ปักหมุดวันพระ | EP.22 | วัดราชาธิวาสวิหาร
#วัดราชาธิวาสวิหาร สร้างในสมัย #กรุงศรีอยุธยา เดิมชื่อ #วัดสมอราย ต่อมา #สมเด็จพระบวรราชเจ้า มหาสุรสิงหนาท กรมพระราชวังบวรสถานมงคล ทรงปฏิสังขรณ์ขึ้นใหม่ ภายหลัง #พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ ได้เสด็จประทับขณะทรงผนวช ครั้นเสด็จขึ้นเสวยราชสมบัติแล้วได้โปรดให้ปฏิสังขรณ์อีกครั้งหนึ่ง แล้วพระราชทานนามใหม่ว่า วัดราชาธิวาสวิหาร ซึ่งแปลว่า #วัดอันเป็นที่ประทับของพระราชา เป็นวัดแรกที่ถือกำเนิดคณะสงฆ์ #ธรรมยุติกนิกาย
#พระอุโบสถ เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กหลังคามุงกระเบื้อง สร้างขึ้นแทนพระอุโบสถหลังเก่าที่ชำรุดทรุดโทรม #พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ โปรดให้สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ #เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัตติวงศ์ ทรงออกแบบสร้
ปักหมุดวันพระ | EP.21 | #วัดราชนัดดารามวรวิหาร #โลหะปราสาท #พระพุทธรูป #ปางรำพึง
ความหมาย และที่มาของ “EP.21”
๒๑ คือกำลังของ #พระศุกร์ #วันศุกร์ #ดาวศุกร์
#พระพุทธรูปประจำวันศุกร์ คือ พระพุทธรูปปาง #รำพึง
#พระพุทธรูปปางรำพึง เป็นพระประธานในศาลาการเปรียญ ณ #วัดราชนัดดารามวรวิหาร
วัดราชนัดดารามวรวิหาร สร้างขึ้นเมื่อปลายรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ เพื่อเฉลิมพระเกียรติแก่ พระเจ้าหลานเธอ #พระองค์เจ้าหญิงโสมนัสวัฒนาวดี พระราชนัดดา ซึ่งต่อมาเป็นพระอัครมเหสีพระองค์แรกของ #พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ มีพระนามว่าสมเด็จพระนางเจ้าโสมนัสวัฒนาวดีบรมราชเทวี
ศาลาการเปรียญประดิษฐานพระประธาน #ปางรำพึง สมัยโบราณเป็นสถานที่แสดงธรรม ตั้งอยู่ด้านเหนือของพระอุโบสถ ลักษณะสูงใหญ่ห
ปักหมุดวันพระ | EP.20 | วัดพะโคะ | #หลวงปู่ทวด #วัดราชประดิษฐาน #วัดหลวง
วัดพะโคะหรือวัดราชประดิษฐานเป็นวัดสำคัญของจังหวัดสงขลา ซึ่งสมเด็จเจ้าพะโคะ หรือที่รู้จักกันโดยทั่วไปว่า “หลวงพ่อทวด เหยียบน้ำทะเลจืด” ได้เคยจำพรรษาอยู่เมื่อประมาณ ๔๐๐ ปีกว่ามาแล้ว พระราชมุนีหรือที่รู้จักกันในนามหลวงพ่อทวดเหยียบน้ำทะเลจืด เคยเป็นเจ้าอาวาสและประจำอยู่วัดแห่งนี้ วัดพะโคะจึงนำสิ่งของที่เกี่ยวข้องกับหลวงพ่อทวดมาให้ประชาชนชมและกราบไหว้บูชาพร้อมนำเสนอประวัติความเป็นมาของหลวงปู่ทวดจึงเปิดพิพิธภัณฑ์วัดพะโคะให้ประชาชนได้เข้าชมและสักการะหลวงพ่อทวด เมื่อ พ.ศ. ๒๕๓๖ โดยของที่จัดแสดงในพิพิธภัณฑ์ อาทิ พระพุทธรูป เครื่องปั้นดินเผา เครื่องทองเหลือง มีดพร้า ตะบันหมากทองเหลือง ธนบัตรและเหรียญสมัยก่อน เครื่องถ้วยกระเบื
ปักหมุดวันพระ | EP.19 | วัดมกุฏกษัตริยารามราชวรวิหาร | หมอเมปักหมุด
ความหมาย และที่มาของ “EP.19”
๑๙ คือกำลังของ “พระพฤหัสบดี” (วันพฤหัสบดี, ดาวพฤหัสบดี)
พระพุทธรูปประจำวันพฤหัสบดี คือ พระพุทธรูปปาง “สมาธิ”
พระพุทธรูปปางสมาธิ พระประธานในพระวิหารหลวง ณ วัดมกุฏกษัตริยารามราชวรวิหาร
วัดมกุฏกษัตริยารามราชวรวิหาร สร้างขึ้นตามพระราชดำริของ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ หลังจากขุดคลองผดุงกรุงเกษมเป็นคูพระนครชั้นนอกแล้วทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างวัดขึ้นเคียงคู่กับวัดโสมนัสราชวรวิหาร ให้มีวัดเรียงรายอยู่ตามชายคลองเหมือนที่กรุงศรีอยุธยา
จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) เป็นแม่กองก่อสร้าง และพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนราชสีหวิกรม เป็นนายช่าง การก
ปักหมุดวันพระ | EP.18 | พระพุทธมหาจักรพรรดิ | วัดนางนองวรวิหาร | หมอเมปักหมุด
ความหมาย และที่มาของ “EP.18”
๑๘ หมายถึง “มหาจักรพรรดิ”
พระพุทธมหาจักรพรรดิ พระประธานในพระอุโบสถ ณ วัดนางนองวรวิหาร
สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในสมัยอยุธยา ได้บูรณปฏิสังขรณ์ครั้งใหญ่ในสมัย สมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ เมื่อ พ.ศ. ๒๓๗๕ ได้โปรดเกล้าฯ ให้รื้อของเก่าแล้วปฏิสังขรณ์ใหม่ทั่วทั้งพระอาราม ดังจะเห็นได้จากพระอุโบสถ พระวิหาร พระเจดีย์ ศาลาหน้าวัดล้วนเป็นทรงเก๋งจีน พร้อมทั้งศิลปกรรมที่ปั้นลม หน้าบัน ประตู หน้าต่าง พระประธานในพระอุโบสถพร้อมทั้งลายฝาผนังลายรดน้ำ รูปทรงศิลปะไทยจีนประยุกต์ ใช้เวลาปฏิสังขรณ์หลายปีจึงแล้วเสร็จ ได้สถาปนาเป็นพระอารามหลวง พระองค์ได้เสด็จพระราชดำเนินทางชลมารคไปประกอบพิธีผูกพัทธสีมาพระอุ
ปักหมุดวันพระ | EP.17 | วัดอินทรวิหาร | หมอเมปักหมุด
ความหมาย และที่มาของ “EP.17”
๑๗ คือกำลังของ “พระพุธ” (วันพุธ, ดาวพุธ)
พระพุทธรูปประจำวันพุธ คือ พระพุทธรูปปาง “อุ้มบาตร”
พระพุทธรูปปางอุ้มบาตรขนาดใหญ่ สร้างโดยสมเด็จพระพุฒาจารย์ โต พฺรหฺมรํสี ณ วัดอินทรวิหาร
สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในสมัยอยุธยาตอนปลายเดิมชื่อวัดบางขุนพรหม ต่อมาได้รับการบูรณะโดย เจ้าอินทร์ ผู้เป็นน้าชายของเจ้าน้อยเขียวค่อม พระสนมเอกในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ ๑ ชาวบ้านจึงเรียกวัดแห่งนี้ว่า วัดอินทร์ และต่อมาพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ พระราชทานนามว่า “วัดอินทรวิหาร”
โดยก่อนที่ สมเด็จพระพุฒาจารย์ โต พฺรหฺมรํสี ท่านจะไปเป็นเจ้าอาวาส ณ วัดระฆังโฆสิตารามวรมหาวิหาร สมเด็จท่านอยู่ที่วัดอินทรวิหา
วัดพระศรีรัตนศาสดาราม | วันวิสาขบูชา | ปักหมุดวันพระ | EP.16
เนื่องในวัน “วิสาขบูชา” ซึ่งเป็นวันประสูติ ตรัสรู้ ปรินิพพาน ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เราจึงนำทุกท่านมาชมความวิจิตรงดงามของวัดพระศรีรัตนศาสดาราม หรือ วัดพระแก้ว
วัดพระศรีรัตนศาสดาราม สร้างขึ้นพร้อมกับการสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์เมื่อปี พ.ศ. ๒๓๒๕ โดยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ ๑ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นไว้ทรงบำเพ็ญพระราชกุศล และสำหรับประดิษฐานพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร หรือ พระแก้วมรกต
ความหมายและที่มาของ EP.16
๑๖ คือ โสฬสมหามงคล หมายถึง ความเป็นมงคล ความเจริญรุ่งเรือง ความสำเร็จสมปรารถนา
พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ ๑ ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ประดิษฐานยันต์โสฬสมหามงคลไว้ ณ ส่วนยอดของเสาหล
ปักหมุดวันพระ | EP.15 | วัดขุนสมุทราวาส | หมอเมปักหมุด
ความหมาย และที่มาของ “EP.15”
๑๕ คือกำลังของ “พระจันทร์” (วันจันทร์, ดวงจันทร์)
พระพุทธรูปประจำวันจันทร์ คือ พระพุทธรูปปาง “ห้ามสมุทร” หรือปาง “ห้ามญาติ”
พระพุทธรูปปางห้ามสมุทรหันหน้าออกไปทางทะเลอ่าวไทย ณ วัดขุนสมุทราวาส
วัดขุนสมุทราวาส หรือ วัดขุนสมุทรจีน สร้างขึ้นเมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2510 สมุทราวาสเป็นวัดที่ติดกับปากอ่าวทะเลและล้อมรอบด้วยน้ำทะเล ด้วยความที่พื้นดินบริเวณรอบวัดถูกน้ำทะเลกัดเซาะจนพื้นดินหายไป ทำให้พื้นด้านล่างของวัด โบสถ์ และกุฏิจำเป็นต้องยกให้สูงขึ้น เพื่อไม่ให้น้ำทะเลกัดเซาะจนพังลง ชาวบ้านและพระสงฆ์จึงได้ช่วยกันปลูกต้นไม้ชายเลน เพิ่มความหนาแน่นให้เป็นธรรมชาติ
#วัดขุนสมุทราวาส #วัดขุนสมุทรจีน #วันพระ #พระประจำวันเกิด #ปางห้ามสมุ
ปักหมุดวันพระ | EP.12 | วัดป่าเลไลยก์วรวิหาร | หมอเมปักหมุด
ความหมาย และที่มาของ “EP.12”
๑๒ คือกำลังของ “พระราหู” (วันพุธกลางคืน)
พระพุทธรูปประจำวันพุธกลางคืน คือ พระพุทธรูปปาง “ป่าเลไลยก์”
วัดป่าเลไลยก์สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในสมัยอู่ทองเป็นราชธานี ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ ได้เสด็จธุดงค์มาพบสมัยยังผนวชอยู่ เมื่อเสด็จขึ้นครองราชย์แล้วจึงทรงมาปฏิสังขรณ์ โปรดฯ ให้พระยานิกรบดินทร สร้างหลังคาทำฝาผนังรอบนอกรวมหลังคาพระวิหาร แล้วซ่อมองค์หลวงพ่อโต สร้างพระพุทธรูปในวิหาร 2 องค์ และมีการติดตรามงกุฎพระราชลัญจกรประจำพระองค์รัชกาลที่ 4 ที่หน้าบันพระวิหาร
ภายในวิหารหลวงพ่อโตประดิษฐานพระประธานปางป่าเลไลยก์นามว่า “หลวงพ่อโต” ภายในองค์หลวงพ่อโตมีพระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้า 36 องค์
#
ศาลหลักเมือง สร้างขึ้นเมื่อวันที่ ๒๑ เมษายน พ.ศ. ๒๓๒๕ จันทรคติกาลตรงกับ วันอาทิตย์ ขึ้น ๑๐ ค่ำ เดือน ๖ ปีขาล จ.ศ. ๑๑๔๔ เวลา ๐๖ : ๕๔ น.
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ ๑ โปรดเกล้าฯ ให้มีพระราชพิธียกเสาหลักเมืองขึ้น ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ โปรดเกล้าฯ ให้ขุดเสาหลักเมืองเดิม และจัดสร้างเสาหลักเมืองขึ้นใหม่ โดยอัญเชิญหลักเมืองเดิม และหลักเมืองใหม่ประดิษฐานคู่กัน ณ ศาลหลักเมืองที่สร้างใหม่เมื่อ พ.ศ. ๒๓๙๕
#หลักเมือง #ดวงเมือง #รัตนโกสินทร์ #ศาลหลักเมือง #กรุงเทพ #กรุงเทพมหานคร #ประเทศไทย #วันอาทิตย์ #เมษายน #ปีขาล #หมอเมปักหมุด
ปักหมุดวันพระ | EP.10 | วัดนาคปรก | ต้อนรับปีมะโรง
ความหมาย และที่มาของ “EP.10”
๑๐ คือกำลังของ “พระเสาร์” (วันเสาร์, ดาวเสาร์)
พระพุทธรูปประจำวันเสาร์ คือ พระพุทธรูปปาง “นาคปรก”
วันขึ้น ๑ ค่ำ เดือน ๕ (9 เม.ย. 2567) เริ่มเข้าสู่นักษัตรใหม่ “ปีมะโรง” คือ พญานาค
วัดนาคปรกเดิมชื่อ “วัดปก” สร้างขึ้นราวสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย ต่อมาได้รับการบูรณะในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ โดยพระยาโชฎึกราชเศรษฐี (พุก แซ่ตัน) หลังจากที่อัญเชิญพระพุทธรูปเก่าแก่ปางมารวิชัยมาประดิษฐานในพระวิหารและได้สร้างพญานาคปรกขึ้นครอบไว้ ชาวบ้านจึงเรียกขานนามว่า “หลวงพ่อนาคปรก” และได้กลายมาเป็นชื่อ “วัดนาคปรก”
พระประธานภายในพระวิหารวัดนาคปรกแห่งนี้ ถือได้ว่าเป็นพระนาคปรกแห่งเดียวในประเทศไทยที่องค์พระพุทธรูปเป็นปาง “ม
ปักหมุดวันพระ | EP.9 | วัดบวรนิเวศวิหาร | หมอเม ปักหมุด
เดิมชื่อ “วัดใหม่” สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. ๒๓๖๗-๒๓๗๕ โดย สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาศักดิพลเสพ และหลังจากที่พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้า รัชกาลที่ ๓ ทรงอาราธนาสมเด็จพระอนุราชาธิราส เจ้าฟ้ามงกุฏฯ (ต่อมาภายหลังคือ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ ซึ่งครองสมณเพศในขณะนั้น) เสด็จมาอยู่ครอง พร้อมทั้งเป็นเจ้าอาวาสในลำดับแรกของวัดเมื่อปี พ.ศ. ๒๓๗๙ จึงได้เปลี่ยนชื่อเป็น “วัดบวรนิเวศวิหาร”
พระวิหาร ด้านหน้าประดิษฐานพระแท่น ที่ประทับของพระบรมวงศ์ชั้นสูงที่เสด็จออกทรงผนวช ด้านในประดิษฐานพระประธานสององค์ซ้อนกันอยู่คือ พระพุทธชินสีห์ และ พระศรีศาสดา ใต้ฐานพุทธบัลลังก์ พระพุทธชินสีห์ เป็นที่บรรจุพระบรมราชสรีรางคารพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว