Siamese Psychoanalytic Society

Siamese Psychoanalytic Society ข้อมูลการติดต่อ, แผนที่และเส้นทาง,แบบฟอร์มการติดต่อ,เวลาเปิดและปิด, การบริการ,การให้คะแนนความพอใจในการบริการ,รูปภาพทั้งหมด,วิดีโอทั้งหมดและข่าวสารจาก Siamese Psychoanalytic Society, ครีเอเตอร์วิดีโอ, Bangkok.

"ชุมชนจิตวิเคราะห์ชาวสยาม" (Siamese Psychoanalytic Society) เรากำลังมองหาโอกาสการขับเคลื่อนองค์ความรู้ศาสตร์จิตวิเคราะห์ในประเทศไทย ผ่านการสนทนาของกลุ่มคนตัวเล็กๆ

18/01/2025

เดือนนี้งดลงคลิปนะครับ
เดือนนี้ผมงานยุ่งเกินและติดปัญหาส่วนตัวนิดหน่อยครับ 🙏🏻🙇🏻

🎊 สวัสดีปีงู พ.ศ. 2568 (2025) ครับ 🎊พอเป็นปีงู 🐍 หลายคนก็มองว่าเป็น “ปีแห่งการเปลี่ยนแปลง” เพราะบางครั้งก็เทียบมันกับภาพ...
01/01/2025

🎊 สวัสดีปีงู พ.ศ. 2568 (2025) ครับ 🎊

พอเป็นปีงู 🐍 หลายคนก็มองว่าเป็น “ปีแห่งการเปลี่ยนแปลง” เพราะบางครั้งก็เทียบมันกับภาพของงูที่ลอกคราบ สละทิ้งคราบเก่าสู่การเติบโตไปยังสิ่งใหม่ๆ

หรือบ้างก็เทียบเคียงตัวสะกดภาษาไทยตัว ง. งู ซึ่งเป็นตัวสะกดของคำว่า “เงิน” จนมีคนเล่นพ้องคำว่า ”ขอให้เป็นปีที่มีงูเต็มเติ้น มีเงินเต็มตู้!”

วันนี้ผมเลยอยากมาพูดถึงความหมายของงูในทางจิตวิเคราะห์ดูบ้าง ก็ล้อไปตามเพจของเราที่เป็นเรื่องจิตวิเคราะห์ โดยในบทความนี้จะพูดถึงความหมายเชิงสัญลักษณ์ของงูจากทฤษฎีของ Sigmund Freud และ Carl Jung

[ งูในความหมายของ Freud ]

การพูดถึงความหมายเชิงสัญลักษณ์ของงูในทฤษฎีทางจิตวิเคราะห์ โดยหลักๆ แล้วก็จะมาจากเรื่องการวิเคราะห์ความฝันเวลาที่คนเราฝันเห็นงู ซึ่ง Freud เองก็พูดถึงความหมายของงูจากการตีความความฝันเช่นกัน

สำหรับ Freud เรารู้ดีว่าเขาให้ความสำคัญกับเรื่องแรงขับทางเพศหรือเรื่องเพศ ซึ่งเป็นการบอกว่าพลังงานทางเพศนี้แหละที่เป็นพลังงานจิตตามสัญชาตญาณของชีวิต

งูในความหมายของ Freud จึงมีความหมายแบบที่หลายคนรู้กันทั่วไปคือ ”งู = จู๋ (p***s)" แต่ความหมายเชิงสัญลักษณ์ที่แฝงอยู่ก็ไม่ได้ตรงตัวขนาดจะมาบอกว่าคนฝันเห็นงูคือปรารถนาจะเห็นจู๋

งูที่มีความหมายถึง p***s (จู๋) ในทฤษฎีของ Freud คือการพูดถึงพลังงานทางเพศและอำนาจแบบผู้ชาย (man power) หมายความว่า การฝันถึงงูจึงเป็นการปรารถนาพลังอำนาจบางอย่าง และอาจเป็นพลังอำนาจทางเพศหรือการตั้งครรภ์ก็ได้ (ในกรณีของผู้หญิง)

ความฝันหนึ่งของ Anna O. (เคสที่เป็นจุดเริ่มต้นจิตวิเคราะห์ของ Freud กับ Breuer) มีครั้งหนึ่งที่เธอฝันว่ากำลังถูกงูจู่โจม แต่เมื่อเธอมองไปที่มือตัวเองก็พบว่านิ้วมือของเธอมีลักษณะคล้ายงูขึ้นมา สุดท้าย งูพวกนั้นก็กัดพ่อของเธอและหายไปในความฝัน

เนื่องจาก Anna O. มีพ่อที่กำลังป่วยและสุขภาพย่ำแย่ลงเรื่อยๆ จนเธอต้องคอยดูแลจนกระทั่งพ่อของเธอสิ้นใจ Freud ตีความความฝันของ Anna O. ว่า งูในฝันที่กัดพ่อของเธอนั้นก็คงเป็นความปรารถนาของเธอเองที่อยากจะฆ่าเขาซะ เพราะไม่อยากเห็นเขาต้องทรมานต่อไป

ยังไงก็ตาม ความหมายของงูจากความฝันนี้ก็อาจดูไม่เกี่ยวข้องกับเรื่องพลังงานทางเพศหรือ p***s เลย แต่หากเรามองว่า p***s นั้นคือสัญลักษณ์ของอำนาจและการกระทำเรื่องผิดบาป (ตามความหมายของ id ที่ขัดแย้งกับศาสนาในมุมของ Freud) มันก็คือเรื่องเดียวกัน

นอกจากนี้ หากย้อนกลับไปที่ทฤษฎีปมโอดิปุส (Oedipus complex) ด้วยแล้ว การฝันถึงงูที่นอกจากเป็นการปรารถนาอำนาจแบบผู้ชายแล้ว ยังหมายถึงการหวาดกลัวอำนาจของจู๋ด้วยก็ได้ และทำให้ความหมายของการฝันเห็นงูในทางตรงข้าม เป็นไปในเชิงต่อต้าน คือ การหวาดกลัวความเปลี่ยนแปลง

งูในมุมของ Freud จึงดูเป็นไปได้ทั้งความปรารถนาและความหวาดกลัวต่ออำนาจ พลังงานทางเพศ การตั้งครรภ์ และการเปลี่ยนแปลง ซึ่งเป็นลักษณะสำคัญแบบจิตวิเคราะห์คือความขัดแย้งของจิตไร้สำนึก การตีความฝันเลยจำเป็นต้องอาศัยรายละเอียดและบริบทของความฝันและตัวผู้ฝัน

[งูในความหมายของ Carl Jung]

Jung มีมุมมองต่อการตีความงูในฝันเชิงสัญลักษณ์แบบเดียวกับ Freud แต่อย่างที่เรารู้กันดีว่า Jung ไม่เคยมองเรื่องพลังงานทางเพศว่าเป็นพลังงานของชีวิตแบบ Freud แต่เขามองว่าพลังงานทางเพศเป็นเพียงแค่ส่วนหนึ่งของพลังงานชีวิตทั้งหมดเท่านั้น

สำหรับ Jung เขามีความเป็นผู้เชื่อในพลังทางจิตวิญญาณมากกว่า และนั่นทำให้เขามองงูทั้งในความหมายของสัญลักษณ์แห่งแรงขับตามสัญชาตญาณ (instinct) และพลังวิญญาณจิต (spirit)

ในแง่แรงขับตามสัญชาตญาณ (the instinct) งูคือตัวแทนของระบบประสาทอัตโนมัติ (automatic nervous system) ซึ่งหมายความว่ามันเป็นศูนย์กลางของการมีชีวิตและการตื่น คล้ายการบอกว่าท่าทีที่คลืบคลานไปข้างหน้าของงูนั้นแหละคือสัญลักษณ์ของการก้าวเดินและปรารถนาต่อการดำรงอยู่

ในแง่พลังวิญญาณจิต (the spirit) งูคือตัวแทนของวิถีแห่งจิตวิญญาณ การเยียวยา และความอุดมสมบูรณ์ เพราะ Jung เชื่อมโยงมันเข้ากับแนวคิดทางศาสนาและพระคริสต์ของเขา (ในทางคริสต์ งูหมายถึงสัญลักษณ์ของพลังงานชั่วร้ายและความโกลาหล แต่ก็เป็นสัญลักษณ์ของการเยียวยาและการกำเนิดใหม่ด้วย)

ความหมายของงูในมุมของ Jung สะท้อนให้เห็นในกรณีของบาทหลวงคนหนึ่งที่ฝันเห็นงูสตาฟในพิพิธภัณฑ์ที่กลับมามีชีวิตอีกครั้ง ซึ่งการดิ้นไปมากลางอากาศของมันเสมือนการเติบโตทางจิตวิญญาณและการเปลี่ยนแปลงท่ามกลางอุปสรรค

[ทิ้งท้าย]

ในมุมมองทั้งสองของ Freud และ Jung เกี่ยวกับความหมายของงูนั้นเรียกได้ว่าน่าสนใจ และมีจุดร่วมกันในเรื่องของสัญลักษณ์แห่งพลังงานชีวิตและการเปลี่ยนผ่านท่ามกลางอุปสรรคหรือความขัดแย้ง

ในวัฒนธรรมเอเชียของเราเองก็มีคอนเซปต์แบบเดียวกันนี้ในศาสนาฮินดูเหมือนกันคือ งูเป็นสัตว์ประจำตัวของพระศิวะ และเป็นสัญลักษณ์ของชีวิตอมตะและปัญญาศักดิ์สิทธิ์ ขณะเดียวกัน มันก็เป็นสัญลักษณ์ของอำนาจ และ ความอุดมสมบูรณ์ ทั้งที่ด้านมืดของมันยังคงหมายถึงสิ่งล่อใจ การหลอกลวง และความโกลาหล

ในจีนและญี่ปุ่น ก็มองงูในฐานะตัวแทนของอำนาจทางธรรมชาติและการกำเนิดใหม่ พอๆ กับการมองว่างูก็เป็นมังกรขนาดย่อส่วน และเป็นสัญลักษณ์แห่งความอุดมสมบูรณ์เช่นกัน

ในปีงูนี้ ผมก็เลยขอให้เป็นปีแห่งความอุดมสมบูรณ์และมั่งคั่งสำหรับทุกคน รวมถึงเป็นปีที่จะได้เติบโตไปพร้อมกันนะครับ

สวัสดีปีใหม่ครับ

อ้างอิง
https://www.auntyflo.com/dream-dictionary/freud-and-jungs-snake-dream-interpretation
https://www.karigarofficial.com/blogs/blog/symbolism-and-importance-of-snakes-in-hinduism-ayurveda-and-mythology?srsltid=AfmBOop_n2YOKBuK_jIWonx9gtimpG1azigbvgot4VSfLY-iax01NBUO
https://www.globaltimes.cn/content/760792.shtml
https://chriswilsonstudio.com/snakes-in-japanese-mythology/

สวัสดีครับ ในตอนนี้ผมเพิ่งได้ลงคลิปของเดือนนี้ (ธันวาคม 2567) เป็นที่เรียบร้อย ซี่งถือว่าจะเป็นคลิปสุดท้ายของปีนี้ 😁เนื้...
22/12/2024

สวัสดีครับ ในตอนนี้ผมเพิ่งได้ลงคลิปของเดือนนี้ (ธันวาคม 2567) เป็นที่เรียบร้อย ซี่งถือว่าจะเป็นคลิปสุดท้ายของปีนี้ 😁

เนื้อหารอบนี้จะเป็นเรื่องของโรคซึมเศร้าในทฤษฎีของฟรอยด์ (Freud’s theory on depression) นะครับ

ซึ่งผมตั้งใจว่านี่จะเป็นคลิปสุดท้ายของฟรอยด์แล้ว และในคลิปถัดไปจะเริ่มต้นทำทฤษฎีของคนอื่นกันบ้าง 🤣🤣

____________________________________________

🦆 สามารถสนับสนุนเราได้ด้วยการกดไลค์ (Like) และ กดติดตาม (Subscribe) ช่องของเรา

Link >>

🧔🏻 เลคเชอร์ โดย เจษฎา กลิ่นพูล นักจิตวิทยาการปรึกษาเนื้อหาในวิดีโอนี้จะมาพูดถึงทฤษฎีของโรคซึมเศ....

แก้ไขในนาทีที่ 1:07:09 นะครับ (ปักหมุดคอมเมนต์แล้ว)https://youtu.be/jNO4wMN7gms?si=2SPP7Y1zN72wSEPkคำอธิบายเรื่อง Ideal ...
09/12/2024

แก้ไขในนาทีที่ 1:07:09 นะครับ (ปักหมุดคอมเมนต์แล้ว)

https://youtu.be/jNO4wMN7gms?si=2SPP7Y1zN72wSEPk

คำอธิบายเรื่อง Ideal Ego และ Ego Ideal มีความผิดพลาดอยู่นิดนึงนะครับ เนื่องจากว่าในทฤษฎีของฟรอยด์จริงๆ แล้วไม่ได้แยกระหว่าง 2 คอนเซปต์นี้ เวลาพูดถึง 'ego ideal' จะหมายถึงทั้งสิ่งที่ ego พยายามยะเป็นให้ได้ และเป็น superego ไปด้วย

ในขณะที่ ‘ideal ego’ เหมือนโผล่มาแค่ในการพูดถึง ego ของ narcissistic personality ที่หมายถึง ตัวแทนของ ego ที่ถูกทำให้เกินกว่าความเป็นจริงไปแล้วเท่านั้นครับ ซึ่งไม่ได้มีการพูดถึงอีกในทฤษฎีของฟรอยด์และไม่ได้มีส่วนในการอธิบายว่า ideal ego มีอิทธิพลต่อ ego ยังไง (เป็นแค่ภาพลวงตาด้านบวกเกินจริงของ ego เฉยๆ)

พอมีถึงทฤษฎี Lacan ถึงจะเริ่มมีการแยก 2 คอนเซปต์นี้ชัดๆ อีกทีครับ และต่างจากมุมของ Freud ในเรื่อง Ego-ideal

นิยามของ Ego-ideal ในมุมของ Lacan จะตรงกับ Superego ไปเลย คือ เป็นเหมือนตัวแทนของจิตที่มองเราในมุมบุคคลที่ 3 ซึ่งอยู่เหนือกว่าเรา (มองเราจากจุดของตัวตนที่สมบูรณ์แบบ) ทำให้กลายเป็นส่วนที่เข้ามาเฆี่ยนตีเราได้

ในขณะที่ Ideal ego คือตัวตนที่ ego จินตนาการถึงและอยากเป็นให้ได้ (การจินตนาการถึงตัวตนที่สมบูรณ์แบบ)

ขออภัยในความผิดพลาดด้วยครับ 🙏

🧔🏻 เลคเชอร์ โดย เจษฎา กลิ่นพูล นักจิตวิทยาการปรึกษาวันนี้จะมาเล่าถึงเนื้อหาสรุปจากเวิร์คช้อปที่....

สวัสดีทุกคนในวันแรกของเดือนธันวาคม 2567 ครับผมเพิ่งได้ลงคลิปล่าสุดของเดือนก่อน (พฤศจิกายน 2567) เมื่อเช้าที่ผ่านมาเนื่อง...
01/12/2024

สวัสดีทุกคนในวันแรกของเดือนธันวาคม 2567 ครับ

ผมเพิ่งได้ลงคลิปล่าสุดของเดือนก่อน (พฤศจิกายน 2567) เมื่อเช้าที่ผ่านมาเนื่องจากตัดคลิปไม่ทันภายในสิ้นเดือน แต่เพิ่งผ่านมาวันเดียว ถือว่าหยวนๆ กันไปแล้วกันนะครับ 🤣🤣

เนื้อหาคลิปรอบนี้ของเราจะมาเล่าถึงเนื้อหาสรุปจากเวิร์คช้อปที่เรื่อง "การสื่อสารกับคนที่รู้สึกไม่รักตัวเอง" ที่ผมได้ไปมา และผมจะมาเล่าทฤษฎีของ ความหลงตัวเอง (Narcissism) ในมุมจิตวิเคราะห์กันครับ

📜 ทฤษฎีเกี่ยวกับความหลงตัวเอง (narcissism) ที่ผมยกมาจะประกอบไปด้วยทฤษฎีของ Freud, Kernberg และ Kohut
____________________________________________

🦆 สามารถสนับสนุนเราได้ด้วยการกดไลค์ (Like) และ กดติดตาม (Subscribe) ช่องของเรา

Link >>

🧔🏻 เลคเชอร์ โดย เจษฎา กลิ่นพูล นักจิตวิทยาการปรึกษาวันนี้จะมาเล่าถึงเนื้อหาสรุปจากเวิร์คช้อปที่....

28/11/2024

จะหมดเดือนแล้ว แต่ผมยังตัดคลิปของเดือนนี้ไม่เสร็จเลยครับ 😅

ขออภัยสำหรับคนที่รอติดตามด้วยนะครับ

02/11/2024

วันนี้ผมไปเวิร์คช้อปเรื่อง ‘การรักตัวเอง’ กับ ‘self psychology' มาครับ

ผมเลยตัดสินใจว่าเนื้อหาของเดือนนี้จะเป็นเรื่อง self-love จากเวิร์คช้อปนี้ และประเด็น narcissistic (ความหลงตัวเอง) นะครับ

เดินทางมาถึงพาร์ทสุดท้ายวันนี้ผมได้อัพโหลดคลิปของเดือนนี้ในพาร์ทสุดท้าย ซึ่งเป็นการสรุปทฤษฎีทั้งหมดแบบคร่าวๆ จากทั้ง 4 พ...
21/10/2024

เดินทางมาถึงพาร์ทสุดท้าย

วันนี้ผมได้อัพโหลดคลิปของเดือนนี้ในพาร์ทสุดท้าย ซึ่งเป็นการสรุปทฤษฎีทั้งหมดแบบคร่าวๆ จากทั้ง 4 พาร์ทก่อนหน้าเป็นที่เรียบร้อยแล้วครับ

สำหรับเนื้อหาในเดือนถัดไปจะเป็นเรื่องอะไร ไว้คอยติดตามชมกันอีกทีนะครับ
_____________________________________________
Intro to Freud Part 2.5 - สรุปทฤษฎีจิตวิเคราะห์ของ ซิกมุนด์ ฟรอยด์

🧔🏻 เลคเชอร์ โดย เจษฎา กลิ่นพูล นักจิตวิทยาการปรึกษา
__________________________________________________________________
🦆 สามารถสนับสนุนเราได้ด้วยการกดไลค์ (Like) และ กดติดตาม (Subscribe) ช่องของเรา

Link >>

🧔🏻 เลคเชอร์ โดย เจษฎา กลิ่นพูล นักจิตวิทยาการปรึกษาคลิปวิดีโอนี้เป็นการเล่าทฤษฎีของ Sigmund Freud ตามลำดั....

สวัสดีทุกคนในเดือนตุลาคม 2567 ครับ 🙏เนื้อหาประจำเดือนนี้ของเราจะต่อเดือนที่แล้ว ซึ่งเป็นการเล่าแนวคิดและทฤษฎีของ Sigmund...
15/10/2024

สวัสดีทุกคนในเดือนตุลาคม 2567 ครับ 🙏

เนื้อหาประจำเดือนนี้ของเราจะต่อเดือนที่แล้ว ซึ่งเป็นการเล่าแนวคิดและทฤษฎีของ Sigmund Freud นะครับ

แต่เนื่องจากคลิปที่ผมทำมีรายละเอียดที่เยอะมาก ผมจึงได้ตัดสินใจจะแบ่งเนื้อหาออกเป็นทั้งหมด 5 พาร์ท (คลิป) นะครับ

โดยในพาร์ทสุดท้ายจะเป็นการสรุปทฤษฎีทั้งหมดอีกครั้ง หากใครไม่สะดวกฟังตั้งแต่พาร์ทแรกก็สามารถข้ามไปฟังพาร์ทสุดท้ายเพื่อทำความเข้าใจทฤษฎีของฟรอยด์ที่สอนกันทั่วไปในปัจจุบันได้เช่นกันครับ
_____________________________________________

Intro to Freud Part 2.1 - โมเดลพื้นที่ของจิต และ การทำจิตวิเคราะห์

🧔🏻 เลคเชอร์ โดย เจษฎา กลิ่นพูล นักจิตวิทยาการปรึกษา
__________________________________________________________________
🦆 สามารถสนับสนุนเราได้ด้วยการกดไลค์ (Like) และ กดติดตาม (Subscribe) ช่องของเรา
Link >>

🧔🏻 เลคเชอร์ โดย เจษฎา กลิ่นพูล นักจิตวิทยาการปรึกษาคลิปวิดีโอนี้เป็นการเล่าทฤษฎีของ Sigmund Freud ตามลำดั....

📣📣 เนื้อหาประจำเดือนกันยายน 2567 📣📣Intro to Freud Part 1 - ชีวประวัติ ซิกมุนด์ ฟรอยด์ [ SIAMESE PSYCHOANALYTIC ] 🧔🏻 เลคเ...
23/09/2024

📣📣 เนื้อหาประจำเดือนกันยายน 2567 📣📣
Intro to Freud Part 1 - ชีวประวัติ ซิกมุนด์ ฟรอยด์ [ SIAMESE PSYCHOANALYTIC ]

🧔🏻 เลคเชอร์ โดย เจษฎา กลิ่นพูล นักจิตวิทยาการปรึกษา

คลิปวิดีโอนี้เป็นการเล่าถึงประวติศาสตร์ของ ซิกมุนด์ ฟรอยด์ (Sigmund Freud) บิดาแห่งจิตวิเคราะห์ 🧔🏻‍♂️ เพื่อเป็นบทนำให้แต่ละคนได้รู้จักนักทฤษฎีผู้นี้กันก่อนที่จะไปทำความเข้าใจทฤษฎีของเขากัน

📜 การได้รู้ประวัติความเป็นมาของ Sigmund Freud อาจเป็นจุดเริ่มต้นให้เราพอจะได้เข้าใจวิธีคิดและพื้นฐานทัศนคติของเขาในการสร้างสรรค์ทฤษฎีที่อธิบายการทำงานของจิตใจ และพอจะเห็นได้ว่าจากประวัติศาสตร์ของเขาร่วมกับนักจิตวิเคราะห์คนอื่นๆ มีหน้าตาเป็นอย่างไร ซึ่งงานเขียนแต่ละช่วงชีวิตของเขาก็จะมีความสำคัญในการต่อยอดไปสู่ทฤษฎีที่หลากหลายอีกทีนึง

__________________________________________________________________
🦆 สามารถสนับสนุนเราได้ด้วยการกดไลค์ (Like) และ กดติดตาม (Subscribe) ช่องของเรา
Link >>

🧔🏻 เลคเชอร์ โดย เจษฎา กลิ่นพูล นักจิตวิทยาการปรึกษาคลิปวิดีโอนี้เป็นการเล่าถึงประวติศาสตร์ของ ซิ...

หลังจากที่ผมตัดคลิปใหม่เสร็จสิ้น ก็คิดว่าหรือปกคลิปนี้ควรจะเป็น....
22/09/2024

หลังจากที่ผมตัดคลิปใหม่เสร็จสิ้น ก็คิดว่าหรือปกคลิปนี้ควรจะเป็น....

เริ่มต้นตัดคลิปของเดือนนี้แแล้วครับ 🦆...🦆.......
20/09/2024

เริ่มต้นตัดคลิปของเดือนนี้แแล้วครับ 🦆...🦆.......

เปิดช่องมาได้ครบ 4 เดือน วันนี้มีผู้ติดตามใน Youtube ครบ 100 (+1) คนแล้วครับ
28/08/2024

เปิดช่องมาได้ครบ 4 เดือน วันนี้มีผู้ติดตามใน Youtube ครบ 100 (+1) คนแล้วครับ

แนะนำตัวอย่างเป็นทางการ กับ โปรเจค SIAMESE Psychoanalytic Society ครับ 🎉 สวัสดีครับ ผมเจ เจษฎา กลิ่นพูล นักจิตวิทยาการปร...
13/08/2024

แนะนำตัวอย่างเป็นทางการ กับ โปรเจค SIAMESE Psychoanalytic Society ครับ 🎉


สวัสดีครับ ผมเจ เจษฎา กลิ่นพูล นักจิตวิทยาการปรึกษา 🧔🏻
เจ้าของช่อง SIAMESE Psychoanalytic Society

วันนี้ขอถือโอกาสมาแนะนำตัวกับทุกคนที่ติดตามเราอย่างเป็นทางการ เพื่อบอกกับทุกคนว่าผมคือใคร เริ่มต้นทำช่องนี้ได้ยังไง และจุดประสงค์หลักของช่องนี้คืออะไร

ส่วนหนึ่งในวิดีโอที่ได้แจ้งว่า โปรเจคนี้ทำขึ้นเพื่อแบ่งปันมุมมองความรู้เท่านั้น หากใครที่สนใจรับบริการปรึกษาทางจิตวิทยากับผมในฐานะนักจิตวิทยาการปรึกษา
__________________________________________________________________
🦆 สามารถสนับสนุนเราได้ด้วยการกดไลค์ (Like) และ กดติดตาม (Subscribe) ช่องของเรา
Link >>

ัสดีครับ ผมเจ เจษฎา กลิ่นพูล นักจิตวิทยาการปรึกษา 🧔🏻 เจ้าของช่อง SIAMESE Psychoanalytic Societyวันนี้ขอถือโอกาสมาแ.....

เปิดโปรเจคมา 3 เดือนกว่าแล้วคลิปถัดไป ขออนุญาตแนะนำตัวอย่างเป็นทางการครับ
12/08/2024

เปิดโปรเจคมา 3 เดือนกว่าแล้ว
คลิปถัดไป ขออนุญาตแนะนำตัวอย่างเป็นทางการครับ

อัพโหลดครบทุกตอนแล้วครับ (3 parts)!รู้จักจิตวิเคราะห์แต่ละสายแบบคร่าวๆ [ Part 2 ] - Freudian/ Ego Psy/ Object Relation/ ...
07/08/2024

อัพโหลดครบทุกตอนแล้วครับ (3 parts)!

รู้จักจิตวิเคราะห์แต่ละสายแบบคร่าวๆ [ Part 2 ] - Freudian/ Ego Psy/ Object Relation/ Interpersonal

🧔🏻 เลคเชอร์ โดย เจษฎา กลิ่นพูล นักจิตวิทยาการปรึกษา

เนื้อหาในวิดีโอนี้มาจากบทความที่ผมเคยเขียนไว้เมื่อนานมาแล้ว (ลิ้งบทความอยู่ในคำอธิบายใต้คลิปวิดีโอ) เพื่อแนะนำให้คนที่เพิ่งเริ่มเข้ามาศึกษาศาสตร์จิตวิเคราะห์ได้พอมองเห็นภาพในมุมกว้างของศาสตร์นี้มากกว่าการมองทฤษฎีนี้ในมุมมองของ Sigmund Freud 🧔🏻‍♂️ เพียงอย่างเดียว

วิดีโอนี้ยังเป็นการต่อยอดจากคลิปวิดีโออื่นๆ ที่ผ่านมา ซึ่งได้พูดถึงนักทฤษฎีหลากหลายคนจนอาจทำให้เกิดความสับสนได้ว่า ศาสตร์จิตวิเคราะห์แท้จริงแล้วคืออะไร และใครเป็นนักทฤษฎีคนสำคัญในศาสตร์นี้บ้าง เนื่องจากมุมมองบางส่วนก็มีความขัดแย้งกันเองภายใต้ร่มของศาสตร์เดียวกัน 🤔
__________________________________________________________________

🦆 สามารถสนับสนุนเราได้ด้วยการกดไลค์ (Like) และ กดติดตาม (Subscribe) ช่องของเรา
Link >>

🧔🏻 เลคเชอร์ โดย เจษฎา กลิ่นพูล นักจิตวิทยาการปรึกษาเนื้อหาในวิดีโอนี้มาจากบทความที่ผมเคยเขียนไว....

📣📣  มาแล้ว 📣📣 เนื้อหาประจำเดือนสิงหาคม 2567รู้จักจิตวิเคราะห์แต่ละสายแบบคร่าวๆ [ Part 1 ] - จิตวิเคราะห์คืออะไร ? 🧔🏻 เลค...
04/08/2024

📣📣 มาแล้ว 📣📣
เนื้อหาประจำเดือนสิงหาคม 2567

รู้จักจิตวิเคราะห์แต่ละสายแบบคร่าวๆ [ Part 1 ] - จิตวิเคราะห์คืออะไร ?

🧔🏻 เลคเชอร์ โดย เจษฎา กลิ่นพูล นักจิตวิทยาการปรึกษา

เนื้อหาในวิดีโอนี้มาจากบทความที่ผมเคยเขียนไว้เมื่อนานมาแล้ว (ลิ้งบทความอยู่ในคำอธิบายใต้คลิปวิดีโอ) เพื่อแนะนำให้คนที่เพิ่งเริ่มเข้ามาศึกษาศาสตร์จิตวิเคราะห์ได้พอมองเห็นภาพในมุมกว้างของศาสตร์นี้มากกว่าการมองทฤษฎีนี้ในมุมมองของ Sigmund Freud 🧔🏻‍♂️ เพียงอย่างเดียว

วิดีโอนี้ยังเป็นการต่อยอดจากคลิปวิดีโออื่นๆ ที่ผ่านมา ซึ่งได้พูดถึงนักทฤษฎีหลากหลายคนจนอาจทำให้เกิดความสับสนได้ว่า ศาสตร์จิตวิเคราะห์แท้จริงแล้วคืออะไร และใครเป็นนักทฤษฎีคนสำคัญในศาสตร์นี้บ้าง เนื่องจากมุมมองบางส่วนก็มีความขัดแย้งกันเองภายใต้ร่มของศาสตร์เดียวกัน 🤔
__________________________________________________________________

🦆 สามารถสนับสนุนเราได้ด้วยการกดไลค์ (Like) และ กดติดตาม (Subscribe) ช่องของเรา

Link >>

🧔🏻 เลคเชอร์ โดย เจษฎา กลิ่นพูล นักจิตวิทยาการปรึกษาเนื้อหาในวิดีโอนี้มาจากบทความที่ผมเคยเขียนไว....

ที่อยู่

Bangkok

เวลาทำการ

เสาร์ 10:00 - 20:00
อาทิตย์ 10:00 - 20:00

แจ้งเตือน

รับทราบข่าวสารและโปรโมชั่นของ Siamese Psychoanalytic Societyผ่านทางอีเมล์ของคุณ เราจะเก็บข้อมูลของคุณเป็นความลับ คุณสามารถกดยกเลิกการติดตามได้ตลอดเวลา

แชร์