Green Network Green Network สื่อกลางเพื่อสาระ ความรู้ด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยื่น

3 องค์กรชั้นนำเสนอภาครัฐรับรอง “สิทธิในการซ่อม” หวังลดขยะอิเล็กทรอนิกส์กว่า 450,000 ตันต่อปีสถาบันนโยบายสาธารณะเอเชียตะว...
24/02/2025

3 องค์กรชั้นนำเสนอภาครัฐรับรอง “สิทธิในการซ่อม” หวังลดขยะอิเล็กทรอนิกส์กว่า 450,000 ตันต่อปี
สถาบันนโยบายสาธารณะเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สถาบันสิ่งแวดล้อมไทย (TEI) และมหาวิทยาลัยรังสิต ร่วมจัดทำรายงานใหม่ล่าสุด เปิดเผยถึงโอกาสสำคัญที่ประเทศไทยจะสามารถก้าวขึ้นเป็นผู้นำในระดับภูมิภาคในการเคลื่อนไหวและกฎหมายสิทธิในการซ่อม “อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์” (Right to Repair – R2R)
แนวคิด R2R คือ การที่ผู้บริโภคควรมีสิทธิในการซ่อมผลิตภัณฑ์ของตนเอง โดยสามารถเข้าถึงอะไหล่ เครื่องมือ และคู่มือการซ่อมได้ ตั้งแต่เครื่องจักรกลการเกษตร ยานยนต์ ไปจนถึงเครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งปัจจุบันผู้ผลิตหลายรายได้กำหนดข้อจำกัดทั้งทางกายภาพ กฎหมาย และดิจิทัล เพื่อปิดกั้นการซ่อมโดยอิสระ R2R จึงมีบทบาทสำคัญในการคุ้มครองสิทธิด้านการซ่อม พร้อมทั้งลดข้อจำกัดด้านซอฟต์แวร์ที่จะช่วยป้องกันไม่ให้อะไหล่ทดแทนใช้งานได้ ซึ่งเป็นที่รู้จักกันในชื่อ ‘Parts Pairing’ หรือ การจับคู่ชิ้นส่วน ที่ส่งผลให้ค่าซ่อมเพิ่มขึ้นอย่างมาก
การขาดทางเลือกของผู้บริโภค ค่าใช้จ่ายที่สูงขึ้น และผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม เป็นแรงผลักดันสำคัญให้ R2R เรียกร้องให้ผลิตภัณฑ์สามารถซ่อมได้ง่ายขึ้น เพื่อให้สิทธิและผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจมากขึ้นแก่ผู้บริโภค หลายรัฐในสหรัฐอเมริกาได้ผ่านกฎหมายดังกล่าวแล้ว และปัจจุบันมีอีก 30 รัฐที่กำลังพิจารณาร่างกฎหมายดังกล่าว ขณะที่สหภาพยุโรปได้ประกาศใช้กฎหมาย R2R ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2567 ซึ่งห้ามผู้ผลิตกำหนดข้อจำกัดในการซ่อม และบังคับให้ผู้ผลิตต้องจัดหาอะไหล่และเครื่องมือในราคาที่สมเหตุสมผล
//--- สนใจอ่านต่อ คลิกลิงค์ในคอมเม้นท์ใต้โพสต์ ---//
#ลดขยะ #ขยะอิเล็กทรอนิกส์

Flexitarian-กินมังฯ แบบยืดหยุ่นเทรนด์บริโภคใหม่ช่วยลดโลกร้อน
20/02/2025

Flexitarian-กินมังฯ แบบยืดหยุ่น
เทรนด์บริโภคใหม่ช่วยลดโลกร้อน

Flexitarian-กินมังฯ แบบยืดหยุ่น
เทรนด์บริโภคใหม่ช่วยลดโลกร้อน
.
การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเป็นหนึ่งในวิกฤตการณ์สิ่งแวดล้อมที่ร้ายแรงที่สุดในประวัติศาสตร์มนุษยชาติ โดยที่วงจรชีวิตและห่วงโซ่อุปทานของผลิตภัณฑ์ปศุสัตว์เป็นหนึ่งในปัจจัยหลักที่ส่งผลต่อการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั่วโลก การศึกษาจากแคนาดาในปี 2010 เตือนว่า หากการผลิตปศุสัตว์ทั่วโลกยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจนถึงปี 2050 คาร์บอนที่ปล่อยจากภาคปศุสัตว์เพียงอย่างเดียวอาจผลักดันให้โลกเข้าสู่ภาวะโลกร้อนที่ไม่สามารถควบคุมได้ โดยอุณหภูมิโลกอาจสูงเกิน 2 องศาเซลเซียส ซึ่งเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญที่จะสร้างความเสียหายต่อความมั่นคงของระบบนิเวศในระดับโลก (1)
แม้ปัญหานี้จะดูใหญ่และซับซ้อน แต่จุดเริ่มต้นของการแก้ไขสามารถเริ่มได้จากระดับบุคคล โดยที่การลดการบริโภคผลิตภัณฑ์ปศุสัตว์เพียง 25% จะสามารถช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากกิจกรรมของมนุษย์ทั่วโลกได้ถึง 12.5% การเปลี่ยนแปลงเล็ก ๆ นี้ไม่เพียงแต่ช่วยลดผลกระทบจากการผลิตปศุสัตว์ต่อสิ่งแวดล้อม แต่ยังส่งผลในระดับมหภาคที่ช่วยฟื้นฟูสมดุลของระบบนิเวศและลดความรุนแรงของภาวะโลกร้อนในระยะยาวอีกด้วย (1)
ปัจจุบันการบริโภคอาหารแบบที่เรียกว่า Flexitarian (คำผสมระหว่าง Flexible และ Vegetarian) หรือการกินมังสวิรัติแบบยืดหยุ่น กำลังได้รับความสนใจในฐานะทางออกสำคัญต่อปัญหาสิ่งแวดล้อมจาก “การกิน”แนวทางนี้ไม่ได้หมายถึงการละเว้นเนื้อสัตว์ทั้งหมด แต่เน้นการลดปริมาณการบริโภคเนื้อสัตว์ลงและเพิ่มพืชเป็นแหล่งโปรตีนหลัก เพื่อสร้างสมดุลให้กับสุขภาพและธรรมชาติ (3)
การลดปริมาณเนื้อสัตว์ในมื้ออาหารและเพิ่มพืชเป็นแหล่งโปรตีนสำคัญไม่เพียงช่วยลดภาวะโลกร้อนเท่านั้น งานวิจัยใน Science Advances ชี้ว่า การลดการบริโภคเนื้อสัตว์และเพิ่มพืชสามารถช่วยให้อุณหภูมิโลกคงที่ไม่เกิน 1.5 องศาเซลเซียส ช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการเกษตร เช่น ก๊าซมีเทนและไนตรัสออกไซด์ รวมถึงลดผลกระทบต่อทรัพยากรน้ำ และความหลากหลายทางชีวภาพ นอกจากนี้ ยังช่วยลดต้นทุนทางเศรษฐกิจที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ รวมถึงความเสื่อมโทรมของระบบนิเวศ และคาดว่าจะลดต้นทุนการลดคาร์บอนได้ถึง 43% ภายในปี 2050 (2)

การรับประทานมังสวิรัติแบบยืดหยุ่นสามารถทำได้ง่ายและปรับให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตที่หลากหลาย การลดปริมาณเนื้อสัตว์ เช่น การงดมื้อเนื้อสัปดาห์ละครั้ง หรือการเลือกใช้ผลิตภัณฑ์จากพืชแทนเนื้อสัตว์ในบางมื้อ เป็นการเริ่มต้นที่มีประสิทธิภาพ โดยในหลายประเทศ เช่น เบลเยียม บราซิล และเยอรมนี ได้เริ่มโครงการส่งเสริมการลดบริโภคเนื้อสัตว์ในโรงเรียนและสถานที่ทำงานแล้ว ซึ่งเป็นแรงผลักดันสำคัญในการสร้างการเปลี่ยนแปลงเชิงระบบ (1)
ยิ่งไปกว่านั้น ตลาดอาหารจากพืชกำลังเติบโตอย่างรวดเร็ว โดยในสหรัฐฯ มีมูลค่าถึง 7,400 ล้านดอลลาร์ในปี 2021 ยอดขายโปรตีนและนมจากพืชเพิ่มขึ้นอย่างมาก โดยโปรตีนจากพืชเติบโตถึง 74% ในสามปี ขณะที่นมทางเลือก เช่น ถั่วเหลืองและอัลมอนด์ เติบโต 33% แนวโน้มนี้สะท้อนถึงการที่ผู้บริโภคทั่วโลกเริ่มลดการบริโภคผลิตภัณฑ์จากสัตว์และหันมาเลือกอาหารที่ยั่งยืนมากขึ้น (3)
นอกจากนี้ การสำรวจพบว่า ตลาดเนื้อสัตว์ทางเลือกทั่วโลกจะเติบโตจาก 7,000 ล้านดอลลาร์ในปี 2021 สู่ 17,000 ล้านดอลลาร์ในปี 2026 การลดการบริโภคผลิตภัณฑ์จากสัตว์ยังช่วยลดการใช้พื้นที่เกษตรกรรม โดยปัจจุบันพื้นที่กว่า 80% ใช้เลี้ยงสัตว์หรือปลูกอาหารสัตว์ ซึ่งสามารถเปลี่ยนมาใช้ปลูกพืชสำหรับคนได้มากขึ้น (3)
ระบบอาหารที่พึ่งพาปศุสัตว์อย่างหนักเป็นแหล่งปล่อยก๊าซเรือนกระจกสำคัญ โดยคิดเป็น 1 ใน 3 ของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั่วโลก ปศุสัตว์ในภาคอุตสาหกรรมใช้น้ำและพื้นที่อย่างมหาศาลถึง 77% ของพื้นที่เพาะปลูกทั่วโลกสำหรับปลูกพืชเลี้ยงสัตว์ ขณะที่พื้นที่เพียง 23% ใช้ปลูกพืชอาหารเพื่อมนุษย์โดยตรง หากผู้คนยังคงพึ่งพาปศุสัตว์ในรูปแบบเดิม เมื่อประชากรโลกเพิ่มขึ้นจาก 7,900 ล้านคนในปัจจุบันเป็น 10,000 ล้านคนภายในปี 2050 จะต้องใช้พื้นที่เกษตรกรรมเพิ่มขึ้นเท่ากับพื้นที่ของประเทศไทยถึง 12 ประเทศ ซึ่งเกินขีดจำกัดของโลกในปัจจุบัน (4)
การบริโภคเนื้อสัตว์ที่มากเกินไป โดยเฉพาะในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกและประเทศพัฒนาแล้ว เช่น สหรัฐฯ และออสเตรเลีย ไม่เพียงแต่ทะลุ “เขตจำกัดของโลก” (Planetary Boundaries) แต่ยังเกิน “เขตสุขภาพ” (Healthy Boundary) ถึง 2 เท่า ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญของโรคไม่ติดต่อ (NCDs) เช่น โรคหัวใจและเบาหวาน การเปลี่ยนมาบริโภคอาหารแบบ Flexitarian ที่เน้นโปรตีนจากพืชและลดเนื้อสัตว์ในมื้ออาหารสามารถช่วยแก้ปัญหาด้านสุขภาพได้ นักวิจัยคาดว่า หากปรับพฤติกรรมนี้อย่างกว้างขวางจะสามารถช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพได้ถึง 1.6 แสนล้านดอลลาร์ หรือประมาณ 5.6 ล้านล้านบาทต่อปี พร้อมทั้งสามารถช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และรักษาสมดุลของโลกอย่างยั่งยืน (4)
การเปลี่ยนพฤติกรรมการกินไม่จำเป็นต้องทำแบบสุดโต่งหรือยกเครื่องใหม่ทั้งหมด ผู้เชี่ยวชาญแนะนำว่า การเริ่มต้นจากการปรับเปลี่ยนเล็ก ๆ น้อย ๆ เช่น ลดการบริโภคเนื้อสัตว์ลงวันหรือสองวันต่อสัปดาห์ เป็นวิธีที่ง่ายและไม่สร้างความกดดัน นอกจากนี้ การเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ทางเลือกจากพืช เช่น อาหารจากพืช ไส้กรอก หรือผลิตภัณฑ์นมทางเลือกอย่างนมอัลมอนด์และโยเกิร์ตมะพร้าว ยังช่วยให้การปรับตัวเป็นเรื่องที่ไม่น่าเบื่อและสร้างความหลากหลายในมื้ออาหารอีกด้วย (5)
สำหรับผู้ที่เริ่มต้น การลองค้นหาร้านอาหารที่มีเมนูอาหารมังสวิรัติหรือวีแกนในละแวกใกล้บ้าน หรือลองทำอาหารง่าย ๆ ที่ลดเนื้อสัตว์โดยเพิ่มถั่วแทนนับเป็นตัวเลือกที่ดี นอกจากนี้ การวางแผนมื้ออาหารล่วงหน้าจะช่วยให้การเปลี่ยนมาสู่การบริโภคแบบยืดหยุ่นทำได้ง่ายขึ้น และยังช่วยให้ผู้บริโภคมีโอกาสสนุกกับการทดลองสูตรอาหารใหม่ ๆ ที่ทั้งอร่อย และดีต่อสุขภาพ (5)
ในอนาคต การกินมังสวิรัติแบบยืดหยุ่น หรือ Flexitarian อาจกลายเป็นแนวทางหลักที่กำหนดทิศทางการบริโภคอาหารทั่วโลก การปรับลดการบริโภคเนื้อสัตว์และเพิ่มอาหารที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมไม่ได้ส่งผลดีต่อสุขภาพของมนุษย์เท่านั้น แต่ยังช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสร้างสมดุลให้กับระบบนิเวศ การมีส่วนร่วมของทุกคนในการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการบริโภค แม้เพียงเล็กน้อย สามารถสร้างผลลัพธ์เชิงบวกที่ยิ่งใหญ่ และยั่งยืนต่ออนาคตของโลกใบนี้ได้
.
ที่มา:
(1) https://sdgs.un.org/partnerships/flexitarianism-flexible-or-part-time-vegetarianism
(2) https://www.theguardian.com/environment/2024/mar/27/flexitarian-diets-global-warming-climate-change
(3) https://www.weforum.org/stories/2022/10/vegan-plant-based-diets-sustainable-food/
(4) https://www.igreenstory.co/farming-for-tomorrow/?fbclid=IwY2xjawHDc-tleHRuA2FlbQIxMAABHZ1qsRTvqIqnXmhr4GEl53Gz4bmu0pCzP_LNzDr-lTw24qx32K1Y0s3Rnw_aem_CS9xOTE0x5piMFaXjEsLFg
(5) https://www.nzherald.co.nz/lifestyle/part-time-vegan-the-case-for-going-flexitarian-in-2024/ZJINTL56KNAHPAYG2G5Z5WIKJU/
"ประเทศไทยเติบโตอย่างยั่งยืนด้วยเศรษฐกิจคาร์บอนต่ำและมีภูมิคุ้มกันต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศด้วยการมีส่วนร่วมของประชาชน"

#กรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม

“สหพัฒนพิบูล” ชวนชุมชนแยกขยะ สร้างโมเดลต้นแบบสู่ความยั่งยืน กับ โครงการ Green PLEASE by SPC @ชุมชนบริษัท สหพัฒนพิบูล จำก...
20/02/2025

“สหพัฒนพิบูล” ชวนชุมชนแยกขยะ สร้างโมเดลต้นแบบสู่ความยั่งยืน กับ โครงการ Green PLEASE by SPC @ชุมชน

บริษัท สหพัฒนพิบูล จำกัด (มหาชน) หรือ SPC ผู้จัดจำหน่ายสินค้าอุปโภคบริโภคชั้นนำของไทย นำโดย นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ รองประธานกรรมการ พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร ได้แก่ นางชัยลดา ตันติเวชกุล รองกรรมการผู้อำนวยการ นายเพชร พะเนียงเวทย์ กรรมการบริษัท และผู้อำนวยการฝ่ายการตลาด และนางนพวรรณ คล้ายโอภาส ผู้อำนวยการฝ่ายทรัพยากรบุคคล ร่วมกัน เปิดโครงการ Green PLEASE by SPC @ชุมชน ณ บริเวณหน้ามัสยิดดารุ้ลมุห์ซีนีน ชุมชนสุเหร่าบ้านดอน เพื่อร่วมส่งเสริมชุมชนในพื้นที่เข้าร่วมการคัดแยกขยะ เริ่มจากขวดพลาสติก เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการลดปริมาณขยะ และลดผลกระทบที่เกิดขึ้นกับสิ่งแวดล้อม

#คัดแยกขยะ #ลดปริมาณขยะ

บริษัท สหพัฒนพิบูล จำกัด (มหาชน) หรือ SPC ผู้จัดจำหน่ายสินค้าอุปโภคบริโภคชั้นนำของไทย นำโดย นายอภิสิทธิ์ เวชช....

Khiri Travel จับมือ The Long Run มุ่งสู่การท่องเที่ยวที่ยั่งยืนKhiri Travel บริษัทบริหารจัดการการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน ...
18/02/2025

Khiri Travel จับมือ The Long Run มุ่งสู่การท่องเที่ยวที่ยั่งยืน

Khiri Travel บริษัทบริหารจัดการการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน ระดับชั้นนำในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เข้าร่วมเป็นสมาชิก The Long Run องค์กรพันธมิตรธุรกิจท่องเที่ยวเครือข่ายระดับโลก ที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างผลกระทบเชิงบวกให้กับสังคมและสิ่งแวดล้อม

#การท่องเที่ยวยั่งยืน

Khiri Travel บริษัทบริหารจัดการการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน ระดับชั้นนำในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เข้าร่วมเป็นสมาชิ...

COORSTEK ประเทศไทยติดตั้งระบบพลังงานแสงอาทิตย์ภายในโรงงานCoorsTek ผู้ผลิตเซรามิกส์เทคนิคชั้นนำระดับโลก ได้ติดตั้งระบบพลั...
18/02/2025

COORSTEK ประเทศไทยติดตั้งระบบพลังงานแสงอาทิตย์ภายในโรงงาน

CoorsTek ผู้ผลิตเซรามิกส์เทคนิคชั้นนำระดับโลก ได้ติดตั้งระบบพลังงานแสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนหลังคาอาคารและที่จอดรถ ขนาด 1.5 เมกะวัตต์-พีค (MWp) ที่โรงงานในจังหวัดระยอง โดย CoorsTek ได้ร่วมมือกับ TotalEnergies ทางด้านวิศวกรรม และการก่อสร้าง

#ระบบพลังงานแสงอาทิตย์ #พลังงานหมุนเวียน

ระยอง, ประเทศไทย — 10 กุมภาพันธ์ 2568 — CoorsTek ผู้ผลิตเซรามิกส์เทคนิคชั้นนำระดับโลก ได้ติดตั้งระบบพลังงานแสงอาทิตย...

The Nova Expo x Thai ESCO ผนึกพลังครั้งยิ่งใหญ่ ผลักดันอสังหาฯไทยคาร์บอนเป็นศูนย์ "Climate Finance and Investment" ธุรกิ...
18/02/2025

The Nova Expo x Thai ESCO ผนึกพลังครั้งยิ่งใหญ่ ผลักดันอสังหาฯไทยคาร์บอนเป็นศูนย์
"Climate Finance and Investment"
ธุรกิจ Energy Service Company ทั้งรูปแบบการปรับปรุงการใช้พลังงาน และธุรกิจพลังงานรูปแบบใหม่ "พลังงานความเย็น"
กับการสนับสนุนจากนโยบายโลก กองทุนนานาชาติ นโยบายรัฐไทย แบงค์ชาติ และธนาคารชั้นนำของไทย
ลงทะเบียนเข้างานล่วงหน้าได้เลย https://www.zipeventapp.com/e/The-Nova-Expo-2025
ครั้งแรกในไทย กับความชัดเจนขั้นสุด
- Green Fund, ESG Fund, Taxonomy คืออะไร ทำไมทุกคนได้ประโยชน์
- รายละเอียดธุรกิจและการเข้าถึงสิทธิประโยชน์มากมาย
- วันที่ 13 มีนาคม 2568 เวลา 15.15 – 16.30 น.
บนเวที Main Stage พบกับการสัมมนาในหัวข้อ
Climate Finance & Thailand’s Taxonomy : Driving Sustainable Construction & Real Estate
Moderator : คุณกษริน ธีระโกเมน Thai ESCO
เสวนาบนเวทีใหญ่ กับผู้ใหญ่ของวงการ คุณพนิตตรา เวชชาชีวะ กรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม ธนาคารแห่งประเทศไทย คณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย มูลนิธิสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย
- วันที่ 13 มีนาคม 2568 เวลา 10.00 – 11.00 น.
ณ ห้อง Conference 2 พบกับการสัมมนาในหัวข้อ
Cooling as a Service : ธุรกิจพลังงานรูปแบบใหม่ที่ได้ประโยชน์กับทุกภาคส่วน
Moderator : Mr.Peerasut Thirakomen
โดย คุณกมล ตันพิพัฒน์ UNISUS | Mr.Pidchapad Kidkirdsang BNSP | Maggie Tan Keppel
รวบรวมครบถ้วน จบที่นี่ที่เดียว พลาดไม่ได้

กรมลดโลกร้อน เผยการจัดอันดับ Climate Risk Index 2025 ไทยหลุดอันดับประเทศเสี่ยงสูงจาก 9 ไปอันดับ 30
17/02/2025

กรมลดโลกร้อน เผยการจัดอันดับ Climate Risk Index 2025 ไทยหลุดอันดับประเทศเสี่ยงสูงจาก 9 ไปอันดับ 30

กรมลดโลกร้อน เผยการจัดอันดับ Climate Risk Index 2025 ไทยหลุดอันดับประเทศเสี่ยงสูงจาก 9 ไปอันดับ 30

กรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม เปิดเผยข้อมูล จากรายงาน Climate Risk Index 2025 โดย Germanwatch จัดอันดับประเทศเสี่ยงสูงด้านสภาพภูมิอากาศระยะยาวในช่วง 30 ปี (1993-2022) โดยประเทศไทยถูกจัดอยู่ในอันดับที่ 30 ลดลงจากอันดับ 9 เทียบกับ 4 ปีที่แล้ว (ช่วงปี 2000-2019) แต่ยังต้องเตรียมพร้อมตั้งรับและปรับตัวกับสภาพภูมิอากาศที่แปรปรวนภายใต้ภาวะโลกเดือดอย่างต่อเนื่อง
วันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2568 ดร.พิรุณ สัยยะสิทธิ์พานิช อธิบดีกรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม กล่าวว่า จากรายงาน Climate Risk Index 2025 โดย Germanwatch ซึ่งเผยแพร่เมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา ได้ระบุว่าในช่วงปี 1993-2022 ภัยพิบัติทางธรรมชาติคร่าชีวิตคนกว่า 765,000 คน และสร้างความเสียหายเกือบ 4.2 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ อันเป็นผลโดยตรงจากเหตุการณ์สภาพอากาศสุดขั้วมากกว่า 9,400 ครั้ง ซึ่งผลกระทบที่สำคัญที่สุดจากเหตุการณ์สภาพอากาศสุดขั้ว ได้แก่ พายุ (35%) คลื่นความร้อน (30%) และอุทกภัย (27%) ที่เป็นสาเหตุหลักของการเสียชีวิต โดยอุทกภัยส่งผลกระทบต่อประชากรมากที่สุด คิดเป็นครึ่งหนึ่งของผู้ได้รับผลกระทบทั้งหมด ขณะที่พายุก่อให้เกิดความสูญเสียทางเศรษฐกิจมากที่สุด คิดเป็น 56% ของมูลค่าความเสียหายทางเศรษฐกิจทั้งหมด หรือประมาณ 2.33 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ รองลงมาคือ อุทกภัย คิดเป็น 32% หรือประมาณ 1.33 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งดัชนีความเสี่ยงด้านสภาพภูมิอากาศ จัดทำขึ้นโดยใช้ข้อมูลจากแหล่งต่าง ๆ เช่น ฐานข้อมูลเหตุการณ์ภัยพิบัติระดับสากล (EM-DAT) ธนาคารโลก (World Bank) และกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) โดยพิจารณาจากตัวชี้วัดหลัก ได้แก่ จำนวนผู้เสียชีวิต จำนวนประชากรที่ได้รับผลกระทบ และความเสียหายทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นจากเหตุการณ์สภาพอากาศสุดขั้ว เช่น พายุ น้ำท่วม คลื่นความร้อน ภัยแล้ง ไฟป่า วิธีการนี้จะสามารถเปรียบเทียบผลกระทบของภัยพิบัติในประเทศต่าง ๆ และสะท้อนถึงแนวโน้มของความเสี่ยงด้านสภาพภูมิอากาศในแต่ละปี และแนวโน้มระยะยาว 30 ปี
รายงานฉบับนี้ ระบุว่า ในปี 2022 ประเทศที่ได้รับผลกระทบหนักที่สุดจากเหตุการณ์สภาพอากาศรุนแรง 10 อันดับ ได้แก่ ปากีสถาน เบลีซ อิตาลี กรีซ สเปน เปอร์โตริโก สหรัฐอเมริกา ไนจีเรีย โปรตุเกส และบัลแกเรีย ตามลำดับ ซึ่งทุกประเทศล้วนเผชิญกับพายุ น้ำท่วม และคลื่นความร้อนที่รุนแรง ในกรณีของปากีสถานเป็นประเทศที่ได้รับผลกระทบอย่างหนักจากน้ำท่วมครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ ซึ่งทำให้มีผู้เสียชีวิตกว่า 1,700 คน และสร้างความเสียหายทางเศรษฐกิจอย่างมหาศาล ส่วนอิตาลีและกรีซต้องเผชิญกับคลื่นความร้อนที่ทำให้อุณหภูมิพุ่งสูงเกิน 40 องศาเซลเซียส ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตจำนวนมาก และเกิดไฟป่าขนาดใหญ่ที่สร้างความเสียหายอย่างหนัก สำหรับดัชนีความเสี่ยงด้านสภาพภูมิอากาศระยะยาว (1993-2022) ประเทศที่มีความเสี่ยงมากที่สุด แบ่งเป็น 2 กลุ่มหลัก ได้แก่ 1) ประเทศที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์สภาพอากาศสุดขั้วที่เกิดขึ้นอย่างผิดปกติอย่างรุนแรง เช่น โดมินิกา ฮอนดูรัส เมียนมา และวานูอาตู 2) ประเทศที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์สภาพอากาศสุดขั้วที่เกิดขึ้นซ้ำ ๆ เช่น จีน อินเดีย และฟิลิปปินส์ ซึ่งรายงานเตือนว่า แนวโน้มสภาพอากาศสุดขั้วกำลังกลายเป็น “ความปกติใหม่” โดยเหตุการณ์ที่เคยถูกมองว่าเป็นเรื่องผิดปกติ กำลังกลายเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นบ่อยขึ้น และรุนแรงขึ้น
นอกจากนี้ ได้ระบุว่า ในปี 2022 ประเทศไทยมีค่าดัชนีความเสี่ยงด้านสภาพภูมิอากาศ (Climate Risk Index: CRI) อยู่ในอันดับที่ 72 แสดงถึงผลกระทบจากเหตุการณ์สภาพอากาศสุดขั้วของไทยลดลง เมื่อเทียบกับปี 2019 ที่อยู่ในอันดับ 34 ในขณะที่ค่าดัชนีความเสี่ยงด้านสภาพภูมิอากาศระยะยาว ที่ประเมินผลกระทบจากเหตุการณ์สภาพอากาศสุดขั้วในช่วงระยะเวลา 30 ปี (1993-2022) พบว่า ประเทศไทยอยู่ในอันดับ 30 แสดงถึงผลกระทบจากเหตุการณ์สภาพอากาศสุดขั้วของไทยในระยะยาว ลดลงเมื่อเทียบกับ 4 ปีที่แล้ว ที่อยู่ในอันดับ 9 โดยขณะนั้นเป็นการประเมินผลกระทบจากเหตุการณ์สภาพอากาศสุดขั้วในช่วงระยะเวลา 20 ปี (2000-2019) ซึ่งสาเหตุที่อันดับของประเทศไทยลดลงอย่างมาก มาจากหลายปัจจัย เช่น ตลอดช่วง 3-4 ปีที่ผ่านมา ประเทศอื่น ๆ เผชิญกับความสูญเสียและความเสียหายจากภัยพิบัติทางสภาพอากาศที่รุนแรงกว่า สำหรับผลกระทบที่เกิดขึ้นกับประเทศไทยลดลงเนื่องจากการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น การปรับปรุงวิธีการประเมินดัชนีความเสี่ยง ซึ่งเพิ่มตัวชี้วัดจำนวนประชากรที่ได้รับผลกระทบ และปรับเปลี่ยนช่วงระยะเวลาที่นำมาใช้ในการประเมินดัชนีความเสี่ยงด้านสภาพภูมิอากาศระยะยาว จากเดิม 20 ปี เป็น 30 ปี
“ถึงแม้ว่าประเทศไทยจะไม่ติดอันดับต้น ๆ ของประเทศที่มีความเสี่ยงสูงแล้ว แต่ประเทศไทยจะยังคงเผชิญกับผลกระทบต่างๆ อย่างต่อเนื่อง เช่น อุณหภูมิที่สูงเป็นประวัติการณ์ในช่วงฤดูร้อน ภัยแล้ง ปริมาณฝนที่ตกหนักผิดปกติ จนส่งผลให้เกิดน้ำท่วม ดินถล่ม เป็นต้น สิ่งที่สำคัญที่สุดคือการเตรียมความพร้อมรับมือและการปรับตัวให้เข้ากับสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงไป เช่น การเพิ่มประสิทธิภาพระบบเตือนภัยล่วงหน้า ให้มีความแม่นยำ การสื่อสารที่เข้าถึงประชาชนอย่างทันท่วงที การพัฒนาระบบการบริหารจัดการน้ำ รวมถึงการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เพื่อช่วยลดอุณหภูมิโลก เป็นต้น ซึ่งจะทำให้ประเทศไทยและคนไทยมีภูมิคุ้มกันต่อภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลง ท่ามกลางภัยพิบัติที่ทวีความรุนแรงมากขึ้นในอนาคต” ดร.พิรุณ กล่าวทิ้งท้าย
"ประเทศไทยเติบโตอย่างยั่งยืนด้วยเศรษฐกิจคาร์บอนต่ำและมีภูมิคุ้มกันต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศด้วยการมีส่วนร่วมของประชาชน"

#กรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม

กรีน เยลโล่ ธุรกิจพลังงานสีเขียว เผยแนวคิดสู่ความยั่งยืนกรีน เยลโล่ (GreenYellow) แนวร่วมด้านความยั่งยืนผู้นำด้านการสร้า...
17/02/2025

กรีน เยลโล่ ธุรกิจพลังงานสีเขียว เผยแนวคิดสู่ความยั่งยืน
กรีน เยลโล่ (GreenYellow) แนวร่วมด้านความยั่งยืนผู้นำด้านการสร้างผลกระทบเชิงบวก หรือ Impact Maker ผู้เป็นเบื้องหน้าด้านพลังงานสีเขียว และพร้อมเป็นเบื้องหลังให้องค์กรก้าวไปสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน ทั้งยังเป็นหนึ่งในพันธมิตรของชไนเดอร์ อิเล็คทริค
ภายใต้วิกฤตการณ์ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ หรือ Climate change ทำให้ทั่วโลกต่างร่วมมือกันปรับตัวเพื่อสร้างโลกที่ยั่งยืน กรีน เยลโล่ เป็นผู้ให้บริการโซลาร์ PPA (Solar PPA) ระบบพลังงานแสงอาทิตย์ ที่ให้การลงทุน ติดตั้ง ดูแลและบำรุงรักษาระบบโซลาร์เซลล์ แบบครบวงจร เพื่อสนับสนุนอุตสาหกรรมสีเขียวสำหรับธุรกิจในหลากหลายอุตสาหกรรมและสนับสนุนบริษัทที่ให้ความสำคัญกับความยั่งยืนที่หล่อหลอมในรูปแบบการดำเนินธุรกิจอย่างเต็มรูปแบบ รวมถึงการถ่ายทอดแนวคิดและกลยุทธ์ด้านความยั่งยืน เพื่อโลกที่ยั่งยืนมากขึ้น
กรีน เยลโล่ นับว่ามีบทบาทสำคัญ ในการสนับสนุนอุตสาหกรรมสีเขียวสำหรับธุรกิจ โรงงานอุตสาหกรรม แม้กระทั่งห้างสรรพสินค้าที่มุ่งเน้นการปรับเปลี่ยนมาใช้พลังงานสะอาด เพื่อการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ โดยจะเป็นผู้ลงทุนติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ พร้อมช่วยดูแลระบบในระยะยาวให้ฟรีตามสัญญา ตั้งแต่การสำรวจ ลงทุน ออกแบบ ติดตั้ง รวมถึงการบำรุงรักษา
#ธุรกิจพลังงานสีเขียว #ความยั่งยืน

กรีน เยลโล่ (GreenYellow) แนวร่วมด้านความยั่งยืนผู้นำด้านการสร้างผลกระทบเชิงบวก หรือ Impact Maker ผู้เป็นเบื้องหน้าด้านพ.....

กกพ. หนุนไฟฟ้าสะอาด เปิดแผนปฏิบัติการงานกำกับกิจการพลังงาน ปี 68 ดัน “ไฟฟ้าสะอาด” เต็มรูปแบบเสร็จก่อนสิ้นปี เดินหน้าเปิด...
17/02/2025

กกพ. หนุนไฟฟ้าสะอาด เปิดแผนปฏิบัติการงานกำกับกิจการพลังงาน ปี 68 ดัน “ไฟฟ้าสะอาด” เต็มรูปแบบเสร็จก่อนสิ้นปี เดินหน้าเปิดเสรีก๊าซระยะ 2 ต่อเนื่อง ย้ำชัด ทุกอย่างต้องไม่กระทบค่าไฟประชาชน ชี้ ยุคเปลี่ยนผ่านพลังงานกำกับฯ ยาก แต่มั่นใจพาพลังงานไทยผ่านฉลุย

#ไฟฟ้าสะอาด #พลังงานสะอาด #พลังงานไฟฟ้า

ดร.พูลพัฒน์ แถลงแผนปฏิบัติการงานกำกับกิจการพลังงาน ปี 68 ดัน “ไฟฟ้าสะอาด” เต็มรูปแบบเสร็จก่อนสิ้นปี เดินหน.....

14/02/2025

The NOVA Expo 2025 ‘Green Innovation Revolution and Green Data Center | การจัดแสดงนวัตกรรมสีเขียวปฏิวัติโลก ที่ครบครันที่สุดในไทย เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตคนเมืองและคนใช้อาคาร
📅 วันที่ 12-14 มีนาคม 2025
📍 ไบเทค บางนา Hall 103 - 104
🏢 พบกับ 5 เทรนด์ก่อสร้าง 2025 ที่จะเปลี่ยนโลก
✅ Green Innovation Design & Planning
✅ Green Construction Methods & Material
✅ Green Innovation Technology
✅ Green Innovation Energy
✅ Green Operation Quality
Data Center จะพาเศรษฐกิจไทยไปไกลแค่ไหน? ต้องมาฟัง!
คุยลึกทุกมิติ กับ ดร.ชิต เหล่าวัฒนา, DEPA และ BOI
📌 Main Stage & Conference
สัมมนาดีๆ กับตัวจริงของวงการ ลงทะเบียนเข้างานล่วงหน้าได้แล้ววันนี้ คลิ้กเลย https://www.zipeventapp.com/e/The-Nova-Expo-2025
📌 Innovation Pavilion
พื้นที่จัดแสดงนวัตกรรมของจริง ! ภายใต้คอนเซ็ปต์ ‘The Net-zero Carbon Building
📌 Nova Tour
ชมเทคโนโลยีล้ำ โดยกูรูมืออาชีพ ลงทะเบียนจองได้เลยที่นี่ https://shorturl.asia/QGM4x

การนำรถบัสไฟฟ้า (EV Fleet) เข้ามาให้บริการ รับ-ส่งผู้ปฏิบัติงานภายในองค์กร ของ กฟผ. เป็นอีกหนึ่งแนวทางในการลดคาร์บอนในอง...
07/02/2025

การนำรถบัสไฟฟ้า (EV Fleet) เข้ามาให้บริการ รับ-ส่งผู้ปฏิบัติงานภายในองค์กร ของ กฟผ. เป็นอีกหนึ่งแนวทางในการลดคาร์บอนในองค์กร ด้วยการใช้พลังงานสะอาดอย่างเป็นรูปธรรม

อินโนพาวเวอร์ ร่วมกับ กฟผ. เปิดตัวโครงการให้บริการรถบัสไฟฟ้า (EV Fleet) รับ-ส่งผู้ปฏิบัติงานสำนักงานกลาง กฟผ. พร้....

เฟดเอ็กซ์ เปิดศูนย์กระจายสินค้าแห่งใหม่ใน EEC เสริมศักยภาพโลจิสติกส์ ดันไทยสู่ฮับการขนส่งระดับภูมิภาค มุ่งสู่ความเป็นกลา...
06/02/2025

เฟดเอ็กซ์ เปิดศูนย์กระจายสินค้าแห่งใหม่ใน EEC เสริมศักยภาพโลจิสติกส์ ดันไทยสู่ฮับการขนส่งระดับภูมิภาค มุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอนในปี 2040

เฟดเอ็กซ์ คอร์เปอเรชั่น (Federal Express Corporation) หนึ่งในบริษัทขนส่งด่วนขนาดใหญ่ที่สุดในโลก เปิดตัวศูนย์กระจายสินค้าและให้บริการแห่งใหม่ในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ในพื้นที่แหลมฉบัง จังหวัดชลบุรี ครอบคลุมพื้นที่กว่า 4,900 ตารางเมตร โดยการขยายศูนย์บริการในครั้งนี้ถือเป็นก้าวสำคัญในการรองรับความต้องการของธุรกิจนำเข้าและส่งออกในพื้นที่ EEC ที่มุ่งพัฒนาธุรกิจสู่ตลาดสากล

#เฟดเอ็กซ์ #โลจิสติกส์

เฟดเอ็กซ์ คอร์เปอเรชั่น (Federal Express Corporation) หนึ่งในบริษัทขนส่งด่วนขนาดใหญ่ที่สุดในโลก เปิดตัวศูนย์กระจายสินค้าแล...

ทำไมประเทศไทยต้องส่งการมีส่วนร่วมที่ประเทศกำหนด (NDC) ?
06/02/2025

ทำไมประเทศไทยต้องส่งการมีส่วนร่วมที่ประเทศกำหนด (NDC) ?

กรมป่าไม้และบริษัท ราช กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) ขอเชิญชวนป่าชุมชนทั่วประเทศ ร่วมชิงรางวัลถ้วยพระราชทาน สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ...
06/02/2025

กรมป่าไม้และบริษัท ราช กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) ขอเชิญชวนป่าชุมชนทั่วประเทศ ร่วมชิงรางวัลถ้วยพระราชทาน สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ประจำปี 2568 และเงินรางวัล 200,000 บาท ภายใต้โครงการ “คนรักษ์ป่า ป่ารักชุมชน” ปีที่ 18 ที่มุ่งส่งเสริมการดำเนินงานด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระตุ้นจิตสำนึกและเสริมสร้างภูมิคุ้มกันด้านการปรับตัวต่อผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศให้แก่ป่าชุมชนทั่วประเทศ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติมคลิก 👇
https://www.greennetworkthailand.com/ratch-group-contest-forest-2568/

#กรมป่าไม้ #ป่าชุมชน #คนรักษ์ป่าป่ารักชุมชน #อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

พร้อมหรือยัง? เทคโนโลยีล่าสุดและโอกาสของคนไทย กับงาน The NOVA Expo 2025 ‘Green Innovation Revolution and Green Data Cent...
05/02/2025

พร้อมหรือยัง? เทคโนโลยีล่าสุดและโอกาสของคนไทย กับงาน
The NOVA Expo 2025 ‘Green Innovation Revolution and Green Data Center | นวัตกรรมสีเขียวปฏิวัติโลก’
จัดเต็มทั้ง 3 วัน ห้ามพลาด กับสัมมนาดีๆ ความรู้แน่นเอี๊ยด จากกูรูตัวจริง ของจริง ภายในงาน
อนาคตของ Green Innovation & Data Center เริ่มที่นี่! รีบลงทะเบียนเลย 👉 https://www.zipeventapp.com/e/The-Nova-Expo-2025
วันที่ 12 – 14 มีนาคม 2025
ไบเทค บางนา
แล้วพบกัน

ช่วง 1-2 วันนี้ สถานการณ์ฝุ่นเบาบางลง แต่หลังจากวันนี้ ไปจนถึงวันที่ 9 ก.พ. 68 สถานการณ์จะมีแนวโน้มกลับมาสูงอีกครั้ง โดย...
05/02/2025

ช่วง 1-2 วันนี้ สถานการณ์ฝุ่นเบาบางลง แต่หลังจากวันนี้ ไปจนถึงวันที่ 9 ก.พ. 68 สถานการณ์จะมีแนวโน้มกลับมาสูงอีกครั้ง โดยโดยเฉพาะพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล/ภาคตะวันออก/ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ/ภาคกลางตอนบน/ภาคเหนือตอนล่าง เนื่องจากอากาศที่นิ่งและจมตัว เกิดสภาวะอากาศปิดใกล้ผิวพื้น ทำให้อัตราการระบายอากาศค่อนข้างต่ำ ร่วมกับลมที่มีความแปรปรวนในช่วงนี้

#ฝุ่น .5 #มลพิษทางอากาศ

“สหพัฒนพิบูล” เดินหน้าขับเคลื่อนองค์กรยั่งยืนสู่เป้าหมาย Net Zero พัฒนาโลจิสติกส์สีเขียว ด้วยรถขนส่งพลังงานไฟฟ้า 100%สหพ...
04/02/2025

“สหพัฒนพิบูล” เดินหน้าขับเคลื่อนองค์กรยั่งยืนสู่เป้าหมาย Net Zero พัฒนาโลจิสติกส์สีเขียว ด้วยรถขนส่งพลังงานไฟฟ้า 100%

สหพัฒนพิบูล หรือ SPC ชูธงพร้อมขับเคลื่อนองค์กรยั่งยืนสู่เป้าหมาย Net Zero อย่างเป็นรูปธรรม เดินหน้าพัฒนาโลจิสติกส์สีเขียว เปิดตัวรถขนส่งพลังงานไฟฟ้า 100% นำร่อง 4 คัน วิ่งเส้นทางระหว่างศูนย์กระจายสินค้าไปสู่ร้านค้าในพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล คาดช่วยลดการปล่อยก๊าซ CO2 ได้ 64,800 ก.ก.CO2 ต่อปี หรือเทียบเท่าการปลูกต้นไม้ 7,200 ต้นต่อปี

#สหพัฒนพิบูล #โลจิสติกส์สีเขียว #รถขนส่งพลังงานไฟฟ้า #ลดคาร์บอน

สหพัฒนพิบูล หรือ SPC ชูธงพร้อมขับเคลื่อนองค์กรยั่งยืนสู่เป้าหมาย Net Zero อย่างเป็นรูปธรรม เดินหน้าพัฒนาโลจิสติ....

BAFS คว้าใบรับรองมาตรฐานระดับสากล “ISCC-CORSIA” ตอกย้ำผู้นำขับเคลื่อนอุตสาหกรรมการบินสู่ความยั่งยืนบาฟส์ บรรลุความสำเร็จ...
03/02/2025

BAFS คว้าใบรับรองมาตรฐานระดับสากล “ISCC-CORSIA” ตอกย้ำผู้นำขับเคลื่อนอุตสาหกรรมการบินสู่ความยั่งยืน

บาฟส์ บรรลุความสำเร็จครั้งสำคัญในการร่วมขับเคลื่อนอุตสาหกรรมการบินอย่างยั่งยืน ได้รับการรับรองมาตรฐาน ISCC-CORSIA (International Sustainability and Carbon Certification – Carbon Offsetting and Reduction Scheme for International Aviation) ซึ่งเป็นมาตรฐานการรับรองคาร์บอนและความยั่งยืนระหว่างประเทศ เตรียมพร้อมรองรับการให้บริการเชื้อเพลิงอากาศยานแบบยั่งยืน Sustainable Aviation Fuel (SAF) กลไกสำคัญในการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมการบินในอนาคต ตอบโจทย์ด้านพลังงานควบคู่ไปกับการดูแลสิ่งแวดล้อม

#เชื้อเพลิงอากาศยานยั่งยืน #อุตสาหกรรมการบิน

บาฟส์ บรรลุความสำเร็จครั้งสำคัญในการร่วมขับเคลื่อนอุตสาหกรรมการบินอย่างยั่งยืน ได้รับการรับรองมาตรฐาน ...

ที่อยู่

471/3-4 PhayaThai Place Sri-Ayutthaya Rd
Bangkok
10400

เวลาทำการ

จันทร์ 09:00 - 17:00
อังคาร 09:00 - 17:00
พุธ 09:00 - 17:00
พฤหัสบดี 09:00 - 17:00
ศุกร์ 09:00 - 17:00

เบอร์โทรศัพท์

+6623545333

เว็บไซต์

แจ้งเตือน

รับทราบข่าวสารและโปรโมชั่นของ Green Networkผ่านทางอีเมล์ของคุณ เราจะเก็บข้อมูลของคุณเป็นความลับ คุณสามารถกดยกเลิกการติดตามได้ตลอดเวลา

ติดต่อ ธุรกิจของเรา

ส่งข้อความของคุณถึง Green Network:

วิดีโอทั้งหมด

แชร์