สิทธิของเราก็เท่าทุกคนนะ | Talk อะ Rights Podcast EP.10
“เด็กหลายคนพูดถึงสิ่งแวดล้อมและสุขภาพจิต ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญ แต่เราไม่ควรลืมว่าเยาวชนอีกหลายคนก็ลุกขึ้นมาเรียกร้องสิทธิทางการเมือง เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น และการแสดงออก แต่ทำไมเรื่องเหล่านี้กลับไม่ค่อยถูกพูดถึงในเวทีของรัฐ?”
.
มาร่วมฟังและสำรวจประเด็นเหล่านี้ใน Talk อะ Rights Podcast ตอนล่าสุดที่แอมเนสตี้ ประเทศไทยร่วมกับประชาไท มาชวนทุกคนแลกเปลี่ยนเรื่องนี้ไปกับ อันนา อันนานนท์ นักกิจกรรมเยาวชน ที่ต้องการส่งเสียงผลักดันเรื่องสิทธิมนุษยชน!
.
มาร่วมกันสร้างพื้นที่ให้เสียงของเยาวชนเป็นพลังเปลี่ยนแปลงสังคม และทำให้สิทธิมนุษยชนเป็นเรื่องของเราทุกคน✨
.
#ChildrenRights #AmnestyThailand
จีนใหม่หลังศตวรรษแห่งความอัปยศ | หมายเหตุประเพทไทย EP.557
หมายเหตุประเพทไทยสัปดาห์นี้ ปองขวัญ สวัสดิภักดิ์ และชานันท์ ยอดหงษ์ แนะนำหนังสือ Never Forget National Humiliation (2012) ของเจิ้งหวัง ที่ชี้ให้เห็นว่าอัตลักษณ์ของจีนยุคใหม่ที่ก้าวขึ้นมาเป็นมหาอำนาจของโลก รวมถึงรูปแบบกำหนดนโยบายระหว่างประเทศแบบในปัจจุบันนั้น เป็นผลมาจากการออกแบบความทรงจำร่วมทางประวัติศาสตร์ที่พรรคคอมมิวนิสต์จีน ซึ่งปกครองแผ่นดินใหญ่นับตั้งแต่ปี 1949 ปลูกฝังอุดมการณ์จีนใหม่ผ่านการเรียนการสอนประวัติศาสตร์ที่เน้นย้ำว่าจีนเคยตกเป็นเหยื่อการรังแกจากจักรวรรดินิยมตะวันตกในช่วง "ศตวรรษแห่งความอัปยศ" โดยเฉพาะกรณีสงครามฝิ่น การรุกรานของญี่ปุ่น และสงครามกลางเมือง
เพื่อสร้างความภาคภูมิใจในชาติและกระตุ้นความรักชาติในหมู่คนรุ่นใหม่ รวมทั้งยึดหลักการปกครองแบบพรรคเดียว จีนเดียว ซึ่งเป็นท่าทีสำคัญของร
คนทำหนังอิสระ กับโรงหนังขนาดเล็ก
“สำหรับคนทำหนัง สิ่งที่ดีที่สุดหลังจากทำหนังเสร็จ มันคือหนังเดินทางไปหาคนดู”
“การมี micro-cinema มันก็ทำให้สิ่งนี้มันกระจายออกไป”
ปฏิภาณ บุณฑริก ผู้กำกับภาพยนตร์ “ทะเลของฉัน มีคลื่นเล็กน้อย ถึงปานกลาง (Solids by the Seashore)” กล่าวถึงความสัมพันธ์ระหว่างคนทำหนังอิสระกับโรงหนังขนาดเล็ก หรือ micro-cinema ว่าเป็นพื้นที่ของกันและกันในการกระจายหนังที่หลากหลายไปสู่ผู้ชม ช่วยรองรับความต้องการในส่วนที่ขาดหายไปจากโรงหนังขนาดใหญ่ ซึ่งอาจมีข้อจำกัดด้านการตลาด
นอกจากนี้ เขายังเล่าว่าปัจจุบัน รูปแบบการจัดฉายหนังแบบ micro-cinema ได้เกิดขึ้นหลายแห่งนอกกรุงเทพฯ แม้เริ่มต้นอาจไม่มีผู้ชมมากนัก แต่เมื่อเวลาผ่านไป พื้นที่นั้น ๆ ก็มีกลุ่มผู้ชมในมากขึ้นเรื่อย ๆ
“micro-cinema เกิดขึ้นเยอะขึ้นในต่างจังหวัด”
“ซึ่งจริง ๆ สิ่งเหล่านี้มันเป็นสิ่งที่ดีแล้
นักเรียนหนัง, Wildtype, & Micro-Cinema
"ไฟที่ทำให้เราเริ่มทำภาพยนตร์ คือการที่เราได้ไปดูหนังที่ Doc Club & Pub. มีการจัดฉายหนังสั้นที่มาจากกลุ่มคนจัดฉายของ 'Wildtype'"
"ตอนแรกเราไม่รู้ว่าการทำหนังของตัวเราเอง มันจะมีที่ฉายไหม แล้วใครจะมาดู"
นฤพงศ์และวรัตต์ สองนักศึกษาภาพยนตร์ เล่าประสบการณ์ร่วมที่มีต่องานฉายหนัง 'Wildtype' โดยมี Doc Club & Pub. อำนวยสถานที่ฉาย ซึ่งทำให้ทั้งสองได้รู้จักกัน และได้มีส่วนร่วมในหนังสั้นของแต่ละคนในเวลาต่อมา ปัจจุบันทั้งสองมีผลงานหนังสั้นฉายตามเทศกาลหนังให้เห็นอยู่บ้าง บางครั้งยังได้เป็นส่วนหนึ่งในกิจกรรมฉายหนังเล็ก ๆ ในบางโอกาส
ประชาไทชวนคุยกับพวกเขา เล่าย้อนแรงบันดาลใจที่ได้รับจากโรงหนังขนาดเล็ก ซึ่งกำลังออกดอกและผลในที่ต่าง ๆ แม้ว่า Doc Club & Pub. เพิ่งยุติการฉายหนังเพราะข้อจำกัดด้านกฎหมายเกี่ยวกับตัวอาคาร ซึ่งอยู่ระหว่างดำเนิน
เมื่อผู้บริสุทธิ์ต้องถูกตัดสินให้เป็นนักโทษประหารชีวิต | Talk อะ Rights Podcast EP.9
#TalkอะRightsPodcast #วันยุติโทษประหารชีวิตสากล #ยุติโทษประหารชีวิต
#Amnesty #AmnestyThailand #humanrights
เพราะการมีชีวิตคือสิทธิขั้นพื้นฐานของทุกคน แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลจึงรณรงค์เพื่อให้มีการยกเลิกโทษประหารชีวิต เพื่อเรียกร้องให้มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบการลงโทษผู้ที่กระทำผิด พร้อมทั้งนำตัวผู้กระทำผิดเข้าสู่กระบวนการที่มีความเป็นธรรม🕯️
.
และการประหารชีวิตเป็นการละเมิดสิทธิขั้นพื้นฐานของมนุษย์คือสิทธิในการมีชีวิตอยู่ ซึ่งมนุษย์ทุกคนพึงได้รับสิทธินี้เสมอกันโดยไม่คำนึงถึงสถานภาพ ชาติพันธุ์ ศาสนา หรือชาติกำเนิด ไม่ว่าจะเป็นคนดี หรือคนไม่ดี เป็นสิทธิที่ไม่อาจพรากไปจากบุคคลได้❗
.
📌และเนื่องในวันที่ 10 ตุลาคมของทุกปีนั้นตรงกับวันยุติโทษประหารชีวิตสากล แอมเนสตี้ และประชาไทชวนทุกคนมาฟังเสียงจากอดีตนักโทษประหาร คนที่ค
60 ปี Freedom Schools | หมายเหตุประเพทไทย EP.556
หมายเหตุประเพทไทยสัปดาห์นี้พูดถึง Freedom Schools โรงเรียนทางเลือกของคนดำหรือชาวแอฟริกันอเมริกัน ซึ่งเกิดขึ้นในช่วงขบวนการเรียกร้องสิทธิพลเมืองในทศวรรษที่ 1960 โดยโรงเรียนเหล่าตั้งอยู่ในรัฐมิสซิสซิปปี มีเป้าหมายเพื่อส่งเสริมความเสมอภาคทางสังคม การเมือง และเศรษฐกิจให้กับชาวแอฟริกันอเมริกัน โรงเรียนเหล่านี้จะสร้างแรงบันดาลใจและช่วยส่งเสริมความเท่าเทียมของคนดำ แต่ก็เผชิญกับปัญหาใหญ่ เช่น ถูกชุมชนคนขาวต่อต้าน ปัญหาขาดแคลนเงินทุนดำเนินงาน แม้กระทั่งถูกผู้นำชุมชนคนดำขัดขวางเสียเอง ฯลฯ ทั้งนี้ผ่านมา 60 ปีคุณูปการของ Freedom Schools ส่งผลต่อสังคมอเมริกันโดยเฉพาะเรื่องความเสมอภาค และนโยบายด้านการศึกษาอย่างไร ติดตามได้ใน #หมายเหตุประเพทไทย #freedomschools #civilrightsmovement
กฎหมายปัจจุบัน(ยัง)ไม่เอื้อโรงหนังขนาดเล็ก | ม.ร.ว.เฉลิมชาตรี ยุคล
"เราจะทำโรงหนังห้าคน แต่เราต้องทำในขนาดโรงหนังขนาดใหญ่ แล้วมีสิ่งอำนวยความสะดวกเท่าเทียมกับโรงหนังเลย"
"ความลักลั่นตรงนี้มันก็เลยทำให้กฎหมายมีช่องโหว่มาก"
25 ธ.ค. 67 หรือเมื่อปลายปีที่ผ่านมา อนุกรรมการซอฟต์พาวเวอร์ด้านภาพยนตร์ และผู้เกี่ยวข้อง ประชุมหารือที่บ้านพิษณุโลก เกี่ยวกับเรื่องโรงภาพยนตร์ขนาดเล็ก (micro-cinema) หลังจาก Doc Club & Pub. ต้องยุติการฉายภาพยนตร์เพราะปัญหาการจดแจ้งอาคารมหรสพ
ประชาไทชวนคุยกับ ม.ร.ว.เฉลิมชาตรี ยุคล ประธานอนุกรรมการซอฟต์พาวเวอร์ด้านภาพยนตร์ เกี่ยวกับความสำคัญของ micro-cinema ข้อจำกัดของกฎหมายปัจจุบัน รวมถึงบทบาทหน้าที่อนุกรรมการฯ ในการผลักดันวัฒนธรรมโรงหนังขนาดเล็ก
"การทำให้คนไม่รู้รู้ ใช้เวลา"
"เราไม่อยากที่จะใช้วิธีสู้แล้วแก้ แล้วไม่มีใครเข้าใจมัน"
"เราก็ต้องให้ความรู้ทุก ๆ ด้านกับ
ปลาหมึกแถวบน และการตอบโต้ ต่อรอง ลำดับช่วงชั้นเรือนร่างเกย์ | หมายเหตุประเพทไทย EP.555
หลังเหตุการณ์ที่ตำรวจบุกจับปาร์ตี้เกย์เมื่อเร็วๆ นี้ จนคำว่า "ปลาหมึกแถวบน" ซึ่งเป็นศัพท์ที่กลุ่ม LGBTQ+ ใช้แทนกลุ่มเกย์ที่มีคุณสมบัติ รูปลักษณ์ สถานะเป็นที่ต้องการของตลาด ฯลฯ กลับมาเป็นประเด็นโต้เถียงกันอีกครั้ง หมายเหตุประเพทไทยสัปดาห์นี้พูดถึง คำศัพท์แทนลำดับชั้น ช่วงชั้น ประเภทของเกย์ในไทยและต่างประเทศ ตั้งแต่ปลาหมึกแถวบน กุ้ง หมี ม้าน้ำ หมาป่า เผ่านมงู ฯลฯ และการไต่เต้า คัดง้าง และต่อรองกับ beauty standard หรือมาตรฐานความงามในรูปแบบต่างๆ ทั้งการล้อเลียน สาป ประณาม ต่อรอง ฯลฯ ที่เกิดขึ้นอย่างเป็นพลวัตในชุมชน LGBTQ+ #หมายเหตุประเพทไทย #ปลาหมึกแถวบน
คิดยังไงถ้า 'Sex Toy-หนังโป๊' ถูกกฎหมาย ? | PrachaTalk VOXPOP
"การมีเซ็กซ์ทอยไม่ได้ตอบโจทย์ว่า คุณจะหมกมุ่นหรือว่าไม่หมกมุ่น คนรุ่นหลังอาจจะคิดว่ามันทําลายขนบธรรมเนียมประเพณี แต่สําหรับคนรุ่นใหม่ เราคิดว่ามันไม่ได้เป็นการทําลายขนาดนั้น"
.
PrachaTalk VOX POP ชวนคุย คิดเห็นยังไงถ้า "Sex Toy-หนังโป๊" ถูกกฎหมาย
จะเป็นการสนับสนุนให้เด็ก-เยาวชนเข้าถึงง่ายและหมกหมุ่นทางเพศมากขึ้นจริงไหม?
.
#Sextoy #PrachaTalkVOXPOP #PrachaTalk #ประชาทอล์ก #ประชาทอล์กVOXPOP
มองมุมใหม่ 'ขายเสียง' ฟังความรู้สึกรากหญ้า | 26 ธ.ค. 67
คนชั้นกลางจำนวนหนึ่งยังมีความเชื่อว่าคนรากหญ้าขายเสียง แต่มันเป็นเช่นนั้นจริงหรือ ?
.
ประชาไทพูดคุยกับชาวอุบลราชธานีในเขตเมืองและพื้นที่รอบนอกว่าคิดยังไงกับเรื่องนี้
.
ลุงไชยา ดีแสง ช่างเย็บผ้า บอกว่าบางคนก็เลือกโดยดูว่าฝ่ายไหนให้เงินมากกว่า ส่วนหนึ่งอาจเพราะเกรงว่าจะเดือดร้อนถ้าไม่เลือกแล้วถูกตามมาเช็ก
.
ด้านลุงสายสมร กล่าวว่าเงินเป็นปัจจัยก็จริง โดยเฉพาะในชนบท แต่นั่นก็ไม่ใช่หลักประกันว่าจะได้คะแนนเสียง ใครให้เงินมาก็รับหมด อย่างน้อยคนจนก็ได้เงินไปใช้จ่ายรายวัน แต่เวลาเข้าคูหาก็ไม่ได้มีใครไปรู้ว่าเขาเลือกใคร จึงไม่อยากให้มาว่าชาวบ้านขายเสียง
ขณะที่ ดร.ประเทือง ม่วงอ่อน อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ ม.อุบล วิเคราะห์ว่าประเด็นการรับ-แจกเงินที่เกิดขึ้น โดยเฉพาะในการเลือกตั้งท้องถิ่น ส่วนหนึ่
ยืนหยุดทรราช นัดพิเศษ ส่งกำลังใจ ‘อานนท์’ | 24 ธ.ค. 67
24 ธ.ค. 67 ที่ผ่านมา กลุ่ม “We, The People” และเครือข่ายนิรโทษกรรมประชาชน จัดกิจกรรม “ยืนหยุดทรราช” เรียกร้องให้ปล่อยตัว “อานนท์ นำภา” และผู้ต้องขังคดีการเมืองที่ยังอยู่ในเรือนจำ ที่ บริเวณลานท่าแพ จ. เชียงใหม่
.
และในช่วงท้ายของกิจกรรมได้มีการอ่านรายชื่อผู้ต้องขังคดีการเมืองที่ถูกควบคุมตัวอยู่ในเรือนจำ พร้อมตะโกนข้อความให้ปล่อยอานนท์
.
อ่านรายละเอียด คลิกลิงก์ที่คอมเมนต์
.
#สิทธิมนุษยชน #การเมือง #ประชาไท
สูงวัยไม่เหงาเพราะเราเม้าท์มอย | หมายเหตุประเพทไทย EP.554
หมายเหตุประเพทไทยสัปดาห์นี้ พูดถึงงานศึกษาภาคสนามเชิงชาติพันธุ์วรรณาในกลุ่มผู้สูงอายุในนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกากับการนินทา ไม่เพียงแต่เป็นปฏิสัมพันธ์ทางสังคมของผู้สูงอายุที่อยู่คนเดียวซึ่งมักนินทาผู้สูงอายุคนอื่นๆ ที่พวกเขาพบเจอเป็นประจำในชุมชน ซึ่งแม้จะเป็นพฤติกรรมเชิงลบ แต่การนินทาช่วยให้พวกเขาเชื่อมโยงและเข้าถึงการสนับสนุนทางสังคมต่างๆ ได้ ทั้งยังเป็นจุดเชื่อมประสานทางสังคมที่สำคัญของผู้สูงอายุในงานศึกษานี้ด้วย #หมายเหตุประเพทไทย #AgingSociety