โรงพยาบาลคนรักสัตว์ลาดพร้าว87 / เพจ

โรงพยาบาลคนรักสัตว์ลาดพร้าว87 / เพจ บริการให้คำปรึกษา รักษาสัตว์ และบร?

โรงพยาบาลสัตว์สำหรับ ตรวจรักษาโรคทั้วไป ผ่าตัดทำหมัน ศัลยกรรมกระดูก ตรวจเลือด เอ็กเรย์ อัลตร้าซาว วัคซีน บริการนอกสถานที่ และรับฝากสัตว์เลี้ยง

แจ้งวันหยุดเทศการปีใหม่ครับ🥰
28/12/2024

แจ้งวันหยุดเทศการปีใหม่ครับ🥰

Case report ..📍Feline indolent ulcer 📍Feline atopic syndrome (FAS)กลุ่มภูมิแพ้ในแมวซึ่งสัตว์อาจสัมพันธ์หรือสัมผัสกับสารท...
30/10/2024

Case report ..

📍Feline indolent ulcer 📍

Feline atopic syndrome (FAS)
กลุ่มภูมิแพ้ในแมว
ซึ่งสัตว์อาจสัมพันธ์หรือสัมผัสกับสารที่ก่อภูมิแพ้ในสิ่งแวดล้อม หรืออาหาร หรือเกิดจากปรสิตภายนอกเป็นตัวกระตุ้น

อาการทางคลินิก จะแบ่งเป็น 4 Pattern

ลักษณะที่เกิดกับเคสนี้ เป็นลักษณะที่เรียกว่า Indolent ulcer มักพบบริเวณ uper lip และ mucocoutaneous junction

การวินิจฉัย Allergen testing เป็นอีก 1 ทางเลือกหรือการทำ cyto เพื่อดูลักษณะของเซลล์ค่ะ

Pet : Prapit

CBC = Normal
Felv test = Negative
FIV test = Negative

Cyto = Inflammatory lesion suggested

By Dr. Apinya MorAey MengNoy

สำหรับเคสนี้ ใช้การรักษาโดยให้ Prednisolone 0.5 mg./kg. / Sid ( 2 week ) สัตว์กลับมาเป็นปกติค่ะ

Sporotrichosis ในแมวเคสน้อง จูโน่น้องแมวเพศเมีย ทำหมันแล้ว พบอาการได้ 1 เดือนก่อนนำมารักษาSporotrichosis เป็นโรคเชื้อราช...
17/09/2024

Sporotrichosis ในแมว

เคสน้อง จูโน่

น้องแมวเพศเมีย ทำหมันแล้ว พบอาการได้ 1 เดือนก่อนนำมารักษา

Sporotrichosis เป็นโรคเชื้อราชนิดเรื้อรังของผิวหนังส่วนลึกและหลอดนํ้าเหลือง ทำให้เห็นเป็นแผล หรือก้อนเป็น Zoonosis หรือ สามารถติดต่อสู่คนได้จากการที่

1. ถูกแมวที่ติดเชื้อกัด
2. ข่วน

การวินิจฉัย ดูเซลล์เชื้อจากแผล เพื่อยืนยัน โดย การทำ Cyto หรือจะส่งเพาะเชื้อค่ะ

หมอรักษา : หมอเอ้

📌📌 สาเหตุของการเสียชีวิตแบบเฉียบพลันในแมวโดย ผศ. น.สพ.รุ่งโรจน์ โอสถานนท์ และ รศ. สพ.ญ. ดร.สิริลักษณ์ สุรเชษฐพงษ์-------...
11/09/2024

📌📌 สาเหตุของการเสียชีวิตแบบเฉียบพลันในแมว

โดย ผศ. น.สพ.รุ่งโรจน์ โอสถานนท์ และ รศ. สพ.ญ. ดร.สิริลักษณ์ สุรเชษฐพงษ์
-----------------------------------------------------------------
หนึ่งในปัญหาที่สร้างความเศร้าโศกเสียใจให้แก่ผู้เลี้ยงสัตว์โดยเฉพาะแมวนั้นคือภาวะการเสียชีวิตแบบเฉียบพลัน โดยจากการศึกษาของ Dr.Olsen และ Dr.Allen ในแมวจํานวน 994 ตัวที่เสียชีวิตแบบเฉียบพลัน ระหว่างปีพ.ศ.2532 ถึง 2542 ในประเทศแคนาดา พบว่าการสาเหตุที่พบบ่อย ที่สุดได้แก่ การบาดเจ็บ และ โรคหัวใจ นอกจากนี้ในปี 2562 Dr.Stalker พบว่า สาเหตุของการเสียชีวิตแบบเฉียบพลันในแมวจํานวน 71 ตัว ระหว่าง ปีพ.ศ.2558 ถึง 2562 ในประเทศแคนาดา สอดคล้องกับข้อมูลข้างต้น โดยพบว่าสาเหตุหลักของการเสียชีวิตแบบเฉียบพลันในแมวคือโรคหัวใจ และการบาดเจ็บเช่นกัน

#โรคหัวใจที่พบบ่อยในแมว

โรคหัวใจที่พบบ่อยในแมวคือโรคของกล้ามเนื้อหัวใจ โดยสามารถ
แบ่งออกได้อีกเป็นหลายชนิดย่อย โดยชนิดที่พบได้บ่อยที่สุดคือโรคกล้ามเนื้อหัวใจหนา (hypertrophic cardiomyopathy, HCM) แมวหลายตัวป่วยด้วย โรคนี้แบบไม่แสดงอาการและอาจไม่สามารถตรวจพบได้จากการตรวจร่างกายแบบปกติ หรือจากการเอ็กซเรย์ช่องอก ซึ่งทําให้การวินิจฉัยแมวที่ป่วยด้วยโรค หัวใจแบบไม่แสดงอาการทําได้ด้วยความยากลําบาก ยกเว้นในกรณีที่แมวป่วย ด้วยโรคหัวใจและแสดงอาการแบบรุนแรง อาจตรวจพบอาการของภาวะหัวใจ ล้มเหลวแบบชัดเจน ได้แก่ อาการหายใจลําบาก หายใจเร็วและแรงกว่าปกติ มีลิ่มเลือดอุดกั้นบริเวณขาหลังส่งผลให้เกิดภาวะอัมพาตแบบเฉียบพลัน และในบางรายอาจเสียชีวิตแบบเฉียบพลัน

#จะมีวิธีการวินิจฉัยโรคของกล้ามเนื้อหัวใจในแมวแบบไม่แสดงอาการได้อย่างไร
ในบางรายของแมวที่ป่วยแบบไม่แสดงอาการ อาจตรวจพบความปกติของเสียงหัวใจ พบภาพเงาของหัวใจโตกว่าปกติจากภาพเอ็กซเรย์ช่องอก หรืออาจตรวจพบค่าตัวบ่งชี้ทางชีวภาพของหัวใจ (cardiac biomarker) ผิด ปกติ แต่อย่างที่กล่าวไปข้างต้น อาจตรวจไม่พบความผิดปกติเหล่านี้ในแมวอีก หลาย ๆ ราย ดังนั้นการวินิจฉัยเพื่อยืนยันโรคของกล้ามเนื้อหัวใจที่ดีที่สุดในปัจจุบันคือการตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง (echocardiography) ซึ่งต้องใช้อุปกรณ์เฉพาะ และความชํานาญของผู้ตรวจในการวินิจฉัย

#โรคของกล้ามเนื้อหัวใจทําให้เกิดอาการเสียชีวิตแบบเฉียบพลันได้อย่างไร

การเสียชีวิตแบบเฉียบพลันในแมวที่ป่วยด้วยโรคของกล้ามเนื้อหัวใจ สันนิษฐานว่าเกิดจากภาวะหัวใจห้องล่างสั่นพลิ้ว (ventricular fibrillation) หรืออาจเกิดจากภาวะลิ่มเลือดขนาดใหญ่อุดกั้นที่ทางออกห้อง หัวใจด้านล่างช้าย หรือที่ระบบประสาทส่วนกลาง หรืออาจเกิดจากกล้ามเนื้อ หัวใจหนาตัวมากจนปิดกั้นทางออกของหัวใจห้องล่างซ้าย โดยแมวที่มีประวัติว่าเคยพบอาการหมดสติชั่วคราว (syncope) มาก่อนมักมีความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตแบบเฉียบพลัน อย่างไรก็ตามเนื่องจากปัจจุบัน ยังไม่ทราบสาเหตุที่ แน่ชัดของการเสียชีวิตแบบเฉียบพลันของแมวที่ป่วยด้วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจ จึงยังไม่มียาหรือวิธีการป้องกันการเสียชีวิตเฉียบพลันที่อาจเกิดขึ้นได้ทุกเมื่อ

#ปัจจัยโน้มนําที่อาจทําให้เกิดภาวะหัวใจล้มเหลว ในแมวที่ป่วยด้วยโรคของกล้ามเนื้อหัวใจแบบไม่แสดงอาการ

สาเหตุที่อาจโน้มนําให้เกิดภาวะหัวใจล้มเหลวในแมวที่ป่วยด้วยโรคของกล้ามเนื้อหัวใจแบบไม่แสดงอาการได้แก่ ภาวะที่ก่อให้เกิดความเครียด ต่าง ๆ อาทิ การต่อสู้ของแมว การได้รับยาสลบ การผ่าตัดทําหัตถการต่าง ๆ กับตัวแมว หรือการได้รับสารนํ้าบําาบัด

กล่าวโดยสรุปคือโรคของกล้ามเนื้อหัวใจในแมว เป็นหนึ่งในสาเหตุ หลักที่ทําให้เกิดการเสียชีวิตแบบเฉียบพลัน และวินิจฉัยได้ยาก เนื่องจากแมวหลายตัวตรวจไม่พบความปกติใด ๆ จากการตรวจร่างกาย และจากการ เอ็กซเรย์ช่องอก แต่บางรายอาจตรวจพบความผิดปกติของตัวบ่งชี้ทาง ชีวภาพของหัวใจ ดังนั้นในปัจจุบันอาจมีความจําเป็นต้องทําการตรวจหัวใจ
ด้วยคลื่นเสียงความถี่สูงเพื่อวินิจฉัยภาวะนี้ในแมว ก่อนที่จะพิจารณาทํา หัตถการที่เกี่ยวข้องกับการวางยาสลบ หรือการผ่าตัด เพื่อจะได้เป็นข้อมูล ประกอบในการเฝ้าสังเกตอาการผิดปกติที่อาจเกิดขึ้น และลดโอกาสเกิดภาวะ หัวใจล้มเหลว และการเสียชีวิตแบบเฉียบพลันได้

#เอกสารอ้างอิง
1. Causes of sudden and unexpected death in cats: A 10-year retrospective study, Tammy F.Olsen, Andrew L.Allen, Can Vet J Volume 2001; 42: 61-62
2. Causes of sudden unexpected death in dogs and cats - it's not the neighbour!, Margaret Stalker, AHL Newsletter 2019; 23(4):16-17
3. The Feline Cardiomyopathies: 1. General concepts, Mark D Kittleson, Etienne Côté, Journal of Feline Medicine and Surgery 2021; 23:1009-1027

#วิทยาลัยวิชาชีพการสัตวแพทย์ชำนาญการแห่งประเทศไทย
#สัตวแพทยสภา
#ฝ่ายประชาสัมพันธ์
#แมวเสียชีวิต

อาหมวยน้อย น่ารักมากลูก
29/08/2024

อาหมวยน้อย น่ารักมากลูก

26/08/2024
แจ้งวันหยุดครับ🥰🥰
06/08/2024

แจ้งวันหยุดครับ🥰🥰

😘น้องพิชชี่😘…วันนี้มารักษาด้วยอาการท้องเสีย…❤️น้องเป็นเด็กดีมาก น่ารักที่สุด❤️🙏ขอบคุณที่ไว้ใจโรงพยาบาลคนรักสัตว์นะครับ🙏ช...
28/07/2024

😘น้องพิชชี่😘

…วันนี้มารักษาด้วยอาการท้องเสีย…

❤️น้องเป็นเด็กดีมาก น่ารักที่สุด❤️

🙏ขอบคุณที่ไว้ใจโรงพยาบาลคนรักสัตว์นะครับ🙏

ช่องทางติดต่อ/สอบถาม 096-7890235 / 02-9322015

หรือแอดไลน์ คลิก https://line.me/ti/p/yWktEE-HoI

😘น้องแฮปปี้😘…วันนี้ผมมารักษาด้วยอาการปอดชื้น ปอดอักเสบ คุณหมอเลยให้พ่นละอองยา…❤️น้องเป็นเด็กดีมาก น่ารักที่สุด❤️🙏ขอบคุณท...
24/07/2024

😘น้องแฮปปี้😘

…วันนี้ผมมารักษาด้วยอาการปอดชื้น ปอดอักเสบ คุณหมอเลยให้พ่นละอองยา…

❤️น้องเป็นเด็กดีมาก น่ารักที่สุด❤️

🙏ขอบคุณที่ไว้ใจโรงพยาบาลคนรักสัตว์นะครับ🙏

ช่องทางติดต่อ/สอบถาม 096-7890235 / 02-9322015

หรือแอดไลน์ คลิก https://line.me/ti/p/yWktEE-HoI

เหาแมว ( cat lice ) เคสน้องแมวชื่อไก่      เจ้าของน้องไก่ พามาปรึกษาและมาตรวจเพิ่มเติมเนื่องจากไม่รู้ว่าน้องเป็นอะไร  คั...
30/05/2024

เหาแมว ( cat lice ) เคสน้องแมวชื่อไก่

เจ้าของน้องไก่ พามาปรึกษาและมาตรวจเพิ่มเติมเนื่องจากไม่รู้ว่าน้องเป็นอะไร คันอยู่ตลอดเวลา ไม่สบายตัว ดูไม่มีความสุข พฤติกรรมที่เห็นได้อีกอย่างคือ น้องมักจะเลียตัวให้เปียกและแทะตัวเองอยู่ตลอดเวลา

คุณหมอจับส่องตรวจ เจอปัญหาน้องติดเหาแมว 😊 ค่ะ เรามาทำความรู้จักเหาแมวกันอีกนิดนะคะ

เหาแมว เป็นปรสิตจำพวกแมลง ลักษณะของเหาแมว มี 6 ขา ตัวค่อนข้างแบนในแนวนอน หัวมีรูปทรงแหลมคล้ายสามเหลี่ยมจึงทำให้ สามารถเกาะขนได้ดียิ่งขึ้น ขนาดจะอยู่ประมาณ 1-2 มิลลิเมตร เหาของน้องแมวเป็นเหาประเภทเหากัด หมายถึงเหาที่ไม่มีการดูดเลือด แต่จะเก็บกินเส้นขนหรือเศษผิวหนังที่ตายแล้วของน้องแมวเป็นอาหาร

การติดต่อ ติดโดยตรง จากแมวสู่แมว โดยเกิดจากการคลุกคลีกัน ใช้สิ่งของร่วมกัน ส่งผล ทำให้มีอาการคัน ระคายเคืองบริเวณผิวหนัง ร่วมกับขนร่วงจากกันเกาและแทะ. เหาแมวจะสามารถมีชีวิตอยู่รอดได้เพียง 3-7 วันเมื่ออยู่ภายนอกตัวแมวเหาแมว จะมีความจำเพาะเจาะจงต่อแมวหรือตระกูลแมวเท่านั้น มักไม่ค่อยมีการติดต่อกันข้ามชนิดสัตว์ หรือติดสู่คน

การดูแลการรักษา เลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่ เป็นแบบ Sport On หรือผลิตภัณฑ์ที่หยดหลังที่มีประสิทธิภาพ ในการควบคุมและกำจัดเหา การจัดการสิ่งแวดล้อมให้สะอาด เนื่องจากมีไข่เหาหลงเหลืออยู่ในสิ่งแวดล้อมตามข้าวของเครื่องใช้ โดยการใช้ความร้อนที่อุณหภูมิมากกว่า 60 องศาเซลเซียสแช่ไว้เป็นเวลาหลายชั่วโมง

สำหรับเคสนี้ หมอใช้ ผลิตภัณฑ์หยดหลัง Nexguard Combo ค่ะ นัด ยอดเดือนละครั้ง ต่อเนื่องกัน 4-6 เดือน ให้เจ้าของสางขนโดยใช้หวีสางเหา จะช่วยลดปริมาณได้อีกทางค่ะ

หมอเจ้าของเคส : MorAey MengNoy
แหล่งที่มาของข้อมูล : Nexguard CombO

21/05/2024

โรงพยาบาลคนรักสัตว์ ลาดพร้าว 87
ปิดประชุมการบริหารรอบปี 1-2 วันทำการ(21-22.5.67) เปิดทำการอีกครั้ง 23.5.67 ขออภัยในความไม่สะดวกมา ณ ที่นี้ค่ะ 🥺

แจ้งวันหยุดครับ❤️
11/05/2024

แจ้งวันหยุดครับ❤️

น้องมูนหาบ้านที่อบอุ่นงับ 😻หล่อ น่ารัก นิสัยดี สนใจติดต่อได้ทางไลน์ ID toeyywi
08/05/2024

น้องมูนหาบ้านที่อบอุ่นงับ 😻

หล่อ น่ารัก นิสัยดี สนใจติดต่อได้ทาง

ไลน์ ID toeyywi

15/04/2024

16 เมษายน 2567

โรงพยาบาลคนรักสัตว์ เปิดให้บริการตามปกติค่ะ

🥹โรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง🥹 คือ มะเร็งในระบบน้ำเหลืองซึ่งอาจจะแสดงอาการทั้งแบบเฉพาะที่หรือแบบทั่วร่างกาย พบว่าในสุนัขและแมว...
12/04/2024

🥹โรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง🥹

คือ มะเร็งในระบบน้ำเหลืองซึ่งอาจจะแสดงอาการทั้งแบบเฉพาะที่หรือแบบทั่วร่างกาย พบว่าในสุนัขและแมวมีการแสดงอาการที่แตกต่างกัน ในสุนัขมักพบว่าจะเป็นแบบมีการกระจายตัวในหลายตำแหน่ง (multicentric disease) ซึ่งส่วนใหญ่จะพบที่ต่อมน้ำเหลือง ส่วนมะเร็งต่อมน้ำเหลืองในแมวมักพบตามอวัยวะภายในร่างกาย (ม้าม, ตับ และ ลำไส้), extranodal (ระบบประสาท หรือผิวหนัง) หรือ nodal origin ซึ่งหมายความว่าอาการที่เกิดขึ้นเมื่อแมวป่วยเป็น lymphoma มักขึ้นอยู่กับต้นกำเนิดของเนื้องอก แต่ก็มีบางเคสอาจแสดงอาการไม่จำเพาะเนื่องจากมะเร็งต่อมน้ำเหลืองในแมวสามารถพบแบบลักษณะที่ลุกลามแบบช้า (indolent form) ซึ่งสามารถพบได้ในกรณีที่มีก้อนเนื้อในช่องอก หรือในช่องท้อง หรือพบที่ใต้ผิวหนัง หรือพบว่ามีการกระจายตัวในหลายตำแหน่งก็เป็นไปได้ จะเห็นว่าโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลืองนั้นมีความหลากหลายในแต่ละเคส บทความนี้จะขออธิบายแนวทางการวินิจฉัย, ระยะของโรค, การแสดงอาการและแนวทางการรักษาที่ใช้ในปัจจุบัน เพื่อให้สัตวแพทย์รักษาโรคนี้ได้อย่างถูกต้อง



ระบาดวิทยา (Epidemiology)

จากการเก็บข้อมูลพบว่าแมว 200 ตัวจาก 100,000 ตัวที่ป่วยด้วยมะเร็งระบบน้ำเหลือง (lymphoid neoplasia) ซึ่งส่วนใหญ่เป็นมะเร็งต่อมน้ำเหลือง และยังพบว่าแมวกลุ่ม Retrovirus (โรคไวรัสลิวคีเมีย และโรคเอดส์แมว) มีความสัมพันธ์ที่จะทำให้เกิดมะเร็งระบบน้ำเหลือง ซึ่งแมวที่พบว่าเป็นมะเร็งต่อมน้ำเหลืองส่วนหนึ่งมักจะพบว่ามีการติดเชื้อโรคไวรัสลิวคีเมียร่วมด้วยแม้ว่าจะมีการทำวัคซีนป้องกันไวรัสลิวคีเมียเพิ่มขึ้นก็ตาม ส่วนกลุ่มโรคเอดส์แมวพบว่ามีความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งต่อมน้ำเหลืองโดยไม่ได้มีการติดเชื้อไวรัสลิวคีเมีย ข้อมูลสิ่งแวดล้อมและการใช้ชีวิตของแมวต่อการเกิดโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลืองนั้นยังไม่มีข้อมูลที่บ่งชี้แน่ชัด



การแสดงอาการ (Clinical presentation)

แมวที่เป็นมะเร็งต่อน้ำเหลืองอาจตรวจพบก้อนเนื้อ อาทิเช่น ต่อมน้ำเหลืองโต, ก้อนเนื้อที่บริเวณกล่องเสียง (laryngeal masses) หรือก้อนเนื้อที่ผิวหนัง/ชั้นใต้ผิวหนัง และมักพบอาการที่ไม่จำเพาะ เช่น อาเจียนเรื้อรัง หรือหายใจลำบาก ดังนั้นการวินิจฉัยแมวป่วยทั่วไปอาจจะต้องคำนึงถึงโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลืองด้วยเสมอ



การวินิจฉัย

เคสที่ตรวจพบก้อนเนื้อหรือมี effusion ควรทำการเก็บตัวอย่างเพื่อทำการตรวจเซลล์และ/หรือทำ fine needle aspiration ซึ่งเป็นการตรวจวินิจฉัยที่ทำได้ง่ายและค่าใช้จ่ายไม่สูง ความยากของแมวที่แตกต่างจากสุนัขคือในแมวส่วนใหญ่จะเป็นประเภท small and intermediate (Amores-Fuster) ดังนั้นกรณีที่เคสดูมีความซับซ้อนอาจจะมีการส่งตรวจ histopathology, immunohistochemistry และการวินิจฉัยระดับโมเลกุล (molecular diagnostics) เพื่อผลการวินิจฉัยแม่นยำขึ้น

Histopathology

ปัจจุบันหลักการวินิจฉัยแมวที่ป่วยเป็นมะเร็งต่อมน้ำเหลืองควรแบ่งประเภทตามองค์กร World Health Organization’s (WHO) Revised European- American Lymphoma (REAL) โดยการแบ่งประเภทนั้นใช้การอ้างอิงข้อมูลจากคนและสุนัขเป็นพื้นฐาน ผลจากการศึกษาทำให้สามาถแบ่งประเภทได้ดังนี้

- Intestinal T cell lymphoma ซึ่งเป็นกลุ่มที่พบได้บ่อยในแมวที่เป็นมะเร็งต่อมน้ำเหลือง

- Diffuse large B cell lymphoma (DLBCL) ถือว่าเป็นประเภทที่พบในกลุ่มมะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิด B cell ในแมว

- Peripheral T cell lymphoma ( alimentary, extranodal และ nodal ) ก็พบได้บ่อยใกล้เคียงกับ DLBCL

นอกจากนี้ในการศึกษาก็พบว่าในแมวที่พบ T cell-rich B cell lymphoma และ intestinal T cell lymphoma จะพยากรณ์โรคได้กว่า lymphoma ชนิดอื่น แต่อย่างไรก็ตามจากการศึกษาจำนวนกลุ่มตัวอย่างค่อนข้างเล็ก

ถ้าให้ดีการจำแนกประเภทควรที่จะทำวิธี immunophenotyping เพิ่มเติม เพื่อการแบ่งประเภทมะเร็งต่อมน้ำเหลืองในแมวได้ดีขึ้น ดังนั้นเมื่อสัตวแพทย์พบเคสแมวที่มีความสอดคล้องและรอยโรคที่บ่งชี้มะเร็งต่อมน้ำเหลือง การทำการเก็บตัวอย่างเพื่อทำการตรวจเซลล์ และอาจต้องทำการเห็นตรวจชิ้นเนื้อหรือ fine needle aspiration ร่วมด้วยเพื่อให้การแบ่งประเภทและระยะของมะเร็งต่อมน้ำเหลืองได้ดียิ่งขึ้น

Immunophenotyping : immunohistochemistry molecular diagnostics

การวินิจฉัยด้วยวิธี Immunohistochemistry เป็นเทคนิคที่สามารถใช้ในการระบุ immunphenotype สำหรับมะเร็งต่อมน้ำเหลืองในแมว เทคนิคนี้จะเป็นการย้อมหาแอนติบอดี้ที่แสดงบนผิวเซลล์ของเซลล์ลิมโฟไซต์ที่แตกต่างกัน โดยส่วนใหญ่ใช้แอนติบอดี้ในกลุ่ม CD3 สำหรับ T cells และกลุ่ม CD 79 สำหรับ B cells ไม่นานมานี้ได้มีการใช้โปรตีน Pax5 ในการระบุ B cell และเป็นโปรตีนที่ใช้ระบุ B cell lymphoma

PCR amplification of antibody receptor genes (PARR)

เป็นการตรวจระดับโมเลกุลเพื่อใช้ในการเพิ่มจำนวน (clonality) แม้ว่าเซลล์ลิมโฟไซต์มีจัดเรียงตัวของ receptor ของผนังเซลล์หลากหลายซึ่งในทางทฤษฎีลิมโฟไซค์ก็สามารถที่จะจับกับแอนติเจนตัวไหนก็ได้ เนื่องจากมะเร็งต่อมน้ำเหลืองมีต้นกำเนิดของเซลล์มจากเซลล์ลิมโฟไซต์ชนิดเดียว ดังนั้นการวินิจฉัยและการระบุลักษณะพันธุกรรมของมะเร็งต่อมน้ำเหลืองในแมวจึงสามารถใช้วิธี PCR amplification of antibody receptor genes (PARR) ซึ่งมี sensitivity ถึง 70 % และ specificity ถึง 90% ขึ้นอยู่กับการเลือกชนิด immunophenotype ของมะเร็งต่อมน้ำเหลืองด้วยเช่นกัน ซึ่งการนำวิธีนี้มาใช้เคสมะเร็งต่อมน้ำเหลืองควรแปลผลร่วมกับการทำ cytology/histopathology เพื่อลดการเกิดบวกลวงและลบลวง เนื่องจากการติดเชื้อบางอย่างอาจมีผลทำให้มีการเพิ่มจำนวนของเซลล์ลิมโฟไซต์ทำให้ผลตรวจออกมาเป็นบวกลวงได้เช่นกัน

Flow cytometry

เป็นหลักการตรวจเป็นแบบเดียวกับการทำ immunohistochemistry ซึ่งสามารถใช้ตัวอย่างที่เก็บโดยวิธี fine needle aspiration เพื่อวินิจฉัยมะเร็งต่อมน้ำเหลืองในแมว แต่ก็มีข้อจำกัดคือไม่ใช่ทุกเลปที่จะสามารถตรวจได้ วิธีการเก็บตัวอย่างก็มีความจำเพาะต่อเทคนิคนี้ด้วยเช่นกัน วิธีการที่ได้ตัวอย่างที่เหมาะสมควรใช้เข็มเบอร์ 21 เนื่องจากจะสามารถได้ตัวอย่างเซลล์ที่คุณภาพที่สุด (Martini et al., 2018) ซึ่งเทคนิคนี้เหมาะกับเคสที่ต้องการตรวจ immunophenptyping lymphoma แล้วไม่สามารถทำ biopsy ได้

การวินิฉัยด้วยวิธี PARR และ flow cytometry นับว่าเป็นการวิธีที่ช่วยในการวินิจฉัยมะเร็งต่อมน้ำเหลือง แต่อย่างไรก็ตามไม่แนะนำให้ใช้เป็นการวินิจฉัยหลักเนื่องจากมีข้อจำกัดทั้ง sensitivity และ specificity ซึ่งความแตกต่างของ 2 วิธีนี้คือ flow cytometry สามารถระบุทุกเซลล์ที่แสดง immunophenotype ที่เหมือนกัน ส่วน PARR สามารถระบุกลุ่มของเซลล์ที่ clonal ออกมา ซึ่งนั่นหมายความว่าการวินิจฉัยมะเร็งต่อมน้ำเหลืองจำเป็นต้องแปลผลร่วมกันระหว่าง immunophenotype ทั้ง 2 วิธีกับการเก็บตรวจเซลล์ (cytology) หรือการทำ histopathology

สำหรับตารางที่ 1 เป็นการสรุปความแตกต่างของการตรวจ immunophenotype เพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจได้ง่ายขึ้น แม้ว่าทั้ง 2 เทคนิคนี้จะเป็นการระบุ immunophenotype แต่ก็ไม่ใช่สิ่งที่จะเป็นการบ่งชี้ถึงการพยากรณ์โรค หรือเป็นการประเมินการตอบสนองต่อการรักษา ดังนั้นกรณีที่เจ้าของสัตว์เลี้ยงไม่สะดวกเรื่องค่าใช้จ่ายการเก็บตัวอย่างเพื่อส่งตรวจทั้ง 2 เทคนิคนี้จึงไม่มีความจำเป็น



ตารางที่ 1 สรุปความแตกต่างของการตรวจ immunophenotype แบบต่างๆ



Clinical staging

การแบ่งระยะของโรคควรมีตรวจ hematology, biochemistry, urinalysis, FeLV/FIV test, เอ็กซเรย์ช่องอกและอัลตราซาวนด์ช่องท้อง ส่วนการวินิจฉัยด้วยการทำ CT-scan สามารถช่วยในการวินิจฉัย nasal lymphoma ได้เป็นอย่างดีและช่วยในการประเมินการรักษาด้วยการฉายแสงได้เช่นกัน การเก็บตัวอย่างด้วยวิธี fine needle aspiration โดยใช้การอัลตราซาวนด์ช่วยก็จะยิ่งทำให้สามารถระบุระยะของโรคได้ดียิ่งขึ้น

สามารถแบ่งระยะของมะเร็งต่อมน้ำเหลืองได้ตามตารางที่ 2 (WHO staging scheme)



ตารางที่ 2 World Health Organization clinical staging of feline lymphoma



Anatomical presentation

Cranial to the diaphragm ซึ่งแบ่งออกเป็น 8 รูปแบบ

1. Mediastinal lymphoma

จากการศึกษาในอดีตมักพบว่าแมวที่เป็น Mediastinal lymphoma มักมีการติดเชื้อไวรัสลิวคีเมียร่วมด้วย แมวจะแสดงอาการป่วยให้เห็นต่อเมื่อมีน้ำในช่องอกหรือมีก้อนเนื้อในช่องอก ซึ่งน้ำในช่องอกจะเป็นแบบ modified exudate และพบเซลล์มะเร็งใน exudate ร่วมด้วย (รูปที่ 1) กรณีนี้ควรพิจารณาทำการเจาะอกเพื่อบรรเทาอาการสัตว์ป่วยและเป็นการเก็บตัวอย่างเพื่อมาทำการวินิจฉัย จากการศึกษาในแมวที่พบว่าเป็น mediastinal lymphoma จำนวน 55 ตัว พบว่าช่วงอายุของแมวที่พบได้บ่อย คือ แมวอายุประมาณ 3 ปี ผลการรักษาโดยการใช้ chemotherapy สำหรับกลุ่มนี้ค่อนข้างตอบสนองได้ดี และอายุโดยเฉลี่ยมากกว่า 1 ปี และพบว่าเคสที่ตอบสนองต่อการใช้ chemotherapy จะมีอายุขัยนานกว่าแมวที่ไม่ตอบสนองต่อการใช้ chemotherapy และที่น่าสนใจคือแมวสายพันธุ์ Siamese เป็นสายพันธุ์ที่พบเยอะที่สุดในการศึกษานี้ (จากการศึกษานี้ไม่ได้นำกลุ่มแมวที่ป่วยเป็นไวรัสลิวคีเมียเข้าร่วม) สำหรับการรักษาด้วยวิธีฉายแสงเฉพาะที่ที่ mediastinum lymphoma ให้ผลการตอบสนองไม่ค่อยดีเท่าที่ควร





รูปที่1 : ภาพ Cytology ของ pleural fluid ที่มี large neoplastic lymphocytes ที่เก็บมาจากแมวที่มีภาวะ mediastinal lymphoma

(เครดิตรูปภาพ : โรงพยาบาลคนรักสัตว์ ลาดพร้าว 87)



รูปที่ 2 : ภาพเอกซเรย์ช่องอกของแมวที่มีภาวะ mediastinal lymphoma และมีภาวะ pleural effustion

(เครดิตรูปภาพ : โรงพยาบาลคนรักสัตว์ ลาดพร้าว 87)

2. Nasal form

สำหรับโรคโพรงจมูกในแมว ที่พบได้บ่อยคือโพรงจมูกอักเสบ, มะเร็งต่อมน้ำเหลือง, สิ่งแปลกปลอมในโพรงจมูก, โพรงจมูกตีบ และติ่งเนื้อในโพรงจมูก (nasal polyp) ตามลำดับ ส่วนเนื้องอกที่โพรงจมูกที่พบได้มากที่สุดคิดเป็น 50 % คือมะเร็งต่อมน้ำเหลือง ส่วนมะเร็งอื่นที่สามารถพบได้ในโพรงจมูกคือ adrenocarcinoma, squamous cell carcinoma และ fibrosarcoma

บางการศึกษาได้นำการดูขนาดของเซลล์ลิมโฟไซต์ในการประเมินมะเร็งต่อมน้ำเหลืองจากการทำnasal biopsyและพบว่า 50% ขนาดเซลล์เป็นแบบ large cell ,40% ขนาดเป็นแบบ small หรือ intermediate และอีกประมาณ 10% ขนาดของเซลล์เป็นแบบผสม (mixed)

การทำ CT ส่วนหัวถือการวินิจฉัยสำหรับมะเร็งต่อมน้ำเหลืองในโพรงจมูกและมะเร็งต่อมน้ำเหลืองบริเวณ retropharyngeal ที่มีประสิทธิภาพที่สุด ซึ่งการเก็บตัวอย่างสามารถทำ blind nasal biopsy แนะนำว่าควรเก็บตัวอย่างหลายตัวอย่าง และถ้าพบว่าต่อมน้ำเหลืองมีขนาดใหญ่กว่าปกติโดยเฉพาะตำแหน่งของต่อมน้ำเหลืองบริเวณ retropharyngeal และ mandible ควรพิจารณาทำการเก็บตัวอย่างเพื่อใช้ประกอบการวินิจฉัย อาการที่พบ nasal form ส่วนใหญ่ที่พบคือ จาม, มีน้ำมูก และอาจพบว่ารูปหน้าเปลี่ยนในเคสที่รุนแรง (รูปที่ 3 และ 4)

การพยากรณ์โรคมะเร็งต่อมน้ำเหลืองตำแหน่งนี้ถือว่า fair to good อายุขัยโดยเฉลี่ยจะอยู่ที่ 12 ถึง 30 เดือน ซึ่งส่วนใหญ่โรคมักจะอยู่แค่ที่โพรงจมูก และพบว่า 10-37% สาเหตุของการเสียชีวิต (หรือeuthanasia) เกิดจาก local recurrence และอีก 10-33% สาเหตุของการเสียชีวิต (หรือ euthanasia) เกิดจาก systemic progressive ซึ่งอวัยวะที่พบการแพร่กระจายมักจะเป็นไต

มะเร็งต่อมน้ำเหลืองที่โพรงจมูกถือว่าเป็นมะเร็งที่อยู่เดียวๆ (solitary) และเป็นมะเร็งที่ไวต่อการฉายแสง (radiosensitive tumor) ดังนั้นการรักษามะเร็งต่อมน้ำเหลืองในตำแหน่งนี้จะใช้วิธีการฉายแสง, เคมีบำบัด หรืออาจจะใช้ทั้ง 2 วิธีในการรักษาร่วมกัน ซึ่งผลการรักษาไม่ว่าจะเลือกทางไหนยังไม่มีบทสรุปที่ชัดเจนว่าการรักษาด้วยแนวทางไหนได้ผลการรักษาดีที่สุด แต่มีอยู่หนึ่งการศึกษาพบว่าการรักษาร่วมกันทั้ง 2 วิธี สามารถช่วยทำให้แมวอยู่ได้นานขึ้นโดยมีอายุขัยโดยเฉลี่ย 955 วัน สำหรับบทความนี้แนะนำการรักษาในกรณีที่ local disease ด้วยการทำการฉายแสง ส่วนกรณีแบบ systemic lymphoma การรักษาสามารถจะเลือกแค่การให้การรักษาด้วยเคมีบำบัดอย่างเดียว หรือจะใช้ทั้ง 2 วิธีร่วมกัน

การตอบสนองต่อการรักษาทั้งแบบการใช้เคมีบำบัด หรือการฉายแสงอยู่ที่ 66-75% และเคสที่ตอบสนองต่อการรักษาจะพยากรณ์โรคได้ดีกว่าและมีอายุขัยนานกว่า

3. Ocular form

จากการศึกษามะเร็งต่อมน้ำเหลืองของดวงตามักจะอยู่ที่ตา และมักเป็นชนิด diffuse large B cell lymphoma (DLBCL) โดยส่วนใหญ่จะพบปัญหา uveitis หรือ ต้อหิน (glaucoma) ร่วมด้วย อาจพบมะเร็งต่อมน้ำเหลืองที่จอตาได้แต่น้อยซึ่งมักเป็นชนิด diffuse large B cell lymphoma (DLBCL) เช่นกัน

เมื่อไรก็ตามที่แมวมีปัญหาของเยื่อบุตาขาวร่วมอาจต้องคำนึงถึง ocular lymphoma ซึ่งการรักษามะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดนี้ดูไม่ค่อยตอบสนองต่อการใช้เคมีบำบัดแต่ไม่พบการกลับมาเป็นใหม่หลังจากผ่าตัดควักลูกตาออกไปแล้ว 1 ปี อีกหนึ่งการศึกษาพบว่าแมว ocular lymphoma สามารถแสดงอาการsystemic lymphoma จำนวน 12 ตัวจาก 26 ตัว และพบว่า 58%ในการศึกษานี้พบอาการ uveitis ร่วมด้วย นั่นหมายความว่าการตรวจแมวที่เป็น systemic lymphoma คุณหมอควรทำการตรวจตาร่วมด้วยทุกครั้ง

4. CNS forms

CNS forms ในแมวไม่ค่อยมีข้อมูลการศึกษามากเท่าไร แต่จากการศึกษาพบว่ามะเร็งต่อมน้ำเหลืองต่อระบบประสาท จะพบตำแหน่งของไขสันหลังมากที่สุด รองลงมาจะพบข้างในกะโหลกศรีษะ มะเร็งต่อมน้ำเหลืองต่อระบบประสาทส่วนใหญ่จะพบระบบประสาทส่วนกลาง (central nervous system) และอาจจะมีการลามไปส่วนอื่น อาทิเช่น

- Intraparenchymal brain Khing - Premium Mass Car

บทความจาก VPN Magazine

รูปภาพ จากเคสโรงพยาบาลคนรักสัตว์ ลาดพร้าว 87

คุณหมอเจ้าของเคส : คุณหมอกิ๊ก Navaporn Tasaso

แจ้งวันหยุดเทศกาลครับ❤️❤️
11/04/2024

แจ้งวันหยุดเทศกาลครับ❤️❤️

รอบก่อนได้มารู้จักกับโรคฮีทสโตรก ภัยร้ายที่มากับอากาศร้อนกันไปแล้ว แต่รู้ไหมว่าอากาศร้อน ๆ แบบนี้นอกจากคนเราที่เสี่ยงจะเ...
07/04/2024

รอบก่อนได้มารู้จักกับโรคฮีทสโตรก ภัยร้ายที่มากับอากาศร้อนกันไปแล้ว แต่รู้ไหมว่าอากาศร้อน ๆ แบบนี้นอกจากคนเราที่เสี่ยงจะเป็นโรคฮีทสโตรก หรือโรคลมแดดแล้วนั้น เจ้าสัตว์เลี้ยงแสนรักอย่างน้องหมา น้องแมวของเราเองก็มีโอกาสเป็นฮีทสโตรกได้เหมือนกันนะ

วันนี้เราเลยจะพาเหล่าคนรักสัตว์มาสังเกตอาการสัตว์เลี้ยงของตัวเอง ว่ากำลังมี 5 สัญญาณเตือนของโรคฮีทสโตรกอยู่หรือเปล่า? ไปดูกันเลย !

🐾 สัญญาณการเป็นฮีทสโตรกในสัตว์เลี้ยง

สำหรับโรคฮีทสโตรกในสุนัข และโรคฮีทสโตรกในแมวนั้นจะมีอาการแสดงออกที่ใกล้เคียงกัน แต่ว่าอาการของโรคฮีทสโตรกในแมวอาจดูออกได้ยากกว่าสุนัขสักหน่อย โดยสัญญาณสำคัญที่บอกว่าสัตว์เลี้ยงของเรากำลังเป็นฮีทสโตรกอยู่มีดังนี้

สัตว์เลี้ยงมีอาการตัวร้อนจัด หรือมีอุณหภูมิร่างกายสูงกว่า 40 องศา
มีอาการหอบ อ้าปากหายใจลำบาก มีเสียงดัง หรือหายใจรุนแรงกว่าปกติ
เมื่อดูที่ลิ้นและเหงือกของสัตว์เลี้ยงจะมีสีแดงจัด
หัวใจเต้นเร็วผิดปกติหรือมีการเต้นผิดจังหวะ
มีอาการอ่อนเพลีย เซื่องซึม น้ำลายยืดเหนียว และหากอาการหนักขึ้นอาจถึงขั้นชักและหมดสติได้
เมื่อพบว่าสัตว์เลี้ยงของเรามีอาการข้างต้นแล้ว ควรรีบปฐมพยาบาลและพาไปพบสัตวแพทย์เพื่อทำการรักษาโดยเร็วที่สุด เพราะหากรักษาไม่ทันท่วงที สัตว์เลี้ยงของเราอาจเสียชีวิตได้เลยนะ

🐾 วิธีปฐมพยาบาลเบื้องต้น เมื่อสัตว์เลี้ยงเป็นฮีทสโตรก

หากสัตว์เลี้ยงของเราอยู่ในพื้นที่ที่มีอากาศร้อนจัดอยู่ ให้ทำการย้ายสัตว์เลี้ยงของเราไปในที่ร่ม หรือบริเวณพื่นที่ที่มีอากาศเย็น ไม่มีแดด และมีอากาศถ่ายเทสะดวก
หากสัตว์เลี้ยงใส่เสื้อผ้า ปลอกคอ หรือสายรัดอยู่ให้ปลดออก และไม่ควรห่มผ้าให้สัตว์เลี้ยงที่มีอาการฮีทสโตรก
ใช้ผ้าชุบน้ำเช็ดตามตัวสัตว์เลี้ยง โดยเฉพาะบริเวณใต้ฝ่าเท้าเพื่อช่วยระบายความร้อน ไม่ควรใช้น้ำแข็ง หรือน้ำเย็นจัด และไม่ควรให้สัตว์เลี้ยงแช่น้ำเย็นทั้งตัว เพราะนอกจากจะทำให้หลอดเลือดบริเวณผิวหนังหดตัว ระบายความร้อนได้ยากกว่าเดิมแล้ว ก็อาจเสี่ยงทำให้สัตว์เลี้ยงของเราช็อกได้ด้วย
ให้สัตว์เลี้ยงจิบน้ำเล็กน้อย หากสัตว์เลี้ยงไม่ต้องการ ห้ามบังคับให้ดื่มเด็ดขาด
รีบพาไปพบสัตวแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยเพิ่มเติมและทำการรักษา
🐾 สัตว์เลี้ยงประเภทไหน เสี่ยงเป็นฮีทสโตรกได้มากกว่า?

สาเหตุของการเป็นฮีทสโตรกในสัตว์เลี้ยงนั้นก็คล้ายกับโรคฮีทสโตรกในคน คือการที่อยู่ท่ามกลางอากาศร้อนจัดเป็นเวลานาน มีอุณหภูมิร่างกายที่สูง รวมทั้งการเป็นโรคติดเชื้อที่ทำให้เกิดไข้สูง และไม่สามารถระบายความร้อนออกจากร่างกายได้ โดยสัตว์เลี้ยงทุกตัวมีโอกาสเป็นฮีทสโตรกได้เหมือนกัน แต่สัตว์เลี้ยงที่มีโอกาสเป็นฮีทสโตรกได้สูงนั้นอาจเป็นสัตว์เลี้ยงที่มีลักษณะดังนี้

เป็นสัตว์ที่มีน้ำหนักมากเกินจากปกติ
เป็นสัตว์เลี้ยงสายพันธุ์หน้าสั้น เช่น สุนัขพันธุ์ปั๊กและเฟรนช์บูลด็อก หรือแมวเปอร์เซีย เพราะสัตว์สายพันธุ์นี้มักพบปัญหาเรื่องระบบการหายใจผิกปกติ ทำให้หายใจได้ลำบาก
สัตว์เลี้ยงที่มีขนหนา ขนยาว
สัตว์เลี้ยงที่มีอายุมาก หรือเป็นวัยเด็กอายุน้อย
สัตว์ที่เป็นโรค หรือมีอาการผิดปกติอยู่แล้ว โดยเฉพาะปัญหาเกี่ยวกับทางเดินหายใจ ปอด หรือหัวใจ


ได้รู้สัญญาณเตือนการเป็นฮีทสโตรกในสัตว์เลี้ยงกันไปแล้ว ในช่วงหน้าร้อนแบบนี้ ก็อย่าลืมไปสังเกตดูอาการเจ้าสัตว์เลี้ยงแสนรักกันด้วยน้า จะได้ดูแลกันได้ทันท่วงที ♡

ช่วยประกาศหาเจ้าของครับพอดีน้องหมาหลงมา พิกัด เส้นเรียบด่วนรามอินทรา ลาดพร้าว81ถ้าเจ้าของน้องกำลังหาอยู่ติดสามารถติดต่อท...
31/03/2024

ช่วยประกาศหาเจ้าของครับ

พอดีน้องหมาหลงมา พิกัด เส้นเรียบด่วนรามอินทรา ลาดพร้าว81

ถ้าเจ้าของน้องกำลังหาอยู่ติดสามารถติดต่อที่ รพ ได้นะครับ

ที่อยู่

139/10-11 ลาดพร้าว87 แขวง วังทองหลาง เขตวังทองหลาง
Bangkok
10310

เวลาทำการ

จันทร์ 09:00 - 21:00
อังคาร 09:00 - 21:00
พุธ 09:00 - 21:00
พฤหัสบดี 09:00 - 21:00
ศุกร์ 09:00 - 21:00
เสาร์ 09:00 - 21:00
อาทิตย์ 09:00 - 21:00

เบอร์โทรศัพท์

+66967890235

เว็บไซต์

แจ้งเตือน

รับทราบข่าวสารและโปรโมชั่นของ โรงพยาบาลคนรักสัตว์ลาดพร้าว87 / เพจผ่านทางอีเมล์ของคุณ เราจะเก็บข้อมูลของคุณเป็นความลับ คุณสามารถกดยกเลิกการติดตามได้ตลอดเวลา

วิดีโอทั้งหมด

แชร์

Our Story

โรงพยาบาลคนรักสัตว์ เราให้บริการด้าน การให้คำปรึกษาเกี่ยวกับสัตว์เลี้ยง ฉีดวัคซีน รักษาโรคทั่วไป ตรวจเลือด เอกซเรย์ อัลตราซาวด์ ผ่าตัด ทำหมัน ผ่าคลอด ศัลยกรรมกระดูก