The Energy รู้ข่าวก่อนใคร ทันใจทุกประเด็น
สื่?
(3)

OR เปิดตัว "OR Space รามคำแหง 129" มิติใหม่ของศูนย์การค้า “พื้นที่ความสุข ครบทุกไลฟ์สไตล์ใกล้บ้านคุณ” OR Space รามคำแหง ...
07/11/2024

OR เปิดตัว "OR Space รามคำแหง 129" มิติใหม่ของศูนย์การค้า “พื้นที่ความสุข ครบทุกไลฟ์สไตล์ใกล้บ้านคุณ”

OR Space รามคำแหง 129 มิติใหม่ของศูนย์การค้า พื้นที่แห่งความสุขที่จะเติมเต็มความสุขให้ทุกคน พรั่งพร้อมด้วยสินค้าและบริการที่หลากหลาย ตอบโจทย์ความสะดวกสบาย กลมกลืน เข้าถึงง่าย และเป็นส่วนหนึ่งของชุมชน

นายดิษทัต ปันยารชุน ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) หรือ OR และนายสุชาติ ระมาศ ผู้อำนวยการใหญ่ OR พร้อมด้วยครอบครัวเซลิบริตี้ชื่อดัง ปุ้มปุ้ย - พรรณทิพา อรุณวัฒนชัย กวินท์ ดูวาล และ ไซอัสบลู - สกาย ดูวาล ร่วมฉลองพิธีเปิด "OR Space รามคำแหง 129" ศูนย์การค้าแนวใหม่นอกสถานีบริการน้ำมันด้วยแนวคิด “Convenience Mall” บนพื้นที่กว่า 5 ไร่ ณ ถนนรามคำแหง แขวงสะพานสูง เขตสะพานสูง กรุงเทพมหานคร อย่างเป็นทางการ โดย OR มุ่งมั่นนำเสนอสินค้าและบริการที่เป็นนวัตกรรมใหม่ ๆ รวมทั้งพัฒนารูปแบบร้านค้าและขยายสาขาเพื่อเข้าถึงลูกค้าได้อย่างครอบคลุมในทุกมิติ และมีแผนการขยายสาขา OR Space อย่างต่อเนื่องทั่วประเทศ ทั้งนี้ เมื่อปลายเดือนตุลาคมที่ผ่านมา OR ได้เปิดให้บริการ OR Space เณรแก้ว สุพรรณบุรี ซึ่งได้รับการตอบรับจากผู้บริโภคเป็นอย่างดี

นายดิษทัต เปิดเผยว่า ในปัจจุบันพฤติกรรมของผู้บริโภคเปลี่ยนแปลงไป OR จึงได้ใช้กลยุทธ์ในการปรับรูปแบบการบริหาร physical platform จากการดำเนินธุรกิจน้ำมันผ่านสถานีบริการ PTT Station ไปสู่การดำเนินธุรกิจค้าปลีก โดยการพัฒนา Retail Mixed-use Platform ที่มีสัดส่วน Non-oil 100% และก้าวสู่ธุรกิจศูนย์การค้าอย่างเต็มรูปแบบ เพื่อเพิ่มความหลากหลายของผลิตภัณฑ์และบริการเพื่อสร้างประสบการณ์ที่ดีให้แก่ผู้บริโภค อีกทั้งยังเป็นการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน และนับเป็นการก้าวเข้าไปสู่การเติบโตในธุรกิจแนวใหม่ จากการที่ OR เล็งเห็นโอกาสทางธุรกิจ อีกทั้งยังมีความเชี่ยวชาญในการทำธุรกิจค้าปลีกอยู่แล้ว

สำหรับ “OR Space รามคำแหง 129” ที่เปิดตัวอย่างเป็นทางการในวันนี้ เป็นศูนย์การค้ารวบรวมสินค้าและบริการครบครันเพื่อตอบโจทย์ทุกไลฟ์สไตล์ของคนในชุมชน โดดเด่นด้วยร้านยูนิโคล่ โรดไซด์ (Uniqlo Roadside) ดีไซน์ใหม่แห่งแรกในประเทศไทย และยังเป็นสาขาแรกในต่างประเทศที่ถอดแบบมาจากร้านยูนิโคล่ สาขามาเอะบาชิ (Maebashi) และนิชิบะ (Nishiiba) ประเทศญี่ปุ่น พร้อมด้วยแบรนด์ชั้นนำในเครือ OR อาทิ Café Amazon, found & found, Pacamara และ Otteri รวมถึงสถานีชาร์จ EV Station PluZ ที่มีจุดชาร์จไฟฟ้าถึง 6 ช่องจอด พร้อมด้วยร้านค้าพันธมิตรชั้นนำมากมาย ไม่ว่าจะเป็น ร้านอาหาร เช่น หวังฝูข้าวต้มปลา ราดหน้าฟาไฉ เป็นต้น บริการด้านสุขภาพและความงาม เช่น The One Relax & Spa ร้านขายยา Fascino และแว่นท็อปเจริญ ตลอดจนพื้นที่สีเขียวสำหรับพักผ่อน เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมกับชุมชน ตลอดจนการสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีให้แก่ผู้คน ชุมชน สิ่งแวดล้อม อย่างยั่งยืน (Sustainability) ด้วยแนวคิด "All Lifestyle Pulse, Community Heartbeat" เพื่อให้ “OR Space” เป็นพื้นที่แห่งความสุขที่ครบทุกไลฟ์สไตล์ใกล้บ้านคุณ

ภายในงานยังมีการเสวนาพิเศษ โดย นายดิษทัต ปันยารชุน ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร OR และ นายสุชาติ ระมาศ ผู้อำนวยการใหญ่ OR ร่วมพูดคุยกับครอบครัว ปุ้มปุ้ย - พรรณทิพา อรุณวัฒนชัย กวินท์ ดูวาล และไซอัสบลู - สกาย ดูวาล เกี่ยวกับไลฟ์สไตล์ที่หลากหลาย และมิติใหม่ของ OR Space ที่ตอบโจทย์ความต้องการของครอบครัวยุคใหม่
OR Space รามคำแหง 129 พร้อมให้บริการแล้ววันนี้ พิเศษ! ในโอกาสเปิดตัวอย่างเป็นทางการ OR จัดโปรโมชั่นพิเศษ เพียงรวมใบเสร็จจากการซื้อสินค้าหรือบริการภายในโครงการ ครบ 800 บาท รับฟรี! ครีมอาบน้ำ Melsavon ขนาด 460ML หรือครบ 500 บาท รับฟรี! โฟมล้างหน้า S-Select Clay Facial Cleansing Foam ขนาด 160 กรัม จากร้าน found & found (จำกัด 1 สิทธิ์ ต่อท่าน ต่อวัน) พร้อมรับคูปองส่วนลดมูลค่า 50 บาท เพื่อใช้ในร้าน found & found เมื่อซื้อสินค้าขั้นต่ำ 399 บาท ตั้งแต่วันที่ 6 พฤศจิกายน - 1 ธันวาคม 2567

กระทรวงการต่างประเทศ เดินหน้าเสนอ ครม. ตั้งคณะกรรมการร่วมด้านเทคนิค JTC ไทย-กัมพูชา เจรจาพื้นที่ทับซ้อนทางทะเลระหว่างไทย...
05/11/2024

กระทรวงการต่างประเทศ เดินหน้าเสนอ ครม. ตั้งคณะกรรมการร่วมด้านเทคนิค JTC ไทย-กัมพูชา เจรจาพื้นที่ทับซ้อนทางทะเลระหว่างไทยกับกัมพูชา ตามแนว MOU 2544 ยืนยันไม่ทำให้เสียเกาะกูด

กระทรวงการต่างประเทศ เดินหน้าเสนอ ครม. ตั้งคณะกรรมการร่วมด้านเทคนิค JTC ไทย-กัมพูชา เจรจาพื้นที่ทับซ้อนทางท....

05/11/2024

ยืนยัน "เกาะกูด" เป็นของไทย
"MOU 2544" คือเครื่องมือหลัก ในการเจรจา ไทย-กัมพูชา ผ่าน "เจทีซี"

“ภูมิธรรม” แจงสมัย “อภิสิทธิ์” ไม่เคยยกเลิก MOU 44 ย้ำ เกาะกูดของไทย 100%
05/11/2024

“ภูมิธรรม” แจงสมัย “อภิสิทธิ์” ไม่เคยยกเลิก MOU 44 ย้ำ เกาะกูดของไทย 100%

“สนธิรัตน์” จี้พรรคร่วมรัฐบาลรักษาจุดยืนในอดีต ยกเลิก MOU 2544 รักษาผลประโยชน์ชาติ “ภูมิธรรม” แจงสมัย “อภิสิทธ...

05/11/2024

รัฐบาลยืนยัน! ‘เกาะกูดของไทย 100%’ ไม่เกี่ยว MOU44 เตรียมเจรจาพื้นที่พลังงาน

สำนักงาน กกพ. พบปะสื่อมวลชน จ.ราชบุรีเมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2567 สำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (สำนักงาน กกพ.) โ...
01/11/2024

สำนักงาน กกพ.
พบปะสื่อมวลชน จ.ราชบุรี

เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2567 สำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (สำนักงาน กกพ.) โดย สำนักงาน กกพ. ประจำเขต 10 (ราชบุรี) ร่วมกับฝ่ายยุทธศาสตร์และสื่อสารองค์กร จัดเวทีงานสัมมนาสื่อสารบทบาทภารกิจและผลการดำเนินงานของสำนักงาน กกพ. ให้กับกลุ่มสื่อมวลชนท้องถิ่นและเครือข่ายในพื้นที่ผู้ใช้พลังงานเขต 10 ณ จังหวัดราชบุรี พร้อมกับได้รับเกียรติจากนายวรวิทย์ ศรีอนันต์รักษา กรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) เป็นประธานการจัดงานและบรรยายพิเศษ เรื่อง “วิสัยทัศน์ การยกระดับการส่งเสริมการมีส่วนร่วมและคุ้มครองสิทธิผู้ใช้พลังงานยุคดิจิทัล”
นายวรวิทย์ กล่าวว่า กกพ. ให้ความสำคัญอย่างยิ่งต่อบทบาทของสื่อมวลชนและกระบวนการมีส่วนร่วมภาคประชาชนผ่านทางคณะกรรมการผู้ใช้พลังงานประจำเขต (คพข.) ซึ่งเป็นกลไกสำคัญและมีประสิทธิภาพในการสนับสนุนการกำกับกิจการพลังงานให้กับ กกพ. และต้องการสนับสนุนให้มีการปรับตัวรับมือการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีดิจิทัลได้อย่างดีและต่อเนื่อง
“การเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วจากเทคโนโลยีพลิกโฉมทำให้โลกเข้าสู่ยุคดิจิทัล ทุกคนต้องปรับตัวและใช้ประโยชน์จากการเปลี่ยนแปลงให้ได้ ที่สำคัญต้องก้าวให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลง เช่นเดียวกับกลไกการกำกับดูแลกิจการพลังงานภายใต้การกำกับของ กกพ. วันนี้ก็ได้นำเอาเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ในงานกำกับอย่างกว้างขวาง รวมไปถึงการสนับสนุนกลไกคุ้มครองสิทธิประโยชน์ผู้ใช้พลังงานภาคประชาชนให้เกิดการปรับตัวรับเทคโนโลยีสมัยใหม่ ซึ่ง กกพ. เองก็พร้อมที่จะให้การสนับสนุนอย่างเต็มที่ โดยมุ่งหวังที่จะร่วมกันพัฒนาและยกระดับการคุ้มครองผู้ใช้พลังงานให้ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง” นายวรวิทย์ กล่าว
ก่อนหน้านี้ กกพ. ได้พัฒนาช่องทางและระบบรับเรื่องร้องเรียนการให้บริการกับผู้ใช้พลังงานผ่านแอปพลิเคชัน ไลน์แอด “ERCvoice” ซึ่งได้รับผลตอบรับดีมาก ตั้งแต่เปิดให้บริการเมื่อปลายเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา มีปริมาณผู้ใช้บริการในช่องทางการดังกล่าวสูงถึงกว่า 200 เรื่อง และมีการประสานงานแก้ไขปัญหา บริหารจัดการเรื่องร้องเรียนได้ลุล่วงแล้วเสร็จจำนวน 168 เรื่อง และอยู่ระหว่างดำเนินการและติดตามเรื่องกับการไฟฟ้าฝ่ายจำหน่ายและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องภายในกรอบระยะเวลาที่กำหนด
อย่างไรก็ตาม กกพ. เองก็พร้อมที่จะสนับสนุน คพข. อย่างเต็มที่ เพื่อให้เกิดการริเริ่มสร้างสรรค์การทำงานคุ้มครองประชาชนผู้ใช้พลังงานเชิงรุกแบบบูรณาการในรูปแบบใหม่ๆ โดยเฉพาะความพยายามในการสนับสนุนให้เกิดการประสานความร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐอื่นๆ ที่มีบทบาทกำกับ ดูแล และให้การคุ้มครองด้านสวัสดิภาพ สวัสดิการประชาชนได้อย่างทั่วถึง
นายวรวิทย์ กล่าวเพิ่มเติมว่า ก่อนหน้านี้ก็มีแบบอย่างและความสำเร็จในการสร้างเครือข่ายความร่วมมือกับภาคประชาสังคมในพื้นที่ เพื่อยกระดับงานคุ้มครองผู้ใช้พลังงาน โดยเป็นการริเริ่มโดย คพข. ประจำเขต 10 จังหวัดราชบุรี ซึ่งได้ประสานและจัดให้การลงนามบันทึกข้อตกลงคว่ามร่วมมือ (MOU) กลไกขับเคลื่อนการคุ้มครองผู้บริโภคกลุ่มเปราะบาง ในพื้นที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ที่ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในท้องถิ่น ได้แก่ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจังหวัด องค์การบริหารส่วนจังหวัด สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด และสภาองค์กรของผู้บริโภค ทำการประชาสัมพันธ์เชิงรุก ประสานงานและจัดทำฐานข้อมูลผู้ใช้พลังงานที่มีผู้ป่วยติดเตียงที่อยู่ในความดูแลให้ได้รับสิทธิ์ที่จะไม่ถูกตัดไฟทุกกรณี ซึ่งเป็นผลจากการทบทวน ปรับปรุง แก้ไขมาตรฐานสัญญาผู้ใช้ไฟฟ้ารายย่อย โดย กกพ. ที่มุ่งสร้างเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมสูงสุดต่อผู้ใช้พลังงาน และถูกนำไปขยายผลให้เกิดการคุ้มครองผู้ใช้พลังงานโดยเครือข่ายในพื้นที่อย่างมีประสิทธิภาพ
นอกจากนี้ ระหว่างการตรวจเยี่ยมการปฏิบัติงานของสำนักงาน กกพ. ประจำเขต 10 (ราชบุรี)นายวรวิทย์ ได้มอบนโยบายให้ผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ ดูแลบรรเทาทุกข์และคุ้มครองสิทธิ์ประชาชนผู้ใช้พลังงานเชิงรุก โดยเฉพาะการเร่งแก้ไขปัญหาเรื่องร้องเรียนจากเวทีสะท้อนความคิดเห็นจากปัญหาการได้รับบริการด้านพลังงาน การสะท้อนปัญหาจากสื่อมวลชนในพื้นที่ รวมไปถึงการจัดการข้อร้องเรียนผ่านช่องทางแอปพลิเคชัน ไลน์แอด Voice ให้ลุล่วงโดยเร็ว พร้อมกับเน้นย้ำว่า เสียงของประชาชนต้องไม่เงียบหาย สำนักงาน กกพ. ในพื้นที่จะต้องร่วมแก้ไขปัญหาการหลอกลวงประชาชนของมิจฉาชีพที่แฝงมาในรูปแบบต่างๆ อาทิ Call center หลอกลวงขอข้อมูลทางการเงิน หรืออ้างการเรียกเก็บค่าบริการไฟฟ้าที่เป็นเท็จ ตลอดจนอ้างถึงการหลอกลวง เพื่อให้ได้รับสิทธิประโยชน์ต่างๆ ทางด้านพลังงานที่ไม่เป็นความจริงด้วย ตลอดจนการกำกับตรวจสอบและติดตามการประกอบกิจการพลังงานในพื้นที่ให้เป็นไปตามมาตรฐานความปลอดภัยและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมอยู่ร่วมกับประชาชนในพื้นที่รอบโรงไฟฟ้าได้อย่างมีความสุข
นายประสิทธิ์ สิริทิพย์รัศมี รองเลขาธิการสำนักงาน กกพ. กล่าวว่า การสื่อสาร การส่งเสริมกระบวนการมีส่วนร่วม และประสานเครือข่ายกับกลุ่มผู้มีส่วนได้เสียและภาคส่วนที่เกี่ยวข้องอย่างสร้างสรรค์ (Trust Engagement) เป็นหนึ่งในวิสัยทัศน์ของตน โดยมองว่าเป็นปัจจัยและเป็นการภูมิต้านทานที่สำคัญในการทำงานขององค์กรกำกับกิจการพลังงานที่มีส่วนเกี่ยวข้องและกระทบในวงกว้าง ซึ่งสำนักงาน กกพ. จำเป็นต้องได้รับการสนับสนุนเป็นอย่างดีจากสื่อมวลชน ภาคประชาชน และภาคประชาสังคมในพื้นที่
“ยุคเปลี่ยนผ่านทางด้านพลังงานได้สร้างทั้งการเปลี่ยนแปลงที่ดี และในอีกด้านหนึ่งก็อาจนำมาซึ่งผลกระทบต่อวิถีชีวิต ความเป็นอยู่ของพี่น้องประชาชนในพื้นที่ ดังนั้นการที่ได้มีโอกาสได้เข้ามาแลกเปลี่ยนและรับฟังความคิดเห็นเสียงสะท้อนจากสื่อมวลชนในพื้นที่ตลอดจน คพข. จึงเป็นประโยชน์อย่างมากที่ทางสำนักงาน กกพ. จะได้นำเอาไปประมวลเป็นข้อมูลสำหรับประกอบการตัดสินใจในนโยบาย รวมทั้งข้อกำหนดต่างๆ ในแนวทางการกำกับดูแลกิจการพลังงานให้เกิดความราบรื่นในการเปลี่ยนผ่านอย่างสร้างสมดุล สร้างความเป็นธรรมให้เกิดกับทุกฝ่ายให้ได้เป็นอย่างดีด้วย” นายประสิทธิ์ กล่าว
นายยงยุทธ มหาเวชาศิริ ผู้อำนวยการเขต สำนักงาน กกพ. ประจำเขต 10 (ราชบุรี) กล่าวว่า ยินดีที่เลือกจังหวัดราชบุรีเป็นเวทีนำร่องในการจัดสัมมนา ในส่วนพื้นที่ที่สำนักงาน กกพ. ประจำเขต 10 กำกับดูแลครอบคลุมพื้นที่ 6 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดราชบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จังหวัดสมุทรสงคราม จังหวัดชุมพร จังหวัดเพชรบุรี และจังหวัดระนอง เขตพื้นที่ในความรับผิดชอบมีโรงไฟฟ้า จำนวน 139 โรง เช่น โรงไฟฟ้าแสงอาทิตย์ โรงไฟฟ้าพลังงานน้ำ โรงไฟฟ้าก๊าซชีวภาพ โรงไฟฟ้าชีวมวล โรงไฟฟ้าขยะชุมชน และโรงไฟฟ้าถ่านหิน
นอกจากนี้ ยังมีกองทุนพัฒนาไฟฟ้าพื้นที่ประกาศในพื้นที่ของสำนักงาน กกพ. ประจำเขต 10 ทั้งกองทุนขนาดใหญ่ ขนาดกลาง และขนาดเล็ก โดยในปี 2567 มีโครงการชุมชนรวมมากกว่า 64 โครงการ ที่ กกพ. ได้จัดสรรเงินกองทุนพัฒนาไฟฟ้าตามมาตรา 97(3) ในการส่งเสริมและสนับสนุนการจัดทำโครงการต่างๆ เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตที่ดีของชุมชนท้องถิ่นรอบโรงไฟฟ้า ได้แก่ ด้านสาธารณสุข ด้านการศึกษา ด้านเศรษฐกิจชุมชน ด้านสิ่งแวดล้อม ด้านสาธารณูปโภค ด้านพลังงานชุมชน และด้านอื่นๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาชุมชน งบประมาณที่ได้รับจัดสรรรวมเป็นเงินกว่า 440 ล้านบาท ทั้งนี้ ได้มีการยกระดับส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานกองทุนพัฒนาไฟฟ้าในพื้นที่ประกาศ โดยได้จัดเวทีประชาสัมพันธ์สร้างเครือข่ายพันธมิตร
“รู้สึกยินดีที่ได้มีโอกาสต้อนรับคณะสื่อมวลชนในพื้นที่ ตลอดจนได้มีโอกาสได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นและข้อเสนอแนะเพื่อร่วมกันพัฒนางานกำกับกิจการพลังงานในพื้นที่ให้เกิดประโยชน์กับผู้ใช้พลังงานในพื้นที่” นายยงยุทธ กล่าว
ในวันนี้ยังได้รับเกียรติจาก คพข. ประจำเขต 10 (จังหวัดราชบุรี) ซี่งเป็นผู้แทนผู้ใช้พลังงาน จิตอาสาในพื้นที่ ซึ่งได้รับการแต่งตั้งจาก กกพ. เพื่อทำหน้าที่พิจารณาเรื่องร้องเรียนให้กับผู้ใช้ไฟฟ้าที่ได้รับความเดือดร้อนจากการให้บริการไฟฟ้า เช่น ไฟฟ้าตก ไฟฟ้าดับทำให้เครื่องใช้ไฟฟ้าเสียหาย การเรียกเก็บอัตราค่าบริการไม่ถูกต้องหรือไม่เป็นธรรม ตลอดจนให้ข้อคิดเห็นหรือเสนอมาตรการเพื่อปรับปรุงการให้บริการด้านพลังงานต่อ กกพ. เพื่อการคุ้มครองผู้ใช้พลังงานในพื้นที่ที่เข้าร่วมการสัมมนาในครั้งนี้เพื่อจะได้แนะนำตัวกับคณะผู้แทนสื่อมวลชน เพื่อนำไปสู่การทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิดต่อไป

วันนี้ (1 พฤศจิกายน 2567) พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้กระทรวงพลังงาน โดยนายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภ...
01/11/2024

วันนี้ (1 พฤศจิกายน 2567) พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้กระทรวงพลังงาน โดยนายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน พร้อมด้วยผู้บริหารกระทรวงพลังงาน ข้าราชการและเจ้าหน้าที่จัดพิธีถวายผ้าพระกฐินพระราชทานกระทรวงพลังงาน ประจำปี 2567 ณ วัดนรนาถสุนทริการาม แขวงวัดสามพระยา เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร พร้อมกันนี้ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรววพลังงาน ได้มอบทุนการศึกษาโรงเรียนพระปริยัติธรรมและเงินสนับสนุนวงดุริยางค์ด้วย

“พีระพันธุ์” เดินหน้าเร่งจัดตั้ง SPR  สร้างระบบสำรองน้ำมันเชิงยุทธศาสตร์หนุนความมั่นคงพลังงานไทย คาดกฎหมายเกี่ยวข้องจะแล...
31/10/2024

“พีระพันธุ์” เดินหน้าเร่งจัดตั้ง SPR สร้างระบบสำรองน้ำมันเชิงยุทธศาสตร์หนุนความมั่นคงพลังงานไทย คาดกฎหมายเกี่ยวข้องจะแล้วเสร็จในสิ้นปี 67 นี้ เพื่อให้ประชาชนจ่ายค่าพลังงานตามต้นทุนที่แท้จริง
วันนี้ (31 ตุลาคม 2567) นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ได้กล่าวปาฐกถาพิเศษเรื่อง "แนวนโยบายของรัฐบาลต่อการพัฒนาพลังงานของประเทศเพื่อความมั่นคงของชาติและประชาชนที่ยั่งยืน" ในงานเสวนา "การพัฒนาการจัดบริการสาธารณะด้านพลังงานเพื่อความมั่นคงของประชาชน" ซึ่งจัดโดย สมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์
ในส่วนหนึ่งของปาฐกถาครั้งนี้ นายพีระพันธุ์ ได้กล่าวถึงการเข้ามารับตำแหน่งรัฐมนตรีพลังงานว่า ตนมีจุดมุ่งหมายที่จะเข้ามาแก้ไขปัญหาด้านพลังงานของประชาชน โดยที่ผ่านมา ตนได้ดำเนินการค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับต้นทุนค่าไฟฟ้า ค่าน้ำมัน ที่แท้จริง รวมทั้งศึกษากฎหมายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องทั้งน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ เพื่อหาแนวทางในการลดภาระค่าใช้จ่ายด้านพลังงานของประชาชนอย่างยั่งยืนและเป็นธรรมต่อทุกฝ่าย และที่สำคัญต้องสร้างความมั่นคงด้านพลังงานให้แก่ประเทศด้วย เพราะในอดีตที่ผ่านมา ประเทศไทยเคยขุดน้ำมันได้ที่ อ.ฝาง เมื่อกลั่นแล้วเหลือใช้ในกองทัพจึงขายให้กับประชาชน โดยไม่ได้คำนึงถึงเรื่องการค้าขายเพื่อผลกำไร แต่หลังจากที่มีการก่อตั้งการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย ทิศทางการจัดการด้านพลังงานของประเทศได้มุ่งไปทางธุรกิจมากกว่าความมั่นคง และไม่ได้มีการปรับปรุงด้านกฎหมายมานานกว่า 50 ปีแล้ว
นายพีระพันธุ์กล่าวอีกว่า ในปัจจุบันประเทศไทยยังไม่มีระบบสำรองน้ำมันเชิงยุทธศาสตร์ (Strategic Petroleum Reserve : SPR) เหมือนประเทศอื่น ๆ ทำให้ประเทศไม่มีความมั่นคงด้านพลังงาน ตนจึงได้ดำเนินการร่างกฎหมาย SPR เพื่อสร้างระบบสำรองน้ำมันของประเทศไทย โดยที่ภาครัฐไม่ต้องเสียงบประมาณในการลงทุนสร้างคลังน้ำมันและซื้อน้ำมัน และเพื่อสร้างเสถียรภาพด้านราคาน้ำมัน รวมไปถึงก๊าซธรรมชาติด้วย โดยต่อไปการกำหนดราคาน้ำมันในประเทศจะเป็นเรื่องของภาครัฐกับผู้ประกอบกิจการค้าน้ำมัน ไม่ต้องผันผวนรายวันตามราคาขึ้นลงของตลาดโลก
อย่างไรก็ดี ปัจจุบัน กระทรวงพลังงานได้มีความคืบหน้าในการกำหนดให้บริษัทผู้ประกอบกิจการค้าน้ำมันต้องแสดงต้นทุนราคาน้ำมันที่แท้จริง เพื่อพิจารณาไม่ให้ผู้ประกอบการเอาเปรียบประชาชนเกินไป และกำลังดำเนินการร่างกฎหมายด้านพลังงานที่สำคัญอีกหลายฉบับ เช่น ร่างกฎหมายกำกับดูแลการประกอบกิจการค้าน้ำมันและก๊าซ ร่างกฎหมายกํากับดูแลการติดตั้งระบบไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์บนหลังคาบ้าน เพื่ออำนวยความสะดวกในการติดตั้งระบบ Solar Rooftop รวมถึง ร่างกฎหมายจัดตั้งระบบสำรองน้ำมันแห่งชาติ หรือ Strategic Petroleum Reserve (SPR) ที่จะมาดูแลปัญหาราคาน้ำมันแทนกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างขั้นตอนการตรวจพิจารณาและคาดว่าจะแล้วเสร็จได้ภายในปี 2567 นี้
“ผมมาทำงานตรงนี้ ไม่ได้มาเพื่อโปรโมทตัวเอง แต่ผมเข้ามาทำในสิ่งที่ต้องทำ ในส่วนของค่าไฟฟ้าผมยืนยันได้ว่า ผมจะสู้เพื่อประชาชน ทำทุกวิถีทางไม่ให้ค่าไฟขึ้น น้ำมันก็เช่นกัน ในอนาคต หากมีการปรับปรุงคุณภาพน้ำมันเพื่อสิ่งแวดล้อมที่ดีขึ้น แต่หากทำให้ต้นทุนน้ำมันสูงขึ้น ก็ต้องหาวิธีไม่ให้กระทบกับประชาชน ส่วนแผน Carbon Neutrality และ Net Zero ก็เป็นแผนที่ผมให้ความสำคัญ และได้มอบให้ กฟผ. ไปศึกษาเพื่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังน้ำสูบกลับในเขื่อนที่มีอยู่ รวมทั้งการนำแสงอาทิตย์มาผลิตไฟฟ้า นำมาให้ให้เกิดประโยชน์ให้ได้มากที่สุด” นายพีระพันธุ์ กล่าว

สกนช.สรุปผลการดำเนินงานปีงบฯ 2567สภาพคล่องกองทุนน้ำมันเริ่มดีปลดหนี้ก้อนโตเสร็จปี 2571สำนักงานกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง (สก...
31/10/2024

สกนช.สรุปผลการดำเนินงานปีงบฯ 2567
สภาพคล่องกองทุนน้ำมันเริ่มดีปลดหนี้ก้อนโตเสร็จปี 2571

สำนักงานกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง (สกนช.) สรุปผลการดำเนินการ รอบปีงบประมาณ 2567 ราคาน้ำมันดิบดูไบเฉลี่ย 81 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรล ขณะที่ดีเซลยังเกิน 100 เหรียญสหรัฐ โดยฐานะกองทุนน้ำมันติดลบไม่เกินแสนล้านบาท ด้านสภาพคล่องกองทุนน้ำมันฯ ปรับตัวดีขึ้นมีรายรับราว 7,000 - 9,000 ล้านบาท/เดือน จะชำระหนี้เงินกู้เสร็จสิ้นในเดือนกันยายน 2571

นายพรชัย จิรกุลไพศาล ผู้อำนวยการสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สกนช. แถลงข่าวผลการดำเนินการในรอบปีงบประมาณ 2567 ( 1 ตุลาคม 2566 – 30 กันยายน 2567) ของกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงว่า สถานการณ์ราคาน้ำมันเชื้อเพลิงในรอบปีที่ผ่านมาเฉลี่ยราคาโดยรวมลดลงจากปีงบประมาณก่อนหน้านี้ โดยราคาน้ำมันดิบตลาดดูไบ อยู่ที่ 81.68 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรล น้อยกว่าปีงบประมาณก่อนหน้าซึ่งอยู่ 83.49 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรล ส่วนน้ำมันดีเซลเฉลี่ยอยู่ที่ 102.01 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรล เทียบกับปีก่อนหน้าอยู่ที่ 112.90 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรล น้ำมันเบนซินเฉลี่ย 95.12 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรล เทียบกับปีก่อนหน้า 99.60 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรล

ถึงแม้เฉลี่ยราคาน้ำมันดีเซลจะลดลงแต่ก็ยังอยู่ในอัตราที่สูงเกิน 100 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรล ซึ่งสาเหตุมาจากสถานการณ์
การสู้รบระหว่างรัสเซีย-ยูเครนที่ยืดเยื้อ สงครามระหว่างอิสราเอล-ฮามาส ส่วนสถานการณ์ที่ทำให้ราคาน้ำมันปรับลงยังคงเป็นเรื่องของเศรษฐกิจ โดยเฉพาะประเทศจีนที่เศรษฐกิจชะลอตัวทำให้ความต้องการบริโภคน้ำมันลดลง

ในด้านการรักษาระดับเสถียรภาพระดับราคาขายปลีกน้ำมันเชื้อเพลิง กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงมีการดำเนินการตามแผนวิกฤตการณ์ด้านราคาน้ำมันเชื้อเพลิง โดยการปรับอัตราเงินกองทุนน้ำมันฯ เพื่อให้ราคาขายปลีกปรับลดลงซึ่งสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลช่วงระหว่างเดือนกันยายน 2566 ถึง มีนาคม 2567 รัฐบาลได้กลับไปตรึงราคาดีเซลที่ 30 บาท/ลิตร หลังจากที่ได้ขยับเพดานอยู่ที่ 32 บาท/ลิตรก่อนหน้านี้ ขณะเดียวกัน
มีการลดการจัดเก็บเงินในกลุ่มน้ำมันเบนซินลง 1 บาท/ลิตรเพื่อลดราคา
ขายปลีกลง 1 บาทในช่วงพฤศจิกายน 2566 - มกราคม 2567 ทำให้รายรับของกองทุนน้ำมันฯ น้อยลง โดยที่กองทุนน้ำมันฯ ยังต้องให้การอุดหนุนราคาน้ำมันอยู่ ส่วนก๊าซ LPG ก็ถูกตรึงราคาตลอดปีตั้งแต่เดือนตุลาคม 2566 จนถึงปัจจุบัน อยู่ที่ 423 บาท/ถังขนาด 15 กก.

ในด้านสภาพคล่องของกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงเริ่มดีขึ้นในเดือนสิงหาคม 2567 โดยเริ่มมีรายรับราว 7,000 - 9,000 ล้านบาท/เดือน ส่งผลให้ประมาณการฐานะกองทุนจากวันที่ 28 กรกฎาคม 2567 ที่เคยติดลบ 111,663 ล้านบาท (โดยแบ่งเป็นบัญชีน้ำมันติดลบ 64,066 ล้านบาท และบัญชี LPG ติดลบ 47,597 ล้านบาท) เป็นติดลบเหลือ 99,087 ล้านบาท (โดยแบ่งเป็นบัญชีน้ำมันติดลบ 51,643 ล้านบาท บัญชี LPG 47,444 ล้านบาท) เมื่อวันที่ 29 กันยายน 2567

ในด้านการดำเนินงาน กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงได้รับคะแนนประเมินจากทุนหมุนเวียนในปีบัญชี ในเบื้องต้น อยู่ที่ 4.45 คะแนน จากคะแนนเต็ม 5 ส่วนคะแนนการประเมิน ITA สกนช. ได้รับ 95.96 คะแนน จากคะแนนเต็ม 100 ซึ่งมากที่สุดในหน่วยงานของกระทรวงพลังงาน และเป็นที่ 2 ขององค์การมหาชน

สำหรับในปีงบประมาณ 2568 กองทุนน้ำมันฯ ยังคงดำเนินการรักษาเสถียรภาพระดับราคาขายปลีกน้ำมันเชื้อเพลิง ตามพระราชบัญญัติกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ.2562 โดยเฉพาะราคาขายปลีกน้ำมันดีเซลยังคงไว้ไม่ให้เกิน 33 บาท/ลิตร ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับราคาน้ำมันเชื้อเพลิงในตลาดโลก ที่จะส่งผลกระทบต่อสภาพคล่องทางการเงินของกองทุนน้ำมันฯ นอกจากนี้ ยังมีภารกิจที่สำคัญดังนี้

1. การชำระหนี้เงินกู้ยืมทั้งเงินต้นและดอกเบี้ยจากสถาบันการเงิน โดยจะเริ่มชำระเงินต้นในเดือนพฤศจิกายน 2567 ประมาณ 139 ล้านบาท และเพิ่มการผ่อนชำระหนี้เงินต้นขึ้นเรื่อยๆ ในแต่ละเดือนตามวงเงินกู้ยืม ซึ่งในจำนวนนี้ยังไม่รวมดอกเบี้ยเงินกู้ยืมอีกประมาณ 250 – 300 ล้านบาท/เดือน โดยจะชำระหนี้เงินกู้เสร็จสิ้นในเดือนกันยายน 2571

2. การติดตามสถานการณ์ราคาน้ำมันเชื้อเพลิงในตลาดโลกที่ยังคงมีความผันผวนซึ่งจะส่งผลกระทบต่อ
สภาพคล่องทางการเงินของกองทุนน้ำมันฯ ส่งผลให้กองทุนน้ำมันฯ ต้องเรียกเก็บเงินไว้ในช่วงที่ยังมีภาระหนี้เงินกู้ยืม
เพื่อเสริมสภาพคล่องทางการเงิน

3. การจัดทำแผนรองรับวิกฤตการณ์ด้านน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2568 -2572 เพื่อเสนอต่อคณะรัฐมนตรี

4. สกนช. ดำเนินการสรรหาผู้อำนวยการสำนักงานกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง คาดว่าจะเสร็จสิ้นภายในเดือนธันวาคม 2567

ขอให้ประชาชนมั่นใจว่า กองทุนน้ำมันฯ จะรักษาเสถียรภาพระดับราคาขายปลีกน้ำมันเชื้อเพลิงในประเทศให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมในกรณีที่เกิดวิกฤตการณ์ด้านน้ำมันเชื้อเพลิง ด้วยหลักการดำเนินการที่ว่า “เปิดเผย โปร่งใส ตรวจสอบได้”
______________________

ปตท. คว้ารางวัลเกียรติยศแห่งความสำเร็จด้านความยั่งยืน และด้านนวัตกรรม จากเวที SET Awards 2024 สะท้อนความยอดเยี่ยมทางธุรก...
30/10/2024

ปตท. คว้ารางวัลเกียรติยศแห่งความสำเร็จด้านความยั่งยืน และด้านนวัตกรรม จากเวที SET Awards 2024 สะท้อนความยอดเยี่ยมทางธุรกิจ

ดร.คงกระพัน อินทรแจ้ง ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) (ปตท.) เปิดเผยว่า ปตท. ได้รับรางวัล SET Awards ประจำปี 2024 ที่จัดขึ้นโดย
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ร่วมกับวารสารการเงินธนาคาร รวม 2 รางวัล ประกอบด้วย รางวัลเกียรติยศ
แห่งความสำเร็จด้านความยั่งยืน (Sustainability Awards of Honor) และรางวัลเกียรติยศแห่งความสำเร็จ
ด้านนวัตกรรม (SET Awards of Honor) สะท้อนเจตนารมณ์ของ ปตท. ที่ให้ความสำคัญกับการบริหารธุรกิจแบบยั่งยืนในทุกมิติ การลงทุนต้องเกิดประโยชน์ทั้งกับองค์กรและประเทศ พร้อมสร้างความเชื่อมั่นให้ทุกภาคส่วน และ
สร้างพลังร่วมภายในกลุ่ม ปตท. ภายใต้วิสัยทัศน์ “ปตท. แข็งแรงร่วมกับสังคมไทย และเติบโตในระดับโลกอย่างยั่งยืน”
นับเป็นปีที่ 4 ของ ปตท. ที่ได้รับรางวัลเกียรติยศแห่งความสำเร็จด้านความยั่งยืน (Sustainability Awards of Honor) ซึ่งเป็นผลจากความมุ่งมั่นจากการดำเนินงานจนได้รับรางวัล Best Sustainability Awards อย่างต่อเนื่อง
โดย ปตท. ยึดมั่นพันธกิจหลักในการสร้างความมั่นคงทางพลังงาน พร้อมบูรณาการความยั่งยืนเข้าสู่ธุรกิจ เพื่อบรรลุเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Emissions) ภายในปี พ.ศ. 2593 หรือ ค.ศ. 2050 ด้วยการผสานการบริหารจัดการทั้งกลุ่ม ปตท. ผ่านแนวทางการดำเนินงาน C3 ได้แก่
Climate Resilience Business ปรับ Portfolio และพิจารณาการปล่อยคาร์บอน (Carbon Emission) ควบคู่กับการเติบโตทางธุรกิจ
Carbon-Conscious Asset ปรับปรุงประสิทธิภาพในกระบวนการผลิต ใช้พลังงานสะอาด เช่น ไฮโดรเจน การนำเทคโนโลยีใหม่มาใช้ในกระบวนการผลิต รวมทั้งการนำคาร์บอนไดออกไซด์แปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ (Carbon Capture and Utilization: CCU) เป็นต้น
Coalition, Co-Creation, and Collective Efforts for All ประสานความร่วมมือกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย โดยเป็นแกนหลักของประเทศในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและเทคโนโลยีในการลดก๊าซเรือนกระจก โดยใช้เทคโนโลยีการ
ดักจับและการกักเก็บคาร์บอน (Carbon Capture and Storage: CCS) รวมถึงเพิ่มการดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ด้วยวิธีทางธรรมชาติ ผ่านการปลูกและบำรุงรักษาป่า
สำหรับรางวัลเกียรติยศแห่งความสำเร็จด้านนวัตกรรม (SET Awards of Honor) ปตท. ได้รับจากการคว้ารางวัล Best Innovative Company Awards 4 ปีติดต่อกัน ได้แก่ ปี 2021 ได้รับรางวัลจากผลงานการพัฒนานวัตกรรมวัสดุปิดแผลไบโอเซลลูโลสคอมพอสิต Innaqua ปี 2022 ได้รับจากนวัตกรรม PTT EV Charger and Charging Platform ปี 2023 ได้รับจากผลงานตัวเร่งปฏิกิริยา PTT SCR และในปีนี้เป็นผลงานการพัฒนา “นวัตกรรมเครื่องแลกเปลี่ยนความร้อนไมโครสเกล หรือ PTT MicroHX” ที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานในนิคมอุตสาหกรรม
ด้วยการนำเอาพลังงานเหลือทิ้งในรูปแบบความร้อนหรือความเย็น หมุนเวียนกลับมาใช้ในกระบวนการ (Energy Recovery) ให้เกิดประโยชน์ สามารถลดค่าใช้จ่ายด้านพลังงานและการปลดปล่อยคาร์บอนได้อย่างมีนัยสำคัญ รวมทั้งช่วยลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมต่อสังคมและชุมชน ลดการพึ่งพาเทคโนโลยีจากต่างประเทศ เพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันทั้งในระดับอุตสาหกรรมและระดับประเทศ อีกทั้งยังเป็นนวัตกรรมใหม่ที่ได้รับการจดสิทธิบัตรแล้วจำนวนกว่า 40 สิทธิบัตร ใน 9 ประเทศ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา อังกฤษ เยอรมัน จีน เกาหลี ญี่ปุ่น มาเลเซีย เมียนมา และอินเดีย
ซึ่งในปัจจุบันมีการติดตั้งใช้งานเชิงพาณิชย์ที่โรงงานผลิตถุงมือยาง จังหวัดชลบุรี และบริษัท พีทีที แอลเอ็นจี จำกัด (PTTLNG) เพื่อใช้ในโครงการ LNG Terminal 1 ที่นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด จังหวัดระยอง ปัจจุบันอยู่ระหว่างต่อยอดเชิงพาณิชย์ไปยังกลุ่มธุรกิจอุตสาหกรรมทั้งในและนอกกลุ่ม ปตท. อีกด้วย
“ปตท. ขอขอบคุณนักวิเคราะห์ นักลงทุน ผู้ถือหุ้น และผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ให้ความเชื่อมั่นในศักยภาพและความสามารถในการดำเนินธุรกิจ ส่งผลให้ ปตท. ได้รับรางวัลอันทรงเกียรติในวันนี้ ซึ่งนับเป็นความภาคภูมิใจอย่างยิ่งขององค์กรในฐานะบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย โดย ปตท. พร้อมดำเนินธุรกิจด้านพลังงานและธุรกิจที่เกี่ยวข้องอย่างครบวงจรภายใต้หลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี และดูแลผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอย่างสมดุล เพื่อร่วมกันสร้างความแข็งแกร่งให้กับระบบเศรษฐกิจและสังคมของประเทศให้เติบโตอย่างยั่งยืนต่อไป” ดร.คงกระพัน กล่าว

“กกพ.” เคาะ ลดเงินประกันการใช้ไฟฯ สำหรับผู้ใช้ไฟฟ้ารายใหญ่ประวัติดี     ดร.พูลพัฒน์ ลีสมบัติไพบูลย์ เลขาธิการสำนักงานคณะ...
28/10/2024

“กกพ.” เคาะ ลดเงินประกันการใช้ไฟฯ สำหรับผู้ใช้ไฟฟ้ารายใหญ่ประวัติดี

ดร.พูลพัฒน์ ลีสมบัติไพบูลย์ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (สำนักงาน กกพ.) ในฐานะโฆษกคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) เปิดเผยว่า ในการประชุม กกพ. ครั้งที่ 40/2567 (ครั้งที่ 925) เมื่อวันที่ 23 กันยายน 2567 มีมติเห็นชอบข้อเสนอแนวทางการปรับปรุงเงื่อนไขการวางเงินประกันการใช้ไฟฟ้าสำหรับผู้ใช้ไฟฟ้ารายใหญ่ ได้แก่ ผู้ใช้ไฟฟ้าประเภท 3 กิจการขนาดกลาง ประเภท 4 กิจการขนาดใหญ่ และประเภท 5 กิจการเฉพาะอย่าง ที่มีประวัติการชำระค่าไฟฟ้าดี โดยให้การไฟฟ้าฝ่ายจำหน่าย (การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค และกิจการไฟฟ้าสวัสดิการสัมปทานกองทัพเรือ) ปรับปรุงเงื่อนไขการวางเงินประกันการใช้ไฟฟ้าสำหรับผู้ใช้ไฟฟ้ารายใหญ่ที่มีประวัติการชำระค่าไฟฟ้าดีตามแนวทางที่ กกพ. ได้วางไว้
“กกพ. เข้าใจดีถึงภาระต้นทุนในการทำธุรกิจจากการวางหลักทรัพย์เพื่อเป็นการประกันการใช้ไฟฟ้าให้กับการไฟฟ้าฝ่ายจำหน่าย ซึ่งผู้ใช้ไฟฟ้าบางประเภทและในบางอุตสาหกรรมต้องแบกรับภาระค่าใช้จ่ายที่สูง เป็นต้นทุนในการดำเนินธุรกิจ ในขณะเดียวกันคำนึงถึงคู่สัญญาคือการไฟฟ้าฝ่ายจำหน่ายด้วย เพราะหากเกิดกรณีไม่ชำระค่าไฟฟ้า หรือค้างชำระค่าไฟฟ้าเกินกำหนด หรือละเมิดการใช้ไฟฟ้า ก็จะเป็นความเสี่ยงและเกิดภาระต้นทุนของการไฟฟ้าฝ่ายจำหน่าย เนื่องจากการไฟฟ้าฝ่ายจำหน่ายเองก็ต้องจ่ายกระแสไฟฟ้าไปให้ผู้ใช้ก่อนแล้วค่อยเรียกเก็บเงินค่าไฟในภายหลัง เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมทั้งสองฝ่าย กกพ. จึงมีมติโดยวางกรอบให้สิทธิได้รับการลดวงเงินประกันการใช้ไฟฟ้าตามประวัติการชำระค่าไฟและสถานะหนี้คงค้างค่าไฟเป็นหลัก ซึ่งขอย้ำว่าการวางเงินประกันการชำระค่าไฟฟ้ายังคงมีความจำเป็น เพื่อไม่ให้ผู้ใช้ไฟฟ้าต้องร่วมรับผิดชอบการไม่ชำระค่าไฟฟ้าของผู้ใช้ไฟฟ้าบางราย ดังนั้น จึงไม่สามารถยกเลิกการวางเงินประกันทั้งหมดได้” ดร.พูลพัฒน์ กล่าว
ทั้งนี้ กกพ. ได้กำหนดแนวทางการปรับปรุงเงื่อนไขการวางเงินประกันการใช้ไฟฟ้าสำหรับผู้ใช้ไฟฟ้ารายใหญ่ที่มีประวัติการชำระค่าไฟฟ้าดี โดยกำหนดวงเงินประกันตามลักษณะการชำระค่าไฟฟ้า ดังนี้
สำหรับมติดังกล่าว กำหนดให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่รอบบิลต้นปี 2568 เป็นต้นไป ทั้งนี้ สำนักงาน กกพ. ได้มีหนังสือถึง การไฟฟ้าฝ่ายจำหน่าย เพื่อแจ้งแนวทางการปรับปรุงเงื่อนไขการวางเงินประกันการใช้ไฟฟ้าสำหรับผู้ใช้ไฟฟ้ารายใหญ่ตามมติ กกพ. ดังกล่าว โดย กกพ. ขอให้การไฟฟ้าฝ่ายจำหน่ายไปศึกษาข้อมูลเพิ่มเติม รายละเอียดจำนวนผู้ที่ได้รับประโยชน์และจำนวนเงินที่จะได้รับเงื่อนไขการวางเงินประกันการใช้ไฟฟ้าสำหรับผู้ใช้ไฟฟ้ารายใหญ่ที่มีประวัติการชำระค่าไฟฟ้าดี โดยประมาณการจากข้อมูลของการใช้ไฟฟ้า และควรมีการศึกษาข้อมูลว่าในกรณีเกิดหนี้สูญจากการไม่ชำระค่าไฟฟ้า การไฟฟ้าฝ่ายจำหน่ายได้ดำเนินการอย่างไรกับหนี้สูญดังกล่าว และรายงานเสนอ กกพ. ต่อไป

ปตท.สผ. เผยผลการดำเนินงานรอบ 9 เดือน ปี 2567  ปตท.สผ. เผยผลการการดำเนินงานรอบ 9 เดือน ปี 2567 การขับเคลื่อนองค์กรด้วยเทค...
28/10/2024

ปตท.สผ. เผยผลการดำเนินงานรอบ 9 เดือน ปี 2567

ปตท.สผ. เผยผลการการดำเนินงานรอบ 9 เดือน ปี 2567 การขับเคลื่อนองค์กรด้วยเทคโนโลยีดิจิทัลมีความก้าวหน้าขึ้นมาก ซึ่งจะช่วยขยายขีดความสามารถด้านต่าง ๆ ของบริษัททั้งปัจจุบันและอนาคต สำหรับ 9 เดือนแรกนี้ บริษัทสามารถนำส่งรายได้จากการดำเนินธุรกิจให้กับรัฐประมาณ 43,300 ล้านบาท เพื่อการพัฒนาประเทศ

นายมนตรี ลาวัลย์ชัยกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) หรือ ปตท.สผ. เปิดเผยว่า ในไตรมาส 3 นี้ บริษัทมีความคืบหน้าในการดำเนินงานโครงการในต่างประเทศ โดยโครงการอาบูดาบี ออฟชอร์ 2 ประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ได้รับการอนุมัติแผนพัฒนาโครงการจากหน่วยงานรัฐบาลของอาบูดาบีแล้ว โดยคาดว่าจะตัดสินใจลงทุนขั้นสุดท้าย (FID) ได้ในปี 2568 เพื่อเพิ่มปริมาณสำรองปิโตรเลียมและอัตราการผลิตก๊าซธรรมชาติให้บริษัทในอนาคต

ส่วนด้านการดำเนินงานเพื่อขับเคลื่อนองค์กรด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล (Digital-Driven Organization) ซึ่งให้ความสำคัญกับการพัฒนาและการนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีเข้ามาใช้ในองค์กร เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงานด้านต่าง ๆ รวมทั้ง ช่วยลดระยะเวลาและลดค่าใช้จ่าย โดยในช่วงที่ผ่านมา ปตท.สผ. ได้พัฒนาโครงการ DigitalX ขึ้น ซึ่งเป็นการพัฒนาและประยุกต์ใช้โครงการนวัตกรรมดิจิทัล (Digital Solutions) เพื่อสนับสนุนการปฏิบัติงานอย่างครบวงจร เช่น เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) และ Machine Learning ที่ช่วยวิเคราะห์และประมวลข้อมูลทั่วทั้งห่วงโซ่ธุรกิจของ ปตท.สผ. ได้อย่างรวดเร็วและแม่นยำ เช่น ช่วยการเจาะหลุมปิโตรเลียม กระบวนการผลิต การบริหารจัดหาจัดส่งวัสดุอุปกรณ์ โดยมีการเชื่อมฐานข้อมูล (Data Foundation) ที่เชื่อถือได้ให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน และมีระบบบริหารจัดการทรัพยากร (ERP System) ที่ทันสมัย ภายใต้มาตรการความปลอดภัยเชิงรุก

นอกจากนี้ ปตท.สผ. กำลังพัฒนาและทดสอบเทคโนโลยี หุ่นยนต์และอากาศยานไร้คนขับ (โดรน) เพื่อสนับสนุนการปฏิบัติงานที่แท่นผลิตปิโตรเลียมนอกชายฝั่ง ซึ่งจะช่วยเพิ่มขีดความสามารถและความคล่องตัวในการปฏิบัติงาน ลดความเสี่ยง ลดระยะเวลาในการทำงาน เช่น โดรนสำหรับขนส่งอุปกรณ์ และเวชภัณฑ์ที่จำเป็น (Delivery Drone) ระหว่างแท่นผลิตในอ่าวไทย ซึ่งช่วยให้การเคลื่อนย้ายเครื่องมือ อุปกรณ์การผลิต และอื่น ๆ สามารถดำเนินการได้อย่างสะดวกรวดเร็วมากยิ่งขึ้น และโดรนสำหรับตรวจสอบสภาพภายนอกของแท่นผลิตและตรวจการ (Inspection Drone) เพื่อยืดอายุการใช้งานของโครงสร้างแท่นผลิตรวมถึงป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้นได้อย่างทันท่วงที

นายมนตรี กล่าวว่า “ในช่วงที่ผ่านมา ปตท.สผ. ได้พัฒนาและนำนวัตกรรม เทคโนโลยี หุ่นยนต์และปัญญาประดิษฐ์ เข้ามาประยุกต์ใช้ในการดำเนินงานด้านต่าง ๆ เช่น โครงการ DigitalX หุ่นยนต์ที่ปฏิบัติงานใต้ทะเล และเทคโนโลยีอื่น ๆ ผ่านบริษัทในเครือ และ ปตท.สผ. เอง การพัฒนาดังกล่าว ดำเนินการควบคู่ไปกับการพัฒนาศักยภาพบุคลากร โดยการเรียนรู้ ถ่ายทอดความรู้ ประยุกต์ใช้ ทดลอง และต่อยอด ตามแนวทางการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ เพื่อขยายขีดความสามารถและประสิทธิภาพในการดำเนินงานทั้งด้านการสำรวจและการพัฒนาแหล่งพลังงานในโลกที่กำลังเปลี่ยนแปลง ซึ่งเป็นอีกส่วนสำคัญในการสร้างความยั่งยืนให้กับองค์กรและประเทศ”

จากการให้ความสำคัญกับการนำเทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามาใช้ในการดำเนินงาน ส่งผลให้ ปตท.สผ. ได้รับรางวัลจากสถาบันหรือองค์กรต่าง ๆ ทั้งในและต่างประเทศ เช่น รางวัล Thailand Technology Excellence Awards for AI – Oil & Gas จากนิตยสาร Asian Business Review จากผลงาน “AI Innovation ภายใต้โครงการ Digital Transformation" ซึ่งเป็นการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัล ปัญญาประดิษฐ์ และ Machine Learning รางวัลนวัตกรรมแห่งชาติ ประจำปี 2567 ด้านองค์กรนวัตกรรม ประเภทองค์กรวิสาหกิจขนาดใหญ่ จากสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) นอกจากนี้ บริษัทยังได้รับรางวัลด้านอื่น ๆ ด้วยเช่นกัน ได้แก่ รางวัลบริษัทยอดเยี่ยมแห่งปี 2567 จากการประกาศรางวัล Money & Banking 2024 และรางวัล Best CEO และ Best IR ในกลุ่มอุตสาหกรรมพลังงานและสาธารณูปโภค จากเวที IAA Awards for Listed Companies 2024 และรางวัล Sustainability Award 2024 ประเภท “Sustainability Initiative of the Year” จากโครงการ Ocean for Life จาก Business Intelligence Group ซึ่งเป็นองค์กรอิสระจากสหรัฐอเมริกาที่ได้รับการยอมรับในระดับสากล

สำหรับผลประกอบการในรอบ 9 เดือนของปี 2567 ปตท.สผ. มีรายได้รวม 247,119 ล้านบาท (เทียบเท่า 6,912 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (สรอ.)) โดยมีปริมาณขายปิโตรเลียมเฉลี่ยเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2566 ซึ่งส่วนใหญ่มาจากอัตราการผลิตปิโตรเลียมของโครงการ G1/61 ที่เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 800 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวันตั้งแต่ปลายเดือนมีนาคมที่ผ่านมา ในขณะที่ราคาขายผลิตภัณฑ์เฉลี่ยลดลงเล็กน้อยมาอยู่ที่ 47.11 ดอลลาร์ สรอ. ต่อบาร์เรลเทียบเท่าน้ำมันดิบ จากการปรับตัวลดลงของราคาก๊าซธรรมชาติ จึงส่งผลให้รอบ 9 เดือนของปีนี้ บริษัทมีกำไรสุทธิ 60,517 ล้านบาท (เทียบเท่า 1,688 ล้านดอลลาร์ สรอ.)

นำส่งรายได้ให้กับรัฐ กว่า 43,300 ล้านบาท เพื่อการพัฒนาประเทศ
ในรอบ 9 เดือนของปี 2567 ปตท.สผ. ได้นำส่งรายได้ให้กับรัฐในรูปของภาษีเงินได้ ค่าภาคหลวง และส่วนแบ่งผลประโยชน์อื่น ๆ จำนวนกว่า 43,300 ล้านบาท ซึ่งจะเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาประเทศด้านต่าง ๆ เช่น การพัฒนาชุมชน การศึกษา และการวิจัยและพัฒนา เป็นต้น นอกจากนี้ ส่วนแบ่งผลผลิตปิโตรเลียมจากโครงการ G1/61 และ G2/61 ภายใต้สัญญาแบ่งปันผลผลิต (PSC) ยังเป็นรายได้อีกส่วนหนึ่งที่รัฐได้รับโดยตรงจากการผลิตปิโตรเลียมของบริษัท เพื่อนำไปใช้ในการพัฒนาประเทศอีกด้วย

EGCO Group ขายหุ้น 49% ในโรงไฟฟ้า RISEC อเมริกา ให้ SHELLบริษัท ผลิตไฟฟ้า จำกัด (มหาชน) หรือ EGCO Group ประกาศขายหุ้นทั้...
24/10/2024

EGCO Group ขายหุ้น 49% ในโรงไฟฟ้า RISEC อเมริกา ให้ SHELL

บริษัท ผลิตไฟฟ้า จำกัด (มหาชน) หรือ EGCO Group ประกาศขายหุ้นทั้งหมดในสัดส่วน 49% ใน RISEC Holdings, LLC (RISEC) ซึ่งเป็นเจ้าของโรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วมที่ใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิง กำลังผลิต 609 เมกะวัตต์ ตั้งอยู่ในรัฐโรดไอแลนด์ สหรัฐอเมริกา ให้กับ Shell Energy North America (US), L.P. (SENA) การขายหุ้นครั้งนี้เป็นไปตามกลยุทธ์การบริหารจัดการพอร์ตการลงทุนให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด โดย EGCO Group มีแผนจะนำรายได้จากการขายหุ้นดังกล่าวไปแสวงหาโอกาสการลงทุนใหม่ ที่จะสร้างการเติบโตอย่างต่อเนื่องในระยะยาว

ดร.จิราพร ศิริคำ กรรมการผู้จัดการใหญ่ EGCO Group เปิดเผยว่า EGCO RISEC II, LLC ซึ่งเป็นบริษัทย่อยที่ EGCO Group ถือหุ้นทั้งหมดและจดทะเบียนในสหรัฐอเมริกา ได้ลงนามในสัญญาซื้อขายหุ้นกับ SENA และบริษัทย่อย 2 บริษัทของ Carlyle Group (Carlyle) ได้แก่ Cogentrix RISEC CPOCP Holdings, LLC และ Cogentrix RISEC CPP II Holdings, LLC เมื่อวันที่ 18 ตุลาคม 2567 เพื่อขายหุ้นในสัดส่วน 49% ที่ถือใน RISEC ให้แก่ SENA ในขณะเดียวกัน Carlyle ก็จะขายหุ้นของตนเองในสัดส่วน 51% ใน RISEC ให้แก่ SENA เช่นกัน เมื่อการทำรายการดังกล่าวแล้วเสร็จ SENA จะเป็นเจ้าของ RISEC ในสัดส่วน 100% ในขณะที่ EGCO Group และ Carlyle จะสิ้นสุดการเป็นผู้ถือหุ้นของ RISEC การขายหุ้นครั้งนี้ คาดว่าจะดำเนินการแล้วเสร็จภายในไตรมาสที่ 1 ปี 2568 หลังจากที่ SENA ได้รับการอนุมัติจากหน่วยงานกำกับดูแลที่เกี่ยวข้อง

“การขายหุ้นทั้งหมดในโรงไฟฟ้า RISEC เป็นส่วนหนึ่งในกลยุทธ์ของ EGCO Group ด้านการบริหารจัดการพอร์ตการลงทุน ในส่วนของการบริหารจัดการสินทรัพย์ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด โดยบริษัทยังคงเดินหน้าเพิ่มกำลังผลิตไฟฟ้าใหม่อย่างต่อเนื่อง ทั้งในประเทศและต่างประเทศ และทั้งจากโครงการโรงไฟฟ้าที่ใช้ก๊าซธรรมชาติและพลังงานหมุนเวียน ซึ่งเป็นสินทรัพย์ที่มีคุณภาพสูง เพื่อสนับสนุนการเปลี่ยนผ่านทางด้านพลังงาน EGCO Group มีแผนจะนำรายได้จากการขายหุ้นครั้งนี้ไปใช้สำหรับการลงทุนใหม่ในสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นการสร้างการเติบโตอย่างต่อเนื่องในระยะยาว” ดร.จิราพร กล่าวเสริม

EGCO Group ได้ลงทุนในโรงไฟฟ้า RISEC ช่วงต้นปี 2566 ซึ่งโรงไฟฟ้าแห่งนี้จำหน่ายไฟฟ้าในตลาดกลางซื้อขายไฟฟ้านิวอิงค์แลนด์ (ISO-NE) และทำสัญญาขายกำลังผลิตพร้อมจ่ายทั้งหมดและให้บริการเสริมความมั่นคงและระบบไฟฟ้า Blackstart กับ ISO-NE รวมทั้งได้ทำสัญญาจำหน่ายไฟฟ้าที่ผลิตได้ทั้งหมดและให้บริการเสริมความมั่นคงระบบไฟฟ้าอื่น ๆ กับ SENA ภายใต้สัญญาซื้อขายไฟฟ้าแบบรับจ้างแปลงพลังงาน (Energy Tolling Agreement)

ที่อยู่

Bangkok

แจ้งเตือน

รับทราบข่าวสารและโปรโมชั่นของ The Energyผ่านทางอีเมล์ของคุณ เราจะเก็บข้อมูลของคุณเป็นความลับ คุณสามารถกดยกเลิกการติดตามได้ตลอดเวลา

วิดีโอทั้งหมด

แชร์


เว็บไซต์ข่าวและสื่อ อื่นๆใน Bangkok

แสดงผลทั้งหมด