ThaiPublica ความโปร่งใสและยั่งยืน

สำนักข่าวออนไลน์ไทยพับลิก้า ThaiPublica.org ก่อตั้งในเดือนกันยายน 2554 นำเสนอข่าวสืบสวนสอบสวน เน้นประเด็นตรวจสอบความโปร่งใสภาครัฐ ความโปร่งใสภาคเอกชน และการพัฒนาที่ยั่งยืน ดำเนินงานโดยทีมงานนักข่าวอาชีพที่มีประสบการณ์ในวงการรวมกันกว่า 60 ปี

ไทยพับลิก้ามุ่งหวังที่จะใช้อินเทอร์เน็ตเป็นทั้งพื้นที่ในการนำเสนอข่าวและแลกเปลี่ยนกับผู้อ่าน และเป็นเครื่องมือในการทำงาน โดยเชื่อมั่นในพลังของสื่อใหม่ว่า การ

ใช้อินเทอร์เน็ตเป็นพื้นที่และเครื่องมือจะช่วยดำรงความเป็นอิสระของกองบรรณาธิการ ก้าวข้ามข้อจำกัดของสื่อกระแสหลัก และสร้างความแตกต่างให้กับสำนักข่าวไทยพับลิก้า ทั้งในแง่ของการนำเสนอข่าวเชิงลึก และการนำเสนอข้อมูลที่ซับซ้อนอย่างเข้าใจง่าย

เราเชื่อมั่นว่า การนำ "ความเร็ว" ของพลังสังคมและข้อมูลข่าวสารในโลกออนไลน์ มาผสานกับ "ประสิทธิภาพ" ของเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตในการเชื่อมโยงและนำเสนอข้อมูล ผนวกกับ "ความลึก" ของนักข่าวมืออาชีพมากประสบการณ์ จะเปิดมิติใหม่ให้แก่วงการสื่อสารมวลชนไทย

ไทยพับลิก้าภูมิใจที่ได้เป็นส่วนหนึ่งของมิตินี้

บรรณาธิการบริหารและบรรณาธิการด้านความยั่งยืน
บุญลาภ ภูสุวรรณ

บรรณาธิการข่าวข้อมูล
กมล ชวาลวิทย์

บรรณาธิการข่าวต่างประเทศ
จิระประภา กุลโชติ

กองบรรณาธิการ
สิรินาฏ ศิริสุนทร ผู้สื่อข่าว
จารุกิตติ์ ธีรตาพงศ์ ผู้สื่อข่าว

ช่างภาพ
ทศวรรษ เนียมวิวัฒน์

กราฟิก
ณัฐวดี สุทธิสาร


คณะกรรมการที่ปรึกษา
คุณหญิงชฎา วัฒนศิริธรรม กรรมการ ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)
บรรยง พงษ์พานิช ประธานคณะกรรมการบริหาร บริษัทหลักทรัพย์ ภัทร จำกัด (มหาชน)
พงษ์ศักดิ์ พยัฆวิเชียร ผู้ร่วมก่อตั้ง บริษัท มติชน จำกัด (มหาชน)
ดร.วรากรณ์ สามโกเศศ อธิการบดี มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
ธาริษา วัฒนเกส อดีตผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย
รตยา จันทรเทียร ประธาน มูลนิธิสืบ นาคะเสถียร

เจาะลึกความพิเศษเรื่อง “ภาษี” จากฟีเจอร์ของ EDGE บนแอป KKP MOBILE| Native Ad | ในยุคดิจิทัลที่ทุกอย่างต้องง่าย รวดเร็ว แ...
20/12/2024

เจาะลึกความพิเศษเรื่อง “ภาษี” จากฟีเจอร์ของ EDGE บนแอป KKP MOBILE
| Native Ad | ในยุคดิจิทัลที่ทุกอย่างต้องง่าย รวดเร็ว และครอบคลุม ธนาคารเกียรตินาคินภัทร ได้สร้างปรากฏการณ์ใหม่ ของวงการแอปพลิเคชันการเงินด้วย KKP MOBILE Super App ที่ไม่เพียงแค่รวมบริการทางการเงินไว้ในที่เดียว แต่ยังตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ของคนรุ่นใหม่ที่ต้องการความคล่องตัวและที่สำคัญ เปลี่ยนเรื่อง “งง” ให้กลายเป็นเรื่อง “ง่าย” บนแอปฯ กันไปเลย
EDGE บนแอป KKP MOBILE ไม่ใช่แค่แอปพลิเคชันทางการเงิน แต่เป็นเพื่อนคู่ใจของคุณในการวางแผนภาษีและการลงทุน ด้วยฟีเจอร์ล่าสุดที่จะทำให้คุณตื่นเต้นกับการจัดการการเงินอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน!
เจาะลึกความพิเศษเรื่อง “ภาษี” จากฟีเจอร์ของ EDGE บนแอป KKP MOBILE

1) ฟีเจอร์สรุปกองทุนลดหย่อนภาษี : Tax Saving Funds Summary

2) ฟีเจอร์คำนวณและวางแผนภาษี Tax Planning

3) โพยกองทุนลดหย่อนภาษีคัดแล้วคัดอีก พร้อมกดซื้อได้เลยบนแอปฯ

4) โปรโมชันสุดพิเศษสำหรับนักลงทุนใหม่

5) พบกับ 2 กิจกรรมสนุกๆ สายมู x ลงทุน ที่คุณต้องห้ามพลาด
มาร่วมปฏิวัติการจัดการเงินของคุณกับ EDGE by KKP MOBILE วันนี้ “ภาษีเจริญ ชีวิตเจริญ” ดาวน์โหลด KKP MOBILE และเริ่มต้นการผจญภัยทางการเงินของคุณ
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม และการใช้งานฟีเจอร์ EDGE บนแอป KKP MOBILE คลิก https://thaipublica.org/2024/12/kkp-mobile-tax-planning-edge-native-ad/
#วางแผนภาษีและการลงทุน #ลดหย่อนภาษี #เกียรตินาคินภัทร #ไทยพับลิก้า

Krungthai COMPASS ชี้แหล่งท่องเที่ยวสไตล์ Man-made Destination มาแรง ขยายฐานนักเดินทาง| Research Reports | ภาคการท่องเที...
20/12/2024

Krungthai COMPASS ชี้แหล่งท่องเที่ยวสไตล์ Man-made Destination มาแรง ขยายฐานนักเดินทาง
| Research Reports | ภาคการท่องเที่ยวของไทยขยายตัวอย่างต่อเนื่อง โดยในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2567 มีจำนวนนักท่องเที่ยวชาวไทยอยู่ที่ 199.5 ล้านคน คิดเป็น 121% ของระดับเดิมในช่วงก่อนโควิด ขณะที่จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติอยู่ที่ 26.1 ล้านคน คิดเป็นราว 88% ของตัวเลขช่วงก่อนโควิด ซึ่งถือว่ายังฟื้นตัวช้ากว่าหลายภูมิภาค
โดยเฉพาะเมื่อเทียบกับกลุ่มประเทศในตะวันออกกลางที่เติบโตก้าวกระโดด จากปรากฏการณ์ด้านการท่องเที่ยวของประเทศกาตาร์ที่เติบโตสูง ส่วนหนึ่งจากการเป็นเจ้าภาพฟุตบอลโลกปี 2565 ที่ส่งผลให้นักท่องเที่ยวต่างประเทศของกาตาร์ขยายตัวกว่า 3 เท่า เทียบกับช่วงก่อนโควิด สะท้อนความสำเร็จในการส่งเสริมการท่องเที่ยวในรูปแบบ Man-made Destination หรือแหล่งท่องเที่ยวที่ถูกสร้างขึ้น
สำหรับประเทศไทย นักเดินทางที่สนใจท่องเที่ยวในรูปแบบ Man-made มีแนวโน้มฟื้นตัวดีต่อเนื่อง ตั้งแต่เริ่มเปิดประเทศเมื่อปี 2565 โดยในปี 2567 คาดว่านักท่องเที่ยว Man-made ชาวไทยจะอยู่ที่ 35.7 ล้านคน คิดเป็นสัดส่วน 17.9% ของนักท่องเที่ยวไทยทั้งหมด แบ่งเป็นกลุ่มการประชุมและนิทรรศการราว 22.2 ล้านคน กลุ่มท่องเที่ยวเชิงเทศกาลและผู้เยี่ยมเยือนสวนสนุกราว 4.3 และ 9.2 ล้านคน ตามลำดับ
ขณะที่นักท่องเที่ยว Man-made ชาวต่างชาติ มีประมาณ 2.4 ล้านคน คิดเป็นสัดส่วน 7% ของจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติทั้งหมด นำโดยกลุ่มการประชุมและนิทรรศการ 1 ล้านคน กลุ่มท่องเที่ยวเชิงเทศกาลและผู้เยี่ยมเยือนสวนสนุกอยู่ที่ 4.6 แสนคน และ 1.0 ล้านคน
‘ดร. สุปรีย์ ศรีสำราญ’ ผู้อำนวยการฝ่าย Business Risk and Macro Research ธนาคารกรุงไทย กล่าวว่า “จำนวนนักท่องเที่ยว Man-made ชาวต่างชาติแบบ ที่ยังค่อนข้างต่ำเมื่อเทียบกับนักท่องเที่ยวไทย สะท้อนว่านักท่องเที่ยวต่างชาติในรูปแบบ Man-made ยังมีโอกาสขยายตัวได้อีกมาก”
Krungthai COMPASS ประเมินว่า การผลักดันตลาดการท่องเที่ยวแบบ Man-made จะส่งผลให้นักท่องเที่ยวต่างชาติกลุ่มนี้มีโอกาสเพิ่มขึ้นแตะ 3.1 ล้านคนในปี 2568 เพิ่มขึ้นประมาณ 2.5 เท่าจากปี 2565 แยกเป็นกลุ่ม MICE 1.4 ล้านคน กลุ่มผู้เยี่ยมเยือนสวนสนุก 1.2 ล้านคน และกลุ่มนักท่องเที่ยวเชิงกิจกรรมและเทศกาล 4.8 แสนคน
ประเมินว่าค่าใช้จ่ายเฉลี่ยต่อหัวของนักท่องเที่ยวแบบ Man-made ปี 2568 จะอยู่ที่ประมาณ 58,300 บาทต่อคนต่อทริป สูงกว่านักท่องเที่ยวส่วนใหญ่ เนื่องจากมีจำนวนวันพักนานและมีรายจ่ายสูงกว่านักท่องเที่ยวกลุ่มอื่น ๆ โดยคาดว่าสามารถสร้างรายได้เข้าประเทศถึง 1.8 แสนล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 0.9% ของจีดีพี
อ่านรายละเอียดบทวิเคราะห์ฉบับเต็ม..ข่าวและบทความที่เกี่ยวข้อง https://thaipublica.org/2024/12/krungthai-compass-man-made-destination/
#แหล่งเที่ยวที่ถูกสร้างขึ้น #นักท่องเที่ยวต่างชาติ #ไทยพับลิก้า

SCB EIC เจาะทางออกหนี้ครัวเรือนไทย…แก้อย่างไรให้ยั่งยืน และตรงกลุ่ม| Research Reports | ปัญหาหนี้ครัวเรือนเป็นปัญหาสำคัญ...
20/12/2024

SCB EIC เจาะทางออกหนี้ครัวเรือนไทย…แก้อย่างไรให้ยั่งยืน และตรงกลุ่ม
| Research Reports | ปัญหาหนี้ครัวเรือนเป็นปัญหาสำคัญที่อยู่คู่เศรษฐกิจไทยมานาน และถูกพูดถึงมากตั้งแต่เกิด COVID-19 โดยเฉพาะแนวนโยบายช่วยเหลือลูกหนี้ ที่ผ่านมาแม้ว่าทุกภาคส่วนได้พยายามออกมาตรการแก้หนี้เพิ่มเติมเพื่อแก้ไขปัญหา แต่สัดส่วนหนี้ครัวเรือนไทยต่อ GDP ยังคงลดลงได้ช้าอยู่ในระดับสูงเกือบ 90% สะท้อนประสิทธิผลของแนวนโยบายที่อาจยังเพิ่มความครอบคลุมได้มากขึ้น ตามความต้องการที่แตกต่างกันของลูกหนี้เฉพาะกลุ่ม
สัดส่วนหนี้ครัวเรือนไทยต่อ GDP ในไตรมาส 2/2567 แม้จะปรับลดลงต่อเนื่องตั้งแต่ต้นปี แต่กลับเป็นผลจากสินเชื่อภาคครัวเรือนที่ลดลงมากเป็นสำคัญ ซึ่งส่วนหนึ่งเกิดจากการปล่อยสินเชื่อใหม่ของสถาบันการเงินที่เข้มงวดขึ้น ตามความกังวลคุณภาพสินเชื่อและความสามารถในการชำระหนี้ที่ด้อยลง แม้จะมีมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา
แนวทางแก้หนี้ครัวเรือนไทยอย่างยั่งยืน จึงควรปรับให้ตรงกับปัญหาของลูกหนี้แต่ละกลุ่มอย่างครบวงจร และสร้างแรงจูงใจปรับพฤติกรรมให้กลับมาคืนหนี้ได้
อ่านบทวิเคราะห์ฉบับเต็ม..ข่าวและบทความที่เกี่ยวข้อง https://thaipublica.org/2024/12/scb-eic-on-sustainable-solutions-to-householde-debt/
#หนี้ครัวเรือน #นโยบายแก้หนี้ #ไทยพับลิก้า

คลังชง ครม. เคาะ ‘ช้อปลดหย่อนภาษี’ 5 หมื่นบาท อังคารนี้ เริ่มใช้ 15 ม.ค. - ก.พ. ปีหน้า| เกาะกระแส | ขาช้อปเตรียมเงินรอ! ...
20/12/2024

คลังชง ครม. เคาะ ‘ช้อปลดหย่อนภาษี’ 5 หมื่นบาท อังคารนี้ เริ่มใช้ 15 ม.ค. - ก.พ. ปีหน้า
| เกาะกระแส | ขาช้อปเตรียมเงินรอ! คลังชง ครม.เคาะ ‘Easy e-receipt’ ลดหย่อนภาษีสูงสุด 50,000 บาท อังคารนี้ เริ่มใช้จ่าย 15 ม.ค. – 28 ก.พ.ปี’68 – หักลดหย่อนภาษีต้นปี’69 คาดเงินสะพัด 70,000 ล้านบาท
‘นายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์’ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนว่า ในวันอังคารที่ 24 ธันวาคม 2568 นี้ กระทรวงการคลัง จะเสนอมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านโครงการ ‘Easy e-receipt’ ให้ที่ประชุม ครม. พิจารณาอนุมัติเหมือนปีที่ผ่านมา โดย กรมสรรพากร จะเปิดให้ผู้ที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา แต่ไม่รวมถึงห้างหุ้นส่วนสามัญ หรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล
นำค่าซื้อสินค้าหรือค่าบริการในราชอาณาจักร มาหักลดหย่อนภาษีได้ ตามจำนวนเงินที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 50,000 บาท เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2567 ถึงวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2567 โดยผู้เสียภาษีสามารถนำค่าใช้จ่ายในการซื้อสินค้า หรือ บริการในช่วงเวลาดังกล่าวไปหักลดหย่อนภาษีได้ในช่วงต้นปี 2569
รายละเอียดและเงื่อนไข https://thaipublica.org/2024/12/mof-proposes-cabinet-approve-tax-deduction-shopping-50000-baht/
#มาตรการลดหย่อนภาษี #ไทยพับลิก้า

ความฝันของนักเศรษฐศาสตร์รุ่นใหม่ สร้างสังคมไทยแห่งโอกาส| ประเด็นร้อน | ประเทศไทยกำลังอยู่ในจุดเปลี่ยนสำคัญที่ต้องเผชิญกั...
20/12/2024

ความฝันของนักเศรษฐศาสตร์รุ่นใหม่ สร้างสังคมไทยแห่งโอกาส
| ประเด็นร้อน | ประเทศไทยกำลังอยู่ในจุดเปลี่ยนสำคัญที่ต้องเผชิญกับความท้าทายทางเศรษฐกิจและสังคมที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว การพัฒนาในระยะต่อไปเพื่อให้เท่าทันโลกสมัยใหม่ไม่เพียงต้องพึ่งพาการขับเคลื่อนโดยภาครัฐหรือภาคธุรกิจ แต่ยังต้องอาศัย ‘คนไทย’ ที่เต็มเปี่ยมไปด้วยความฝันและความมุ่งมั่นที่จะสร้างรากฐานให้กับอนาคตที่ดีให้กับทุกคน
บทความชุดนี้ได้รวบรวมมุมมองของนักเศรษฐศาสตร์รุ่นใหม่ 9 คน ที่นำเสนอความฝันในหลากหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาเศรษฐกิจ การศึกษา โครงสร้างสังคม และคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น รวมไปถึงแนวคิดที่จะช่วยปลดล็อกศักยภาพของประเทศไทย เพื่อสร้างโอกาสให้ทุกคนในสังคมสามารถก้าวไปข้างหน้าได้อย่างเท่าเทียม
ทั้ง 9 บทความนี้ ถึงจะมาจากต่างมุมมองต่างความคิด แต่ก็มีจุดร่วม คือ ความฝันที่อยากจะเห็นชีวิตความเป็นอยู่ของคนไทยดีขึ้นในหลากหลายมิติ จากการมีโอกาสและทางเลือกในการมีอาชีพการงานที่ดี เติบโตไปได้ไกลกว่าเดิม
▪️ บทความ “โอกาสของเด็กไทย ที่หายไป จากการขาดการลงทุน” ของ ‘ลัทธกิตติ์ ลาภอุดมการ’ ชวนผู้อ่านตั้งคำถามถึงความฝันของเด็กไทย ทำไมจึงไม่สามารถเลือกที่จะเรียนและทำงานที่หลากหลาย ตามความสนใจของตัวเองได้อย่างเต็มที่
▪️ บทความ “จบปริญญา แต่ทำไมว่างงาน ปัญหานี้มีอะไรมากกว่าที่คิด” โดย ‘ดร. ดล ตะวันพิทักษ์’ หยิบยกปัญหาอย่างหนึ่งของเด็กรุ่นใหม่ที่เผชิญกับปัญหาจบปริญญามาแล้ว แต่ไม่สามารถหางานที่ตรงกับวุฒิการศึกษาที่ได้ใช้ศักยภาพของตัวเองได้อย่างเต็มที่
▪️ บทความเรื่อง “แบรนด์ไทย ไปแบรนด์โลก” โดย ‘คณิน พีระวัฒนชาติ’ วาดฝันอยากเห็นประเทศไทยสามารถสร้างแบรนด์ระดับโลก ที่จะช่วยสร้างงาน สร้างอุตสาหกรรม และยกระดับเศรษฐกิจของประเทศได้เหมือนในหลายประเทศ
▪️ บทความ “ทำอย่างไรไม่ให้เรื่องของคุณภาพการศึกษาเป็นอุปสรรคของการตัดสินใจมีลูก” โดย ‘มุทิตา อริยะวุฒิกุล’ พูดแทนใจของคนรุ่นใหม่หลายคนในสังคมไทย ที่กังวลกับความสามารถในการสร้างครอบครัวและเลี้ยงดูบุตรได้อย่างสมบูรณ์ ด้วยภาระที่ต้องแบกรับ กลายเป็นข้อจำกัดในการตัดสินใจสร้างครอบครัวและมีลูกของคนไทยในปัจจุบัน
▪️ บทความเรื่อง “เยาว์ เขลา ทึ่ง: หนทางปฏิรูปการศึกษาไทยในห้วงเศรษฐกิจใหม่” โดย ‘สพล ตัณฑ์ประพันธ์’ ชี้ถึงความจำเป็นเร่งด่วนในการปฏิรูประบบการศึกษาไทยอย่างจริงจังและเป็นรูปธรรม มุ่งพัฒนาปรับปรุงคุณภาพการเรียนการสอนเพื่อให้เด็กไทยมีสมรรถนะไม่ด้อยไปกว่านานาประเทศ เท่าทันต่อการเปลี่ยนแปลงในโลกยุคใหม่ และสามารถประยุกต์ใช้ความรู้ในโลกความเป็นจริง เพื่อให้ผลลัพธ์จากระบบการศึกษาไม่เป็นเพียงแค่กระดาษใบหนึ่งเท่านั้น
▪️ บทความเรื่อง “เศรษฐกิจใหม่ ไม่ใช่แค่กรุงเทพฯ ที่ขับเคลื่อนประเทศไทย” โดย ‘นนท์ พฤกษ์ศิริ’ ตั้งคำถามชวนคิด ว่าทำไมงานดี ๆ รายได้สูง ส่วนใหญ่จึงกระจุกอยู่ในกรุงเทพฯ เท่านั้น จะดีแค่ไหนหากเด็กจบใหม่และคนวัยทำงานมีทางเลือกในชีวิตเพิ่มขึ้น สามารถกลับไปสร้างเนื้อสร้างตัวได้จากการหางานที่ดี ใช้ทักษะสูง ตรงกับศักยภาพของตัวเองได้ในต่างจังหวัด
▪️ บทความ “เมืองอัจฉริยะไม่เพียงแต่ในกระดาษ” โดย ‘ดร. ปิยะกุล สมสิริวงศ์’ หยิบยกแนวคิดของการสร้างเมืองแห่งอนาคต ภายใต้หลักการการพัฒนา ‘เมืองอัจฉริยะ’ หรือ Smart City พร้อมชี้ให้เห็นถึงปัญหาของการขับเคลื่อนโครงการนี้ ภายใต้บทบาทของภาครัฐที่เน้นการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามาเป็นเครื่องมือ และมักชี้วัดด้วยปริมาณเม็ดเงินที่ใส่เข้าไปในโครงการ โดยไม่ได้เริ่มต้นจากการเน้นคนเป็นจุดศูนย์กลางของการพัฒนา
▪️ บทความเรื่อง “การคุ้มครองทางสังคมในบริบทความไม่แน่นอน” โดย ‘วิไลลักษณ์ ภูลี’ ตั้งประเด็นที่น่าสนใจว่า คนไทยจำนวนมากไม่กล้าที่จะเลือกเดินตามความฝัน ไม่กล้าที่จะริเริ่มสร้างธุรกิจของตนเอง ไม่มีโอกาสได้ปลดปล่อยศักยภาพตามความชอบของตัวเองได้อย่างเต็มที่ เพราะขาดระบบคุ้มครองทางสังคม (Social protection) ที่เพียงพอ ที่จะคอยรองรับผลกระทบทางลบภายใต้ความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจและความไม่แน่นอนต่ออาชีพ
▪️ บทความเรื่อง “เปิดโลกการคลังบนเส้นทางแห่งอนาคตที่ยั่งยืน” โดย ‘สัณหณัฐ เศรษฐศักดาศิริ‘ ชี้ให้เห็นถึงความจำเป็นเร่งด่วนที่ภาครัฐไทยจำเป็นต้องปฏิรูปทางการคลัง ทั้งด้านรายรับและรายจ่ายของภาครัฐ เพื่อความมั่นคงและยั่งยืนทางการคลังในระยะยาว ไม่ใช่เพียงเพื่อความอยู่รอดของรัฐบาล แต่เพื่อไม่ให้ข้อจำกัดด้านการคลังมาบดบังการพัฒนาประเทศ และเป็นเหตุให้คุณภาพชีวิตของประชาชนคนไทยลดลง สร้างภาระหนักอึ้งให้กับคนรุ่นลูกรุ่นหลานในอนาคต
อ่าน 9 ความฝันที่สะท้อนผ่านบทความชุดนี้ไม่ได้เป็นเพียงแค่ความปรารถนา แต่คือแรงบันดาลใจที่ชี้ให้เห็นถึงความจำเป็นในการสร้างความเปลี่ยนแปลงที่เป็นรูปธรรมในประเทศไทย คลิก https://thaipublica.org/2024/12/future-economy-11/
#สร้างสังคมไทยแห่งโอกาส #ความฝันนักเศรษฐศาสตร์รุ่นใหม่ #ไทยพับลิก้า

20/12/2024

#สิงคโปร์ ครองอันดับ 1
นักลงทุน FDI ใน #เวียดนาม
ทุนจดทะเบียนสูงเป็นประวัติการณ์
9.14 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
(รายละเอียดใน Comment)

รฟท. คัดที่ดินทำเลทอง 25 แปลง สร้าง “บ้านเพื่อคนไทย” ทั่วประเทศ| เกาะกระแส | จากผลการสำรวจที่ดินที่มีศักยภาพสูง ที่จะนำม...
20/12/2024

รฟท. คัดที่ดินทำเลทอง 25 แปลง สร้าง “บ้านเพื่อคนไทย” ทั่วประเทศ
| เกาะกระแส | จากผลการสำรวจที่ดินที่มีศักยภาพสูง ที่จะนำมาใช้ในการดำเนินโครงการบ้านเพื่อคนไทย จัดทำโดยการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) รายงานต่อที่ประชุม ครม.เพื่อทราบเมื่อวันที่ 3 ธันวาคม 2567 พบว่า ที่ดินรอบพื้นที่สถานีรถไฟ หรือ มีทำเลที่ตั้งใกล้กับระบบรางที่ รฟท.ไม่ได้ใช้ เพื่อการเดินรถทั้งประเทศมีประมาณ 38,000 ไร่
ตั้งอยู่ในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล และกระจายอยู่ตามภูมิภาคต่างทั่วประเทศนั้น การรถไฟแห่งประเทศไทยได้ใช้หลักเกณฑ์การพิจารณาคัดเลือกพื้นที่ที่มีศักยภาพสูง ที่จะนำมาสร้าง “บ้านเพื่อคนไทย” พบว่า มีพื้นที่มีศักยภาพ 112 พื้นที่ และในจำนวนนี้เป็นพื้นที่ที่มีศักยภาพสูง พอที่จะนำมาใช้ในการดำเนินโครงการนี้ได้ 25 พื้นที่ คิดเป็นพื้นที่ที่รวม 700.14 ไร่
อ่านรายละเอียด 25 พื้นที่ทั่วประเทศ สร้าง “บ้านเพื่อคนไทย” https://thaipublica.org/2024/12/srt-selects-25-prime-land-plots-to-build-homes-for-thais/
#บ้านเพื่อคนไทย #รฟท #รัฐบาลแพทองธาร #ไทยพับลิก้า

บางจากฯ เดินหน้า ESG สร้างสมดุล “มูลค่า” กับ “คุณค่า” ในการทำธุรกิจ| Thaipublica Channel | ตลอด 40 ปีที่ผ่านมา บริษัท บา...
20/12/2024

บางจากฯ เดินหน้า ESG สร้างสมดุล “มูลค่า” กับ “คุณค่า” ในการทำธุรกิจ
| Thaipublica Channel | ตลอด 40 ปีที่ผ่านมา บริษัท บางจาก คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ BCP ผู้นำธุรกิจพลังงานของไทย ให้ความสำคัญกับการสร้างและรักษาสมดุล ระหว่างมูลค่าในการทำธุรกิจและคุณค่าทางสิ่งแวดล้อมและสังคม ซึ่งถือเป็นรากฐานที่มีส่วนผลักดันให้ธุรกิจของบางจากฯ ทั้ง 5 กลุ่มธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มธุรกิจโรงกลั่นและการค้าน้ำมัน กลุ่มธุรกิจการตลาด กลุ่มธุรกิจไฟฟ้าพลังงานสะอาด กลุ่มธุรกิจผลิตภัณฑ์ชีวภาพ และกลุ่มธุรกิจทรัพยากรธรรมชาติ เติบโตอย่างแข็งแกร่งและยั่งยืน
ในปี 2567 นี้ บางจากฯ ได้รับรางวัล SET Awards 2024 “Sustainability Awards of Honor” ในกลุ่มรางวัล Sustainability Excellence จากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ต่อเนื่องเป็นปีที่ 5 สะท้อนถึงขีดความสามารถและศักยภาพของบางจากฯ ในการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน
บางจากฯ ก้าวสู่ทศวรรษที่ 5 ด้วยแนวคิด “Greenovate to Regenerate – สมดุลธรรมชาติ สรรค์พลังไม่สิ้นสุด” ที่มุ่งเน้นการสร้างสมดุลระหว่างมูลค่าทางธุรกิจและคุณค่าต่อสิ่งแวดล้อมและสังคม ตอกย้ำความมุ่งมั่นในการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน
‘นางกลอยตา ณ ถลาง’ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ งานบริหารความยั่งยืนและสื่อสารองค์กร บริษัท บางจาก คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ปีนี้บางจากฯ ครบรอบ 40 ปี ก้าวสู่ทศวรรษที่ 5 โดยมีรากฐานการทำธุรกิจมาจากเรื่องของการสร้างสมดุลระหว่างสิ่งที่เรียกว่า “มูลค่า” กับ “คุณค่า” โดยมีปรัชญาตั้งแต่ต้นว่า เมื่อทำธุรกิจมีกำไรแล้ว ต้องมอบกำไรให้กับสังคม สิ่งแวดล้อม และชุมชนด้วย
จุดเด่นที่เป็นเอกลักษณ์ของบางจากฯ ก็คือ การเติบโตคู่มากับชุมชน จากโรงกลั่นที่เล็กที่สุดในประเทศ ขณะเดียวกันก็ได้มีการน้อมนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการดำเนินธุรกิจ บางจากฯ จึงให้ความสำคัญกับสมดุล ทั้งในการทำกำไรของธุรกิจ การตอบแทนให้สังคม สิ่งแวดล้อม ชุมชน รวมถึงมีให้ผู้ถือหุ้น ไปจนถึงสมดุลในการทำเรื่อง ESG ที่คำนึงถึงผู้ที่อยู่โดยรอบและสังคมในภาพรวม
สอดคล้องกับวัฒนธรรมพนักงานที่ไม่เคยเปลี่ยนไปตลอด 40 ปี นั่นก็คือ “เป็นคนดี มีความรู้ เป็นประโยชน์ต่อผู้อื่น” สะท้อนถึงความเป็นคนดีของสังคมมาจากข้างใน ทำให้เป็นรากฐานของความยั่งยืน เพราะการที่จะเติบโตอย่างยั่งยืนได้ ต้องดูแลทุกอย่าง
“วันนี้เวลาพูดเรื่องความยั่งยืน คนส่วนใหญ่จะนึกถึงเรื่องของสภาพภูมิอากาศ เรื่องสิ่งแวดล้อม เป็นเรื่องแรก ซึ่งไม่ผิด เพราะเป็นเรื่องที่ใกล้ตัว และเกิดการเปลี่ยนแปลงมากที่สุด แต่จริง ๆ แล้ววันนี้ความยั่งยืนครอบคลุมมากกว่านั้น ทั้งในเรื่องการศึกษา การจ้างงาน สิทธิมนุษยชน เรื่องคุณภาพน้ำ และเรื่องอื่น ๆ อีกมากมาย สิ่งนี้เป็นรากฐานของบางจากฯ ที่ทำให้เราดูแลเรื่องความยั่งยืนอย่างครอบคลุมมาตั้งแต่ต้น” นางกลอยตา กล่าว
รับฟัง ThaiPublica Podcast: https://www.youtube.com/watch?v=ja4-gJ4fCKQ
#โลกเดือด #บางจาก #ไทยพับลิก้า

ตลอด 40 ปีที่ผ่านมา บริษัท บางจาก คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ BCP ผู้นำธุรกิจพลังงานของไทย ให้ความสำคัญกับกา...

UNGCNT Forum ชูธุรกิจแห่งอนาคต Inclusive Business พลิกโลกปัจจุบันให้ยั่งยืน| Sustainability | สมาคมเครือข่ายโกลบอลคอมแพ็...
20/12/2024

UNGCNT Forum ชูธุรกิจแห่งอนาคต Inclusive Business พลิกโลกปัจจุบันให้ยั่งยืน
| Sustainability | สมาคมเครือข่ายโกลบอลคอมแพ็กแห่งประเทศไทย (UNGCNT) ผนึกสมาชิก 140 องค์กร จับมือสหประชาชาติ เดินหน้าโมเดลธุรกิจแห่งอนาคต Inclusive Business สร้างกำไรอย่างยั่งยืน ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง เพื่อให้บรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ขณะที่ UN ชูภาคเอกชนไทยคือหัวหอกเปลี่ยนสังคมไทยเป็นธรรม ตั้งเป้าหมายการระดมทุน 160,000 ล้านบาท สร้างธุรกิจสีเขียว
นายศุภชัย เจียรวนนท์ นายกสมาคมเครือข่ายโกลบอลคอมแพ็กแห่งประเทศไทย กล่าวว่า การประชุม GCNT Forum จัดขึ้นต่อเนื่องเป็นปีที่ 6 เพื่อแสดงพลังของสมาชิกสมาคมฯ เกือบ 140 องค์กร ทุกขนาด ทุกภาคอุตสาหกรรม ยกระดับการทำธุรกิจอย่างรับผิดชอบและยั่งยืน ตามหลักสหประชาชาติบนพื้นฐานหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ช่วยให้ประเทศไทยบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน Sustainable Development Goals – SDGs Goals ทั้ง 17 ข้อ อย่างเท่าเทียม ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง
“เราเชื่อมั่นว่าสมาชิกได้ลงมือทำตลอดห่วงโซ่อุปทานและขอบเขตธุรกิจ ซึ่งจะสามารถสร้างความเปลี่ยนแปลงอย่างแท้จริงและยั่งยืน ดังจะเห็นได้จากรายงานประจำปีที่สมาชิก ได้จัดส่งต่อ UN Global Compact ภายในวันที่ 31 ธันวาคม พบว่า 98% ของสมาชิก ได้จัดทำรายงานนโยบายด้านความยั่งยืน ครอบคลุมด้านสิทธิมนุษยชน แรงงาน สิ่งแวดล้อม และการต่อต้านการทุจริต รวมถึงจัดตั้งหน่วยงานเฉพาะรับผิดชอบการดำเนินงานด้านความยั่งยืน มีมาตรการป้องกันความเสี่ยง และรายงานผลการตรวจสอบรอบด้าน หรือ Due Diligence” นายศุภชัย กล่าว
จากข้อมูลของสมาคมฯ พบว่า ไทยมีความคืบหน้าในการบรรลุ SDGs ระดับดีเยี่ยม 4 เป็นอันดับที่ 1 ของอาเซียน 6 ปีติดต่อกัน และเป็นอันดับที่ 45 ของ 166 ประเทศทั่วโลก หรือได้คะแนน 74.7 คะแนน ขณะที่คะแนนเฉลี่ยของภูมิภาค อยู่ที่ 67.2 แต่สิ่งที่น่ากังวลจากรายงาน สำนักงานใหญ่ UN Global Compact ที่ นครนิวยอร์ก เมื่อพิจารณาระดับโลกแล้วกลับมีเพียง 17% ตามการรายงาน SDGs Growth Rate ในปี 2024 ที่ บรรลุตามแผน ขณะที่ สัดส่วน 48% มีความล่าช้า และอีก 37% ยังไม่มีความคืบหน้าใดๆ หรือมีความถดถอย
อ่าน 3 ความท้าทายที่ต้องปรับตัว 5 เป้าหมายเร่งสร้างความยั่งยืน https://thaipublica.org/2024/12/ungcnt-forum-2024-inclusive-business-02/
#ธุรกิจสีเขียว #ไทยพับลิก้า

กลยุทธ์ “อธิปไตย AI” ของ Nvidia สำหรับอาเซียน เริ่มต้นจากการตั้งศูนย์ AI Center ในเวียดนาม| สู่อาเซียน | เมื่อวันที่ 12 ...
19/12/2024

กลยุทธ์ “อธิปไตย AI” ของ Nvidia สำหรับอาเซียน เริ่มต้นจากการตั้งศูนย์ AI Center ในเวียดนาม
| สู่อาเซียน | เมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2567 ศูนย์นวัตกรรมแห่งชาติของเวียดนามประกาศว่า การลงนามความตกลงระหว่างรัฐบาลเวียดนามกับ Nvidia บริษัทไฮเทคของสหรัฐฯ จะมีการตั้งศูนย์วิจัยและศูนย์ดาต้า AI ในเวียดนาม เพื่อสนับสนุน Nvidia และหุ้นส่วนเวียดนาม ในการส่งเสริมการวิจัยและการใช้เทคโนโลยี AI
โครงสร้างพื้นฐานใหม่นี้จะให้การสนับสนุนแก่ยุทธศาสตร์ AI ของเวียดนาม เพื่อเป็นรากฐานแก่การพัฒนาทักษะ AI โดยอาศัยความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยีของ Nvidia เป็นปัจจัยที่จะช่วยเร่งรัดการนำ AI มาใช้ในด้านสาธารสุข การศึกษา การขนส่ง และการเงิน นอกเหนือจากการสร้างงานให้กับบุคลากรที่มีความสามารถ
Nguyen Chi Dung รัฐมนตรีกระทรวงวางแผนและการลงทุน กล่าวว่า “รัฐบาลเวียดนามถือนวัตกรรมเป็นกุญแจสำคัญในยุทธศาสตร์การพัฒนา มุ่งมั่นที่จะสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวยที่สุดแก่บริษัทเทคโนโลยีชั้นนำของโลกอย่างเช่น Nvidia ที่จะเข้ามาดำเนินโครงการวิจัยและพัฒนาในเวียดนาม”
Nvidia จะทำงานร่วมกับ Viettel Group บริษัทโทรคมนาคมของรัฐบาลเวียดนาม ในการพัฒนาเทคโนโลยี AI โดย Viettel เป็นหุ้นส่วนยุทธศาสตร์กับ Nvidia ตั้งแต่ปี 2022
Nvidia จะส่งเสริมการพัฒนาอุตสาหกรรม AI ในเวียดนาม โดยการสร้างโครงสร้างพื้นฐาน ฝีกอบรมให้เวียดนามมีผู้เชี่ยวชาญ AI มากขึ้น และสนับสนุนธุรกิจสตาร์ทอัพ AI
Nvidia ยังเข้าซื้อบริษัท VinBrain กิจการ AI ของกลุ่ม Vingroup โดยถือเป็นจุดเริ่มต้นของการตั้งศูนย์ออกแบบขนาดใหญ่ในอนาคต
ThaiPublica ชวนอ่านแนวคิด “อธิปไตย AI” เสนอโดย Jensen Huang อันหมายถึงการพัฒนาระบบนิเวศ AI เฉพาะของแต่ละประเทศ ที่ใช้ประโยชน์ข้อมูลท้องถิ่น แรงงาน และโครงสร้างพื้น เป็นหนทางใช้ประโยชน์อำนาจของ AI โดยที่ตัวเองเป็นฝ่ายควบคุมทรัพยากรและเทคโนโลยี ซึ่งภายหลังการเยือนไทยกับเวียดนาม แถลงการณ์สรุปการเดินทางของ Nvidia ระบุว่า “ประเทศไทยและเวียดนามยอมรับและสนับสนุนเรื่องนี้“
คลิก https://thaipublica.org/2024/12/pridi358-ai-nvidia/
ที่มาภาพ: vietnamexpress
รายงานโดย: ปรีดี บุญซื่อ
#อธิปไตยAI #เวียดนาม #ไทยพับลิก้า

“บุหรี่ไฟฟ้า” สร้างขยะมหาศาล อังกฤษทิ้งวันละล้านกว่าชิ้น - สหรัฐฯ ทิ้งวินาทีละ 5.7 ชิ้น| Sustainability | นอกจากข้อเสียข...
19/12/2024

“บุหรี่ไฟฟ้า” สร้างขยะมหาศาล อังกฤษทิ้งวันละล้านกว่าชิ้น - สหรัฐฯ ทิ้งวินาทีละ 5.7 ชิ้น
| Sustainability | นอกจากข้อเสียของบุหรี่ไฟฟ้าในแง่สุขภาพแล้ว บุหรี่ไฟฟ้าแบบใช้แล้วทิ้งยังเป็นภัยต่อสิ่งแวดล้อมอย่างรุนแรง เนื่องจากเป็นผลิตภัณฑ์ที่ใช้วัสดุที่ยากต่อการจัดการ ทั้งพลาสติกที่ใช้เวลาย่อยสลายยาวนาน และแบตเตอรีลิเธียมไอออนซึ่งเป็นขยะอิเล็กทรอนิกส์
ผลกระทบที่มีต่อสิ่งแวดล้อมของบุหรี่ไฟฟ้า หนักหนาจนกระทั่งสหราชอาณาจักร ตัดสินใจ “ห้ามขายบุหรี่ไฟฟ้าแบบใช้แล้วทิ้ง” ในเดือนมิถุนายนปีหน้า เพราะแต่ละวันขยะจากบุหรี่ไฟฟ้าแบบใช้แล้วทิ้งมีมากกว่า 1 ล้านชิ้น เฉลี่ยแล้วมีการทิ้งวินาทีละ 13 ชิ้น ขณะที่ในสหรัฐฯ แม้จะมีอัตราการทิ้งน้อยกว่า แต่โดยเฉลี่ยแล้วก็ยังมีการทิ้งมากถึงวินาทีละ 5.7 ชิ้น
อัตราการใช้บุหรี่ไฟฟ้าขยายตัวขึ้นอย่างรวดเร็ว ประเมินกันว่ายอดขายบุหรี่ไฟฟ้าทั่วโลก ในปี 2023 มีมูลค่ามากกว่า 28 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ
เดิมทีบุหรี่ไฟฟ้าออกแบบขึ้นมา เพื่อช่วยเหลือคนที่พยายามเลิกบุหรี่ ซึ่งเป็นข้อดีอย่างหนึ่งของบุหรี่ไฟฟ้า แต่ต่อมาบุหรี่ไฟฟ้าตกเป็นเป้าหมายการโจมตีของหลายฝ่าย
เพราะผู้ผลิตโฆษณาประชาสัมพันธ์อย่างชาญฉลาด จนเป้าหมายของการใช้บุหรี่ไฟฟ้าเบี่ยงเบนไปจากเดิม แทนที่จะช่วยลดการเสพติดบุหรี่ กลับกลายเป็นการดึงดูดคนกลุ่มใหม่ให้มาใช้ผลิตภัณฑ์นี้
ประเด็นสำคัญอยู่ที่การเลือกขยายตลาดเข้าสู่กลุ่มเยาวชนของบุหรี่ไฟฟ้า จนกระทั่งถูกวิจารณ์อย่างหนักหน่วงว่า ไร้ความรับผิดชอบต่อสังคม เนื่องจากการออกแบบบุหรี่ไฟฟ้าให้มีสีสันสดใส รูปแบบดึงดูดใจ รวมถึงปรุงแต่งไอระเหยให้มีกลิ่นผลไม้และหมากฝรั่ง คือการจงใจออกแบบเพื่อดึงดูดเด็ก ๆ ให้หันไปทดลองบุหรี่ไฟฟ้าอย่างชัดเจน
บุหรี่ไฟฟ้าเป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ที่บรรจุภัณฑ์ภายนอกทำจากพลาสติกเป็นหลัก และใช้พลังงานจากแบตเตอรีลิเธียมไอออน เพื่อให้ความร้อนแก่ขดลวดโลหะ ซึ่งจะทำให้ของเหลวที่มีสารนิโคตินหรือผลิตภัณฑ์กัญชา กลายเป็นไอโดยไม่มีควันจากกระบวนการเผาไหม้ เหมือนบุหรี่ปกติทั่วไป
ยูเอ็นระบุว่า แต่ละปีทั่วโลกมีขยะจากบุหรี่ไฟฟ้ามากถึง 844 ล้านชิ้น
อ่านเนื้อหาฉบับเต็ม..ข่าวและบทความที่เกี่ยวข้อง https://thaipublica.org/2024/12/sunisa34-vape-waste/
ที่มาภาพ: theguardian
รายงานโดย: สุนิสา กาญจนกุล
#บุหรี่ไฟฟ้า #ขยะบุหรี่ไฟฟ้า #ผลกระทบสิ่งแวดล้อม #ขยะอิเล็กทรอนิกส์ #ไทยพับลิก้า

ttb analytics คาดปี 2568 โตเพียง 2.6% ชี้ความเสี่ยงฉุดเศรษฐกิจไทยสูงขึ้น| Research Reports | ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ ทีที...
19/12/2024

ttb analytics คาดปี 2568 โตเพียง 2.6% ชี้ความเสี่ยงฉุดเศรษฐกิจไทยสูงขึ้น
| Research Reports | ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ ทีทีบี หรือ ttb analytics ประเมินการเติบโตของเศรษฐกิจไทยในปี 2568 จะอยู่ที่ 2.6% ชะลอลงเล็กน้อยจากปีก่อน โดยมีปัจจัยสนับสนุนหลักมาจากการบริโภคภาคเอกชนและภาคการท่องเที่ยว รวมถึงการลงทุนภาครัฐที่ขยายตัวดีกว่าปีที่ผ่านมา แต่ระดับการเติบโตของเศรษฐกิจไทยยังคงต่ำสุดในภูมิภาค และต่ำกว่าศักยภาพเดิมในอดีต
มองไปข้างหน้า ความเสี่ยงของเศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มสูงขึ้น เนื่องจาก

1) การบริโภคภาคเอกชนชะลอตัวลงจากหนี้ครัวเรือนในระดับสูงและความระมัดระวังในการปล่อยสินเชื่อของสถาบันการเงิน ประกอบกับผลบวกจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจค่อนข้างจำกัด
�2) แรงส่งที่มาจากภาคท่องเที่ยวและบริการลดลงจากจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เข้าใกล้ระดับปกติมากขึ้น
�3) การส่งออกสินค้ามีแนวโน้มชะลอตัวลงตามเศรษฐกิจและการค้าโลก รวมถึงอานิสงส์จากการหันไปส่งออกเพื่อเลี่ยงเส้นทางการค้าของผู้ผลิตจีนไปยังสหรัฐฯ จะเริ่มลดลง
นอกจากนี้ ผลพวงจากอุปทานส่วนเกินของสินค้าจากจีนที่จะระบายมายังไทยเพิ่มเติม จะยิ่งซ้ำเติมปัญหาเชิงโครงสร้างของภาคการผลิตไทยให้ทวีความรุนแรงขึ้น กระทบความสามารถในการแข่งขันของไทยในระยะยาว
ttb analytics ประเมินว่าคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) จะลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงอย่างน้อย 2 ครั้ง มาอยู่ที่ 1.75% ณ สิ้นปี 2568 จากนโยบายทางการเงินที่ค่อนข้างตึงตัว ทำให้แรงกดดันต่อต้นทุนทางการเงินของภาคธุรกิจและครัวเรือนมีข้อจำกัดมากขึ้น การขยายตัวทางเศรษฐกิจและอัตราเงินเฟ้อมีแนวโน้มต่ำกว่าที่ประเมินไว้ก่อนหน้า อีกทั้งระดับอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงของไทยค่อนข้างสูงเมื่อเทียบกับศักยภาพการเติบโตของเศรษฐกิจไทยในระยะยาวที่มีแนวโน้มต่ำลง
ส่วนด้านเสถียรภาพทางการเงิน คาดว่าแรงกดดันด้านเงินเฟ้อค่อนข้างต่ำและมีแนวโน้มเข้าใกล้กรอบล่างเป้าหมาย ตามราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกที่คาดว่าจะปรับลดลงต่อเนื่อง รวมถึงแนวโน้มการคงมาตรการชดเชยด้านราคาพลังงานและมาตรการลดค่าครองชีพออกไป
ในส่วนของค่าเงินบาท ttb analytics มองว่า ณ สิ้นปี 2568 จะอยู่ที่ 34-35 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ โดยค่าเงินบาทมีโอกาสเคลื่อนไหวผันผวนไปในทิศทางอ่อนค่ากว่าในช่วงที่ผ่านมา
ทั้งนี้ แม้ทิศทางการดำเนินนโยบายการเงินเข้าสู่วัฎจักรผ่อนคลาย (Easing Cycle) ทั่วโลก แต่แนวโน้มการลดอัตราดอกเบี้ยของสหรัฐฯ (FFR) ในปี 2568 อาจน้อยกว่าที่ประเมินไว้ ท่ามกลางจังหวะการปรับลดอัตราดอกเบี้ยของสหรัฐฯ รวมถึงนโยบายเศรษฐกิจและการค้าภายใต้การบริหารของ ประธานาธิบดีทรัมป์ที่ยังมีความไม่แน่นอนสูง ซึ่งจะทำให้ดัชนีเงินดอลลาร์สหรัฐ (DXY) มีจังหวะแข็งค่าขึ้นได้เร็ว
อ่านบทวิเคราะห์ฉบับเต็ม..ข่าวและบทความที่เกี่ยวข้อง https://thaipublica.org/2024/12/ttb-analytics-gdp2568/
#คาดการณ์เศรษฐกิจไทย #เงินเฟ้อ #ค่าเงินบาท #ดอกเบี้ยนโยบาย #ไทยพับลิก้า

“อมตะ” ยึดหลัก “ALL WIN” ออกแบบบริการ-สร้างเมืองอุตสาหกรรมยั่งยืน | Thaipublica Channel | ภายใต้การเปลี่ยนแปลงของโลกที่ไ...
19/12/2024

“อมตะ” ยึดหลัก “ALL WIN” ออกแบบบริการ-สร้างเมืองอุตสาหกรรมยั่งยืน
| Thaipublica Channel | ภายใต้การเปลี่ยนแปลงของโลกที่ไม่เหมือนเดิม โดยเฉพาะการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เป็นปัจจัยที่ท้าทายต่อการดำเนินธุรกิจ “นิคมอุตสาหกรรม” ในปัจจุบันเป็นอย่างมาก นอกจากจะทำให้เกิดความเสี่ยงต่อการบริหารจัดการ เช่น น้ำ พลังงาน รวมทั้งโครงสร้างพื้นฐานอื่น ๆ แล้ว ผู้พัฒนาเมืองให้นักลงทุน/ผู้ประกอบการในนิคมอุตสาหกรรมต้องปรับตัวให้ทันกับการเปลี่ยนแปลง เพื่อรักษาความสามารถทางการแข่งขัน สร้างการเติบโตได้อย่างต่อเนื่องและยั่งยืน
บริษัท อมตะ คอร์ปอเรชัน จำกัด (มหาชน) เป็นหนึ่งในผู้พัฒนานิคมอุตสาหกรรมรายใหญ่ของไทย ที่ให้ความสำคัญกับการนำแนวคิดเรื่องความยั่งยืนในกรอบ ESG มาปรับใช้ในการดำเนินธุรกิจไปพร้อมกับการดูแลผลกระทบของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกฝ่ายในนิคมอุตสาหกรรมและชุมชนโดยรอบ ผ่านหลักปรัชญาที่เรียกว่า “ALL WIN”
‘นายสัทธา วนลาภพัฒนา’ รักษาการประธานเจ้าหน้าที่กลยุทธ์และผู้ช่วยประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท อมตะ คอร์ปอเรชัน จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า “ความยั่งยืน หรือ ESG เป็นค่านิยมหลักที่อมตะทำมาตั้งแต่เริ่มต้น โดยไม่ได้มองว่านิคมฯ เป็นเพียงธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ แต่ยังเป็นผู้พัฒนาเมืองที่มีศักยภาพในการให้บริการดูแลลูกค้าอย่างยั่งยืนในระยะยาว”
คำว่า “ALL WIN” เป็นคีย์เวิร์ดที่คุณวิกรม กรมดิษฐ์ (ประธานกรรมการ ปัจจุบันรักษาการประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ) ได้ให้ไว้ ซึ่งทำให้อมตะเข้าไปอยู่เป็นเหมือนเพื่อนใหม่ในสังคมนั้น ๆ เป็นกิจกรรมใหม่ในพื้นที่นั้น ๆ ได้อย่างกลมกลืน แล้วก็อยู่ด้วยกันได้ พยายามที่จะให้มีผลกระทบในเชิงลบน้อยที่สุด มีผลกระทบเชิงบวกในพื้นที่ และถูกส่งผ่านมาทางกระบวนการของบริษัทแล้วก็ค่อยๆ ปรับจนเริ่มมีเฟรมเวิร์ก
เมื่อโลกปัจจุบันต่างให้ความสำคัญกับประเด็นเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศมากขึ้น ความท้าทายของผู้พัฒนาเมืองอุตสาหกรรม ก็คือ การทำให้กลยุทธ์ด้านความยั่งยืนหรือเรื่องของความยั่งยืนที่วางแผนไว้ถูกปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม
ท่ามกลางภาวะโลกเดือด จากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและเทคโนโลยีที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว นายสัทธาเน้นย้ำว่า “อมตะจึงต้องมีความสามารถในการปรับองค์กรให้พร้อม เพื่อรับการเปลี่ยนแปลงในทุกวัน”
รับฟัง ThaiPublica Podcast: https://www.youtube.com/watch?v=TVAT-Udqm7Q
#โลกเดือด #เมืองอุตสาหกรรมยั่งยืน #นิคมอุตสาหกรรมอมตะ #ไทยพับลิก้า

ภายใต้การเปลี่ยนแปลงของโลกที่ไม่เหมือนเดิม โดยเฉพาะการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เป็นปัจจัยที่ท้าทายต่อ....

Live Strong Live Long… “ลงทุน” ให้สุขภาพ “แข็งแรง” ต้อง ‘Strong Buy’ สำหรับทุกคน…| คอลัมน์ | ...การลงทุนดูแลสุขภาพต้นทุน...
19/12/2024

Live Strong Live Long… “ลงทุน” ให้สุขภาพ “แข็งแรง” ต้อง ‘Strong Buy’ สำหรับทุกคน…
| คอลัมน์ | ...การลงทุนดูแลสุขภาพต้นทุนต่ำ แต่ผลตอบแทนสูงมากกว่าการลงทุนทุกประเภทที่ผมได้เคยประสบมา…
หากผมยังเป็นนักวิเคราะห์อยู่ และหากผมต้องให้คะแนนการดูแลสุขภาพ ก็จะต้องให้เป็น ‘Strong Buy’ สำหรับทุกคน
LIVE STRONG LIVE LONG…“ลงทุน” ให้สุขภาพ “แข็งแรง” เป็นหนังสือเกี่ยวกับสุขภาพเล่มที่สามของผม ผมเขียนหนังสือเล่มนี้ขึ้นในช่วง 4 ปีที่ผ่านมา ผมได้ค้นคว้าหาความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพ ทำให้ได้รับข้อมูลที่น่าสนใจและประสบการณ์จากการปฏิบัติตัวเพื่อรักษาสุขภาพตัวเอง ซึ่งคิดว่าน่าจะเป็นประโยชน์ จึงอยากจะนำมาแบ่งปันและเล่าสู่กันฟังให้กับผู้ที่สนใจเรื่องสุขภาพ
อย่างไรก็ตาม ต้องขอย้ำว่าเนื้อหาในเล่มนี้ เป็นการนำเสนอข้อมูลและและแบ่งปันประสบการณ์ส่วนตัว ไม่ใช่การวินิจฉัยโรค หรือการให้คำแนะนำทางการแพทย์แต่อย่างใด การดูแลสุขภาพควรต้องปรึกษาแพทย์เป็นประจำเพื่อให้ได้ข้อมูลที่เฉพาะเจาะจง เป็นประโยชน์กับสภาวะร่างกายและข้อจำกัดของแต่ละคนที่ย่อมแตกต่างกัน
ThaiPublica ชวนเปิดมุมมองการแสวงหาข้อมูลที่ถูกต้องและทำความเข้าใจเกี่ยวกับข้อมูลสุขภาพอย่างถ่องแท้ จนกระทั่งสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้จริงนั้น แม้ไม่ใช่เรื่องง่ายแต่ผู้เขียนพิสูจน์แล้วว่าสิ่งที่ได้รับกลับมา คือ “ความรู้ในเรื่องที่สำคัญที่สุด สำหรับการมีชีวิตอย่างมีคุณภาพ”
คลิก https://thaipublica.org/2024/12/supavud-saicheua-live-strong-live-long-strong-buy/
บทความโดย: ดร.ศุภวุฒิ สายเชื้อ
#การลงทุนนในสุขภาพ #การลงทุนที่คุ้มค่า #ไทยพับลิก้า

Thaipublica’s Pick: นักท่องเที่ยวไทย เน้นเที่ยวราคาคุ้มค่า ชอบสถานที่ใส่ใจสิ่งแวดล้อม - มีโปรโมชันพิเศษผลการศึกษาล่าสุดใ...
19/12/2024

Thaipublica’s Pick: นักท่องเที่ยวไทย เน้นเที่ยวราคาคุ้มค่า ชอบสถานที่ใส่ใจสิ่งแวดล้อม - มีโปรโมชันพิเศษ
ผลการศึกษาล่าสุดในหัวข้อ “Travel Redefined: Understanding and Catering to the Diverse Needs of APAC Travellers” หรือ “การท่องเที่ยวในมิติใหม่: ทำความเข้าใจและตอบสนองความต้องการที่หลากหลายของนักท่องเที่ยวในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก” จากคนกว่า 12,000 คนใน 9 ประเทศ โดย Traveloka (ทราเวลโลก้า) ร่วมกับ YouGov ชี้ให้เห็นว่าพฤติกรรมการเที่ยวกำลังเปลี่ยนไป ทั้งเรื่องการเลือกราคาที่คุ้มค่าและการใส่ใจสิ่งแวดล้อม
การท่องเที่ยวภายในประเทศกำลังได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นทั่วภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก โดยเฉพาะในประเทศไทย ซึ่งถือเป็นปัจจัยสำคัญในการฟื้นฟูอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว
จากการสำรวจพบว่านักท่องเที่ยวชาวไทยส่วนใหญ่ 70% ชื่นชอบการท่องเที่ยวภายในประเทศมากกว่า โดยให้เหตุผลหลักว่าประหยัดค่าใช้จ่ายและสะดวกสบายกว่า 63% แนวโน้มนี้สะท้อนให้เห็นจากความนิยมที่เพิ่มขึ้นของสถานที่ท่องเที่ยวยอดนิยม เช่น ภูเก็ต เชียงใหม่ และกาญจนบุรี
#ราคาเป็นปัจจัยสำคัญในการตัดสินใจ โดย 41% ของผู้ตอบแบบสอบถาม ระบุว่าความสามารถในการจ่าย เป็นสิ่งที่พิจารณาเป็นอันดับแรกเมื่อเลือกที่พัก นอกจากนี้ การให้ความสำคัญกับราคายังส่งผลต่อการเลือกจุดหมายปลายทางด้วย โดย 32% ของนักท่องเที่ยวชาวไทย ยินดีพิจารณาสถานที่ท่องเที่ยวใหม่ ๆ ที่ไม่เคยไปมาก่อน หากมีข้อเสนอที่น่าสนใจ เช่น โปรโมชันหรือส่วนลดพิเศษ
#โซเชียลมีเดียมีบทบาทสำคัญในการวางแผนท่องเที่ยว เมื่อพูดถึงเครื่องมือดิจิทัลสำหรับการวางแผนการท่องเที่ยว นักท่องเที่ยวในประเทศไทยส่วนใหญ่ 46% นิยมใช้สื่อสังคมออนไลน์เป็นหลัก ในขณะที่อีก 37% เลือกใช้แพลตฟอร์มการจองการเดินทาง ซึ่งช่วยอำนวยความสะดวกในการจองและมอบตัวเลือกที่ยืดหยุ่นมากขึ้น
นักท่องเที่ยวในไทยชอบการเดินทางที่ใส่ใจความยั่งยืนและธรรมชาติ โดย 85% ของผู้ตอบแบบสอบถามระบุว่า พวกเขาจะเลือกตัวเลือกที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมเป็นอันดับแรกหากมีให้เลือก ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ยของภูมิภาค 80% ข้อมูลนี้ชี้ให้เห็นถึงโอกาสทางธุรกิจสำหรับที่พักและผู้ประกอบการการท่องเที่ยวที่เน้นความยั่งยืน
นอกจากนี้ นักท่องเที่ยวในประเทศไทยยังแสดงความชื่นชอบต่อสถานที่ท่องเที่ยวทางธรรมชาติ โดย 72% สนใจภูเขาและอุทยานแห่งชาติ ในขณะที่ 65% ชื่นชอบชายหาดและสถานที่ท่องเที่ยวริมทะเล สิ่งนี้สะท้อนให้เห็นว่าความใส่ใจด้านสิ่งแวดล้อม เป็นปัจจัยสำคัญที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจ เลือกจุดหมายปลายทางของนักท่องเที่ยว
เรื่องและภาพ: Traveloka
#พฤติกรรมการท่องเที่ยว #ท่องเที่ยวในประเทศ #ท่องเที่ยวธรรมชาติ #ไทยพับลิก้า

กางแผน IRPC 2030 โรดแมปความยั่งยืน ยุคเปลี่ยนผ่านพลังงาน| Sustainability | “แรงกดดันมากขึ้นเรื่อย ๆ โลกในอนาคตจะเลือกธุร...
19/12/2024

กางแผน IRPC 2030 โรดแมปความยั่งยืน ยุคเปลี่ยนผ่านพลังงาน
| Sustainability | “แรงกดดันมากขึ้นเรื่อย ๆ โลกในอนาคตจะเลือกธุรกิจที่อยู่ได้ต่อไป คนจะใช้น้ำมันน้อยลง ทุกวันนี้โลกใช้น้ำมันประมาณ 100 ล้านบาร์เรลต่อวัน และถ้าเป็น Net Zero น้ำมันจะใช้ครึ่งเดียว หมายความว่า ต้องมีคนเลิกขายน้ำมันไปครึ่งหนึ่ง” - ‘นายจักรวาล เพิ่มญาณวรรธนะ’ ผู้ชำนาญการ แผนกลยุทธ์และความยั่งยืน บริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน) หรือ IRPC
พูดคุยกับสำนักข่าวออนไลน์ไทยพับลิก้า ในฐานะผู้ประกอบการอุตสาหกรรมปิโตรเคมีครบวงจรแห่งแรกของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ถึงความท้าทายของการปรับตัวภายใต้สถานการณ์ที่ความต้องการใช้พลังงานแบบเดิมเริ่มลดลง และการกำหนดเป้าหมายระยะสั้น - ยาว ให้สอดรับกับความต้องการ ของกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
ท่ามกลางเป้าหมายการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เป็นความท้าทายภาคธุรกิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาคพลังงานอย่างน้ำมันและปิโตรเคมี ซึ่งมีสัดส่วนการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสูงเป็นอันดับต้น ๆ ยิ่งไปกว่านั้นพลังงานฟอสซิลแบบเดิมยังอยู่ในช่วงขาลง สวนทางกับพลังงานสะอาดและพลังงานทดแทน ที่กำลังได้รับความสนใจมากขึ้นเรื่อย ๆ
ผู้เล่นในอุตสาหกรรมนี้ จำเป็นต้องปรับตัวอย่างหนัก เพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืนและความอยู่รอดของธุรกิจ
นายจักรวาล กล่าวว่า IRPC ต้องปรับตัวและ transform ไปสู่องค์กรที่มีความสมดุลทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม อีกทั้งส่งเสริมให้พนักงานทุกคนมีการพัฒนาทักษะ ความรู้ และความสามารถ
ไออาร์พีซี ได้ริเริ่มนโยบายบริหารจัดการความยั่งยืนในปี 2562 ต่อมาปี 2564 ได้ปรับปรุงนโยบายดังกล่าว เพื่อให้เป็นไปตามข้อกำหนดของทุกประเทศที่เข้าไปดำเนินธุรกิจ และยังสอดคล้องกับกรอบการบริหารจัดการความยั่งยืนของกลุ่ม ปตท. และในปี 2564 ได้กำหนดขอบเขตของงาน กลยุทธ์และพัฒนาศักยภาพเพื่อความยั่งยืน แสดงให้เห็นถึงพัฒนาการมาเป็นลำดับ
อ่านบทสัมภาษณ์ฉบับเต็ม 6 กลไกหลักสู่เป้าหมายลด GHG 30% ภายในปี 2030 และโจทย์ลงทุนธุรกิจ - ความยั่งยืน ของ IRPC คลิก https://thaipublica.org/2024/12/we-shift-world-change-irpc-sustainability-roadmap-2030/
#เป้าหมายความยั่งยืน #ไทยพับลิก้า

ที่อยู่

Bangkok

เบอร์โทรศัพท์

+6629706998

เว็บไซต์

แจ้งเตือน

รับทราบข่าวสารและโปรโมชั่นของ ThaiPublicaผ่านทางอีเมล์ของคุณ เราจะเก็บข้อมูลของคุณเป็นความลับ คุณสามารถกดยกเลิกการติดตามได้ตลอดเวลา

ติดต่อ ธุรกิจของเรา

ส่งข้อความของคุณถึง ThaiPublica:

แชร์

Our Story

สำนักข่าวออนไลน์ไทยพับลิก้า ThaiPublica.org ก่อตั้งในเดือนกันยายน 2554 นำเสนอข่าวสืบสวนสอบสวน เน้นประเด็นตรวจสอบความโปร่งใสภาครัฐ ความโปร่งใสภาคเอกชน และการพัฒนาที่ยั่งยืน ดำเนินงานโดยทีมงานนักข่าวอาชีพที่มีประสบการณ์ในวงการรวมกันกว่า 60 ปี ไทยพับลิก้ามุ่งหวังที่จะใช้อินเทอร์เน็ตเป็นทั้งพื้นที่ในการนำเสนอข่าวและแลกเปลี่ยนกับผู้อ่าน และเป็นเครื่องมือในการทำงาน โดยเชื่อมั่นในพลังของสื่อใหม่ว่า การใช้อินเทอร์เน็ตเป็นพื้นที่และเครื่องมือจะช่วยดำรงความเป็นอิสระของกองบรรณาธิการ ก้าวข้ามข้อจำกัดของสื่อกระแสหลัก และสร้างความแตกต่างให้กับสำนักข่าวไทยพับลิก้า ทั้งในแง่ของการนำเสนอข่าวเชิงลึก และการนำเสนอข้อมูลที่ซับซ้อนอย่างเข้าใจง่าย เราเชื่อมั่นว่า การนำ "ความเร็ว" ของพลังสังคมและข้อมูลข่าวสารในโลกออนไลน์ มาผสานกับ "ประสิทธิภาพ" ของเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตในการเชื่อมโยงและนำเสนอข้อมูล ผนวกกับ "ความลึก" ของนักข่าวมืออาชีพมากประสบการณ์ จะเปิดมิติใหม่ให้แก่วงการสื่อสารมวลชนไทย ไทยพับลิก้าภูมิใจที่ได้เป็นส่วนหนึ่งของมิตินี้ บรรณาธิการบริหาร บุญลาภ ภูสุวรรณ กองบรรณาธิการไทยพับลิก้า กมล ชวาลวิทย์ ผู้สื่อข่าวอาวุโส อโนทัย จันทร์ดี ผู้สื่อข่าวอาวุโส จิรัฐิติ ขันติพะโล ผู้สื่อข่าว เอมปวีณ์ วัชระตระการพงศ์ ผู้สื่อข่าว กัลย์สุดา ปานอ่อน เลขานุการกองบรรณาธิการ คณะบรรณาธิการ ภิญโญ ไตรสุริยธรรมา บรรณาธิการบริหารสำนักพิมพ์ openbooks และพิธีกร บุญลาภ ภูสุวรรณ อดีตบรรณาธิการบริหาร หนังสือพิมพ์ ประชาชาติธุรกิจ ปกป้อง จันวิทย์ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สฤณี อาชวานันทกุล นักเขียนอิสระ และบล็อกเกอร์ สนิทสุดา เอกชัย ผู้ช่วยบรรณาธิการ หนังสือพิมพ์ Bangkok Post คณะกรรมการที่ปรึกษา คุณหญิงชฎา วัฒนศิริธรรม กรรมการ ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) บรรยง พงษ์พานิช ประธานคณะกรรมการบริหาร บริษัทหลักทรัพย์ ภัทร จำกัด (มหาชน) พงษ์ศักดิ์ พยัฆวิเชียร ผู้ร่วมก่อตั้ง บริษัท มติชน จำกัด (มหาชน) ดร.วรากรณ์ สามโกเศศ อธิการบดี มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ ธาริษา วัฒนเกส อดีตผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย รตยา จันทรเทียร ประธาน มูลนิธิสืบ นาคะเสถียร พันธมิตรออนไลน์ เครือข่ายพลเมืองเน็ต - http://www.thainetizen.org/ ประชาไท - http://www.prachatai.com/ ประสงค์ดอทคอม - http://www.prasong.com/ สำนักข่าวอิศรา - http://www.isranews.org/ ศูนย์ข้อมูลและข่าวสืบสวนเพื่อสิทธิพลเมือง (TCIJ) - http://www.tcijthai.com/ โอเพ่นออนไลน์ - http://www.onopen.com/ ไอลอว์ (iLaw) - http://www.ilaw.or.th/