กลับเป็นที่รู้จักน้อยลงเรื่อย ๆ
◾◾◾
🔴 ภูเขาเสื้อผ้าที่อาจเพิ่มพูนไม่รู้จบ
ชิลี เป็นศูนย์กลางเสื้อผ้ามือสองและเสื้อผ้าที่ขายไม่ออก ซึ่งเสื้อผ้าเหล่านี้ล้วนผลิตในจีนหรือบังกลาเทศ และส่งต่อไปยังยุโรป เอเชีย หรือสหรัฐฯ ก่อนเดินทางมาถึงชิลี ซึ่งจะขายทอดไปยังประเทศแถบลาตินอเมริกา
ในแต่ละปี มีเสื้อผ้าประมาณ 59,000 ตัน ถูกส่งมายังท่าเรืออิกิเกในเขตปลอดอากร อัลโต ฮอสปิซิโอ ทางตอนเหนือของชิลี
บรรดาพ่อค้าจากซันติอาโก เมืองหลวงของชิลี ซึ่งอยู่ห่างออกไปทางใต้ 1,800 กิโลเมตร ต่างเดินทางมาซื้อเสื้อผ้า ขณะที่เสื้ออีกจำนวนมาก จะถูกลักลอบส่งต่อไปยังประเทศอื่น ๆ ในลาตินอเมริกา และเสื้อผ้าอย่างน้อย 39,000 ตัน ที่ไม่สามารถขายได้ จะจบลงด้วยการกลายเป็นขยะในทะเลทรายแห่งนี้
“เสื้อผ้าพวกนี้มาจากทั่วทุกมุมโลก” อเล็กซ์ คาร์เรโน อดีตพนักงานในพื้นที่สินค้านำเข้าของท่าเรือ กล่าว
“เพราะไม่มีใครจ่ายภาษี เสื้อผ้าที่ไม่ได้ขายให้พ่อค้าในซันติอาโก หรือส่งไปยังประเทศอื่น ๆ จะยังคงอยู่ในเขตปลอดอากรเช่นนี้”
◾◾◾
🔴 อุตสาหกรรมสิ่งทอก็สร้างน้ำเสีย
ตามรายงานของสหประชาชาติเมื่อปี 2019 พบว่า การผลิตเสื้อผ้าทั่วโลกเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่า ในปี 2000-2014 และอุตสาหกรรมนี้ “เป็นต้นตอของน้ำเสียทั่วโลกถึง 20%” โดยการผลิตกางเกงยีนส์ เพียงแค่ตัวเดียว ต้องใช้น้ำถึง 7,500 ลิตร
“ปัญหา คือ เสื้อผ้าไม่สามารถย่อยสลายเองได้และมีสารเคมี ดังนั้นจึงไม่สามารถฝังกลบในพื้นที่ของเทศบาลได้” แฟรงคลิน เซเปดา ผู้ก่อตั้ง EcoFibra บริษัทที่ผลิตแผ่นฉนวนกันความร้อน โดยใช้เสื้อผ้าที่ไม่ใช้แล้ว กล่าว
“ผมอยากเปลี่ยนจุดที่เป็นปัญหา ให้กลายเป็นทางออก” เขากล่าวถึงบริษัทของตัวเอง ที่สร้างขึ้นในปี 2018
◾◾◾
🔴 เสื้อผ้าที่โลกทิ้ง สู่มือเจ้าของใหม่
รายงานเดียวกันนี้ ยังระบุว่า การผลิตเสื้อผ้าและรองเท้า มีส่วนทำให้เกิดก๊าซเรือนกระจก ถึง 8% และ “ทุก ๆ วินาที สิ่งทอจำนวนหนึ่ง ที่เทียบเท่ารถบรรทุกขยะ ล้วนถูกฝังหรือเผาในที่ใดที่หนึ่งบนโลก”
ไม่ว่ากองเสื้อผ้าจะถูกทิ้งไว้กลางแจ้งหรือฝังไว้ใต้ดิน พวกมันจะสร้างมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม ปล่อยมลพิษสู่อากาศหรือช่องทางน้ำใต้ดิน ทั้งนี้ เสื้อผ้าอาจต้องใช้เวลา 200 ปี ในการย่อยสลายทางชีวภาพ และเป็นพิษพอ ๆ กับยางรถยนต์หรือพลาสติกที่ถูกทิ้ง
แต่ก็ใช่ว่าเสื้อผ้าทั้งหมดจะสูญเปล่า คนยากจนที่สุดบางส่วนจากภูมิภาคนี้ ซึ่งมีประชากร 300,000 คน ต่างรื้อกองขยะเพื่อหาเสื้อผ้าแบบที่ต้องการ หรือสิ่งที่สามารถขายได้ ในย่านท้องถิ่นของพวกเขาเอง
โซเฟียและเจนนี่ ผู้อพยพชาวเวเนซุเอลา ซึ่งเดินทาง 350 กิโลเมตร ข้ามไปยังชิลีราวสองสามวันก่อน ก็กำลังค้นหากองเสื้อผ้า ขณะที่ลูกของพวกเขาคลานไปมาบนนั้นด้วยเช่นกัน
พวกเธอกำลังมองหา “เสื้อผ้าไว้ใช้ในฤดูหนาว” เนื่องจากอุณหภูมิตอนกลางคืนในทะเลทรายของชิลี อาจลดลงในระดับที่พวกเธอไม่เคยเจอมาก่อน
◾◾◾
🔴 โลกเริ่มตระหนักถึงปัญหา
ชิลี ซึ่งเป็นประเทศที่ร่ำรวยที่สุดในอเมริกาใต้ ขึ้นชื่อเรื่องการบริโภคที่มากเกินความพอดีของคนในท้องถิ่น การโฆษณาฟาสต์แฟชัน “จึงช่วยโน้มน้าวว่า เสื้อผ้าทำให้เราดูน่าดึงดูดยิ่งขึ้น ทำให้เรามีสไตล์ หรือแม้กระทั่งแก้ความวิตกกังวล” โมนิกา ซารินี ผู้ผลิตสินค้าจากเสื้อผ้ารีไซเคิล กล่าว
โรซาริโอ เฮเวีย ซึ่งเปิดร้านรีไซเคิลเสื้อผ้าเด็ก ก่อนจะก่อตั้งบริษัท Ecocitex ในปี 2019 โดยบริษัทของเธอผลิตเส้นด้าย จากเศษสิ่งทอและเสื้อผ้าที่ถูกทิ้งในสภาพที่ย่ำแย่ โดยไม่ใช้น้ำหรือสารเคมี
เธอบอกว่า “เราบริโภคกันแบบนี้มานานหลายปี แต่กลับไม่มีใครสนใจว่า ขยะสิ่งทอพวกนี้ถูกสร้างมากขึ้นเรื่อย”
“โชคยังดีที่ตอนนี้ ผู้คนเริ่มตั้งคำถามกับตัวเองบ้างแล้ว”
—————
เรื่อง: พัชรี จันทร์แรม
ภาพ: MARTIN BERNETTI / AFP
#ชิลี #จีน #เสื้อผ้า #ฟาสต์แฟชัน
#เจาะลึกรอบโลก
ข้อมูลอ้างอิง:
https://www.scmp.com/news/world/americas/article/3155231/made-china-dumped-chile-where-worlds-fast-fashion-leftovers-go
————
📲 อัพเดทข่าวไฮไลต์และบทวิเคราะห์ที่น่าสนใจ มาเป็นเพื่อนใน Line กับ TNN World คลิก https://lin.ee/LdHJXZt
ติดตาม TNN World ผ่านช่องทางต่าง ๆ ได้ที่
Website : https://bit.ly/TNNWorldWebsite
Youtube : https://bit.ly/TNNWorldTodayYouTube
TikTok : https://bit.ly/TNNWorldTikTok